ฉบับที่ 221 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฎาคม 2562

สมอวสาน'รถตู้'!เปิดตัวรถโดยสารขนาดเล็ก วิ่งบริการแทนทั่วประเทศดีเดย์ 1 ตุลาคมนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดให้ใช้รถโดยสารขนาดเล็กที่ได้มาตรฐานมาให้บริการทดแทนรถตู้ครบกำหนดอายุ 10 ปี ครอบคลุมรถตู้หมวด 1 และหมวด 4 ที่ให้บริการภายในกรุงเทพมหานครและเส้นทางต่อเนื่องภายในจังหวัด และส่วนภูมิภาคหมวด 2 กรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัด รวมถึงเส้นทางรถหมวด 3 ที่วิ่งระหว่างจังหวัดกับจังหวัด โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 นั้น ได้มีการกำหนดเปลี่ยนรถตู้โดยสารที่ครบอายุการใช้งานก่อนครบ 10 ปี เฉพาะในเส้นทางหมวด 2 กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดทุกเส้นทางจำนวน 937 คัน  สมอ. ลุยเชือดร้านค้าออนไลน์ยึดอายัดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน        นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ.ส่งทีม เฉพาะกิจเข้าตรวจสอบแหล่งกระจายสินค้าของร้านค้าออนไลน์ 2 แห่ง ในพื้นที่ถนนพระรามที่ 2 บางขุนเทียน กทม. และลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี หลังสืบทราบเบาะแสว่ามีการจำหน่ายสินค้าผิดกฎหมาย พบว่ามีสินค้าที่รอการจัดส่งให้ลูกค้าจำนวนมาก และหลายรายการเป็นมาตรฐานบังคับต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน แต่ไม่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือแสดงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ได้แก่ ของเล่น สีเทียน ฝักบัวอาบน้ำ ผงซักฟอก และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาปิ้งย่าง ไดร์เป่าผม เครื่องม้วนผม เครื่องหนีบผม ปลั๊กพ่วง โคมไฟดักยุง พัดลม หลอดไฟแอลอีดี เป็นต้น         “จากการตรวจสอบพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากว่า 14,000 ชิ้น มูลค่าประมาณ 16,300,000 บาท ของเล่นกว่า 10,000 ชิ้น มูลค่าประมาณ 2,500,000 บาท สีเทียน 6,400 ชิ้น มูลค่าประมาณ 1,280,000 ผงซักฟอก 3,000 ชิ้น มูลค่าประมาณ 300,000 บาท ฝักบัวอาบน้ำกว่า 700 ชิ้น มูลค่าประมาณ 70,000 บาท รวมจำนวนสินค้าทั้งหมดกว่า 34,000 ชิ้น มูลค่าร่วม 20 ล้านบาท จึงดำเนินการยึดอายัดไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป พร้อมกับแจ้งผู้ครอบครองสินค้าดังกล่าว ห้ามเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเด็ดขาด”         ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะจำหน่ายสินค้าดังกล่าวจะต้องจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับเท่านั้น หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อ พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2562) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ก.ค. 2562 โทษสำหรับผู้จำหน่ายจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฟันบริษัทบัตรพลังงาน ธุรกิจขายตรง-จำหน่ายผิดประเภท         นายเดชาวัต แจ้งชื่น ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบัตรพลังงานที่อวดอ้างว่าสามารถรักษาสารพัดโรคได้ว่า ได้เรียก นายธนัช สุรินทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็กซ์เพิร์ทโปรเน็ตเวิร์ด เจ้าของบัตรพลังงาน เข้าให้ถ้อยคำที่สำนักงาน สคบ.แล้ว ซึ่งเจ้าของบริษัทอ้างว่าบริษัทขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแอลคาร์นิทีน และได้แถมบัตรพลังงาน โดยไม่ทราบว่าเครือข่ายนำบัตรพลังงานไปขาย ซึ่งบัตรพลังงานดังกล่าวมีบริษัทที่รู้จักนำมาฝากไว้นานแล้วไม่มารับคืน จึงนำไปแถมให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์         แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทางบริษัทจดทะเบียนประเภทธุรกิจขายตรงเมื่อปี 2556 ต่อมามีผู้ซื้อบริษัทและเจ้าของคนปัจจุบันได้เข้ามาบริหารงานเมื่อปี 2558 แต่บริษัทถูกเพิกถอนไปเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา และไม่สามารถจะดำเนินธุรกิจได้จนกว่าจะครบกำหนด 5 ปี เนื่องจากกฎหมายระบุว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจขายตรงจะต้องวางหลักประกัน ซึ่งบริษัทดังกล่าวไม่ได้วางเงินหลักประกันและยังคงจำหน่ายสินค้าอยู่ ทำให้ มีความผิดฐานทำธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพ.ร.บ.ขายตรงและตลาดขายตรงฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับนิติบุคคล กรรมการบริษัท และผู้จำหน่ายรายละ 1 แสนบาท รวมทั้งอาจเข้าข่ายความผิดขายสินค้าผิดประเภท เนื่องจากไม่ได้แจ้งขายสินค้าประเภทอื่นเพิ่มเติม         ขณะนี้ สคบ.ได้ประสานตำรวจท้องที่ให้เรียกคืนผลิตภัณฑ์และดำเนินคดีฐานหลอกลวงผู้บริโภค7 พรรคฝ่ายค้านเดินเกม หนุนภาคประชาสังคมแบนสารเคมี         พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง และตัวแทนสมาชิกรัฐสภาและสมาชิกจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 7 พรรค เดินทางเข้ามารับฟังการบรรยายปัญหาและข้อเสนอทางนโยบายในการจัดการเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความไม่ปลอดภัยทางอาหาร ที่มูลนิธิชีววิถี(BioThai)        นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิ BioThai ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา 3 เรื่อง คือ 1)ให้มีการแบนสารพิษร้ายแรงทั้ง 3 ชนิดโดยทันที 2) ผลักดันให้มีการสร้างระบบการเตือนภัยสารพิษตกค้างในผักผลไม้ซึ่งปัจจุบันพบการตกค้างสูงถึง 41%         และ3) ขอให้ 7 พรรคการเมืองสนับสนุนร่างกฎหมายความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะแยกอำนาจการแบนสารพิษให้ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน และให้การสนับสนุน พ.ร.บ.เกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว ให้เข้าสู่กระบวนการตามรัฐสภาต่อไปด้วย         ทั้งนี้โดยภายหลังรับฟังการบรายาย ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านทั้ง 7 พรรค ได้ประกาศพร้อมขับเคลื่อนให้มีการแบนสารพิษร้ายแรงให้เป็นวาระเร่งด่วน และเสนอต่อรัฐสภาให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญในประเด็นสารเคมีและความปลอดภัยทางอาหาร โดยขณะนี้ได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการพิจารณาของสภาแล้ว         ทั้งนี้ มูลนิธิชีววิถี และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เตรียมการติดต่อเข้าพบ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ เพื่อสนับสนุนให้มีการเดินหน้าแบนพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และสารพิษร้ายแรงอื่น รวมทั้งเสนอให้วาระเรื่องอาหารปลอดภัยให้เป็นวาระหลักของรัฐบาลชุดนี้ ศาลปกครองสูงสุด อนุญาตให้ มพบ. ร้องสอด กรณีค่ารักษาพยาบาลแพง         จากการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ยื่นร้องสอดร่วมเป็นผู้ถูกฟ้องในคดี สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน 41 แห่ง ยื่นฟ้องคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน กรณีการออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม โดยเฉพาะการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ของสถานพยาบาลนั้น                วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งอนุญาตให้ มพบ. ร่วมเป็นผู้ถูกฟ้อง โดยให้เป็นผู้ร้องสอด เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า มพบ. เป็นตัวแทนของผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพง จึงถือเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงหากมีการยกเลิกประกาศดังกล่าว 

อ่านเพิ่มเติม >

จะดีไหม.. ถ้าคนไทยจ่ายหนี้ได้ด้วยแดด ?

เปรียบเทียบนโยบายพลังงาน รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ กับ รัฐบาลอินเดียโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาท มีแต้มถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอินเดียนับจากช่วงต้นปี 2562 เป็นต้นมา พบว่ามีทั้งสิ่งที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่คล้ายคลึงกันก็คือมีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ที่แตกต่างกันก็คือ รัฐบาลอินเดียใช้เวลาในการจัดตั้งรัฐบาลที่รวดเร็ว ในขณะที่รัฐบาลไทยใช้เวลา 4 เดือนกว่าจึงจะได้แถลงนโยบายรัฐบาลแต่ที่แตกต่างกันในสาระสำคัญที่มากกว่านั้นก็คือ การมีนโยบายเพื่อลดปัญหาสำคัญของชาติ คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งประเทศไทยเรามีความรุนแรงกว่าของประเทศอินเดียมาก กล่าวคือ ครัวเรือนของไทยมีจำนวนหนี้ที่มากกว่าหลายเท่าและเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่ามากในปี 2560 ขณะที่ครอบครัวชาวอินเดียมีหนี้รวมกันประมาณเพียงร้อยละ 12 ของจีดีพี และมีอัตราเพิ่มขึ้นจากปี 2553 เพียงร้อยละ 1.5  แต่ครอบครัวคนไทยในปี 2560 มีหนี้รวมกันถึงร้อยละ 70 ถึง 76 ของจีดีพี และมีอัตราการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 ถึง 18  นับจากช่วงเดียวกัน  (ดูภาพประกอบ)จากข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นไตรมาสแรกของปี 2562  “จำนวนเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน” ของคนไทยมีจำนวน 12.967 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 78.7 ของจีดีพี สูงเป็นอันดับที่ 10 จากการสำรวจ 89 ประเทศทั่วโลก - ข่าวสด 6 มิ.ย.62) หรือเฉลี่ยคนละ 195,000 บาท  ในขณะที่เมื่อสิ้นปี 2561 คนไทยมีหนี้สินเฉลี่ยคนละ 193,000 บาทอันตรายของการมีหนี้จำนวนเยอะๆ และเป็นเวลานานๆ  จะเป็นอย่างไรนั้น ผมจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงสาเหตุของการมีหนี้และแนวทางการลดจำนวนหนี้ โดยจะยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมด้วยนโยบายโซลาร์เซลล์ โดยเน้นไปที่ประเทศอินเดียและประเทศไทย ซึ่งผมได้เรียนมาตั้งแต่ต้นว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากบทความเรื่อง “วินัยทางการเงินของครัวเรือนไทยและบทบาทของ ธปท. ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน”  ในรายงานนโยบายการเงิน มีนาคม 2562  ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จากการสอบถามความคิดเห็นในประเด็น “สาเหตุที่ทำให้ครัวเรือนมีหนี้” พบว่ามีผู้เห็นด้วยกับสาเหตุ “รายรับไม่พอกับรายจ่าย” และ “ขาดวินัยทางการเงิน” สูงเป็นดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับแต่ในความเห็นของผมแล้ว ผมคิดว่านโยบายของรัฐบาลก็มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้ โดยผมจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบจากโครงการโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐคุชราต (Gujarat- มีประชากร 60 ล้านคน) ของประเทศอินเดียและของประเทศไทยรัฐบาลอินเดียและรัฐบาลแห่งรัฐคุชราต ได้ออกนโยบายสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาจำนวน 2 แสนครอบครัวในปีงบประมาณ 2019-2020 โดยได้รับการอุดหนุนถึง 40% ของต้นทุนการติดตั้งที่ขนาดไม่เกิน 3 กิโลวัตต์ และ 20% สำหรับขนาดระหว่าง 3 ถึง 10 กิโลวัตต์  โดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลแห่งรัฐรับค่าใช้จ่ายไปรวม 50% ที่เหลืออีก 50% เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องลงทุนเอง (https://cleantechnica.com/2019/07/11/gujarat-to-subsidize-rooftop-solar-systems-in-200000-homes/)ไฟฟ้าที่ผลิตได้ หากเหลือใช้ก็สามารถขายให้กับระบบสายส่งได้ แต่ในรายงานข่าวดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะรับซื้อในราคาเท่าใดโครงการดังกล่าวรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้ประมาณ 4,500 ล้านบาท สำหรับนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะแถลงในวันที่ 25-26 กรกฎาคม นี้  ผมยังเปิดไฟล์ทั้งหมดไม่ได้ (โดยอ้างว่าไฟล์เสีย) แต่ที่พบแล้วใน หัวข้อที่ 5.2 พัฒนาภาคอุตสาหกรรม มีเฉพาะประโยคที่ว่า “ส่งเสริมพลังงานทดแทน” โดยไม่มีรายละเอียดอะไรเลยอย่างไรก็ตาม ที่เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์บนหลังคาซึ่งกระทรวงพลังงานได้ประกาศไปแล้วเมื่อช่วงก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย  สรุปว่า “จะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ เฉพาะที่เหลือจากการใช้เอง ในราคาหน่วยละ 1.68 บาท เป็นเวลา 10 ปี ในขณะที่ทางการไฟฟ้าขายให้กับครัวเรือนที่ใช้เดือนละ 500 หน่วย ในราคาที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม หน่วยละ 3.80 บาท (ความจริงคือ 3.93 บาท)” จากการศึกษาของกระทรวงพลังงานเองได้ข้อสรุปว่า ถ้าผู้อยู่อาศัยขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จำนวนครึ่งหนึ่งให้ทางการไฟฟ้าในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย อีกครึ่งหนึ่งสำหรับการใช้เอง จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนภายในเวลา 7.8 ถึง 10.2 ปี  โดยไม่มีการคิดค่าดอกเบี้ยที่เกิดจากการลงทุน นอกจากนี้อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ปกติจะนาน 25 ปี แล้วที่เหลืออีก 15 ปี จะให้นำไฟฟ้าไปขายให้ใคร ?เป็นที่น่าสังเกตว่า กติกาการรับซื้อดังกล่าว แตกต่างจากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ทาง กฟผ. จะต้องจ่าย “ค่าความพร้อมจ่าย” ซึ่งหมายถึง ค่าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษาและค่าดอกเบี้ยด้วย  แต่กับกรณีโซลาร์เซลล์บนหลังคาของคนธรรมดาซึ่งมีหนี้ท่วมหัว ทางกระทรวงพลังงาน (1) ไม่คิดดอกเบี้ยให้ (2) ซื้อในราคาที่ต่ำมาก ในขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงซื้อจาก กฟผ. ในราคา 2.72 บาทต่อหน่วย และ (3) รับซื้อเพียง 10 ปีเท่านั้น  โดยมีเป้าหมายในการรับซื้อ 100 เมกะวัตต์  หรือ 1 ถึง 3 หมื่นหลังโดยประมาณ ในขณะที่รัฐบาลอินเดียนอกจากจะจ่ายเงินอุดหนุนให้ถึง 20 ถึง 40% ถึง 2 แสนหลังแล้ว ยังรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือและยังไม่ต้องติดมิเตอร์ (ที่ไม่จำเป็นถ้ารับซื้อไฟฟ้าในราคาที่เท่ากับราคาขาย) เพิ่มอีก 7,500 บาทต่อหลังอีกด้วย นี่คือความไม่เป็นธรรมที่รัฐบาลไทยเลือกปฏิบัติระหว่างคนไทยธรรมดาๆ กับเจ้าของไฟฟ้าขนาดใหญ่ส่งผลให้เจ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.จำนวนประมาณ 11,910 เมกะวัตต์ กลายเป็นมหาเศรษฐีติดอันดับที่ 267 ของโลก คือนาย Sarath Ratanavadi  (https://www.bloomberg.com/billionaires/)  และส่งผลให้คนไทยที่ถูกนโยบายพลังงานของรัฐบาลกดทับต้องมีหนี้ท่วมหัวดังที่กล่าวแล้วจริงอยู่ครับว่า สาเหตุของการเป็นหนี้มีหลายอย่าง แต่ตัวอย่างที่ผมยกมาเป็นแค่เรื่องไฟฟ้าที่มีมูลค่าทั้งประเทศปีละ 6.7 แสนล้านบาท ถ้าเราจัดสรรให้แต่ละหลังคาสามารถผลิตเองได้สัก 1 ล้านหลัง ขนาด 3 กิโลวัตต์ ในราคาหน่วยละ 3.90 บาท ก็จะสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ปีละ 17,400 ล้านบาท นอกจากจะเป็นการช่วยลดจำนวนหนี้แล้ว จะมีการจ้างงานจำนวนมากซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วยนะครับเนื่องจากว่า ผมยังเปิดไฟล์คำแถลงนโยบายของรัฐบาลฉบับเต็มยังไม่ได้ แต่เชื่อว่าจะเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี2018) ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อไม่นานมานี้เองผมมีข้อสังเกตต่อแผน พีดีพี 2018 ว่าคงยังเป็นแผนที่เอื้อต่อกลุ่มทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติและกีดกันสิทธิของคนธรรมดาต่อไป เพราะว่าได้กำหนดให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG นำเข้าจากต่างประเทศ) ผลิตไฟฟ้าจากร้อยละ 59.7 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.7 ในปี 2561 และปี 2568 ตามลำดับ ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 7.9 เป็น 10.6 ในช่วงเดียวกันในขณะที่ในปี 2561 ประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งมีแดดน้อยกว่าประเทศไทย แต่ได้ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไปแล้วร้อยละ 11.6 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 19.6  ในปี 2568  นี่แค่จากแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ถ้ารวมพลังงานลมและชีวมวลก็จะเป็นร้อยละ 57 ในปี 2568 (https://interactive.carbonbrief.org)ขอปิดท้ายด้วยคำพูดของทีมงานของ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีของอินเดีย  ภายหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ว่า  “เรามองพลังงานแสงอาทิตย์ว่าเป็นแหล่งรายได้ของเกษตรกรและเราจะกระตุ้นให้มีโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้ผลิตอาหารได้เปลี่ยนเป็นผู้ผลิตพลังงาน”แม้ว่าผมไม่เห็นด้วยกับโซลาร์ฟาร์ม แต่ก็ยังดีกว่าต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อก๊าซธรรมชาติปีละกว่าหนึ่งแสนล้านบาทครับ ผมว่าโซลาร์รูฟนั่นแหละเหมาะที่สุดและราคาถูกกว่าด้วยครับเราสามารถลดหนี้คนไทยได้ด้วยแสงแดดครับ  ทำไมพลเอกประยุทธ์มองเรื่องนี้ไม่ออก ?  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 218 กระแสต่างแดน

มูลค่าความเขียว        บริษัทด้านไอทีอย่าง facebook  Apple และ Google ต้องใช้พลังงานมหาศาลเพื่อการทำงานของศูนย์ข้อมูล พวกเขาจึงเลือกที่จะตั้งศูนย์ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งผลิตพลังงานทางเลือกได้เหลือเฟือ        รัฐบาลเดนมาร์กเรียกเก็บภาษีจากบริษัทเหล่านี้ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 400 ล้านโครน (1,900 ล้านบาท) แต่เงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินที่ใช้ลงทุนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากฟาร์มกังหันลมในทะเล         และในอนาคตเดนมาร์กอาจมีพลังงานทางเลือกไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศและต้องกลับไปพึ่งพาพลังงานฟอสซิล มีการคาดการณ์ว่าศูนย์ฯ เหล่านี้จะบริโภคร้อยละ 17 ของพลังงานไฟฟ้าในประเทศในปี 2030        พรรคฝ่ายค้านออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล “แบน” ศูนย์ข้อมูลเหล่านี้จนกว่าจะมีกฎหมายที่สร้างความมั่นใจได้ว่า จะไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติมาอาศัยชุบตัวด้วยภาพลักษณ์ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ไปฟรีๆ ด้วยภาษีคนเดนมาร์ก ระวังถูกเท        ธุรกิจที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุดในสิงคโปร์ในปี 2018 ได้แก่ธุรกิจความงามและสุขภาพ สมาคมผู้บริโภคของสิงคโปร์(CASE) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 30         กว่าครึ่งของเรื่องร้องเรียน 1,829 เรื่อง เป็นกรณีที่ผู้ร้องถูกลอยแพโดยธุรกิจที่ปิดตัวกะทันหัน และผู้ที่ถูก “หลอกขาย” หรือทำให้เข้าใจผิดเรื่องค่าบริการ        ตัวอย่างเช่น มูลค่าความเสียหายจากการปิดกิจการของแฟรนไชส์ร้านนวด Traditional Javanese Massage Hut อยู่ที่ 200,000 เหรียญ(4.7 ล้านบาท)        อีกกรณีหนึ่ง ผู้บริโภคถูกหลอกให้เซ็นใบเรียกเก็บค่าบริการ 2,800 เหรียญ(66,000 บาท) ขณะสาละวนสวมเสื้อผ้าหลังรับบริการที่เข้าใจว่ามูลค่าเพียง 28 เหรียญ        สมาคมสปาและสุขภาพของสิงคโปร์บอกว่า ธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูงและมีต้นทุนการดำเนินการค่อนข้างมาก แต่ก็มีผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ประหยัดผิดจุด         ทางการเยอรมนีตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการรถบรรทุกหลายร้อยคันแอบใช้ตัวช่วย “ปิด” ระบบบำบัดไอเสียเพื่อลดต้นทุน         จากรถบรรทุก 13,000 คันที่ตรวจสอบ เขาพบ “ความผิดปกติ” 300 คัน และจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว  เขาพบ “รถผิดปกติ” ถึง 132 คัน ที่น่าตกใจคือมีถึง 84 คันที่ผิดพลาดโดยจงใจ           การติดตั้งอุปกรณ์ขนาดเล็กจิ๋วและการใช้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนยากแก่การตรวจจับ ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงหนึ่งในสามของต้นทุนการวิ่งรถตามมาตรฐานยูโร 5 หรือ 6         อุปกรณ์ที่ว่านี้บ้างก็หลอกซอฟท์แวร์ควบคุมเครื่องยนต์ให้เข้าใจว่าคาตาแลคติกคอนเวอร์เตอร์ยังทำงานอยู่ บ้างก็ขึ้นผลอุณหภูมิหลอกๆ เพื่อปิดระบบการบำบัดไอเสียที่อุนหภูมิต่ำกว่า -11 เซลเซียส         เมื่อระบบถูกปิด รถเหล่านี้จึงสามารถปล่อยมลพิษออกมาได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนไดออกไซต์ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดระวังติดไฟ        หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011 ที่เมืองฟุกุชิมะ คนญี่ปุ่นเริ่มหันมานิยมใช้หลอดไฟ LED กันมากขึ้นเพราะประหยัดไฟและใช้ได้นานกว่า        แต่สถิติอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับหลอดดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  สิบปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุดังกล่าวถึง 328 ครั้ง และมักเกิดขึ้นขณะที่ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากหลอดแบบฟลูโอเรสเซนท์มาเป็นหลอด LED หรือเปลี่ยนหลอดไฟ LED หลอดใหม่        โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเต้าเดิมเป็นแบบที่ปรับความสว่างได้ หลอด LED จะร้อนจัดจนเกิดควันหรือเกิดไฟลุกขึ้นได้ จาก 328 ครั้ง มีถึง 23 ครั้งที่ทำให้เกิดไฟไหม         สำนักงานกิจการผู้บริโภคของญี่ปุ่นจึงออกประกาศเตือนและเรียกร้องให้ผู้บริโภคอ่านฉลากให้ดีว่าควรใช้กับขั้วแบบไหนและย้ำว่าหากมีข้อสงสัยให้สอบถามกับทางร้านก่อนลงมือเปลี่ยน ขอใบเสร็จด้วย        สมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศจีนเรียกร้องให้บริการไฟแนนซ์รถมีความโปร่งใสมากขึ้นและบรรดาตัวแทนขายรถควรมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น        ที่ผ่านมาพบการอุปโลกน์ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มยอดหนี้ บางเจ้าบังคับให้ผู้บริโภคซื้อประกันรถยนต์โดยไม่ออกใบเสร็จ และบางเจ้าก็เรียกเก็บ “ค่าบริการ” ซึ่งผู้บริโภคไม่ทราบว่าเป็นค่าบริการอะไร เพราะไม่ได้รับใบเสร็จ           สมาคมฯ ย้ำว่าตัวแทนจำหน่ายมีหน้าที่จัดหาสินค้ามีคุณภาพ และหากไม่ปฏิบัติตามและไม่แสดงความรับผิดชอบก็ควรได้รับโทษตามกฎหมาย        ก่อนหน้านี้มีสาวจีนโพสต์บอกชาวเน็ตว่ารถเบนซ์ CLS300 ที่เธอเพิ่งจะซื้อเมื่อปลายเดือนมีนาคมมีปัญหาเครื่องยนต์แต่ตัวแทนขายไม่สามารถขอเงินคืนหรือขอเปลี่ยนรถได้        เธอคนนี้ก็โดนเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียม” ลึกลับ ไป 15,000 หยวน(71,000 บาท) เหมือนกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 พระอาทิตย์เป็นของเรา “กองทุนแสงอาทิตย์” เพื่อคุณภาพชีวิตทุกคน

ฉลาดซื้อ ฉบับส่งท้ายปีกับเรื่องราวดีๆ ของโครงการกองทุนแสงอาทิตย์ และอัพเดทสถานการณ์พลังงานของบ้านเรา กับผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริการสาธารณะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน นักวิชาการอิสระที่ติดตามและเสนอความเห็นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงานทางเลือก ปัจจุบันเป็นอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาพลังงานของประเทศไทยทั้งระบบประมาณ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ประมาณ15-16 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่ปีไหนน้ำมันถูกหรือน้ำมันแพง ซึ่งบางปีขึ้นไปถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันสูงมาก ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่าใน 2 ล้านล้านนั้นมันนำเข้า เราพึ่งตัวเองได้ประมาณไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เกือบๆ 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเราต้องนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้ามา ในจำนวน 2 ล้านล้านนี้ ก็จะเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 6-7 แสนล้านบาทต่อปี ทีนี้โดยรูปการแล้วพลังงานนี้ก็ถูกผูกขาด พลังงานฟอสซิลมันถูกผูกขาดและรวมศูนย์ และมีผู้ลงทุนอยู่ไม่กี่ราย ในขณะที่บริการให้กับคนทั้งประเทศ ผู้ซื้อมีจำนวนมาก แต่ผู้ผลิตมีน้อยนิดเดียว ผูกขาดก็ส่งผลกระทบหลายเรื่อง เรื่องสำคัญก็คือเรื่องโลกร้อน ซึ่งเราไปตกลงที่ปารีสเอาไว้จนต้องลด 15 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ ก็ว่าไป หนึ่งโลกร้อน สองสร้างความเหลื่อมล้ำเพราะว่าคนส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ซื้ออย่างเดียว ผลิตไม่ได้ ผู้ผลิตก็ผูกขาด ผู้ซื้อกระจายทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแดด ลม และชีวมวล ทีนี้แดดกับลมเมื่อก่อนมันแพง โดยเฉพาะแสงแดด พลังงานโซลาร์นี้มันแพงมาก หน่วยหนึ่งเราเรียกว่าสู้ไม่ไหว ส่วนชีวมวลก็เรามีเองของเหลือจากการเกษตร เช่น ปาล์ม ซึ่งมีทะลายปาล์มหรือน้ำเสียจากจำนวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งตัวนี้เราเอาทำเป็นก๊าซชีวภาพได้ มีคุณสมบัติเหมือนแก๊สที่เขาขุดจากใต้ดิน เหมือนกันเลย เพียงแต่ว่ามันกระจายอยู่ตามท้องถิ่น จังหวัด ใกล้ๆ โรงผลิตน้ำมัน เสร็จแล้วสิ่งเหล่านี้มันก็ถูก ใช้คำว่าถูกกีดกันจากรัฐ เช่น อ้างว่าไม่เสถียรบ้าง ไม่มั่นคงบ้าง ซึ่งมันก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง สายส่งเต็ม ที่เราได้ยินกันอยู่นะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บางทีผมใช้คำว่าจริงบ้างไม่จริงบ้าง เช่นคำว่า “ไม่เสถียร” น้ำมันปาล์มซึ่งตอนนี้ออกมาล่าสุด คลิปไม่บอกชื่อผู้ผลิตด้วย ที่บอกมานี้ บอกว่าน้ำมันปาล์มนี้ ของเสียจากน้ำมันปาล์มมันเป็นฤดูกาล แล้วบางฤดูกาลก็ขาด แปลว่าอย่างไง ซึ่งถ้าคุณอนุญาตให้เขาทำ เขาก็สามารถเก็บเชื้อเพลิงไว้ใช้ทั้งปีได้ ปาล์มนี้มันมีฤดูเหมือนกัน แต่ว่านิดเดียวเอง ต่ำสุดกับสูงสุดกระจายกันอยู่ทั้งปีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็สามารถสต็อกเชื้อเพลิงเอาไว้ได้ พื้นที่เยอะแยะไป แล้วที่ผมไปดูในโรงน้ำมันปาล์มที่กระบี่ พวกทหารพาไปดู ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องกรรมการสามฝ่าย ก็มีฝ่ายทหาร ฝ่ายชาวบ้าน และฝ่ายทุน ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและชาวบ้านค้าน พึ่งไปดูข้อมูลเขาบอกว่าเขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชม. 300 วันติดต่อกันไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะเอาทั้งปีเหรอ เขาก็จัดการได้ ใช่ไหม จัดการได้ มีหลายโรงที่ขออนุญาตอยู่ ถ้าเขายังไม่ได้รับอนุญาต แล้วเขาอ้างว่าสายส่งเต็ม ที่จริงคำว่าสายส่งเต็มนี้มันเป็นการบิดเบือน ในต่างประเทศอย่างเยอรมันเขาจะมีกฎหมายเป็นระเบียบเลย เขาบอกว่ามันอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญว่าจะใช้ใครใช้ก่อน สายส่งก็เหมือนกับถนนจะให้ใครวิ่งก่อน อย่างในกรุงเทพฯ ห้ามรถสิบล้อวิ่งเวลานั้นเวลานี้ มันห้ามได้ สายส่งก็เหมือนกัน เขาจะให้ผู้ที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่เป็นมิตร พลังงานหมุนเวียนนี้ส่งได้ก่อน ข้อที่หนึ่งให้พวกนี้ส่งได้ก่อนโดยที่ไม่จำกัดจำนวน สองค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นภาระของคนทั้งประเทศ ข้อหนึ่งส่งได้ก่อน ข้อสองไม่จำกัดจำนวน และข้อสามก็คือว่าถ้าค่าใช้จ่ายสูงขึ้นก็เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ทีนี้เราก็มาบอกว่ามันเต็ม ที่มันเต็มเพราะว่าอะไร เพราะว่าเราไปให้พลังงานฟอสซิลส่งก่อน ขายได้ก่อน เพราะการบิดเบือนความจริง ที่จริงจัดลำดับความสำคัญอย่างนี้ ทำไมต้องจัดลำดับความสำคัญอย่างนี้ เพราะว่าเชื้อเพลิง พลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงแดด พลังงานลม หรือชีวมวลนี้มันกระจายอยู่กับคนทั่วไปๆ ก็ให้เขาผลิตไปก่อน และมันไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วมันก็กระจายรายได้ แล้วมันก็ไปเพิ่มผลิตจากปาล์ม ใช่ไหม มันไปทำให้ราคาปาล์มสูงขึ้นได้ เพราะว่าเขาขายไฟฟ้าได้ เอากำไรจากไฟฟ้าไปหมุนปาล์มได้ ราคาอาจจะสูงขึ้น มีตัวเลขอยู่ แต่ผมจำตัวเลขไม่ได้ เรื่องพลังงานต้องคิดให้เป็นระบบเรื่องของพลังงานมันต้องคิดทั้งระบบ จะคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ เรื่องกำไรขาดทุนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคิดถึงสิ่งแวดล้อม น้ำเสียคุณปล่อยไป คุณไปทำลายลูกหอยลูกปู ซึ่งเป็นอาหารของชาวบ้านอีก อาหารของคนทั้งประเทศอีก ต้องคิดเป็นทั้งระบบเลย  พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนสถานะตอนนี้อยู่ตรงไหน พลังงานทดแทน คำว่าทดแทนนี้ผมค้าน คือคำว่า “ทดแทน” มันไม่มีศัพท์นี้ ที่ถูกต้องใช้ “พลังงานหมุนเวียน” เพราะคำว่า “ทดแทน” ไม่มีนิยาม เอาอะไรไปทดแทนอะไร เอาถ่านหินไปทดแทนนิวเคลียร์ หรือ เอานิวเคลียร์มาแทนก๊าซธรรมชาติ มันก็ทดแทนกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นมันทำให้เบลอหมด ความหมายมันก็เบลอหมด แท้ที่จริงแล้วก็คือ พลังงานหมุนเวียนกับพลังงานฟอสซิล พลังงานจะมีสองตัวเท่านั้น คือ หมุนเวียน กับ ฟอสซิล ส่วนนิวเคลียร์นี้มันตีความยากนิดหนึ่ง มันจะเป็นนิวเคลียร์ก็ไม่ใช่ มันจะเป็นหมุนเวียนก็ไม่ใช่ แต่รวมแล้วมันรวมศูนย์มันผูกขาด แล้วมันก็มีน้อยอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็พูดสองอย่างคือ ฟอสซิล กับ หมุนเวียน renewable  แปลว่าเอามาใช้ใหม่ได้ มันไม่หมด renew แปลว่า มันเหมือนหางจิ้งจก พอขาดไปมันก็สร้างใหม่ มันไม่หมด        พลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ คือโซลาร์หรือแสงแดด ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพราะว่าแดดอยู่ที่หัวเรา เราเข้าถึงได้ง่ายมากเลย มีเยอะมาก แต่ฟอสซิลอยู่ใต้ดิน 4-5 พันเมตร มีคนไม่กี่คนในโลกนี้ที่จะใช้ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาส่งเสริมตรงนี้ว่า ผู้บริโภคที่เคยถูกบังคับให้ซื้ออย่างเดียว เราก็เลยสามารถที่จะผลิตเองได้ด้วย ขายได้ด้วย ผู้บริโภคก็จะกลายมาเป็นเรียกว่าเป็น Pro-Sumer ก็คือ Production บวกกับ Consumer เป็นศัพท์เกิดมา 30-40 ปีแล้ว ของ ท็อปปา ถ้าผมจำไม่ผิดนะ เดวิล ทอปปา เพราะฉะนั้นไฟฟ้านี้ในความเป็นจริงมันสามารถเดินได้สองทาง ภายในสายส่งไฟฟ้าเดินได้สองทาง ไปก็ได้กลับก็ได้ แต่พอเรามาใช้ในบ้านเรา มันแค่ไหลเข้าบ้านเราอย่างเดียว มันไม่ได้ไหลออกจากบ้านเรา แล้วขณะเดียวกันเงินของเราก็ไหลสวนกับไฟฟ้า เงินไหลออกจากกระเป๋าเราไปที่ต้นทาง แต่ไฟฟ้ามาจากต้นทางเป็นพันพันกิโลเมตร จากแม่เมาะเข้ามาถึงกรุงเทพฯ แล้วเงินเราก็ไหลจากกรุงเทพฯ ไปสู่บริษัทไฟฟ้า ซึ่งมันผิดหลัง ทั้งๆ ที่เขาให้เดินสองทางได้ เราเดินสองทางก็คือว่า ทันทีที่เราผลิตเองได้ก็ส่งออก ส่งออกจากหลังคาบ้านเรา พอกลางวันเราผลิตจากโซลาร์เซลล์ ปกติคนส่วนใหญ่เขาไม่อยู่บ้านกัน เราก็ไม่ได้ใช้ไฟในบ้าน เพราะฉะนั้นพอเราผลิตได้มันก็นี้มันก็ต้องส่งไปสาย ตอนกลับบ้าน พระอาทิตย์ก็กลับบ้านเหมือนกัน พอพระอาทิตย์กลับบ้านเราไม่มีไฟฟ้าใช้ เมื่อเราไม่มีไฟฟ้าใช้เราก็เอาไฟฟ้าจากสายส่งเข้ามาใช้ แล้วพอสิ้นเดือนก็หักลบกลบหนี้กัน ที่เราส่งออกไปกับที่เรานำเข้ามาใช้มากกว่ากัน คิดบัญชีกัน เรียกว่าเป็น net metering ซึ่งตรงนี้เขาใช้กันทั่วโลก ไม่ว่าประเทศเคนยา ปากีสถาน อินเดีย อเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน ฯลฯ เขาก็ใช้ตัวนี้กันทั้งนั้น ทั่วโลกเขาก็ใช้ตัวนี้กัน แต่บ้านเรานี้ไม่ยอมให้ใช้ เนื่องจากอ้างเหตุผลสารพัด เช่น ไม่เสถียร สายส่งเต็ม ต้องเสียค่าแบ็คอัพไฟฟ้าไว้ให้กับกลางคืน เขาเรียกแบ็คอัพ เพราะว่า พอเราจะใช้ พระอาทิตย์ก็กลับบ้านแล้ว ใช่ไหม ก็ดึงเข้ามาตอนค่ำ ไฟฟ้าเก็บไว้ได้ดึงเข้ามาใช้ ตรงนี้เขาไปอ้างว่าเป็นค่าแบ็คอัพ ซึ่งผมเรียกว่าเป็น ภาษีแดด ตอนนี้รัฐไทยเก็บจากบริษัทใหญ่ๆ อยู่ แต่ในหลังคาบ้านเขาไม่ยอมให้ติด ถ้าติดแล้วไฟย้อนกลับเขาก็จะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นดิจิทัล ซึ่งทำให้แรงดึงดูดในการที่เราจะติดตั้งโซลาร์เซลล์นี้มันไม่มี มันก็เลยไม่เกิด ที่เรากำลังทำเรื่องโครงการโซลาร์ กองทุนแสงอาทิตย์นี้ ก็เกิดขึ้นจากตรงนี้ ซึ่งเขาทำกันทั่วโลกแล้ว แต่บ้านเราไม่ทำกองทุนโซลาร์แท้จริงคืออะไรกองทุนโซลาร์นี้เราเริ่มต้นด้วยการหาทุนเพื่อที่จะไปติดโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล เริ่มต้นโรงพยาบาลก่อน ต่อไปจะเป็นโรงเรียนและเป็นชุมชนต่างๆ ก็ว่าไป ทำไมเราถึงเลือกโรงพยาบาล เพราะว่าตอนนี้โรงพยาบาลขาดทุนอยู่ ต้องจ่ายเงินโรงพยาบาลเดือนละเป็นหลายแสน บางทีก็หลายล้าน เพื่อที่จะเสียค่าไฟฟ้า ทั้งๆ ที่หลังคาก็ว่างอยู่ โรงพยาบาลนี่กลางวันก็ใช้ไฟ เสาร์อาทิตย์ก็ใช้ไฟ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเรื่องอะไรเราจะปล่อยให้พลังงานมันหายไป เราก็มาผลิต ทีนี้เหมือนที่หมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา พูด เราผลิตไฟฟ้าจากหลังคานี้มันไม่ใช่ได้แค่ไฟฟ้าอย่างเดียว มันได้จิตสำนึกมาด้วย จิตสำนึกของคน ของพยาบาล ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตรงนี้จิตสำนึกมันสร้างได้ แต่ว่ามันค่อยๆ เกิดจากโครงการเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราหวังว่า “โครงการพลังงานกองทุนแสงอาทิตย์” เริ่มจากจุดเล็กๆ เอาเงินที่คนบริจาค ซึ่งเมื่อก่อนนี้ก็บริจาคให้วัด ส่วนใหญ่นะ ต่อไปนี้ถ้าคิดถึงเรื่องคนยากคนจนทางโรงพยาบาล เราก็มาที่ชุมชนในโรงพยาบาลเขา ให้เขาลดค่าไฟแล้วเอาเงินที่ลดได้ไปซื้อยาซื้อแพมเพิสให้คนไข้ ซึ่งยากไร้อยู่ ก็เป็นการทำบุญที่อยู่ได้นาน โซลาร์เซลลล์นี้จะอยู่ได้ประมาณ 25 ปี เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เราคิดว่า 1 กิโลวัตต์นี้ประมาณ 35,000 บาท แต่มันอยู่ได้ 25 ปี มันจะได้ 5 เท่า สมมติเราทำบุญไป 100 บาท มันจะทวีคูณไปเป็น 500 บาท เพราะว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นมันสูงกว่าการลงทุน การลงทุนนี้คุ้มทุนนี้เขาเรียกว่าประมาณ 5-6 ปีเท่านั้น นี่เป็นการทำบุญในมิติใหม่ เงินเราจะหมุนไปๆ อย่างรวดเร็ว 5 เท่า ซึ่งตอนนี้เราก็มีโครงการที่จะติดอยู่ 7 โรงพยาบาล 30 กิโลวัตต์ ก็คิดๆ ประมาณ 1.1 ล้านต่อโรง 7 โรงก็ประมาณ 7.7 ล้าน ซึ่งตอนนี้เมื่อกี้ดูตัวเลขล่าสุด เปิดตัวมาตั้งแต่วันที่ 29 วันนี้ก็ประมาณ 4-5 วัน ตอนนี้เราได้ 6 หมื่นแล้ว ก็ทยอยเข้ามา ที่สำคัญเงินบริจาคหักภาษีได้ เงินบริจาคหากบริจาคตอนนี้ถึงสิ้นเดือนธันวาฯ หักของปีนี้ได้ บริจาคปีหน้าก็หักภาษีของปีหน้า ดังนั้นก็ขอเชิญชวนช่วยกันบริจาค เพราะว่าบางโรงพยาบาล เมื่อก่อนที่เชิญหมอมา ผอ.โรงพยาบาลชุมพร บอกว่าโรงพยาบาลเขาถูกจัดระดับเป็นระดับ 7 ถ้าเป็นเอกชนก็ล้มละลายแล้ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้อยู่ 85 ล้านจากเงินได้ต่อหัวที่ สปสช.เขาให้มา แล้วหมอเขาก็จะทำให้ลดลงมาแล้วเหลือ 65 เป็นหนี้อยู่ 65 ล้าน แต่บางโรงก็ไม่ถึง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นการช่วยโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการช่วยเชิงโครงสร้างเชิงระยะยาวให้เขาพึ่งตัวเองได้ระดับหนึ่ง แล้วก็ไปสร้างจิตสำนึกให้กับคนของโรงพยาบาลเองด้วยพลังงานโซลาร์จะช่วยโรงพยาบาลประหยัดเดือนหนึ่งกี่เปอร์เซ็นต์30 กิโลวัตต์นี้ก็ประมาณ เอา 30 กิโลวัตต์คูณด้วย 135 ก็จะได้เป็นหน่วยต่อปี แล้วคูณด้วย 4.5 บาท เท่ากับ 18,000 ต่อเดือน แล้วคูณด้วย 12 เท่ากับ 210,000 นี่คือประหยัด 2 แสนต่อปี เอาตัวเลขกลมๆ แล้วมันอยู่ได้ถึง 25 ปี ก็เอา 25 คูณ เท่ากับ 5 ล้าน(จากที่เขาขาดทุนก็จะช่วยตรงนี้) เราลงทุน 1.1 ล้าน ใน 25 ปี เราจะได้ 5.5 ล้าน นี่คือพลังบุญที่มันทวีคูณขึ้นไป(คิดที่ค่าไฟฟ้าราคาอยู่ที่ 4.5 บาทต่อหน่วย)        สถานการณ์ต่างๆ เราจะอัพเดทตลอด สามารถเข้าไปดูที่เว็บไซต์ได้ thailandsolarfund.org บริจาคที่นั่นแล้วก็มีใบเสร็จออกมาให้ได้เลย ซึ่งออนไลน์ ไม่ต้องมาบริจาคที่มูลนิธิก็ได้ ทั้งโครงการทั้งหมดนี้อยู่ในนามของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทันทีที่เราได้ 1.1 ล้าน เราก็จะทำที่โรงพยาบาลแรก ซึ่งยังไม่รู้ว่าโรงพยาบาลไหน  ก็คัดเลือกกันไว้แล้ว ดูความเหมาะสม ดูความกระตือรือร้นของแต่ละโรงพยาบาลด้วย เขาก็เงินเข้ามาสมทบ คนของเขาตื่นตัวไหม เสร็จโรงที่หนึ่งก็ดำเนินการโรงที่สอง ระหว่างนั้นเราก็รับบริจาคไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนด แต่ว่าเดือนมกราฯ นี้เราคาดหวังว่าควรจะได้โรงแรก พี่ตูนวิ่งได้เยอะแยะ แล้วเราเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 15 องค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีเครือข่ายของตัวเองอยู่ ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณเป็นประธาน ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่าเราจะได้จิตสำนึกของคนเพื่อมาลดโลกร้อน ขณะเดียวกันเราจะส่งแรงให้รัฐขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพราะรัฐกีดกัน net metering อยู่ แต่ถ้ามีกระแสแบบนี้ สร้างกระแสแบบนี้ มีข้อแนะนำอย่างไรสำหรับการเริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์คือตัวบ้านผมนี้ยังไม่ติดเลย เพราะว่าคนที่เขาติดแล้ว คนที่ค้านโรงไฟฟ้า สมมติค้านรัฐหน่อยก็จะถูกกลั่นแกล้ง เป็นที่หมายปอง ถ้าไปติดปุ๊บเขาจะมาถอดมิเตอร์ออกไป ทำให้ไฟฟ้าออกไปไม่ได้ หรือตอนนี้ก็ต้องติดอุปกรณ์ตัวหนึ่งเพื่อไม่ให้ไฟออก มันก็เลยลงทุนไปเปล่าประโยชน์ ฉะนั้นไม่คุ้มทุน คือคนติดแล้วนี่ลงทุน 1 กิโลวัตต์ ประมาณ 35,000 บาทใช่ไหม ถ้า 600 มันก็ประมาณ 2-25,000 บาท ประมาณนั้น พอติดแล้วมันจะจัดการกันเอง ไฟฟ้าไม่ต้องไปยุ่งมัน จะกระติกน้ำร้อนหรือว่าดูทีวีมันจัดการกันเอง (ลงทุนเล็กๆ อย่างนี้ก่อน) ใช่ แล้วมันจะคุ้มทุนประมาณ 4-5 ปีคือรอเวลาที่จะมีโครงการรับซื้อไฟใช่ ที่ออสเตรเลียเขาประกาศเป็นนโยบายแล้ว ติดแบตเตอรี่ 1 แสนหลัง ภายในกี่ปีผมจำตัวเลขไม่ได้ บ้านละ 2,000 เหรียญที่รัฐจะอุดหนุน  แต่สำหรับประเทศไทยเราไม่รอแล้ว เรารณรงค์แล้ว รณรงค์เรื่องติดโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันก็สร้างจิตสำนึกสร้างการเรียนรู้ของสังคมไทยว่า เราสามารถพึ่งตัวเองได้ว่าแสงอาทิตย์มีประโยชน์แล้วคนเหล่านี้ คนเล็กๆ เหล่านี้มารวมตัวกันบริจาคคนละร้อยสองร้อยเพื่อไปให้กับโรงพยาบาล ให้เขาเห็นสิ่งนั้น ในขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้ เมื่อเขาเรียนรู้เขาก็ไปคิดเองได้ว่าเขาควรจะทำอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้ เขาควรจะไปผลักนโยบายในระดับรัฐยังไง เขาควรจะปรับปรุงตัวเองยังไง         ผมเคยพูดไว้วันที่แถลงข่าวว่าคนเล็กๆ เหมือนกับผีเสื้อขยับปีก บางจังหวัดสามารถทำให้เกิดพายุทอนาโดได้ แต่มันไม่ได้เกิดทันทีหรอกนะ ขยับปีก ทฤษฎีเขาว่า ใช้หลักผีเสื้อขยับปีกที่ฮองกงวันนี้ อาจจะส่งผลให้เกิดพายุทอนาโดในสหรัฐอเมริกาในอีก 3 เดือนต่อไป เพราะฉะนั้นของเราไม่ใช่ขยับปุ๊บได้ปั๊บ แต่ตรงนี้มันเป็นการสะสมพลังไปในสังคมว่าคนเล็กๆ อย่างเราก็มีอำนาจ ก็มีพลังที่จะสามารถแสดงพลังออกมาให้สังคมได้เห็น และร่วมกันสร้างโลกใหม่ที่เราอยากจะเห็น ที่ไม่ร้อน ที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน โลกร้อนเป็นเรื่องที่ซีเรียสมาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 กระแสข่าวในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนมิถุนายน 2561ประกาศ “ควบคุมสัญญาห้องเช่า” ยังมีผล เมื่อศาลปกครองกลางไม่รับคุ้มครองชั่วคราว 14 มิ.ย.61 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำร้องขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนเพื่อมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจนถึงที่สุด ในคดีที่เครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่อที่อยู่อาศัยยื่นฟ้องคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา และ สคบ. ต่อศาลปกครองกลาง ว่าร่วมกันออกประกาศดังกล่าว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา กำหนดให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา เพื่อให้ สคบ. ใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการทำสัญญาเช่าให้บรรลุผล และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หากศาลมีคำสั่งทุเลาตามคำร้องก็จะทำให้ สคบ.ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และทำให้ สคบ. ไม่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบได้ทันท่วงที ส่วนการออกประกาศดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไปกฟภ. เตือนชาวบ้าน ระวังมิจฉาชีพลวงติดชุดประหยัดไฟ นายพิชัย ตติยสุขพร พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ.คง จ.นครราชสีมา ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีกลุ่มบุคคลอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไปตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า และพูดจาหว่านล้อมให้เหยื่อติดตั้งชุดประหยัดไฟ และเครื่องป้องกันไฟช๊อตในราคา 7,500 บาท จึงได้ไปตรวจสอบและพบกลุ่มบุคคลดังกล่าว พร้อมได้บันทึกภาพถ่ายเก็บไว้ แต่ปรากฏว่ามีการเรียกพรรคพวกหลายสิบคนเข้ามาห้อมล้อมคุกคามให้ลบภาพถ่ายดังกล่าวออก แล้วรีบขึ้นรถขับออกไปอย่างรวดเร็วจึงอยากขอฝากเตือนพี่น้องประชาชนอย่าได้หลงเชื่อบุคคลที่มาแอบอ้างว่าเป็นพนักงานการไฟฟ้า ถ้ามีกลุ่มคนมาแอบอ้างในลักษณะนี้ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ ให้ร้องเรียนที่สายด่วนศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า 1129  หรือ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เข้าตรวจสอบทันทีกสทช.ประกาศยุติการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz เหตุค่ายมือถือเมินนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ประกาศยุติประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ (MHz) หลังจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งเป็นรายสุดท้ายได้ประกาศไม่เข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จากก่อนหน้านี้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้ทำหนังสือถึงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เรื่องการไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 1800 MHz ไปแล้ว ต่อจาก กลุ่มทรู ที่เป็นรายแรก ในการไม่ขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800ทั้ง 3 ราย ให้เหตุผลว่า การประมูลครั้งนี้ ไม่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าและผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาวนั้น เลขาธิการ กสทช. ยอมรับว่า คาดการณ์ผิด เนื่องจากการประมูลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแนวทางของผู้ประกอบการที่ต้องการให้ กสทช. จัดการประมูล ก่อนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ จะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2561 นี้ พร้อมระบุว่า ราคาตั้งต้นการประมูลไม่สามารถปรับลดเหลือ 16,000 ล้านบาท ตามที่ดีแทคเสนอ เนื่องจากจะเกิดความเสียหายกับผู้ประกอบการ 2 ราย คือ เอไอเอส และ ทรู ที่ชนะการประมูลรอบที่แล้วในราคา ประมาณ 40,000 ล้านบาท และได้จ่ายค่าใบอนุญาตมาแล้วร้อยละ 70 ส่วนมาตรการเยียวยาคลื่น 1800 MHz จะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่มีการเปิดประมูลไม่ทันก่อนหมดอายุสัมปทาน อย่างไรก็ตาม กสทช. จะเสนอเรื่องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป ส่วนการเปลี่ยนแปลงราคา กสทช. คงปรับลดราคาลงไม่ได้ เพราะจะเกิดข้อครหากับสังคม เนื่องจากผู้ที่ประมูลได้ก่อนหน้านี้กำลังจะจ่ายค่าประมูลครบถ้วนแล้ว  สรรพากรชี้แจง ข่าวขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9% ไม่เป็นจริงสำนักข่าวไทย รายงานว่ากรมสรรพากรได้ออกประกาศชี้แจงกรณีข่าวในโซเชียลระบุรัฐบาลจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มเป็น 9% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561 นั้นไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมาได้มีกระแสความเข้าใจคลาดเคลื่อนลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งกรมสรรพากรก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจมาโดยตลอด ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนกหลงเชื่อข่าวดังกล่าวและขอให้ช่วยแชร์ข้อมูลนี้ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกันต่อๆ ไปด้วย ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161คอบช. ยื่นข้อเสนอ ก.พลังงาน ปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบเมื่อ 13 มิ.ย.61 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ด้านบริการสาธารณะ ได้เดินทางไปยังกระทรวงพลังงานเพื่อยื่นข้อเสนอการแก้ปัญหาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค 8 ข้อ ได้แก่ 1) ขอให้ยกเลิกการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง (ดีเซล เบนซิน และแก๊สโซฮอล์) ซึ่งใช้กลไกราคาเสมือนการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ที่มีการบวกค่าขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทย รวมเข้ากับราคาน้ำมันประเทศสิงคโปร์ และเปลี่ยนมาใช้กลไกราคาเทียบเท่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไปประเทศสิงคโปร์และไม่เกินราคาของประเทศสิงคโปร์ที่มีราคาต่ำกว่า 2) ให้ปรับปรุงราคาเอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาใกล้เคียงกับราคาจากประเทศผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ของโลก เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตเอทานอลทั้งภาคเกษตรและภาคการผลิต3) กำหนดราคาก๊าซแอลพีจี (LPG) หรือ ก๊าซหุงต้ม ไว้เท่าเดิมที่ 333 เหรียญต่อตัน โดยไม่ต้องนำเงินกองทุนน้ำมันไปจ่ายชดเชย และให้ภาคครัวเรือนได้ใช้ก่อนเป็นอันดับแรก4) หยุดการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงานชั่วคราว 5) แก้ไขการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 โดยเก็บจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นก่อน6) ขอให้ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 7) ให้รัฐบาลใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไกควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่ใช้กองทุน8) ขอให้รัฐบาลจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ให้เสร็จก่อนการเปิดประมูลให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งบงกชและแหล่งเอราวัณ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 โซเดียม และพลังงาน น้ำตาล จากบิสกิต-แซนวิช-แครกเกอร์

ขนมห่อเล็กๆ ที่เด็กมักจะเลือกหยิบฉวยเมื่อมีโอกาสได้เดินเข้าร้านสะดวกซื้อกับผู้ปกครอง โดยเฉพาะขนมอบกรอบ ตลอดจนขนมประเภทบิสกิต แซนวิช และแครกเกอร์ ที่มีบรรจุภัณฑ์สีสันสวยงาม รสชาติอร่อย และราคาไม่แพง ขนมเหล่านี้ล้วนสร้างความพึงพอใจและรอยยิ้มให้กับเด็กๆ ไม่น้อย ไม่เพียงแต่เด็ก ผู้ใหญ่อย่างเราบางครั้งเวลาเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า แล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออะไรติดไม้ติดมือกลับบ้าน ขนมประเภทนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หรือแม้แต่จะซื้อไปทำบุญใส่บาตร ก็รู้สึกเข้าท่าดีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามขนมประเภทนี้แม้เห็นว่าห่อเล็กๆ หน่วยบริโภคไม่ถึง 30 กรัม แต่ก็ให้พลังงานที่สูง และที่สำคัญมีปริมาณโซเดียมสูงด้วย การรับประทานจึงต้องเพิ่มความระวัง ซึ่งวิธีหนึ่งที่เราจะเลือกรับประทานให้ได้อย่างเหมาะสม ก็คือการพิจารณาฉลาก โดยเฉพาะฉลากโภชนาการ ซึ่งฉลาดซื้อฉบับนี้อาสานำข้อมูลบนฉลากโภชนาการของขนมประเภทนี้ มานำเสนอไว้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ  ข้อสรุปจากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ เมื่อพิจารณาที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้ง 35 ตัวอย่าง พบว่า หน่วยบริโภคที่น้อยที่สุดคือ ยี่ห้อ แซนวิชเค้กสอดไส้ครีมคัสตาร์ด ตราฟันโอ คือ 1 ชิ้น 13 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 40 มก. ขณะที่หน่วยบริโภคซึ่งมากสุด คือ ยี่ห้อ  เลมอน ครีมแซนวิซ ตราเบลลี่ คือ 1 ชิ้น 100 กรัม ให้พลังงาน 498 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 390.2 มก.   ส่วนผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่น้ำหนัก 1 หน่วยบริโภคจะอยู่ที่ประมาณ 30-35 กรัม  และหากลองนำผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มาคำนวณในหน่วยบริโภคที่เท่ากันหรือใกล้เคียง(30 กรัม) จะพบว่า ขนมอบที่นำมาดูฉลาก จะมีค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 150-160 กิโลแคลอรี สำหรับปริมาณโซเดียมนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของขนม โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคสูง(หน่วยบริโภคไม่เกิน 42 กรัม) คือ 1.แครกเกอร์สอดไส้ช็อคโกแลต ตรา มอลคิสท์  โซเดียม 200 มก. ต่อหน่วยบริโภค 42 กรัม 2.แครกเกอร์ไส้ครีม กลิ่นวานิลลา ตรา ไวโอเลต โซเดียม 160 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม3.คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตรา เพรสโต้ ครีมโอ โซเดียม  150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม4.โอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลตสอดไส้ครีมกลิ่นวานิลลา โซเดียม 150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 29 กรัม5.คุกกี้สตัฟ รสคุกกี้และครีม ตราวอยซ์ โซเดียม 130 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม อย่างไรก็ตาม หากดูจากฉลากที่นำมาเปรียบเทียบทั้งหมด ยี่ห้อ เลมอน ครีมแซนวิซ (ตราเบลลี่) ซึ่งมีหน่วยบริโภคที่ 100 กรัม(ชิ้นใหญ่) จะให้ปริมาณโซเดียมมากถึง 390.2 มก/100 กรัม ดังนั้นจึงควรแบ่งรับประทานในสัดส่วนที่เล็กลงมา ความสำคัญของฉลากโภชนาการนอกจากฉลากสินค้าจะบ่งบอกปริมาณหรือน้ำหนัก ให้เราได้เทียบความคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายจริงแล้ว ฉลากบนสินค้ายังมีประโยชน์มากกว่านั้นอีก โดยเฉพาะฉลากข้อมูลโภชนาการ ที่สามารถบอกเราได้ว่า หนึ่งหน่วยของอาหารที่เราบริโภคนั้น ได้มอบคุณค่าทางโภชนาการอะไรแก่ร่างกายเราบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งหน่วยบริโภคของขนมแครกเกอร์ 1 ห่อ (คำแนะนำว่า เราควรบริโภคเพียงครั้งละกี่ชิ้น คิดเป็นน้ำหนักกี่กรัม), จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ (แครกเกอร์ 1 ห่อ ควรแบ่งกินกี่มื้อ) หรือบอกว่าในหนึ่งหน่วยบริโภค (ปริมาณที่เราบริโภค 1 มื้อ) นั้นให้พลังงานต่อร่างกายเราทั้งหมดเท่าใดหากผู้บริโภคสังเกตบริเวณด้านหน้าของห่อขนม จะเห็นฉลากพื้นสีขาวที่มีลักษณะคล้ายปล้องไม้ไผ่ ถูกแบ่งเป็น 4 ช่อง ได้แก่ พลังงาน, น้ำตาล, ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเรียกว่า ฉลากหวานมันเค็ม หรือ ฉลากจีดีเอ (Guideline Daily Amount; GDA) ซึ่งเป็นฉลากที่บอกให้ทราบว่าเมื่อกินขนมเข้าไปทั้งถุงหรือซอง จะได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมปริมาณทั้งหมดเท่าไหร่ ถ้าเราดูเฉพาะตัวเลขในช่องพลังงาน จะเป็นตัวเลขค่าพลังงานของขนมทั้งซอง ถ้าสมมติว่าเป็นขนมห่อใหญ่ที่สามารถแบ่งกินได้ 4 ครั้ง ก็จะต้องนำค่าพลังงานจากฉลากจีดีเอ ไปหาร 4 จึงจะได้ค่าพลังงานที่ได้ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ฉลากแนะนำ ในความเป็นจริง ผู้บริโภคสามารถพลิกดูบนฉลากข้อมูลโภชนาการได้เลย ว่าขนมแต่ละซองได้แนะนำให้แบ่งกินกี่ครั้ง ครั้งละกี่ชิ้น และในการกินแต่ละครั้งตามคำแนะนำบนฉลาก จะได้รับพลังงานทั้งหมดเท่าใด ซึ่งง่ายต่อการสอนให้เด็กๆ รู้จักการแบ่งขนมห่อใหญ่รับประทานแต่พอดี ตามความเหมาะสมที่ฉลากแนะนำไว้ โดยร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI)* โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี (kcal), ไขมันทั้งหมดไม่เกิน 65 กรัม, โซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม และร่างกายของคนเรามีความต้องการน้ำตาลต่อวันประมาณ 6 ช้อนชา (ประมาณ 23-25 กรัม) หรือ สูงสุดไม่เกิน 10 ช้อนชา (40 กรัม) ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเอาไว้การใช้ข้อมูลฉลากโภชนาการทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกกินอาหารได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันขนมหลายยี่ห้อมีการบรรจุในหีบห่อขนาดใหญ่วางจำหน่ายในร้านค้า ซึ่งขนมห่อใหญ่เหล่านี้ สามารถแบ่งกินได้มากกว่า 1 ครั้ง การบริโภคในปริมาณมากเกินพอดี หรือกินหมดทั้งห่อ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน ไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมเกินความจำเป็นของร่างกายในหนึ่งวัน อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคอื่นๆ อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต

ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลตแม้หลายคนจะยกให้โดนัทจะเป็นของว่างแสนอร่อย จนบางครั้งก็กินเพลินจนลืมไปว่าในความอร่อยที่แสนหวานนั้น ให้พลังงานสูงไม่แพ้การรับประทานอาหารจานหลักเลยทีเดียว และที่มากไปกว่านั้นยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์อีกด้วย โดยสำหรับเจ้าไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) นั้น เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารทอด ครีมเทียม หรือพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นถูกจัดให้เป็นไขมันตัวร้าย เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภคฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาเอาใจคนชอบกินโดนัทกันอีกครั้ง ด้วยการทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลต จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาดจำนวน 13 ตัวอย่าง ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยประเทศไทยอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือ ห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 2561 อ้างอิงบทความข่าวจาก https://www.matichon.co.th/news/781033สรุปผลการทดสอบจากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า1. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ 100 กรัม มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 471 kcal./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 381 kcal./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้น มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 320 kcal./ ชิ้น (68 กรัม)ส่วนยี่ห้อ เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut) ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 85 kcal./ชิ้น (19 กรัม)2. ไขมันทรานส์ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดยแบ่งเป็น - ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ 100 กรัม มากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 6.65 กรัม./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field) มีปริมาณไขมันทรานส์น้อยที่สุด คือ 0.12 กรัม./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นมากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม./ ชิ้น (69 กรัม)ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นน้อยที่สุด คือ แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม./ ชิ้น (51 กรัม)ข้อสังเกต- ไขมันทรานส์ จากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ เฉลี่ย 1.25 ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือไม่ควรเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยหากเราบริโภคหลายชิ้น อาจได้รับปริมาณไขมันทรานส์มากกว่าเกินกว่า 2.2 กรัม/วันได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ - โดนัทส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม/ ชิ้น และให้พลังงานเฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งหากเราอร่อยเพลิน อาจทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ต้องการต้องการได้ เพราะอย่าลืมว่าโดนัท เป็นเพียงของหวานรับประทานเล่นเท่านั้น ยังมีอีก 3 มื้อหลัก/ วันรออยู่ (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่)**** อัพเดท***เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 203 พลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

เชื่อว่าหลายคนนิยมรับประทานเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลือง โกโก้ ช็อกโกแล็ต ชานม หรือไมโล โอวันติน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มักมาในรูปแบบทรีอินวัน ทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อม และเพียงแค่เราฉีกซองเติมน้ำร้อนก็สามารถรับประทานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อย พร้อมขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนักของเครื่องดื่มประเภทนี้ อาจทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมตรวจสอบปริมาณพลังงานและน้ำตาลที่เราจะได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าหากเราได้รับพลังงานและน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สามารถส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจจากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้นฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาตรวจสอบน้ำตาลและพลังงานในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 22 ตัวอย่าง รวมทั้งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ซึ่งจะแสดงผลในเล่มถัดไป สรุปผลการสำรวจฉลากจากตัวอย่างเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผงที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ จำนวน 22 ตัวอย่าง พบว่า 1. มี 1 ตัวอย่าง ไม่มีฉลากโภชนาการคือ มัช ชานมปรุงสำเร็จชนิดผง 2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุด คือ ซองเดอร์ เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปผสมงาดำ รสจืด มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้ปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ปริมาณน้ำตาล 22 กรัม/หน่วยบริโภค3. ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดคือ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้พลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ให้พลังงาน 190 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค4. นอกจากนี้ยังพบว่ามี 1 ยี่ห้อที่ไม่มีเลขสารบบอาหารคือ Royal Myanmar Teamix ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน (กูร์เมต์ มาร์เก็ต)ข้อสังเกต- การแสดงฉลากอาหารจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า 1 ตัวอย่างที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร อาจเข้าข่ายผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ที่กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้าหรือสำนักงานใหญ่ (แล้วแต่กรณี) 4.ปริมาณของอาหาร 5.ส่วนประกอบที่สำคัญ 6.คำเตือน/ ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร 7.ชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (ถ้ามี) 8.ข้อความ “แต่งกลิ่นธรรมชาติ/ สังเคราะห์” (ถ้ามี) และ 9.แสดงวันเดือนปี ผลิต/หมดอายุนอกจากนี้ตัวอย่างที่ไม่มีฉลากโภชนาการหรือไม่ระบุฉลากโภชนาการภาษาไทย อาจสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคบางส่วนได้ เนื่องจากฉลากโภชนาการมีความสำคัญในแง่ของของการให้ข้อมูลและความรู้ ด้านคุณค่าทางโภชนาการอาหารกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารในแต่ละวันให้เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการตารางแสดงผลการสำรวจฉลากภาษีน้ำตาล ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มในไทยมีมูลค่าปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักของการเติบโตนี้มาจากการขายเครื่องดื่มที่มีรสหวาน แม้ว่าภาครัฐจะมีการเพิ่มอัตราภาษีน้ำตาลจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 แต่ก็ยังสวนทางกับจำนวนคนเป็นโรคอ้วนที่มีมากขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2557 ดังนั้นรัฐจึงได้มีการเพิ่มภาษีน้ำตาลในอาหารชนิดต่างๆ ในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยหวังให้เป็นมาตรการหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาลดการทานหวาน มัน เค็ม  โครงสร้างการจัดเก็บค่าความหวานนั้น จะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ค่าความหวาน 0-6 กรัมต่อ 100 มล. ไม่ต้องเสียภาษี ค่าความหวาน 6-8 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน  8-10 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 10-14  กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร และค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มล.ขึ้นไป เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร โดยให้เวลาภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับตัวเป็นระยะเวลา 2 ปี ก่อนจะเริ่มเก็บจริงในวันที่ 1 ต.ค. 2562

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 198 น้ำตาลและพลังงาน ในกาแฟซอง ทรีอินวัน

กาแฟซอง 3 in 1 เป็นกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ผู้บริโภคในบ้านเราให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะสะดวก เพียงฉีกซองใส่แก้วเติมน้ำร้อนก็ดื่มได้แล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปากในราคาไม่แพงมากอีกด้วย โดยเหตุผลหลักที่ทำให้กาแฟประเภทนี้รสชาติดีก็มาจากส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ กาแฟ ครีมเทียมและน้ำตาล ซึ่งผสมผสานมาแล้วพร้อมกับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ อย่างลงตัว ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคที่ไม่อยากชงกาแฟดื่มเองได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อยและขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าในกาแฟทรีอินวันเหล่านี้อาจมีปริมาณน้ำตาล ไขมันและให้พลังงานสูง ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจ จากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูงได้ เราจึงต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟประเภทนี้ ฉลาดซื้อจึงขออาสาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลและพลังงาน ของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง  3 in 1 จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 18 ตัวอย่าง หลังจากในเล่มที่ผ่านมาเราเคยทดสอบ คาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มหรือกาแฟกระป๋องกันไปแล้ว ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกันเลยสรุปผลการสำรวจฉลากจากกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง แบบ 3in1 ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ 18 ตัวอย่าง พบว่า1. ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน ให้พลังงาน 185 กิโลแคลอรี/40 กรัม และเนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ริช อโรมา ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี/19.4 กรัม ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ ให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี/18 กรัม2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอลี่คาเฟ่ คลาสิค มีน้ำตาล 13.8 กรัม/20 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ มีน้ำตาล 0 กรัม/18 กรัม(ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล)3. ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน มีไขมัน 7 กรัม/40 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันน้อยที่สุดคือ บัดดี้ดีน ทรีอินวัน เอ็กซ์ตร้าโรสท์ มีไขมัน 0 กรัม/18 กรัม4. มี 7 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาลหรือไขมันได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. อาราบัส ทรีอินวัน ออริจินัล 2. เฟรนช์ คาเฟ่ ริช โกลด์ 3. จีเซเว่น คอฟฟี่มิกซ์ 4. กาแฟเขาทะลุ สูตรเอสเพสโซ่ 5. กาแฟเขาทะลุ สูตรดั้งเดิม 6. เบอร์ดี้ โรบัสต้า และ 7. มอคโคน่า ทรีโอ เอสเปรสโซ่ตารางแสดงปริมาณพลังงาน น้ำตาลและไขมันในกาแฟ ทรีอินวันสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 สารปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทรีอินวัน การใส่สารปรุงแต่งหรือวัตถุเจือปนอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่ดี คงตัว สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา และทำให้มีสีสันที่คล้ายธรรมชาติ ได้แก่ 1.สารควบคุมความเป็นกรด2.สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน3.อิมัลซิไฟเออร์ คือ สารที่ทำให้ส่วนผสมที่ปกติไม่สามารถผสมกันได้ สามารถรวมตัวกันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน และช่วยยืดอายุการเก็บรักษา4.สารช่วยทำละลาย 5.สารที่ทำให้คงตัว 6.สารเพิ่มปริมาณ(มอลโตเดกซ์ตริน) คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) 7.สี กลิ่น เลียนแบบธรรมชาติตลาดกาแฟในปี 2557 กาแฟ 3 in 1 ครองส่วนแบ่งของตลาดกาแฟ ด้วยมูลค่าตลาด 15,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้นำทางการตลาดคือ เนสกาแฟ มีส่วนแบ่งที่ร้อยละ 63 ตามมาด้วยซูเปอร์กาแฟ ส่วนแบ่งที่ร้อยละ 12 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นของเบอร์ดี้และมอคโคน่า อย่างไรก็ตามตลาดกาแฟ 3 in1 จะมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ดาว คอฟฟี่ อาราบัส ของดัชมิลล์ ทำให้กลายเป็นตลาดที่มีความแข่งขันสูงมากที่มา: http://marketeer.co.th/archives/38718

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 195 ค่าพลังงานใน “ไก่ทอดเกาหลี”

“ไก่ทอดเกาหลี” อีกหนึ่งเมนูอร่อยที่อิมพอร์ตมาจากแดนกิมจิ ตามรอยวัฒนธรรมเกาหลีฟีเวอร์ ที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีอาหารสัญชาติเกาหลีหลากหลายเมนูมาให้คนไทยลิ้มลอง พร้อมๆ กับการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของร้านอาหารเกาหลีเมนูไก่ทอดถือเป็นเมนูโปรดของคนไทยเราอยู่แล้ว จะทำกินเองก็ง่าย หรือจะหาซื้อก็มีขายทั่วไป ทั้งจากร้านแผงลอยรถเข็นริมทาง ไปจนถึงร้านแฟรนไชส์ชื่อดัง เรียกว่ามีให้เลือกกินเลือกชิมสารพัดสูตรสารพัดรสชาติ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่กระแสความนิยมในไก่ทอดเกาหลีถึงได้มาแรงราวกับติดจรวด เพราะคนไทยเราชอบลองอะไรใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งภายในระยะเวลาไม่นานก็มีร้านไก่ทอดเกาหลีหลายแบรนด์หลายยี่ห้อถือกำเนิดขึ้นในบ้านเราฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์ เราได้ลองสุ่มเก็บตัวอย่าง ไก่ทอดเกาหลี หลากหลายยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบดูเรื่อง “ค่าพลังงาน”  ลองดูกันสิว่าไก่ทอดเกาหลีแสนอร่อย สูตรของเจ้าไหนให้พลังงานเท่าไหร่กันบ้างไก่ทอดเกาหลี แตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปยังไง?สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ไก่ทอดสไตล์เกาหลีแตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปก็คือ ไก่ทอดเกาหลีจะมีการคลุกเคล้าได้ซอสสูตรเฉพาะเพื่อเพิ่มรสชาติหลังจากทอดเสร็จ ซึ่งซอสที่ว่ามีส่วนผสมหลักๆ คือ กระเทียม และ น้ำผึ้ง ทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเป็นเอกลักษณ์ โดยในเกาหลีจะเรียกไก่ทอดที่เคลือบด้วยซอสรสกระเทียมและน้ำผึ้งว่า “ยังยอม” (Yangnyeom Chicken) ซอสสำหรับคลุกไก่ทอดสไตล์เกาหลี แต่ละร้านก็มีสูตรเฉพาะของตัวเองแตกต่างกันออกไป นอกจากซอสที่กระเทียมและน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบแล้ว ก็ยังมีสูตรที่ใช้ “โคชูจัง” หรือที่บ้านเราเรียกว่าน้ำพริกเกาหลี ช่วยทำให้ไก่ทอดมีรสเผ็ด บางสูตรก็ใช้แค่ซอสถั่วเหลืองใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลเพิ่มความหวานมูลค่าการตลาดของ “ไก่ทอด” -ตลาดฟาสต์ฟูดในประเทศไทยมีมูลค่ารวมมากกว่า 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี-“ไก่ทอด” ถือเป็นประเภทของอารหารฟาสต์ฟูดที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุดในไทย ประมาณ 1.4-1.7 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า 40% จากตลาดรวมของฟาสต์ฟูดทั้งหมด -ยอดขายของ ไก่ทอดเกาหลีจากร้าน “บอนชอน” ร้านขายไก่ทอดเกาหลีเจ้าแรกๆ ของประเทศ ทำรายได้เพิ่มจาก 289 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น 543 ล้านบาท ในปี 2558 และ 11 เดือนแรกของปี 2560 ขยับขึ้นไปแล้วกว่า 900 ล้านบาท โดย 2 ปีนี้ (2558-2559) ได้ขยายสาขาเพิ่มถึง 15 แห่ง โดยคาดว่าจะมีสาขารวมถึงสิ้นปี 2560 ที่ 25 สาขาที่มา : “ไก่ทอด “1.7 หมื่นล้าน” เดือด แบรนด์ใหม่ดาหน้าถล่ม “เคเอฟซี”” ผู้จัดการออนไลน์, 13 ก.ค. 2558 และ “เปิดสูตรแจ้งเกิด‘บอนชอน’ 6 ปี ยอดขายทะลุพันล้านบาท” ฐานเศรษฐกิจ,  16 ธ.ค. 2560ผลทดสอบ-จากผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยของพลังงานในไก่ทอดเกาหลีที่ขายอยู่ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 100 – 150 กิโลแคลอรีต่อไก่ 1 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของไก่ โดยชิ้นส่วนที่เป็นน่องจะมีน้ำหนักมากกว่าชิ้นส่วนที่เป็นปีก-เฉพาะตัวอย่างไก่ทอดเกาหลีจากร้าน Bon Chon และ Kyo Chon ชิ้นที่นำมาวิเคราะห์คือ ส่วนน่องใหญ่ หรือน่องติดสะโพก ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น ซึ่งเป็นชิ้นส่วน น่องและปีก บริเวณปีกบน เป็นเหตุผลให้ปริมาณค่าพลังงานต่อไก่ทอด 1 ชิ้น สูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ-ปกติเรากินไก่ทอดกันเป็นอาหารจานหลัก กินพร้อมกับข้าว ซึ่งถ้าดูจากปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการกินไก่ 1 ชิ้น ถือว่าค่อนข้างสูง แน่นอนว่าถ้ากินเป็นอาหารจานหลักเราก็จะกินไก่ทอดมากกว่า 1 ชิ้นแน่นอน ซึ่งบรรดาร้านขายไก่ทอดที่ฉลาดซื้อทำการสำรวจ ส่วนใหญ่มีการเสิร์ฟแบบเป็นเซ็ต คือ เสิร์ฟไก่ทอดพร้อมข้าวสวย สลัด หัวไชเท้าดอง หรือ กิมจิ  โดยใน 1 เสิร์ฟก็อาจจะมีไก่ทอดอยู่ตั้งแต่ 3-5 ชิ้น คิดแล้วก็เท่ากับว่าเราจะได้ปริมาณพลังงานจากการกินเซ็ตไก่ทอดเกาหลีในร้าน 1 เสิร์ฟ เฉลี่ยอยู่ที่ 300 -500 กิโลแคลอรี ซึ่งก็ถือเป็นเกณฑ์ที่รับได้สำหรับอาหารจานหลัก 1 มื้อ โดยปริมาณพลังงานจากอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน คือ ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 ถูกยกเลิกสัญญาไม่มีเหตุผล

สัญญาเช่าที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาการเช่าที่ชัดเจน อาจทำผู้บริโภคบางคนถูกเอาเปรียบด้วยการบอกเลิกสัญญากะทันหัน ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้ ซึ่งเราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ลองไปดูกันคุณสมใจตกลงเช่าห้องพักรายเดือนย่านอนุสาวรีย์ชัย ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท โดยขอเช่าพื้นที่จอดรถด้วย เป็นรถยนต์ 1 คันในราคาค่าเช่าที่จอดคันละ 1,000 บาท/เดือน และรถจักรยานยนต์ 1 คัน คันละ 200 บาท/เดือน อย่างไรก็ตามหลังอยู่ไปได้ 8 เดือนกว่า ทางเจ้าของหอพักก็ส่งหนังสือมาแจ้งว่า ห้ามนำรถมาจอดในพื้นที่ของหอพักอีกต่อไป โดยไม่ชี้แจงเหตุผลใดๆ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับคุณสมใจอย่างมาก เนื่องจากเธอไม่เคยผิดนัดชำระค่าที่จอดรถหรือฝ่าฝืนกฎการจอดรถของหอพักแต่อย่างใด ทำให้เธอยังคงนำรถเข้ามาจอดในพื้นที่ที่เช่าไว้ตามปกติ เพราะคิดว่าอาจเกิดจากความเข้าใจผิดและไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เหตุการณ์กลับแย่ลงกว่าเดิม เมื่อทางหอพักได้ส่งหนังสือแจ้งมาอีกครั้งว่า ได้ยกเลิกสัญญาเช่าห้องพักของเธอเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเธอได้เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามหนังสือขอยกเลิกที่จอดรถ โดยกำหนดให้ขนย้ายสิ่งของออกจากห้องพักดังกล่าวภายใน 2 สัปดาห์อีกด้วยเมื่อเหตุการณ์กลายเป็นเช่นนี้ คุณสมใจจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนที่ต้องหาห้องพักใหม่กะทันหัน และอยากให้ทางหอพักเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิได้ส่งจดหมายเชิญทั้งสองฝ่ายมาเจรจา และให้ผู้ร้องส่งหลักฐานสัญญาเช่ามาเพิ่มเติม เพื่อนำมาตรวจสอบระยะเวลาการเช่า ซึ่งหากพบว่าได้กำหนดระยะเวลาการเช่าที่ชัดเจนไว้ ผู้ให้เช่าก็ไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาได้ หากผู้เช่าไม่ผิดสัญญาหรือไม่มีเหตุให้บอกเลิก หรือกรณีที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาเช่าที่ชัดเจนไว้ การบอกเลิกสัญญาสามารถทำได้ตามมาตรา 566 ความระงับแห่งสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ว่า คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน ดังนั้นการที่ผู้ให้เช่ากำหนดให้ผู้ร้องต้องขนย้ายสิ่งของออกภายใน 2 สัปดาห์ อาจถือเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่มีความเป็นธรรม เพราะทำให้ผู้ร้องเดือดร้อนและไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้ทัน นอกจากนี้อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย ซึ่งผู้ร้องสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ผลเจรจาจะเป็นอย่างไร ขอนำเสนอในโอกาสต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 เช็คปริมาณพลังงานใน “ชีสทาร์ต”

หลายคนคงจะยังจำปรากฏการณ์ “ต่อคิวซื้อ” ของขนม 2 รสชาติที่เคยเขย่าวงการคนชอบทานขนมในเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน ทั้ง “โรตีบอย” ที่เคยฮิตถล่มทลายทั่วบ้านทั่วเมืองเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่ว่าตอนนี้ปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อย หรืออย่าง“โดนัท คริสปี้ ครีม” ที่สร้างกระแสคนรอซื้อต่อแถวยาวเป็นกิโลสมัยที่เพิ่งมาเปิดสาขาในเมืองไทยเมื่อ 6 ปีก่อนมายุคนี้ก็เป็นคิวของ “ชีสทาร์ต” ที่มาสร้างกระแสเป็นขนมหวานยอดฮิตชนิดใหม่ล่าสุด ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนชอบรับประทานขนมหวานและคนที่รักชีส ซึ่ง ณ เวลานี้ก็มีชีสทาร์ตหลากหลายแบรนด์ให้ได้ลองเลือกซื้อเลือกชิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านที่อินพอร์ตมาจากต่างประเทศ เพราะว่ากันว่าชีสทาร์ตมีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น แถมบรรดาร้านเบเกอรี่ชื่อดังหลายๆ เจ้า ก็ผลิตเมนูชีสทาร์ตออกมาต้อนรับกระแส ขอแข่งกับแบรนด์ชีสทาร์ตเจ้าดัง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของคนกินเพราะมีตัวเลือกหลากหลายฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์อยู่แล้ว ก่อนหน้านี้เราก็เคยทดสอบดูเรื่องของพลังงานในขนมดังๆ อยู่เสมอ ในเมื่อตอนนี้ ชีสทาร์ต กำลังได้รับความนิยม มีหรือที่ ฉลาดซื้อ จะพลาด โดยครั้งนี้เราจะนำชีสทาร์ตมาวิเคราะห์ดูปริมาณพลังงาน ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ไปดูกันสิว่าชีสทาร์ตของแต่ละร้านมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนกันบ้างชีสทาร์ต ทำมาจากอะไร?ส่วนประกอบหลักๆ ของชีสทาร์ต แบ่งได้เป็น 2 ส่วน 1.ส่วนของแป้งทาร์ต ส่วนประกอบหลักๆ ก็จะมีแป้งอเนกประสงค์ เนยจืด ไข่แดง น้ำตาลไอซ์ซิ่ง ส่วนที่ 2 ก็คือไส้ที่เป็นครีมชีส จะประกอบด้วย ครีมชีส มาสคาโปเน่ชีส น้ำตาลทราย นมสด วิปปิ้งครีม ไข่ตารางแสดงผลการทดสอบเปรียบเทียบสารอาหารต่างๆ ในชีสทาร์ต***ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น***เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน มกราคม 2560ผลทดสอบ-ผลทดสอบปริมาณพลังงานใน ชีสทาร์ต ทั้ง 7 ตัวอย่าง พบค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานต่อชีสทาร์ต 1 ชิ้น อยู่ที่ 239.05 กิโลแคลอรี-โดยตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้นสูงที่สุดคือ ตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 325.55 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 16.27% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน คือ 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งเหตุพลที่ทำให้พบปริมาณพลังงานในตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery สูงกว่าตัวอย่างจากร้านอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำหนักของชีสทาร์ตต่อชิ้นมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น-ซึ่งถ้าเทียบในปริมาณของชีสทาร์ตที่ 100 กรัมเท่ากัน ตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากร้าน Flavour Field ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 455 กิโลแคลอรีต่อทาร์ตชีส 100 กรัม -ไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มาพร้อมกับขนมปังหรือขนมอบ โดยปริมาณไขมันที่เหมาะสบกับร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งจากผลวิเคราะห์พบว่าชีสทาร์ตทั้ง 7 ตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม อยู่ที่ 25.21 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง-สำหรับปริมาณโซเดียมในชีสทาร์ต พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 211 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม หรือคิดเป็น 8.7% ของปริมาณที่เหมาะใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมฉลาดซื้อแนะนำ-ปริมาณพลังงานเฉลี่ยของชีสทาร์ต 1 ชิ้นที่ 239.05 กิโลแคลอรี ถือว่าใกล้เคียงกับปริมาณของอาหารจานเดียว 1 จานที่ปริมาณ 300 – 600 กิโลแคลอรี เพราะฉะนั้นถึงคุณจะชอบขนมหวาน ชอบชีส หรือชอบชีสทาร์ตมากสักแค่ไหน ก็ต้องหักห้ามใจ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้ารวมกับอาหารจานหลักที่เราต้องรับประทานอีก 3 มื้อ เราก็มีโอกาสได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ-เช่นเดียวกับปริมาณไขมันในที่พบในชีสทาร์ต มีพบว่ามี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25.21 กรัม ต่อทาร์ตชีส 100 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ถ้ามองในมุมว่าชีสทาร์ตเป็นเพียงแค่ขนมหวานทานเล่น เพราะต้องไม่ลืมว่าใน 1 วันเราต้องรับประทานอาหารมื้อหลักอีก 3 มื้อ ซึ้งก็มีความเป็นไปได้ว่าเราจะได้ไขมันมากกว่าปริมาณที่เหมาะสมใน 1 วันปริมาณสารอาหารที่เหมาะกับร่างกายใน 1 วัน-พลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี-โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม)-ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม-กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม-โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม-คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม-ใยอาหาร 25 กรัม-โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม-น้ำตาล น้อยกว่า 24 กรัม (ประมาณ 6 ช้อนชา)ที่มา : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes))

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 โซล่าร์เซลล์.......เหมาะกับสังคมคนไทยจริงหรือ

เราอาจจะไม่ต้องเกริ่นนำให้ยืดยาวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทนมาเพื่อสอดรับกับเรื่องวิกฤติพลังงาน  เพราะจากข้อมูลทางสถิติบอกว่า  นับแต่ประมาณปี 2543 เป็นต้นมา อัตราความสำเร็จในการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าเมื่อถึงปี 2050 จะไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่อีกต่อไปแล้ว   มาใช้พลังงานทางเลือกกันเถอะ ปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้หรือปัญหาน้ำมันแพง เป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการหันมาเลือกใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยทั้งเราและโลกให้ดำรงอยู่แบบไม่ลำบากในภายภาคหน้านัก พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงพลังงานที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรรอบตัวที่ไม่มีวันหมด เช่น สายลม แสงแดด สาบน้ำ เศษอาหาร มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ ฯลฯ จึงถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานกระแสหลักทุกวันนี้ ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน คำตอบก็คือ เพราะต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะยิ่งทำยิ่งถูก   เพราะมีค่าใช้จ่ายหลักคือการลงทุนตอนต้น หลังจากนั้นวัตถุดิบล้วนแต่หาได้รอบตัวในราคาถูก หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่นเมื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว นอกเหนือจากค่าตรวจสภาพ ซ่อมบำรุง ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสายลมจัดการต่อ   ส่วนพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่มีเหลือเฟือและเหมาะกับบ้านเมืองเรามากที่สุดก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์   พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเป็นการใช้พื้นที่หลังคาบ้าน อาคารธุรกิจ หรือโรงงาน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งส่วนที่อยู่บนหลังคา ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรง (Direct Current) ซึ่งจะถูกส่งมายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรือ Inverter ที่ติดตั้งอยู่ภายในบ้าน เพื่อเปลี่ยนกระแสไฟตรงให้เป็นกระแสสลับ (Alternate Current) ที่สามารถนำมาใช้งาน ได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ตามปกติ ไฟฟ้าที่ผลิตได้และผ่าน Inverter แล้วจะสามารถขายให้แก่การไฟฟ้าได้ทั้งหมด โดยได้รับราคาตามมาตรการ FiT ที่ภาครัฐกำหนด คือ •          ขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัย ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.96บาทต่อหน่วย •          ขนาดกลาง มากกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 250 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.55 บาทต่อหน่วย •          ขนาดมากกว่า 250 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.16 บาทต่อหน่วย ข้อดีของการผลิตไฟฟ้า ณ ที่มีการใช้แบบนี้คือ จะช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบจำหน่ายได้ และเป็นการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ   ตัวอย่างการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย ในปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนของไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เฉพาะที่ภาคอีสาน พบว่า มีศักยภาพสูง  ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ รวมทั้งการที่ชาวบ้านสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาพลังงาน ตัวอย่าง ที่ยโสธร มีการนำพลังงานลม ที่ได้จากกังหันลมมาช่วยลดต้นทุนการผลิต และสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร จนการทำไร่ทำนาสามารถทำได้ทุกฤดูกาลไม่ต้องรอฟ้ารอฝน รวมทั้งที่สุรินทร์  นำน้ำเสียจากโรงงานขนมจีน หรือมูลสัตว์ มาผลิตแก๊สชีวภาพในชุมชน เป็นต้น     โซล่าร์เซลล์ช่วยเราประหยัดอย่างไร ข้อมูลการเปรียบเทียบให้เห็นการลงทุน+การคุ้มทุน+การประหยัดพลังงาน ฯลฯ ตาราง  GZTH-PV Price Guide for FIT Program 13-09-13 เครดิต คุณสุทัศนา กำเนิดทอง บ.เกร็นโซน(ประเทศไทย) จำกัด   SOLAR PV PRICE GUIDE FOR THAI FIT PROGRAM 13th September, 2013 ขนาดของระบบ พื้นที่ติดตั้ง(ตรม.) PERFORMANCE MULTIPLIER FIT Rate ( บาท ) กำลังการผลิตเฉลี่ยต่อปี(kwh) รายได้เฉลี่ยต่อปีจาก FIT (บาท) ค่าติดตั้ง(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จุดคุ้มทุน(ปี) 2 20 3.9 6.96 2,847 19,815 168,000 8.48 3 30 3.9 4,271 29,723 246,000 8.28 5 50 3.9 7,118 49,538 405,000 8.18 10 100 3.9 14,235 99,076 800,000 8.07 20 200 3.9 6.55 28,470 186,479 1,560,000 8.37 50 500 3.9 71,175 466,196 3,850,000 8.26 75 750 3.9 106,763 699,294 5,550,000 7.94 100 1000 3.9 142,350 932,393 7,000,000 7.51 150 1500 3.9 213,525 1,398,589 10,200,000 7.29 200 2000 3.9 284,700 1,864,785 13,200,000 7.08 250 2500 3.9 6.16 355,875 2,192,190 16,000,000 7.30 500 5000 3.9 711,750 4,384,380 30,000,000 6.84 1000 10000 3.9 1,423,500 8,768,760 55,000,000 6.27 สรุปจากตาราง .....จะพบว่า บ้านที่ติดตั้งระบบโซล่าร์ รู๊ฟ ในพื้นที่ขนาด  30 ตร.ม. ขนาด 3 กิโลวัตต์ เงินลงทุน 246,000 บาท ได้ไฟ 4,271 หน่วย/ปี ขายไฟฟ้าได้ประมาณ 29,723 บาท/ปี เพราะฉะนั้นคืนทุนใน 8.28 ปี   โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ คือ โปรแกรมที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สนใจเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บ้านพักอาศัย, อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และ อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ หรือโรงงาน ขนาดตามที่ระบุไว้ข้างต้น ที่ขายไฟฟ้าได้ตามมาตรการ FiT ของภาครัฐ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งต้นการคำนวณได้ทั้งจากพื้นที่ในการติดตั้งที่มีอยู่ หรือกำลังการติดตั้งที่ต้องการ และเลือกชนิดของแผงเซลล์และราคาระบบที่สามารถจัดซื้อได้ต่อ 1 กิโลวัตต์ และกดคำว่าคำนวณ ผลจากการคำนวณจะได้ทราบข้อมูลดังนี้ •          เงินลงทุนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่ต้องจ่าย •          พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี •          จำนวนเงินที่ขายไฟฟ้าได้ต่อปี •          จำนวนปีที่คืนทุน เพื่อให้รู้ว่าท่านจะคุ้มทุนในกี่ปี สามารถดาวน์โหลดได้ที่http://www.ces.kmutt.ac.th/pvroof/index.php สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โทร 02 223-0021 ต่อ 1246 คุณกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร.   การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา กระทรวงพลังงาน ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อป ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200  MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี โดยมีช่วงระยะเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดทำการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (รวม 15 วันทำการ) ระหว่างเวลา 9.00 น. – 15.00 น. อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าประเภทอาคารบ้านอยู่อาศัยสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 10 คำขอ และประเภทอาคารธุรกิจ/โรงงานสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้เพียง 1 คำขอ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะพิจารณาแบบคำขอและประกาศผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าบน Website ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ข้อสังเกต ระเบียบการยื่นคำร้องมีรายละเอียดปรากฏที่เว็ปไซต์ของกระทรวงพลังงาน มีข้อสังเกตว่า ใบสมัครมีความซับซ้อน เข้าถึงยาก แม้คนที่จบทางด้านวิศวกรรมมายังใช้เวลานานในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้หากผู้บริโภคทำเรื่องขออนุญาตด้วยตนเองจะยากและใช้เวลามากกว่าการขอผ่าน บริษัทตัวแทนจำหน่ายโซล่าร์เซลล์  เช่น การขอใบรับรอง รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น     ความจริง เรื่องขายไฟฟ้าของประชาชนกับการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ตัวอย่างในต่างประเทศที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างเยอรมัน เดนมาร์กก็ทำปกติ คือใช้แผงของตัวเองเลยถ้าเหลือก็ขายได้แต่เน้นเอามาใช้ในครัวเรือนก่อน หรือบางทีเขาเรียกเป็นมิเตอร์ 2 ทาง คือขายไปกับเข้ามาแต่ว่าหักลบกันก่อนแล้วค่อยไปคิดเงินกัน ของบ้านเรานั้นมิเตอร์ 2 ตัวไม่ใช่มิเตอร์ 2 ทางที่เรียกมิเตอร์ 2 ตัวคือตัวหนึ่งขาย ตัวหนึ่งซื้อ ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ทำที่ใกล้ที่สุดก็ญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นไม่ค่อยเยอะนักประเทศเราก็ทำได้ดีแล้วแต่ว่าเสียดายที่มันมาติดเรื่องเวลา คือถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรยังพอว่าแต่นี่คิดออกแล้วดันมาล็อคเรื่องเวลาซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าล็อคทำไม ล็อคแล้วมันกลายเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจมากกว่า แต่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้นนะ ผลระยะยาวจะขายใครได้อีก ลึกๆ แล้วอยากให้มันแน่นอนนะ เหมือนรถปีที่แล้ววุ่นกันพอสต๊อกไว้แล้วก็ค้างบาน ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้กันว่าสิ่งที่มันดูเหมือนช่วยเอาเข้าจริงมันอาจไม่ได้ช่วย   ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เยอรมัน เดนมาร์ก เขาเอาไปทำต่อเนื่องมันก็เลยประสบความสำเร็จไปในระยะยาว แผง Solar cell ของเขาก็กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีของไทยเหมือนทำอย่างเขา แต่เราไม่รู้รัฐบาลจะเปิดรอบไหน อย่างเราขายแผง Solar cell เองนั้นก็ไม่รู้เราจะไปลงทุนผลิตเองดีไหมในเมื่อมันยังไม่ชัวร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมันไม่ชัวร์เราก็รับมาจากต่างประเทศละกันอันไหนถูกกว่าหน่วยงานเราก็หากันเฉพาะหน้าไป เพราะฉะนั้นต่างประเทศที่เขาทำระยะยาวมันจึงประสบความสำเร็จในการสนับสนุน เริ่มตั้งแต่คนติดตั้งเยอะขึ้น คนลงทุนเยอะขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจ Solar cell อย่างครบวงจรได้ มันต้องการความชัดเจนในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี อีกโมเดลหนึ่งคือ ผมคิดว่าประเทศไทยเราไม่มีเลย คือการลงทุนสนับสนุนสำหรับชุมชนหรือบ้านเรือนที่ใช้ในแนวของพลังงานอย่างยั่งยืน เรื่องการสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมเราไม่มีเลย วิธีการคิดของรัฐบาลคือติดตรงไหนก็เอาไปขายเข้าระบบอย่างเดียวแต่ของต่างประเทศเขามีคนมาร่วมกันเป็นสหกรณ์ เป็นบริษัทก็ได้ ถ้าทำมาเป็นโครงการลักษณะแบบที่จะมีการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งมันไม่ได้มีแต่ Solar cell อย่างเดียว ยังมีอื่นๆ อีกที่ทำได้ เช่นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำ สมมติว่าเราสร้างบ้าน 20 หลังแล้วเราทำท่อที่สิ่งปฏิกูลมาทำไบโอแก็สได้ ไบโอแก็สก็จ่ายคืนกลับไปสู่การใช้ LPG อันนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นในต่างประเทศการสนับสนุนเขาจะให้แต่ละที่คิดเองว่าจะทำอะไรได้บ้าง บางที่ก็ Solar cell อย่างเดียว บางที่ก็ Solar cell บวกกังหันลม บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแก็ส บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแมส อย่างเช่นกิ่งไม้ หมู่บ้านจัดสรรกิ่งไม้เยอะมาก เสร็จแล้วก็ไม่รู้ทำอย่างไรจริงแล้วเอามาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นการให้สนับสนุนในโครงการลักษณะแบบนี้มันจำเป็นที่จะต้องมี เพราะในที่สุดแล้วมันคือการลดการใช้ไฟฟ้าแต่ปัจจุบันการให้ความสนับสนุนของรัฐฯ นั้นให้ก็ต่อเมื่อมีการขายไฟฟ้า ซึ่งบางคนเขาไม่ได้ขายแต่ว่าเราทำเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลงอันนี้มันก็เป็นการสนับสนุนของรัฐบาลไทย มันเหมือนกับขาเดียวไม่ได้ทำ 2 ขา คือใครขายก็ขาย ใครที่ใช้อยู่ก็ต้องใช้ให้มันน้อยลง   นโยบายของรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมนอกจากเรื่องรับซื้อแล้วยังมีอะไรอีกเรื่องการส่งเสริมพลังงานโซล่าร์เซลล์ ไม่มีเลย ที่เหลือก็จะเป็นโครงการ มันไม่ได้เป็นกลไกนะโครงการมันเป็นกลไกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ การรับซื้อที่มันเป็นกลไกมันก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะมันดันมาล็อคเรื่องเวลา เพราะฉะนั้นบ้านเรามันขาดกลไกจริงๆ เหมือนเราอุดหนุน LPG รัฐบาลออก LPG แต่คนทำไบโอแก็สเยอะเลย ชาวบ้านทำไบโอแก็สไม่ช่วยเขาเลย เขาทำไบโอแก็สแก้ปัญหาให้คุณไม่มีการอุดหนุนเลย คนทำไบโอแก็สก็ทำกันไปเรื่อยๆทั้งที่จริงการอุดหนุนไบโอแก็สนั้นง่ายมาก อุดหนุนผ่านวัสดุเลยถ้าคุณซื้ออันนี้เพื่อเอาไปทำไบโอแก็สคุณได้ส่วนลด ก็เหมือนกับรถคันแรกไปซื้อเสร็จคุณก็ไปขอส่วนลดใช่ไหม แต่นี่ไม่ได้ลดเป็นแสน ลดเป็นหลักพันหลักร้อยเองแล้วคุณก็ขึ้นบัญชีคนซื้อ LPGคุณได้ ใครซื้อไฟต่ำกว่าเท่านี้ก็ไปขออัตราลดLPGคุณทำได้เลย ชาวบ้านที่ทำไบโอแก็สจำนวนก็น้อยกว่า ความตั้งใจก็เยอะกว่า ประโยชน์ก็เยอะกว่า คุณก็ไม่ช่วย ผมคิดว่ารัฐบาลมองอะไรที่มันแบบผิวเผิน   สาเหตุที่รัฐบาลไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง เขาเน้นเป้า คือหมายถึงว่าอยากให้ได้ Solar cell กี่เมกะวัต คิดหาวิธีที่มันง่ายที่สุด เขียนนโยบายมาว่าจะต้องได้เท่านี้ สมมติว่าเขาได้ในระยะเวลาที่เขากำหนด เขาก็คิดว่ามันจบเลยต่อจากนี้ไม่ต้องยุ่งอีกต่อไป วิธีคิดเขาเป็นแบบนี้ แต่เขาไม่ได้มองว่าในความเป็นจริงคนค่อยเรียนรู้มันจะเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เขาไม่ได้มองเรื่องอนุรักษ์พลังงาน จริงๆผมว่าเขาไม่เคยมองเรื่องคนเลยมากกว่า คือทุกเรื่องสุดท้ายเราต้องการคนที่เปลี่ยนไป เขามองแค่การลงทุน ผมนี่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยถ้าผมคิดว่าเงิน2แสนมันคุ้มค่า ผมก็โทรสั่งมาติด จบ ผมไม่ได้เปลี่ยนอะไร เขาสนใจแค่ได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ อันนี้ทำให้เขาได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ง่ายที่สุดก็จบแล้วสำหรับเขา   ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน แต่ยังไม่ต้องการขายไฟฟ้าให้แก่ภาครัฐ ทำได้ โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บางจุดของบ้าน  เช่น ทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือน หรือติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์บริเวณเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น   เยอรมัน อังกฤษ เดนมาร์ก และจีน เป็นประเทศที่มีนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ โดยประเทศเยอรมันมีความก้าวหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศอังกฤษที่เดิมมีพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักมีการใช้พลังงานกระแสหลัก เช่น ถ่านหิน น้ำมันเป็นหลักเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ประกาศใช้นโยบาย RPS  ประเทศเดนมาร์ก ที่มีเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบสหกรณ์    และประเทศจีนที่กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากที่สุด ปัจจุบันเดนมาร์กมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 30,000 แห่ง โดยมีเครื่องมือประมาณ 35,000 เครื่องสำหรับใช้ในระบบทำความร้อน และที่เกาะ Aeroe   ในเดนมาร์กเป็นที่ตั้งของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 19,000 ตรม. โดยพลังงานที่ได้ใช้สำหรับผลิตระบบความร้อนภายในเกาะพลังงานของระบบความร้อน 1 ใน 3 ของที่ใช้ในเดนมาร์กได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้สำรองไว้ใช้ในฤดูใบไม้ร่วง และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   7,500 MWh โดยมีการลงทุนเพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้วจำนวน 49 ล้านโครนเดนมาร์ก ซึ่งเงินจำนวน19 ล้านโครนเดนมาร์กจากจำนวนนี้มาจากการสนับสนุนของสหภาพยุโรปลำดับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 151 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2556 ตรวจสุขภาพ...อาจทำร้ายสุขภาพ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) รายงานว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการตรวจที่ไม่เหมาะสม เป็นการตรวจสุขภาพโดยการสุ่มตรวจหรือการตรวจแบบ “เหวี่ยงแห” นอกจากจะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น นำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็น นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพ(ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น) ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่เป็นการตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ การตรวจการทำงานของตับ ไต หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น โดยทาง HITAP ได้ทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและราชวิทยาลัยต่างๆ จัดเป็นโปรแกรมการตรวจคัดกรอง 12 เรื่อง เตรียมเสนอให้กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง 12 เรื่องที่อยู่ในโปรแกรมการตรวจมีอย่างเช่น การตรวจโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสายตา ฯลฯ พร้อมกับกำหนดช่วงวัยที่เหมาะสมและจำนวนการตรวจ ซึ่งประชาชนควรได้รับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ ก่อนเข้ารับการตรวจ     ตู้น้ำดื่มตกมาตรฐาน ปัจจุบันมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เลือกบริโภคน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ แต่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าบรรดาตู้น้ำดื่มทั้งหลายที่ตั้งให้บริการอยู่นั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดที่รับหน้าที่ดูตรวจสอบความปลอดภัยที่ชัดเจน แถมล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุมตรวจความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่าเกินครึ่งตกมาตรฐาน อย. ได้เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจตัวอย่างคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขต กทม.จำนวน 300 ตัวอย่าง พบผ่านมาตรฐาน 129 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 43 ตกมาตรฐาน 171 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 57 โดยรายการที่ไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุด คือ ค่าความเป็นกรดด่าง ซึ่งอาจมาจากระบบการกรองของตู้ (Reverse Osmosis) ซึ่งไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง อย. ออกมาเปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉยกับปัญหานี้ โดยขณะนี้ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติ เพื่อกำหนดคุณภาพของน้ำบริโภคที่ผลิตจากเครื่องอัตโนมัติโดยตรง ขณะนี้เหลือเพียงรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมบังคับใช้ในปี 2557 ซึ่งเมื่อมีผลตามกฎหมายหากพบตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติของผู้ประกอบการรายใดไม่ได้มาตรฐานจะมีโทษทันที   อย.มั่นใจนมผงไทยไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากมีข่าวที่ชวนให้ตกใจ เรื่องการพบเชื้อแบคทีเรียในเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นที่ผลิตจากบริษัท ฟอนเทียร่า ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นนี้ถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์นมต่างๆ โดยเฉพาะนมผง โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบการปนเปื้อนมีอันตรายหากมีการบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาตรวจสอบปัญหาดังกล่าวเพื่อคลายความกังวลของผู้บริโภคในประเทศไทย ทั้งการตรวจเข้มการนำเข้า เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เชิญผู้ประกอบการมาชี้แจงหามาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัย สำหรับกรณีที่ บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย ที่มีบางผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากบริษัท ฟอนเทียร่า บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย จึงได้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์บางตัว ประกอบด้วย 1.ดูโปร สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุในระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557, 2. ไฮคิว สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 09 พฤษภาคม 2556 ถึง 15 กรกฎาคม 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 09 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 มกราคม 2558, 3. ไฮคิว สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 25 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 25 ธันวาคม 2558, 4. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 14 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 14 ธันวาคม 2557 และ 5. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557 ส่วนผลิตภัณฑ์นมดัดแปลงและอาหารทารกสำหรับเด็กเล็กจากบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอื่นๆ รวม 73 รายการ ที่แจ้งกับทาง อย. ทาง อย. ยืนยันว่าไม่มีบริษัทใดนำเข้าหรือใช้เวย์โปรตีนล็อตที่เป็นปัญหาเป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด   เตรียมปรับฉลากอาหาร ปริมาณ “น้ำตาล – เกลือ” ต้องอ่านง่าย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการจัดทำฉลากอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือใหม่ จากเดิมที่ระบุปริมาณเป็นมิลลิกรัม ซึ่งอ่านเข้าใจยาก โดยเฉพาะในฉลากขนมที่มีน้ำตาลและเกลือสูง หวังช่วยให้เด็กๆ มี่ซื้อรับประทานอ่านฉลากมากขึ้น โดยฉลากแบบใหม่ต้องปรับให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย อาจใช้รูปสัญลักษณ์ในการบอกค่า เช่น รูปช้อน แทนปริมาณน้ำตาล 1ช้อน หรือ 2 ช้อน พร้อมกับระบุวิธีการเผาผลาญออกจากร่างกาย และผลกระทบ ผลเสีย หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายด้วย เช่น น้ำตาล 2 ช้อน การเผาผลาญต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที หรือ เกลือ หากได้รับปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยอาจจะทำเป็นสติกเกอร์ติดที่ซองอาหารเพิ่มเติมจากฉลากเดิมที่มีอยู่แล้ว ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คนไทยเราเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ มากขึ้น โดยในปี 2554 ข้อมูลจากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน 277,020 ราย โดยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด เช่น ไตวาย ร้อยละ 25 รองลงมาคือแทรกซ้อนทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหินร้อยละ 23 คาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนมากขึ้น   พลังคนไทยทวงคืนพลังงานชาติ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อร่วมแสดงพลังเรียกร้องความเป็นธรรม หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อชุมนุมคัดค้านการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี พร้อมทั้งล่ารายชื่อ 5 หมื่นชื่อ ยื่นถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงานทั้งสิ้น 5 คน เนื่องจากนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ประชาชนทั่วประเทศเดือดร้อน ซึ่งการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อรวมคัดค้านนั้น จะกระจายไปทุกจังหวัด โดยตั้งเป้าให้ได้จังหวัดละ 1 พันรายชื่อ เพื่อแสดงพลังของประชาชนที่คัดค้านการปรับขึ้นราคาแอลพีจีและจะนำรายชื่อไป ยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป ก๊าซแอลพีจี หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับภาคครัวเรือน เริ่มปรับขึ้นราคาเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยปรับราคาขึ้นกิโลกรัมละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่อเดือนต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิมที่ราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.82 บาทต่อกิโลกรัมใครที่อยากร่วมลงชื่อถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงาน สามารถเข้าไปโหลดเอกสารลงรายชื่อได้ที่ลิงค์ http://www.gasthai.com/pengout.pdf และติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมและข้อมูลต่างๆ เรื่องความไม่เป็นธรรมของธุรกิจพลังงานในไทยได้ที่เฟซบุ๊ค Goosoogong   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2552 22 พ.ย. 52โพลชี้ชัด! ผู้บริโภคไม่อยากดูโฆษณาแฝงนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยข้อมูลผลสำรวจ “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโฆษณาแฝง” พบว่ากว่าร้อยละ 72 ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางที่ สคบ. กำลังพิจารณาว่าการปรากฏให้เห็นของสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง ทำให้มีโฆษณาแฝงเกิน 12.30 นาทีต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายระบุไว้ จากการสำรวจส่วนใหญ่เห็นว่าโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์รุกล้ำสิทธิของผู้บริโภค และคิดว่าควรมีการเปิดเผยข้อมูลรายได้จากโฆษณาแฝงและให้มีการตรวจสอบระบบการเสียภาษีให้กับรัฐให้ถูกต้อง นางอัญญาอร กล่าวว่า “ร่างฯ นี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา แต่กลับจะยิ่งทำให้โฆษณาแฝงมีความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย เพราะร่างแนวทางระบุให้การปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณา ซึ่งจะยิ่งทำให้มีโฆษณาแฝงในรายการทีวีเพิ่มมากขึ้น” 26 พ.ย. 52องค์กรผู้บริโภคจี้ ก.อุตสาหกรรมเลิกใช้ “แร่ใยหิน” เหตุเป็นสารก่อมะเร็งแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวทีปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 เรื่อง “ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก” โดยมีผู้แทนองค์กรผู้บริโภคจากทั่วประเทศ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอ เพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินหรือสารแอสเบสตอส ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยพบได้ในผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน กระเบื้องปูพื้น ผ้าเบรก หรือแม้กระทั่งในเครื่องสำอาง องค์กรผู้บริโภคมีข้อเสนอ 10 ข้อยื่นต่อกระทรวงอุตสาหกรรมโดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้กำหนดมาตรการยกเลิกการนำเข้าภายใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิต การจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินที่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ภายใน 1 ปี พร้อมทั้งยกเลิกภาษีวัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายที่สามารถใช้ทดแทนแร่ใยหิน และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและชนิดของสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน 27 พ.ย. 52อย. ออกคำสั่ง! ห้ามใช้ยาแอสไพรินกับเด็กสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีคำสั่งให้ผู้ผลิตยาแอสไพรินแก้ไขทะเบียนตำรับยา ไม่ให้ใช้ แก้ปวด ลดไข้ ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการรายย์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงเนื่องจากตับถูกทำลาย ทำให้สมองบวม ชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย. เปิดเผยว่า มียาแอสไพรินที่ขึ้นทะเบียนโดยเป็นยาสำหรับเด็กเท่านั้น จำนวน 29 ตำรับ และตำรับที่มีข้อบ่งใช้ทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ 55 ตำรับ ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องมีหน้าที่แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยา โดยให้ตัดข้อความที่แสดงสรรพคุณที่ใช้สำหรับเด็กออกไป ซึ่งคำสั่งนี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2552 หากไม่ปฏิบัติตามประกาศจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย 29 พ.ย 2552“นมหวาน” ทำร้ายเด็ก ทันตแพทย์หญิงจันทนา อึ้งชูศักดิ์ ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ระบุว่ายังมีผู้ปกครองซื้อนมหวานให้เด็กบริโภคเป็นประจำถึงปีละ 9,924 พันตัน ผลเสียทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นทันทีจากการดื่มนมรสหวานโดยใช้ขวดนม คือเด็กจะฟันผุตั้งแต่ฟันน้ำนมยังขึ้นไม่เต็มปาก ส่งผลให้เด็กเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ปวดฟัน นอนหลับไม่สนิท การกินนมรสหวาน จะนำไปสู่พฤติกรรมติดหวานและทำให้เด็กอ้วน จึงมีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต “แม้เครือข่ายด้านสุขภาพร่วมกับ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 286 ระบุไม่ให้มีการเติมน้ำตาลซูโครสลงในนมผงสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็ก ตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ทำให้แนวโน้มการใช้นมรสหวานเลี้ยงเด็กทารกลดลงอย่างมาก ปีละประมาณ 1,000 ตัน แต่ประกาศดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงนมผงครบส่วนสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป จึงทำให้ยังมีทั้งนมผงรสหวานและรสจืดวางขายในท้องตลาดอีกจำนวนมาก  ร้องนายก ให้ กฟผ. คืนเงินคนใช้ไฟฟ้ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต.เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพลังงานทางเลือก ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ เพื่อขอให้ยุติการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และนำเงินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายส่งคืนให้แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า เพราะการจัดตั้งกองทุนเพื่อเรียกเก็บเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการเอาเปรียบประชาชน ทั้งนี้ กฟผ. ได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 โดยเรียกเก็บเงินจากค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) ซึ่งเป็นการเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ เครือข่ายประชาชนยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1.ให้ กฟผ. ยุติการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จากค่าเอฟทีโดยทันที 2.ให้นำเงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนฯ ไปแล้วทั้งหมดส่งคืนให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยเร็ว 3.ให้หามาตรการที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อการเรียกเก็บเงินสำหรับดำเนินการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งหมดโดยตรง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการตามที่ได้เรียกร้องจะถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด กลุ่มองค์กรและเครือข่ายประชาชนก็จะนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลเพื่อดำเนินการต่อไป เร่ง คลัง – พลังงาน ทวงเงินชาติคืนจากปตท.เครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายประชาชน ยื่นหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้บังคับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินกลับคืนให้กับประเทศ หลังจากศาลพิพากษาให้ ปตท. ต้องทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มีมติมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง รับไปดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิตามหลักการดังกล่าว โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แต่จากรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2551 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้โอนทรัพย์สินเพียงเฉพาะที่ดินเวนคืนมูลค่า 1.45 ล้านบาท สิทธิการใช้ที่ดินมูลค่า 1,125.11 ล้านบาท และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่บนที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิเพียง 3 โครงการ (โครงการท่าบางปะกง-วังน้อย โครงการท่อจากชายแดนไทยและพม่า-ราชบุรี และโครงการท่าราชบุรี-วังน้อย) รวมเป็นมูลค่าทรัพย์สินที่แบ่งแยกกลับไปเป็นของรัฐทั้งสิ้นเพียง 16,176.22 ล้านบาท โดยไม่มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขณะที่ตามรายงานของผู้สอบบัญชีต่อมูลค่าทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รายงานว่า ทรัพย์สินที่จะต้องดำเนินการคืนให้กระทรวงการคลัง มีมูลค่าทางบัญชีสุทธิ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2544 จำนวน 52,393,498,180.37 ล้านบาท นอกจากนี้ จากการตรวจสอบทรัพย์สินโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายประชาชน พบว่ายังมีทรัพย์สินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเพิ่มเติมหลังการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย รวมมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต้องแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอีกจำนวนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 205,891 ล้านบาทมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายจึงต้องการเรียกร้องให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ให้ ปตท. คืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ครบถ้วนโดยเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ดื่มเพื่อตาย

วันหนึ่งของเดือนมีนาคม 2558 ผู้เขียนได้มีโอกาสชมข่าว Midday delivery ของช่อง 3 แฟมิลี ซึ่งมีรูปแบบการเล่าข่าวที่น่าสนใจ เพราะพิธีกรมีความคล่องตัวในการพูดและสอดแทรกความรู้ด้านภาษาอังกฤษและจีนตลอดเวลา ตอนหนึ่งของข่าวได้กล่าวถึงผู้เคราะห์ร้ายในต่างประเทศที่ดื่มเครื่องดื่มให้พลังงาน (Energy drink) ซึ่งมีเหล้าผสมอยู่แล้วมีอาการหัวใจวายจนเกือบตาย ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์กับคาเฟอีนในกาแฟโบราณใส่น้ำแข็ง ซึ่งมีผู้หวังดีซื้อให้ดื่มระหว่างการเล่นแบดมินตัน โดยที่ผู้เขียนลืมไปว่ากาแฟโบราณที่ขายส่วนใหญ่นั้น ใช้ผงกาแฟชงน้ำร้อนในลักษณะที่ได้กาแฟที่มีความเข้มข้นสูง คาเฟอีนจึงมีมาก ดังนั้นเมื่อดื่มกาแฟขณะเล่นแบดมินตัน ซึ่งต้องใช้พลังงานสูง หมายความว่าหัวใจต้องสูบฉีดโลหิตอย่างแรง คาเฟอีนที่ได้จากการดื่มกาแฟจึงไปเสริมการเต้นของหัวใจของผู้เขียนให้สูงขึ้นกว่าที่เคยเป็น จนรู้สึกเหมือนหัวใจจะหลุดออกมาจากทรวงอก สิ่งที่ทำได้ตอนนั้นคือ นั่งพักเลิกเล่นแบดในวันนั้นไปเลย เพราะมิเช่นคงไม่ได้มานั่งเขียนบทความนี้แน่นอน เรื่องของเครื่องดื่มให้พลังงานนั้นเป็นประเด็นลำดับต้น ๆ ที่องค์กรเอกชนบางองค์กรสนใจในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อราว 30 ปีก่อน กาลเวลาผ่านไปปัญหาไม่ได้ถูกแก้สักเท่าไร แต่เรื่องราวนั้นค่อนข้างเงียบไป เพราะประเด็นที่องค์กรเอกชนต่อต้านคือ การใช้ฝาจุกชิงโชคมาเป็นการโฆษณานั้นดูจางไป เพราะผู้ประกอบการหันไปหารับประทานจนร่ำรวยจากการขายในต่างประเทศที่ไม่มีการต่อต้านการดื่มสินค้านี้ อย่างไรก็ดีกรรมกรที่ทำงานในบ้านเรานั้น ต่างก็กระดกเครื่องดื่มให้พลังงานทุกเช้าก่อนเริ่มงาน โดยให้เหตุผลว่าทำให้มีแรงและกระชุ่มกระชวยทำงานได้ ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้จะห้ามปรามอย่างไร จึงลองซื้อมาดื่มดู ก็พบว่ากินโอวเลี้ยงดูจะต้องจริตของผู้เขียนมากกว่า จึงได้แต่คิดว่า กรรมใครกรรมมัน เพราะกรรมกรบางคน ถึงจะดื่มไม่เกินวันละสองขวดตามคำแนะนำก็ตาม แต่ก็ดื่มหลายยี่ห้อในวันเดียวกัน เลยได้เกินสองขวดโดยไม่เจตนา ครั้นมาพบข่าวที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานผสมเหล้าในต่างประเทศเข้า จึงลองเข้าไปดูใน YouTube ว่ามีคลิปเรื่องประมาณนี้ด้วยหรือ ปรากฏว่าเพียบเลย โดยส่วนใหญ่เป็นคลิปห้ามปรามการดื่มเครื่องดื่มแบบที่ว่ากับเหล้า หรือดื่มเครื่องดื่มแบบที่มีการผสมเหล้าเข้าไปในกระป๋องเลย เนื่องจากก่ออันตรายต่อหัวใจ   คลิปแรกเป็นข่าวจากสหรัฐอเมริกาชื่อ Dangers of Alcoholic Energy Drinks ซึ่งมีเนื้อข่าวย่อ ๆ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของ อย. เริ่มกังวลการวางขายเครื่องดื่มให้พลังงาน(energy drink) ชนิดที่มีการผสมเหล้า(ซึ่งบางยี่ห้อเลวร้ายมากเพราะมีแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 12) ปะปนไปกับเครื่องดื่มให้พลังงานแบบเดิม จึงทำให้นักเรียนและนักศึกษามีโอกาสได้จิบแอลกอฮอล์ขณะนั่งเรียนหนังสือ นักข่าวได้เสนอว่าควรแยกการวางขายบนชั้นในร้านสะดวกซื้อให้ชัดเจน คลิปที่น่าสนใจซึ่งขอแนะนำให้เข้าชมเพราะเป็นต้นเรื่องของข่าวใน Midday delivery เผื่อมีใครจะสามารถจะสื่อสารข้อมูลนี้แก่คนไทยที่อาจมีการดื่มในลักษณะนี้แล้วคือ The Hidden Dangers Of Energy Drinks ซึ่งเอาขึ้น YouTube เมื่อ 29 ตุลาคม 2014 มีใจความย่อๆ ว่า ซาร่าและสเตฟานีได้เฉลิมฉลองการสอบเสร็จโดยไม่ได้คิดว่า เครื่องดื่มที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของ อย. ออสเตรเลีย (ซึ่งในคลิปบอกว่าเป็น premixed alcoholic energy drink) ที่พวกเขากำลังดื่มจะฆ่าพวกเขา เพราะไม่นานหลังจากที่ดื่มไปไม่กี่กระป๋อง (แต่คงเกิน 2 กระป๋องตามที่ฉลากระบุว่าไม่ควรเกิน) ซาร่าก็ตายอย่างน่าอนาถ ในขณะที่สเตฟานีโชคดีไม่เป็นไร นักข่าวของคลิปนี้ได้พาไปดูกระบวนการขายสินค้าชนิดนี้และสำรวจสิ่งที่เป็นส่วนผสม พร้อมการไปสัมภาษณ์นักวิชาการและแพทย์ถึงปัญหาที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มนี้เกินที่กำหนด ซึ่งมีสมมุติฐานหนึ่งที่น่าสนใจคือ องค์ประกอบของเครื่องดื่มประเภทนี้อาจไปเพิ่มเกล็ดเลือดทำให้เลือดข้นขึ้น จนเกิดการอุดตันในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ นักข่าวได้ลองทำการศึกษาเล็ก ๆ โดยให้มีการเจาะเลือดอาสาสมัครที่ดื่มเครื่องดื่มนี้แล้ววัดความหนืดของเลือดที่เจาะออกมาก็พบแนวโน้มว่าน่าจะสนับสนุนสมมุติฐาน คลิปต่อไปคือ Energy Drinks and Alcohol ซึ่งเป็นการเตือนผู้บริโภค (โดยเฉพาะวัยรุ่น) จากหน่วยงานราชการของอังกฤษมีใจความว่า การผสมเครื่องดื่มให้พลังงานกับเหล้านั้นอาจทำให้บางคนคิดว่าจะเมาน้อยลง แต่อัลกอฮอล์ยังออกฤทธิ์และก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการขับขี่รถยนต์ จึงไม่ควรผสมเครื่องดื่มสองชนิดเข้าด้วยกัน (มีเครื่องดื่มในไทยบางชนิดที่ผสมสารชีวเคมีเช่น กลูตาไทโอน แล้วโฆษณาว่าทำให้ตื่นเช้าไม่เมาค้าง ซึ่งปัจจุบันทราบกันดีว่า กลูตาไทโอนถูกย่อยหมดในทางเดินอาหาร ไม่สามารถไปถึงตับเพื่อช่วยในการทำลายแอลกอฮอล์ได้....ผู้เขียน) คลิปที่น่าสนใจมากเพราะกล่าวตรง ๆ ว่า premixed alcoholic energy drink ควรถูกยกเลิกคือ  Why Mixing Alcohol And Caffeine Is So Bad  ในคลิปนี้กล่าวถึงการขายเครื่องดื่มให้พลังงานในบาร์เหล้า ซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่าต้องผสมเหล้าในเครื่องดื่มนี้แน่ แม้ว่ามันจะวางขายแยกกัน โดยผู้ดื่มมักคิดว่า การทำเช่นนี้ทำให้ได้พลังงานพร้อมจะเมาได้จนสุดฤทธิ์สุดเดช ในคลิปยังกล่าวว่า มีรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการพบว่า การดื่มเครื่องดื่มแบบนี้ทำให้โอกาสเกิดอาการใจสั่นไม่เป็นจังหวะถึง 6 เท่าและมือไม้สั่น หงุดหงิดฉุนเฉียว นอนไม่หลับ ถึง 4 เท่า ของคนปรกติที่ดวดเหล้าอย่างเดียว จากการสัมภาษณ์คนโง่เหล่านี้พบว่า เขาคิดว่าตนเองควรเมาน้อยลงจึงเทน้ำทองแดงลงคอมากขึ้น ที่สำคัญคาเฟอีนนั้นได้ทำให้ผู้ดื่มเมาฟุบช้ากว่าปรกติ จึงหยุดดื่มช้ากว่าเดิม ทำให้สามารถเพิ่มความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือดได้สูงขึ้น ส่วนคลิปสุดท้ายที่จะแนะนำให้ดูนั้น เหมาะสำหรับคนที่กินเงินเดือนที่ได้จากภาษีของคนไทยหลายกลุ่มช่วยกันดู เผื่อว่าจะมีอะไรสะกิดสมองให้คิดทำประโยชน์แก่ผู้จ่ายภาษีบ้าง คลิปนั้นชื่อ 16x9 - A Dangerous Mix: Energy drinks and booze ซึ่งเอาขึ้น YouTube เมื่อ 30 เมษายน 2012 และมีความยาวถึง 23.54 นาที คลิปนี้มีลักษณะที่เรียกว่าเป็น all in one คือ ดูคลิปนี้แล้วได้ทุกอย่างที่เป็นปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดจากการดื่มเครื่องผสมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เหยื่อผู้รอดตายจากการดื่มเครื่องดื่มผสมนี้ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่จาก อย. ของแคนาดา สิ่งที่น่ากระทำเป็นอย่างยิ่งคือ น่าจะให้บริษัทรับพากษ์หนังที่เรารู้จักกันดีจากหนังแผ่นต่างๆ ช่วยพากษ์คลิปนี้ (เพราะมี subtitle ซึ่งถึงแม้จะไม่ค่อยตรงนักก็ตามให้ดู) แล้วหน่วยงานที่เอาภาษีบาปไปใช้ในการคงอยู่ของหน่วยงานทำการเผยแพร่ในรูปซีดีแจกฟรีแก่โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนในยามที่เรากำลังปฏิรูปการศึกษาใหม่ เพื่อให้เด็กได้รู้ในสิ่งที่ทำให้เขาเอาตัวรอดได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ได้แต่... อะไรก็ไม่รู้.....ที่ไร้ประโยชน์จนเด็กบางคนเอาตัวไม่รอดดังเช่นทุกวันนี้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 123 ฝันร้ายก่อน 2012

  มีนาคม 2554 ที่ผ่านไปแล้วนั้น กลุ่มคนที่ฝันร้ายที่สุดในโลกคงไม่เกินชาวญี่ปุ่น ที่ประสบปัญหาอุบัติภัยในการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติที่น่าวิตกครั้งหนึ่งของมนุษย์ชาติ ส่งผลให้อนาคตของการใช้พลังงานปรมาณูในการผลิตไฟฟ้าในหลาย ๆ ประเทศไม่แน่นอนไปเลย  การเกิดปัญหาเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะคนญี่ปุ่นมีปูมหลังที่หวาดกลัวสารรังสีมาตั้งแต่สมัยโดนทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ จนเวลาผ่านมาราว 66 ปี และคนในยุคนั้นเหลือน้อยเต็มที่ ความหวาดกลัวได้หายไปเกือบหมด ดูได้จากก่อนเกิดปัญหาที่ฟูกูชิมา หลายจังหวัดของญี่ปุ่นที่ไม่มีโรงไฟฟ้าปรมาณูได้ดำริจะขอจัดตั้งบ้าง เนื่องจากเห็นประโยชน์ของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ว่า เป็นพลังงาน (เหมือน) สะอาด และราคา (เหมือน) ถูก ทั้งนี้เพราะชาวญี่ปุ่นปัจจุบันเป็นกลุ่มชนที่ฟุ่มเฟือย ใช้พลังงานมากที่สุดในโลกก็ว่าได้  จะถือว่าเป็นโชคดีหรือเคราะห์ร้ายก็ตาม ที่โรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณูที่ฟูกูชิมาเกิดมีปัญหาเนื่องจากแผ่นดินไหวและเกิดสึนามิขึ้นมา โครงการสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูทั่วโลกจึงหัวทิ่มไปหมด ถึงขนาดที่ประเทศเยอรมันที่กำลังจะต่ออายุโรงไฟฟ้าที่เตรียมยกเลิกแล้วต้องยกเลิกจริงไปเลย เพราะเป็นโรงไฟฟ้ารุ่นเก่า  จึงมีคำถามว่า แล้วคนไทยจะรนหาที่ไปทำไมในเรื่องโรงไฟฟ้าปรมาณู หรือมันตอบสนองความต้องการของใครกันแน่  ถามใหม่ว่า ถ้าประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าปรมาณู ถึงมันจะเป็นเจ็นเนอเรชั่นที่ 3 ซึ่งปลอดภัยสุด ๆ ตามที่เขาบอกแล้วก็ตาม โอกาสจะเกิดปัญหาแบบฟูกูชิมามีได้หรือไม่ คำตอบแบบใช้ไขสันหลังแบบเน้น ๆ คือ มีแน่นอน และเมื่อได้คำตอบนี้แล้ว คนไทยจะทำอย่างไรถ้าเกิดอุบัติภัยเช่นนี้  ผู้เขียนตอบตนเองต่อคำถามดังกล่าวว่า ไม่รู้แฮะ เพราะไม่เคยคิด เหมือนเราไม่เคยคิดเรื่องสึนามิมาก่อน ดังนั้นผู้เขียนจึงลองสร้างสถานการณ์ว่า ถ้าเมืองไทยมีโรงไฟฟ้าปรมาณูตั้งอยู่ที่ ศาลายา นครปฐม สิ่งแรกที่ผู้เขียนจะทำคือ ขายบ้านซึ่งอยู่ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ทิ้ง ย้ายไปอยู่ที่ใดก็ได้ที่มีภูเขาที่สามารถบังกระแสลมจากศาลายา ทั้งนี้เพราะเป็นที่ทราบดีว่า ถ้าไม่สามารถควบคุมการทำงานของแกนกลางที่ให้พลังงานของโรงไฟฟ้าปรมาณูได้ สารรังสีที่สามารถลอยไปกับลมสองชนิดหลักคือ ไอโอดีน 131 และซีเซียม 137 มีการกระจายแน่ในเริ่มแรก ภูเขาจึงอาจช่วยได้บ้าง   แล้วเราควรเตรียมร่างกายอย่างไรถ้ามีการตอกเสาเข็มสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู แต่ย้ายบ้านไม่ได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องทำร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง มีระบบภูมิต้านทานดี เพราะอันตรายของสารรังสีที่สำคัญคือ การก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งน่ากลัวเนื่องจากเม็ดเลือดขาวนั้นเป็นระบบที่คอยกำจัดเซลล์มะเร็ง แล้วเมื่อกลายเป็นมะเร็งเสียเอง ทุกอย่างก็จบกัน ดังนั้นที่สำคัญที่สุดคือ ต้องทำให้ระบบเม็ดเลือดขาวแข็งแรงสามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายเนื่องจากสารกัมมันตภาพรังสีได้  สารกัมมันตภาพรังสีนั้น ไม่ว่าชนิดใดก็ไม่ควรให้ปนในอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย เพราะการแผ่รังสีภายในร่างกายนั้นสามารถทำให้เซลล์ของระบบต่าง ๆ กลายเป็นมะเร็งได้ทุกระบบ แต่ที่เสี่ยงที่สุดคือ ระบบที่มีความพร้อมในการแบ่งตัวตลอดเวลา คือ ระบบเม็ดเลือดขาว อย่างไรก็ดี แม้เม็ดเลือดขาวจะเสี่ยงต่อการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง เม็ดเลือดขาวเองก็มีระบบซ่อมแซมหน่วยพันธุกรรมของตัวเองเหมือนเซลล์อื่น ๆ เพียงแต่ต้องกินสารอาหารที่มีประโยชน์ครบ  เคยมีงานวิจัยที่พบว่า คนที่รอดตายจากการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมานั้น ถ้าใครมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้สูงจะมีชีวิตที่ยืนยาวและลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่ชอบผักและผลไม้  การศึกษาในหนูทดลองที่ถูกฉายรังสีแกมม่า (ซึ่งสามารถได้รับจากไอโอดีน 131 และสารกัมมันตภาพรังสีอีกหลายชนิด) นั้น ถ้าสัตว์ได้รับวิตามินเอ (หรืออาจเป็นเบต้าแคโรตีนก็ได้) วิตามินอี และวิตามินซี ก่อนการทดลอง การแตกหักของเซลล์เม็ดเลือดขาว (ซึ่งเป็นดัชนีชีวัดอันตรายจากรังสี) จะลดลง ดังนั้นการที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และได้รับสารกลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ จึงสำคัญมากๆ เพราะอันตรายที่รังสีเช่น แกมม่า ก่อให้เกิดในร่างกายเรานั้น ประเด็นหลักคือ การก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งถ้ากินอาหารมีผักผลไม้สีสดแล้วเราย่อมได้สารต้านอนุมูลอิสระมากพอ แต่ที่สำคัญอย่าไปหลงเชื่อกินสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นเม็ดๆ เพราะท่านอาจได้รับชนิดของสารต้านอนุมูลอิสระไม่ครบเท่าจากการกินอาหารทั่วไป   หลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานั้นได้มีการเตรียมตัวรับสถานการณ์กันค่อนข้างดี เพราะหลายรัฐมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้และในอดีตหลายรัฐก็มีปัญหาบ้างไม่มากก็น้อย ประชาชนจึงมักได้รับการอธิบายและอาจมีการฝึกรับมือเมื่อเกิดปัญหาว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในเอกสารเรื่อง Radioactive contamination of food: A primer for consumers (ซึ่งสามารถค้นหาได้จาก google แล้ว download มาอ่านนั้น) ได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนว่าควรปฏิบัติอย่างไร โดยอาศัยพื้นฐานจากข้อปฏิบัติของรัฐเวอร์มอนต์  โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดปัญหาแบบที่ฟูกูชิมา ประชาชนจะได้รับคำแนะนำให้ตามข่าวอยู่แต่ในบ้าน หรืออาจต้องอพยพตามความรุนแรงของสถานการณ์ (โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีขโมยออกปฏิบัติการเหมือนในบางประเทศที่น้ำท่วมแล้วชาวบ้านยอมตายคาบ้าน) ผักผลไม้หรือพืชที่ปลูกไว้อื่นๆ ถ้าสามารถคลุมด้วยผ้าใบกันน้ำได้ จะช่วยให้มีอาหารกินได้นานขึ้น  อาหารประเภทที่มีความปลอดภัยในสถานการณ์ดังกล่าวคือ อาหารกระป๋อง สำหรับนมที่จะให้เด็กนั้นต้องมาจากวัวที่ได้รับการดูแลไม่ให้สัมผัสสารรังสีคือ อยู่ในโรงเลี้ยงและกินอาหารที่ได้รับการตรวจสอบ (หรือไม่ก็ดูฉลากว่ามาจากประเทศที่ไม่มีปัญหาการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี) เหตุที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะ เด็กและวัยรุ่นที่กำลังเติบโตนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงสุด ส่วนประเภทแก่เฒ่าเขี้ยวลากดินแล้วนั้น เซลล์มันไม่ค่อยแบ่งแล้ว ความเสี่ยงก็ต่ำลง  อาหารประเภทผักผลไม้ ไม่ว่าปลูกเองหรือซื้อมาควรล้างให้มากเป็นพิเศษ หรือถ้าปอกเปลือกได้ก็ต้องปอกเปลือก แต่ในกรณีสารรังสีซึมเข้าไปอยู่ในเนื้ออาหารแล้ว ก็ตัวใครตัวมันครับ อย่างไรก็ตามในหลักการแล้ว อย. จะต้องดูแลเรื่องนี้  เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรมาจากฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์แบบปกปิดมิดชิด ซึ่งก็คือฟาร์มขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันบ้านเราก็มีหลายแห่ง อาหารเนื้อสัตว์จากฟาร์มเล็กจะค่อนข้างมีปัญหาจึงควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงยากให้ลดความเสี่ยงโดยอาศัยหลักการที่ว่า ปรกติแล้วสารรังสีที่ให้รังสีแกมมาเช่น ไอโอดีน 131 นั้นมีอายุค่อนข้างสั้น กล่าวคือ เวลาผ่านไป 8 วัน ปริมาณจะลดลงครึ่งหนึ่ง ดังนั้นอาหารที่ปนเปื้อนสารรังสีไอโอดีน 131 จึงมักจะมีความเสี่ยงลดลงถ้าเก็บไว้ในที่ปลอดภัยสักระยะหนึ่งจึงนำมาบริโภค (หมายความว่าเมื่อไม่มีอย่างอื่นกินแล้ว) ส่วนปลาหน้าดินที่เลี้ยงในบ่อที่อยู่ในบริเวณมีสารรังสีปนเปื้อนนั้น จะมีการปนเปื้อนมากกว่าปลาที่หากินผิวน้ำ ดังนั้นเราอาจต้องลืมผัดเผ็ดปลาดุกสักพักหนึ่งถ้าโรงไฟฟ้าปรมาณูในบ้านเรา(ถ้ามี) เกิดปัญหา สุดท้ายแล้วสิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดคือ ทำไมเราต้องมีโรงไฟฟ้าปรมาณู ทำไมเราไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ การใช้ไฟเปลืองเกินจำเป็น หรือถ้ามันต้องใช้ไฟฟ้ามาก ทำไมไม่มองพลังงานที่สะอาดจริง ๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือแม้แต่พลังงานน้ำที่ทำในขนาดเล็กพอเพียงใช้ในชุมชน ไม่ใช่ทำเขื่อนกั้นน้ำเบ้อเริ่มบนรอยแยกของเปลือกโลกแล้วทำให้คนท้ายน้ำใส่ชูชีพนอนตลอดเวลา คนไทยเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางจริยธรรมสูงมาก แค่น้ำมันปาล์มขาดตลาดก็แย่งกันกักตุนแล้ว เมื่อใดที่ข้าวสารขาดตลาดจะเกิดภาวะวุ่นวายเพียงใด และถ้าเกิดอุบัติภัยขนาดใหญ่เช่นที่ฟูกูชิมาคนไทยจะต่างคนต่างหาทางเอาตัวรอดเพียงใด ดังนั้นเมื่อใดที่รัฐบาลสามารถทำให้คนไทยมีความเป็นระเบียบ หัดเข้าคิวทำกิจกรรมในสถานการณ์ปรกติได้ ค่อยคิดเรื่องมีโรงไฟฟ้าปรมาณูดีกว่ามั้ง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 135 ทำงานเป็นทีม “กินรวบพลังงานไฟฟ้า”

บรรยากาศที่แสนร้อนของปีนี้ ผ่อนคลายลงได้ เมื่อหลายคนได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน และได้สัมผัสความชุ่มเย็นของน้ำที่สาดใส่กัน ณ เทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา   ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาของความสุขสนุกสนาน ซึ่งหลายคนอยากเก็บช่วงเวลานั้นไว้นานๆ   แต่เมื่อเทศกาลจบลง  ชีวิตก็กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้ง   ณ ช่วงเวลาที่แสนร้อนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้ไฟฟ้า และการขึ้นราคาค่า Ft นั่นเองหากย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม ก็จะได้เห็นข่าว ผู้บริหารกระทรวงพลังงานออกมาให้ข่าว  เรื่องการใช้ไฟฟ้า ว่ามีการใช้ไฟฟ้ามากทำลายสถิติของปีที่ผ่านถึง 2  ครั้ง ในเดือนมีนาคม  และก็มีข่าวมาจาก กฟผ. ออกมาว่าไฟฟ้าอาจจะไม่พอใช้  เพราะมีโรงไฟฟ้าหลายโรงปิดซ่อมบำรุง ในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน   จากนั้นก็มีการออกมาให้ข่าวเพิ่มเติมว่า  เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าอาจขาดแคลนเพราะ พม่าจะปิดหลุมก๊าซ เพื่อซ่อมบำรุงช่วงนี้เช่นกัน  คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.)ก็ออกมารับลูกทันที โดยให้ข่าวว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อาจต้องทบทวนการขึ้นราคาค่า Ft  โอ้โห...เห็นไหมว่าสถานการณ์ไฟฟ้าที่มีการปล่อยข่าวออกมาเป็นระยะๆ มันช่างน่ากลัวจริงๆ   กลุ่มที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เกือบจะตกเป็นจำเลยสังคมกันไปตามๆ กันนั่นเป็นข้อมูลที่ฝ่ายพลังงานออกมาให้ข่าวฝ่ายเดียวผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมเวทีเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทำแผน  PDP 2010  ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ จัดขึ้น โดยมีการเชิญ รมต.ว่าการกระทรวงพลังงาน  ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และกกพ. มาชี้แจงข้อร้องเรียน ซึ่งทุกองค์กรส่งตัวแทนมา(ตัวจริงไม่มีใครมา) ทำให้ความจริงเปิดเผยในหลายเรื่อง เช่น ช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน  เป็นช่วงที่ใช้ไฟฟ้ามากทำไมจึงมาปิดซ่อมบำรุงช่วงนี้  ทำไมไม่ไปซ่อมบำรุงในช่วงที่ใช้ไฟฟ้าปกติ ไม่มีคำตอบ และที่ว่าพม่าปิดหลุมก๊าซเพื่อซ่อมบำรุง เป็นไปได้อย่างไร  ในเมื่อหลุมก๊าซนั้น ปตท.ได้สัมปทานการขุดเจาะจากพม่า(เหมือนบริษัทเชฟล่อนมาเจาะก๊าซ+น้ำมันในบ้านเรา) ดังนั้นการจะปิดซ่อมหรือไม่ซ่อม สิทธิอยู่ที่ ปตท. ไม่ใช่ประเทศพม่า เหมือนที่มีข่าวออกมา ไม่มีคำตอบเช่นกัน ที่น่าแปลกคือหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รู้ข้อมูลนี้  แต่ไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้ข้อมูลจริง  แต่กลับปล่อยให้มีการปล่อยข่าว โยนขี้ให้พม่า โดยที่ ปตท.ซึ่งเป็นตัวการปิดซ่อมในช่วงเวลาคับขัน ลอยนวล  เมื่อถามถึงการปรับปรุงแผนพลังงานไฟฟ้า (PDP 2012) ว่า มีการปรับปรุงอย่างไร ขบวนการเอื้อเรื่องการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนหรือไม่ ก็ไม่ได้คำตอบอะไรที่ชัดเจน (เหมือนเดิม) แต่กระบวนการปั่นข่าวจากฝ่ายบริหารพลังงานก็ยังดำเนินต่อไป  และสุดท้ายวันที่ 25 เมษายน 2555 กกพ.ก็มีมติให้ขึ้นราคาค่าไฟฟ้า(Ft) อีกหน่วยละ 40 สต. โดยที่คนใช้ไฟฟ้าอย่างเราๆ มีหน้าที่ต้องจ่ายอย่างเดียว   โดยที่ไม่รู้ข้อมูลจริงว่าที่ต้องขึ้นราคาไฟฟ้าเพราะเหตุอันใดส่วนฝ่ายการเมืองก็พึ่งไม่ได้  เพราะไม่มีพรรคไหน  หือ....อือ...กับเรื่องนี้   มัวแต่อุตลุดอยู่กับการแก้-ไม่แก้รัฐธรรมนูญ    ผู้เขียนที่พอรู้ข้อมูลบ้างก็รู้สึกอึดอัดคับข้องไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร(คงต้องพึ่งกันเอง)  ก็ได้แต่เขียนระบายเพื่อเล่าสู่กันฟัง  แต่ขอบอกไว้ว่าเราจะไม่นิ่งเฉย  และจะเดินหน้าแฉ...ขบวนการเอาเปรียบผู้บริโภคให้สังคมได้รับรู้ให้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะทำได้  ซึ่งเครือข่ายประชาชนกำลังร่วมกันจัดทำแผน PDP2012 ภาคประชาชน   ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับแผนของกฟผ.เพื่อป้องปรามมิให้  กฟผ.กินรวบพลังงานไฟฟ้าอย่างเช่นที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 พลังงานไฟฟ้าผลิตมาเพื่อความสุขของใคร

 พอดีผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนากับ อ.เดชรัตน์  สุขกำเนิด  อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ในหัวข้อเรื่อง พลังงานในประเทศไทย  มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง แต่มีข้อมูลชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือการเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า  ระหว่างธุรกิจและประชาชนในหลายจังหวัดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าปี 2549 ของ 3  ห้างใหญ่ในกรุงเทพฯ  เช่น ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ใช้ไฟฟ้า 123  ล้านหน่วย  ห้างสรรพสินค้ามาบุญครองใช้ไฟฟ้า 81  ล้านหน่วย ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ใช้ไฟฟ้า 75 ล้านหน่วย  รวม 3 ห้างใช้ไฟฟ้าไป 278 ล้านหน่วย(ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวงปี 2549) หากเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของคนต่างจังหวัด เช่น  จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัดใน 1 ปี ใช้ไฟฟ้าเพียง 65 ล้านหน่วย จังหวัดมุกดาหาร 128 ล้านหน่วย  จังหวัดหนองบัวลำพูใช้ไฟฟ้า 148 ล้านหน่วย  จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดระนองใช้ไฟฟ้าเท่ากันคือปีละ 278 ล้านหน่วย (ข้อมูลจาก พพ.รายงานการใช้ไฟฟ้าประจำปี 2549)เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วผู้เขียนตกใจมาก  เพราะสามารถชี้ให้เห็นการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม  ภาคธุรกิจใช้ไฟฟ้ามากมาย  โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ไม่ต้องรับผลกระทบอะไรเลย  แต่คนที่รับภาระกลับเป็นพี่น้องเราในหลายจังหวัดที่เป็นเป้าหมายของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว 8  โรง มีกำลังการผลิต 5,800  เมกะวัตต์  จังหวัดราชบุรีใช้เพียง 400 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นภาคครัวเรือน 100  ภาคอุตสาหกรรม 300    ที่หน้าตกใจคือยังมีนโยบายจะก่อสร้างอีกหลายโรงในราชบุรี(น่าจะตั้งชื่อว่าจังหวัดไฟฟ้ามหานครแทนราชบุรีนะเนี่ย...)คนราชบุรีถามผู้เขียนว่า เขาผิดอะไรทำไมเขาต้องมารับกรรม เรื่องมลภาวะด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม   ในขณะที่คนเมืองใช้ไฟฟ้ามาก ทำไมไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่กรุงเทพฯ  แต่พอพวกเขารวมตัวกันเรียกร้องสิทธิกับถูกภาครัฐมองว่าเป็นพวกถ่วงความเจริญ  ทั้งที่ความเจริญที่ว่านั้นเป็นพิษภัยต่อพื้นที่ ที่ไม่ว่าโรงไฟฟ้านั้นจะใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินหรือก๊าซ หลายพื้นแค่เขารวมตัวกันคัดค้านด้วยเป้าหมายแค่ขอให้เขาได้อยู่อย่างที่เขาเคยอยู่ ไม่ได้เรียกร้องอะไรจากรัฐเพิ่มเลย  สิ่งที่ตอบแทนบางพื้นที่คือต้องมีคนเสียชีวิต เช่น คุณเจริญ  วัดอักษร  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เสียชีวิตจากการคัดค้านโรงไฟฟ้า  คุณทองนาก จังหวัดสมุทรสาคร คัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่เขียนเรื่องนี้ผู้เขียนแค่อยากจะบอกว่า ผู้บริโภคอย่างเราๆ มีอีกหลายเรื่องที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ทั้งเอกชน/รัฐ)เช่น แผน PDP 2011 ของกฟผ. ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ 3 โรง และโรงไฟฟ้า ถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรงใน 10 ปี  ซึ่ง อ.เดชรัตน์ ให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่าหากมีการบริหารจัดการเรื่องการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถลดการผลิตไฟฟ้าได้ 10,000  เมกะวัตต์ นั้นก็คือสามารยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 3 โรง และโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรง ภายใน10 ปีสรุปคือหากมีการบริหารจัดการไฟฟ้าที่ดี อีก 10 ปีประเทศไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเลย  นี่เป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงระหว่าง กฟผ.กับนักวิชาการ   ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้  เพราะไม่มีหน่วยงานใดมาเป็นเจ้าภาพในการหาข้อสรุปในปัญหาเหล่านี้  ทั้งที่เรามี กกพ.(สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน) ที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่ยังแบะๆ ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่เลย   ผู้บริโภคอย่างเราก็ไม่รู้จะพึ่งใครดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 Fitness trackers อุปกรณ์วัดความฟิต

วันนี้ใครๆ ก็สามารถรู้ได้ว่าใช้พลังงานไปเท่าไร เดินไปแล้วกี่ก้าว นอนหลับเพียงพอหรือยัง และยังสามารถแชร์กิจกรรมการออกกำลังกายหรือท้าแข่งกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ได้อีก ทั้งหมดนี้เป็นไปได้เพราะอุปกรณ์วัดความฟิตของร่างกายชนิดที่ใช้สวมรอบข้อมือนั่นเอง ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบที่ CHOICE องค์กรผู้บริโภคของออสเตรเลียทำไว้มาฝากสมาชิกเพื่อประกอบการตัดสินใจอุปกรณ์ที่ลงสนามครั้งนี้มีทั้งหมด 13 รุ่น สนนราคาตั้งแต่ 2,590 บาทไปจนถึง 13,000  ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้กับแอปแอนดรอยด์และ IOS และมีฟังก์ชั่นพื้นฐานอย่างการนับก้าว วัดระยะทาง หรือนับแคลอรี หรือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แต่จะแตกต่างกันในเรื่องการบันทึกข้อมูล(ด้วยแอปเสริม) เช่น การนอนหลับ อาหารที่รับประทาน หรือการแชร์ข้อมูลในสังคมออนไลน์ เป็นต้นการทดสอบครั้งนี้พบว่าอุปกรณ์ทั้งหมดมีระดับความเที่ยงตรงในการวัดเกินร้อยละ 90 แต่คะแนนจะแตกต่างกันในเรื่องของความยากง่ายในการใช้งาน (ตั้งค่า อ่านค่า จัดการข้อมูล) หรือความสบายในการสวมใส่ ก่อนตัดสินใจซื้ออย่าลืมขอลองสวมและใช้งานก่อนด้วย   No pain, no gainงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตท ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medicine & Science in Sports & Exercise พบว่าคนส่วนใหญ่เชื่อว่า อุปกรณ์นี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง “ความไม่อยากเคลื่อนไหว” ของพวกเขาได้ แม้ว่าดร. เกรกอรี่ เวล์ค หัวหน้าทีมวิจัยจะยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือสิ่งที่สำคัญกว่า แต่เขาก็พบว่าอุปกรณ์นี้มีประโยชน์ในการทำให้ผู้คนประเมินตนเองได้เที่ยงตรงมากขึ้น การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าคนส่วนใหญ่จะประเมินระดับการใช้พลังงานของตัวเองสูงเกินจริงเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีน้ำหนักเกิน                        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point