ฉบับที่ 146 น้ำแข็งไส

  ไส หมายถึง การผลักไป รุนไป ไสน้ำแข็ง ก็คือการที่นำก้อนน้ำแข็งวางบนเครื่องไส ที่แบบบ้านๆ จะเป็นโต๊ะไม้เล็กๆ ที่มีใบมีดคมๆ หงายอยู่ตรงกลาง แล้วไถก้อนน้ำแข็งไปมาผ่านคมมีดเพื่อให้ได้เกล็ดน้ำแข็งฝอยๆ สำหรับกินกับ แตงไทย  เผือกลอดช่อง วุ้น เฉาก๊วย ขนมเชื่อมต่างๆ  อย่างลูกชิด มันเชื่อม หรืออื่นๆ แล้วราดด้วยน้ำเชื่อมหรือน้ำกลิ่นผลไม้ต่างๆ ขนมแบบนี้แหละที่เราเรียกมันว่า ขนมน้ำแข็งไส ประเทศร้อนๆ อย่างเมืองไทยของเรา คนสมัยก่อนคงนึกไม่ออกว่า น้ำจะเป็นตัว ได้อย่างไร แต่กับคนในบ้านเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นติดลบ น้ำแข็งไม่ใช่ของแปลก และการนำน้ำแข็งมาใช้ทั้งกินและถนอมอาหารก็ทำกันมานานเป็นพันปีแล้ว เมื่อการค้าจากชาติที่มีทั้งอากาศหนาวเย็นและวัฒนธรรมการกินน้ำแข็งมาเยือนถึงถิ่นดินแดนเขตร้อน ราวศตวรรษที่ 19 น้ำแข็งจึงจัดเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นสูงเท่านั้นเพราะขนส่งมาไกลข้ามน้ำข้ามทะเลกันมาหลายเดือน คนไทยเราสั่งนำเข้าน้ำแข็งมาครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 จากประเทศสิงคโปร์เพื่อถวายพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงกลายเป็นของกินที่ทั้งแปลกและหรูหราในสมัยนั้น น้ำแข็งมากลายเป็นของธรรมดาก็เมื่อมีคนคิดค้นการผลิตน้ำแข็งขึ้นได้(ยุคแรกน้ำแข็งที่ใช้บริโภคเป็นน้ำแข็งที่เกิดตามธรรมชาติ) โรงงานน้ำแข็งแห่งแรกในประเทศไทยเป็นเจ้าเดียวกับคนที่ทำรถเมล์เจ้าแรก คือ นายเลิศ(พระยาภักดีนรเศรษฐ) ชื่อว่า น้ำแข็งสยาม ณ เวลานี้  แม้น้ำแข็งไสแบบเดิมยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ น้ำแข็งไส หรือ น้ำแข็งใส ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยมากขึ้น เกล็ดน้ำแข็งที่ผ่านเครื่องไสแบบสมัยใหม่จะละเอียดจนเรียกว่า ปุยนุ่นหรือเกล็ดหิมะ แบบตักใส่ปากก็ละลายโดยไม่ต้องเคี้ยว และยังมีท้อปปิ้งหน้าตาสวยงามให้เลือกหลากหลาย แน่นอนราคาก็ไม่ธรรมดาตามไปด้วย บางเจ้าราคาไม่ต่ำกว่า 100 บาทด้วยซ้ำ ว่าแต่...ร้อนๆ แบบนี้ได้น้ำแข็งไสสักถ้วยคงดีไม่น้อยนะ ว่าไหม?

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 น้ำตาลในน้ำผักผลไม้

เครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ สามารถสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้เสมอ เพราะมักโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากเครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ผสมน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือตามที่นักโภชนาการแนะนำคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา/วัน เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนหรือฟันผุ ทั้งนี้ไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะมาจากการสกัดหรือเป็นน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในผลไม้ก็ตาม เพราะร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนน้ำตาลฟรักโทสให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานได้เช่นกันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลทดสอบ ปริมาณน้ำตาลในน้ำผักผลไม้จำนวน 27 ตัวอย่างจาก 8 ยี่ห้อยอดนิยม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ และป้องกันการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน ไปดูกันเลย    ตารางผลทดสอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 น้ำพริกนรกกับสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย                 น้ำพริกประเภทผัดอย่าง น้ำพริกนรก เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหาย เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงมองหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค และฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ได้แก่  น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จาก บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และ ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) ตลาด อตก.        ปริมาณวัตถุกันเสีย กลุ่มอาหาร กฎหมายกำหนดปริมาณวัตถุกันเสีย สูงสุดไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ถือเป็นปริมาณสูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำพริกได้ด้วย องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิกและซอร์บิก) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะ ü ควรเลือกซื้อน้ำพริกที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือใส่แต่น้อย และเลือกซื้อจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ü ในแต่ละวันเราบริโภคอาหารหลายชนิด หากวันไหนกินแต่อาหารที่มีวัตถุกันเสียผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเกิดการสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะตับและไต ü อาการเบื้องต้นที่พบเมื่อได้รับวัตถุกันเสียปริมาณมาก คือ อาการท้องเสีย เพราะวัตถุกันเสียไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 164 เช็ค “ไขมัน” “น้ำตาล” ในโยเกิร์ต

  “โยเกิร์ต” ถือเป็นของโปรดของใครหลายๆ คน ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ อร่อยถูกปากถูกใจ แถมมีประโยชน์ กินแล้วดีต่อสุขภาพ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีโยเกิร์ตยี่ห้อใหม่ๆ รสชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะสูตรธรรมชาติ ไม่มีไขมัน ไม่มีน้ำตาล สูตรผสมผลไม้ เติมใยอาหาร เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ เรียกว่ามีให้เลือกสารพัด เอาใจคนชอบกินโยเกิร์ตสุดๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้เลยรับอาสาสุ่มเก็บตัวอย่างโยเกิร์ตที่วางขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าโยเกิร์ตแต่ละยี่ห้อมีปริมาณ ไขมัน น้ำตาล และพลังงาน เท่าไหร่กันบ้าง เพื่อให้คนที่ชอบกินโยเกิร์ตได้ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อเลือกกินโยเกิร์ตให้ได้ประโยชน์สูงสุด   ประโยชน์ของโยเกิร์ต -โยเกิร์ตมีโปรตีนจากนม ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ร่างกายสามารถย่อยสลายดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย มีกรดอะมิโนสูง -มีแคลเซียมสูง -มีกรดแลคติกช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค -มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลัส ที่เป็นประโยชน์ต่อสำไส้ ทำหน้าที่ต่อต้านจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรคในลำไส้และกระเพาะอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ปกติ นอกจากนี้ แลคโตบาซิลัส ยังสามารถช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายได้ด้วย -สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนนมได้ สำหรับคนที่แพ้นม หรือดื่มนมไม่ได้   วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต -อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อดูว่าปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่เราจะได้รับจากการกินโยเกิร์ตถ้วยนั้นมีอะไรบ้าง(เปิดฉลาดซื้อเล่มนี้ได้เลยเช่นกัน) -เลือกโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ รสธรรมชาติ หรือ รสจืด จะได้ประโยชน์มากกว่าสูตรธรรมดาหรือสูตรที่ผสมผลไม้ ที่น้ำตาลและไขมันค่อนข้างสูง -เลือกซื้อโยเกิร์ตที่มีวันที่ผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ(โยเกิร์ตที่ผลิตใหม่ๆ)  มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในปริมาณมาก เพราะเชื้อจุลินทรีย์ดีๆ จะสูญสลายไปตามกาลเวลา -การกินโยเกิร์ตไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลง แต่การกินโยเกิร์ตช่วยให้ระบบการทำงานของลำไส้ กระเพาะอาหาร และการย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมดุลเป็นปกติเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครที่กินโยเกิร์ตเพื่อลดความอ้วนจึงเป็นความคิดที่ผิด   เปรียบเทียบปริมาณ ไขมัน น้ำตาล และพลังงาน ในโยเกิร์ต  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 “กาน่าฉ่าย” เมนูเสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำ

ถึงช่วงเทศกาลกินเจทีไร อาหารจำพวกพืชผักต่างๆ ก็ได้เวลาคึกคัก ซึ่งหนึ่งในเมนูผักๆ ที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลกินเจ ก็คือ “กาน่าฉ่าย” เมนูชื่อแปลกที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่ก็เป็นเมนูสุดโปรดของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนที่เชื้อสายจีนรับรองว่าต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี อ่านมาถึงตรงนี้แฟนๆ ฉลาดซื้อคงเริ่มอยากรู้แล้วว่า เราจะทดสอบอะไรในกาน่าฉ่าย ซึ่งฉลาดซื้อได้รับข้อมูลมาว่าในการทำกาน่าฉ่ายนั้นมีการใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ ทำให้เรามีข้อสงสัยว่ากาน่าฉ่ายอาจเสี่ยงปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ ฉลาดซื้อจึงสุ่มเก็บตัวอย่างกาน่าฉ่ายที่ขายอยู่ตามแหล่งจำหน่ายอาหารเจและตลาดยอดนิยมที่ขายสินค้าอาหารของคนไทยเชื้อสายจีน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดเยาวราช ตลาดท่าดินแดง และตลาดสามย่าน  เพื่อมาทดสอบดูว่ากาน่าฉ่ายที่วางขายอยู่เสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำมากน้อยแค่ไหน   สูตรไม่ลับ กาน่าฉาย กาน่าฉ่าย ทำจากผักกาดดองที่บีบน้ำดองออกแล้วส่วนหนึ่ง เพื่อไม่ให้รสชาติเปรี้ยวหรือเค็มจัดเกินไป จากนั้นนำมาสับ นำลงผัดกับลูกสมอดอง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาน่าซั่ม บางเจ้าบางสูตรจะมีการเติมเห็ดหอมลงไปด้วย เมื่อผัดได้ที่ก็จะเติมน้ำเพิ่มลงไป  ตั้งไฟตุ๋นทิ้งไว้ 5-8 ชั่วโมง กาน่าฉ่ายก็จะกลายเป็นสีดำ หน้าตาอาจจะไม่ค่อยน่ากิน แต่รสชาติอร่อยถูกใจ หลายคนบอกว่าแค่กินคู่กับข้าวต้มหรือข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อยสุดๆ หรือจะนำไปดัดแปลงไปผัดกับเนื้อสัตว์ ผัดกับผักอื่นๆ หรือเติมลงในข้าวผัดก็อร่อยไปอีกแบบ ขั้นตอนการปรุงเมนูกาน่าฉ่าย จำเป็นต้องมีการใช้น้ำมันในขั้นตอนของการผัด ซึ่งน้ำมันที่นิยมใช้กันคือน้ำมันพืชอย่าง น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วเหลือง หรือ น้ำมันงา ร้านค้าส่วนใหญ่เวลาที่เขาผัดกานาฉ่ายขายแต่ละทีเขาทำขายกันทีละหลายกิโล น้ำมันที่ใช้จึงมีปริมาณมาก โอกาสที่จะมีการใช้น้ำมันซ้ำๆ ในการผัดเพื่อเป็นการลดต้นทุนจึงอาจเกิดขึ้นได้   ผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในกาน่าฉ่าย ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่าง กาน่าฉ่าย จากตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังในกรุงเทพฯ จำนวน 13 ตัวอย่าง ส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 จ.อุดรธานี เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารโพลาร์ สารที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ในตัวอย่างกาน่าฉ่าย โดยการใช้ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งให้ผลที่แม่นยำเป็นที่ยอมรับ ได้ผลดังนี้     สรุปผลการทดสอบ การวิเคราะห์โดยใช้ชุดทดสอบนั้น จะใช้วิธีการหยดสารละลายโพลาร์ลงในตัวอย่าง ตัวสารจะทำปฏิกิริยากับตัวอย่างทำให้เกิดเป็นสีชมพู ตั้งแต่สีจางไปจนถึงเข้ม สำหรับตัวอย่างที่มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก แต่หากตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ไม่เปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือกลายเป็นสีเหลืองแสดงว่าตัวอย่างนั้นมีปริมาณสารโพลาร์เกินกว่า 25% - ตัวอย่างกาน่าฉ่าย ที่อยู่ในเกณฑ์ดีใช้ได้ พบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างเท่านั้น (จากทั้งหมด 13 ตัวอย่าง) คือมีปริมาณสารโพลาร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1.กาน่าฉ่าย ร้านพลังบุญ จากสันติอโศก 2.กาน่าฉ่าย แม่จินต์ จากโลตัส สาขาสุขสวัสดิ์ และ 3.กาน่าฉ่ายเห็ดหอม สูตรคุณตี๋ จากตลาดสามย่าน สารโพลาร์อยู่ในช่วงปริมาณ 9-20% ถือเป็นน้ำมันที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี - กาน่าฉ่ายอีก 10 ตัวอย่างที่เหลือ ตรวจวิเคราะห์พบปริมาณสารโพลาร์ปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือมากกว่า 25% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งจากการทดสอบด้วยชุดทดสอบพบว่า ตัวอย่างเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม คิดเป็นสารโพลาร์ที่อยู่ในช่วง 27% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งถือเป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรนำมาใช้ประกอบอาหาร - จากตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ พบว่า มากกว่า 70% มีการปนเปื้อนของสารโพลาร์เกินค่ามาตรฐาน การรับประทานกาน่าฉ่าย จึงมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ ใครที่ชอบซื้อรับประทานบ่อยๆ อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น รับประทานแต่พอดี หรือพยายามเลือกร้านที่มั่นใจว่าเปลี่ยนน้ำมันในการทำอยู่เสมอ สังเกตดูกาน่าฉ่ายที่ต้องไม่ดูเก่าเกินไป สีของน้ำมันไม่เป็นสีดำ ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน - น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมคุณภาพ เมื่อถูกความความร้อนสูง และมีความชื้น จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดสารโพล่าร์ (Polar compounds) เครื่องปรุงต่างๆ เช่น เกลือ ถือเป็นตัวเร่งให้เกิดสารสารโพลาร์เพิ่มขึ้น โดยปกติน้ำมันปรุงอาหารใหม่จะมีสารโพลาร์อยู่ระหว่าง 3-8 % ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 เรื่องกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ให้มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก ผู้ประกอบการอาหารที่ใช้น้ำมันทอดอาหารที่มีค่าปริมาณสารโพลาร์เกินมาตรฐานทีกำหนดและจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25(3) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท   อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า ในน้ำมันทอดซ้ำมีสารอันตรายอยู่ 2 กลุ่ม คือ สารโพลาร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และอีกกลุ่มคือสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ PAH ซึ่งเป็นกลุ่มสารก่อมะเร็ง น้ำมันทอดซ้ำ หรือน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพ มีผลทำลายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ โรคหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ไอของน้ำมันที่เสื่อมจะมีกลุ่มสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้ที่ทอดอาหารเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดจากการสูดดม   กานาฉ่าย ไม่ได้เสี่ยงแค่น้ำมันทอดซ้ำแต่ยังต้องระวังเรื่องสารกันบูด ช่วงเทศกาลกินเจ นอกจากผักที่คนกินเจนิยมบริโภคกันมากแล้ว อาหารจำพวกหมักดองก็เป็นที่นิยมมากเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ผักกาดดอง หัวไช้โป้ว เกี่ยมฉ่าย และรวมถึง กาน่าฉ่าย ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีการใช้วัตถุกันเสียเพื่อยืดอายุของอาหาร ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ กรดเบนโซอิก (benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (sorbic acid) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ในผักดอง ผักปรุงสุก ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่าง กาน่าฉ่าย ไช้โป้ว หัวผักดอง และ ยำเกี่ยมฉ่าย รวม 30 ตัวอย่าง เพี่อตรวจวิเคราะห์หาวัตถุกันเสียทางห้องปฏิบัติการ พบว่ามีตัวอย่างที่ใช้วัตถุกันเสียถึง 29 ตัวอย่าง ไม่พบเพียง 1 ตัวอย่าง โดยพบตัวอย่างใช้วัตถุกันเสียทั้ง 2 ชนิด จำนวน 6 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้พบกรดเบนโซอิก เกินมาตรฐาน 22 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 73.3 โดยพบปริมาณสูงสุด 5,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในตัวอย่าง กาน่าฉ่าย ส่วนกรดซอร์บิกพบในตัวอย่าง ไช้โป้ว/ไช้โป้วฝอย อยู่ในช่วง 50 - 418 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แม้ว่ากรดเบนโซอิกจะมีความเป็นพิษต่ำ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ที่มา: รายงานประจำปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 การปนเปื้อนในน้ำหมักชีวภาพ

กระแสความนิยมบริโภคน้ำหมักชีวภาพน่าจะมาพร้อมกับการเติบโตของเคเบิ้ลทีวียุคไร้การควบคุม ย้อนไปเมื่อราว 5-6 ปีก่อน เคเบิ้ลท้องถิ่นและวิทยุชุมชนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการขายสินค้าที่อวดอ้างสรรพคุณเกี่ยวกับการรักษาโรค บำรุงสุขภาพ ปรากฏอยู่ในสื่อประเภทนี้เกือบตลอดทั้งวัน น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำเอนไซม์ ก็เป็นตัวหนึ่งที่โด่งดัง หากจำกันได้ ผู้ที่สร้างกระแสฮือฮามากที่สุดเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพก็คือ ป้าเช้ง หรือ นางสาวศิริวรรณ ศิริสุนทรินท์ ป้าเช็งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แจ้งความดำเนินคดี ในข้อหาเป็นผู้ผลิตน้ำหมักชีวภาพ  "น้ำมหาบำบัด" ราคาขวดละ 1,000 บาท อ้างรักษาได้สารพัดโรค และ "น้ำเจียระไนเพชร "ราคาขวดละ 100 บาท ซึ่งอวดสรรพคุณว่าใช้เป็นยาหยอดตา(ทำให้มีคนตาบอด) ในข้อหาจำหน่ายและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และโฆษณาเกินจริง (วันที่ 25 มกราคม 2553) ปัจจุบันป้าเช้ง ก็ยังขายฝันอยู่ด้วยการประกาศแจกสูตรน้ำหมักฟรี ด้วยสโลแกน ทำเอง กินเอง เพราะสูตรน้ำหมักไม่ได้ทำยากเย็นอะไรเลย และการกินน้ำหมักหรือของหมักที่เกิดจากจุลินทรีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร มนุษย์เรากินกันมาแต่โบราณแล้ว ข้าวหมาก ไวน์ น้ำส้มสายชูหมัก ก็อยู่ในตระกูลเดียวกับน้ำหมักชีวภาพ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า น้ำหมักกินได้หรือไม่ได้ แต่ปัญหาคือ การอวดอ้างว่า กินน้ำหมักแล้วรักษาโรคได้ อย่างที่ป้าและคนอื่นๆ ที่แห่ทำขายตามๆ กันมาประกาศต่อชาวโลกต่างหากที่สร้างความสับสนให้กับคนทั่วไป เช่นเดียวกันกับสินค้าด้านสุขภาพอีกหลายประเภท ลำพังตัวมันเองอาจไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหามาจากความมักง่ายของผู้ผลิตที่ผสมสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ลงไปในผลิตภัณฑ์ด้วย ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดผลบางอย่างที่สอดคล้องกับคำโฆษณา เช่น การผสมสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ หรือการผสมยาลดน้ำหนักลงในกาแฟ เพื่อให้เห็นผลเร็วในการบรรเทาอาการ สำหรับน้ำหมักชีวภาพปัญหาที่พบในส่วนของการผสมสารเคมีอันตรายลงไปคือ การผสม ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ผลทดสอบ ล่าสุดทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี รายงานพบ เครื่องดื่ม น้ำหมักพืชแท้(หอม หวาน เย็นซ่า เต็มพลัง) ตราผู้ใหญ่สุพรรณ ปนเปื้อน ไดคลอโรมีเทน 4,695 มิลลิกรัม/ลิตร  ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา  กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยามีปริมาณไดคลอโรมีเทนเจือปนได้ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน หรือคิดเป็น 600 มิลลิกรัม/ลิตร นอกจากนี้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา กำหนดให้มีปริมาณไดคลอโรมีเทนปนเปื้อนในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร เครื่องดื่ม "น้ำหมักพืชแท้ หอม หวาน เย็นซ่า" เต็มพลังตราผู้ใหญ่สุพรรณ แพร่หลายทุกจังหวัดในแถบภาคอีสาน อาทิ นครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น และนครพนม มักอวดอ้างสรรพคุณทางยาที่สามารถรักษาโรค ให้หายขาดได้ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำหมักเต็มพลัง ตราผู้ใหญ่สุพรรณ ต้องจัดเป็นยาเพราะมีการแสดงสรรพคุณที่ฉลากว่า บำรุงร่างกาย แต่กลับไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับยาจึงจัดเป็นยาเถื่อน ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อยามาบริโภคโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้วยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------- ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลายการได้รับสารในระดับต่ำ อาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น เคลิ้มฝัน เวียนศีรษะ กระวนกระวาย นอกจากนี้ยังระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการระคายคอ ไอ หายใจไม่อิ่ม การรับสัมผัสโดยการกินจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีแผลและเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ การได้รับสัมผัสในระดับสูง อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้การหายใจล้มเหลวได้อาการทางระบบประสาทหลังสัมผัสที่ระดับสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ มีอาการผิดปกติด้านจิตใจและการเคลื่อนไหวจะกดระบบประสาทส่วนกลางจนหมดสติ เมื่อได้รับปริมาณสูง คือ การทำลายระบบประสาททำให้เสียชีวิต ระยะยาวอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ---------------------------------------------------------------------------------------------- การปนเปื้อนเชื้อโรคอันตราย น้ำหมักชีวภาพอีกหนึ่งปัญหาที่พบเสมอคือ การพบ เชื้อโคลิฟอร์ม และ อี. โคไล ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องร่วงได้ตั้งแต่เล็กน้อย  จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลว อาจจะมีเลือดปน และมีไข้ได้   จุลินทรีย์กับน้ำหมัก จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องอาศัยการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จุลินทรีย์แพร่กระจายโดยทั่วไปในธรรมชาติอย่างกว้างขวางในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต  อาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิดมีจำนวนจุลินทรีย์แตกต่างกันไป ซึ่งอาจมีอยู่โดยธรรมชาติ หรือเติมลงไปเพื่อทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ เช่น นมเปรี้ยว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  น้ำส้มสายชู กรดอินทรีย์ ยาปฏิชีวนะ  เป็นต้น  น้ำหมักชีวภาพเกิดจากการกระทำของแบคทีเรียที่สร้าง กรดแลกติก เป็นส่วนใหญ่ พบว่าแบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจปนเปื้อนมากับส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพ คือ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำ รวมทั้งมาจากกระบวนการและกรรมวิธีในการผลิต หรืออาจเติมลงไปเพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิต ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักหลายชนิด การเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตนี้ เป็นการควบคุมการเจริญของจุลินทรีย์ปนเปื้อนอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียได้  เช่น แบคทีเรียโคไลฟอร์ม (Coliform) และ อี โคไล (E. coli) เป็นดัชนีชี้บ่งถึงสุขลักษณะของน้ำสมุนไพรสกัดชีวภาพ แบคทีเรียสตาฟีโลค็อคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) อาจสร้างสารพิษในน้ำหมัก ทำให้อาหารเป็นพิษ คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจน (Clostridium perfringens) เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) อาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำสมุนไพรสกัดชีวภาพเน่าเสีย นอกจากนี้ยังอาจพบราบางชนิดที่ปนเปื้อน จะสามารถสร้างสารพิษได้  และยีสต์อาจทำให้น้ำหมักเสียรสชาติ มีกลิ่นและลักษณะไม่เป็นที่ต้องการ  ความปลอดภัยและคุณภาพต่อการบริโภคนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบในกระบวนการผลิต และต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่ต้องการในกระบวนการผลิต ในการควบคุมปัญหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ต่างๆ อาจใช้ความร้อน โดยการลวก หรือต้มวัตถุดิบ ส่วนผสมของการผลิตน้ำหมัก  หรืออาจเติมสารเคมีชนิดที่ใช้ในการผลิตอาหารลงในน้ำหมัก รวมทั้งการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย ในการผลิตน้ำหมักพืช เพื่อเป็นการควบคุมและกำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยกรรมวิธีที่เหมาะสมที่จะช่วยในการควบคุมและกำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อน แต่ไม่ทำให้คุณค่าสารสำคัญในน้ำหมักสลายหรือเสียสภาพไป http://www.be-v.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=20 //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 158 รสหวานในน้ำจิ้มไก่

น้ำจิ้ม จัดเป็นของคู่สำรับอาหาร อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีพริกน้ำปลาสักถ้วย น้ำจิ้มช่วยเพิ่มอรรถรสในการกิน เรียกได้ว่าเป็นตัวชูรสอาหารให้โดดเด่นขึ้น ปัจจุบันน้ำจิ้มถ้าไม่ทำเอง ก็มีผู้ผลิต บรรจุขวดไว้ให้เราซื้อหากันได้สะดวก น้ำจิ้มมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากถึงกับเคยมีการจัดอันดับน้ำจิ้มที่คนไทยชื่นชอบ ปรากฏว่า น้ำจิ้มไก่มาเป็นอันดับหนึ่ง  “เหตุเพราะน้ำจิ้มไก่สามารถทานได้กับอาหาราแทบทุกชนิดไม่ใช่แค่ไก่อย่างเดียว แถมทานกับข้าวสวยเปล่าๆยังอร่อยอย่าบอกใคร” (ที่มา toptenthailand) และเพราะว่ากินคู่กับอาหารมาเป็นเวลานาน ทำให้คนส่วนใหญ่ติดในรสชาติที่จัดจ้าน ทั้งเปรี้ยว หวานและเผ็ดนิดๆ อีกทั้งยังกินกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งพอไปรวมกับอาหารอื่นๆ เข้า ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้เช่นกัน เพราะน้ำจิ้มไม่เพียงแต่หวานจากน้ำตาล ยังมีการตัดรสด้วยเกลือ ซึ่งก็คือโซเดียม ที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้มองภาพรวมของน้ำจิ้มไก่ได้ว่า อาจมีปัญหาถ้าติดรสชาติของน้ำจิ้มมากเกินไป และจิ้มกินจนเพลิน เราลองมาดูฉลากของน้ำจิ้มไก่กันดีกว่า ซึ่งน่าสนใจว่า หลายยี่ห้อได้ทำฉลากโภชนาการไว้ด้วย   อย่ามองข้ามน้ำจิ้ม แค่สองช้อนโต๊ะ ก็หวานพุ่ง ค่าเฉลี่ยของโซเดียมในน้ำจิ้มไก่ ในหน่วยบริโภคขนาด 36 กรัมหรือราวๆ 2 ช้อนโต๊ะ คือ 460 มก. ส่วนน้ำตาลประมาณ 14.3 กรัม เรียกว่า แค่จิ้มนิดๆ ก็หวานจัดกันทีเดียว สำคัญอีกอย่างที่ต้องระวังคือ โซเดียม ซึ่งมีปริมาณไม่เบาเลย ดังนั้นแล้ว อย่าเห็นว่าหวานเลยจิ้มเพลินจนลืมโซเดียมที่แฝงอยู่ในน้ำจิ้มอันแสนอร่อย แม้น้ำจิ้มจะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารที่หลายคนขาดไม่ได้ แต่ควรกินแต่เพียงพอดี อย่าเยอะนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากฉลาดซื้อ(มารคอหอยตัวสำคัญ)   ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงและอาหารสำเร็จรูป   •        เกลือ 1 ช.ช                                             =โซเดียม 2,000 มก. •        น้ำปลาหรือซีอิ๊ว 1 ช. ช.                        =โซเดียม  400  มก. •        ซอสมะเขือเทศ  1 ช.ช                           = โซเดียม 55 มก. •        ซอสหอยนางรม 1ช.ช                            = โซเดียม140 – 160มก. •        น้ำจิ้มไก่ 1 ช.ช                                        = โซเดียม 67 - 76 มก. •        บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 60 กรัม                   = โซเดียม 1,500 มก. •        โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป    42 กรัม                    = โซเดียม 1,000 มก. http://www.raktai.org/Home/KnowledgeContent.aspx?id=4         คำแนะนำสิบข้อที่เตือนให้เราทบทวน “นิสัยการกิน” 1. กรุณาชิมทุกครั้งก่อนที่จะเติมเครื่องปรุงลงไป โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยว2. กรุณากวาดเอาขวดน้ำปลา ซอส ซีอิ๊วและเกลือออกจากโต๊ะอาหารให้เกลี้ยงภายในวันนี้3. ลดการกินอาหารหมัก-ดอง, อาหารแปรรูปเช่นผัก, ผลไม้ดอง, ไส้กรอก, หมูยอ, แหนม, เบคอน4. ลด การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (เพราะมีโซเดียมในอาหารประเภทนี้มหาศาล ซึ่งอาจจะมาจากผงชูรส ดังนั้น สัปดาห์หนึ่งอย่ากินเกินสามซอง และเวลากินอย่าไปซดน้ำจนหมดเกลี้ยง เพราะถ้าซดจนหมด ก็จะได้ทั้งความเค็มจากเกลือ, น้ำปลาและผงชูรสไปเต็มๆ ) 5. ลดการกิน อาหารที่มีน้ำจิ้ม (เวลากินสุกียากี้หรือหมูกระทะ น้ำจิ้มมีเหลือล้น บางคนขอเพิ่มสองสามรอบด้วยซ้ำไป นั่นคือความเต็มอย่างยิ่งและมีโซเดียมสูงอย่างยิ่ง)6. ลดการกินอาหารที่ปรุงจากปลาเค็ม ไข่เค็ม เนื้อเค็ม ปลาร้า กะปิ เต้าหู้ยี้ (ไม่ควรกินบ่อย, ขอย้ำว่ากินได้แต่อย่าบ่อย)7. กินผลไม้สดโดยไม่ต้องจิ้มพริก, เกลือหรือน้ำตาล 8. ลดการกินอาหารจานด่วนตะวันตกและขนมกรุบกรอบ เพราะอาหารประเภทนี้ผงชูรสและโซเดียมมากเกินความจำเป็น9. ลดการใช้ผงชูรส (ไม่ถึงกับต้องงด หากกินปริมาณพอเหมาะก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากกินมากก็จะเจอปัญหาโซเดียมสูง)10. อ่านฉลากก่อนซื้อ (ฉลากไหนที่บอกว่ามีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ก็ถือว่าใช้ได้)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 รู้ เลือก น้ำยาล้างห้องน้ำ

  แค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด เป็นคำที่คุ้นๆ กันดีในโฆษณาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อมาก และในแต่ละยี่ห้อยังมีหลายสูตรให้เลือกอีกด้วย เล่นเอา งง เวลาไปเลือกที่ชั้นวาง ฉลาดซื้อเลยหยิบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางมาแกะรอย “สารเคมี” ที่ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เลือกใช้งานกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เอะอะๆ ก็ราดไปเรื่อย เพราะบางผลิตภัณฑ์ราดทิ้งไว้ก็ไม่ออกนะจะบอกให้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถแบ่งกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ได้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กรดและด่าง ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น กรดเกลือ หรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) กรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้มข้นที่นำมาผลิต ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำพบกรดเกลือความเข้มข้นตั้งแต่ 8% - 20% ข้อดี คือ พลังกำจัดคราบรอยเปื้อนสูง โดยเฉพาะคราบฝังแน่น ข้อเสีย คือ กลิ่นฉุนแสบจมูกจากไอของกรด ใช้บ่อยครั้งจะกัดยาแนวกระเบื้อง ทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำผุกร่อน ขรุขระ (ยิ่งทำให้สะสมคราบสกปรกเพิ่มขึ้น) ไอของน้ำยายังทำให้อุปกรณ์บางชิ้นในห้องน้ำเป็นสนิมด้วย   กรดอีกตัวที่ใช้คือ กรดซิตริก(citric acid) มีฤทธิ์กัดกร่อนพอตัว แต่ไม่รุนแรงเท่ากรดเกลือ และกลิ่นไม่ฉุนมาก ส่วนสารออกฤทธิ์ที่เป็นด่าง มียี่ห้อไม่หลากหลายเท่ากรดเกลือ ตัวที่นิยมใช้เป็นกลุ่มเดียวกับพวกสารฟอกขาว (Chlorine Bleach) ที่เรารู้จักดีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) และกลุ่มคลอรีน บีช ที่กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำตัวล่าสุดคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) คุ้นๆ ใช่ไหม ตัวเดียวกับที่เคยใช้เป็นยาล้างแผลนั่นเอง แต่ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีความเข้มข้นสูงกว่า คือ 5% ข้อดีและเป็นจุดขายสำคัญของกลุ่มคลอรีน บีช คือ การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและตัวที่สร้างปัญหาในห้องน้ำมากสุดคือ เชื้อรา ข้อเสีย มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงไม่แพ้กรดเกลือ(ระดับฟอกผ้าขาวได้) และมีข้อต้องระวังในการใช้หลายอย่าง เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ห้ามเจอกรด(หรือใช้ร่วมกับน้ำยาที่เป็นกรด)และสารประกอบแอมโมเนียเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษ(ก๊าซคลอรีน) ก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดมไอพิษ ทั้งกรดและด่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่จะไม่มาเพียวๆ แต่จะผสมพวกสารลดแรงตึงผิว (Surfactant)   เพื่อช่วยในการแทรกซึมของน้ำยาเข้าสู่พื้นผิวได้อย่างทั่วถึง สารลดแรงตึงผิวที่นิยมได้แก่ Diethylene glycol butyl ether  , Linear Alkylbenzene Sulfonate,  Linear Alkylbenzene Sulfonate , Sodium Salt  ,  Ethoxylate Alcohol  ( 7 EO ) แต่ถ้าไม่ชอบพวกกรดและด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง แพ้หรือกลิ่นแสบจมูก ให้เลี่ยงมาใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ใช้แต่เฉพาะ  ตัวทำละลายอินทรีย์(Organic Solvent)และสารลดแรงตึงผิวแทน ต่อไปความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำของผู้บริโภคจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะใช้สารเคมีตั้งต้นที่คล้ายๆ กัน ในกระบวนการผลิต แตกต่างกันในส่วนของสารเติมแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเคมีบางอย่างก็มีอันตรายต่อร่างกายทั้งในลักษณะของการแพ้อย่างเฉียบ พลันหรืออาจสะสมความเป็นพิษในร่างกายได้ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงต้องพิจารณาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนชนิดและปริมาณที่ใช้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานและมีความปลอดภัย   ฉลาดซื้อแนะ 1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำให้ตรงกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวและลักษณะของพื้นผิว(วัสดุที่ใช้เป็นพื้นห้องน้ำหรือตัวสุขภัณฑ์ เช่น กระเบื้อง เซรามิก หินอ่อน หินขัด) 2. คราบสกปรกที่ล้างออกได้ง่าย เช่น คราบสบู่ คราบสกปรกทั่วไป ไม่ควรใช้ส่วนผสมของกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ใช้แค่สูตรที่เป็นสารลดแรงตึงผิวก็เพียงพอในการกำจัดคราบ 3.พวกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรใช้เฉพาะกับคราบฝังแน่นเท่านั้น 4.กรดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำมีให้เลือกหลายชนิดตามความเข้มข้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีความเข้มข้นต่ำก็จะปลอดภัยกว่าชนิดเข้มข้นสูง 5.สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำยาซักผ้าขาว(ไฮเตอร์ ไฮยีน) ล้างห้องน้ำแทนสูตรโซเดียมไฮโปคอลไรท์ได้ โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อรา เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก 6..อ่านวิธีการใช้และคำเตือนให้ละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานผิดพลาดหรือเผอเรอ   ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ                   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 152 เปิดขวด “น้ำจิ้มสุกี้”

สุกี้ ถือเป็นเมนูที่หลายๆ คนยกให้เป็นอาหารจานสุขภาพ เพราะความที่เป็นเมนูที่เน้นผักมากกว่าเนื้อสัตว์ สาวๆ หลายคนเลือกรับประทานสุกี้เพราะเชื่อว่ากินแล้วจะไม่อ้วน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรับประทานสุกี้ให้เป็นเมนูสุขภาพ ไม่ใช่เพราะแค่ดันเข้าใจผิดไปจัดเต็มกับสุกี้บุฟเฟ่ต์ แต่ยังเป็นเพราะสุกี้จานโปรดของคุณเล่นเติมน้ำจิ้มแบบไม่บันยะบันยัง รู้มั้ยในน้ำจิ้มสุกี้รสเด็ด มีทั้งน้ำตาล เกลือ บางยี่ห้อก็มีผงชูรส ฉลาดซื้อเป็นห่วงสุขภาพของคนชอบทานสุกี้ เราจึงลองสำรวจดูว่า น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปนั้น เสี่ยงต่อความหวานของน้ำตาล และความเค็มของโซเดียมมากน้อยแค่ไหน   ตารางสำรวจปริมาณโซเดียมและน้ำตาลในน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวด ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ***ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ส่วนปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม   วิธีการสำรวจ ฉลาดซื้อได้ทำการสุ่มสำรวจตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดจำนวน 12 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจปริมาณของโซเดียมและน้ำตาล โดยการดูข้อมูลในฉลากโภชนาการที่แสดงไว้บนขวดน้ำจิ้มสุกี้แต่ละยี่ห้อ ซึ่งมีการแจ้งปริมาณของโซเดียมและน้ำตาลต่อหน่วยบริโภคเป็นช้อนโต๊ะ เช่น น้ำจิ้มสุกี้ตราสุรีย์ สูตรกวางตุ้ง ข้อมูลในฉลากโภชนาการแจ้งว่า ปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (25กรัม) มีปริมาณโซเดียม 460 มิลลิกรัม ปริมาณน้ำตาล 6 กรัม เป็นต้น โดยจากตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อพันท้าย (สูตรดั้งเดิม) และ น้ำจิ้มสุกี้เด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) แต่ฉลาดซื้ออยากรู้ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลของทั้ง 2 ตัวอย่าง เราจึงส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ที่สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อนำผลมาฝากแฟนฉลาดซื้อ   ผลการสำรวจ โซเดียม ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่พบปริมาณโซเดียมสูงที่สุด คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อควิกเชฟ (สูตรกวางตุ้ง) ที่บอกไว้ในฉลากโภชนาการว่ามีปริมาณโซเดียม 740 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (2,400 มิลลิกรัม) ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้ออื่นๆ ที่พบปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ได้แก่ ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) พบปริมาณโซเดียมจากการส่งวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ที่ปริมาณ 2,152 มิลลิกรับต่อ 100 กรัม หรือที่ประมาณ 646 มิลลิกรัม ต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ ยี่ห้อ แม่ประนอม (สูตรกวางตุ้ง) และ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ที่แสดงปริมาณโซเดียมไว้ที่ 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) ส่วนตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่เหลือพบปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่ประมาณ 500 – 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นการแสดงปริมาณโซเดียมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น แต่เชื่อว่าหลายคนเวลาทานสุกี้หรือทานพวกอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีน้ำจิ้มสุกี้เป็นน้ำจิ้ม คงไม่เติมกันแค่ 2 ช้อนโต๊ะ หลายคนเติมแล้วเติมอีก บางคนก็กินน้ำจิ้มกันทีเป็นถ้วยๆ ฉลาดซื้อขอเตือนว่าใครที่มีพฤติกรรมกินน้ำจิ้มสุกี้แบบนั้น มีสิทธิได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่เหมาะสมกับสุขภาพ (2,400 มิลลิกรัมต่อวัน)   น้ำตาล ปริมาณน้ำตาลในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่พบในการสำรวจ เฉลี่ยอยู่ที่ 7 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ที่พบมีปริมาณสูงสุดคือ ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อเจ๊เล็ก (สูตรกวางตุ้ง เผ็ดกลาง) ซึ่งแสดงปริมาณน้ำตาลในฉลากโภชนาการไว้ที่ 4 กรัมต่อหนึ่งช้อนโต๊ะ (17 กรัม) หรือถ้าเทียบเป็น 2 ช้อนโต๊ะ (34 กรัม) แบบตัวอย่างอื่นๆ จะเท่ากับ 8 กรัม ซึ่งมากที่สุดในตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (24 กรัม) สำหรับตัวอย่างที่พบปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่ฉลาดซื้อสุ่มสำรวจครั้งนี้คือ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (33 กรัม) เช่นเดียวกับโซเดียม การทานน้ำจิ้มสุกี้ในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเรา ข่าวดี!!!ไม่พบอะฟลาท็อกซินในน้ำจิ้มสุกี้ นอกจากปริมาณของโซเดียมและน้ำตาลแล้ว ฉลาดซื้อยังได้ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อรา “อะฟลาท็อกซิน” ในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดทั้ง 12 ตัวอย่าง เนื่องจากส่วนประกอบในน้ำจิ้มสุกี้มีทั้ง พริก และ งา ซึ่งมีโอกาสเป็นแหล่งกำเนิดของสารอะฟลาท็อกซิน จากการวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ฉลาดซื้อได้ผลวิเคราะห์ที่ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ทั้ง 12 ยี่ห้อ ไม่พบการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซิน ผู้บริโภคสบายใจได้ ฉลาดซื้อแนะนำ ถ้าไม่อยากเสี่ยงโซเดียมและน้ำตาลในน้ำจิ้มสุกี้ -  ชิมก่อนปรุง ด้วยความที่คนไทยเราชอบทานอาหารรสจัด ก็เลยอดไม่ได้ที่จะต้องเติมเครื่องปรุงเพิ่ม เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากได้รับโซเดียมและน้ำตาลมากเกินไป ก็ควรชิมก่อนตัดสินใจเติมเครื่องปรุงหรือน้ำจิ้มต่างๆ เพิ่ม - อ่านฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการถือเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้รู้ได้ว่าอาหารที่เรากำลังทานอยู่นั้นมีปริมาณสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โซเดียม น้ำตาล หรือสารอาหารอื่นๆ เป็นปริมาณเท่าไหร่ น้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่เราสำรวจส่วนใหญ่ก็มีการแสดงฉลากโภชนาการ   ***มีข้อสังเกตเรื่องฉลากโภชนาการ แม้ว่าตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่ฉลาดซื้อสำรวจส่วนใหญ่ (10 จาก 12 ตัวอย่าง) จะแสดงฉลากโภชนาการซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค แต่การกำหนดหน่วยบริโภคเพื่อแสดงปริมาณของน้ำจิ้มสุกี้นั้น ยังมีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการนำไปเป็นข้อมูลการเปรียบเทียบของผู้บริโภค เช่นบางยี่ห้อ กำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค = 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 กรัม ขณะที่อีกยี่ห้อกลับกำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค 2 ช้อนโต๊ะ = 33 กรัม บางยี่ห้อก็กำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค 2 ช้อนโต๊ะ = 25 กรัม พูดง่ายๆ คือไม่มีมาตรฐานกลางที่แน่นอน ผู้บริโภคจึงต้องลำบากคำนวณเปรียบเทียบกันเอง เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดเรื่องหน่วยบริโภคให้เป็นหน่วยเดียวกัน   ปริมาณโซเดียมในซอสปรุงรสชนิดต่างๆ ที่มา: “กินดีสมดุล...การเสริมสร้างวิถีชีวิตสุขภาพ” รองศาสตราจารย์ ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการสัมมนาเครือข่ายวิชาการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ จัดโดยสำนักควบคุมโรค 23 กุภาพันธ์ 2554

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 ผลทดสอบปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร

ดาวน์โหลดตารางรายละเอียดการทดสอบ >>>  กดโหลด ** หมายเหตุ: ตัวอย่างสีที่ทดสอบนั้นอาจจะยังไม่ครอบคลุมยี่ห้อหลักๆ ที่มีในตลาดบ้านเราทั้งหมด แต่ไม่ต้องห่วงเรากำลังส่งตัวอย่างเพิ่ม ได้ผลเมื่อไร ฉลาดซื้อจะนำมาลงให้สมาชิกได้ทราบทันที ดังนั้นเพื่อทำตามคำมั่นสัญญา และเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “สัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่ว” ที่จะจัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งที่ประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคมนี้ โดยการนำขององค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ เพื่อรณรงค์ให้สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กๆ ปลอดภัยจากสารตะกั่ว มูลนิธิบูรณะนิเวศและฉลาดซื้อจึงขอเสนอผลการวิเคราะห์สีทาอาคาร 120 ตัวอย่าง รวม 68 ยี่ห้อ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ที่มีสิทธิจะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน มีสิทธิในการเลือกและมีสิทธิในการได้รับสินค้าที่ปลอดภัย   ทำไมต้องตรวจตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร ตะกั่วเป็นโลหะหนักอันตรายอย่างหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์สี เนื่องจากผู้ผลิตนิยมเติมสารตะกั่วบางประเภทเข้าไปเป็นส่วนประกอบของเม็ดสี เพื่อทำให้สีสดใส เช่น สีเหลืองเติมตะกั่วโครเมต สีแดงเติมตะกั่วออกไซด์ สีขาวเติมตะกั่วคาร์บอเนต เป็นต้น นอกจากนี้ตะกั่วยังเป็นสารเร่งแห้งที่ทำให้สีแห้งไวเท่ากันทั่วพื้นผิว และทำให้สีมีความคงทนยิ่งขึ้น การผลิตสีน้ำ ที่เรียกว่าสีพลาสติกหรือสีอคริลิกในหลายๆ ประเทศ ส่วนใหญ่เลิกใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมแล้ว ขณะที่สีน้ำมันที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากยังมีการใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมสำคัญ การวิเคราะห์ตัวอย่างสีครั้งนี้จึงเน้นเฉพาะสีตกแต่งหรือสีทาอาคารที่เป็นสีน้ำมัน ประเทศไทยมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่จำหน่ายภายในประเทศ โดยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นมาบังคับใช้ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มสีทาอาคาร สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดมาตรฐานปริมาณตะกั่วไว้ในสีบางประเภทแบบสมัครใจ คือไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย โดยมาตรฐานปริมาณตะกั่วในแต่ละผลิตภัณฑ์มีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน สำหรับสีน้ำมันทาอาคารประเภทที่ใช้แอลคีด (alkyd) เป็นสารยึดเกาะ   ไม่ว่าจะเป็นสีเคลือบเงาแอลคีด (มอก.327-2553) หรือสีเคลือบด้านแอลคีด (มอก.1406-2553) ต้องมีสารตะกั่วไม่เกิน 100 ppm การศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารครั้งนี้ ดำเนินการโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ในฐานะที่เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาชน 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย และไทย โดยการสนับสนุนจากโครงการ EU SWITCH-Asia และเครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (International POPs Elimination Network - IPEN) เพื่อสร้างความตื่นตัวถึงอันตรายจากสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สี และส่งเสริมให้ผู้บริโภค ภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมมือกันปกป้องเด็กๆ จากทุกมุมโลกให้ปลอดภัยจากพิษตะกั่ว   สำรวจยี่ห้อทั่วไปก่อนเก็บตัวอย่าง ขั้นตอนแรกสุดของการศึกษามูลนิธิบูรณะนิเวศได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายผู้บริโภคและทีมวิจัยฉลาดซื้อสำรวจผลิตภัณฑ์สียี่ห้อต่างๆ ในตลาดสีน้ำมันทาอาคารที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยสำรวจตามร้านค้า 3 ประเภทในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาทั่วประเทศ  ร้านค้าขนาดกลางที่เป็นร้านค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้รับเหมาก่อสร้าง และร้านค้าขนาดเล็กที่ขายปลีกผลิตภัณฑ์สีในย่านชุมชน เมื่อกำหนดยี่ห้อที่จะตรวจสอบได้แล้ว ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 ทีมวิจัยของมูลนิธิบูรณะนิเวศจึงตระเวนซื้อตัวอย่างสียี่ห้อต่างๆ จากร้านค้าทั้ง 3 ประเภท ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา รวมถึงผลิตภัณฑ์อีกบางยี่ห้อที่สำรวจพบเพิ่มเติมภายหลัง รวมแล้วมีผลิตภัณฑ์สีที่นำมาตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 120 ตัวอย่าง จาก 68 ยี่ห้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโทนสีสด ได้แก่ สีเหลือง แดง น้ำเงิน ฯลฯ มี 68 ตัวอย่าง จาก 64 ยี่ห้อ และกลุ่มโทนสีขาวจำนวน 52 ตัวอย่าง จาก 51 ยี่ห้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อเดียวกันในทั้งสองกลุ่ม การวิเคราะห์ตัวอย่างสีครั้งนี้ทำโดยห้องปฏิบัติการ Certottica ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองโดยโครงการทดสอบความสามารถการวิเคราะห์ตะกั่วในสิ่งแวดล้อม (ELPAT) โดยใช้เครื่อง Inductively Coupled Plasma-Atomic Emission Spectrophotometer (ICP-AES) และใช้วิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากลสำหรับการทดสอบปริมาณสารตะกั่วในสี   ก่อนตีพิมพ์ผลการทดสอบเรื่องปริมาณสารตะกั่วในครั้งนี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้จัดส่งผลการทดสอบให้กับบริษัทผู้ผลิตต่างๆ เพื่อผลในการปรับปรุงและดูแลผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค  และเมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศและนิตยสารฉลาดซื้อ ยังได้ประชุมร่วมกันกับตัวแทนบริษัทผู้ผลิตสีหลายบริษัท ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตสีไทย โดยมีตัวแทนจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร.พ. รามาธิบดี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้แทนจาก สมอ. เข้าร่วมด้วย ในการประชุมดังกล่าว ทางตัวแทนบริษัทและทางสมาคม มีข้อเสนอและร้องขอให้ทางผู้วิจัยและฉลาดซื้อ อย่านำเสนอผลการวิจัยต่อสาธารณะในลักษณะที่เปิดเผยชื่อยี่ห้อและชื่อบริษัท ฯลฯ ด้วยเกรงจะกระทบต่อผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันถึงการใช้สิทธิของผู้บริโภค ที่ควรจะต้องมีทางเลือกในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ทางผู้วิจัยและนิตยสารฉลาดซื้อจึงได้ขอสงวนสิทธิการตัดสินใจในการลงเผยแพร่ เพราะเห็นว่าการเปิดเผยผลทดสอบจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าการปกปิดข้อมูล และโดยที่ผลการตรวจสอบพบว่ามีทั้งสินค้าที่มีปริมาณตะกั่วสูง และสินค้าที่มีปริมาณตะกั่วเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นคู่มือในการตัดสินใจได้ “ในเมื่อท่านตัดสินใจประกาศผลทดสอบ ท่านก็อาจต้องระวังว่าทางผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการฟ้องร้องท่านแน่นอน”  อันนี้ถือเป็นคำเตือน คำขู่ หรือไม่ อย่างไร ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า ตกลงเรื่องนี้ใครกันเป็นคนทำผิด      ผลทดสอบ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีการใช้สารตะกั่วสูงกว่ากลุ่มโทนสีขาว โดยพบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานแบบสมัครใจของไทย (100 ppm) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm เมื่อมองในภาพรวมตามเกณฑ์มาตรฐานของสารตะกั่วแบบสมัครใจในไทย พบว่า ร้อยละ 79 ของตัวอย่างทั้งหมดมีตะกั่วเกิน 100 ppm ปริมาณสารตะกั่วในสีที่พบต่ำสุดจากตัวอย่างสีโทนสีสดใสคือ 26 ppm และปริมาณสูงสุดที่พบคือ  95,000 ppm ส่วนปริมาณตะกั่วต่ำสุดในตัวอย่างโทนสีขาวคือ น้อยกว่า 9 ppm และปริมาณสูงสุดคือ 9,500 ppm รายละเอียดดังแสดงในตาราง   ผลวิเคระห์ปริมาณตะกั่วในตัวอย่างสีน้ำมันทาอาคาร ประเภทตัวอย่างสี จำนวนตัวอย่าง ค่ามาตรฐานแบบ สมัครใจตาม มอก. (ตะกั่วไม่เกิน 100 ppm)   ค่าตะกั่วต่ำสุด (ppm) ค่าตะกั่วสูงสุด (ppm) สีน้ำมันทาอาคาร 120 ร้อยละ 79 (95 ตัวอย่าง) น้อยกว่า 9 95,000 โทนสีสดใส (ส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง) 68 ร้อยละ 93 (63 ตัวอย่าง)   26   95,000 โทนสีขาว 52 ร้อยละ 62 (32 ตัวอย่าง) น้อยกว่า 9 9,500     ข้อมูลบนฉลากแสดงปริมาณตะกั่วไม่ตรงตามจริง จากการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า สีบางยี่ห้อมีการให้ข้อมูลสารตะกั่วบนฉลากเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้เลือกซื้อ โดยผลสำรวจพบว่ามีสีน้ำมัน 29 ตัวอย่างจาก 120 ตัวอย่าง ที่ติดฉลากให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในแบบต่างๆ  เช่น  “ไม่ผสมสารปรอท ไม่ผสมสารตะกั่ว” (No Added Mercury No Added Lead),  “ปราศจากสารปรอทและตะกั่ว”  (Mercury and Lead Free),  “ไม่ผสมสารตะกั่วและปรอท” (No Added Lead and mercury) และ “ปราศจากสารตะกั่ว 100% ปราศจากสารปรอท 100%”  (100% Lead Free 100% Mercury Free)  เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบในตัวอย่างสีที่มีข้อความบนฉลากดังกล่าว พบว่า มีสีน้ำมัน 17 ตัวอย่างจาก 29 ตัวอย่าง ที่มีสารตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลบนฉลากและปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบไม่ตรงกัน  เรื่องนี้ผู้บริโภคจึงควรระวัง เนื่องจากไม่สามารถวางใจข้อมูลบนฉลากได้ทั้งหมด   ตัวอย่างข้อมูลฉลากและปริมาณตะกั่วในสี     ปริมาณสารตะกั่ว 56,000 ppm สียี่ห้อ เด็นโซ่ ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม ปริมาณสารตะกั่ว  53,000 ppm สียี่ห้อ เบ็นโทน ผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์   ปริมาณสารตะกั่ว 49,000 ppm สียี่ห้อ ซีสโต้ ผลิตโดย ซีซั่นเพ้นท์     ปริมาณสารตะกั่ว 48,000 ppm สียี่ห้อ เบเยอร์ชิลด์ ผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์ ปริมาณสารตะกั่ว 43,000 ppm สียี่ห้อ เบเยอร์ดีไลท์ไททาเนียมผลิตโดย บี เอ็น บราเธอร์     ปริมาณสารตะกั่ว 34,000 ppm สียี่ห้อ คินโซ่ ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม ปริมาณสารตะกั่ว 28,000 ppm สียี่ห้อ โทรา ผลิตโดย ไทยโตอา อุตสาหกรรม     ปริมาณสารตะกั่ว 18,000 ppmสียี่ห้อ ร็อกเก็ต ผลิตโดย ทีเพ้นท์ ปริมาณสารตะกั่ว 2,600 ppm สียี่ห้อ ซันเก ผลิตโดย โกลเด้นท์แอร์โร โค๊ทติ้ง     ปริมาณสารตะกั่ว 640 ppm สียี่ห้อ ซุปเปอร์มาเท็กซ์ ผลิตโดย ทีโอเอเพ้นท์ ปริมาณสารตะกั่ว 230 ppm สียี่ห้อ ทีโอเอ กลิปตั้น ผลิตโดย ทีโอเอเพ้นท์   ปริมาณสารตะกั่ว 390 ppm สียี่ห้อ กัปตัน ผลิตโดย กัปตันโคตติ้ง (กิจการร่วมกับ ทีโอเอ เพ้นท์)   และด้วยเหตุที่ฉลากบนกระป๋องสีมีรูปแบบและข้อความที่หลากหลาย ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขให้ฉลากมีมาตรฐานเดียวกัน น่าจะช่วยให้ข้อมูลบนฉลากมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงควรเพิ่มข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น อันตรายของสารตะกั่ว และข้อควรระวังในการขูดลอกสีเก่า เป็นต้น   คำแนะนำสำหรับการเลือกสีทาบ้าน 1. เลือกสีทาอาคารชนิดที่ปลอดสารตะกั่ว ทุกชีวิตในบ้านจะได้ปลอดภัย โดยเฉพาะสีน้ำมัน เฉดสีสด เหลือง ส้ม แดง ควรหลีกเลี่ยง สีน้ำมันทาอาคารเหมาะกับไม้และโลหะ ไม่ควรนำไปทาบนผิวปูนซีเมนต์ โดยในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานบังคับ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง เพื่อเป็นการลดเรื่องความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารตะกั่ว ซึ่งพบว่าเป็นปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน 2. สีทาบ้านมีหลายเกรด ราคาก็ต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้งานที่มีคุณภาพดีในราคาประหยัด อย่าผูกใจเชื่อไปเองว่า สีที่ราคาแพงจะมีคุณภาพดีและปลอดภัยกว่า 3. การเลือกใช้สีว่าจะใช้ของยี่ห้อใดนั้น ให้เปรียบเทียบที่รุ่นสินค้าของแต่ละยี่ห้อ แทนการมั่นใจในตัวยี่ห้อสินค้า เพราะเมื่อนำมาเปรียบเทียบรุ่นต่อรุ่นแล้ว จะพบว่าคุณสมบัติไม่ต่างกันมากนัก 4. อ่านฉลากให้ละเอียด แต่อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด ลองศึกษารายละเอียดผลทดสอบทั้งหมดตามที่เสนอไว้ใน “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้ หากพบข้อมูลที่ข้ดแย้งกัน ให้ละเว้นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากหลอกลวงไปเลย 5. เลือกใช้สีให้เหมาะสมกับงาน โดยหาความรู้เพิ่มเติมหรือปรึกษาช่าง เช่น  ปูนทาสีน้ำ เหล็ก/ไม้ทาสีน้ำมัน เป็นต้น จากนั้นก็ประเมินตัวเองว่า อยากได้สีแบบไหน สีกันร้อน สีเช็ดได้ สีปกปิดรอยแตกลายงา สียืดหยุ่นได้ สีกันคราบน้ำมัน ฯลฯ และต้องการสีที่มีอายุงานกี่ปี 2 ปี 4 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เมื่อประเมินได้แล้วจึงค่อยหาแคตตาล็อกของบริษัทผู้ผลิตสีมาเปรียบเทียบรุ่นต่อรุ่น เพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการในราคาที่ถูกใจ 6. ก่อนลงมือทาสีจริง ควรทดลองทาสีด้วยการเอาสีขนาดบรรจุเล็กๆ มาทาก่อน ถ้าชอบใจค่อยไปซื้อมาเป็นถังใหญ่เพื่อทาจริง เพราะสีจริงจะเพี้ยนไปจากแคตตาล็อกนิดหน่อย อาจจะเพราะรองพื้นหรือสภาพพื้นผิวที่เราจะทา 7. กรณีจ้างช่างทาสี ควรระบุความต้องการของท่านให้ชัด โดยเลือกใช้สีที่ไม่มีสารตะกั่ว เรื่องราคาไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะจากการทดสอบที่ได้นำเสนอไป พบว่า ท่านสามารถเลือกใช้สีที่ปลอดภัยจากสารตะกั่วได้ ในราคาเหมาะสม ไม่แพงเกินไป   คำแนะนำในการทาสีบ้าน การขูดลอกสีเก่าเพื่อทาสีใหม่ ควรระมัดระวังมิให้ฝุ่นสีฟุ้งกระจายและควรหลีกเลี่ยงการสูดดมหรือสัมผัสฝุ่นสี ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการถูพื้นหรือเช็ดเปียก นอกเหนือจากการกวาด เนื่องจากฝุ่นตะกั่วไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อันนี้เท่ากับจะนำเสนอยี่ห้อที่มีตะกั่วอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งก็ควรเขียนหัวข้อให้ชัด ที่สำคัญกว่าคือคงต้องเขียนหมายเหตุให้ชัดว่า อันนี้เป็นผลจากการตรวจ 120 ตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าจำนวนดังกล่าวจะครอบคลุมยี่ห้อต่างๆ ถึง 68 ยี่ห้อ แต่ก็อาจมีบางยี่ห้อที่ไม่อยู่ในการทดสอบนี้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 144 น้ำตาลสังเคราะห์

  เมื่อน้ำตาลได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ร้ายที่ถูกส่งมาทำลายหุ่นอันผอมเพรียวและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เลยต้องมีการคิดค้นและพัฒนาสารอะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เราคุ้นเคย สำหรับคนที่ อดหวาน ไม่ได้   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาคุณมารู้จักกับ “ความหวาน” แบบพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล(Sweetener) ซึ่งเทรนด์ตลาดวัตถุให้ความหวานในเมืองไทย เมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 300-400 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูจากปัจจุบันที่มีสินค้ากลุ่มนี้วางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อและวางบนชั้นวางของห้างค้าปลีกทั่วไป     วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล จากการสำรวจตลาดพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.น้ำตาลฟรุคโตส(fructose) 2.กลุ่มที่ใช้แอสปาร์แทม 3.กลุ่มที่ใช้ซูคราโลส 4.กลุ่มที่ใช้สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) 5.กลุ่มที่ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม 6.กลุ่มที่ใช้ซูโครสเป็นหลักร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ   1.น้ำตาลฟรุคโตส(Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผลไม้และน้ำผึ้งตามธรรมชาติ ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำตาลฟรุคโตสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึงเท่าตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อต้องการความหวานที่เท่ากัน    2.แอสปาร์แทม(Aspartame) แอสปาร์แทม เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ให้ความหวานประมาณ 200 เท่าของน้ำตาลทราย แอสปาร์แทมให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ใช้เพียงนิดก็หวานมากแล้ว ดังนั้นแอสปาร์แทมจึงให้แคลอรี่ที่น้อยกว่ามากเมื่อผสมลงในอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ ข้อเสียที่สำคัญของแอสปาร์แทมในเรื่องรสชาติคือ แอสปาร์แทมไวต่อความร้อน ดังนั้นเครื่องดื่มที่ผสมแอสปาร์แทมอาจมีรสชาติที่เปลี่ยนไปเมื่อสัมผัสกับความร้อน จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง คำเตือนอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย   เพราะว่าใช้แอสปาร์แทมเพียงจำนวนน้อยก็หวานมากแล้ว ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเติมสารเพิ่มปริมาณ คือ แลคโตส ที่มีความหวานเพียง 0.2 เท่าของน้ำตาลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้เป็นตัวหลักแค่ต้องการเพิ่มปริมาณบรรจุเท่านั้น แลคโตสนี้อาจมีปัญหาทำให้ท้องอืดได้สำหรับคนที่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส   3.ซูคราโลส(Sucralose) ซูคราโลสนี้หวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า ข้อดีของซูคราโลสคือ รสชาติ ที่ใกล้เคียงน้ำตาล ไม่มีรสขม และทนต่อความร้อน จึงมีการนำไปใช้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่นเดียวกับแอสปาร์แทม เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า การนำมาใช้จึงอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มจึงผสมกับน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลทิทอลและเออริทริทอล ซึ่งสองตัวนี้มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายและให้พลังงานไม่มาก แต่ถ้ารับประทานมากไปอาจกระทบกับระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียได้   4.สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) หญ้าหวาน หรือ ต้นสตีเวีย(Stevia rebaudiana Bertoni) เป็นพืชพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยสารที่สกัดออกมาคือ สเตวิโอไซด์ หวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง สเตวิโอไซด์ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาให้ใช้เป็นสารให้ความหวานแต่อนุญาตให้ใช้ผงแห้งและสารสกัดจากใบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   5.ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ข้อดีคือให้รสหวานที่รับรู้รสได้เร็วแต่บางครั้งก็จะมีรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง ไม่ให้พลังงานและทนความร้อนได้ดี ผู้ผลิตนิยมใช้อะเซซัลเฟม-เคร่วมกับแอสปาร์แทม เพื่อลดจุดด้อยของกันและกัน และเลี่ยงการเกิดรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง     6.ใช้น้ำตาลทราย(Sucrose) ร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ กลุ่มนี้เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแคลอรีมากกว่าใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักยังคงเป็นน้ำตาลทรายมากกว่า 90% แต่เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้ลงมา ดังนั้นรสชาติจะเหมือนน้ำตาลปกติและแต่ค่าพลังงานจะต่ำลงมาเพราะปริมาณการใช้ที่น้อยลง     ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- น้ำตาลเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ชื่อของน้ำตาลมักจะใช้คำลงท้ายว่า “โอส” (“ose”) อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่เราทราบกันดีว่าได้แก่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า “คาร์บอน”รวมกับ”ไฮเดรท” แปลว่าเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างที่มีน้ำจับอยู่กับทุกๆ อะตอมของคาร์บอน   ---------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุคโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล เออริทริทอลและไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส หญ้าหวาน แอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ข้อมูล 1.เป็นเบาหวาน เลือกอะไรใส่กาแฟแทนน้ำตาล. รศ.วิมล ศรีสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=100 2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15566&id_L3=565

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ไก่ทอดกับปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ

ไก่ทอด เป็นหนึ่งในรายการอาหารสุดคลาสสิกที่แข่งกับหมูปิ้งแบบหายใจรดต้นคอมาอย่างยาวนานในวิถีชีวิตสังคมเมืองที่เร่งรีบ อันตรายจากการกินไก่ทอดที่ทุกคนน่าจะรู้กันดีคือ ไขมัน เพราะมันเป็นของทอด! กินมากไปไขมันพอกพูนแน่นอน   แต่คราวนี้เราขอชักชวนไปอีกเรื่องหนึ่ง อาจเรียกว่าเป็นอันตรายแบบเงียบๆ ก็ได้ นั่นคือ “น้ำมันทอดซ้ำ” ฉลาดซื้อขอนำท่านผู้อ่านมาดูผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอดแบบวัดกันไปเลยว่ามีผู้ประกอบการรายใดบ้างที่ละเลยปัญหาเรื่องนี้   ชาวฉลาดซื้อเดินดุ่ยๆ ไปสุ่มซื้อไก่ทอดทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและแฟรนไชส์ ที่เรียกว่า มีชื่อเสียงพอตัว ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 – 23 มกราคม 2556 จำนวน 11 ตัวอย่าง แล้วนำส่งทดสอบ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี การทดสอบทำโดยนำตัวอย่างไก่ทอดมาบีบเอาน้ำมันออกแล้วใช้ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำตรวจหาค่า “โพลาร์” เพื่อวัดการเสื่อมสภาพจากการใช้งานของน้ำมันที่ใช้ทอด   ผลทดสอบ ข่าวดีคือ “ฉลาดซื้อ” พบว่าเกือบทุกตัวอย่างมีค่าโพลาร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเพียงตัวอย่างเดียวที่พบการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินค่ามาตรฐานได้แก่ ไก่ทอด แมคโดนัล (McDonald) สาขาห้าง เซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ข้างสำนักงานของ “ฉลาดซื้อ” นี่เอง) โดยพบโพลาร์เกินกว่าร้อยละ 25 อันเป็นตัวบ่งชี้ว่าน้ำมันเสื่อมสภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 และวินิจฉัยได้ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท   ข้อสังเกต มี 3 ตัวอย่างที่พบสารโพลาร์เกือบเกินค่ามาตรฐาน(น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ) ได้แก่ ไก่ทอดหาดใหญ่จากตลาดปทุมธานี ไก่ทอดเจ๊กีจากซอยโปโล ถนนพระราม 4 และไก่ทอดจีระพ้นธ์ จากตลาดหลังการบินไทย วิภาวดี   อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ น้ำมันที่ใช้ซ้ำจนเสื่อมคุณภาพเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้รับประทานทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ โรคหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตและภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ไอของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีกลุ่มสารก่อมะเร็งทำให้ผู้ทอดอาหารเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดจากการสูดดม อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพเกิดจากโครงสร้างของน้ำมันถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารโพลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น ฉลาดซื้อแนะนำ จากตารางข้อมูลจะเห็นว่าของแพงและเป็นแฟรนส์ไชส์ใช่ว่าจะมีมาตรฐานที่ดีและปลอดภัยเสมอไป ดังนั้น “อย่าติดแบรนด์” ช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะอยู่ครับ ควรหลีกเลี่ยงไม่ซื้ออาหารทอดจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวสีดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ (ถ้าได้เห็นน้ำมันนะครับ) ทอดไก่รับประทานเองครับ รู้แน่นอนว่าปลอดภัยหรือไม่ (เพราะเราทำเอง ฮา…) หาคนช่วยรับประทาน(อร่อยกว่ากินคนเดียว) และกินแต่พออิ่ม อย่ากินไก่ทอดอย่างเดียวให้มีผักเคียงด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับไขมันและน้ำมันทอดซ้ำในของทอดได้ เพราะใยอาหารและสารอาหารในผักช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกายและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งด้วยครับ   ตารางแสดงผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอด ชื่อตัวอย่าง สถานที่เก็บตัวอย่าง ราคา ผลทดสอบ สรุปผล ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดปทุมธานี 40 บาท/ชิ้น สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดนายเอส (S) โรงอาหาร ม.เกษตรฯ 22 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดอนงค์ ตลาด อตก. 25 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด McDonald ห้าง Center One 124 บาท/ 2 ชิ้น ไม่มีสี น้ำมันเสื่อมสภาพเกิน 25% ไก่ทอดเจ๊กี ซ.โปโล ถ.พระราม 4 200 บาท/ตัว สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดสมุนไพร หน้าอาคารพหลโยธินเพลส 35 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดเดชา ปากซอยไมยราพ ถ.เกษตร-นวมินทร์ 45 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด Chester Grill ห้าง Center One 140 บาท/ 4 ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดจีระพันธ์ ตลาดหลังการบินไทย 30 บาท/ชิ้น สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดบางจาก 40 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด KFC ห้าง Center One 108 บาท/ 3 ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 %    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 141 ลูกอม หมากฝรั่ง ซูการ์ฟรี??

รสหวานมีใครบ้างไม่ชอบ หวานทำให้อาหารมีรสสัมผัสที่ดี อร่อย และยังช่วยให้สดชื่นด้วย เพราะน้ำตาลที่สร้างรสหวานนั้นให้พลังงานสูง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสมหลักก็คงหนีไม่พ้นพวกลูกอม ลูกกวาด รวมไปถึงหมากฝรั่ง ซึ่ง  90 กว่าเปอร์เซ็นต์ในส่วนผสมเป็นน้ำตาล แต่หวานจากน้ำตาลหลังๆ ชักมีปัญหา เพราะถูกประณามว่าทำให้อ้วน หรือถ้าเคี้ยวหนุบหนับในปากเขาก็ว่าทำให้ฟันผุ เพราะจุลินทรีย์ที่ทำร้ายฟันก็ชอบกินน้ำตาลเหมือนกัน ถ้าจะหนีภัยฟันผุและอ้วน ก็ต้องเลิกกินหวาน เลิกเคี้ยวลูกอม หรือหมากฝรั่งไปเลย แต่มนุษย์เราไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ คือแทนที่จะเลิกหวาน ก็ขอหวานเถอะ แต่ไม่เอาแคลอรีหรือพลังงาน จึงคิดค้นหารสหวานที่มาจากอย่างอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาเฉพาะว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล  วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เวลาได้ยินโฆษณาว่า ไม่มีน้ำตาล หรือ ซูการ์ฟรี หรือ แคลอรีต่ำ หากเราไม่รู้จักวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลมาก่อน เราก็อาจคิดได้ว่า เขาโกหก เพราะกินแล้ว มันก็หวานชะมัด หวานติดลิ้นด้วยซ้ำ จะมาบอกว่าไม่มีน้ำตาลได้ยังไง แต่ถ้าเราลองอ่านฉลากดู บนฉลากจะถูกกำหนดให้เขียนไว้ชัดเจนเลยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนี้ ใช้อะไรให้ความหวานแทนน้ำตาล  คราวนี้ล่ะ เราจะเห็นชื่อแปลกๆ มากันหลากหลาย ทั้ง แอสปาแตม อะซีซัลเฟม-เค ซูคราโลส ไซลิทอล ซอร์บิทอล มอลทิทอล ไอโซมอลต์ ฯลฯ ชื่อที่ยกมาข้างต้นเป็นชื่อของ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ทำไมต้องเรียกว่า “วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทำไมไม่เรียก “น้ำตาลเทียม” ไปเลยล่ะ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ ก็ต้องบอกว่า บางอย่างมันไม่ใช่น้ำตาลเทียมนะสิ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล หลายตัวมีคุณสมบัติที่ให้ทั้งความหวานและให้พลังงานด้วย แอบมีคุณค่าทางโภชนาการนิดๆ  คือตัวมันยังเป็นน้ำตาลอยู่ เพียงแต่เป็นน้ำตาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนน้ำตาลทรายที่เรารู้จัก (ถ้าเป็นน้ำตาลเทียมจะเป็นสารสังเคราะห์ที่จะมีความหวานกว่าน้ำตาลแท้เป็นสองสามร้อยเท่า ทำให้ใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ ค่าพลังงานเลยเกือบจะเท่ากับ 0) ดังนั้นถ้าจะลองจำแนก วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยดูจากหลักเกณฑ์เรื่อง คุณค่าทางโภชนาการ ก็จะแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม   วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาใช้ทดแทนรสหวานจากน้ำตาลในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ขนม ลูกอม ลูกกวาด เบเกอรี่ อาหารหรือเครื่องดื่มไดเอ็ตทั้งหลาย หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมยา  การใช้สารหรือวัตถุให้ความหวานมีการใช้ทั้งในลักษณะเดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งการใช้สารให้ความหวานมากกว่า 1 ชนิดประกอบกันได้รับการยอมรับ เนื่องจากสารให้ความหวานแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ไม่มีสารให้ความหวานใดดี หรือสมบูรณ์แบบที่สุด ฉลาดซื้อในครั้งนี้ ออกไปช้อปหมากฝรั่งและลูกอม เพื่อมานำเสนอเป็นตัวอย่างสำหรับผลิตภัณฑ์ที่น้ำตาลกำลังจะหายไป แต่กลายเป็นการนำวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล มาใช้แทนที่ และอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีอะไรที่ดีที่สุด ดังนั้นบางตัวก็สร้างปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน แม้จะเป็นความเสี่ยงในระดับต่ำ แต่ก็ควรจะได้รู้เป็นข้อมูลไว้เพื่อการพิจารณา    ผลิตภัณฑ์ หมากฝรั่ง ------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก โพลิออล (polyols) หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohols; polyhydric alcohol; polyalcohol) บางครั้งเรียกว่า “sugar replacers” หรือ “bulk sweeteners” ใช้เป็นสาร ปรุงแต่งในอาหารที่มีความสำคัญเช่นกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล สารให้ ความหวานเหล่านี้จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มมวลหรือปริมาตรของน้ำตาล มีความหวานต่ำกว่าน้ำตาลทราย(ซูโครส) เป็นสารให้ความหวานลดแคลอรี (reduced- calorie sweeteners) สามารถรวมกับสารอื่นได้ดี เช่น มีคุณสมบัติส่งเสริมกันกับสารให้ความหวานชนิดแคลอรีต่ำ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีแคลอรีลดลงและมีรสชาติดีคล้ายกับ ผลิตภัณฑ์สูตรดั้งเดิม กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เนื่องจากดูดซึมได้ช้า และตกค้างมาเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องของภาวะท้องเสีย -------------------------------------------------   วัตถุให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก สารให้ความหวานที่จัดอยู่ในประเภทนี้กลุ่มหนึ่งจะไม่ให้พลังงานเลย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีหน้าที่ให้รสหวานเท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าคือสารให้รสหวานที่ให้พลังงานน้อยกว่า 2% ของจำนวนพลังงานที่ได้จากน้ำตาลทราย ในระดับที่ให้ความหวานเท่ากัน การที่ต้องกำหนดไว้เนื่องจากสารรสหวานบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงานตามธรรมชาติ เช่นจัดเป็นเปปไทด์ (หน่วยย่อยของโปรตีน) เพราะฉะนั้นจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัมเหมือนโปรตีนอื่น แต่เนื่องจากสารนั้นหวานกว่าน้ำตาลทรายเป็นร้อยเท่า เวลานำมาใส่ในอาหารจึงใช้ปริมาณน้อยมาก จนปริมาณดังกล่าวให้พลังงานแก่ร่างกายเพียงน้อยนิด ต่อไปจะขอแนะนำให้รู้จักสารรสหวานที่นิยมใช้กันบางชนิด   แอสปาแตม ถึงแม้ว่าจะจัดเป็นสารพวกโปรตีน (เปปไทด์) แอสปาแตมถือเป็นสารรสหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือพลังงานต่ำ ตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ปัจจุบันผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยการสังเคราะห์โดยเชื้อจุลินทรีย์ และนำมาใช้แทนน้ำตาลบริโภคในเครื่องดื่มต่างๆ ของหวานโดยเฉพาะเยลลี่ ไอศกรีม ลูกกวาดและอาหารแห้ง ข้อที่ควรระวังของการใช้แอสปาแตมในผลิตภัณฑ์อาหารคือ ผู้ที่เป็นโรค Phenylketonuria จะไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีแอสปาแตมเป็นส่วนประกอบ จึงต้องระบุคำเตือนบนฉลาก ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-40 (บางประเทศ 0-50) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน อะซีซัลเฟม-เค เอะซีซัลเฟม-เค คงตัวอยู่ได้ในสภาพความเป็นกรด-ด่างของอาหารและในช่วงอุณหภูมิของกระบวนการผลิตอาหารทั่วๆ ไป มีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ในทำนองเดียวกับแอสปาแตม ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันคือ 0-15 (บางประเทศ 0-9) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นมและหมากฝรั่ง ดูดซึมและขับถ่ายออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการย่อยสลาย ซูคราโลส ซูคราโลสเป็นสารที่ได้จากดัดแปลงน้ำตาลทราย (ซูโครส) ด้วยวิธีทางเคมี ทำให้มีความหวานสูงขึ้น โดยยังคงรสชาติของน้ำตาล และมีความคงตัวสูงจึงสามารถนำไปใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่เป็นกรด และอาหารที่ต้องผ่านกระบวนให้ความร้อน เช่นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ถึงแม้จะมีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลทราย แต่ซูคราโลสไม่ถูกย่อยสลายในร่างกาย ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-15 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 135 น้ำสลัด...วัดกันไปเลย ใครมันกว่า

คุณสาวๆ ที่อยากลดน้ำหนัก มักจะหลงรักเมนูสลัดผักมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าการรับประทานสลัดผักจะไม่ทำให้อ้วน เพราะผักดีต่อสุขภาพช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ให้พลังงานน้อย แถมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ก็มีสูง แต่เดี๋ยวก่อน... รู้ไหมว่า “น้ำสลัด” ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติ หวานๆ มันๆ เปรี้ยวนิดๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำสลัดนี้แหละ คือตัวการเพิ่มน้ำหนักโดยแท้   อร่อยมากไป..ระวังไขมันล้น หลายคนเวลารับประทานสลัดผัก มักชอบเติมน้ำสลัดแบบไม่บันยะบันยัง กลัวว่าถ้าใส่น้อยเกินไปแล้วจะไม่อร่อย หารู้ไม่ ว่าการทำแบบนั้นแทนที่กินสลัดผักแล้วจะช่วยลดน้ำหนักกลับจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะส่วนประกอบหลักๆ ในน้ำสลัดประกอบด้วย น้ำมันพืช น้ำตาล และไข่ไก่ เป็นสำคัญ ยิ่งคนนิยมรับประทานสลัดผักเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น น้ำสลัดแบบบรรจุถุง บรรจุขวดพร้อมรับประทานก็มีผลิตออกมาวางขายกันหลากหลายยี่ห้อ ส่วนประกอบหลักของบรรดาน้ำสลัดยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายกันอยู่ในปัจจุบัน คือน้ำมันพืช กับ น้ำตาล เฉพาะ 2 อย่างนี้รวมกันปริมาณก็เกือบ 50% ของส่วนประกอบทั้งหมด ถ้าเป็นแบบนี้คนที่ชอบเติมน้ำสลัดเยอะๆ ก็อาจไม่ผอมหรือสุขภาพดีสมใจ แต่จะเสี่ยงกับการมีน้ำหนักเพิ่มและเจ็บป่วยจากการที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไป ทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ฉลาดซื้อส่งเสริมให้ทุกคนรับประทานผักและเห็นว่าเมนูสลัดผักเป็นเมนูที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ต้องเลือกเติมน้ำสลัดแต่พอดี แล้วน้ำสลัดสำเร็จรูปยี่ห้อไหนที่น่าจะนำมาปรุงเมนูสลัดบ้าง ฉลาดซื้อจึงได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบปริมาณไขมัน (Total Fat) ที่อยู่ในน้ำสลัดจำนวน 10 ยี่ห้อที่วางตามท้องตลาดทั่วไป เอาใจคนรักสุขภาพ คนที่ชอบสลัด   ตารางแสดงผลการทดสอบปริมาณไขมันในตัวอย่างน้ำสลัดสำเร็จรูปผลทดสอบโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้นเก็บตัวอย่างทดสอบเมื่อเดือน มีนาคม 2555   ผลทดสอบ - สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ได้กำหนดปริมาณไขมันที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเป็นปริมาณต่อ 1 มื้อ อยู่ที่ไม่เกิน 15 กรัม ไม่นับรวมกับปริมาณไขมันที่อาจได้เพิ่มอีกจากการรับประทานอาหารระหว่างมื้อหรืออาหารว่างซึ่งเกณฑ์ได้กำหนดไว้ว่าไม่ควรเกิน 6 กรัม -น้ำสลัดชนิดครีมข้นทั้ง 10 ตัวอย่างที่ทดสอบ มีไข่แดงของไข่ไก่เป็นตัวทำให้น้ำสลัดมีความข้น (น้ำสลัดแบบใสจะไม่มีไข่เป็นส่วนประกอบ) - คิวพี สลัดครีม มีปริมาณไขมันมากที่สุด คือ 54 กรัม ต่อ น้ำสลัด 100 กรัม หากคิดเป็นปริมาณต่อการรับประทานสลัด 1 จาน โดยเติมน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 15 กรัม ปริมาณของไขมันที่ได้รับอยู่ประมาณ 8.05 กรัม แต่ถ้าเพิ่มน้ำสลัดเป็น 2 ช้อนโต๊ะ ปริมาณไขมันที่ได้จากผักสลัด 1 จานก็จะเพิ่มเป็น 16.1 กรัม ก็ถือว่าเลยเกณฑ์ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมในอาหาร 1 มื้อ ที่ 15 กรัมไปเล็กน้อย -ตัวอย่างน้ำสลัดที่ทดสอบพบปริมาณไขมันในระดับสูงรองๆ ลงมา ได้แก่ มอลลี่ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 49.2 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 7.34 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ, สุขุม สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 45.1 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.73 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ และ เบสท์ ฟู้ดส์ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 43.8 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.53 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ -จากการสังเกต พบว่ามี 2 ตัวอย่างที่ระบุไว้บนฉลากชัดเจนว่าเป็นสูตรไขมันต่ำ คือ บิ๊กซี น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ และเฟียว ฟู้ดส์ น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ พบปริมาณไขมันในระดับที่น้อยมากตรงกับที่โฆษณาว่าเป็นสูตรไขมันต่ำจริง -ตัวอย่างน้ำสลัดหรือสลัดครีม ที่นำมาทดสอบมีความหลากหลายในเรื่องของการใช้วัตถุกันเสีย การใช้สี และการแต่งกลิ่น ตามข้อมูลที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรับประทานน้ำสลัดที่ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น ก็ต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี   สรุป... ถ้าดูจากผลการทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าเป็นห่วง ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม คือไปเกิน 2 ช้อนโต๊ะ แต่ที่สำคัญและต้องพิจารณาให้ดี คือต้องรับประทานสลัดเป็นอาหารจานหลักจริงๆ ไม่ใช่เป็นจานเสริมคู่กับอาหารเมนูอื่นๆ หลายคนเลือกรับประทานสลัดเพราะว่าห่วงใยสุขภาพ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายคนก็ยังกลัวว่าการรับประทานแค่สลัดผักจะไม่ทำให้อิ่มท้อง ก็เลยมักจะรับประทานสลัดคู่ไปกับเมนูอื่นๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ไขมันในน้ำสลัดรวมเข้ากับไขมันในอาหารอื่น โอกาสเสี่ยงที่เราจะได้รับไขมันเกินความต้องการก็มีสูง ถ้าไม่อยากให้ไขมันที่เกินพอดีมาทำร้ายสุขภาพของเราก็ต้องรู้จักควบคุมดูแลเรื่องอาหารการกิน สมมติว่าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงไปแล้วแต่เรายังอยากรับประทานสลัดผัก ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงน้ำสลัดเลือกรับประทานเป็นผักสดๆ แทน หรือไม่ก็ควรรับประทานสลัดให้เป็นอาหารหลักจานเดียวให้ได้ ถ้ากลัวไม่อิ่มก็ควรเติมเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ กุ้ง ทูน่า ไข่ต้ม หรือเลือกพวกธัญพืชที่ให้โปรตีน พวกถั่วต่างๆ หรือจะใส่ผักที่ให้พลังงานสูงๆ อย่าง เผือกหรือมัน ก็เป็นวิธีที่น่าจะช่วยให้เราอิ่มได้ด้วยสลัดจานเดียว   ----------------------------------------------------------------------------------------------------- กินสลัดให้อร่อยและดีต่อสุขภาพ 1.ควรเติมน้ำสลัดแต่พอดี แค่ให้พอช่วยเพิ่มรสชาติให้เรารับประทานผักได้มากขึ้น 2.ทำน้ำสลัดไว้กินเอง น้ำสลัดทำได้ไม่ยาก มีน้ำสลัดหลายสูตรที่ไม่ต้องใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำสลัดผลไม้ ใช้นมข้น ใช้เนื้อเต้าหู้หรือน้ำเต้าหู้ หรือสูตรง่ายๆ อย่างการใช้โยเกิร์ตแทนน้ำสลัด หรือสูตรไทยๆ อย่างน้ำจิ้มซีฟู้ดก็เข้ากันดีกับผักสดๆ 3.ไม่ต้องเติมน้ำสลัดก็ได้ เราสามารถทำสลัดผักจานโปรดของเราให้มีรสชาติดีได้โดยไม่ต้องเติมน้ำสลัด แค่เพียงเลือกเติมผลไม้ที่เราชอบหรือเลือกชนิดที่มีรสเปรี้ยวและมีความฉ่ำ เช่น ส้ม ส้มโอ สับปะรด ฯลฯ รสหวานนิดๆ เปรี้ยวพอดีๆ ของผลไม้จะช่วยตัดรสจืดๆ เฝื่อนๆ ของผักใบเขียวได้เป็นอย่างดี 4.ถ้าต้องซื้อน้ำสลัด อ่านฉลากให้ละเอียด สังเกตที่ส่วนประกอบ เลือกที่มีสัดส่วนของน้ำมันน้อย ปริมาณไขมันก็น้อยลงตาม แต่อย่าลืมดูปริมาณของส่วนประกอบอื่นๆ ด้วย ทั้ง น้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ ถ้ามีฉลากโภชนาการก็ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้อ ดูว่าปริมาณต่อ 1 เสิร์ฟ ซึ่งเขาจะบอกไว้เป็นปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะหรือ 2 ช้อนโต๊ะ เราได้รับปริมาณสารอาหารต่างๆ มากน้อยแค่ไหน 5.ก่อนทำสลัดรับประทาน อย่าลืมล้างทำความสะอาดผักให้สะอาดเรียบร้อย เลือกผักที่สดสะอาดและต้องเลือกผักให้หลากหลาย หลากสี หลากชนิด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินแร่ธาตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป -----------------------------------------------------------------------------------------------------   ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนไทยใน 1 วัน (Thai RDI) อยู่ที่ไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานตั้งต้น แต่หากจะดูถึงความเหมาะสมจริงๆ จำเป็นต้องพิจารณาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละคนประกอบด้วย เช่น ถ้าเป็นคนที่ต้องใช้แรงใช้กำลังค่อนข้างมากในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น นักกีฬา ปริมาณของไขมันที่ควรได้รับในแต่ละวันก็อาจใกล้เคียงกับเกณฑ์ของ Thai RDI ที่ไม่เกิน 65 กรัม แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้มีภาระงานหรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากนักในแต่ละวัน เช่น คนที่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับปริมาณไขมันในระดับสูงตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ ไขมันถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะไขมันเป็นทั้งแหล่งพลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามินหลายชนิด เช่น เอ ดี อี เค ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลให้ผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญ ฯลฯ แต่การได้รับไขมันเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ฯลฯ การควบคุมให้ปริมาณไขมันพอดีกับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่งไม่เพียงแต่การควบคุมการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

  “ดื่มกาแฟเพื่อลดน้ำหนัก” กำลังเป็นกระแสนิยมของสาวๆ ที่อยากหุ่นดี ฉลาดซื้ออดไม่ได้ ต้องทำเป็นเรื่องทดสอบมาฝาก เพราะเป็นที่ประจักษ์กันในทางการว่า กาแฟที่ลดน้ำหนักได้นั้น มันคือกาแฟที่มีส่วนผสมของ ยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอาหารทุกประเภท แล้วถ้าเป็นกาแฟธรรมดาๆ ล่ะ   แค่ดื่มกาแฟจะลดน้ำหนักได้จริงหรือ? คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุชัดเจนว่า กาแฟ เป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณลดน้ำหนัก และด้วยเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตกาแฟ ที่ผลิตออกมาเพื่อจูงใจสาวๆ ที่อยากผอม จะไม่มีการบอกสรรพคุณหรือโฆษณาออกมาตรงๆ ว่าดื่มแล้วผอม ดื่มแล้วช่วยลดน้ำหนัก เพราะถ้าทำแบบนั้นจะมีความผิดเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทันที ผลิตภัณฑ์กาแฟเหล่านี้จึงเลี่ยงไปใช้ภาพสาวๆ หุ่นผอมเพรียว ไม่ก็นางแบบหุ่นดี ลงในโฆษณาหรือในแพ็คเก็จของสินค้า รวมทั้งวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลอย่างการเติมคำว่า “สลิม” (Slim) “เชฟ” (Shape) “เฟิร์ม” (frim) ต่อท้ายชื่อสินค้า เป็นอันรู้กัน(หรือปล่อยให้ผู้บริโภคคิดเอาเอง) ว่าผลิตภัณฑ์กาแฟที่ใช้เทคนิคเหล่านี้ในการโฆษณาคือกาแฟเพื่อการลดน้ำหนัก ก็ในเมื่อผู้ผลิตเขายังไม่กล้าการันตีเลยว่า ผลิตภัณฑ์ของเขาสามารถช่วยลดน้ำหนักหรือทำให้ผอมได้จริงๆ แบบนี้ผู้บริโภคอย่างเรายังจะหลงซื้อมารับประทานกันอีกหรือ?   รู้ให้ทันก่อนดื่มส่วนประกอบหลักของกาแฟ(ที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก) ประกอบด้วยครีมเทียมประมาณ 60% – 70% และกาแฟอีก 10 กว่า% ส่วนพวกสารอาหารต่างๆ ที่เติมเข้ามาหวังเป็นจุดขายเรื่องสุขภาพ เช่น แอล-คาร์เนทีน คอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ ก็มีอยู่อีกแค่ไม่กี่% ซึ่งเมื่อดูจากส่วนประกอบแล้วเป็นไปไม่ได้เลยว่าดื่มแล้วจะมีผลในการลดน้ำหนัก เมื่อลองมาดูเปรียบเทียบส่วนประกอบของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ดื่มแล้วไม่อ้วน กับกาแฟผงพร้อมชงทั่วไปเราจะพบความจริงว่า ปริมาณสารอาหารแทบไม่มีความแตกต่างกัน จุดเด่นของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักคือ เรื่องของพลังงาน ซึ่งในกาแฟทั่วไป อย่างกาแฟผงพร้อมชงสูตร 3 in 1 หนึ่งซองจะให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี ขณะที่กาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักจะให้พลังงานเฉลี่ยต่อหนึ่งซองอยู่ที่ 60 – 70 กิโลแคลอรี ที่แม้จะน้อยกว่าแต่ก็แตกต่างกันไม่มาก   สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะความที่เป็นกาแฟที่(แอบ)โฆษณาว่าดื่มแล้วดีต่อสุขภาพ ดื่มแล้วไม่อ้วน  กาแฟเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล แต่จะใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แทน ซึ่งการตัวอย่างกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักที่เราสำรวจ พบว่าสารให้ความหวานที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ ซูคลาโครส (Sucralose) และ แอสปาร์เทม (Aspartame) ที่ใช้ร่วมกับ อะซีซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ข้อดีของสารทดแทนความหวานคือ ให้ความหวานได้เท่ากับหรือมากกว่าน้ำตาล แต่ให้พลังงานน้อยกว่า อย่างไรก็ดีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะ แอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ เป็นสาเหตุของอาการโลหิตเป็นพิษ ทาง อย. จึงออกข้อบังคับให้ทุกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้แอสปาร์เทม ต้องมีคำเตือนห้ามไม่ให้ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรียรับประทาน   สารอาหารที่ใส่มาในกาแฟช่วยให้ผอมได้จริงหรือ? หลายคนคงจะสงสัยว่า สารอาหารต่างๆ ที่ถูกเติมเข้าไปในกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักนั้น ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดจากถั่วขาว, แอล – คาร์นิทีน, โอลิโกฟรุตโตส ฯลฯ ซึ่งถูกอ้างว่า สารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเผาผลาญในร่างกาย หรือไม่ก็ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งฟังแล้วก็น่าจะดีต่อการลดน้ำหนักได้ ยิ่งเวลาที่ดื่มกาแฟหลายคนก็มักจะรู้สึกว่า ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น รู้สึกร้อนๆ ตามตัว เลยคิดว่าน่าจะเกิดกระบวนเผาผลาญขึ้นในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดเป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะการที่เรารู้สึกว่าร่างกายกำลังตื่นตัวหลังจากดื่มกาแฟ นั้นก็เป็นเพราะคุณสมบัติทั่วไปที่เกิดจากดื่มกาแฟอยู่แล้ว ฤทธิ์ของกาเฟอีนช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญในร่างกายจริง แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ทำให้น้ำหนักลดลง เช่นเดียวกับสารต่างๆ ที่ใส่เพิ่มเข้ามาแม้จะช่วยเร่งการเผาผลาญก็ไม่ได้ถึงขนาดทำให้น้ำหนักลดลง ผอม รูปร่างดี แถมสารอย่าง แอล – คาร์นิทีน แม้อาจมีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งเผาผลาญไขมันส่วนเกิน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไป ไม่ได้มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยตรง แถมสารต่างๆ ที่ใส่ในกาแฟลดน้ำหนักก็ไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ใดๆ ที่รับรองผลว่าจะช่วยลดน้ำหนักลงได้   ดื่มกาแฟมากไปไม่ดีต่อสุขภาพอย่างที่เรารู้กันดีว่าในกาแฟที่เราดื่มทุกๆ เช้านั้น มีสารประกอบสำคัญคือ กาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ เราจึงรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว เมื่อได้ดื่มกาแฟ แต่สารกาเฟอีนก็มีผลเสียต่อร่างกายถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วใน 1 วันเราควรได้รับกาเฟอีนไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเทียบได้เท่ากับการดื่มกาแฟไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราได้รับสารกาเฟอีนมากเกินไป คือมีผลทำให้สมองและหัวใจถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่น และทำให้ความดันโลหิตสูง   ดื่มกาแฟลดน้ำหนัก...ระวังกระอักเพราะ “สารไซบูทรามีน”ก่อนหน้านี้ สารไซบูทรามีน เป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้กับผู้ป่วยโรคอ้วน  (คือหมายถึงคนที่ป่วยจริงๆ ไม่ใช้คนที่คิดว่าตัวเองอ้วน หุ่นไม่ดี แล้วอยากจะลดน้ำหนัก) แต่เพราะความรุนแรงของสารตัวนี้มีผลถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดทำงาน และการที่มีผู้ไม่หวังดีนำสารไซบูทรามีนไปใส่ในอาหารเสริมแล้วอ้างสรรพคุณว่าดื่มแล้วช่วยให้น้ำหนักลด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ อย. ต้องตัดสินใจประกาศยกเลิกตำรับยาชนิดนี้ แต่ก็ยังไม่วายยังมีคนนำสารไซบูทรามีนมาใส่ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยลดความอ้วน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงกาแฟด้วย อย่างที่ อย. เคยตรวจพบในกาแฟสำเร็จรูปนำเข้าจากจีนยี่ห้อ Slimming Coffee Splrultn เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงทั้งการดื่มกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดื่มแล้วช่วยทำให้น้ำหนักลดทุกชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่มีเลขมาตรฐานอาหารของ อย. เพราะเราอาจกำลังเสี่ยงอันตรายจากสารไซบูทรามีนโดยไม่รู้ตัว   ฉลาดซื้อแนะนำความจริงเรื่องกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน เป็นเรื่องที่ทาง อย. เองก็ออกข่าวเตือนถึงอันตรายและการโฆษณาหลอกลวงเกินจริงอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ฉลาดซื้อ ก็อยากเป็นอีกหนึ่งเสียงที่อยากฝากเตือนว่า กาแฟประเภทนี้ ไม่ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้จริงอย่างที่อวดอ้างกัน แถมดื่มมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ประเภทที่ไม่ฉลากภาษาไทย ไม่มีข้อมูลทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ยิ่งอันตราย ถ้าเกิดใครดื่มกาแฟประเภทนี้เข้าไปแล้ว เกิดน้ำหนักลดลงไปจริงๆ แบบเห็นผลทันตา อย่าดีใจไป เพราะแบบนั้นยิ่งอันตราย เป็นไปได้ว่า มีการใส่ยาลดความอ้วนลงไป ซึ่งอันตรายมาก ดีไม่ดีอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต   ตารางแสดงผลทดสอบข้อมูลบนฉลากและการปนเปื้อนของสารไซบูทรามีนในกาแฟลดน้ำหนักจำนวน 19 ตัวอย่าง ชื่อยี่ห้อ ราคา / น้ำหนัก ที่อยู่ ข้อมูลโภชนาการ แสดงส่วนประกอบ วันที่ผลิต – หมดอายุ สารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาล ผลทดสอบสารไซบูทรามีน คิว-ไบร์ท 99- บ.ธันยพรสมุนไพร จก.   ไม่มี มี มี ซูคราโลส                                           ไม่พบ พลอยใส   บ.นูทิน่า  อินเตอร์ฟู้ด จำกัด   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค คอฟฟี่ เลิฟ   หจก.สยามโปรดักส์ แอนด์ แพคกิ้ง   ไม่มี มี มี ซูคราโลส ฟ้าใส คอฟฟี่ 145 หจก.คิงส์ส์ริช ไม่มี มี มี ซูคราโลส แพลตตินั่ม คอฟฟี่พลัส 80 บ.คิงส์ คอฟฟี่ จก. ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค UCC 39 บ.UCC UESHIMA COFFEE (THAILAND) CO.,LTD มี มี มี กลูโคส Srimcup 125 บ.บิ๊กเบนซ์ เฮลธ์ โปรดักส์ จำกัด มี มี มี ซูคราโลส Body Shape coffee 160 บ.เขาช่องอุตสาหกรรม 1979 โดยการควบคุมของ บ.บอดี้เชฟฯ มี มี มี ซูคราโลส บัดดี้ดีน สลิม เทร็ท  Collagen-G   บ.เคทีวาย  ฟู๊ด อินเตอร์เนชั่นแนล จก มี มี มี ซูคราโลส คอลลาเจน คอฟฟี่ 120 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เขาช่อง คอฟฟี่ ไฟว์   บ.เขาช่องอุตสาหกรรม1979 จก.   มี มี มี ซูคราโลส เอลี่คาเฟ่ 99 บ.พาวเวอร์ รูท แมนูแฟคเตอริ่ง จก. เมืองฮะโฮร์ มาเลเซีย นำเข้าโดย บ.โปรคอม (เอส.เค)จก. มี (เป็นภาษาอังกฤษ) มี มี น้ำตาล 10 กรัม ต่อ กาแฟ 20 กรัม เนเจอร์กิฟ คอฟฟี่ พลัส 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค Equal (อิควล) 132 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม 180 บ.เบญจพันธ์พงศ์ จก. มี มี มี ซูคราโลส แคล์รคอฟฟี่(Clare’s Coffee) 129 บ.แฟนซีเวิลด์ จก.   ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทรูสเลน คอฟฟี่ พลัส 142 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี ซูคราโลส ฟิตเน่ คอฟฟี่ สูตร 1 95 บ.นิวคอนเซพท์ โปรดัคท์ จก. มี มี มี ซูคราโลส คอฟฟี่ 21 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทดสอบตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี หมายเหตุ: ฉลาดซื้อ ได้สุ่มทดสอบสารไซบูทรามีนจากตัวอย่างกาแฟลดน้ำหนัก 19 ยี่ห้อที่วางขายทั่วไป ถือว่าเป็นโชคดีที่เราไม่พบสารไซบูทรามีนเลยในทุกตัวอย่าง แต่เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดในเรื่องการเก็บตัวอย่างสินค้าที่อาจไม่สามารถกระจายพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างได้กว้างเท่าที่ควร รวมทั้งสินค้าที่ขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 เปรียบเทียบความหวานสารพัดของทา (น) กับขนมปัง

  ขนมปังอาจจะไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ขนมปังก็เป็นของโปรดของใครหลายๆ คน จะรับประทานเป็นขนมเป็นของว่าง หรือจะรับประทานเอาอิ่มเป็นมื้อหลัก แบบที่หลายๆ คนนิยมเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะแบบไหนก็อร่อยได้เหมือนกัน แค่ขนมปังธรรมดาๆ ก็ว่าอร่อยแล้ว ยิ่งถ้าทาแยมหรือเนยด้วยก็ยิ่งช่วยเพิ่มรสชาติขึ้นไปอีก แต่ก็อย่าอร่อยจนลืมตัว หรือหลงคิดว่าขนมปังทาแยม ขนมปังทาเนยจะแค่เป็นอาหารเบาๆ แทนข้าวแล้วจะไม่อ้วน เพราะในความอร่อยของ แยม เนยถั่ว หรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดอื่นๆ ล้วนมีตัวแปรสำคัญของความอร่อยอยู่ที่ความหวานของน้ำตาล เรามารู้ทันความหวานจากน้ำตาลกับผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังกันดีกว่า การทดสอบครั้งนี้ฉลาดซื้อสำรวจเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมารับประทานคู่กับขนมปัง ไม่ว่าจะเป็น แยม เนยถั่ว มาร์การีน รวมทั้งที่เป็นสไตล์ไทยๆ อย่าง สังขยา และ น้ำพริกเผา   ฉลาดซื้อใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่อยู่บนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยดูตัวเลขปริมาณน้ำตาลที่แจ้งไว้ในข้อมูลส่วนประกอบ ซึ่งทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบครั้งนี้จะแจ้งปริมาณน้ำตาลเอาไว้เป็น % เราจึงต้องปรับตัวเลขให้มีหน่วยเป็นกรัม แล้วเปรียบเทียบที่ปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (16 กรัม) เพราะการนำมาคิดเป็นน้ำหนักต่อช้อนโต๊ะน่าจะทำให้ข้อมูลที่ได้ เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่เรารับประทานจริงในแต่ละครั้งมากที่สุด สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ -ปริมาณ 16 กรัม ต่อ 1 ช้อนโต๊ะเป็นข้อมูลที่นำมาจากข้อมูลในฉลากโภชนาการ หรือ “Thai RDI” ของผลิตภัณฑ์ สุรีย์ น้ำพริกเผาเสวย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตัวอย่าง ที่มีการแจ้งข้อมูลโภชนาการ อีก 1 ตัวอย่างคือ สตรีมไลน์ รีดิวซ์ ชูการ์ มาร์มาเลดส้มสูตรลดปริมาณน้ำตาล   ตารางแสดงผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดต่างๆ   ผลทดสอบ 1. แยม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาหรือทานคู่กับขนมปังที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด ตัวอย่างที่มีน้ำตาลมากที่สุดตามข้อมูลที่แจ้งไว้ในส่วนประกอบก็คือ เบสท์ ฟู้ดส์ มาร์มาเลดส้ม ที่มีน้ำตาลอยู่ประมาณ 8.9 กรัม ต่อปริมาณแยม 1 ช้อนโต๊ะ มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรบริโภคใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ถ้าเทียบจากเกณฑ์ที่ฉลาดซื้อใช้ แต่จริงๆ แล้ว วิธีการรับประทานของแต่ละคนก็คงจะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบทาแยมมากๆ เวลาทาบนขนมปังก็อาจทามากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานต่อครั้งก็อาจกินขนมปังมากกว่า 1 แผ่น ปริมาณน้ำตาลก็จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการบริโภค เพราะฉะนั้นก็ต้องคำนวณกันให้ดีว่าจะเลือกกินแบบไหนเพื่อให้ได้น้ำตาลในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากเกินไป ส่วนตัวอย่างแยมยี่ห้ออื่นๆ ก็มีปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 8 กรัม ต่อแยม 1 ช้อนโต๊ะ แยมที่เราสำรวจทั้งหมดเป็นแยมผิวส้ม หรือที่เรียกว่า มาร์มาเลด (marmalade) 2. เนยถั่ว เหมือนจะดูไม่น่าจะหวานมาก แต่ก็พบน้ำตาลในปริมาณที่สูงเช่นกัน ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ นัทเกา โกโก้และเฮเซลนัทครีม พบปริมาณน้ำตาลประมาณ 8.16 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน ข้อสังเกตที่น่าสนใจ เนยถั่วบางผลิตภัณฑ์น้ำตาลไม่มาก หรือไม่มีเลยบนฉลาก แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเนยถั่วนิยมใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งที่เราพบจากการสำรวจก็คือ  คอร์นไซรัป เป็นสารให้ความหวานที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด ว่ากันว่าให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย แถมร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้ง่ายกว่าน้ำตาลทราย แต่ในบ้านเราไม่นิยมใช้เพราะราคาแพงกว่าน้ำตาลทรายที่ทำจากอ้อยค่อนข้างมากความนิยมต่อเนยถั่วในบ้านเรายังมีค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เราสำรวจล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ซึ่งส่งผลให้แต่ละตัวอย่างมีราคาที่ค่อนข้างสูง 3. สังขยา เราสำรวจพบ 1 ยี่ห้อ  2 รสชาติ คือ เอ็มไพร์ สังขยา กลิ่นใบเตย กับ กลิ่นวานิลลา ซึ่งปริมาณน้ำตาลของทั้ง 2 รสมีเท่ากัน คือ 6.89 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่ควรรับประทานใน 1 วัน   ไม่ว่าคุณจะทาขนมปังด้วยหน้าอะไร ก็อย่าลืมความจริงข้อหนึ่งว่า ขนมปัง ก็มีความหวานเช่นกัน  ยกตัวอย่าง จากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ขนมปังยี่ห้อฟาร์มเฮ้าส์ ทั้งแบบธรรมดาและแบบโฮลวีต บอกไว้ว่ามีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัม ต่อขนมปัง 2 แผ่น (50กรัม) ลองนำไปเป็นข้อมูลไว้ใช้คำนวณกันดูเวลาจะทานขนมปังทาหน้าต่างๆ จะได้หวานกันแต่พอดี   สารกันบูด ยังพบในหลายผลิตภัณฑ์สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งในการรับประทานขนมปังทาหน้าต่างๆ ก็คือ สารกันบูด  เพราะถ้าลองดูจากผลสำรวจจะเห็นว่ามีหลายตัวอย่างที่มีการใช้สารกันบูด แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งมีข่าวว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตัวอย่างขนมปังหลากหลายชนิดจำนวน 800 กว่าตัวอย่าง ผลที่ออกมาพบว่ามีมากกว่า 600 ตัวอย่างที่พบสารกันบูด เนย กับ มาร์การีน แตกต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกัน วิธีนำไปรับประทานก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าจะให้อธิบายให้ง่ายที่สุดก็คือ เนยคือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแตกตัวของไขมันในนม ขณะที่มาร์การีนก็คือ เนยเทียม ที่ใช้ไขมันจากพืชแทน เนื่องจากเนยจะมีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโคเลสเตอรอลสูง มาร์การีนหรือเนยเทียม จึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ขณะเดียวกันตัวมาร์การีนเองก็มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเนยแท้หรือเนยเทียมก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง นึกถึงสุขภาพของตัวเองมาเป็นอันดับแรก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%

  เพราะเรารู้ว่าแฟนๆ “ฉลาดซื้อ” เป็นคนที่รักและห่วงใยดูแลสุขภาพ ฉบับนี้เรามีผลทดสอบเครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนรักสุขภาพอย่าง “น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%” มาฝาก  ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์น้ำผักพร้อมดื่มทั้ง 100% และไม่ 100% ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อหลากหลายรสชาติ ตอบรับกระแสรักสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการเลือกดื่มน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มนั้นสะดวกสบาย หาซื้อง่าย เข้ากับยุคสมัยที่ผู้คนหันมาห่วงใยสุขภาพมากขึ้นแต่กับมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แถมบางคนที่ไม่ชอบกินผักก็เลือกที่จะดื่มน้ำผักแทน เพราะกินง่ายกว่า รสชาติก็อร่อยกว่า  ลองมาหาคำตอบกันดูสิว่า น้ำผัก – ผลไม้รวม 100% พร้อมดื่ม จะเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพได้จริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------------------------ น้ำผัก - ผลไม้ถือเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปประเภทหนึ่ง เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผัก – ผลไม้ ในช่วงเวลาที่ผัก – ผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ การแปรรูปน้ำผัก – ผลไม้ยังเป็นช่วยยืดอายุของผักและผลไม้เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ประเภทของน้ำผัก ผลไม้1.น้ำผลไม้เข้มข้น ทำจากน้ำผลไม้แท้ที่ผ่านการต้มเพื่อให้น้ำระเหยออกบางส่วนจนได้เป็นน้ำผลไม้เข้มข้น เวลาดื่มต้องผสมกับน้ำให้เจือจางก่อน ซึ่งน้ำผลไม้เข้มข้นนิยมใช้เป็นส่วนผสมในขนม ไอศครีม และเครื่องดื่มต่างๆ 2.น้ำผัก - ผลไม้พร้อมดื่ม ก็คือน้ำผลไม้บรรจุกล่องหรือขวดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มก็ทั้งแบบที่เป็นน้ำผัก – ผลไม้ 100% และแบบที่ไม่ถึง 100% คือจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 50% ซึ่งคือการนำน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางและแต่งรสชาติเพิ่มเติม ------------------------------------------------------------------------------------------ สรุปผลทดสอบ -ถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่สามารถสบายใจได้ว่าน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ที่เราทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง ปลอดภัยจากการปนเปื้อนและสารเคมีทางการเกษตร -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% แม้จะอ้างว่ามีส่วนประกอบจากน้ำผัก – ผลไม้หลาย 10 ชนิด แต่ถ้าเราลองดูข้อมูลส่วนประกอบจะเห็นว่า เกือบทุกยี่ห้อจะมีน้ำแครอทเป็นส่วนประกอบหลัก หรือกว่า 30% ของส่วนประกอบทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำหน้าที่เพิ่มรสชาติให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล ส่วนน้ำผักอื่นๆ จะผสมมาในสัดส่วนที่น้อยมากๆ ไม่ถึง 10%  -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% บางยี่ห้อมีการเติมวิตามินลงไปด้วย แต่ก็ในปริมาณที่น้อยมาก แถมวิตามินส่วนใหญ่ถูกทำลายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวิตามินซี ทั้งจากการถูกความร้อน แสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศ แม้จะมีการเติมวิตามินลงไป แต่น้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่มก็ให้วิตามินได้ไม่เท่าผัก – ผลไม้สดๆ อยู่ดี  -ปริมาณน้ำตาลจากการทดสอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ 9.27 กรัม / 100 มิลลิลิตร ถ้าคิดปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาจะอยู่ประมาณ 2 ช้อนชากว่าๆ (1 ช้อนชา = 4.2 กรัม) ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าหากเราดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราก็จะได้น้ำตาลที่ประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง  ดังนั้นใครที่คิดจะดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักอาจจะต้องคิดใหม่   ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลและการปนเปื้อนของสารเคมีทางเกษตรในน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ราคา (บาท) ผลการทดสอบ น้ำตาล / 100 มิลลิลิตร  (กรัม) การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ ดอยคำ น้ำผักผลไม้รวม 100% โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป น้ำสับปะรด 50% น้ำแครอท 31% น้ำเสาวรส 7% น้ำมะเขือเทศ 7% น้ำบีทรูท 5% 55 บ. / 1 ลิตร 9.3 ไม่พบ ไม่พบ Chooze ชูส น้ำผักผลไม้รวมผสมผักโขม 100% Universal food public company limited   น้ำองุ่นขาว 43% น้ำสับปะรด 30% น้ำส้ม 20% น้ำแตงกวา 4% น้ำผักโขม 1.3% น้ำแครอท 1.2% น้ำฝักทอง 0.5% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ Big C น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 30% น้ำส้ม 27% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำฟักทอง 5% น้ำสับปะรด 5% น้ำนะนาว 3.97% น้ำมะเขือเทศ 3% น้ำขึ้นฉ่าย 1% วิตามิน ซี 0.03% 45 บ. / 1 ลิตร 11.4 ไม่พบ ไม่พบ ชบา น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 40% น้ำแอปเปิ้ลแดง 17.47% น้ำส้มเขียวหวาน 15% น้ำฟักทอง 10% น้ำสับปะรด 5% น้ำขึ้นฉ่าย 5% น้ำมะเขือเทศ 5% น้ำมะนาว 2.5% วิตามิน ซี 0.03% 51 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ ยูนิฟ น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด น้ำแครอท 40% น้ำสับปะรด 32.3% น้ำส้ม 15% น้ำแอปเปิ้ล 13% น้ำมะเขือเทศ 3.3% น้ำมะนาว 2% น้ำขึ้นฉ่าย 2% น้ำฟักทอง 1% น้ำแครอทม่วง 0.3% น้ำองุ่นแดง 0.1% 52 บ. / 1 ลิตร 9.8 ไม่พบ ไม่พบ ทิปโก้ 100% น้ำผักผลไม้รวม 32 ชนิด บริษัท ทิบโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด   น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม จากน้ำผักผสมน้ำผลไม้รวมเข้มข้น 32 ชนิด 39.4187925% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 30% น้ำแอปเปิ้ลจากน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น 15% น้ำส้มเช้งจากน้ำเช้งเข้มข้น 10% น้ำมะม่วง 3% น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2% ใยอาหาร 0.55% วิตามินซี 0.03% วิตามินเอ 0.0012% วิตามินบี 2 0.000005% วิตามินบี 1 0.0000025% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ V8 เครื่องดื่มน้ำผักผสม ผลิต บริษัท แคมเบลล์ ซุปคัมปานี จำกัด เมืองแคมเด็น รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา นำเข้า บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด น้ำมะเขือเทศ 44.05% น้ำผัก 33.07% เกลือ 0.95% แต่งกลิ่นธรรมชาติ 129 บ. / 964 ซีซี 4.0 ไม่พบ ไม่พบ เซปเป้ ฟอร์วันเดย์ บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด น้ำผักรวม (คื่นฉ่าย, ผักกาดหอม, ผักโขม, บีทรูท, ผักชีฝรั่ง, บล๊อกโคลี่) 30% น้ำแครอทจากน้ำแครอทเข้มข้น 30% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20% น้ำสับปะรดจากน้ำสับปะรดเข้มข้น 20% แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 25 บ. / 350 มิลลิลิตร 10.4 ไม่พบ ไม่พบ Malee veggies 100% บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) น้ำผลไม้รวม 88% (น้ำแอปเปิ้ลแดง, น้ำองุ่นขาว, น้ำแอปเปิ้ลเขียว, น้ำกีวี) น้ำผักรวม 12% (น้ำคื่นฉ่าย, น้ำบร็อกโคลี่, น้ำหน่อไม้ฝรั่ง, น้ำแตงกาว, น้ำผักขม) 49 บ. / 1 ลิตร 10.0 ไม่พบ ไม่พบ Smile น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท นูบูน จำกัด   น้ำผักรวม 40% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำสับปะรด 24% น้ำส้ม 8% น้ำแพชชั่น 3% 98 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ     ฉลาดซื้อแนะนำ1) หากอยากจะดื่มน้ำผัก – ผลไม้ให้ได้คุณค่าและดีกับสุขภาพร่างกายจริงๆ ฉลาดซื้อแนะนำให้คั้นดื่มเอง เพราะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้จะมาทำได้  ถ้าไม่อยากได้น้ำตาลเยอะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้ที่ไม่หวานมากมาทำ แถมน้ำผัก น้ำผลไม้ที่เราคั้นเองปั่นเองก็จะมีทั้งกากใยและเนื้อผัก – ผลไม้เหลืออยู่ด้วย ซึ่งก็คือใยอาหารที่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย 2) คั้นน้ำผักดื่มเอง ต้องล้างทำความสะอาดผักก่อนจะนำมาทำน้ำผัก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่มากับผัก  3) น้ำผักควรเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อหลีกหนีความจำเจเท่านั้น การรับประทานผักสดเป็นประจำมีความจำเป็นต่อร่างกายมากกว่า ถ้าอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานมีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มากพออยู่แล้ว การดื่มน้ำผักก็ไม่มีความจำเป็น ซึ่งราคาของน้ำผักก็สูงกว่าราคาของผักสดธรรมดาที่เราซื้อมาประกอบอาหารค่อนข้างมาก   ----------------------------------------------------------------------------------------- 7,500 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรา ซึ่งธุรกิจน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งมาจากกระแสรักสุขภาพ2,400 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดเฉพาะน้ำผัก – ผลไม้ 100% ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำผัก – ผลไม้ประเภทอื่นๆ  (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2519 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552) -----------------------------------------------------------------------------------------  ทำน้ำผักไว้ดื่มเองก็ได้  หากอยากจะได้น้ำผัก – ผลไม้ที่รสชาติถูกใจและดีต่อสุขภาพจริงๆ รวมทั้งประหยัดด้วย การเลือกผัก – ผลไม้มาคั้นเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (ใครอยากรู้สูตรการทำน้ำผัก – ผลไม้ลองคลิกไปที่ http://www.vegetablejuicerecipes.org/ มีให้เลือกลองทำหลากหลายสูตรหลากหลายเมนู) แต่การทำน้ำผัก – ผลไม้เองต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด คือการล้างทำความสะอาด เพราะผัก – ผลไม้สมัยนี้วางใจไม่ได้เรื่องสารเคมีปนเปื้อน แทนที่จะมีสุขภาพดีอาจต้องมาป่วยเพราะยาฆ่าแมลงก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 น้ำแร่ดีกว่าแน่หรือ ??

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึงร้อยละ 70 ดังนั้นเพื่อให้ระดับน้ำในร่างกายสมดุล ทำให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ มนุษย์จึงขาดน้ำไม่ได้  แต่น้ำสะอาดธรรมดาถึงมีค่ามากแล้ว ก็ยังไม่ไฮโซพอ ต้องมีการเชียร์ให้ดื่ม น้ำแร่ นัยว่าเพื่อประโยชน์ที่สมบูรณ์กว่า ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบต่าง ๆ น้ำแร่ในความเข้าใจของคนทั่วไปจึงกลายเป็นสินค้าสุขภาพที่มีราคาแพงมากเมื่อวัดเป็นปริมาณต่อซีซี และผู้บริโภคหลายคนก็ยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงลิ่วเพื่อจะได้ดื่มมันเป็นประจำ  อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่มีแต่คุณประโยชน์โดยไม่มีโทษ แร่ธาตุบางกลุ่มบางชนิดสามารถให้โทษต่อร่างกายได้และโดยมากไม่ได้ถูกระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้อเลยขอขันอาสานำข้อมูลการทดสอบแร่ธาตุที่เป็นโทษต่อร่างกายในน้ำแร่มาแจ้งให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบ ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 ยี่ห้อ ส่งห้องปฏิบัติการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อเดือนมกราคม 2554 เพื่อทดสอบหาแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ตะกั่วและแคดเมียมในกลุ่มโลหะหนัก กับไนเตรทและไนไตรท์ซึ่งสามารถกลายสภาพเป็นไนโตรซามีน หนึ่งในสารก่อมะเร็ง ผลการทดสอบมีดังนี้  ตะกั่ว1. ไม่พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) 2. พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดมีปริมาณตะกั่วตกค้างสูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ ที่ปริมาณไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร  แคดเมียม1. ไม่พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17)2. พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และเมื่อนำมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีการตกค้างของแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร มาประกอบการพิจารณา พบว่ามีน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐานไปเล็กน้อย ได้แก่ น้ำแร่ฟิจิ ของบริษัท เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท จำกัด ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำแร่อควอเร่ ของ บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ปริมาณ 0.0032 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนเตรท1. ไม่พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 8) ได้แก่ น้ำแร่ไอยริน ของบริษัท วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด และน้ำแร่ วิทเทล ของ บริษัท เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) 2. พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 92) ที่ปริมาณระหว่าง 0.027 – 14.229 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีไนเตรทได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนไตรท์1. ไม่พบไตรท์เลยในน้ำแร่จำนวน 23 ตัวอย่าง (ร้อยละ 96)2. พบไนไตรท์จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4) ปริมาณที่พบเท่ากับ 0.004 มิลลิกรัม/ลิตร ในน้ำแร่มิเนเร่ของบริษัทบ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากไม่สูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดไว้ให้มีได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/ลิตร   ข้อสังเกต1. การทดสอบกลุ่มโลหะหนัก ตะกั่วและแคดเมียม  มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่าง ที่ไม่พบเลย ได้แก่ ไอโอ มองต์เฟลอ เทสโก้ และไอซ์แลนด์สปริง  ขณะเดียวกันก็มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่างที่ตรวจพบโลหะหนักทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ท็อปส์ โฮมเฟรชมาร์ช ฟิจิ และอควอเร่ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย 2. การทดสอบ ไนเตรทและไนไตรท์ มีน้ำแร่จำนวน 2 ยี่ห้อที่ไม่พบไนเตรทและไนไตรท์เลย คือ ไอยรินกับ วิทเทล ขณะที่ตัวอย่างที่พบทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ได้แก่ มิเนเร่ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย3. เมื่อเทียบผลการทดสอบกับการตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการระบุแร่ธาตุที่เป็นอันตรายกับร่างกายไว้บนฉลาก และมีการแสดงฉลากไม่สมบูรณ์ตามประกาศฯ ฉบับที่ 199 เรื่องน้ำแร่ จำนวน 3 ตัวอย่าง แบ่งเป็นไม่แสดงชนิดของแร่ธาตุที่สำคัญ 2 ตัวอย่าง คือ  โอเชี่ยน ดีฟ ของบ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด และ วาย อี เอส ของ บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด เมืองโถวเฉิน จ.อี้เหลิง ประเทศไต้หวัน กับไม่แสดงแหล่งที่มาของน้ำแร่จำนวน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ฟิจิ ของบ. เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ   สรุป จากการทดสอบตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ยี่ห้อ โดยมีหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มโมเลกุลเล็ก และหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มที่มาระบุว่ามาจากใต้ทะเลลึก ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายที่ร้อยละ 17 แคดเมียมที่ร้อยละ 83 ไนเตรทที่ร้อยละ 92 และไนไตรท์ที่ร้อยละ 4 โดยพบแคดเมียมเกินมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง ในยี่ห้อฟิจิและอควอเร่ เนื่องจากราคาขายน้ำแร่โดยเฉลี่ยสูงกว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญค่อนข้างมากและยังมีแร่ธาตุที่เป็นโทษตามที่ได้ทดสอบไปประกอบอยู่ตามธรรมชาติ  ที่ถึงแม้ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคแต่หากบริโภคติดต่อกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้นั้น ฉลาดซื้อขอแนะนำว่าบริโภคเป็นทางเลือกได้ แต่ไม่เหมาะสมที่จะบริโภคทดแทนน้ำดื่มปกติ สำหรับคำโฆษณาที่บอกว่าน้ำแร่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น จากการศึกษาฉลากพบว่าปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำแร่นั้นมีปริมาณที่น้อยมาก (หน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมหรือไมโครกรัม) เมื่อเทียบกับความต้องการตามปกติของร่างกายต่อวัน น้ำแร่จึงไม่ใช่แหล่งแร่ธาตุที่เหมาะสมกับร่างกาย หากต้องการแร่ธาตุต่าง ๆ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณบริโภคเป็นผักและผลไม้จะทำให้ได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการได้ครบถ้วนและดีกว่า ตารางแสดงผลทดสอบแร่ธาตุในน้ำแร่   ชื่อสินค้า บริษัทผู้ผลิต / จัดจำหน่าย แร่ธาตุที่ระบุบนฉลาก แหล่งน้ำธรรมชาติที่อ้างถึง เลขที่ อย. ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต – หมดอายุ ราคา ตะกั่ว Lead (มก./ ลิตร) แคดเมียม Cadmium (มก./ลิตร) ไนเตรท Nitrate (มก./ลิตร) ไนไตรท์ Nitrite (มก./ลิตร) 1.มิเนเร่ บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.โพธิ์สามต้น จ.พระนครอยุธยา 14-2-00336-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 13.50 บ. ไม่พบ 0.0002 0.192 0.004 2.ออรา บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต ซิลีก้า คลอไรด์ ซัลเฟต พุจากใต้เทือกเขาสูง อ.แม่ริน จ.เชียงใหม่ 50-2-00850-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 16.50 บ. ไม่พบ 0.0008 4.829 ไม่พบ 3.ไอโอ บ.บุญรอดเอเซียเบเวอเรซ จำกัด ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.พระงาม จ.สิงห์บุรี 17-2-00141-2-002 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ ND 0.422 ไม่พบ 4.มองต์ เฟลอ ผลิตโดย บจ.ทิพย์วารินวัฒนา แคลเซียม โซเดียม โปตัสเซียม ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต สังกะสี ผ่านกรรมวิธีเติมโอโซน แหล่งน้ำพุร้อนลึกใต้ผิวโลก ต.พบพระ จ.ตาก 63-2-00540-2-001 ระบุ 1.5 ลิตร / 18.75 บ. ND ND 0.027 ไม่พบ 5.คาร์ฟูร์ สั่งผลิตและจัดจำหน่าย บ.เซ็นคาร์ จำกัด ผลิตโดย บ.ทีทีซี น้ำดื่มดื่มสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ไบคาร์โบเนต ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งน้ำลึก 200 เมตร อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0006 ระบุ 1.5 ลิตร / 9 บ. ไม่พบ 0.001 0.085 ไม่พบ 6.บิ๊กซี บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0007 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ 0.001 0.05 ไม่พบ 7.เทสโก้ บ.ทีทีซี น้ำดืม สยาม จำกัด ฟลูออไรด์ แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม โปแตสเซียม ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0005 ระบุ 1.5 ลิตร / 10 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.112 ไม่พบ 8.ท๊อปส์ บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0032 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.003 0.002 0.14 ไม่พบ 9.โฮม เฟรช มาร์ท บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม ไอโอดีน คลอไรด์ ซัลเฟด ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-0041-2-0082 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.0002 0.0002 0.077 ไม่พบ 10.โอเชี่ยน ดีฟ ผลิตโดย บ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด (น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก) ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวด์ จำกัด   น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก 10-3-02152-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 58 บ. ไม่พบ 0.0006 0.211 ไม่พบ 11.เอเวียง ผลิตโดย เอส เอ เอเวียง ประเทสฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก. ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ไบคาร์บอเนต โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท แมกเนเซียม คลอไรด์ ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากคาซาต เทือกเขาแอลป์ ฝรั่งเศส 10-3-11523-1-0518 ระบุ 1.5 ลิตร / 76.75 บ. ไม่พบ 0.0013 3.37 ไม่พบ 12.สโนวี่เมาท์เทน ผลิตโดย บ.สโนวี่ เมาท์เทน บอทเทิ้ล จำกัด ประเทศออสเตรเลีย นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บ.โกลบอล ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาเดเลสฟอร์ด 10-3-34148-1-0646 ระบุ 1.5 ลิตร / 50 บ. ไม่พบ 0.0002 14.229 ไม่พบ 13.ไอซ์แลนด์สปริง นำเข้าและจัดจำหน่าโดย บ.เอช ทู โอ-ไฮโดร จำกัด คลอไรด์  แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม เหล็ก น้ำแร่ธรรมชาติจากประเทศไอซ์แลนด์ 10-3-14052-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 96 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.589 ไม่พบ 14.ราดิโอซ่า ผลิตโดย คาสเทลเดลซี  บาคูรา เอส.อาร์.แอล. ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บจก.อิตาเลี้ยน สตาร์ ไบคาร์บอเนต แคลเซียม แมกนีเซียม ไนเตรท ซิลิกา โซเดียม โพแทสเซียม ซัลเฟรต คลอไรด์ ฟลูออไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาฟูไบโอไล 10-3-21652-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 44 บ. ไม่พบ 0.001 1.159 ไม่พบ 15.ไพน์วอเตอร์ (น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก) 3P2M Co., Ltd. แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต ฟลูออไรด์ เหล็ก โพแทสเซียม ซิง โซเดียม น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี 10-1-09549-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 40 บ. ไม่พบ 0.0013 0.162 ไม่พบ 16.วอลวิก ผลิตโดย โซซิเอเต้ เดโอเดอ วอลวิก ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก.ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ ไนเตรต ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต น้ำแร่ธรรมชาติจากอูเวิร์น 10-3-11523-1-0683 ระบุ 1.5 ลิตร / 59 บ. ไม่พบ 0.0006 6.317 ไม่พบ 17.ซุยไซ โนะ โมริ ผลิตโดย โมริยามะ นิวเงียว จำกัด เมืองคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น นำเข้าโดย บ.โกเบ-ยา ไชกุอิน โตเงียว จำกัด เป็นภาษาญี่ปุ่น น้ำแร่ธรรมชาติจากเมืองคุโรมาสึไนเกะ ฮอกไกโด 10-3-07132-1-4993 ระบุ 2 ลิตร / 60 บ. ไม่พบ 0.0007 0.085 ไม่พบ 18.แพนนา ผลิตโดย แพนนา เอส.พี.เอ. ซูกาโน โอร์เวียโต ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บ.วานิชวัฒนา (กรุงเทพฯ) จำกัด ไบคาร์บอเนต แคลเซียม คลอไรด์ ฟูลออไรด์ แมกนีเซียม ไนเตรด ซัลเฟต น้ำแร่จากแหล่ง แพนนา ทีโอนี 10-3-05246-1-0001 ระบุ 89 บ. ไม่พบ 0.0016 3.383 ไม่พบ 19.โอ เดอ เปอริเอ้ ผลิตโดย Nestle water’s Supply Sud, France นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด จำหน่ายโดย บ.อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติชนิดมีฟองน้อยจากแหล่งเปอริเอ้ 10-3-03439-1-0003 ระบุ 750 มล. / 77 บ. ไม่พบ 0.001 5.63 ไม่พบ 20.ฟิจิ ผลิตโดย บ.เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท ซิลิกา แคลเซียม ไบคาร์บอเนต โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์  โพแทสเซียม ไนเตรท ซัลเฟต   10-3-23251-1-0001 ระบุ 1 ลิตร / 69 บ. 0.0001 0.0075 1.321 ไม่พบ 21.ไอยริน ผลิตโดย บ.วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด  จัดจำหน่ายโดย บ.โชคมหาชัย เบเวอร์เรจ จำกัด บ.เครื่องดื่ม ซันสปาร์ค จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ซัลเฟต ไนเตรท คลอไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งหินเพิง 30-2-02246-2-0018 ระบุ 500 มิลลิตร / 20 บ. ไม่พบ 0.0008 ND ไม่พบ 22.วิทเทล ผลิตโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งบอนน์ ฝรั่งเศส 10-3-03439-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 50.25 บ. ไม่พบ 0.0004 ไม่พบ ไม่พบ 23.วาย อี เอส ผลิตโดย บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวดื จำกัด (มหาชน)   น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขา สโนว์เมาท์เทน 10-3-02152-1-0003 ระบุ 700 มิลลิลิตร / 25 บ. ไม่พบ 0.0012 0.139 ไม่พบ 24.อควอเร่ บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งโป่งแยง 50-2-00850-2-0007 ระบุวันหมดอายุ   0.0002 0.0032 4.654 ไม่พบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point