ฉบับที่ 162 เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุกับการใช้สิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33

 คุณมิว...แวะซื้อนมถั่วเหลืองชนิดขวดแก้ว ราคา 10 บาท  จากร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอย  จำนวน 1 ขวด  เพื่อใช้กินแทนมื้อเย็น ระหว่างเดินชิลๆ เข้าห้องพัก ขณะที่เปิดประตูห้อง ถุงขวดนมถั่วเหลืองได้หลุดจากมือตกใส่เท้าอย่างแรง แรงขนาดนิ้วเท้าที่เพิ่งถอดรองเท้าออก โดนเศษแก้วบาดตรงบริเวณนิ้วโป้งจนเลือดไหลไม่หยุด  คุณมิวตกใจพยายามห้ามเลือด แต่ดูท่าจะเอาไม่อยู่เพราะเลือดไหลตลอดแม้ใช้สำลีพันแผลไว้ และรีบนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปคลินิกใกล้หอพักเพื่อรักษาแผลคลินิกรักษาโรคทั่วไปที่คุณมิวพาตัวเองไปใช้บริการนั้น ตรงกระจกด้านหน้าคลินิกดังกล่าวได้ระบุไว้ว่ารับบัตรประกันชีวิตกรุงไทย, AIA  และอีกหลายบริษัทฯ  และรับสิทธิประกันสังคม  คุณมิวจึงเข้าไปเพื่อให้ทำแผลที่เลือดไหลไม่หยุด  เมื่อให้นางพยาบาลดูบัตรประกันชีวิต พยาบาลประจำคลินิกแจ้งว่า ไม่สามารถใช้ที่คลินิกได้ต้องไปรักษาที่ รพ.พระราม 9 ซึ่งเป็นรพ.เอกชนที่รับบัตรประกันชีวิตทุกชนิด พอสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคม ก็ทราบว่าคลินิกให้บริการเฉพาะบุคคลที่ใช้สิทธิที่ รพ.ตากสินทำไมชีวิตมันยุ่งยากนัก เลือดก็ไหลไม่หยุด แผลเริ่มปวด นางพยาบาลถามย้ำว่าจะล้างแผลที่นี่หรือจะนั่งรถไปที่ รพ.พระราม 9 หรือจะไปใช้สิทธิตาม รพ.ที่รองรับสิทธิของตนเอง  คุณมิวจึงตัดสินใจให้นางพยาบาลที่คลินิกทำแผล โดยยื่นความประสงค์ขอจ่ายเงินเอง เนื่องจากคงไม่สะดวกที่จะหอบเอาเท้าที่เลือดยังไหลไม่หยุดไปรักษาถึง รพ.พระราม 9 หรือ รพ.ราชวิถี แพทย์ที่รักษาคนไข้อยู่ในห้องอีกห้องได้เดินออกมาดูอาการพร้อมแจ้งให้นางพยาบาลฉีดยาบาดทะยักให้กับผู้ป่วยด้วย  พร้อมกำชับให้ดูแลความสะอาดไม่ให้แผลโดนน้ำ เมื่อทำแผลเสร็จแพทย์ได้เดินมาฉีดยากันบาดทะยักพร้อมให้นางพยาบาลแจ้งการเก็บค่ารักษาพร้อมค่ายา ซึ่งประกอบด้วย ยาแก้อักเสบ และยาพาราเซตามอล  อย่างละ 1 ถุง  ค่ายารวมทั้งหมด 800 บาท คุณมิวได้ขอใบรับรองแพทย์ พร้อมใบเสร็จรับเงิน ก่อนจ่ายค่ารักษา และใบนัดฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก อย่างไรก็ตาม คุณมิว ซึ่งเป็นผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 33 สิทธิ เพียงแต่สิทธิขึ้นอยู่ที่ รพ.ราชวิถี เมื่อไปเข้าคลินิกที่ไม่ได้รองรับสิทธิ    จึงจำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน  ต่อมาเมื่อได้ทำเรื่องเบิกเงินคืนจากประกันสังคม เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุ ก็สามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้ตามที่กฎหมายประกันสังคมได้ระบุไว้   และได้รับเงินคืนครบตามจำนวนคือ 800 บาท โดยสำนักงานประกันสังคม โอนเงินผ่านทางธนาคาร ตามที่ระบุไว้ตอนที่ทำเรื่องเบิกเงินคืน แนวทางแก้ไขปัญหาจะพบว่า ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมไม่ได้รับความสะดวกในกรณีฉุกเฉินสักเท่าไร ถ้าไม่ใช่ รพ. ที่ระบุไว้ในบัตรหรือในเครือ ต้องออกเงินเองไปก่อน ต่อเมื่อทำเรื่องในภายหลังจึงจะได้รับเงินคืน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เนื่องจากเป็นกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ให้ผู้ประกันตนนำใบเสร็จรับเงิน, ใบรับรองแพทย์ มาประกอบในการขอเงินคืน โดยแนะนำผู้ประกันตนไปยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส.2-01/ม.40)  สามารถโหลดแบบฟอร์มได้ในเว็บไซต์ http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/2sps201.pdf แนบใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)(ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)  ,ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) (ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)   และเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้  และสำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี) แนบไปด้วย แนบสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร กรณีที่ให้สำนักงานประกันสังคมโอนเงินคืนทางธนาคาร ระบุแจ้งเบอร์โทรศัพท์ในใบข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสาน ผู้ร้องสามารถยื่นเอกสารโดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือนำเอกสารไปยื่นได้ด้วยตนเองได้เลย ประมาณ 2 อาทิตย์ จะมีหนังสือตอบกลับจากสำนักงานประกันสังคมกรณีอนุมัติเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 เจ็บป่วยฉุกเฉิน สิทธิการรักษาที่สร้างความสับสน

นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”   คงจะใช้ไม่ได้ในหลายกรณี เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายนี้   คุณสายันห์  อายุ 61 ปี อาศัยอยู่แถว ซ.ประชาอุทิศ 19  ทุ่งครุ  เกิดอาการล้มหมดสติ เวลาประมาณ 23.00 น ในวันที่ 3 มกราคม 2557  ญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน   ระหว่างที่นำส่งญาติทราบดีว่าสิทธิของผู้ป่วยอยู่ รพ.ตากสิน แต่ขณะที่อยู่บนรถ คุณสายันห์ เกิดอาการหยุดหายใจ ญาติจึงเร่งนำตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งแพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน จนกระทั่งอาการดีขึ้นต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่ารักษาคุณสายันห์ เป็นเงิน 148,324 บาท  ญาติถึงกับตกใจ ภรรยาคุณสายันห์ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงได้ขอให้ทางโรงพยาบาลย้ายคุณสายันห์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลตากสินตามสิทธิ  แล้วจึงไปกู้เงินนอกระบบเพื่อนำกลับมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลแรกที่ช่วยรักษาคุณสายันห์ ปัญหาคือ ทำไมโรงพยาบาลจึงไม่แจ้งเรื่องสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ ทำไมต้องมาแบกรับภาระค่ารักษาทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพเมื่อมารักษาที่โรงพยาบาลตากสิน จนอาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านได้ แต่ญาติๆ พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากช่วงที่หัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล  ปัจจุบันต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”  อาจเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่นกรณีคุณสายันห์ป่วยฉุกเฉินด้วยอาการหยุดหายใจเฉียบพลัน ซึ่งเข้าตามเกณฑ์ที่สภาพยาบาลได้ให้ไว้  แต่สุดท้ายก็ต้องจ่ายเงิน(อย่างตกใจ)ไปก่อน พอได้ทราบเรื่องสิทธิและตามเบิกตามสิทธิแห่งตน ก็ได้รับการอนุมัติเงินคืนค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปก่อนหน้านั้นเพียง 16,543  บาท  หากเทียบกับยอดค่าใช้จ่ายที่ญาติผู้ป่วยจ่ายไป 148,324 บาท ยังไม่ได้ถึง 20% ของจำนวนเงินดังกล่าวเลย คำถามจึงเกิดขึ้นมาว่า อะไรคือมาตรฐานในการพิจารณาค่ารักษากรณีฉุกเฉิน  แล้วทำไมสถานพยาบาลจึงไม่มีข้อมูลแจ้งต่อผู้ป่วยหรือญาติ ในการอธิบายหรือช่วยประสานงานกับหน่วย EMCO หรือหน่วยดูแลกองทุนฉุกเฉิน ของ สปสช. ทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่อตัดสินใจเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุดจากกรณีป่วยฉุกเฉิน ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายลงได้ แต่กลับพบว่ามันไม่เป็นจริง แนวทางแก้ไข1. ประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพเพื่อตรวจสอบกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ 1330 ได้แจ้งให้ประสานไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยเพื่อทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO2. ประสานโรงพยาบาลที่ทำการรักษาให้ทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO3. เมื่อได้รับการอนุมัติค่ารักษาแล้วพบว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือ สปสช.   นโยบายรัฐให้คำจำกัดความเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง  ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรงมีอาการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรง  มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือดหรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักตลอดเวลา หรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศา ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าหรือลำคอ รักษาทุกที่ หมายถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทุกรพ.ทั้งรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ถูกถามสิทธิก่อนการรักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลาลง ทั่วถึงทุกคน หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิของ 3 กองทุน ประกอบด้วย กลุ่มข้าราชการและครอบครัว (ประมาณ 5 ล้านคน) จากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกรมบัญชีกลาง กลุ่มลูกจ้างพนักงาน (ประมาณ 10 ล้านคน) จากกองทุนประกันสังคม กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ประมาณ 48 ล้านคน) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคเวลาที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องปฏิบัติดังนี้ ข้อควรปฏิบัติในการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1)       ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วยไปด้วยทุกครั้ง ถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ 2)       เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากเลือกได้ ขอให้เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ 3)       ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หากไม่มีบัตรประชาชน ให้แจ้งชื่อ-สกุลผู้ป่วย แล้วรีบนำบัตรประชาชนมายื่นภายหลัง 4)       หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉินตามสิทธิที่มี และอ้างนโยบายรัฐบาล แต่หากเจ้าหน้าที่ยังยืนยันจะเก็บเงิน ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำ แล้วจะคืนให้เมื่อเบิกจาก สปสช. ได้  ให้โทรไปสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อให้เจราจากับโรงพยาบาล 5)       เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 6)       หากได้รับความเสียหายในการใช้สิทธิ สามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.) สายด่วน 1330  และกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งเรื่องไปที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 7)       กรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ผู้มีสิทธิบัตรทอง สามารถยื่นเรื่องขอรับการเยียวยา ความเสียหาย จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 41   ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่ทราบถึงความเสียหาย       //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 มะเร็ง บัตรทองและการส่งต่อผู้ป่วย

มะเร็งเป็นโรคร้ายที่มีคนไทยป่วยเป็นจำนวนมากและคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณวิภาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคร้ายแรงนี้และคาดหวังถึงการรักษาที่จะช่วยให้เธอผ่านพ้นความเจ็บป่วยนี้ไปได้คุณวิภามีสิทธิในบัตรทองหรือสิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ยามเจ็บไข้เธอมักจะไปใช้บริการการแพทย์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเสมอ โดยจ่ายเงินเองไม่พึ่งระบบหลักประกัน แต่ในการตรวจรักษาครั้งล่าสุดจากอาการเลือดออกทางช่องคลอด แพทย์วินิจฉัยว่าเธอเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 ซึ่งการรักษาพยาบาลต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์จึงแนะนำให้เธอติดต่อกับสถานพยาบาลต้นสังกัดที่เธอมีสิทธิในระบบหลักประกันเพื่อลดภาระในเรื่องค่ารักษาพยาบาลปัญหาแรกคือ เธอไม่แน่ใจว่าเธอมีสิทธิบัตรทองที่สถานพยาบาลไหน ปัญหานี้แก้ไม่ยากเพราะเพียงตรวจสอบจากฐานข้อมูล ก็พบว่าเป็นสถานพยาบาลใดปัญหาที่สองคือ เมื่อสามีพาเธอไปติดต่อเพื่อขอรับการรักษาสถานพยาบาลดังกล่าว ทั้งสองพบว่าสถานพยาบาลแห่งนี้ไม่มีศักยภาพพอในการรักษาโรคร้ายของเธอ จึงร้องขอให้ทางสถานพยาบาลทำเรื่องส่งต่อ โดยประสงค์ให้ส่งต่อไปรักษาตัวที่ รพ.รามาธิบดี ซึ่งคุณวิภาคุ้นเคยและมีประวัติการตรวจวินิจฉัยโรคพร้อมอยู่แล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยบอกเพียงว่าจะทำเรื่องส่งตัวผู้ป่วยให้ไปรักษาที่สถาบันมะเร็งเท่านั้น ถ้าจะรักษาที่รามาธิบดีผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง สามีของคุณวิภาจึงโทรศัพท์มาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และขอให้ช่วยเหลือให้ทางสถานพยาบาลต้นสังกัดทำเรื่องให้ภรรยาได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.รามาธิบดี การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้ประสานไปยังสถานพยาบาลที่คุณวิภามีสิทธิบัตรทองอยู่ ทราบข้อมูลตรงกับที่สามีคุณวิภาร้องเรียนมา แต่ทางสถานพยาบาลแห่งนี้แจ้งว่า ไม่สามารถทำตามประสงค์ของผู้ร้องได้เนื่องจาก รพ.รามาธิบดีไม่ได้เป็นโรงพยาบาลในเครือข่าย หากเกินกว่าความสามารถในการรักษาทั้งระดับสถานพยาบาลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะส่งต่อไปที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายเท่านั้น   หากผู้ป่วยยังยืนยันจะรักษาพยาบาลที่ รพ.รามาธิบดี ก็ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยไปทำเรื่องตามขั้นตอนการย้ายสิทธิกับทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เรื่องการส่งตัวนี้เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาง สปสช.ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดปัญหาหนึ่ง ซึ่งยังคงต้องมีการสื่อสารให้ผู้มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าใจในระบบของบัตรทองหรือระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะมีลำดับขั้นของการดูแลรักษา คือถ้าสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิหรือคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ ไม่สามารถรักษาได้ จะส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ซึ่งมีอุปกรณ์ที่รักษาผู้ป่วยได้ หากยังรักษาไม่ได้อีกจึงจะส่งต่อไปรักษาในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงสุด ซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน โดย สปสช.จะติดตามดูแลค่ารักษาของผู้ป่วยไปตามสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยถูกส่งตัวไปรักษาเมื่ออธิบายให้ทั้งคุณวิภาและสามีเข้าใจ ทั้งสองก็ยินดีให้ทางสถานพยาบาลทำเรื่องส่งตัวคุณวิภาไปรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แต่สามีคุณวิภาก็แอบกังวลว่า ภรรยาอาจต้องรอคิวการรักษานานแล้วจะทำให้อาการของภรรยาทรุดหนักลง ซึ่งปัญหานี้ทางสถานพยาบาลตามสิทธิของคุณวิภาได้ช่วยประสานกับทางสถาบันมะเร็งฯ เป็นที่เรียบร้อย และเร่งทำใบส่งตัวให้อย่างเร็วที่สุด ปัจจุบันคุณวิภาได้เข้ารับการรักษา ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 ซื้อประกันสุขภาพ แค่ป่วยครั้งเดียว ถูกบอกเลิกสัญญาแล้ว

เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศไทยประสบผลสำเร็จในด้านทั้งการคุมกำเนิด  การสาธารณสุข  จนส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ลดลง   และผู้สูงอายุ   อายุยืนมากขึ้น  จนทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเรื่องที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาด้วยคือ ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เติบโตอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะธุรกิจด้านการประกันสุขภาพ  เราๆ ท่านๆ ก็คงเห็นเหมือนกันว่ามีการโฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจประกันสุขภาพมากมาย  โดยแต่ละบริษัทออกแบบโฆษณาเพื่อเรียกลูกค้ากันแบบหมัดต่อหมัด เช่น ประกันสุขภาพไม่ต้องตรวจสุขภาพ  วงเงินที่จะได้รับสูงขึ้น  มีการกำหนดเวลา  หากไม่เป็นโรคคืนเงินปีสุดท้าย  เป็นต้นฟังแล้วก็ดีนะ! ประกันไว้เมื่อเจ็บป่วยจะได้ไม่เดือดร้อนลูกหลาน   แต่เรื่องจริงไม่เป็นเช่นนั้น   มีกรณีร้องเรียนการประกันสุขภาพเข้ามาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในภาคตะวันตก หลายเรื่องและเรื่องร้องเรียนคล้ายๆ กันคือ   ตอนจะซื้อประกันสะดวกมาก สามารถซื้อติดต่อกันได้ในหลายปี(หากยังไม่ป่วย)เหตุจะเกิดต่อเมื่อผู้ซื้อประกันเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัว(ซึ่งผู้สูงอายุเมื่ออายุสูงขึ้นก็ต้องป่วยมากขึ้น)และเมื่อเจ็บป่วยบริษัทประกันก็บริการจ่ายสินไหมค่ารักษาดีตามที่สัญญากำหนด  แต่...เหตุเกิดหลังจากนั้นคือ  หลังจากบริษัทจ่ายเงินค่ารักษาแล้ว ก็ตามมาด้วยเอกสารขอเลิกสัญญาการเอาประกันของผู้ซื้อประกัน  พร้อมข้อเสนอขอคืนเงินต้นที่ซื้อประกันในปีนั้นให้ทั้งหมด  ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน   ทำให้ผู้ซื้อประกันมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  เพราะจ่ายเงินซื้อประกันไปฟรีๆหลายปีเพื่อต้องการการคุ้มครองยามเจ็บป่วย กลับถูกบอกเลิกสัญญาผู้เขียนได้มีโอกาสคุยกับ “ป้าประเทือง  พูลทั่วญาติ”  ก่อนจะคุยกันรู้เรื่องก็ได้เหนื่อย...กันเลยที่เดียว  คำพูดหนึ่งที่ป้าประเทืองพูดซ้ำหลายครั้งคือ  “ตอนนี้ใครมาชวนฉันซื้อประกัน ฉันจะด่ามันให้เจ๊ง..เลย.. ไม่เอาอีกแล้วประกันเนี่ย..มันเอาเปรียบ..ทีเงินเรามันจะเอา พอมันจะเสีย เสือก...บอกเลิกสัญญา” ดังนั้นเมื่อปัญหาคือบริษัทบอกเลิกสัญญา เมื่อผู้เอาประกันเริ่มเจ็บป่วย..    มันไม่น่าจะเป็นธรรม จึงลองหาข้อมูล  โดยโทรไปที่สายด่วน คปพ.(คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) 1186   ก็ได้ข้อมูลมาว่า   การที่บริษัท บอกเลิกสัญญา กับผู้เอาประกันนั้น  ไม่ผิด บริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้ซื้อประกันได้ ทันทีที่บริษัทเห็นว่า “จะเกิดความเสี่ยงกับบริษัท”   โดยข้อกำหนดนี้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไปเขียนถึงตรงนี้ยิ่งรู้สึกรันทดใจ กับผู้ที่มาร้องเรียน   เพราะการโฆษณาไม่ได้บอกเหตุผลในการบอกเลิกสัญญา(มันผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค  คือผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน) แต่ปัจจุบัน  มีแต่การโฆษณาชักจูง เพียงอย่างเดียว  เรื่องนี้ผู้เขียนได้หารือนอกรอบกับเลขา สคบ.คนปัจจุบัน  ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง      ว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้   เข้าข่ายสัญญาเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่  ทำอย่างไรผู้บริโภคจะไม่ถูกหลอกลวงเช่นปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 อยากเห็นจิตสำนึกดารากับการโฆษณาหลอกลวง

 จากข่าวครึกโครมเรื่องคุณค่าทางอาหารของรังนก ที่เราๆ ท่านๆ เชื่อกันมาตลอดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ให้กลับมามีพลังกระชุ่มกระชวยได้เร็วขึ้น ทำให้รังนกเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและราคาแพง ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักซื้อให้กับคนที่เรารักหรือเป็นของเยี่ยมผู้ป่วย  แต่ผู้เขียนมารู้สึกตกใจมากเมื่อได้ทราบข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปรียบคุณค่าโปรตีนของรังนกกับถั่วลิสง ที่น่าตกใจคือเรากินรังนก 1 ขวด 100 กว่าบาท  เราจะได้รับโปรตีนเท่ากับเรากินถั่ว 2 เมล็ด และที่น่าตกใจไปกว่าคือ ไข่ไก่ 1 ฟอง 4-5 บาท มีคุณค่าอาหารเท่ากับเราต้องกินรังนก 24 ขวด 3 พันกว่าบาท(พุทโธธัมโมสังโฆ)นี่ยังไม่รวมที่มีการโฆษณารังนก 100% แต่จริงๆ 1 ขวดมีรังนกเพียง 1 % เศษเท่านั้น   สังคมไทยของเราเป็นอะไรกันทำไมถึงปล่อยให้มีเรื่องหลอกลวงได้ยาวนานถึงเพียงนี้  ทั้งที่เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะดูแลอยู่ และที่น่าเจ็บใจไปกว่านั้นคือพอเปิดทีวีดูก็จะเห็นดาราที่เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสรรพคุณอันเลอเลิศของรังนกอยู่เลย แค่นั้นยังไม่พอยังเอาความรักระหว่างแม่-ลูกมาโน้มน้าวให้ซื้อสินค้าอีก  คือหากรักแม่ต้องให้แม่กินรังนก  ตอนยังไม่รู้ข้อมูลก็ไม่รู้สึกอะไร แต่พอรู้ข้อมูลแล้วจึงมีความรู้สึกด้านอื่นเข้ามา  คือ พรีเซ็นเตอร์ที่โฆษณาสินค้านั้นๆส่วนใหญ่เป็นดาราและนักร้อง ซึ่งได้รับความรักและศรัทธาจากประชาชน แต่เพียงเพื่อรายได้ของตนเองที่ได้รับจากรับจ้างโฆษณา มองแค่รายได้สูงสุด ไม่มองถึงคุณภาพของสินค้า  ก็เท่ากับเอาความรักความศรัทธาที่ประชาชนมีให้มาใช้เป็นเครื่องมือหากิน  โดยไม่คำนึงถึงว่าการโฆษณานั้นหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ ดังนั้นพวกเราในฐานะผู้บริโภคควรช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องจิตสำนึกของเหล่าดารานักร้อง   ให้คำนึงว่าคุณกำลังร่วมมือกับผู้ประกอบการหลอกลวงประชาชนที่เขารักและสนับสนุนพวกคุณอยู่หรือไม่  อย่าเห็นแค่เพียงรายได้ของพวกคุณฝ่ายเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 ผู้ป่วยจิตเวชก็มีหัวใจ

คุณสมโชค (นามสมมติ) มีอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังต้องใช้ยานอนหลับช่วยอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาได้เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลชลประทาน ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แพทย์ตรวจพบโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และจิตเวช ทำให้คุณสมโชคต้องมารับยาเพื่อนำไปรักษาอาการจากโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ช่วงที่ผ่านมาคุณสมโชคสังเกตเห็นว่า ยาที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาจะมีการใช้ปากกาเมจิกขีดทำตำหนิไว้ที่ด้านหลังแผ่นยาทุกแผง ส่วนยาทุกชนิดที่บรรจุกล่องอยู่จะถูกนำออกจากกล่องหมด “ไม่เข้าใจว่าทำไมเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาต้องทำอย่างนี้ ผมอยากเหมือนคนไข้ทั่วไปที่ไม่ถูกแกล้งเอายาออกจากกล่อง ผมคิดมากจนนอนไม่หลับ ยาเอาไม่อยู่ ทำให้มีอาการนอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้น อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยคุยกับโรงพยาบาลให้ด้วย เพราะผมอยากได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับคนไข้ทั่วไปครับ” ผลการดำเนินการหลังได้รับเรื่องร้องเรียนมูลนิธิได้ทำหนังสือสอบถามถึงการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งโรงพยาบาลได้มีหนังสือชี้แจงกรณียาที่บรรจุกล่อง ถูกนำออกจากล่อง ว่า 1. กรณีทั่วไป มีความเป็นไปได้อยู่เสมอที่จะมีการจ่ายยาลักษณะนี้เพราะแพทย์สั่งยาไม่ตรงตามขนาดบรรจุ เช่น บรรจุ 100 สั่ง 60 จะมียาเหลือ 40 ยาเช่นนี้ก็จะไม่มีกล่องบรรจุ 2. จากการเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา พบว่ายาที่บรรจุกล่อง เช่น 2 กล่อง การปิดฉลากล่องที่ 1 เพียงกล่องเดียวแล้วมัดรวมกับกล่องที่ 2 เมื่อผู้ป่วยใช้กล่องที่ 1 หมด ฉลากจะถูกทิ้งไปพร้อมกล่องทำให้ใช้ยากล่องต่อไปไม่ถูก ในทางกลับกัน ถ้าปิดฉลากครบทั้ง 2 กล่อง แม้จะทำการอธิบายรวมทั้งแจ้งเตือนเป็นเอกสารฉลากช่วยว่าให้รับประทานทีละกล่องแล้วต่อเนื่องกันไป ก็ยังพบว่าผู้ป่วยทานยาทีเดียวทั้ง 2 กล่อง หรืออาจยุ่งยากขึ้นอีกกรณีสั่งยาไม่เต็มกล่องมีเศษ เป็น 1-2 แผง ทางที่ดีคือ เอายาออกจากล่องทั้งหมด ใส่ซองซิบพลาสติกแล้วปิดฉลากครั้งเดียวรวมทั้งหมด 3. การเอายาออกจากล่องหมายถึง การเอาฉลากออกทิ้งไปด้วย เพราะต้องการให้ผู้ป่วยสนใจและอ่านเนื้อหาที่สั้นที่สุด คือฉลากยาที่แปะหน้าซอง เพราะพบว่าผู้ป่วยอ่านเอกสารกำกับยาแล้วเกิดความสับสน หรือหวาดระแวงจนไม่ทานยาตามแผนการรักษา กรณีนี้พบเสมอในผู้ป่วยจิตเวช อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติในข้อ 2 และ 3 เป็นวิธีที่เพิ่มภาระงานให้กับห้องยา จึงยังไม่ได้ทำทั้งหมด แต่เราพยายามที่จะทำเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา โดยเลือกทำในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้ป่วยสูงอายุที่เราประเมินได้ว่าอาจไม่สามารถดูแลตนเองให้รับยาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และผู้ป่วยด้านจิตเวชก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ไม่อาจให้คำอธิบายโดยตรงได้ ด้วยมารยาทและจรรยาบรรณเราไม่ตอกย้ำประเด็นความบกพร่องของผู้ป่วย เราจะมุ่งเน้นให้คำอธิบายที่ชัดเจนไม่สับสน เท่านั้น ส่วนกรณีมีการใช้ปากกาเมจิกขีดตำหนิไว้ที่แผงยา กรณีนี้ ห้องยาขอปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าไม่เคยมีการปฏิบัติเช่นนั้น นอกจากนี้นายแพทย์สมชาย สุขอารีย์ชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลประทานได้กรุณาให้คำชี้แจงอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายนี้ อย่างละเอียดแต่เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของผู้ป่วย จึงขอสรุปคำชี้แจงหลักๆ ว่า ทางแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง คืออายุรแพทย์ จิตแพทย์ แพทยเวชศาสตร์ครอบครัว ได้รับทราบปัญหาของผู้ป่วย และมีแนวทางแก้ปัญหาโดยให้ผู้ป่วยรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว เพราะเคยพบว่าผู้ป่วยไปรับการรักษากับสถานพยาบาล 2 แห่งในวันเดียวกันทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับยามากเกินขนาดได้ ทั้งนี้เพื่อความต่อเนื่องอันจะเป็นประโยชน์และปลอดภัยกับตัวผู้บริโภคเอง ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับการยืนยันจากผู้ร้องเรียนว่า ตนได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอย่างดีเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยา ทำให้รู้สึกว่าสุขภาพกายและใจของตัวเองดีขึ้น ทางมูลนิธิฯ จึงขอขอบพระคุณ นายแพทย์สมชาย สุขอารีย์ชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลประทานและทีมงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างดีเยี่ยมด้วยความนับถืออย่างสูง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 ไม่เก็บได้ไหม 30 บาท

  เหตุผลที่รัฐบาลไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย “30บาท รักษาทุกโรค” จากกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับปัญหาของสถานพยาบาลที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มักประสบกับภาวะขาดทุนเป็นประจำ เพราะมีคนมาใช้บริการมากขึ้น จึงเป็นข้ออ้างที่ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ต้องนำนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” กลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อลดปัญหาการขาดทุนของสถานพยาบาล และต้องการให้ประชาชนใช้บริการสุขภาพเท่าที่จำเป็น แต่ในมุมของกลุ่มที่เห็นต่างมองว่า การให้ประชาชนต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับระบบสาธารณสุขไทย รัฐบาลจึงไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย30 บาทรักษาทุกโรค ด้วยเหตุผลดังนี้… เป็นการผลักภาระให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องรับผิดชอบเพียงระบบเดียว รายได้หลักของสถานพยาบาลของรัฐ มาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และกองทุนที่ได้จากประกันสังคมอีกเล็กน้อย เพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนของค่ายา วัสดุทางการแพทย์ เงินเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ   หากวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และเงินเดือนที่จ่ายประจำเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จะเติบโตในระดับคงที่ ในขณะที่ค่าตอบแทน ซึ่งหมายถึงค่าล่วงเวลา ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าตอบแทนอื่นๆที่ไม่ใช่เงินเดือน เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีต้นทุนที่เป็นค่าตอบแทน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 30 – 40 ส่วนต้นทุนที่เป็นเงินเดือน และค่ายา เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 – 2 เท่านั้น โดยต้นทุนค่าตอบแทนนั้นเกิดจากการให้บริการแก่ผู้ป่วยในทุกระบบประกันสุขภาพ หากกระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มรายได้ให้กับสถานพยาบาล ก็ต้องพิจารณาดูว่าสถานพยาบาลแต่ละแห่ง ไม่ได้รักษาเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการด้วย “ดังนั้น การผลักภาระให้ผู้ป่วยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท เพียงระบบเดียว ดูจะไม่เป็นธรรมกับผู้รับบริการในระบบดังกล่าวเลย”   จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะรักษาฟรี การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องนำปัจจัยอื่นๆ มาประเมินร่วมด้วย ทั้งการขยายชุดสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การจ่ายยาต้านไวรัสเอชไอวี ทั้งในสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง การรักษาผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดต้อกระจก การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น จึงทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนประชาชนแทบจะไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาในกลุ่มโรคดังกล่าวเลย รวมถึงจากการศึกษาตัวเลขในเชิงระบาดวิทยา ที่อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ในระดับภาพรวมของประเทศ ตั้งแต่ปี 2544 – 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และอาหารการกินที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ประชาชนป่วยมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ และผู้ประกันตนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน   จะไปสถานพยาบาลต้องคิดให้ดี ถึงรักษาฟรีแต่ก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องออกเอง ประชาชนที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ รองรับเป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เป็นแรงงานนอกระบบ รับจ้างรายวัน ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากการรับราชการหรือการเป็นพนักงานในสถานประกอบการต่างๆ หากประชาชนที่มีรายได้แบบรายวัน จะเข้ารับบริการในสถานพยาบาลแต่ละครั้ง ก็ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีสวัสดิการในการลาป่วย ไม่มีหลักประกันชดเชยเมื่อขาดรายได้ หากต้องหยุดงาน นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปในทันที ในขณะที่รายจ่ายยังมีเหมือนเดิม หรืออาจจะมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่าที่พัก ฯลฯ ดังนั้น ในยุคที่คนต้องทำมาหากินหาเงินมาเลี้ยงปากท้อง การหยุดงานบ่อยๆ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เกินความจำเป็น ดูจะไม่มีความสมเหตุสมผล อีกทั้งการให้ประชาชนร่วมจ่ายครั้งละ 30 บาท ก็ยังสร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างภาระให้กับประชาชนอยู่ไม่น้อย เพราะข้าราชการก็มีระบบสวัสดิการจากรัฐดูแลค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ระบบประกันสังคม ก็มีนายจ้าง ผู้ประกัน และรัฐร่วมกันจ่าย แต่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท เป็นเงินส่วนตัวที่ต้องควักออกจากกระเป๋าร้อยละ 100 ดังนั้น ผลกระทบที่มาจากการร่วมจ่ายก็จะตกอยู่กับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย แม้รัฐบาลจะมองว่า การจ่ายเงิน 30 บาท เน้นในกลุ่มที่มีกำลังจ่าย ส่วนคนที่ไม่มีเงินก็ให้รักษาฟรี เพียงแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจนจริงๆ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ดูถูกดูแคลนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง   รายได้จากการเก็บ 30 บาท เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่รัฐต้องจัดสรร เมื่อปี 2546 รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บค่ารักษาพยาบาลครั้งละ 30 บาท รวมทั้งหมด 1,073 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมดที่รัฐต้องจัดสรรเข้าระบบ การยกเลิกเก็บ 30 บาท จึงไม่ส่งผลให้สถานพยาบาลได้รับผลกระทบมากนัก และยังลดภาระงานให้กับโรงพยาบาลในการจัดเก็บข้อมูลลงบัญชีอีกด้วย และหากใช้ข้อมูลปี 2552 ซึ่งมีผู้มารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 163 ล้านครั้ง คิดเป็นจำนวนครั้งที่คาดว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาททั้งสิ้นประมาณ 65 ล้านครั้ง คาดว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมได้ประมาณ 1,900 ล้านบาท จะพบว่ารายได้จากการจ่ายร่วมเป็นมูลค่าที่น้อยนิดเพียงร้อยละ 1.75 ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ต้องการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2552 ดังนั้นการร่วมจ่ายจึงไม่ใช่แหล่งทุนหลักที่จะใช้ในการแก้ปัญหาการเงินของโรงพยาบาลเลย   ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ใช่จำเลยที่ทำให้ระบบสาธารณสุขต้องล้มละลาย ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการตั้งงบเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาล เป็นระบบปลายปิด โดยค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยนอก จะเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว โอนตรงให้กับโรงพยาบาลเต็มจำนวน ตามการดูแลประชากรในความรับผิดชอบ ส่วนงบผู้ป่วยใน จะจ่ายตามน้ำหนักสัมพัทธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือระบบดีอาร์จี (DRG) ซึ่งเป็นการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในราคาที่ตกลงล่วงหน้า โดยประเมินราคาบนต้นทุนของการรักษาที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะจ่ายให้โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในต่อครั้ง ทำให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ขณะเดียวกันรัฐก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และยังทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงมากขึ้น ส่วนระบบสวัสดิการข้าราชการ เป็นระบบปลายเปิด ที่รัฐต้องจ่ายค่าบริการตามรายการและอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ และรัฐเองยังไม่มีกลไกในการตรวจสอบการจ่ายเงินที่ให้แต่ละสถานพยาบาล ทำให้สถานพยาบาลไม่ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นช่องว่างในการแสวงหาผลกำไรเกินจำเป็น เช่น การจ่ายยา หรือเลือกใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่แพงเกินจำเป็น แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการล้มละลายสูง เพราะรัฐไม่สามารถควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้ หากรัฐบาลจะหันมาใช้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคอีกครั้ง นับเป็นการสร้างอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งที่เป็นบทบาทของรัฐในการจัดระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน เพราะคนที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้มาก ย่อมเข้าถึงการรักษาได้มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค จึงเป็นนโยบายที่...   “สร้างความเหลื่อมล้ำ ลดความเป็นธรรม ให้กับระบบสาธารณสุขของไทยอย่างชัดเจน”   อ้างอิงข้อมูลจาก “การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้นโยบายเรียกเก็บเงิน 30 บาทต่อครั้ง ในการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในการไปโรงพยาบาลของประชาชนภายใต้ระบบ UC กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ: ผู้ป่วยที่เคยไปรับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ระยะเวลาที่ทำการสำรวจ: 10-15 กุมภาพันธ์ 2555 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 589 คน พบว่าเป็นเพศหญิง 390 คน (66.2%) เพศชาย 199 คน (33.8%) ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1 – 90 ปี มีอายุเฉลี่ย 51 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 40.4 และพบว่ามีถึงร้อยละ 8.3 เป็นผู้ว่างงาน อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ รับจ้างทั่วไป 238 40.4 ค้าขาย 160 27.2 ทำสวน 4 0.7 แม่บ้าน/พ่อบ้าน 53 9.0 ธุรกิจส่วนตัว 13 2.2 นักเรียน นักศึกษา 20 3.4 อสม. 3 0.5 พนักงานบริษัท 5 0.8 สูงอายุ 35 5.9 เด็ก 0-6 ปี 9 1.5 ว่างงาน 49 8.3   รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ระหว่าง 0-2,000 บาท (ประกอบธุรกิจส่วนตัว) โดยมีรายได้เฉลี่ย 210 บาทต่อวัน ในการรับบริการสุขภาพครั้งล่าสุด ส่วนใหญ่ไปรับบริการที่โรงพยาบาล ร้อยละ 49.2   Frequency Percent ศูนย์บริการสาธารณสุข 170 28.9 คลินิก 129 21.9 โรงพยาบาล 290 49.2 Total 589 100.0 ในการรับบริการครั้งล่าสุดเป็นบริการแบบผู้ป่วยนอกถึง 538 ราย (ร้อยละ 91.3)   Frequency Percent ผู้ป่วยนอก 538 91.3 ผู้ป่วยใน 51 8.7 Total 589 100.0 การเจ็บป่วยในกรณีผู้ป่วยนอกนั้นกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) เป็นผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังไปรับการรักษาต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 28.3  (81 ราย)ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 18.9 (54 ราย) และเป็นทั้งเบาหวานและความดันร้อยละ 17.1 (49 ราย) นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อ HIV อีก 3 รายที่เข้ารับยาต้านไวรัส ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ โรคเรื้อรัง 286 55.0 มีไข้ ไอ 62 11.9 ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ 43 8.3 ปวดศีรษะ 20 3.8 โรคแผลในกระเพาะอาหาร 18 3.5 อุบัติเหตุ 15 2.9 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 12 2.3 ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ 11 2.1 ตรวจสุขภาพ 11 2.1 ทันตกรรม 9 1.7 ทำแผล 5 1.0 อื่นๆ 28 5.4 รวม 520 100.0   สำหรับความเจ็บป่วยในกรณีที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 ราย (ร้อยละ 13.7) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5 ราย (ร้อยละ 9.8) ผู้ป่วยที่มาคลอดบุตร 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ 3 ราย ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง 3 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจ 3 ราย โรคมะเร็ง 2 ราย ตามลำดับ ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ เบาหวาน 9 17.6 ความดันโลหิตสูง 6 11.8 คลอดบุตร 4 7.8 ท้องเสีย 3 5.9 อุบัติเหตุ 3 5.9 หัวใจ 3 5.9 แผลในกระเพาะอาหาร 3 5.9 มะเร็ง 2 3.9 เข้ารับการผ่าตัด 2 3.9 อื่นๆ 16 31.4 Total 51 100   การเจ็บป่วยในครั้งล่าสุดนั้นต้องมีญาติหรือบุคคลอื่นพาไป 224 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0   ในการเดินทางไปใช้บริการครั้งล่าสุด ผู้ป่วยเดินทางด้วยรถ Taxi เป็นหลัก   Frequency Percent เดิน 27 4.6 รถเมล์ 80 13.6 รถมอเตอร์ไซค์ 128 21.7 เหมารถ 22 3.7 รถยนต์ส่วนตัว 36 6.1 Taxi 280 47.6 รถประจำทางในหมู่บ้าน 16 2.7 Total 589 100.0   ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการในแต่ละครั้ง แบ่งตามลักษณะการเข้ารับการรักษา พบว่า ตารางที่  ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่การรักษาพยาบาลและต้นทุนทางอ้อมในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วย ค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ค่าเดินทาง 113 157 ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ 59 101 ค่าใช้จ่ายในการให้ผู้อื่นดูแลบ้านแทนตนเอง 2 5 ค่าขาดรายได้ในระยะเวลาที่เข้ารับบริการ 181 461   ในการรับบริการแบบผู้ป่วยนอกนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 13.5 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน เป็นเวลาทั้งวัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานในวันนั้น   Frequency Percent ไม่เกิน 3 ชั่วโมง 270 50.2 ไม่เกิน 6  ชั่วโมง 196 36.3 1 วัน 73 13.5   ในการรับบริการแบบผู้ป่วยในนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน มากกว่า 1 วัน โดยเฉลี่ยเวลาที่เสียไปจากการเข้าพักรักษาตัวแบบผู้ป่วยในอยู่ที่ 2.4 วัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานดังกล่าว   Frequency Percent 1 วัน 22 43.1 มากกว่า 1 วัน 29 56.9 Total 51 100.0   ความคิดเห็นต่อการร่วมจ่าย 30 บาทนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 67.8 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วยและจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล   Frequency Percent เห็นด้วยเพราะโรงพยาบาลจะบริการดีขึ้น 142 24.1 เห็นด้วยเพราะจะได้ใช้บริการอย่างมีศักดิ์ศรี 47 8.0 ไม่เห็นด้วยเพราะเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 362 61.5 ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายไม่ได้รับการรักษา 37 6.3 แบบใดก็ได้ 1 0.2 Total 589 100   ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทนั้นส่วนใหญ่คิดว่าควรยกเว้นบางกลุ่ม เช่น ผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ไม่ต้องร่วมจ่าย   Frequency Percent ทุกคน 54 28.6 ยกเว้นบางกลุ่ม เช่นผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ 135 71.4   189 100 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.9) คาดหวังว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ และมีการบริการที่ดีขึ้น   Frequency Percent คุณภาพ 134 70.9 ศักดิ์ศรี 51 27.0 มีส่วนร่วม 2 1.1 ไม่คาดหวังอะไร 2 1.1 Total 189 91.2    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 173 กระแสต่างแดน

ป่วยเลือกได้วันนี้คนอเมริกันมีเว็บไซต์ที่พวกเขาสามารถค้นหาและเลือกศัลยแพทย์สำหรับการผ่าตัดชนิดไม่เร่งด่วนแล้ว เว็บ SurgeonRating.org จัดอันดับศัลยแพทย์ 50,000 คนในอเมริกา โดยใช้ข้อมูลของโครงการสิทธิประโยชน์เมดิแคร์ในปีพ.ศ. 2552 – 2556  แพทย์และนักสถิติจะเป็นผู้จัดอันดับโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น อัตราการเสียชีวิต อาการของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และผลการประเมินโดยแพทย์อื่นๆ  ผู้ที่ต้องการค้นหาว่าควรเข้ารับการผ่าตัดจากแพทย์ท่านไหนสำหรับอาการเจ็บป่วยของตนเอง สามารถเข้าไปที่เว็บนี้ พิมพ์รหัสไปรษณีย์ลงไป แล้วเลือกประเภทการผ่าตัด (ณ ปัจจุบันมีให้เลือก 14 ประเภท เช่น ผ่าตัดเข่า ผ่าตัดสะโพก หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น) ระบบก็จะขึ้นชื่อแพทย์มาให้เลือกศัลยแพทย์ที่ไม่มีชื่อในระบบคือกลุ่มที่ยังมีประวัติการรักษาในระบบเมดิแคร์ไม่มากพอ หรือไม่ก็ได้คะแนนประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยส่วนเว็บ SurgeonScorecard จะประเมินศัลยแพทย์ 17,000 คนที่เคยทำการผ่าตัดชนิดไม่เร่งด่วนที่นิยมกันมากที่สุด 8 ประเภท โดยใช้ข้อมูลของเมดิแคร์เช่นกัน (จากปีพ.ศ. 2552 – 2557) โดยผู้ป่วยสามารถค้นหาจากรัฐ โรงพยาบาล หรือชื่อศัลยแพทย์ได้เลย แพทย์ 24 คนและทีมงานของเว็บไซต์จะเป็นผู้จัดอันดับ โดยใช้ข้อมูลอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด (กรณีผู้ป่วยกลับเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลอีกครั้งภายใน 30 วัน) แต่เขาจะตัดกรณีที่คนไข้ป่วยหนัก มีความเสี่ยงสูง อายุมาก สุขภาพไม่ดี หรือโรงพยาบาลมีผลการดำเนินงานต่ำออกไปแต่กว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี  เมื่อปีพ.ศ. 2552 องค์กร Center for the Study of Services/Consumers’ Checkbook (ผู้อยู่เบื้องหลังเว็บ SurgeonRating.Org) ฟ้องศาลเพื่อขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสถิติการผ่าตัดของแพทย์ แต่เขาเพิ่งจะได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม ปีที่แล้วนี่เอง    ร็อคไม่ดีมีคืนคณะกรรมการตัดสินข้อพิพาทระหว่างผู้ประการกับผู้บริโภคของฟินแลนด์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากแฟนเพลงที่ซื้อตั๋วไปดูคอนเสิร์ตของชัค เบอรี่ ที่เมืองเฮลซิงกิ เมื่อสองปีก่อน แฟนเพลงระบุว่าตำนานร็อคแอนด์โรลในวัย 89 ปี ดูเหมือนจะยืนเล่นกีตาร์แทบไม่ไหว เจ้าตัวก็ออกปากขอโทษกับแฟนๆ กลางเวทีเรื่องสภาพร่างกายของตัวเอง เรียกว่าคอนเสิร์ตวันนั้นค่อนข้างกร่อย    คณะกรรมการฯ ตัดสินว่า เมื่อศิลปินทำการแสดงไม่ได้ตามมาตรฐานที่คาดหวัง แฟนเพลงที่เสียเงินเข้าชมก็มีสิทธิขอเงินคืนได้ครึ่งหนึ่งของราคาตั๋วที่จ่ายไป แต่นั่นต้องเป็นความเห็นร่วมกันของแฟนเพลงนะ ไม่ได้หมายความว่า ถ้าคุณไปดูคอนเสิร์ตแล้วรู้สึกหงุดหงิดไม่ชอบอยู่คนเดียวก็จะไปขอเงินคืนได้ถ้ายังจำกันได้ เมื่อ 7 ปีก่อน ศิลปินร็อครุ่นใหญ่อย่าง นีล ยัง ก็ประกาศคืนเงินให้แฟนเพลง 11,000 คนที่ผิดหวังจากการมาดูคอนเสิร์ตของเขาที่โอไฮโอ เพราะเขารู้ตัวดีว่าเสียงแหบ ร้องไม่ดี และผู้คนพากันทยอยเดินออกตั้งแต่คอนเสิร์ตยังไม่จบ  รอกันอีกนิดนึง ข่าวดี! การรถไฟฝรั่งเศส (SNCF) สั่งซื้อรถไฟที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มาวิ่งในเส้นทางสาย TER เลียบชายหาดริเวียร่า เพื่อรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่เดินทางระหว่างฝรั่งเศสและอิตาลี ปัจจุบันมีถึงวันละ 130,000 คนเดือนกรกฎาคม บริษัทบอมบาเดียร์ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบรถไฟรุ่น Regio 2N ที่รองรับผู้โดยสารได้ขบวนละ 1,000 คน เรียบร้อยแล้ว แต่ข่าวร้ายคือ ขณะนี้รถไฟขบวนดังกล่าวยังคงสิ้นสุดเส้นทางที่เมือง Menton ของฝรั่งเศสเท่านั้น เพราะอะไรน่ะหรือ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Nice Matin ออกมาเปิดเผยว่าเป็นเพราะรถไฟใหม่นี้มันสูงเกินกว่าที่ควรไปประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จึงไม่สามารถลอดอุโมงค์จากฝรั่งเศสเข้าไปถึงอิตาลีได้ปัญหาแนวนี้ไม่ได้เพิ่งเคยเกิดขึ้นกับ SNCF หรอกนะ ปีที่แล้วเขาก็ต้องใช้งบประมาณถึง 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1,859 ล้านบาท) เพื่อขยายชานชาลากว่า 1,300 แห่ง หลังจากพบว่ามันแคบเกินไปสำหรับรถไฟที่สั่งมาใหม่จำนวนหลายร้อยตู้ ข่าวไม่ได้บอกว่าปัญหาตัวรถสูงไปนี้จะต้องใช้งบในการแก้ไขเท่าไร บอกแต่ว่าใครที่รอจะขึ้นสายนี้เต็มเส้นทางก็ต้องรอถึงเดือนพฤศจิกานะจ๊ะ ... ขอเวลาขูดเพดานอุโมงค์แพ้บ!! เพิ่ม 20 ลด 20นักวิจัยนิวซีแลนด์พบว่า การเพิ่มภาษีอาหารที่มันหรือเค็มเกินพิกัดขึ้นร้อยละ 20 พร้อมๆ กับการลดภาษีผัก/ผลไม้ลงร้อยละ 20 จะสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้ปีละ 2,400 คน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยโอทาโก้ มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบว่าสูตรเพิ่ม 20 ลด 20 นี้จะทำให้คนเลือกซื้ออาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น พวกเขาใช้ข้อมูลจาก Statistics NZ มาเป็นฐานในการจำลองเรื่องราคา ปริมาณการซื้อ และอัตราการตายจากหัวใจวาย โรคเบาหวาน หรือมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับนิสัยการกินสิ่งที่พบคือ อัตราการตายโดยรวมจะลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อราคาอาหารกลุ่มที่มีเกลือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และอัตราดังกล่าวจะลดลงร้อยละ 5 เมื่อราคาอาหารในกลุ่มที่มีไขมันสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในขณะเดียวกัน ถ้าลดราคาผัก/ผลไม้ลงร้อยละ 20 อัตราการตายจะลดลงไปอีกร้อยละ 1.9   คุณอาจสงสัยว่าทำไมเขาไม่พูดถึงเรื่องภาษีน้ำตาล คำตอบคือข้อมูลที่ไม่ยังไม่เพียงพอจะนำมาสร้างแบบจำลองได้นั่นเอง   รับประกันสอบตกใครๆ ก็พูดถึงไอเดียสตาร์ทอัพ  นักศึกษาหนุ่ม 3 คนจากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเงินแห่งเซี่ยงไฮ้ก็เช่นกันเด็กกลุ่มนี้เกิดปิ๊งไอเดียการทำธุรกิจขึ้นมาได้ตอนที่สมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งสอบตก แล้วรำพึงรำพันว่า ... ถ้ามีประกันการสอบตกนี่มันน่าจะดีนะ ว่าแล้วก็พากันรวบรวมข้อมูลอัตราการสอบตกย้อนหลังของเพื่อนๆในรุ่น แล้วพบว่า ... อืม ... ดูถ้าพวกเราคงจะทำธุรกิจได้ จากนั้นก็เคาะออกมาว่า เขาจะเก็บ “เบี้ยประกัน” จากเพื่อนๆที่สนใจคนละ 5 หยวน (25 บาท) ด้วยเงื่อนไขว่าพวกเขาจะได้รับเงินชดเชย 30 หยวน (150 หยวน) ถ้าสอบไม่ผ่าน แต่ถ้าพวกเขาทำคะแนนได้มากกว่าร้อยละ 90 ก็จะได้เงินไป 20 หยวน (100 บาท) เช่นกันไอเดียนี้ได้รับความสนใจพอสมควร ขนาดเริ่มเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ยังมีเพื่อนนักศึกษาสนใจ “ทำประกันภัยสอบตก” ถึง 150 คน เขาบอกว่าถ้าเริ่มธุรกิจก่อนสอบปลายภาค จะมีคนสนใจมากกว่านี้อีกพวกเขาคิดจะตั้งบริษัททำธุรกิจนี้เต็มรูปแบบ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายให้ความเห็นว่า แบบนี้ทำเล่นๆ ก็พอได้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจจริงๆขึ้นมาก็ต้องมีหน่วยงาน มีกฎหมายเข้ามาควบคุมเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจถูกหลอกกันได้ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับการประกัน เดี๋ยวจะพาลกลุ้มใจเสียดายเงินจนสอบไม่ผ่านกันหมดนะจ๊ะเด็กๆ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 กระแสต่างแดน

โนอั่งเปา ปกติแล้วเทศกาลเต็ด (หรือตรุษจีน) เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตารอ รอวันหยุดยาวและรอโบนัสจากเจ้านาย แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะคล่องตัว ปีนี้หลายคนคงจะผิดหวัง สาวโรงงานทำรองเท้ารายหนึ่งในจังหวัดไฮฟอง คาดการณ์ว่าปีนี้เธอคงได้โบนัสจากบริษัทไม่เกิน 300,000 ดอง(ประมาณ 500 บาท) แต่นั่นก็ยังดีกว่าโบนัสตอนปีใหม่ที่ได้แค่  10,000 ดอง(ประมาณ 15 บาท) ซึ่งเธอบอกว่าไม่พอซื้อเฝอ(ก๋วยเตี๋ยว) ชามหนึ่งด้วยซ้ำไป ในขณะที่หนุ่มโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองฮานอยก็บอกว่าตรุษจีนปีนี้คงไม่สนุก แม้จะได้เงินโบนัสถึง 2,000,000 ดอง(ประมาณ 3,100 บาท) แต่เขาบอกว่าเงินแค่นี้ไม่พอซื้อของขวัญดีๆ ให้ญาติผู้ใหญ่ได้  เต็มที่เขาคงทำได้แค่จัดงานเลี้ยงเล็กๆ ในครอบครัว   ด้านนายจ้างก็กลุ้มใจไม่แพ้กัน ว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายโบนัสให้พนักงาน เจ้าของโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่งบอกว่าปี 2556 เป็นปีที่ฝืดเคืองมากสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ปีนี้เธอต้องกู้เงินคนอื่นมาจ่ายโบนัสให้พนักงาน แม้จะให้ได้คนละไม่มาก(ประมาณ 800 – 1,500 บาท แล้วแต่ระยะงาน) แต่เธอก็อยากตอบแทนความขยันขันแข็งของลูกน้อง และธุรกิจของเธอก็นับว่าโชคดีมากแล้วที่ยังไม่ล้มละลาย เธอบอกว่า 9 ใน 10 ของธุรกิจขนาดเล็กในเวียดนามกำลังประสบปัญหา ถ้าไปถามใครแล้วเขาตอบว่า “ก็สบายๆ ชิลๆ” แสดงว่าเขาพยายามพูดในทางที่ดีไว้ก่อนเพื่อรักษาหน้า ตัวเลขของทางการก็ช่วยยืนยันความเห็นของเธอ ในปี 2013 เขตโฮอันเกี่ยมมีผู้ประกอบการรายย่อย 546 ราย(จากทั้งหมด 4,000 ราย) ต้องปิดกิจการ สรรพากรเองก็เก็บภาษีได้เพียงร้อยละ 64 ของที่เคยเก็บได้ ไม่เป็นไร ปีนี้พลาดไปแล้ว ปีหน้าฟ้าใหม่ขอให้เฮงๆ กันกว่านี้ก็แล้วกันนะ     ใครช่างคิด? วันนี้ทุกคนสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองทางอินเตอร์เน็ต ขอแค่มีบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นการจองโรงแรม ซื้อตั๋วเครื่องบิน ซื้อบัตรคอนเสิร์ต ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยทิ้งกันไปไหนคือ “ค่าธรรมเนียมการดำเนินการ” (ที่เราดำเนินเอง *-*) ซึ่งยังไม่มีใครทราบว่ามันเป็นค่าอะไรบ้าง นอกจากค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตอย่างที่เคยรู้มา CHOICE องค์กรผู้บริโภคออสเตรเลียออกมาแฉว่า สายการบินเวอร์จิ้น เจ็ทสตาร์ และแควนตัส คิดค่าธรรมเนียมการจองผ่านบัตรเครดิตถึง 7.70 เหรียญ 8.50 เหรียญ และ 7 เหรียญต่อหัว สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ทั้งๆ ที่ค่าดำเนินการอยู่ที่ร้อยละ 0.81 ของมูลค่าธุรกรรมเท่านั้น จึงเกิดคำถามว่าสายการบินเหล่านี้อ้างการเก็บ “ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต” เพื่อเป็นช่องทางหารายได้หรือเปล่า ทั้งนี้เพราะธนาคารกลางของออสเตรเลียได้ออกมาตรการควบคุมการคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตในการจ่ายค่าแท็กซี่และซื้อตั๋วเครื่องบินตั้งแต่มีนาคมปีที่แล้ว ผู้ประกอบการบัตรเครดิตก็สนับสนุนการกำหนดเพดานค่าธรรมเนียม เพราะรู้ดีว่าถ้าเก็บมากไป ผู้บริโภคก็จะไม่อยากใช้บัตร การสำรวจในเดือนกันยายนก็พบว่ามาสเตอร์การ์ดและวีซ่าคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเฉลี่ยร้อยละ 0.80 ต่อรายการชำระเงินจริงๆ แล้วที่จ่ายกันไปมากกว่านั้น นี่ใครคิดกันเนี่ย??? คนจนงดเจ็บป่วย สิงคโปร์มีประชากร 5.4 ล้านคน รายได้เฉลี่ยต่อปีของประชากรอยู่ที่ 65,048 เหรียญ(1,677,000 บาท) และมีอัตราส่วนเศรษฐีต่อประชากรสูงที่สุดในโลก เมื่ออยู่ในเมืองที่มีค่าครองชีพแพงเป็นอันดับ 6 ของโลก คุณต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 1,400 - 1600 เหรียญ (36,000 – 41,500 บาท) ถึงจะพออยู่ได้ ปีเตอร์ พนักงานรักษาความปลอดภัยในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งบนถนนออชาร์ด คือหนึ่งในตัวอย่างของคนรายได้น้อยในสิงคโปร์ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น เขามีรายได้เดือนละ 1,600 เหรียญ และมีหนี้ที่เกิดจากค่ารักษาภรรยาจากอาการข้อเท้าหักเมื่อสองปีก่อนอีก 20,000 เหรียญ(ประมาณ 515,500 บาท)  ในขณะที่ตัวเองก็เป็นต้อหิน ซึ่งการผ่าตัดรักษาต้องใช้เงินถึง 4,000 เหรียญ(ประมาณหนึ่งแสนบาท) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่แพงขึ้นทำให้ร้อยละ 72 ของคนสิงคโปร์ เชื่อว่าตัวเองไม่มีเงินพอจะรักษาอาการเจ็บป่วยได้ ทั้งๆ ที่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินสมทบจากรัฐ เช่นในกรณีของปีเตอร์ เขาสามารถเบิกจากกองทุนได้แค่ 1,700 เหรียญเท่านั้น สถิติระหว่างปี 2002 ถึงปี 2011 ระบุว่ารัฐบาลสิงคโปร์ร่วมจ่ายไม่ถึงหนึ่งในสามของค่ารักษาพยาบาล ในขณะที่โดยเฉลี่ยแล้วรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาจะร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลประมาณร้อยละ 60 ถึง 70 เฮ้อ .. จนน่ะไม่เท่าไหร่ แต่อย่าป่วยไข้ก็แล้วกัน     ยาดีต้องมีที่มา ไม่เพียงแต่คนไข้เท่านั้นที่ถูกบริษัทยาละเมิดสิทธิโดยไม่รู้ตัว แม้แต่นักวิจัยและแพทย์เองก็ไม่เคยได้รับทราบข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของยาบางตัว ก่อนที่จะนำไปใช้รักษาคนไข้ด้วยเช่นกัน งานสำรวจพบว่า ความเป็นไปได้ที่บริษัทจะลงพิมพ์ผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น และผลการทดลองที่ให้ผลเป็นบวกนั้นมีแนวโน้มจะได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะมากกว่า บริษัทมักอ้างว่ามันเป็นความลับทางธุรกิจที่เปิดเผยไปแล้วจะทำให้เสียเปรียบคู่แข่ง จึงเลือกที่จะปกปิดข้อมูลไว้ แม้กระทั่งจากแพทย์ที่จะนำยาไปใช้รักษาคนไข้ บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษจึงออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดเผยวิธีการและผลการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของยาทุกตัวที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะมันมีผลต่อการใช้งบประมาณของประเทศ ในปี 2013 กรมสุขภาพของอังกฤษใช้เงินไปถึง 424 ล้านปอนด์(22,700 ล้านบาท) ในการกักตุนยาทามิฟลูที่เชื่อกันว่าสามารถต้านไว้รัสไข้หวัดใหญ่  โดยที่แพทย์ก็ยังไม่สามารถฟันธงเรื่องผลการรักษาของมันได้ เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ   เปิ้ลพร้อมเปลี่ยน คณะกรรมาธิการการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลีย Australian Competition and Consumer Commission ยื่นคำขาดต่อแอ๊ปเปิ้ลให้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลังการขายให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคบัดเดี๋ยวนี้ มิเช่นนั้นเรื่องจะถึงศาล คำขู่นี้ได้ผล แอ๊ปเปิ้ลขอสัญญาว่าจากนี้ต่อไปเขาจะอบรมพนักงานใหม่เรื่องสิทธิในการขอเปลี่ยนหรือซ่อมสินค้าตระกูลไอทั้งหลาย และหยิบเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์ที่ขายไปในรอบสองปีที่ผ่านมาขึ้นมาพิจารณาใหม่ และดูและให้ผู้บริโภคได้รับสิทธิตามที่ควรจะได้ ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคไม่รู้ตัวเลยว่าพวกเขาได้สิทธิการเรียกร้องต่ำกว่าที่ระบุไว้ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ของออสเตรเลีย สาวกไอโฟน ไอแพด และไอพอด เชื่อมั่นว่าตนเองได้รับสิทธิเต็มที่แล้วตามแอ๊ปเปิ้ลจัดให้ ด้วยระยะเวลารับประกันหนึ่งปี แต่ตามกฎหมายฉบับนี้ ผู้ขายต้องรับประกันคุณภาพสินค้า “ในระยะเวลาที่เหมาะสม” ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เข้าข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ จึงมีระยะประกัน 2 ปี และผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ขายในร้านทั้งหมดแม้จะไม่ใช่ของแอ๊ปเปิ้ลด้วย นอกจากนี้บริษัทยังรับปากว่าจะแจ้งสิทธิผู้บริโภคไว้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์เป็นเวลาสองปี และมีจุดแจกเอกสารของคณะกรรมาธิการการแข่งขันฯ ในร้านทุกสาขาด้วย //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ผู้ป่วย คือผู้บริโภคใช่หรือไม่ ?

  เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ป่วย เป็นผู้บริโภคหรือไม่  เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ ผมจึงได้แปลคำพิพากษาฎีกาของอินเดียมาให้พิจารณากัน  และอยากจะให้ผู้อ่านพิจารณากันว่า  ทุกวันนี้ เรามีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการฟรีแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยหรือไม่  ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในสวัสดิการของรัฐก็ดี ผู้ป่วยประกันสังคมก็ดี ผู้ป่วยประกันสุขภาพก็ดี  แม้ผู้ป่วยจะไม่ต้องจ่ายค่าบริการเอง แต่ก็มีผู้รับประกันจ่ายแทนให้ทั้งสิ้น  ดังนั้น ถ้าพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาอินเดียแล้ว  ผู้ป่วยในประเทศไทยย่อมเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น  ผมไม่แน่ใจว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกในประเทศอินเดีย ยังมีประเภทที่ให้บริการฟรีโดยสมบูรณ์ทั้งหมดแก่ประชากรทุกคนอยู่อีกหรือไม่  ผู้ที่เคยไปดูระบบบริการรักษาพยาบาลของอินเดีย (Health Care Service System) น่าจะได้อธิบายในเชิงวิชาการออกมาสู่ผู้อ่านบ้าง   ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายอินเดียและคำพิพากษาฎีกาได้จากหนังสือ The Law of Medical Negligence ซึ่งแต่งโดย Dr. H.L. Chulani M.S., LL.B.  ผมได้รับอภินันทนาการจากโรงพยาบาลทรวงอกในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้   คำนิยาม ผู้บริโภค ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้นิยมคำว่า ผู้บริโภค ไว้ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม   “ซื้อ” หมายความรวมถึง เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น   “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย   “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน   “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียชื่อ The Consumer Protection Act 1986 (No.68 of 1986) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาของอินเดีย ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ก็ได้ให้นิยามคำว่า “ผู้บริโภค” ไว้ในมาตรา 2 ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายถึง บุคคลผู้ซึ่ง   (1) ซื้อสินค้าโดยจ่ายเงินแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายเงินบางส่วน หรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินบางส่วน หรือการจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้ใช้สินค้าโดยมิได้เป็นผู้ซื้อดังกล่าว แต่การใช้สินค้าที่ได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่ได้สินค้ามาเพื่อขายต่อ หรือเพื่อประสงค์จะทำธุรกิจค้าขายหรือ   (2) จ้างหรือรับประโยชน์จากบริการใด ๆ ที่ได้จ่ายค่าจ้างไปแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายบางส่วน หรือสัญญว่าจะจ่ายบางส่วน หรือจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้รับประโยชน์จากบริการที่มิใช่ผู้จ่าย แต่ได้รับความยินยอมจากผู้จ่ายข้างต้นด้วย   “บริการ” หมายความว่า บริการใด ๆ ที่จะอำนวยความต้องการต่อผู้จะใช้บริการนั้น ๆ โดยรวมถึงวิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการธนาคาร การเงิน การประกัน การคมนาคมขนส่ง การจัดการต่าง ๆ การสร้างบ้าน การจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน การจัดการที่พักอาศัย หรือการเช่าบ้านหรือทั้งสองอย่าง บริการการบันเทิง การจัดการรื่นเริง หรือการส่งข่าวสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้บริการที่ไม่เรียกเก็บค่าบริการ การบริการภายใต้สัญญาจ้างบุคคล (Contract of personal service) (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา บรรพ 3 เรียกว่า สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับภาษาอังกฤษของโรงพิมพ์อักษรสาสน์ พ.ศ. 2505 แปลว่า Hire of service)   จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น ใกล้เคียงหรือคล้ายกับบทบัญญัติในกฎหมายไทย  แต่ที่ต่างกันอยู่ที่วิธีเขียนกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้บริโภคคือบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ซื้อ (รวมผู้เช่าและเช่าซื้อ) สินค้าหรือผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ผู้รับบริการ หรือผู้ซึ่งได้รับการชักชวนให้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ   เมื่อมีคดีระหว่างโรงพยาบาลกลาง (Cosmopolitan Hospital) กับ Vasantha Nair  ผู้พิพากษา Eradi วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเป็น “บริการ” ในความหมายตามนิยามในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และสั่งให้โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ภรรยาผู้ตาย  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1992  ผลจากคำตัดสินดังกล่าว ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นทั่วไปในวงการแพทย์  มีแพทย์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามต่อต้านการนำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 1986 มาใช้กับการประกอบวิชาชีพแพทย์  และต่อมามีประเด็นโต้แย้งดังกล่าวไปยังศาลสูงของรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย  ต่อมาเมื่อศาลสูงของรัฐมัทราส (Madras High Court) วินิจฉัยให้เป็นประโยชน์กับวิชาชีพแพทย์  ในปี 1994 พฤติการณ์เริ่มคลี่คลายลง คำพิพากษาฎีกาข้างต้นนับว่าเป็นความเห็นที่เป็นที่ยุติ และนับว่าเป็นที่ยอมรับกัน   ต่อมา ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาของอินเดีย ปี 1995 ออกมา  ศาลฎีกาวินิจฉัยดังต่อไปนี้   คำพิพากษาศาลฎีกา (Supreme Court)  (คดีระหว่าง แพทยสมาคมอินเดีย ผู้อุทธรณ์ กับ ชันธา กับพวก) (V.P. Shanta and Others) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Act 1986) มาตรา 2 (1) (o) คำว่า “บริการ” วิชาชีพแพทย์ (Medical Profession) ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Medical Practitioners) และโรงพยาบาล (Hospital)  สถานดูแลผู้ป่วย (Nursing Home) ต้องถือว่าเป็นการให้บริการ ตามความหมายของนิยามในมาตรา 2 (1) (o) แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1980 ทั้งสิ้น  ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้   A. ในประเด็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional liability) ที่อ้างว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานที่ไม่อาจคาดหมายถึงผลสำเร็จได้ในทุกกรณี และส่วนมาก ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  นอกเหนือความคาดหมายของผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะมนุษย์จะควบคุมได้  การอ้างเหตุผลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัด ขณะที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นยังคงมีอยู่นั้น  ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพก็ยังต้องมีความสามารถอย่างน้อยที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (resonable care) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน   B. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่อาจจะยินดีต่อภูมิคุ้มกันใด ๆ ที่ตนจะถูกฟ้องกรณีผิดสัญญาหรือละเมิด เนื่องจากความบกพร่องในการใช้ความชำนาญจากการบริการอย่างเหมาะสม  ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยแพทยสภา (Medical Council Act) อยู่แล้ว และต้องถูกควบคุมทางจริยธรรม (disciplinary control) ของแพทยสภาแห่งอินเดีย หรือแพทยสภาของรัฐ (State Medical Council) แล้วแต่กรณีนั้น ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องชดใช้สินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด  สิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะฟ้องคดีผู้บริโภคจึงไม่เสียไป   C. ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า บางครั้งปัญหาที่สลับซับซ้อนอาจเกิดขึ้น จำต้องนำพยานหลักฐานที่เป็นบันทึกของผู้ชำนาญประกอบการพิจารณาคำฟ้องเกี่ยวกับความบกพร่องในการให้บริการนั้น เป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้บริการนั้นหรือไม่  แต่ประเด็นนี้ จะไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในทุกคดีที่มีการฟ้องร้อง  ประเด็นในคำฟ้องในคดีดังกล่าว ก็ควรจะใช้กระบวนวิธีพิจารณาที่รวดเร็ว ตามวิธีดำเนินการโดยองค์การพิจารณาคดีตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Dispute Redressal Agencies)  และไม่มีเหตุผลใดที่คำฟ้องที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการให้บริการในกรณีดังกล่าว ไม่ควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยโดยองค์กรตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  และแม้คำฟ้องที่มีปัญหาสลับซับซ้อน ที่ต้องการความเห็นของพยานผู้ชำนาญ ผู้ฟ้องคดีก็อาจขอร้องให้คดีไปสู่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งได้ตามความเหมาะสม (ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น องค์กรที่เป็นผู้พิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่ใช่ศาล แต่เป็นองค์กรที่มีชื่อว่า National Consumer Redressal Commission แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง กับ District Forum แต่งตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐ  รายละเอียดผู้เขียนเคยนำเสนอในวารสารนี้มาแล้ว [คลินิก 12; (5), 2539: 301-305)]   D. บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค ไม่ว่าจะโดยทางอายุรกรรมหรือศัลยกรรมต่อผู้ป่วย  ย่อมอยู่ในความหมายของ “การบริการ” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งสิ้น (เว้นแต่ แพทย์ที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการต่อผู้ป่วยทุกคน หรือให้บริการภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน – contract of personal service)   E. สัญญาจ้างแรงงาน (Contract of personal service) ต่างจากสัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service) เพราะผู้ป่วยกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานนายจ้างกับลูกจ้าง  บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้กับผู้ป่วยได้คือ บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่บริการนั้นเป็นบริการที่ให้ภายใต้สัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service)  จึงไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นของคำว่า “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (ทำนองเดียวกัน ศาลฎีกาของไทยได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 287/2507 ว่า กิจการสถานพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับพยาบาลผู้เจ็บป่วย และทำคลอดบุตรให้แก่หญิงมีครรภ์ ลักษณะเป็นการจ้างทำของ)   F. คำว่า “สัญญาจ้างแรงงาน” (Contract of personal service) อาจรวมถึงสัญญาจ้างเจ้าหน้าที่แพทย์ (Medical officer) โดยมุ่งหมายที่จะให้แพทย์ผู้นั้นมาให้บริการแก่นายจ้าง  บริการที่เจ้าหน้าที่แพทย์ให้บริการแก่นายจ้างภายใต้สัญญาจ้างดังกล่าว ไม่อยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   G. บริการที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล (Nursing home) ซึ่งบริการเหล่านั้นไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ต่อผู้ป่วยทุกคน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” แม้ว่าจะมีค่าลงทะเบียนกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลบ้าง ก็ยังไม่ถือว่าเป็น “บริการ”   H. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ (Non-Government)  ถ้าไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ใดเลย  ผู้ป่วยทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจน ไม่ต้องต้องจ่ายค่าบริการเลย  บริการเหล่านั้นถือว่า มิใช่ “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   I. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการ  การบริการนั้นถือเป็น “บริการ” ตามที่บัญญัติในกฎหมาย   บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการจากบุคคลที่อยู่ในฐานะจะจ่ายค่าบริการได้ และผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายค่าบริการได้ ก็ไม่คิดค่าบริการ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของความหมายของ “บริการ” ตามกฎหมายทั้งสองกรณี   J. บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ที่ไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ป่วย ไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” ตามกฎหมาย   บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ซึ่งคิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ  ขณะเดียวกันก็ไม่คิดค่าบริการต่อผู้มาใช้บริการบางกลุ่ม ก็ยังถือว่าเข้าข่าย “บริการ” ตามกฎหมาย โดยมิได้คำนึงถึงการที่มีผู้ใช้บริการฟรี   K. บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ไม่ถือว่าให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ  เมื่อผู้ใช้บริการเป็นผู้มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ  และบริษัทประกันเป็นผู้จ่ายค่าปรึกษา ค่าวินิจฉัย และค่ารักษา  บริการเหล่านั้นย่อมอยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมาย   L. ทำนองเดียวกัน ถ้าเงื่อนไขของการให้บริการ โดยนายจ้างเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนลูกจ้างและครอบครัวของลูกจ้าง  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ที่ให้บริการแก่ลูกจ้างและครอบครัวของเขา ก็เข้าข่ายว่าเป็น “บริการ” ที่กฎหมายบัญญัติ   ผู้พิพากษา ได้แก่ Kuldip Singh, S.C. Aqarwal และ B.L. Hansaria (13 Nov. 1995)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point