ฉบับที่ 137 บ้านถูกน้ำท่วม ไม่ใช้เน็ตแต่ถูกเรียกเก็บค่าบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าที่อยู่อาศัยแถบอำเภอบางบัวทองต้องถูกน้ำท่วมอย่างหนัก แทบไม่มีใครอยู่อาศัยได้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆล่ม จึงมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการไม่ให้ซ้ำเติมความทุกข์ของชาวบ้าน แต่ความดีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของทรูไลฟ์พลัส เพราะมีการร้องเรียนว่ายังเรียกเก็บค่าบริการต่อเนื่องเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นคุณชูชัยเป็นผู้บริโภครายหนึ่งที่ร้องเรียนมาว่า ตนและครอบครัวอยู่อาศัยในหมู่บ้านชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนบางกรวยไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อน้ำท่วมใหญ่เข้าอำเภอบางบัวทองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554  ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ จึงได้โทรแจ้งไปยังบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัดว่า บ้านถูกน้ำท่วมอยู่อาศัยไม่ได้จึงไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ ขอให้บริษัทระงับการเรียกเก็บค่าบริการไว้ก่อนเสียงร้องขอของผู้บริโภคคงไร้ความหมาย เจตนารมณ์ของทรูไลฟ์พลัส คงไม่เปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นรักษาสโลแกนของตนไว้เหมือนเดิม “ชีวิตมีแต่บวก” ก็เลยมีการส่งใบแจ้งหนี้บวกเพิ่มให้คุณชูชัยเข้ามาทุกเดือน กลายเป็นหนี้สะสมทบติดต่อกันมาถึง  5 เดือนนับจากวันที่น้ำท่วมเข้าบางบัวทอง จนถึงวันที่ร้องเรียน คุณชูชัยก็ยังไม่สามารถเข้าอาศัยในบ้าน ของตัวเองได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซมต้องไปหาพักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งแทน จึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.)ของ กสทช.อีกทางหนึ่งด้วย เราจึงได้สอบถามความคืบหน้าไปที่ สบท. ทราบว่าหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแห่งนี้ได้มีหนังสือถึงบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัสฯ เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ทรู ได้ปรับลดค่าบริการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงรอบเรียกเก็บในเดือนมีนาคม 2555 เป็นเงิน 3,700 กว่าบาทให้ และได้มีการเริ่มต้นคิดค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภคอีกครั้ง สอบถามคุณชูชัยได้ความว่าตอนนี้ยังอาศัยอยู่ที่คอนโดยังไม่ได้กลับเข้าบ้านเพราะบ้านยังซ่อมไม่เสร็จ จึงอยากจะทำเรื่องยกเลิกการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและขอเงินประกันกล่อง Router คืนไปเลย แต่กล่อง Router หายไปตอนน้ำท่วมหลังทราบความต้องการของผู้บริโภค ทรูจึงทำการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต และแจ้งว่าค่าประกันกล่อง Router อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เรื่องนี้มีความสับสนอยู่สักพัก เพราะจริงๆแล้ว กล่อง Router นั้นไม่มีการทำประกัน แต่เป็นลักษณะของการซื้อขายอุปกรณ์เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตครบ 1 ปี กล่อง Router จะตกเป็นของผู้บริโภค ส่วนเงินที่ติดตามทวงถามคืนนั้นเป็นค่าประกันหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินในลักษณะนี้ จึงได้มีการติดตามทวงถามคืนจากทีโอทีรวมจำนวน 2 เลขหมาย และท้ายที่สุดได้คืนเป็นจำนวนเงินเลขหมายละ 3,000 บาท รวมเป็น 6,000 บาทเรื่องจึงเป็นอันยุติ สวัสดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 135 รถถูกน้ำท่วม ประกันปัดจ่ายอ้างซ่อมรถอู่นอกเครือ

คุณกชนุช มีบ้านอยู่ ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ครั้งน้องน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54 ทั้งครอบครัวสำลักน้ำไปเต็มๆ ไม่เว้นแม้แต่รถเก๋งคันงาม ตราวอลโว่ พยายามพาขึ้นที่สูงก็ไม่รอด โดนเข้าไปถึงเบาะทีแรกคิดว่าจะเบาใจได้เพราะรถคันนี้ทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างทิพยประกันภัย เมื่อน้ำลดในปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 จึงนำรถเข้าศูนย์วอลโว่ รามอินทรา เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย โดยมีพนักงานฝ่ายเคลมประกันของทิพยประกันภัยมาร่วมตรวจสภาพและถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน พร้อมออกใบเคลมประกันให้เบื้องต้น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง พร้อมทำความสะอาดเบาะและพรมที่ถูกน้ำเน่าแช่ขังอยู่นาน เสียค่าใช้จ่ายรวม 12,500 บาทเศษ ส่วนความเสียหายอื่นๆ ที่เหลือ ศูนย์วอลโว่ฯ จะจัดทำใบเสนอราคาส่งให้ทิพยประกันภัยพิจารณาต่อไป“วันรุ่งขึ้น ได้ติดต่อสอบถามไปที่ทิพยประกันภัยเพื่อขอทราบผลการพิจารณา คุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคา ใช้เวลาคุยอยู่นานค่ะ ถึงทราบว่าการทำประกันรถของดิฉันเป็นประกันซ่อมอู่ไม่ใช่ซ่อมห้าง คือนำรถเข้าซ่อมกับศูนย์บริการของวอลโว่ไม่ได้”“ดิฉันต้องการให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึงได้สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาว่า มีอู่ในเครือของบริษัทฯ อยู่ที่ไหนบ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาได้เอ่ยชื่อศูนย์บริการมา 4 แห่ง ดิฉันยังได้ย้ำว่า ขอเป็นอู่ในเครือ ก็ยังได้รับการเสนอชื่อศูนย์เดิม 4  แห่งนั้น ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าเป็นศูนย์ที่เป็นอู่ในเครือ ของบริษัทฯ จึงตัดสินใจนำรถเข้าไปตรวจเช็คและซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 ของบริษัท ทีทีไอ โกลเบิล ออโตโมทีฟ จำกัด”สี่สัปดาห์ต่อมา คุณกชนุชได้ติดต่อไปที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 เพื่อขอรับรถที่ซ่อม จึงได้ทราบข่าวร้ายว่าศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เป็น “อู่ในเครือ” ของบริษัททิพยประกันภัยฯ ตามที่เข้าใจ “ที่ทราบก็เพราะศูนย์สุขุมวิท 66/1 บอกกับดิฉันว่า จะต้องจ่ายส่วนต่างค่าซ่อม 40% ค่ะ” คุณกชนุชบอกสถานการณ์ตอนนั้น คุณกชนุชก็ยังไม่รู้จะทำยังไงก็ต้องสำรองจ่ายไปอีกครั้งเป็นเงิน 55,400 บาทเศษ แต่ก็เข้าใจว่าบริษัทประกันภัยควรต้องรับผิดชอบค่าซ่อมทั้งหมดเพราะคนของประกันภัยเป็นคนบอกเองว่าเป็นอู่ในเครือ แล้วรถก็ยังซ่อมไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะศูนย์แจ้งว่าต้องรออะไหล่บางชิ้นก่อน จนหลังปีใหม่ คุณกชนุชได้นำรถกลับไปซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 อีกครั้ง เพราะศูนย์ฯแจ้งมาว่าอะไหล่ส่งมาถึงแล้ว“หลังจากเอารถเข้าศูนย์ฯ ดิฉันได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าจนถึงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการอะไรให้เลย อ้างว่าบริษัทประกันภัยยังไม่อนุมัติการซ่อม เมื่อสอบถามไปที่บริษัทประกันภัยคุยกับเจ้าหน้าที่คนเดิมก็บอกว่า ส่งแฟกซ์ใบอนุมัติไปที่ศูนย์ฯ แล้ว แต่พอสอบถามที่ศูนย์ฯ ศูนย์ฯ ก็บอกว่ายังไม่ได้รับ”“เมื่อแจ้งไปที่บริษัทประกันภัยว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับ เจ้าหน้าที่คนเดิมของบริษัทประกันภัยก็บอกว่าจะจัดการให้” คุณกชนุชเล่าไปกัดฟันไปด้วยความโกรธและฉุน เพราะจับได้ว่าเจ้าหน้าที่บริษัทประกันตุกติกสามวันหลังจากนั้น คุณกชนุชคาดว่ารถน่าจะซ่อมเสร็จแล้วจึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์ซ่อมอีกครั้ง ปรากฏว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับเอกสารการอนุมัติซ่อมเลย คุณกชนุชจึงติดต่อไปที่บริษัทประกันภัย เจ้าหน้าที่คนเดิมบอกว่า “ได้คุยกันแล้ว ไม่ต้องรอแฟกซ์เอกสารให้ เพราะงานยุ่ง”คุณกชนุช เธอก็อดทนมาก โทรศัพท์กลับไปที่ศูนย์ฯ อีกครั้ง ได้คำตอบจากศูนย์ฯ ว่า ถ้าไม่มีเอกสารยืนยันจากบริษัทประกันภัยก็ไม่สามารถซ่อมได้ เพราะเกรงจะมีปัญหาการเบิกจ่ายในภายหลังคุณกชนุชเธออดทนถึงที่สุดก็สุดทน จึงประกาศวาจาต่อหน้าบานกระจกว่า “เรื่องนี้มันต้องถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแน่!”“ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย มีพฤติกรรมไม่ตรงไปตรงมา ปัดความรับผิดชอบ ด้วยการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน ทำให้ดิฉันเข้าใจผิดในสาระสำคัญ สร้างความเสียหายแก่ดิฉันที่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อม รวมถึงพฤติกรรมบ่ายเบี่ยง ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ จนถึงขณะนี้รถยังไม่ได้ซ่อม ไม่สามารถใช้รถได้ จึงขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ช่วยดำเนินการให้บริษัททิพยประกันภัยรับผิดชอบความเสียหายครั้งนี้ด้วยค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปที่บริษัททิพยประกันภัย แจ้งข้อเรียกร้องของคุณกชนุช ที่ยินดีจะชำระค่าส่วนต่างของค่าซ่อม 40% แต่ขอให้บริษัทชดเชยค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถเป็นเงิน 30,000 บาท ทิพยประกันภัยให้คำตอบกลับมาว่า เรื่องค่าซ่อมน่าจะจัดการได้ แต่อาจติดปัญหาเรื่องค่าชดเชยเยียวยา ขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเจรจากับผู้ร้องอีกครั้งหลังทราบข้อมูล คุณกชนุช จึงแจ้งข้อเสนอใหม่ คือ ไม่ติดใจเรื่องค่าชดเชยแต่ขอให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อม 100% และขอให้คืนเงินค่าซ่อมที่ได้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วจำนวน 67,900 กว่าบาทด้วยทิพยประกันภัยขอเวลาสามวันจะให้คำตอบ วันที่สามตามกำหนด มูลนิธิฯ ได้โทรสอบถามทันที ได้รับคำตอบว่า บริษัทฯ ได้อนุมัติตามที่ผู้ร้องต้องการในที่สุดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ปี 2555 คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงได้มาทำบันทึกข้อตกลงยุติเรื่องที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยบริษัททิพยประกันภัย ยินดีรับผิดชอบคืนค่าซ่อมรถ 67,900 กว่าบาทที่คุณกชนุชสำรองจ่ายไป และรับผิดชอบค่าซ่อมรถตามใบเสนอราคาของศูนย์ฯ ทั้งหมดอีก 98,293 บาทคุณกชนุช ขอบคุณในความรับผิดชอบของบริษัททิพยประกันภัย และขอบคุณความช่วยเหลือของมูลนิธิฯ และรับปากว่า จะช่วยมูลนิธิฯ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกอุปถัมภ์นิตยสารฉลาดซื้อให้กับโรงเรียนจำนวน 19 โรงเรียน เพื่อเป็นมงคลชีวิตและครอบครัวของตนเองต่อไปสาธุ...สาธุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถในขณะอยู่ในประกันมีสิทธิเลือกยี่ห้อมั้ย?

ตอนกำลังเผชิญหน้าน้ำท่วมใหญ่ มีคำแนะนำมากมายเรื่องรถยนต์ หนึ่งในนั้นก็คือ กรณีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ที่นักวิชาการด้านรถยนต์เขาแนะนำว่า หากน้ำท่วมรถไม่มาก แต่แช่น้ำอยู่นานก็ควรถ่ายน้ำมันเครื่องเสียเพื่อให้มั่นใจในการใช้รถต่อไปทีแรกได้ยินเรื่องนี้ก็ไม่ได้คิดอะไร เปลี่ยนก็เปลี่ยน  แต่เมื่อมีน้องคนหนึ่งโทรมาปรึกษาว่า  น้องเพิ่งซื้อรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิมาใช้ได้ประมาณหนึ่งปี   โดยในข้อสัญญาระบุว่ามีการประกันการใช้รถ ระยะทางจำนวน 150,000 กม.ในระยะเวลา 5 ปี  และฟรีค่าบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วย      ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รถยี่ห้อนี้ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องกับศูนย์บริการของมิตซูเองเท่านั้น เพราะหากไปถ่ายที่อื่นหากเกิดอะไรขึ้นอาจเป็นเหตุให้บริษัทมิตซู  อ้างได้ว่าผู้ซื้อผิดกติกาของมิตซู และอาจถูกปฏิเสธการรับประกันดังกล่าวได้  ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาผู้ซื้อก็จะตัดสินใจไปถ่ายน้ำมันเครื่องที่ศูนย์ของมิตซู  (ประหยัดค่าจ้างถ่ายน้ำมันด้วย)น้องคนที่มาปรึกษามีบ้านอยู่ที่สมุทรสงครามสะดวกสุดก็จะถ่ายที่สมุทรสงคราม  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศูนย์มิตซูบิชิสมุทรสงคราม น้องบอกว่าไปถ่ายครั้งแรก เสียค่าใช้จ่ายไปเกือบ 3,000 บาท(ใช้น้ำมันเครื่องเชลล์) น้องก็เลยตรวจสอบสเป็กน้ำมันว่าใช้สเป็กไหน   และมีการไปเทียบราคาเพื่อจะได้ประหยัดในการถ่ายครั้งต่อไป(น้องเขาก็ฉลาดซื้อเหมือนกัน)  น้องบอกว่าน้องได้ซื้อน้ำมันเครื่องของ ปตท.ในสเป็กเดียวกัน  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายราวๆ 1,300  บาทมาให้ศูนย์ฯ เปลี่ยนให้  แต่ศูนย์ฯ ปฏิเสธที่จะถ่ายให้บอกว่าศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ ไม่ให้ลูกค้านำน้ำมันจากภายนอกเข้ามา  และอ้างว่าน้ำมันที่น้องซื้อมาเองไม่ดี  (อ้าวปตท.ว่าไง!) น้องก็ใช้สิทธิผู้บริโภค โดยการโทรหาบริษัทมิตซูส่วนกลางเพื่อสอบถามเรื่องการสงวนสิทธิของศูนย์บริการ ก็ได้รับคำตอบว่าการสงวนสิทธิไม่ใช่นโยบายของมิตซู  แต่เป็นนโยบายของแต่ละศูนย์ฯ เอง ศูนย์ฯ บอกว่างั้นก็ไปถ่ายศูนย์ฯ อื่นล่ะกัน  น้องก็บอกว่าบ้านอยู่ที่นี่ทำไมต้องเสียน้ำมันขับไปถ่ายจังหวัดอื่น  ศูนย์ฯ ก็จะยอมให้น้องคนเดียวเป็นกรณีพิเศษ  ซึ่งน้องได้ตอบปฏิเสธไปเพราะน้องบอกว่าที่น้องเรียกร้องสิทธิไม่ใช่แค่แก้ไขให้คนร้องคนเดียว  แต่ต้องปฏิบัติกับผู้ใช้บริการทุกคนอย่างเสมอภาพไม่ใช่เลือกปฏิบัติน้องถามอีกว่า...การที่ศูนย์ฯ สงวนสิทธิไม่ยอมให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่ ?      เอาละซิ !   คำถามนี้เป็นคำถามที่ท้าทายมาก.... เพราะการกระทำของศูนย์ฯ ผิด พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 4  สิทธิผู้บริโภค อนุ 2 ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกซื้อสินค้าและบริการ   ซึ่งชัดเจนว่าหรือศูนย์บริการมิตซู สมุทรสงคราม ออกระเบียบละเมิดกฎหมาย โดยใช้สัญญามาผูกมัดให้ผู้บริโภคต้องยินยอม  เรื่องนี้ผู้เขียนแนะนำให้น้องไปร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคสมุทรสงคราม(ซึ่งไม่น่าจะทำงานยาก) เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างให้ผู้ประกอบการรายอื่นที่กำลังละเมิดสิทธิผู้บริโภคเช่นนี้อีก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 น้ำท่วมก่อนงานวิวาห์ ขอเรียกค่าจัดงานแต่งคืน

คุณพลวิษฐ์ ได้ฤกษ์หามยามดีกำหนดแต่งงานกับเจ้าสาวในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ เลยเถิดถึงขั้น “เอาไม่อยู่” ในช่วงเวลานั้นพอดีตอนนั้นกำหนดสถานที่จัดงานแต่งไว้ที่หอประชุมกองทัพเรือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยากะว่าได้บรรยากาศสุดๆ  ลงทุนว่าจ้างธุรกิจรับเหมามืออาชีพจัดงานแต่งอย่างเว็ดดิ้ง เซ็นเตอร์มาจัดโต๊ะจีนเลี้ยงแขกเหรื่อในวันงาน วางเงินไปถึง 70,000 บาทเป็นค่ามัดจำการจัดงานยังไม่ทันจะเริ่มทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน มวลน้ำก้อนใหญ่ก็ถาโถมถล่มเข้ากรุงเทพฯ เสียก่อนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม เห็นแววว่าจะ “เอาไม่อยู่” ผู้คนเริ่มทยอยอพยพหนีภัยน้ำท่วมกันจ้าละหวั่น คงไม่มีใครจะมีกะจิตกะใจมางานแต่ง และขืนฝืนจัดงานไปอาจมีเพียงแค่สองบ่าวสาวลอยคอพิสูจน์รักกันอยู่กลางน้ำเป็นแน่ เลยตัดสินใจเลื่อนงานแต่งไปเป็นวันคริสมาสต์วันที่ 25 ธันวาคม 2554 และเปลี่ยนสถานที่หนีน้ำไปที่โรงแรมมณเฑียรแทนเมื่อรู้แน่ว่าจะไม่แต่งงานในวันและสถานที่เดิมด้วยเหตุมีภัยน้ำท่วม คุณพลวิษฐ์จึงมีอีเมล์แจ้งบอกยกเลิกโต๊ะจีนที่ว่าจ้างเว็ดดิ้ง เซ็นเตอร์จัดหาให้ โดยแจ้งบอกเลิกก่อนวันแต่งวันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นเวลา 12 วัน และขอเงินค่ามัดจำ 70,000 บาทคืนคำตอบที่ผู้รับเหมาจัดงานแต่งแจ้งกลับมาคือ คุณพลวิษฐ์เป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัทมีสิทธิยึดเงินดังกล่าวทั้งหมด คุณพลวิษฐ์จึงตั้งคำถาม ถามมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า  การที่จะยกเลิกโต๊ะจีนเพราะมีเหตุคาดว่าน้ำจะท่วมและขอเงินมัดจำคืนในทางกฎหมายนั้น จะมีทางเป็นไปได้หรือไม่ เพราะทางบริษัทบอกแต่เพียงว่าเราเป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องคืนเงินมัดจำ“ผมว่ามันไม่เป็นธรรมกับผมเลยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาสัญญาที่ไปว่าจ้างให้ใครมาจัดงานแต่ง เป็นธุระจัดหาโต๊ะจีนมาเลี้ยงแขกแทน ต้องมีซุ้มดอกไม้ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวยืนถ่ายรูปกับแขกเป็นที่ระลึก มีน้ำแข็งแกะสลักปล่อยให้ละลายเป็นน้ำอยู่ในงาน หรือต้องมีเค้กให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ตัดแบ่งแจกเป็นทานให้กับแขกที่มาร่วมงาน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นตามแต่ถ้ากิจกรรมที่จ้างไปแล้วยังทำไม่แล้วเสร็จ อาจจะทำไปแล้วเพียงบางส่วน เช่น ผู้รับจ้างเริ่มติดต่อประสานงานหาคนมาออกไอเดียว่าจะแกะน้ำแข็งเป็นรูปหมาหรือรูปควายคู่ตั้งไว้กลางงานดี จะทำซุ้มประตูเข้างานแบบไหน เค้กจะเป็นรูปอะไรจะทำกี่ชั้น ซึ่งเป็นงานทางความคิดที่ต้องดำเนินเตรียมการกันเป็นอาทิตย์ก่อนจะทำกันจริงในก่อนวันงานวันหรือสองวัน แต่เมื่อมาถูกผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาเสียกลางคันไม่ว่าเหตุที่เลิกจ้างจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 605ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ สมควรใช้วิธีการเจรจากันเพื่อที่จะตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการไป ไม่ใช่จะไปเจรจาเพื่อขอเงินค่ามัดจำคืนทั้งหมด ตรงนี้ก็จะไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายผู้รับจ้างได้เช่นกัน เพราะเขาอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วในบางส่วนก็เป็นได้ผลของการเจรจาปรากฏว่า คุณพลวิษฐ์ได้รับเงินคืนเป็นจำนวน 49,000 บาท ถูกหักเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับการบอกเลิกสัญญาไป 21,000 บาท เงินที่เสียไปจำนวนนี้หากคุณพลวิษฐ์พอมีเวลาอาจจะยื่นเรียกค่าเสียหายฟ้องรัฐบาลในฐานที่ประกาศว่า “เอาอยู่” แต่ถึงเวลาจริงๆ กลับ “เอาไม่อยู่” ก็ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ตื่นเถิด กกพ.

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่ส่งผลให้มีผู้คนเดือดร้อนเสียหายจำนวนมาก  และที่สำคัญคือมีผู้เสียชีวิต ด้วยเหตุถูกไปช้อตตาย 100 กว่าคน ถือว่ามีคนตายด้วยเหตุนี้มากที่สุดในโลก  พูดถึงไฟฟ้า วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง  เอาตั้งแต่โครงสร้างไฟฟ้าในบ้านเรา  ประเทศไทยเรามี พรบ. กำกับกิจการพลังงาน(ที่กำกับโครงสร้างทั้งราคาและบริหารน้ำมันไม่ได้เพราะเขียนกฎหมายยกเว้นน้ำมันไม่ให้อยู่ใน พรบ.นี้) เรามีกระทรวงพลังงาน(ที่กำลังวุ่นวายกรณีจะลอยตัวราคาแก๊ส) แต่น่ามหัศจรรย์มาก เพราะกระทรวงพลังงานดูแลได้แค่ ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเท่านั้น    ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยจะไม่ให้ว่ามันมหัศจรรย์ได้อย่างไร  ในเมื่อนโยบายกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแล  แต่การบริหารจัดการมหาดไทยดูแล  โอ้ย...ยิ่งคิดยิ่งซับซ้อนเอา...มาเข้าเรื่องที่จะคุยวันนี้ดีกว่า   เรื่องมีอยู่ว่ามีกรณีผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีเหตุอันที่ทำให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ตรงเวลา แล้วถูกตัดไฟ   เมื่อไปจ่ายเงินและขอให้มาต่อมิเตอร์ไฟฟ้า  ผู้ร้องต้องเสียค่าต่อไฟฟ้า 107 บาท(บวกภาษี) ซึ่งเป็นที่รู้กัน แต่ก็มีกรณีซ้อนกรณีเข้ามาอีกนั่นคือ ไฟฟ้ายังไม่โดนตัดแต่ไปจ่ายไฟฟ้าเลยกำหนดก็ถูกเรียกเก็บ 107 บาท เช่นกัน   ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียนว่าเมื่อไฟฟ้ายังไม่ได้ไปตัดไฟ  ก็ยังไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วมาเรียกเก็บเงินเขาค่าอะไร เรื่องนี้มีการร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ(กกพ.)  จนนำไปสู่การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กกพ.และไฟฟ้า  ว่าไฟฟ้าจะเรียกเก็บ 107 บาทได้เฉพาะกรณีมีการตัดไฟฟ้าจริงแล้วเท่านั้น(ไฟฟ้าไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่กลางปี 2554  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น   ฝ่ายปฏิบัติ(การเงิน)ของการไฟฟ้าในหลายที่(ตามข้อมูลร้องเรียน)ยังเก็บเงิน107 บาท โดยไม่สนใจว่าไฟฟ้าจะถูกตัดหรือไม่ตัด   ยึดเพียงวันที่ตามบิลเรียกเก็บเงินเป็นหลักหากเลยวันที่กำหนดเรียกเก็บทันทีป้าอ้วน(คนที่มาร้องเรียนและเป็นคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตด้วย)เล่าให้ฟังว่า “ฉันเถียงเขาว่าฉันออกจากบ้านมาไฟฟ้าที่บ้านฉันยังไม่ถูกตัดเลย ทำไมมาเก็บเงินฉัน  ก็กกพ.มีข้อตกลงกับไฟฟ้าแล้วว่าไฟฟ้ายังไม่ถูกตัดจะไม่เก็บ 107 บาท”   เจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่าไม่สนใจข้อตกลงอะไรทั้งนั้นทำตามหน้าที่ไม่พอใจไปฟ้องร้องเอาผู้เขียนในฐานะประธานผู้ใช้พลังงานเขต  จึงได้ทำหนังสือไปหารือกับ กกพ.ถึงข้อตกลงที่ไฟฟ้าไม่ปฏิบัติตามก็ได้คำตอบว่า กกพ.ได้ทำหนังสือไปถึงการไฟฟ้าแล้ว 3 ฉบับ ในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนเรื่องนี้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง   รายใดร้องเรียนก็จะได้เงินคืนรายใดไม่ร้องก็เสียเงินฟรี  เราก็ทำหนังสือกระตุ้นเข้าไปอีก  เพื่อให้ กกพ.ที่มีหน้าที่กำกับดูแลทำงานตามหน้าที่ ที่ต้องทำ  ไม่ใช่เข้ามานั่งเสวยสุขกันไปวันๆขอแรงพวกเราช่วยกันร้องเรียนและเฝ้าระวังให้องค์กรที่มีหน้าที่ ได้ทำงานตามหน้าที่(กันบ้าง?) คิดถึง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จัง เมื่อไหร่จะคลอดเสียที.. จะได้มาช่วยดันก้น องค์กรเหล่านี้ให้ทำงานได้จริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 ขอคืนเครื่องทำน้ำอุ่นกับพาวเวอร์บาย

วันที่ 28 สิงหาคม 2554 ก่อนน้ำท่วมใหญ่ คุณจำนง สมาชิกฉลาดซื้อ ได้ไปซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่พาวเวอร์บาย สาขารัตนาธิเบศร์คุณจำนงจ่ายเงินไป 3,790 บาท สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น ฮิตาชิ รุ่น HES-35R นำมาให้ช่างติดตั้ง ใช้อาบได้ปกติ แต่พออาบเสร็จ คุณจำนงได้ลองกดปุ่มทดสอบป้องกันไฟรั่วตามวิธีที่คู่มือแนะนำ  ได้ผลเป็นอย่างดีคือ เครื่องตัดการทำงานทันที  แต่พอจะเปิดให้ใช้งานอีกครั้งปรากฏว่า เครื่องดันตัดไฟไม่ทำงานแบบถาวรไปเลย ใช้อาบน้ำอุ่นไม่ได้คุณจำนง นำใบเสร็จรับเงินของพาวเวอร์บายมาดู พลิกไปที่ด้านหลังมีข้อความระบุถึงเงื่อนไขในการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าว่า“รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าที่มีใบเสร็จรับเงินพร้อมกล่องบรรจุ, ใบรับประกัน, คู่มือและอุปกรณ์ต่อพ่วงของสินค้าภายใน 7 วัน นับจากวันซื้อสินค้า (ยกเว้นไม่รับคืนมีดังนี้ : กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, เพจเจอร์, )สินค้าตัวโ ชว์, สินค้าลดล้างสต๊อก, ทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว) และยังมีข้อยกเว้นเพิ่มเติมอีกว่า “ยกเว้นสินค้าที่ใช้แล้ว หรือแกะกล่องไม่รับคืนมีดังนี้ : ตู้เย็น, เทปคาสเซท, แผ่นซีดี, วีดีโอเทป, คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์, ฟิล์ม, ถ่านไฟฉาย, ถ่านชาร์จ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ, เครื่องครัวเล็ก , ผ้าหมึก, อุปกรณ์ทำความสะอาด)เห็นข้อยกเว้นในประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ก็เกือบจะครอบคลุมแทบทุกชนิดอยู่แล้วที่ห้างจะไม่รับคืน ยังดีหน่อยที่อ่านอยู่ 2-3 รอบ ไม่พบเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ในข้อยกเว้นไม่รับคืน“โอ้...โชคดีอะไรเช่นนี้ ที่ยังมีเครื่องทำน้ำอุ่นเหลือรอดให้คืนให้เปลี่ยนได้” คุณจำนงคิดในใจ รีบถอดเครื่องทำน้ำอุ่นนำกลับไปที่ห้างพาวเวอร์บายเพื่อขอเปลี่ยนเครื่องใหม่ในวันรุ่งขึ้นทันที เพราะกลัวจะหลุดเวลาการเปลี่ยนคืนสินค้าภายใน 7 วัน แต่คำตอบที่ได้รับคือ...“เขาไม่เปลี่ยนให้ครับ บอกว่าต้องให้ช่างฮิตาชิมาดูก่อน” แนวทางแก้ไขปัญหาพอทราบคำตอบว่าพาวเวอร์บายจะไม่ยอมเปลี่ยนสินค้าให้ง่ายๆ และกลัวจะหลุดกรอบ 7 วันที่ห้างยอมให้เปลี่ยนหรือคืนสินค้า จึงรีบโทรศัพท์และส่งแฟกซ์รายละเอียดมาให้เราในวันที่ 30 สิงหาคม 2554ประมาณ 10.30 น. ของวันที่ 31 สิงหาคม 2554 เราได้ติดต่อกลับไปที่คุณจำนงพร้อมข้อแนะนำว่า ให้นำสินค้าและใบเสร็จรับเงินไปขอเปลี่ยนสินค้าใหม่อีกครั้งตามเงื่อนไขที่พาวเวอร์บายแสดงเวลา 13.40 น. ของวันที่ 1 กันยายน 2554 คุณจำนงโทรติดต่อกลับมาว่า ได้นำสินค้าไปเปลี่ยนตามคำแนะนำ แต่ทางห้างอ้างว่าจะให้ช่างจากฮิตาชิมาตรวจสอบก่อน ว่าเครื่องเสียด้วยตัวของผลิตภัณฑ์เองหรือเปล่า ถ้าช่างยืนยันว่าการเสียเกิดจาตัวผลิตภัณฑ์เอง ทางห้างยินดีเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ โดยช่างจะมาภายใน 3 วันคุณจำนงเห็นว่าเป็นธรรมดี แต่เกรงว่าจะหลุดกรอบเวลาการยื่นเคลมสินค้าภายใน 7 วัน ด้วยความรอบคอบจึงได้ขอให้ห้างออกใบยืนยันเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ติดต่อขอเปลี่ยนสินค้าก่อน 7 วัน ซึ่งทางห้างได้ออกใบยืนยันให้ ต่อมาวันที่ 3 กันยายน 2554 ช่างจากฮิตาชิได้เข้ามาตรวจสอบเครื่องทำน้ำอุ่น“ช่างทำการเช็คเครื่องโดยขันน๊อต 2 ตัว ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็สามารถใช้ได้เป็นปกติ ช่างห้ามไม่ให้กด(ปุ่มตรวจสอบสวิทช์ป้องกันไฟรั่ว)หลายครั้ง ประมาณ 1 เดือนถึงจะกดครั้งหนึ่ง”เมื่อเห็นว่า ซ่อมแล้วใช้ได้ คุณจำนงเลยตกลงที่จะรับเอาสินค้าตัวเดิมไว้ และเมื่อไปทำการติดตั้งที่บ้านก็ใช้ได้ดีเหมือนเดิมไม่มีปัญหาแต่อย่างใดถือเป็นการตัดสินใจของผู้บริโภคแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำให้เรื่องยุติกันไปแบบน้ำใจงามๆ ของคนไทย แต่ในมุมสิทธิของผู้บริโภคแล้ว แม้สินค้านั้นจะซ่อมได้ แต่เหตุที่ผู้บริโภคต้องเทียวไปเทียวมาพาเครื่องทำน้ำอุ่นมาร้องเรียนอยู่ถึงสองสามรอบกับทางห้างก็นับว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ความรับผิดชอบของห้างในกรณีเช่นนี้จึงถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นและต้องปรับปรุง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ลูกค้าธนาคารออมสิน โวย มาตรการพักชำระหนี้ช่วยภัยน้ำท่วมไม่เป็นจริง

ในช่วงปลายปี 2553 เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ในหลายท้องที่ของประเทศไทยรวมทั้งที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาธนาคารออมสินได้มีการประชาสัมพันธ์แถลงข่าวและส่งจดหมายมาถึงลูกหนี้แจ้งมาตรการบรรเทาผลกระทบของลูกค้าและประชาชน จากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ให้พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าสินเชื่อทุกประเภทเป็นเวลาครึ่งปีคุณบุษกร กู้เงินสินเชื่อเคหะจากธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จ.พระนครศรีอยุธยาเพื่อมาปลูกสร้างบ้านใหม่หลังโดนภัยน้ำท่วมจนบ้านพังอยู่อาศัยไม่ได้ เมื่อเห็นประชาสัมพันธ์นี้เข้าก็คิดว่าดีได้หยุดพักชำระหนี้จะได้นำเงินไปทำอย่างอื่นที่จำเป็นบ้างเธอเข้าทำสัญญาพักชำระหนี้แก้ไขเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เงินสินเชื่อเคหะของธนาคารออมสิน โดยตกลงกันที่จะผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ รวมเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 6 งวด นับแต่เดือนธันวาคม 2553 โดยเข้าใจว่า ธนาคารจะระงับการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้ 6 เดือนแล้ว คุณบุษกรจึงนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาจำนวน 3,700 บาท ซึ่งเป็นอัตราชำระขั้นต่ำตามสัญญา ปรากฏว่า ถูกธนาคารคิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด โดยไม่มีเงินต้นเลย เมื่อสอบถามกับพนักงานของธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม ก็อธิบายให้เข้าใจเป็นที่กระจ่างไม่ได้ว่า ทำไมจึงมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยย้อนหลังกลายเป็นดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้ามา ทำให้ต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเขียนเรื่องร้องเรียนเข้าที่เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org แนวทางแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามไปยังธนาคารออมสิน และได้รับหนังสือชี้แจงจากนายมนตรี   นกอินทร์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า การผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือนนั้น เป็นการหยุดเรื่องส่งชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนเรื่องของการคิดดอกเบี้ยในขณะผ่อนผัน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยสะสมไว้ รอลูกหนี้มาชำระหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาผ่อนผันการพักชำระหนี้เมื่อได้คำชี้แจงมาแบบนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นว่า การให้ข้อมูลโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสิน เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน สับสน และก่อให้เกิดการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ผิดพลาดมีความเสียหายขึ้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่สำคัญ  และเชื่อว่าน่าจะมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกหลายรายที่หลงเชื่อเข้าร่วมโครงการนี้ของธนาคารออมสิน จึงได้จัดเวทีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาผลปรากฏว่า ธนาคารออมสินได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการเร่งด่วน และมีมติอนุมัติที่จะให้ปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ยของ 6 เดือนที่หยุดชำระจำนวนประมาณ 14,000 บาทนั้นออกไปทั้งหมด ส่งผลให้สถานะบัญชีหนี้ของคุณบุษกรกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมอีกครั้ง “ขอบคุณคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภครวมถึงผู้สื่อข่าวทุกๆ ท่านที่ให้การช่วยเหลือมากเลยนะคะ” คุณบุษกรกล่าวสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาที่รวดเร็วของผู้บริหารธนาคารออมสินนั้น มูลนิธิฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง และขอให้ดูแลลูกค้ารายอื่นให้มีมาตรฐานเดียวกันด้วย เพื่อให้สมกับเป็นธนาคารของประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 รำคาญเชฟโรเลตป้ายแดงกินน้ำมันเครื่อง

คุณไพฑูรย์ได้เดินทางเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำปรึกษาปัญหารถยนต์กินน้ำมันเครื่องแต่ศูนย์บริการไม่เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้ จะใช้วิธีซ่อมอย่างเดียวคุณไพฑูรย์เล่าว่า ได้ซื้อรถยนต์เชฟโรเลต โคโลราโด รุ่น 2,500 ซีซี  เพื่อใช้รับจ้างบรรทุกของทั่วไป ตั้งแต่ปี 2548 มีระยะประกันเครื่องยนต์ 100,000 กิโลเมตรหรือ 3 ปี  วิ่งวันละไม่ต่ำกว่า 400 กิโลเมตร ปัญหาที่ทำให้คุณไพฑูรย์หัวเสียกับรถคันนี้มากคือ น้ำมันเครื่องจะหาย ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 5,000 กิโลเมตรแทนที่จะเป็น 10,000 กิโลเมตรเหมือนรถป้ายแดงคันอื่นคุณไพฑูรย์ได้นำรถเข้าศูนย์บริการแจ้งถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ฝ่ายช่างของศูนย์บริการแจ้งว่าเป็นอาการปกติของรถรุ่นนี้ โดยไม่ได้มีการตรวจสอบแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยมากทุกๆ 5,000 กิโลเมตร สุดท้ายทนต่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ไหวจึงเปลี่ยนมาใช้ศูนย์บริการอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งช่างเครื่องของศูนย์บริการแห่งนี้ได้ให้ข้อมูลว่ารถยนต์รุ่นนี้มีอายุการถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 10,000 กิโลเมตรช่างเครื่องจึงได้แนะนำให้เข้าไปตรวจสอบกับศูนย์บริการใหญ่ คุณไพฑูรย์จึงได้ทำตามคำแนะนำโดยได้มีการทดสอบตามขั้นตอน เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ดักไอน้ำมันเครื่อง แล้วให้ขับไปใช้งานเพื่อดูผลทีละหมื่นกิโลเมตรแต่อาการน้ำมันเครื่องหายก็ไม่หายเสียที ทดสอบตามขั้นตอนจนถึงเลขไมล์วิ่งมาที่ 95,947 กิโลเมตร จึงได้มีการนัดให้มาแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ ก็พอดีกับที่คุณไพฑูรย์ต้องใช้รถกว่าจะเข้าศูนย์บริการได้ เลขไมล์ก็เกิน 100,000 กิโลเมตรแล้ว คุณไพฑูรย์เห็นว่า ทางศูนย์บริการนั้นทราบดีว่าเครื่องยนต์มีปัญหาก่อน 100,000 กิโลเมตร แทนที่จะนัดเพื่อให้มาเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่แทนเครื่องยนต์เดิมกลับใช้วิธีแก้ไขเครื่องยนต์แทน จึงมาขอคำปรึกษากับมูลนิธิฯว่า จะเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่เพราะเป็นรถซื้อมาป้ายแดงแล้วเกิดปัญหาเช่นนี้แนวทางแก้ไขปัญหากรณีของความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น สามารถฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ดีการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้น ก็ต่อเมื่อศาลเชื่อว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้าและไม่อาจแก้ไขให้กลับคืนสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ หรือถึงแม้จะแก้ไขแล้วแต่หากนำไปใช้บริโภคแล้วอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของผู้บริโภคได้  หรือพูดง่าย ๆ ก็คือแม้จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาล หากศาลเห็นว่าความชำรุดบกพร่องนั้นไม่เกิดผลอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้บริโภค ศาลก็จะสั่งให้มีการซ่อมสินค้าก่อน คงจะไม่สั่งให้เปลี่ยนสินค้าโดยทันที ซึ่งในกรณีรถของคุณไพฑูรย์นั้นทราบว่าศูนย์บริการได้ดำเนินการซ่อมแก้ไขเครื่องยนต์ให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ และปัญหาน้ำมันเครื่องหายได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วโดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพราะทางศูนย์บริการถือว่ายังอยู่ในระยะรับประกันอยู่  การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่ที่เสียความรู้สึกคือปัญหาถูกปล่อยให้เยิ่นเย้อยาวนานตรงนี้ต้องถือเป็นบทเรียนของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ที่ศูนย์บริการมักใช้วิธีประวิงเวลาจนอายุประกันใกล้หมดหรือหมดไปและหาเหตุที่จะไม่รับผิดชอบต่อลูกค้า ทางแก้ไขคือ การทักท้วงไม่ควรทักท้วงด้วยวาจาอย่างเดียว ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่แรกเมื่อทราบถึงปัญหา และหากทักท้วงล่าช้าก็จะลำบาก อย่างไรก็ดี หากคุณไพฑูรย์มีหลักฐานพบว่าปัญหาน้ำมันเครื่องหายยังปรากฏขึ้นอยู่หลังการซ่อมแซมแล้วก็ยังสามารถนำเรื่องฟ้องต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภคเพื่อขอให้เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ได้เช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 โดนน้ำร้อนลวกบนแอร์เอเซีย

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2552 คุณปาริจฉัตร์ ได้เดินทางไปฮ่องกงกับเพื่อนอีก 5 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นพนักงานฝ่ายขายของบริษัทขายยาและเวชภัณฑ์แห่งหนึ่ง โดยได้ใช้บริการไป-กลับ กับสายการบินไทยแอร์เอเซีย ขาไปเหตุการณ์ปกติ แต่ในขากลับ วันที่ 6 พ.ย. 2552 ออกจากฮ่องกงเวลา 20.50 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 22.50 น.นั้น นับเป็นช่วงเวลาการเดินทางที่คุณปาริจฉัตร์ต้องจดจำไปอีกนานคุณปาริจฉัตร์ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า ในขณะที่มีการเสิร์ฟอาหารบนเครื่อง เมื่อถึงที่นั่งแถวเธอ พนักงานต้อนรับบนเครื่องแจ้งว่า อาหารไม่มีให้เลือกแล้ว เหลือแต่สปาเก็ตตี้กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เธอเลยสั่งบะหมี่ถ้วยปกติและพี่ที่นั่งติดกันสั่งเป็นบะหมี่เกาหลีถ้วยใหญ่“หลังจากได้รับอาหารแล้วดิฉันก็รับประทานตามปกติ โดยวางกระเป๋าบนขาแล้วเอาถาดที่ใช้วางอาหารลงมา แต่ถ้วยบะหมี่ของพี่ที่นั่งข้างๆ นั้น น้ำที่ใส่ให้ในถ้วยเป็นแค่อุ่นน้อยๆ เอามือสัมผัสที่ถ้วยแล้วแทบจะไม่มีความร้อนเลยทำให้บะหมี่ไม่สุก เส้นแข็ง ไม่สามารถรับประทานได้ ดิฉันจึงได้เรียกพนักงานให้นำอาหารไปอุ่นให้”ไม่นานพนักงานก็เดินถือบะหมี่ถ้วยใหญ่มาเสิร์ฟ เมื่อเดินมาถึงทางด้านข้างเยื้องไปทางด้านหลัง พนักงานแจ้งว่า “ได้แล้วค่ะ” แต่ทันใดนั้นบะหมี่ที่มีน้ำร้อนอยู่เต็มถ้วยได้หกรดใส่ตัวคุณปาริจฉัตร์อย่างไม่ทันตั้งตัวโดยเฉพาะบริเวณต้นขาขวา“ตอนนั้นตกใจมากทั้งแสบทั้งร้อน ร้องออกมาเสียงดังมากด้วยความเจ็บปวดสะดุ้งสุดตัวจนลุกขึ้นยืนแต่ยืนไม่ได้เพราะติดเบลท์(belt) ที่คาดไว้” คุณปาริจฉัตร์ได้เล่าต่อว่า พนักงานได้กล่าวคำขอโทษบอกว่าไม่ได้ตั้งใจ ในจังหวะนั้นคุณปาริจฉัตร์รีบปลดเบลท์ ปัดทุกอย่างออกจากตัวแล้ววิ่งไปทางด้านหลังเครื่องโดยมีพนักงานที่ก่อเหตุวิ่งตามมาด้วย และได้ร้องขอน้ำเปล่า น้ำเย็น น้ำแข็ง จากพนักงานแล้วทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในห้องน้ำ และต้องนั่งอยู่ในนั้นตลอดการเดินทางเพราะต้องถอดเสื้อผ้าออกเกือบทั้งหมดเพื่อทำการปฐมพยาบาล และเมื่อมาถึงสนามบินเพื่อนๆ ที่มาด้วยกันจึงได้พาคุณปาริจฉัตร์ไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที และได้มีการร้องเรียนผ่านทางศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชลบุรีและส่งต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลืออีกทีแนวทางแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ครั้งนี้มีรายละเอียดอีกเยอะที่คุณปาริจฉัตร์ได้เล่ามา แต่ต้องขอตัดทอนเอาเฉพาะที่สำคัญ ซึ่งโดยสรุปคือเป็นเรื่องที่พนักงานของสายการบินประมาทขาดความระมัดระวังทำให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ แม้จะไม่หนักหนาสาหัสแต่ก็มีความเสียหายทุกข์ทรมานไม่น้อยที่ต้องโดนน้ำร้อนลวกจนเกือบจะถูกจุดสำคัญเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงแนะนำให้ผู้ร้องรายนี้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน และในวันที่ 27 พ.ย.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายคือคุณปาริจฉัตร์และตัวแทนของบริษัทไทยแอร์เอเซียคือคุณระวีวรรณ สุทธิลักษณ์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ขึ้น โดยในวันดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าผู้บริโภคจะไม่ติดใจเอาความทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป โดยไทยแอร์เอเซียได้เสนอเยียวยาความเสียหายดังนี้1. ชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง จำนวน 2,160.80 บาท2. ชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินคือ กระเป๋าและเสื้อผ้าที่ถูกบะหมี่หกราด จำนวน 5,000 บาท3. ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง ของสายการบินแอร์เอเซีย จำนวน 6 ที่นั่ง(ไม่ระบุวันเดินทางไป-กลับ)4. ให้บริษัทไทยแอร์เอเซียฯ ออกจดหมายขอโทษผู้บริโภคอย่างเป็นทางการต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม 2552 คุณระวีวรรณ สุทธิลักษณ์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท ไทยแอร์เอเซีย ได้ดำเนินการเยียวยาความเสียหายตามที่ได้ตกลงกันไว้ พร้อมกับจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการถึงคุณปาริจฉัตร์ โดยมีสาระที่น่าสนใจดังนี้ทางสายการบินฯ และพนักงานทุกคนขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นกับท่าน และขอเรียนให้ทราบว่าหลังจากได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เข้าร่วมประชุมและหารือถึงสาเหตุและมาตรการต่างๆ ซึ่งทางหลักปฏิบัติโดยทั่วไปนั้น หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น พนักงานต้อนรับจะต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยใช้ชุดอุปกรณ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยาน และจะต้องทำการแจ้งกับผู้ควบคุมการบินประจำเที่ยวบินนั้นโดยทันทีผู้ควบคุมการบินจะทำการติดต่อหอบังคับการ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นเพื่อดำเนินการเตรียมอุปกรณ์เพื่อพร้อมรับผู้โดยสารไปยังโรงพยาบาลทันที ณ เครื่องบินลงจอด ซึ่งสายการบินฯ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นอันดับหนึ่ง พนักงานทุกภาคส่วนได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยานมาโดยตลอดอย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้มีการแจ้งไปยังหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องตามระเบียบปฏิบัติแต่อย่างใด ยังผลให้ท่านผู้โดยสารไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง อันเป็นเหตุมาจากการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด และการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดของพนักงานต้อนรับท่านดังกล่าว ทั้งนี้สายการบินฯ ได้มีการเรียกประชุมแผนกพนักงานต้อนรับเพื่อให้มีการรับทราบ และเพื่อให้พนักงานทุกคนได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไป....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 ถูกเรียกเก็บค่าน้ำผิดประเภท 8 ปี

ป้าจินตนา เป็นผู้เช่าบ้านหลังหนึ่งที่ถนนปางล้อนิคม ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยเปิดบ้านทำเป็นร้านขายอาหารตามสั่งมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 หรือร่วม 8 ปีเศษเข้ามาแล้ว ตั้งแต่เปิดร้านอาหารมาก็แปลกใจตลอดว่าทำไมค่าน้ำถึงแพงจัง ใช้แค่ล้างจานชามอาจจะมากกว่าการใช้น้ำตามบ้านเรือนทั่วไปแต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่เมื่อเอาค่าน้ำของตัวเองไปเทียบกับเพื่อนบ้านแล้วก็ได้แต่สงสัยมาตลอดว่าทำไมค่าน้ำของตัวเองถึงสูงมาก แต่ก็ทนจ่ายมาตลอด จนมาถึงเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาก็ถึงจุดแตกหัก เมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำที่คาดว่าน่าจะถูกลงเพราะเป็นช่วงฤดูฝนไม่ต้องดูแลต้นไม้หน้าบ้านแต่ค่าน้ำกลับแพงกว่าเดิม ก้มดูรายละเอียดในใบแจ้งหนี้มันก็ไม่ได้บอกอะไรนอกจากจำนวนเงินค่าน้ำและ 373 ที่ระบุว่าเป็นประเภทการใช้น้ำ ดูแล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะคำแนะนำที่อยู่ด้านหลังใบแจ้งหนี้ให้ความหมายสำหรับตัวเลขของประเภทผู้ใช้น้ำไว้ว่า 1= ที่อยู่อาศัย 2 = ราชการและธุรกิจขนาดเล็ก 3 = รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ 4 = ประเภทพิเศษ ป้าจินตนาจึงถือใบแจ้งหนี้ไปถามกับเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์รับเงินว่าเลข 373 นี่มันคืออะไร ได้รับคำตอบว่า เป็นการเรียกเก็บค่าน้ำประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ ป้าจินตนาก็ตกใจเพราะที่ทำอยู่มันก็แค่ร้านอาหารตามสั่งอย่างเก่งก็แค่ธุรกิจขนาดย่อมเท่านั้นแหละ “ฉันก็ถามเขาไปว่า ใครเป็นคนตัดสินใจแทนเจ้าของบ้านว่าจะให้บ้านนั้นบ้านนี้ไปใช้น้ำประเภทไหน เพราะฉันไม่เคยมาแจ้งเปลี่ยนมาก่อน เข้าใจมาตลอดว่าตัวเองใช้น้ำประเภทบ้านอยู่ แต่เชื่อมั้ยคะ คำตอบที่ได้รับยิ่งทำฉันฉุนเฉียวมากขึ้น เพราะเขาบอกว่า คนจดมาตรน้ำเป็นคนจัดการ”  ป้าจินตนาเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง จึงขอเปลี่ยนประเภทน้ำใช้ไปเป็นธุรกิจขนาดเล็กตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ และขอเรียกร้องเงินค่าน้ำที่ได้จ่ายเกินไปกว่า 8 ปีคืน “ฉันเคยเข้าพบผู้จัดการแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลเพราะบ่ายเบี่ยงไปมาบอกว่าไม่รู้จะทำยังไงได้ ไม่เคยเจอกรณีแบบนี้” ผลการช่วยเหลือของมูลนิธิฯหลังรับเรื่องร้องเรียน ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 มูลนิธิฯ ได้ทำจดหมายส่งถึงผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคและผู้จัดการสำนักงานประปาแม่ฮ่องสอน โดยมีข้อร้องเรียนอยู่ 2 เรื่องคือ 1.ให้ชดใช้ค่าเสียหายหากตรวจสอบพบแล้วว่าเป็นความผิดพลาดของการประปาแม่ฮ่องสอน 2. ห้แก้ไขหรือชี้แจงรายละเอียดของตัวเลขผู้ใช้น้ำแต่ละประเภทที่ทำให้ผู้ใช้น้ำเกิดความสับสน ปรากฏว่า สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอนได้เรียกป้าจินตนาไปเจรจาโดยบอกว่าจะให้เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้น้ำให้โดยพลการนั้นรับผิดชอบด้วยการจ่ายเงินคืนให้ 3,000 บาทและขอให้ยุติเรื่อง ป้าจินตนาไม่ยินยอมเพราะเข้าใจว่าความเสียหายเกิดขึ้นมาตั้ง 8 ปีแล้วค่าเสียหายน่าจะมากกว่านี้ เมื่อไม่เห็นถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ จึงต้องทำจดหมายถามย้ำไปอีกรอบ ทีนี้ได้เรื่องครับ การประปาส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ได้มีหนังสือชี้แจงถึงผลการดำเนินการตรวจสอบว่า สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอน จัดประเภทผู้ใช้น้ำให้แก่ป้าจินตนาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2551 (เดือนที่ป้าจินตนาทราบเรื่องและขอเปลี่ยนประเภทผู้ใช้น้ำเป็นประเภทธุรกิจขนาดเล็ก) ซึ่งตามข้อเท็จจริงจะต้องเรียกเก็บในประเภทที่ 2 ธุรกิจขนาดเล็ก รหัส 243 ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอนได้เรียกเก็บเป็นประเภท 3 ธุรกิจขนาดใหญ่ รหัส 373 เนื่องจากเข้าใจว่า เป็นสถานบริการเพราะมีเครื่องเสียงไว้บริการให้ลูกค้าได้ร้องเพลง สรุปว่าป้าจินตนาถูกเรียกเก็บค่าน้ำผิดประเภทไป 5 ปี ซึ่งในขณะนี้การประปาส่วนภูมิภาคกำลังพิจารณาคำนวณค่าน้ำประปาที่เก็บเกินเพื่อคืนให้กับป้าจินตนาอยู่ ส่วนเรื่องตัวเลขรหัสแสดงประเภทผู้ใช้น้ำที่ทำให้ผู้บริโภคอาจเกิดความสับสนนั้น การประปาส่วนภูมิภาคได้ชี้แจงว่า ในด้านหน้าใบเสร็จจะเป็นเลขรหัสประเภทผู้ใช้น้ำแสดงไว้ 3 หลัก คือ หลักร้อย มีเลขรหัส 1 ถึง 4 หมายถึง ประเภทผู้ใช้น้ำว่าเป็นประเภทที่อยู่อาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดใหญ่ รหัสนี้ใช้สำหรับการคิดค่าน้ำประปาในอัตราที่ต่างกัน หลักสิบ มีเลขรหัส 1 ถึง 9 หมายถึง ประเภทผู้ใช้น้ำหลักเป็นการแสดงลักษณะการประกอบการของสถานที่ใช้น้ำ หลักหน่วย มีเลขรหัส 1 ถึง 9 หมายถึง ลำดับที่ในประเภทผู้ใช้น้ำย่อย ซึ่งแสดงรายละเอียดของลักษณะการใช้น้ำของสถานที่ประกอบการ ส่วนในด้านหลังใบเสร็จรับเงินนั้นจะบอกเฉพาะความหมายของเลขรหัสหลักร้อยว่าหมายถึงผู้ใช้น้ำประเภทใดเท่านั้น อ่านมาถึงตรงนี้แล้วจึงมาถึงบางอ้อ นี่ถ้าการประปาภูมิภาคไม่ชี้แจง ไม่ยอมบอกความหมายของเลขรหัสให้ได้ทราบกันนี่ ผู้บริโภคก็คงงมจ่ายค่าน้ำไปแบบไม่รู้ทิศรู้ทางแบบป้าจินตนากันเป็นแถวล่ะครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 93 กระติกต้มน้ำร้อน

ฉลาดซื้อฉบับนี้ยังวนเวียนอยู่กับของร้อน ผลทดสอบที่นำมาเสนอสมาชิกคราวนี้คือกระติกต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกบ้าน หรือทุกออฟฟิศต้องมี คราวนี้ฉลาดซื้อส่งกระติกต้มน้ำไฟฟ้าที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีก ในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 9 รุ่น (เราซื้อ 3 ตัวต่อรุ่น โดยแยกซื้อจากห้างต่างๆกัน) เพื่อให้ “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค” เป็นผู้ทำการทดสอบและเขียนบทความประกอบให้กระติกน้ำทั้ง 9 รุ่นได้แก่ 1.    โตชิบา    PLK - 25 AD    2.    โตชิบา     PLK- G22 GS    3.    ชาร์ป    KP- 19S    4.    ชาร์ป    KP- 31BT    5.    พานาโซนิค NC-TWF226.    ซันโย    DKT- 126    7.    Duomo    APA- 2810 B    8.    ฮานาบิชิ    HAP- 525T    9.    มิตซูมารุ    AP- 225K    ตารางแสดงข้อมูลจำเพาะและผลทดสอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 90 ผลทดสอบเตารีด

  *เตารีดที่ทำการทดสอบ ซื้อมาจากตลาดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยการสุ่มซื้อ 8 ยี่ห้อ ยี่ห้อละ 3 ตัว ** การทดสอบการรีด ให้อาสาสมัคร จำนวน 3 คน รีดผ้าดิบขนาด 1 ตารางเมตร โดยเตรียมผ้าดิบให้มีรอยยับมาก ปรับเตารีดให้มีอุณหภูมิและระดับไอน้ำสูงสุด *** ผลการรีดให้ดูรอยยับที่ยังเห็นด้วยตาเปล่าได้ **** การทดสอบปล่อยให้เตารีดตกลงมานั้น ทำขณะเตารีดมีความร้อนสูงสุดและมีกระแสไฟไหลผ่าน หลังจากเตารีดตกลงมากระทบพื้นปูนแล้ว สำรวจดูความเสียหายที่เกิดขึ้น (ทุกรุ่นเกิดรอยบิ่นเล็กๆ ที่บริเวณมุมบนของแผ่นฐาน) หลังจากนั้นตรวจดูการทำงานของเทอร์โมสตัต และตัวเครื่องว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่   Tefal Primagliss 30 Swissplus SPI-140 Philips GC 1710   Panasonic NI-F10 NS Mamaru MR-796 GSD AIKO ETA- 8D Pensonic PSI-1002 SKG SK-1870 ข้อมูลทั่วไป ราคา [บาท] 990   990 795 890 399 550   กำลังไฟฟ้า [วัตต์] 1175-1400 1460 1325 1200 2000 1200 1200 1200 น้ำหนัก [กิโลกรัม] 0.89 0.84 0.79 0.89 1.12 0.60 0.79 1.29 พื้นที่ผิวของแผ่นฐาน [ตารางเซนติเมตร] 190 186 151 172 178 143 172 315 เคลือบเทฟลอนที่แผ่นฐาน เคลือบ ไม่เคลือบ เคลือบ เคลือบ เคลือบ เคลือบ เคลือบ เคลือบ ความยาวสายไฟ [เซนติเมตร] 165 160 168 159 167 159 168 114 ความจุของแทงค์น้ำในเตารีดสูงสุด [มิลลิลิตร] 280 200 250 200 200 180 200 350 อุณหภูมิสูงสุดของแผ่นฐาน [องศาเซลเซียส] 186- 207           194- 246 196- 240 188- 216 236- 258 216- 220 180-230 175-238   การใช้งาน     4 ดาว 2 ดาว 2 ดาวครึ่ง 3 ดาวครึ่ง 4 ดาว 2 ดาว 2 ดาวครึ่ง 3 ดาว การเติมน้ำ สะดวก สะดวก ไม่สะดวก สะดวก สะดวก ไม่สะดวก สะดวก สะดวก การรีด** ผลการรีด*** ลื่นมาก   ผ้าเรียบ ไม่ลื่น   ผ้าไม่เรียบ ลื่น   ผ้าไม่เรียบ ลื่น   ผ้าเรียบ ลื่น   ผ้าเรียบ ไม่ลื่น   ไม่เรียบ ไม่ลื่น   ไม่เรียบ ลื่น   ผ้าเรียบ แท่งดักตะกรัน มี ไม่มี มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี คู่มือการใช้งาน ความน่าใช้ เข้าใจง่าย ภาพประกอบ ใช่ ใช่ มี ไม่ใช่ ไม่ใช่ มี ไม่ใช่ ไม่ใช่ มี ใช่ ใช่ มี ใช่ ใช่ มีน้อย ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่มี น่าใช้ ไม่ใช่ มีน้อย น่าใช้ ไม่ใช่ มีน้อย--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------Tefal Primagliss 30น้ำหนักเบา เติมน้ำสะดวก และบรรจุน้ำได้มาก ทำให้ไม่ต้องเติมน้ำบ่อย หากต้องรีดผ้าเป็นเวลานาน รีดผ้าได้เรียบ และลื่นมาก นอกจากนี้ข้อดีของเตารีดยี่ห้อนี้คือมีแท่งดักตะกรัน สามารถกำจัดตะกรันได้สะดวก Swissplus SPI-140น้ำหนักเบา รีดไม่ลื่น และเมื่อพิจาณาความเรียบของผ้าหลังการรีดแล้วปรากฏว่าผ้าไม่เรียบ ไม่ได้เคลือบเทฟลอนที่แผ่นฐาน มีฟังค์ชันพิเศษ ที่ต่างจากเตารีดยี่ห้ออื่น คือ มีฟังค์ชันรีดแบบแนวตั้ง แต่หลังจากที่ทำการทดสอบการรีดผ้าตามฟังค์ชันดังกล่าว ปรากฏว่าผ้าไม่เรียบเหมือนกับการรีดแบบแนวนอนธรรมดา นอกจากนี้ตัวเตารีดที่เป็นพลาสติกเกิดการแตกหัก ขณะทำการทดสอบวัดอุณหภูมิPhilips GC 1710 และ GC 1711น้ำหนักเบา การเติมน้ำไม่สะดวก และเป็นรุ่นเดียวที่ไม่มีหัวฉีดน้ำ รีดผ้าได้ลื่นดี แต่หลังจากทดสอบการรีดผ้าแล้ว ปรากฏว่าผ้าไม่เรียบ มีแท่งดักตะกรัน และเรื่องหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนก็คือ คู่มือการใช้งาน ที่ไม่สะดวกต่อการใช้Panasonic NI-F10 NSน้ำหนักเบา การเติมน้ำสะดวก รีดผ้าได้ลื่นดี ผ้าเรียบ คู่มือการใช้งานน่าใช้ มีภาพประกอบและเข้าใจง่ายMamaru MR-796 GSDน้ำหนักมาก การเติมน้ำสะดวก รีดผ้าได้ลื่นดี ผ้าเรียบ มีแท่งดักตะกรัน คู่มือการใช้งานน่าใช้และเข้าใจง่าย ถึงแม้ว่าจะมีภาพประกอบน้อยAIKO ETA- 8Dน้ำหนักเบามาก การเติมน้ำไม่สะดวก การรีดผ้าไม่ลื่น และหลังจากทดสอบการรีดผ้า ผ้าไม่เรียบ ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ คู่มือการใช้งานที่ไม่สะดวกต่อการใช้ เตารีดยี่ห้อ AIKO 1 ตัว หลังทดสอบอุณหภูมิสูงสุด เกิดความเสียหายที่แผ่นฐาน คือเทฟลอนมีรอยย่น และนูนออกมา ชัดเจน Pensonic PSI-1002น้ำหนักเบา เติมน้ำสะดวก การรีดผ้าไม่ลื่น และหลังจากทดสอบการรีดผ้า ผ้าไม่เรียบ ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ คู่มือการใช้งานที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานSKG SK-1870น้ำหนักมาก เป็นเตารีดที่มีขนาดใหญ่ การเติมน้ำสะดวก รีดผ้าลื่น และหลังจากทดสอบการรีดผ้า ผ้าเรียบ ข้อด้อยที่เด่นชัดสำหรับเตารีดรุ่นนี้คือ สายไฟสั้นมากทำให้รีดไม่สะดวก ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ คู่มือการใช้งานที่เข้าใจยากและมีภาพประกอบน้อยคำแนะนำทั่วไปในการเลือกซื้อและใช้เตารีดไอน้ำ•    ก่อนซื้อควรลองจับเตารีดดู พิจารณาว่าน้ำหนักเหมาะกับเราหรือไม่ คือไม่หนักไม่เบาเกินไป และคนที่ถนัดมือซ้ายต้องดูด้วยว่าเตารีดเหมาะกับการใช้งานหรือไม่•    พิจารณาว่าช่องเติมน้ำ นั้น สามารถเติมน้ำได้ง่ายหรือไม่ และสามารถเห็นระดับน้ำที่เติมได้ชัดเจน•    ดูความยาวของสายไฟว่ายาวพอหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าต้องรีดผ้าในบริเวณที่ห่างจากเต้าเสียบไฟ เพื่อจะได้ไม่ต้องหาปลั๊กสามตา•    ไม่ควรเติมสารเคมีอื่นใดลงไปในแท็งค์บรรจุน้ำ เพราะอาจทำให้เตารีดชำรุดได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดคราบหรือรอยสกปรกบนผ้าได้เช่นกัน•    ปัจจุบันนี้เตารีดไอน้ำได้ออกแบบและพัฒนา มาเพื่อให้ใช้งานได้กับน้ำประปา และมีวิธีการกำจัดตะกรันด้วยเครื่องดักตะกรัน ถ้าความกระด้างของน้ำสูงมาก ก็ควรผสมน้ำกลั่นลงไปในอัตรา 1: 1 และควรจะทำการกำจัดตะกรันอย่างสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้อเตารีดควรพิจารณาด้วยว่ามีแท่งดักตะกรันหรือไม่

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 165 แชมพู ครีมอาบน้ำ บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ  ที่ว่าด้วยเรื่องการทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ไว้ก่อน แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % ของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐานอะไรไว้ในพวกสินค้าทั่วไป  เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องพิจารณาฉลากให้ดี และเปรียบเทียบน้ำหนักราคากันเอง  และในหลายครั้งการทำแพ็กเก็จใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำหนักเท่าเดิม หรือทำเผื่อไว้เพื่อลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงสักหน่อย แต่ยังคงขายในราคาเดิม กรณีต้นทุนสินค้ามันเพิ่ม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าถูกหลอก ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ฉบับที่แล้วลงเรื่อง “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ฉบับนี้จึงเป็นคิวของ “ยาสระผม” และ “สบู่เหลว”                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 148 น้ำยาบ้วนปาก ตอน 2

ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่มีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากเพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ จากการสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย  2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์  ซึ่งได้นำเสนอไปในฉบับที่แล้ว คราวนี้เรามาต่อกันในกลุ่มที่เหลือ ได้แก่ กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว)  กลุ่มสำหรับเด็ก และ กลุ่มครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน   กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride,  Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิยมใช้ สาร Zinc Chloride, Zinc  Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสาร ออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่   กลุ่มน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ --------------------------------------------------------------------------------------------------   ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine  และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา  http://therabreaththailand.com/article10.php   --------------------------------------------------------------------------------------------------  แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ  ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม  --------------------------------------------------------------------------------------------------   ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก   น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์   ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 น้ำยาบ้วนปาก

  ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่ถ้าดูจากโฆษณาที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ดุเดือดเอาเรื่อง และมีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี หรือไม่ต้องใช้ได้ไหม ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากกันสักครั้ง  เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ น้ำยาบ้วนปากจำเป็นหรือไม่จำเป็น ถ้านำคำถามเรื่อง จำเป็นไม่จำเป็น ไปถามทันตแพทย์ ก็จะได้คำตอบทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น โดยมีปัจจัยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันมาเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ หากคุณแปรงฟันได้ถูกวิธี ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเลย แต่ถ้าคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและแปรงฟันไม่ค่อยถูกวิธี น้ำยาบ้วนปากก็เป็นอะไรที่ช่วยเสริมในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาในช่องปาก ไม่ว่าจะฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีกลิ่นปาก (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนหันมาใช้น้ำยาบ้วนปากนั้น) คุณต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการเหล่านั้นที่ต้นเหตุเสียก่อน เพราะน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย หากไม่รักษาให้ถูกวิธี   ประเภทของน้ำยาบ้วนปาก การสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย  2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์  3) กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) 4) กลุ่มสำหรับเด็ก และ 5) ครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน   กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมที่ได้จากน้ำยาบ้วนปากในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)  ซึ่งไม่เพียงให้กลิ่นหอมและความรู้สึกเย็นสดชื่น ยังมีฤทธิ์ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ด้วย โดยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ได้แก่ Methyl Salicylate, Thymol,  Menthol, Eucalyptol, Peppermint oil,  Clove oil(น้ำมันกานพลู) เป็นต้น น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้ช่วยกลบกลิ่นปากได้ราว 2 - 3 ชั่วโมงหลังใช้(เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค) แต่กลิ่นหอมที่เกิดจากน้ำยาบ้วนปากจะอยู่ได้ไม่นานประมาณ 20 นาทีก็จะจางไป เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์ได้ดีในแอลกอฮอล์ น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้จึงผสมแอลกอฮอล์ในความเข้มข้นที่ 10 - 30 % ซึ่งทำให้เกิดภาวะแสบร้อนที่ไม่พึงประสงค์ หลายคนจึงใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไม่นานเท่าที่คำแนะนำระบุ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงไป  ปัจจุบันจึงมีสูตรไร้แอลกอฮอล์ออกมาเป็นทางเลือก ยาสีฟันในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการลดภาวะฟันผุ   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) มีแอลกอฮอล์ผสม ลิสเตอรีน เฟรช ซิทรัส   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol     20/30 5.20 มี ลิสเตอรีน คูลมินต์   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 5.20 มี มายบาซิน คลูมินต์   250 51 Thymol Menthol Methyl Salicylate Eucalyptol Mentha viridis (spearmint) 15-20/30 4.08 มี มายบาซิน สูตรเข้มข้น(ผสมน้ำก่อนใช้) ออริจินอล   1000 98 Thymol Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate   ผสมน้ำก่อนใช้หรือ ครั้งละ 4 ช้อนชา(20 ซีซี)/30 1.96 ไม่ระบุบนฉลาก* มายบาซิน รสชาเขียวผสมฝรั่ง สูตรโฟร์ ทเวนตี้โฟร์อาวส์   500 99 Thymol Menthol Eucalyptol   Guava Leaf,Green Tea, Aloe Vera Extracts 15-20/30 3.96 มี มายบาซิน เฟรช ออเร็นจ์   750 116 Thymol Eucalyptol Methyl Salicylate Menthol   Natural orange extract 15-20/30 3.09 ไม่ระบุบนฉลาก* ซิสเท็มมา บลูคาริบเบียน   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract     10/30 2.16 มี ซิสเท็มมา กรีนฟอเรสต์   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2.16 ไม่มี ซิสเท็มมา สูตร Quick care   500 100 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก คูลมินท์   250 46 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 3.68 มี เดนทิสเต้   190 139 Menthol Eucalyptol เสจ(Sage Extract) น้ำมันกานพลู(Clove oil)   1 ฝา 7.3 (10 มล.) ไม่มี ดอกบัวคู่ สูตรกานพลู   250 75 Menthol น้ำมันกานพลู(Clove oil) เสจ(Sage Extract) สารสกัดจากชะเอมเทศ(Glycyrrhizic Acid) 15-20/30 6 ไม่มี   หมายเหตุ น้ำยาบ้วนปากที่มี Thymol (ไธมอล) เป็นองค์ประกอบ มักพบว่าเป็นชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมในปริมาณค่อนข้างสูง (เพื่อช่วยในการละลายของไธมอลที่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ)  จึงไม่ควรใช้บ่อยหรือในปริมาณมากกว่าที่กำหนด   และอย่าเผลอกลืนเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกต่าง ๆ ได้   กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ การเติมสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อจุลินทรีย์ลงในน้ำยาบ้วนปากก็เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ในปากลง เนื่องจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกลิ่นปาก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องคือใช้ในระยะเวลาที่ไม่นานพอที่สารจะถูกดูดซับไว้ในช่องปาก ก็แทบไม่มีผลอะไรในการระงับเชื้อ ดังนั้นต้องใช้ให้ตรงตามคำแนะนำ ปัจจุบันสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อที่นิยมใช้  ได้แก่ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย อย่าง ไธมอล หรือ เมนทอล  และกลุ่ม Quaternary ammonium salts  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีและไม่เป็นพิษ ในความเข้มข้นที่ใช้(ไม่เกิน 0.5%) ตัวที่ควรรู้จัก คือ  Cetylpyridinum chloride (เซธิลไพริดิเนียม คลอไรด์) น้ำยาบ้วนปากสูตรไร้แอลกอฮอล์ หรือที่โฆษณาว่า สดชื่นไม่แสบปาก จะนิยมใส่สาร  Cetylpyridinum chloride เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อ แทนการใช้กลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่จะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีหากไม่ใช้แอลกอฮอล์ในการทำละลาย ส่วนข้อเสียของ Cetylpyridinum chloride คือจะให้รสขมติดปาก ดังนั้นในการผลิตจึงต้องมีการใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อช่วยปรับรสชาติ สำหรับฟลูออไรด์ที่ผสมในน้ำยาบ้วนปาก จะมีผลในการป้องกันฟันผุได้จริง แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ อมหรือกลั้วปากให้นานอย่างน้อย 1 นาที และไม่บ้วนน้ำตาม (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารหลังการบ้วนปากเป็นเวลา 30 นาทีด้วย) น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซึ่งเป็นคำเตือนที่ต้องระบุไว้บนฉลากสินค้า ปกติคนเราจะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มและยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์อยู่แล้ว(เพราะเราแปรงฟันทุกวัน) การรับเพิ่มจากน้ำยาบ้วนปากก็มีข้อต้องระวังคือ หากรับฟลูออไรด์มากไป อาจเกิดปัญหาฟันตกกระได้ แต่สำหรับในคนที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น มีฟันผุเกิดขึ้นใหม่ทุกปี ต้องไปอุดฟันบ่อยๆ หรือคนที่กินขนมหวาน น้ำอัดลมมากๆ  การแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างเดียวอาจไม่พอ ก็สามารถเพิ่มน้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ได้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหงือกร่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์จะป้องกันฟันผุที่รากฟันได้ด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ทีธ แอนด์ กัม โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Sodium fluoride 20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) เนเชอรัล กรีนที   250 72 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 5.76 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชที   250 61 Cetylpyridinum chloride Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 4.88 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เกลือสมุนไพร   250 65 Sodium Chloride Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 มี คอลเกต พลักซ์ ไอซ์   250 69 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   20/30 5.52 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ ฟรุ้ตตี้   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชมินท์   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี ฟลูโอคารีล 0% แอลกอฮอล์ พลัส ซีพีซี 500 95 Cetylpyridinum chloride   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10-15/30-60 1.9(10 มล.) ไม่มี ฟลูโอคารีล เอ็กซ์ตร้า เซ็นซิทีฟ พีเอช เฟอร์เฟค   500 105 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate     10-15/60 2.1(10 มล.) มี ฟลูโอคารีล ออร์โธ 123   500 98.50 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10 -15/120     1.97(10 มล.) ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ เฟรชมิ้นต์ 350 99 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 4.2 ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ สเปียร์มิ้นต์ 500 128 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 3.84 ไม่มี ออรัลเมด ชัวร์มิ้นต์ คูล   480 98 Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate Cetylpyridinum chloride Propolis Extract Sodium fluoride   1-2 ฝา 2.04(10 มล.) ไม่มี   3.กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride,  Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ไบรท์ & คลีน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) ทาร์ทาร์ โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี มายบาซิน สูตรทาร์ทาร์คอนโทรล 250 52 Thymol Methyl Salicylate Menthol Spearmint l Eucalyptol Zinc lactate   15-20/30 4.16 มี มายบาซิน สูตรไวท์ โพรเทคชั่น   500 86 Methyl Salicylate Eucalyptol Menthol spearmint peppermint Zinc lactate   15-20/30 3.44 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เนเชอรัล ไวท์   500 119 Tetrapotassium Pyrophosphate Zinc Citrate       20/30 4.76 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ แฟนตาซี   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ พาราไดซ์   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก ทาร์ทาร์ โพรเทคชั่น   250 52 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 4.16 มี อีโมฟอร์ม   240 98 Sodium chloride Potassium Nitrate   1 ฝาผสมน้ำครึ่งแก้ว บ้วนปากวันละ 1-3 ครั้ง 4.08(10 มล.) ไม่มี   4.น้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ฟลูโอคารีล คิดส์ 6+ กรีน (เบนเท็น)   250 59 Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10/60 2.36 ไม่มี ออรัลเมด คิด ทุตตี้ ฟรุตตี้   240 42.50 Sodium fluoride   Sodium monofluorophosphate 1 ฝา 0.04(10 มล.) ไม่มี   5.กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก โทเทิล แคร์   250 61 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride Sodium fluoride ไม่มีคำเตือนว่ามีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 20/30 4.88 มี มายบาซิน โททอล 15   500 99 Thymol Methyl Salicylate Menthol Eucalyptol Zinc lactate Sodium fluoride 15-20/30 3.96 มี ฟลูโอคารีล 40+เนเจอร์แคร์   500 105 Potassium Nitrate Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/60 2.1 มี คอลเกต เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ   400 119 ส่วนผสมของอาร์จินีนและแคลเซียมคาร์บอเนต Sodium fluoride 20/30 5.95 มี ลิสเตอรีน (Listerine) โทเทิลแคร์ เซนซิทีฟ   250 83 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Potassium Nitrate Sodium fluoride     20/30 6.64 มี   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine  และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา  http://therabreaththailand.com/article10.php   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ  ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม   ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก   น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์   ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 รูปแบบของยาชุดลดน้ำหนัก

ความเดิมตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อส่งอาสาสมัครสาวน้อย สาวใหญ่ที่รูปร่าง น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไปรับบริการที่คลินิกลดน้ำหนักหลายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่แพทย์จ่ายยามาให้กินกันเป็นกอบกำ มีอยู่ไม่กี่แห่งที่แพทย์ หรือพนักงานบอกว่า “ไม่อ้วนนะจ๊ะ ยาไม่ต้องกิน ไปออกกำลังกายดีกว่า”   หลังจากได้ยามาแล้ว ก็อยากรู้ต่อว่า ยาที่ได้รับมาเป็นยาอะไรบ้าง ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ หรือไม่ อย่างไร เราจึงส่งตัวอย่างทั้งหมดไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี ตอนนี้ผลทั้งหมดอยู่ในมือแล้ว   สรุปผลสำรวจจากฉลาดซื้อ ฉบับ 95 จากการสังเกตและบันทึกผลของอาสาสมัคร พบว่า 1.แพทย์จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จ่ายยาให้เมื่ออาสาสมัครบอกว่า อยากลดน้ำหนัก ทั้งที่ค่าบีเอ็มไอของอาสาสมัครอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกคน 2.มีการเสนอบริการอื่นๆ เพื่อจูงใจให้ใช้บริการ แต่จะกระทำโดยพนักงานหรือประชาสัมพันธ์ของร้านมากกว่าแพทย์ 3.คลินิกส่วนใหญ่แพทย์จะให้เวลากับอาสาสมัครประมาณ 5-10 นาที คำแนะนำต่างๆ วิธีการใช้ยาหรือการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีอื่น มักกระทำโดยพนักงานของร้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งก่อนและหลังพบแพทย์ 4.พบว่ามีสถานบริการบางแห่งจ่ายยาให้โดยไม่มีการซักประวัติการแพ้ยา หรือแม้แต่วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และมีหนึ่งแห่งได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล ที่จ่ายยาโดยพนักงานไม่ใช่แพทย์ “เมื่ออาสาสมัครเข้าไปในคลินิก มีพนักงานถามว่า มาทำอะไร พอบอกว่า ลดน้ำหนัก ก็บอกให้ชั่งน้ำหนักตัวและวัดส่วนสูง แล้วจัดยาให้เม็ดละ 20 บาท จำนวน 10 เม็ด ระบุหน้าซองยาว่า ยาลดไขมัน (จากการวิเคราะห์พบว่า เป็นยาไซบูทรามีน) โดยไม่ได้พบแพทย์ 5.จากการสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการไปคลินิกเพื่อรับการรักษาเรื่องลดน้ำหนักมีค่าบริการต่ำสุดคือ 190 บาทต่อครั้ง และสูงสุด 1,130 บาทต่อครั้ง 6.ไม่มีการแจ้งชื่อยา (ทั้งชื่อการค้าและชื่อสามัญ) แต่จะระบุเป็นประเภท ได้แก่ ยาลดไขมัน ยาลดไขมันพิเศษ ยาควบคุมความหิว ยาระบาย เป็นต้น 7.อาสาสมัครส่วนใหญ่ จะไม่ได้รับคำอธิบายที่ละเอียดมากพอสำหรับการใช้ยาแต่ละชนิด เช่น ไม่รู้ชื่อยา การทำงานหรือการออกฤทธิ์ของยา ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะสภาวะเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูงหรืออาการทางจิตประสาท การใช้ยาลดน้ำหนักความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง ฯลฯ การลดความอ้วนจึงเท่ากับการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคลง ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งแบบปลอดภัย ค่อยเป็นค่อยไป และแบบเสี่ยงตาย อันตรายสูง วิธีหนึ่งที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง และน่าจะเป็นหนทางสุดท้ายสำหรับการลดน้ำหนักคือ การใช้ยาเข้าช่วยเพื่อให้ “ผู้ป่วยโรคอ้วน” มีน้ำหนักลดลง แต่ทั้งนี้ควรเป็นไปภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะการใช้ยาลดน้ำหนักมีข้อถกเถียงกันมากทั้งในแง่ประสิทธิภาพของยา ระยะเวลาที่ให้การรักษา และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความจริงเกี่ยวกับยาลดน้ำหนัก1.การใช้ยาลดน้ำหนักนั้น ยาเพียงช่วยควบคุมน้ำหนักให้ลดลงและคงที่ แต่ยาไม่ได้รักษาโรคอ้วนให้หายไป ดังนั้นการหยุดยาลดน้ำหนักอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มใหม่ได้ 2.การใช้ยาลดน้ำหนักจะได้ผลดีต้องใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.การใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ แต่ถึงอย่างนั้นก็มักพบว่า แพทย์จำนวนไม่น้อยใช้ยาลดน้ำหนักโดยที่ผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้หรือความจำเป็นที่จะต้องใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน และในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ (ข้อมูล การใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วน (Drug Therapy of Obesity) โดย นพ.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล) ยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ปัจจุบันยาที่นำมาใช้ลดน้ำหนักแบ่งตามการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีขายในประเทศไทย มี 2 ประเภท คือ  ประเภทที่ 1 ลดความอยากอาหารหรือควบคุมความหิว ยาจะไปออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็นสามกลุ่ม คือ (1) ยาที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายกลุ่มแอมเฟตามีน ได้แก่ Phentermine เป็นยากลุ่มที่ควบคุมโดย พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518(2) ยาที่จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510 ได้แก่ Sibutramine (3) ยาที่ไม่มีข้อบ่งใช้เพื่อการลดน้ำหนัก แต่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ไม่อยากอาหาร ได้แก่ Fluoxetine ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510 (เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการในกลุ่มโรคซึมเศร้า)   ประเภทที่ 2 ยาที่มีผลต่อทางเดินอาหาร ยามีผลทำให้ร่างกายไม่ย่อยอาหารประเภทไขมันและไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ Orlistat จัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510  รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักจากการศึกษาเรื่อง การวินิจฉัยและการจ่ายยาลดน้ำหนักในคลินิกลดความอ้วน ของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารอาหารและยา เล่ม 2/2552) พบว่า มีการจ่ายยาเพื่อลดน้ำหนัก 7 กลุ่ม ได้แก่   1.กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง 2.กลุ่มยาระบาย 3.กลุ่มยาขับปัสสาวะ 4.กลุ่มยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะ5.กลุ่มยาไทรอยด์ ฮอร์โมน 6.กลุ่มยาลดอาการใจสั่น หรือลดการเต้นของหัวใจไม่เป็นจังหวะ7.กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ง่วงนอน (ยานอนหลับ)   นอกจากนี้ยังมีการจ่ายอาหารเสริมร่วมด้วย หรือจ่ายอาหารเสริมเพียงอย่างเดียว อาหารเสริมยังรวมถึง วิตามิน หรือสมุนไพร ที่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร แต่ระบุว่า ลดไขมันหรือสารละลายไขมัน เป็นต้น รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักสำรวจโดยวารสารฉลาดซื้อ การศึกษาของ อย.กับทางวารสารฉลาดซื้อจะใกล้เคียงกัน คือ ส่งอาสาสมัครไปรับบริการในคลินิก แต่ของฉลาดซื้อไม่ส่งคนอ้วนหรือคนที่มีค่า บีเอ็มไอมากกว่า 27 เข้าไป เราให้สาวน้อย สาวใหญ่เป็นตัวแทนเข้าไปขอรับบริการ ดังนั้นข้อมูลสำคัญที่เราค้นพบก็คือ คลินิกส่วนใหญ่จ่ายยาลดน้ำหนักให้อาสาสมัคร แม้ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำหนัก และบางรายอายุน้อยกว่า 18 ปี (ยาลดความอ้วนทุกชนิด ไม่มีข้อบ่งใช้ในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานในการเติบโต)โดยยาที่ได้รับกลับมานั้นเมื่อนำไปตรวจวิเคราะห์พบว่า มีรูปแบบการจ่ายยาดังนี้ 1. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว ชนิดเดียว ได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล หัสชัยคลินิก เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่เป็นยาคนละชนิดกัน) และราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยทำงาน) 2. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด ได้แก่ คลินิกผิวหนังแพทย์สันต์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)3. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย ได้แก่ วิยดาคลินิก สาขา 2 สตูล นิติพลคลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นครินทร์คลินิกเวชกรรม สมุทรสงคราม (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)4. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่น) คอสเมส สลิมแคร์ พัทลุง5. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ ราชวิถี คลินิกเวชกรรม กาญจนบุรี 6. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยาลดอาการใจสั่น ได้แก่ วุฒิศักดิ์คลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 7. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยทำงาน)8. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+วิตามินบี1 ได้แก่ คลินิกหมอจริยา ลำปาง9. ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มใด ได้แก่ เมเจอร์เมดิคอลคลินิก กาญจนบุรี และ ราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่น) แทรกตาราง ทำไมต้องจ่ายยาเป็นกอบกำจากรูปแบบที่พบ จะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาหรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญทางห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยทำให้อิ่ม อย่างพวกเส้นใยต่างๆ หรือที่เชื่อกันว่ามีผลต่อการลดน้ำหนัก เช่น ส้มแขกหรือพวกไคโตซาน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้จะมีราคาแพง แต่ไม่มีผลที่ชัดเจนอะไรว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง มีแต่ช่วยเพิ่มในเรื่องราคาค่าบริการที่อาสาสมัครต้องจ่ายมากขึ้น ยาบางชนิดไม่ได้มีข้อบ่งใช้ในการลดน้ำหนัก แต่ก็พบว่ามีการจ่ายให้แก่อาสาสมัคร ได้แก่ ยา Fluoxetine ซึ่งใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอาการซึมเศร้า มีผลข้างเคียงทำให้ไม่อยากอาหารก็จริง แต่ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน กระวนกระวาย คลื่นไส้ และผลข้างเคียงที่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง เช่น การฆ่าตัวตายได้ ส่วนยาระบายเป็นยาที่ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อลดน้ำหนักอยู่แล้ว เพราะเป็นการระบายน้ำออกจากร่างกายแค่นั้น น้ำหนักที่ลดลงจึงไม่ใช่ของจริง แต่อีกสาเหตุที่นิยมจ่ายยาระบายก็คือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ควบคุมความหิว เช่น Sibutramine ที่ทำให้ท้องผูก การจ่ายยาระบายก็เพื่อแก้ท้องผูกนั่นเอง หรือการจ่ายยานอนหลับก็เพื่อลดผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ควบคุมความหิว ที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ เรียกได้ว่า กินยาลดน้ำหนักแล้วจะเกิดผลข้างเคียงอะไร ก็จ่ายยาแก้ควบคู่กันไปเพื่อลดอาการของผลข้างเคียงนั้นๆ เป็นที่มาของการที่ต้องกินยาเป็นกอบเป็นกำนั่นเอง   วิธีการสำรวจของฉลาดซื้อ 1.ส่งอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจคลินิกที่ระบุป้ายหน้าร้านว่าบริการลดน้ำหนัก ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ อ่างทอง สมุทรสงคราม พัทลุงและสตูล 2.อาสาสมัครสาวทุกคนจะมีชุดคำถามสำหรับการเข้าใช้บริการในคลินิกที่เป็นเป้าหมาย อาสาสมัครมีทั้งที่เป็นสาววัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และสาววัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ทุกคนมีน้ำหนักปกติ (ค่าบีเอ็มไอหรือดัชนีมวลกายไม่เกิน 23) 3.ในการสำรวจ อาสาสมัครบางจังหวัดจะเข้ารับบริการในคลินิกเดียวกันทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาของผู้ให้บริการ   เมื่อไรที่ควรใช้ยาลดน้ำหนักการใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วนนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการรักษา ความคุ้มและประโยชน์ที่ได้รับ โดยมีข้อแนะนำดังนี้ 1.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ 2.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 27 แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ   *บีเอ็มไอ (BMI) หรือดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินว่าเรามีน้ำหนักตัวปกติ ผอมไปหรืออ้วนไป โดยสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตรยกกำลังสอง)ตัวเลขที่ได้ออกมาจะสามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่า คุณอยู่ในภาวะใด โดยทั่วไปค่าดัชนีมวลกายปกติมีค่าระหว่าง 18.5 - 22.9 ต่ำกว่านี้ก็ผอมไป มากกว่านี้ก็ถือว่าน้ำหนักเกิน แนะนำสำหรับคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ลองแวะไปที่ http://konthairaipung.anamai.moph.go.th/bmi.html ที่นี่เขาจะมีโปรแกรมคำนวณค่าบีเอ็มไอให้คุณได้อย่างรวดเร็วแค่กรอก น้ำหนักตัวและส่วนสูง พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัว จำนวนตัวอย่างและชนิดของยาที่จ่ายในคลินิกที่ทำสำรวจดาวโหลด file Word ตารางได้ที่นี่ค่ะ  หมายเหตุ * ผลิตภัณฑ์มีลักษณะคล้ายยา เป็นแคปซูล เป็นผง หรือเม็ด แต่ไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญ ทางห้องปฏิบัติการได้ ** อยู่ระหว่างตรวจวิเคราะห์ วิเคราะห์ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานีผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นสำรวจระหว่าง สิงหาคม 2551 – มกราคม 2552 โดยอาสาสมัครวารสารฉลาดซื้อ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ

    ตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เราพบเห็นทั่วไปในย่านชุมชน หลายคนต้องพึ่งพาตู้เหล่านี้เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดในราคาย่อมเยา ธุรกิจตู้น้ำดื่มก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็ทำได้ แค่มีพื้นที่หน้าบ้านบวกกับเงินลงทุนเริ่มต้นอีกไม่เกิน 3 หมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของตู้พวกนี้ได้แล้ว มีทั้งแบบขายขาดให้เจ้าของพื้นที่ดูแลเองและแบบที่มีบริษัทส่งพนักงานมาซ่อมบำรุงให้ แต่น้ำที่ได้จากตู้พวกนี้สะอาดจริงหรือ?   การเก็บตัวอย่างน้ำ 2,025 ตัวอย่างจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555 พบว่าเกือบร้อยละ 40 ไม่ผ่านมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำดื่มเหล่านี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความกระด้างเกินเกณฑ์ และยังพบเชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli  ในน้ำดื่มถึง 319 ตัวอย่างด้วยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลรักษา แล้วการกำกับดูแลธุรกิจหรือการควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์เหล่านี้ดีพอที่จะรับประกันคุณภาพหรือความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคแล้วหรือยัง?เครือข่ายผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง การติดฉลาก คุณลักษณะ แหล่งน้ำที่ใช้ และการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด 855 ตู้จาก 18 เขตของกรุงเทพมหานคร ทีมสำรวจพบว่า ...•    มีเพียงร้อยละ 8.24 ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในการสำรวจ (855 ตู้)  ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ  … นั่นหมายความว่ายังมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอีกมากที่ดำเนินการขายน้ำดื่มโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต (ใบอนุญาตดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าแพงเกินไป!!)•    ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ร้อยละ 76.3      ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ริมถนน บนทางเท้า ร้อยละ 47.7    ไม่มีการยกระดับตู้ให้สูงจากพื้นอย่างน้อย  10 เซนติเมตรร้อยละ 28.3     ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขัง/แหล่งระบายน้ำเสีย (บางครั้งพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญในบริเวณใกล้กัน)ร้อยละ 22    ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ หนู แมลงวัน•    ตู้กดน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการติดฉลากบอกข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน หรือ วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรอง หรือมีแต่ก็ไม่ครบถ้วน•    ทีมสำรวจพบทั้งตู้เก่าและตู้ใหม่ บางตู้ติดตั้งมานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบกิจการ มีสนิม มีรูรั่วซึม มีการผุกร่อน บางตู้ไม่มีฝาปิดช่องจ่ายน้ำ บางตู้มีตะไคร่เกาะที่หัวจ่ายน้ำด้วย•    ร้อยละ 93.8 ของน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มในตู้เหล่านี้เป็นน้ำประปา ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะน้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว•    มีเพียงร้อยละ 58.7 ของตู้เหล่านี้ที่ได้รับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดถังเก็บน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง•    มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญจำนวนไม่น้อยที่ผู้สำรวจไม่สามารถติดตามพบเจ้าของผู้รับผิดชอบได้   -------------------------------------------------------------------------------------------------วิธีการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ข้อเสนอแนะจากทีมสำรวจสภาพภายนอก >> เลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ จุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ ควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดมักทำให้เกิดตะไคร่ภายในหัวบรรจุการควบคุมคุณภาพน้ำ >>  ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำ เมื่อผู้ดูแลตู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรองแล้วจะติดสติ๊กเกอร์แจ้งวัน/เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่การสังเกตกลิ่น สี รส  >>  ผู้บริโภคสามารถตรวจดูสภาพของน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นได้ด้วยการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรเปลี่ยนตู้ใหม่เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองเสียก่อนภาชนะที่นำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ >> ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำดื่ม------------------------------------------------------------------------------------------------กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หากฝ่าฝืนจะเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 28 ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ประกาศดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------ความนิยมของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 40.9 ของน้ำดื่มที่คนไทยบริโภค มาจากน้ำบรรจุขวดและตู้น้ำดื่มยอดเหรียญผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2556 ระบุว่า ร้อยละ 14 ของประชาชนจัดหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 17 ดื่มน้ำฝนที่กักเก็บไว้ ร้อยละ 24 ดื่มน้ำประปา และร้อยละ 32 นิยมดื่มน้ำบรรจุขวด ที่เหลือเป็นน้ำดื่มที่ได้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มคุณภาพ: หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง•    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา >> กำกับดูแลคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522•    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค >> กำกับดูแลการโฆษณาคุณภาพและควบคุมการติดฉลากของเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522•    สำนักอนามัย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร >> ติดตามการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และบังคับใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 •    สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม >> กำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำประเภทต่างๆที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุใดๆ เพียงแต่ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับน้ำบริโภคกำหนดไว้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://plan.dgr.go.th/school/5.pdf------------------------------------------------------------------------------------------------การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดของประชากรอาเซียน    มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและ World Economic Forum จัดทำ Environmental Performance Index (EPI) ขึ้นในปี 2014 จากการสำรวจและประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน 178 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในหัวข้อสำรวจคือการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ซึ่งหมายถึง ประปา แหล่งน้ำบาดาล น้ำฝน เท่านั้น (ไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสั่งซื้อ) เรามาดูกันว่ากลุ่มประเทศอาเซียนทำได้ดีแค่ไหนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  เรียงจากมากไปน้อยตามนี้100        สิงคโปร์ 100         บรูไน 91.94        มาเลเซีย60.55        ไทย59.47        เวียดนาม48.38        ฟิลิปปินส์32.45        อินโดนีเซีย 32.27        เมียนมา 17.34        ลาว 15.52        กัมพูชา ข้อมูลจาก http://epi.yale.edu/epi/issue-ranking/water-and-sanitation  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง” ตอน 2

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ     โดยฉลาดซื้อได้ลงรายชื่อผลิตภัณฑ์สีน้ำมันที่ตรวจพบ ปริมาณตะกั่วเกิน 100 ppm ในฉบับที่ 172 สำหรับฉบับนี้ จะนำเสนอรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm โปรดตรวจดูรายชื่อได้ในหน้าถัดไป     ในส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน แนวโน้มที่ดีขึ้นของฉลากและปริมาณสารตะกั่วเมื่อฉบับที่ 151 กันยายน 2556 ฉลาดซื้อเคยลงข้อมูลเกี่ยวกับฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วไม่ตรงตามจริงว่า มีสีน้ำมัน 29 ตัวอย่างจาก 120 ตัวอย่างที่ติดฉลากปลอดสารตะกั่ว แต่เมื่อพิจารณาปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบในตัวอย่างสีที่มีข้อความบนฉลากดังกล่าว พบว่า มีสีน้ำมัน 17 ตัวอย่างจาก 29 ตัวอย่าง ที่มีสารตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลบนฉลากและปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบไม่ตรงกัน ดังนั้นสำหรับฉบับนี้ฉลาดซื้อจะมาอัพเดตข้อมูลล่าสุดที่มูลนิธิบูรณะนิเวศได้ดำเนินการสำรวจอีกครั้งใน 2558 ผลการทดสอบฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วจากทั้งหมด 100 ตัวอย่าง พบว่ามี 26 ตัวอย่างที่แสดงฉลากโฆษณาว่า สีปลอดสารตะกั่ว ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบแล้วปรากฏว่าพบปริมาณสารตะกั่วอยู่ระหว่าง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 106 ห้องน้ำสำหรับคนพิการ ความจำเป็นที่ถูกมองข้าม

ห้องน้ำ ถือเป็นเรื่องที่หลายๆ คนให้ความสำคัญไม่ว่าจะไปที่ไหน ขอให้รู้ว่ามีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ เวลาปวดหนักปวดเบาก็รู้สึกอุ่นใจ ซึ่งสำหรับผู้พิการเองก็เช่นกัน พวกเขาก็ต้องการรู้สึกอุ่นใจว่าที่ที่พวกเขากำลังจะไปนั้นมีห้องน้ำที่ออกแบบมาสำหรับพวกเขา ห้องน้ำแบบเฉพาะเพื่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำไมต้องมีห้องน้ำเฉพาะสำหรับผู้พิการผู้พิการไม่ต้องการเป็นภาระของสังคม และอยากทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่ด้วยความบกพร่องทางร่างกายทำให้มีหลายกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้พิการไม่สามารถทำได้เหมือนคนปกติ ที่ชัดที่สุดก็เห็นจะเป็นการทำธุระต่างๆ ในห้องน้ำ โดยเฉพาะกับผู้พิการที่ต้องนั่งอยู่บนรถวีลแชร์ ที่ส่วนใหญ่ล้วนมีปัญหาบกพร่องทางร่างกายบางส่วนไม่สามารถขยับได้ ทำให้การพยุงตัวเพื่อขึ้นนั่งบนโถส้วม การใช้อ่างล้างมือ รวมถึงการอาบน้ำในห้องน้ำแบบปกติเป็นไปอย่างยากลำบาก การมีห้องน้ำที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ผู้พิการที่ใช้รถวีลแชร์ทำธุระในห้องน้ำได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ห้องน้ำคนพิการหายากจังเวลาที่ปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำ แต่มองซ้ายมองขวาก็ไม่รู้ว่าสุขาอยู่หนใด หลายๆ คนคงเข้าใจว่าช่างเป็นช่วงเวลาที่แสนทุกข์ทรมานใจ ขนาดคนปกติธรรมดาที่พอจะหาห้องน้ำได้ไม่ยากยังเคยเจอสถานการณ์แบบนี้ แล้วถ้าเป็นคนพิการต้องมาจะเรื่องแบบนี้คงเดาไม่ยากว่าจะรู้สึกแย่แค่ไหน นั้นเป็นเพราะห้องน้ำสำหรับคนพิการในเมืองไทยหาได้ยากเย็นยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร แสดงให้เห็นว่าคนพิการยังคงถูกมองข้ามในสังคม แม้ว่าห้องน้ำคนพิการจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่คนพิการควรได้รับ แต่ในความเป็นจริงทุกวันนี้คนพิการก็ยังต้องพึ่งตัวเองเป็นหลัก เพราะการช่วยเหลือจากสังคมยังมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ห้องน้ำสาธารณะที่คนนิยมเลือกใช้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น ในห้างสรรพสินค้า รองลงมาก็คือ ในร้านอาหาร สถานที่ราชการ โรงแรมและสวนสาธารณะ ซึ่งสถานที่ที่กล่าวมา แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีห้องน้ำสำหรับคนพิการ และบางทีถึงแม้จะมีห้องน้ำสำหรับผู้พิการ แต่ก็อาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะถึงแม้จะติดป้ายบอกว่าเป็น ห้องน้ำคนพิการแต่การออกแบบกลับไม่เอื้ออำนวย อย่างเช่นระหว่างทางไปห้องน้ำกลับเป็นทางที่เป็นขั้นบันได พื้นที่ในห้องน้ำแคบเกินไป หรือปัญหาพื้นๆ ที่คนปกติก็มักเจอกันเป็นประจำอย่าง น้ำไม่ไหล ไม่มีกระดาษทิชชู ห้องน้ำสกปรก ซ้ำร้ายที่สุดคือห้องน้ำถูกล็อคหรือถูกทำให้กลายเป็นห้องเก็บของ “ฉลาดซื้อ” จึงอยากทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเล็กๆ ไปถึงหน่วยงานราชการและเจ้าของกิจการต่างๆ ช่วยสละพื้นที่เล็กๆ ในอาคารสถานที่ที่ท่านดูแล แบ่งมาสร้างเป็นห้องน้ำสำหรับผู้พิการที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยกันสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมของเรา ***ปีนี้รัฐบาลจัดงานใหญ่สำหรับคนพิการขึ้นถึง 2 งาน คือ “มหกรรมต้นแบบคนพิการไทย” และ “งานมหกรรมวันคนพิการสากลประจำปี 2552” ซึ่งน่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คนพิการจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ห้องน้ำคนพิการที่ดีควรมีอะไรบ้าง-ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบบานเลื่อน หรือถ้าเป็นแบบบานพับก็ควรเป็นแบบที่เปิดออกสู่ด้านนอก โดยเปิดออกได้ไม่น้อยกว่า 90 องศา และมีความกว้างของประตูไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ที่สำคัญคือประตูควรเปิดได้ง่าย ใช้แรงไม่มากในการเปิด เหมาะกับผู้พิการที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ -ที่พื้นจากภายนอกสู่ห้อง ควรเป็นพื้นเรียบเสมอกัน ถ้าหากพื้นมีความต่างระดับกันต้องทำทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ด้วย -มีราวจับจากประตูไปถึงยังจุดต่างๆ ทั้งอ่างล้างมือ โถส้วม โดยราวจับต้องมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และต้องมีราวจับทั้งแนวตั้งและแนวนอน ตรงบริเวณข้างอ่างล้างมือทั้ง 2 ฝั่ง และด้านข้างโถส้วม เพื่อช่วยในการพยุงตัว -อ่างล้างมือควรสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 75 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 80 เซนติเมตร โดยขอบอ่างต้องอยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร -โถส้วมควรเป็นชนิดนั่งราบ สูงจากพื้นประมาณ 45 เซนติเมตร มีพนักพิงหลัง และที่ปล่อยน้ำให้เป็นแบบคันโยก -พื้นห้องน้ำควรทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น กันน้ำ และมีระบบระบายน้ำที่ดี -พื้นที่ว่างภายในห้องน้ำควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร เพื่อให้รถวีลแชร์สามารถหมุนกลับตัวได้ -สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องน้ำ ควรอยู่สูงจากพื้นระหว่าง 0.25 - 1.20 เมตร -ติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉิน สำหรับให้ผู้พิการที่อยู่ในห้องน้ำติดต่อมายังบุคคลภายนอก กรณีต้องการความช่วยเหลือ -ก๊อกน้ำเป็นแบบก้านกด ก้านโยกหรือให้ดีที่สุดคือเป็นระบบแบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ-มีอักษรเบรลล์บอกให้ทราบว่านี้คือห้องน้ำสำหรับคนพิการหรือบอกให้ทราบว่าเป็นห้องน้ำหญิงหรือชาย สำหรับห้องน้ำทั่วไป *** ข้อมูลจาก “คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการและคนทุกวัย” สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ “ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2544”

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 175 น้ำพริกแมงดา

แมงดา ที่ใช้ตำน้ำพริกนั้นเป็น แมงดานา ซึ่งเป็นแมลงน้ำชนิดหนึ่ง เป็นชนิดที่พบได้แพร่หลายและนิยมบริโภคกันมาก    แมงดาเป็นแมลงที่นิยมบริโภคกันมากในแถบเอเชียอาคเนย์ ในอาหารไทยสามารถนำไปย่างและปรุงเป็นน้ำพริกได้ คือ "น้ำพริกแมงดา" โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม ตัวเมียทอดก็กินเล่นเพลินปาก แม้แต่ไข่แมงดาย่างหอมๆ ก็กินอร่อยมาก ทุกวันนี้ไทยเราจับกันจนหมดทุ่ง จึงหากินชนิดที่จับตามธรรมชาติได้ยาก ต้องนำเข้าแมลงนี้จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่ไม่นิยมกินเพราะว่า เหม็นฉุน ไม่ถูกจริต จับมาขายไทยดีกว่า ราคาดีมากๆ ตัวหนึ่งหลายบาท แต่อีกไม่กี่ปีแมงดาในพม่า ก็คงหมดเช่นกัน ปัจจุบันจึงมีการส่งเสริมให้เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่    แมงดาตัวผู้ผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนเพื่อเรียกตัวเมีย  แต่สำหรับคนชอบกินแมงดามันเป็นกลิ่นที่ยั่วน้ำลายมาก ทำน้ำพริก ทำกับข้าวหอมน่ากิน แต่ด้วยความที่หายาก เลยมีการผลิตกลิ่นแมงดาเลียนแบบธรรมชาติขึ้นมา นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมทำน้ำพริก       จนมีข่าวให้ตื่นใจกันเมื่อไม่กี่เดือนก่อนว่า มันรุนแรงขนาดทำโฟมละลาย  ซึ่ง อย. ก็ได้ออกมาบอกแล้วว่า เวลาใช้จริงนั้น เขาใช้ในปริมาณที่กำหนด การเติมเพียงเล็กน้อยก็ให้กลิ่นมหาศาล ใครใส่เยอะก็บ้าแล้ว แต่ถ้าเอาไปหยดตรงๆ บนโฟมมันก็ละลายเช่นนั้นเอง เพราะกลิ่นสังเคราะห์นั้นมันมีสารประกอบที่ทำให้โฟมละลายได้ อย่าได้ตกใจไป เลือกใช้ที่มีเลขสารบบ อย. จะปลอดภัย    อนึ่งแมงดานา ไม่ใช่ “แมงดา” ที่เป็นคำเปรียบในเรื่องที่ว่าเกาะผู้หญิงกิน อันนั้นเป็นแมงดาทะเล ที่ตัวผู้ไม่ทำอะไรวันๆ เกาะอยู่แต่บนหลังตัวเมีย อย่าจำสับสนไป

อ่านเพิ่มเติม >