ฉบับที่ 126 “จะเท่ทั้งที ต้องป้องกัน UV ด้วยนะ”

  ผลทดสอบการป้องกันรังสี UV ในแว่นกันแดด เมื่อพูดถึง “แว่นกันแดด” สำหรับบางคนอาจให้ค่าว่าเป็นเพียงแค่เครื่องประดับชิ้นหนึ่ง หรืออาจใส่ไว้เพื่อบ่งบอกรสนิยม เชื่อว่าใส่แล้วจะดูเท่ความหล่อความน่ารักจะเพิ่มขึ้น บางคนก็อาจใช้แว่นกันแดดเพื่อปกปิดอำพรางความรู้สึกทางสายตา กลัวว่าคนอื่นมองตาแล้วจะรู้ความคิดที่อยู่ในใจ หรืออาจใส่เพื่อปลอมตัวแบบที่เคยเห็นบ่อยๆ ในละครทีวี ที่แย่กว่านั้นบางคนก็ใช้แว่นกันแดดแทนที่คาดผม ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิดแต่ก็ดูเป็นการใช้งานที่ผิดหลักการไปสักหน่อย  เพราะความจริงแล้วแว่นกันแดดถือเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเรามาก เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องดวงตาของเราจากอันตรายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ซึ่งเป็นวายร้ายคอยทำลายดวงตาของเรา ทั้งส่งผลเสียต่อจอประสาทตา และเป็นสาเหตุของโรคต้อหิน ดังนั้นการสวมแว่นกันแดดในช่วงเวลาที่ตาของเราต้องปะทะกับแสงแดดจ้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก   แว่นกันแดดที่ดีต้องป้องกันรังสี UV ไม่ใช่มีแค่ความเท่หน้าที่หลักของแว่นกันแดด คือการช่วยป้องกันอันตรายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต (รังสี UV) โดยปกติแล้วแว่นกันแดดที่ดีต้องสามารถป้องกันรังสี ได้ไม่น้อยกว่า 95% (มาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าในสหรัฐฯ The American National Standards Institute (ANSI)) นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแสงที่เกิดจากการสะท้อนบนผิววัตถุที่มีความมันวาว เพราะแสงประเภทนี้ก็ทำอันตรายกับดวงตาของเราด้วยเช่นกัน อาจทำให้ตาพร่ามั่วชั่วขณะหนึ่ง  รังสี UV เป็นรังสีที่มองไม่เห็นและไม่สามารถรับรู้หรือรู้สึกได้ ซึ่งรังสี UV สามารถทำอันตรายกับดวงตาของเรา ทำให้จอประสาทตาเสื่อมและเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจก ต้อหิน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นของเราแย่ลง และอาจรุนแรงถึงขึ้นทำให้ตาบอดสนิทได้เลยทีเดียว   รังสี UV ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนอาจจะมองข้าม เพราะชีวิตประจำวันของเราต้องเสี่ยงกับรังสี UV ยิ่งโดยเฉพาะกับคนที่ต้องทำงานการกลางแดดจ้า คนที่ต้องขับรถ และคนที่ชอบเล่นกีฬากลางแจ้ง   นอกจากนี้แว่นกันแดดยังใช้สวมเพื่อปกปิดความผิดปกติของดวงตา ป้องกันดวงตาของเราจากฝุ่นละอองและลมด้วย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ถ้าเราไม่มีหมวก หรือร่ม เมื่อต้องออกเผชิญแดดจ้า เราควรต้องใส่แว่นกันแดด เพื่อช่วยดูแลปกป้องรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปนานๆ  เรื่องควรรู้ -สภาพอากาศ ฟ้าที่มีเมฆหรือหมอกไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ -ยิ่งอยู่กลางแดดนานก็ยิ่งได้รับรังสี UV มากตามไปด้วย  -ช่วงเวลาที่แสงแดดมีรังสี UV มากคือประมาณ 10.00 น. – 16.00 น. มีมากที่สุดคือช่วงเที่ยงวัน  -ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร (อย่างเช่นประเทศไทยของเรา) มีโอกาสได้รับรังสี UV มากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก   -ยิ่งอยู่ที่สูงโอกาสที่เสี่ยงต่ออันตรายของแสง UV ก็ยิ่งมีมาก  -ความเข้มของสีเลนส์แว่นตากันแดดไม่ได้มีผลกับประสิทธิภาพในการการป้องกันรังสี UV  -แว่นตากันแดดที่ไม่ได้มาตรฐานไม่มีการเคลือบสารกรองหรือป้องกันรังสี UV นอกจากไม่ช่วยลดอันตรายของรังสี UV แล้ว กลับจะยิ่งทำอันตรายกับดวงตาของเรา เพราะเมื่ออยู่ในที่มืดหรือที่แสงสลัวรูม่านตาของเราจะขยายตัวมากขึ้น ยิ่งทำให้รังสี UV เข้าสู่นัยน์ตาเรามากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงแว่นที่มีการหักเหของแสงที่ไม่เหมาะสม เมื่อใช้แล้วเกิดมุมมองภาพที่บิดเบี้ยวหรือผิดเพี้ยนไปจากปกติ ซึ่งทำให้ตาของเราทำงานหนัก อาจทำให้ปวดตาหรือเวียนหัว  -แว่นกันแดดชนิดโพลารอยด์ (polaroid) มีคุณสมบัติช่วยป้องกันแสงที่สะท้อนผ่านเลนส์ ไม่ทำให้สายตาพร่ามั่วและช่วยตัดแสงที่ทำมุม 45 องศาที่เข้ามากระทบ ช่วยตัดแสงไม่ให้เห็นภาพลวงตาที่เกิดจากการหักเหของแสงบนพื้นถนนและช่วยลดความเข้มของแสง ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อตาและประสาทตาเกิดอาการอ่อนล้า  -แต่แว่นตากันแดดถึงดียังไง จะได้รับการรับรองว่ากันแสงหรือรังสี UV ได้มากสักแค่ไหน ก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากการมองที่ดวงอาทิตย์โดยตรง  -การใส่หมวกที่มีปีกช่วยบังทิศทางของแสงที่เข้าหาดวงตา ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอันตรายของรังสี UV ต่อดวงตาของเราได้  -แว่นสายตาใสๆ ธรรมดา ก็สามารถป้องกันรังสี UV ได้ด้วยเช่นกัน หากมีการรับรองจากผู้ผลิตหรือผู้ขายว่าป้องกันได้   ฉลาดซื้อแนะนำวิธีเลือกซื้อแว่นกันแดดการจะทดสอบเรื่องของประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV ในแว่นตากันแดด อาจเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผู้บริโภคอย่างเรา แต่ก็ใช่ว่าเราจะมองข้ามเรื่องคุณภาพของแว่นกันแดดจนสนใจแต่เรื่องรูปทรงความสวยงามเท่านั้น เพราะยังมีวิธีง่ายๆ ในการเลือกซื้อแว่นกันแดดให้ได้คุณภาพที่คุ้มค่า   1.ถ้าหากแว่นกันแดดมีการระบุข้อความว่า “400 UV Protection” ก็น่าจะพอเชื่อใจได้ระดับหนึ่งว่า แว่นกันแดดที่เราจะซื้อมีการป้องกันรังสี UV ที่ระดับสูง (ตัวเลข 400 มาจาก 400 นาโนเมตร ซึ่งเป็นระยะปลอดภัยของรัสี UV หรือเป็นระยะที่ป้องกันรังสี UV ได้ 100% ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ใน ยุโรป อเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ)  2.ถ้ามีสัญลักษ์ CE ซึ่งเป็นตรารับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากยุโรป ก็ถือเป็นการการันตีคุณภาพได้เช่นกัน  3.ให้ลองมองแนวที่เป็นเส้นตรงผ่านเลนส์ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นให้ขยับแว่นเลื่อนเข้าเลื่อนออกช้าๆ เลนส์ที่ดีต้องไม่ทำให้เส้นตรงที่มอง คดหรือเบี้ยวขณะขยับแว่น  4.รูปทรงของแว่นต้องเหมาะกับรูปหน้าของเรา ไม่คับเกินไปจนอึดอัดหรือเจ็บที่ขมับ และก็ต้องไม่หลวมมากจนเกินไปจนตกลงมาอยู่ที่ปลายจมูกทำให้ต้องเลื่อนสายตาลงมาเวลามอง  5.เวลาสวมแว่นกันแดดแล้วต้องให้แสงแดดลอดเข้ามาหาดวงตาน้อยที่สุด ทั้งจากด้านบนและด้านล่าง แต่ก็ไม่ถึงกับใกล้ขนาดใส่แล้วเลนส์มาชิดติดกับขนตา  6.แม้เรื่องราคาและยี่ห้อของแว่นจะไม่ใช่ตัวการันตีเรื่องคุณภาพในการป้องกันรังสี แต่การซื้อกับร้านที่มีที่อยู่แน่นอน ตัวแว่นกันแดดมีรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ผู้ผลิต มีใบรับประกัน ก็น่าจะทำให้ผู้ใช้อย่างเรามั่นใจคุณภาพได้มากกว่า  7.ถ้าหากมีการรับประกันก็ต้องศึกษาให้ดี ยิ่งเป็นแบบที่ราคาแพงยิ่งต้องศึกษาและสอบถามจากร้านค้าหรือพนักงานขาย ดูว่ารับประกันกี่ปี อะไรบ้างที่อยู่ในข่ายรับประกันและไม่รับประกัน เช่น ถ้าซื้อมาใช้แล้วเกิดรอยขีดข่วนที่เลนส์สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมให้ฟรีหรือเปล่า  8.อย่าลืมสอบถามกับพนักงานที่เราซื้อแว่นตากันแดดว่า แว่นที่เราซื้อต้องดูแลรักษายังไง มีขอควรระวังในการใช้อะไรบ้าง  9.แว่นกันแดดเองก็มีกำหนดอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน (ซึ่งปกติจะอยู่ที่ 2 – 3 ปี) เพราะฉะนั้นเวลาซื้อก็ต้องอย่าลืมศึกษาข้อมูลวันที่ผลิตจากคู่มือหรือใบรับรอง หรือไม่ก็สอบถามจากพนักงานขาย -------------------------------------------------------------------------------- สีของเลนส์แว่นกันแดดที่ควรเลือกใช้คือ แดง เทา เขียว น้ำตาล เพราะสีที่เห็นจะเพี้ยนน้อย ซึ่งจะปลอดภัยเวลาต้องสังเกตสัญญาณไฟจราจรขณะขับรถ เลนส์ที่ออกโทนสีเทาและเขียว เป็นเลนส์ที่ให้การมองเห็นเป็นสีจริง ส่วนโทนสีน้ำตาล จะช่วยเพิ่มความคมชัดและการรับรู้ภาพแบบตื้นลึก ซึ่งเหมาะกับนักกีฬา นักบิน คนที่ต้องขับรถเป็นประจำ สำหรับคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การใส่แว่นกันแดดก็ช่วยถนอมสายตาและเพิ่มความคมชัดในการมองได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องเลือกแว่นกันแดดเลนส์สีอ่อนๆ เพราะเมื่อใส่แล้วจะช่วยทำให้การมองเห็นดูนุ่มนวลขึ้น --------------------------------------------------------------------------------   อย่าลืมซื้อแว่นกันแดดป้องกัน UV ให้กับเด็กๆ ด้วยนะรังสี UV ไม่เป็นมิตรกับใครทั้งนั้นไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ แถมเด็กๆ ยังมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากรังสี UV มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะดวงตาของเด็กๆ จะเปิดรับการมองเห็นได้มากกว่าผู้ใหญ่ เลนส์แก้วตาก็ยังมีความชัดเจนกว่า จึงเป็นเรื่องที่พ่อ – แม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้ามสุขภาพตาของเด็กๆ อย่าปล่อยให้ลูกของเราต้องเผชิญแสงจ้าโดยไม่ได้สวมแว่นกันแดด และที่สำคัญเวลาเลือกซื้อแว่นกันแดดให้กับเด็กๆ ก็ต้องดูที่ประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV เป็นอันดับแรก ไม่ใช่ดูแต่รูปลักษณ์ภายนอก เลือกซื้อแต่แบบที่น่ารักกุ๊กกิ๊กซึ่งอาจกันรังสี UV ไม่ได้   ผลทดสอบการป้องกันรังสี UV ในแว่นกันแดด Vans ราคา 700 บาท ค่าการผ่านของแสง                     17% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.7% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.7%     Ray Ban ราคา 6,000 บาท ค่าการผ่านของแสง                     14.5% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.3% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.6%     ไม่มียี่ห้อ (1) ราคา 60 บาท ค่าการผ่านของแสง                     22.5% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.4% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.6%     ไม่มียี่ห้อ (2) ราคา 39 บาท ค่าการผ่านของแสง                     6.0% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.6% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0.2% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.8%     LE Club ราคา 590 บาท ค่าการผ่านของแสง                     11.8% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.3% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.6%     Action Eyewear (1) ราคา 299 บาท ค่าการผ่านของแสง                     13.1% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.7% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    5%     Estoffi ราคา 3,000 บาท ค่าการผ่านของแสง                     15.4% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.5% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.7%     Action Eyewear (2) ราคา 199 บาท ค่าการผ่านของแสง                     20.2% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.9% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.2%     Action Polarised ราคา 399 บาท ค่าการผ่านของแสง                     9.4% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.6% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    5.1%   ********************************************************************************* ผลการทดสอบ เมื่อราคาไม่ใช่ตัวการันตีประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV ฉลาดซื้อได้สุ่มซื้อตัวอย่างแว่นกันแดดจำนวน 9 ตัวอย่าง โดยเน้นที่ความหลากหลายของราคา เพื่อจะดูว่าราคามีผลกับประสิทธิภาพการป้องกันการส่งผ่านของรังสี UV หรือไม่ ซึ่งผลที่ออกมาถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะแว่นกันแดดทุกตัวอย่างที่เราส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการทดสอบนั้น มีค่าการส่งผ่านรังสี UV ที่ 0% คือไม่สามารถผ่านได้เลย เท่ากับว่าสามารถป้องกันรังสี UV ได้ 100% มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ยังมีการส่งผ่านของรังสี UV อยู่บ้างคือ ตัวอย่างที่ไม่มียี่ห้อซึ่งมีราคา 39 บาท ที่รูปร่างลักษณะออกจะเป็นแว่นกันแดดเฉพาะโอกาสไว้ใส่สนุกสนานดูเป็นแว่นแฟชั่นมากกว่า โดยรังสี UV สามารถส่งผ่านได้ 0.2% ซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก   จากเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าในสหรัฐฯ The American National Standards Institute (ANSI) รังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีระยะสั้น 280 – 315 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านไม่ควรเกิน 0.1% ส่วนรังสี UVA ที่ระยะรังสีอยู่ที่ 315 – 380 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านไม่ควรเกิน 0.5% ซึ่งระยะปลอดภัยสูงสุดของรังสี UV อยู่ที่ 400 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านจะเท่ากับ 0% แม้การทดสอบของเราไม่ได้มีการประเภทของรังสี แต่การทดสอบก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจเพราะเกือบทั้งหมดมีค่าการส่งผ่านของรังสี UV ที่ 0%   ผลทดสอบนี้สามารถบอกเราได้ว่าราคาไม่มีผลกับเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV จะถูกจะแพงก็ป้องกันรังสี UV ได้เหมือนกัน ส่วนเรื่องการทดสอบอื่นๆ ทั้งค่าการผ่านของแสง ค่าการสะท้อนของแสง และค่าการสะท้องรังสี UV ก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทุกตัวอย่าง   แต่การทดสอบนี้เป็นเพียงแค่ส่วนของการผ่านของแสงและรังสี UV เท่านั้น ซึ่งแว่นกันแดดที่ดียังมีต้องคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบอีกหลายอย่าง ทั้งความคงทนของเลนส์ กรอบแว่น ขาแว่น ส่วนข้อต่อต่างๆ วัสดุที่ผลิต รวมทั้งเรื่องการออกแบบ และบริการหลังการขาย ซึ่งเรื่องพวกนี้แหละที่มาเป็นเงื่อนไขเรื่องของราคา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 SUNSCREEN UPDATE!

  เพื่อเป็นการลดความสับสนให้กับผู้บริโภคเวลาที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ประกาศกฎใหม่สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์กันแดดที่จะบังคับใช้ภายใน 1 ปี ดังนี้  •  ผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากว่าเป็น ซันสกรีน (Sunscreen) ได้นั้นจะต้องสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี (UVA/UVB)  • ถ้าจะมีคำว่า “Broad spectrum” บนฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีทั้งสองประเภทได้พอๆ กัน (ไม่ใช่ป้องกันรังสียูวีเอได้มากแต่ป้องกันรังสียูวีบีได้เพียงเล็กน้อย เป็นต้น)  • ต่อไปนี้ห้ามใช้คำว่า “กันน้ำ” (Waterproof/ water resistance) หรือ “กันเหงื่อ” (Sweatproof) โดยอนุญาตให้ระบุเป็นเวลาที่ยังมีประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากโดนน้ำได้เท่านั้น อย่างที่เห็นในผลทดสอบ ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่มักลดลงเมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับน้ำ บางยี่ห้อเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น  • ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 จึงจะสามารถอ้างว่า “สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือป้องกันผิวแก่ก่อนวัยได้”  • ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นมีค่า SPF ระหว่าง 2 ถึง 14 จะต้องมีคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ---- ข้องใจ ... ทำไมไม่แบน?กฎเกณฑ์ใหม่ที่ออกมาได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แต่มีอยู่หนึ่งเรื่องที่ยังเป็นที่คาใจของประธานมูลนิธิมะเร็งผิวหนังแห่งอเมริกา  เขาบอกว่ารู้สึกผิดหวังมากที่ อย.สหรัฐยังไม่ประกาศห้ามการอ้างว่ามี SPF สูงกว่า 50 ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจะช่วยป้องกันรังสีอันตรายได้นานขึ้นจริงหรือไม่  เพราะการปล่อยให้มีการขายผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีค่า SPF มากกว่า 50 ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่อาจก่อความระคายเคืองในปริมาณที่มากขึ้น โดยไม่มีผลทางการป้องกันแดดเพิ่มขึ้น --- เพื่อเป็นการตอบรับมาตรการใหม่ในการควบคุมฉลากผลิตภัณฑ์กันแดด ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบจากองค์กรทดสอบสากลมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้เขาเลือกทดสอบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 และ SPF 20 เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้ามาทดสอบจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากฝรั่งเศสและเยอรมนี ดังนั้นเราจึงเลือกมาเฉพาะแบรนด์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราเท่านั้น   เราพบว่า• ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF สูงกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก ยกเว้น อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper  การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire ที่มีค่าการป้องกันรังสี UVB หรือค่า SPF ที่วัดได้จริงเพียง 15 แต่แจ้งบนฉลากว่ามีค่า SPF 20 • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกันรังสี UVB ยกเว้น คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream และ อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme • ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดที่อ้างว่าใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือออร์กานิกนั้นยังไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย เช่น อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme นีเวีย Nivea Sun Pflegende Sonnenmilch SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 23ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 69 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  อีฟ โรเช่ Yves Rocher Protectyl Végétal Feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 66ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5   การ์นิเย่ Garnier Ambre Solaire Ultra-feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 21ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 63 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลอรีอัล L`Oréal Paris Solar Expertise SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 27ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 58 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลาโรช โพเซ่ย์ La Roche-Posay Anthelios Spray für empfindliche Haut SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 56 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2    นีเวีย Nivea Sun Light Feeling Transparentes Spray SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 54 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   นีเวีย Nivea Sun  Sun Spray 20 mediumค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   เอวอน Avon sun medium SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 34ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1    วิชี่ Vichy Capital Soleil SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 25ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 50 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   ชิเซโด Shiseido Sun Protection Lotion SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ลอรีอัล L`Oreal Solar Expertise, icy protection SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 20ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ยูเซอริน Eucerin Sun Protection Sun Spray SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 32 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 61 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 1.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1   วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 37 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 52ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 42 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics, Sonnencreme SPF15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 67 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  3ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 3ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 ตรวจฉลากบะหมี่สำเร็จรูป(อีกสักครั้ง)

  ตามที่สัญญาไว้ในฉบับที่แล้วว่า จะพาท่านผู้อ่านไปดูการให้ข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบซองเดี่ยวชนิดซองต่อซอง ยี่ห้อต่อยี่ห้อของผู้ประกอบการในตลาด ฉลาดซื้อจึงได้เก็บตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปในตลาดเท่าที่หาได้จากห้างบิ๊กซีสาขาสะพานควาย และร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาต่าง ๆ  รวมจำนวน 37 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 รสชาติ แบ่งตามตราสินค้าได้เป็น 12 ยี่ห้อ   ผลการทดสอบผู้ประกอบการกว่าครึ่งแสดงข้อมูลที่ต้องแสดงครบถ้วน ยกเว้นคำแนะนำในการเก็บรักษา (ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปิดช่องไว้ให้ใส่หรือไม่ก็ได้เพราะใช้คำว่า “ถ้ามี”) ที่ผู้ประกอบการหลายตราสินค้าไม่ได้แสดง ได้แก่ ตราสินค้าไวไว ไวไวควิก ซื่อสัตย์ ฮาร์โมนีไลฟ์ และอินโดหมี่   สำหรับการเปรียบเทียบการแสดงข้อมูลรายการต่อรายการนั้นฉลาดซื้อขอนำเสนอใน 2 ประเด็นคือ การแสดงวันผลิต/วันหมดอายุ และฉลากโภชนาการ   วันผลิต/วันหมดอายุพบว่า การแสดงข้อมูลในส่วนของวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การแสดงฉลากค่อนข้างสับสนและมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในผู้ประกอบการแต่ละตราสินค้า เช่น บางรายแสดงทั้งวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อนโดยใช้คำภาษาไทยกำกับให้ดูบนซองแล้วใช้เลขหกหลักโดยไม่มีจุดหรือไม่เว้นวรรค เช่น มาม่า บางรายใช้เลขหกหลักกับจุดคั่นเพื่อให้รู้ว่าเป็นวัน/เดือน/ปี เช่น ยำยำ บางรายใช้เว้นวรรค เช่น อินโดหมี่ บางรายแสดงปีก่อนแล้วค่อยแสดงวันกับเดือน เช่น บะหมี่ผักอบแห้งโมโรเฮยะรสเห็ดหอมตราฮาโมนีไลฟ์  อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า แม้แต่ตราสินค้าเดียวกันแต่ต่างประเภทเส้นก็ยังมีการแสดงรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรสต้มยำกุ้งกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำน้ำข้นตรามาม่า ที่ตัวอย่างแรกแสดงคำว่าควรบริโภคก่อนเป็นภาษาไทย แล้วแสดงเลขหกตัวซึ่งน่าจะเป็น วัน/เดือน/ปี พร้อมด้วยล็อตผลิตเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ขณะที่ตัวอย่างหลังแสดงคำว่า “วันที่ผลิต/วันที่ควรบริโภคก่อน ดูบนซอง” แล้วแสดงคำภาษาอังกฤษว่า MFG ตามด้วยเลขหกหลัก (090511) กับตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข (H22) บรรทัดถัดมาแสดงคำภาษาอังกฤษว่า BBE ตามด้วยเลขหกหลัก (091111)   ผู้ประกอบการที่แสดงแต่วันที่ผลิตอย่างเดียวได้แก่ ตราสินค้าไวไว กับ เอฟเอฟ โดยที่รายแรกส่วนใหญ่แสดงเป็นคำภาษาไทยว่า “ผลิต” ตามด้วยเลขหกหลักส่วน รายหลังแสดงคำว่า “ผลิต (MFG)” ตามด้วยเลขหกตัวมีจุดคั่นเพื่อแสดงวัน/เดือน/ปี ในทางกลับกันตราสินค้าของผู้ประกอบการที่แสดงแต่วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อนเพียงอย่างเดียว ได้แก่ มาม่าประเภทเส้นกึ่งสำเร็จรูปอื่นที่ไม่ใช่เส้นบะหมี่ ซื่อสัตย์ อินโดหมี่ เกษตร และ ฮาโมนีไลฟ์   ข้อเสนอ ควรให้มีการใช้คำเป็นภาษาไทยว่า วันผลิต และ วันหมดอายุ ตามด้วยวัน/เดือน/ปี (ปีที่ใช้ควรเป็นแบบเดียวกัน เลือกเอาอย่างใด อย่างหนึ่งว่าจะใช้ ปี พ.ศ. หรือ ปี ค.ศ.) โดยที่จะมีภาษาอังกฤษเป็นตัวย่อต่อท้ายหรือไม่ก็ได้ และควรแสดงข้อความดังกล่าวไว้ในตำแหน่งเดียวกันบนฉลากในทุกผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสังเกตได้ง่าย   ฉลากโภชนาการ การแสดงฉลากโภชนาการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและความรู้ด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแก่ประชาชน อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและโภชนาการ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้การแสดงฉลากโภชนาการเป็นไปโดยสมัครใจเว้นแต่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือมีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย (ในกรณีอาหารกึ่งสำเร็จรูป) จากการตรวจสอบข้อมูลบนฉลากอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้ง 37 ตัวอย่างพบว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ มีเพียง 1 ใน 3 (13 ตัวอย่าง) ที่แสดงข้อมูลโภชนาการ โดยที่ 6 ตัวอย่างเป็นของผู้ประกอบการตราสินค้ามาม่า (มีการกล่าวอ้างคุณค่าบนฉลากอาหาร)  ขณะที่ผลิตภัณฑ์จำนวน 24 ตัวอย่าง (2 ใน 3) ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ โดยทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ ได้แก่ ตราสินค้ายำยำจัมโบ้และยำยำช้างน้อย ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการเลย ถัดมาคือ ไวไวและไวไวควิก ที่มีเพียงตัวอย่างเดียวที่แสดงข้อมูลโภชนาการ ปิดท้ายด้วยตราสินค้ามาม่า ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ทดสอบ ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ ขณะที่มาม่าบิ๊กแพ็คทั้งหมดไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ   ถ้าหากนำผลิตภัณฑ์มาให้ฉลากในลักษณะสัญญาณไฟจราจร พบว่าเกือบทั้งหมดมีโซเดียมสูง ติดระดับไฟแดง โดยเฉพาะยี่ห้อ เอฟเอฟที่ให้โซเดียมสูงถึง 2 กรัม (2,000 มิลลิกรัม) คิดเป็นร้อยละ 83 ของความต้องการสารอาหารต่อวัน ส่วนตัวอย่างที่มีระดับคะแนนโดยภาพรวมดีที่สุด ได้แก่ บะหมี่ผักอบแห้งโมโรเฮยะรสเห็ดหอมตราฮาโมนีไลฟ์ ที่ได้เกณฑ์คะแนนเป็นสีเขียวเกือบทั้งหมดยกเว้นโซเดียมที่ได้สีแดง  สรุปในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ควรเลือกจากการให้ข้อมูลบนฉลากเป็นสำคัญ ดูวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน ข้อความเฉพาะของวัตถุเจือปนอาหารเมื่อมีการใช้ และข้อมูลโภชนาการ แนะนำให้สนับสนุนผู้ประกอบการที่แสดงวันผลิตและวันหมดอายุ เป็นภาษาไทยบนฉลาก หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูปของผู้ประกอบการตราสินค้าที่ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูปเกินกว่า 1 ซองต่อวันเนื่องจากมีโซเดียมสูงอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ -------------------------------------------------------------------------------- การเก็บสินค้าและเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา เก็บตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากห้างบิ๊กซีสาขาสะพานควาย และร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาต่าง ๆ  รวมจำนวน 37 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 รสชาติ แบ่งตามตราสินค้าได้เป็น 12 ยี่ห้อ  ได้แก่  มาม่า 12 ตัวอย่าง มาม่าบิ๊กแพ็ค 3 ตัวอย่าง ไวไว 6 ตัวอย่าง ไวไวควิก 3 ตัวอย่าง ยำยำจัมโบ้  5 ตัวอย่าง ยำยำช้างน้อย 2 ตัวอย่าง เทสโก้ เกษตร  ฮาร์โมนีไลฟ์ อินโดหมี่ เอฟเอฟ และ ซื่อสัตย์ อย่างละ 1 ตัวอย่าง   พิจารณาตามเกณฑ์การแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่องฉลากจำนวน 15 รายการ ซึ่งเมื่อจัดกลุ่มรวมจะเหลือ 10 รายการ ได้แก่ ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหาร ส่วนประกอบที่สำคัญ ข้อความเฉพาะของวัตถุเจือปนอาหารเมื่อมีการใช้ วันผลิต/วันหมดอายุ คำแนะนำในการเก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน/คำแนะนำในการบริโภค และข้อมูลโภชนาการ (ตามสมัครใจ) --------------------------------------------------------------------------------      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 124 น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%

  เพราะเรารู้ว่าแฟนๆ “ฉลาดซื้อ” เป็นคนที่รักและห่วงใยดูแลสุขภาพ ฉบับนี้เรามีผลทดสอบเครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนรักสุขภาพอย่าง “น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%” มาฝาก  ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์น้ำผักพร้อมดื่มทั้ง 100% และไม่ 100% ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อหลากหลายรสชาติ ตอบรับกระแสรักสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการเลือกดื่มน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มนั้นสะดวกสบาย หาซื้อง่าย เข้ากับยุคสมัยที่ผู้คนหันมาห่วงใยสุขภาพมากขึ้นแต่กับมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แถมบางคนที่ไม่ชอบกินผักก็เลือกที่จะดื่มน้ำผักแทน เพราะกินง่ายกว่า รสชาติก็อร่อยกว่า  ลองมาหาคำตอบกันดูสิว่า น้ำผัก – ผลไม้รวม 100% พร้อมดื่ม จะเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพได้จริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------------------------ น้ำผัก - ผลไม้ถือเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปประเภทหนึ่ง เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผัก – ผลไม้ ในช่วงเวลาที่ผัก – ผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ การแปรรูปน้ำผัก – ผลไม้ยังเป็นช่วยยืดอายุของผักและผลไม้เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ประเภทของน้ำผัก ผลไม้1.น้ำผลไม้เข้มข้น ทำจากน้ำผลไม้แท้ที่ผ่านการต้มเพื่อให้น้ำระเหยออกบางส่วนจนได้เป็นน้ำผลไม้เข้มข้น เวลาดื่มต้องผสมกับน้ำให้เจือจางก่อน ซึ่งน้ำผลไม้เข้มข้นนิยมใช้เป็นส่วนผสมในขนม ไอศครีม และเครื่องดื่มต่างๆ 2.น้ำผัก - ผลไม้พร้อมดื่ม ก็คือน้ำผลไม้บรรจุกล่องหรือขวดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มก็ทั้งแบบที่เป็นน้ำผัก – ผลไม้ 100% และแบบที่ไม่ถึง 100% คือจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 50% ซึ่งคือการนำน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางและแต่งรสชาติเพิ่มเติม ------------------------------------------------------------------------------------------ สรุปผลทดสอบ -ถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่สามารถสบายใจได้ว่าน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ที่เราทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง ปลอดภัยจากการปนเปื้อนและสารเคมีทางการเกษตร -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% แม้จะอ้างว่ามีส่วนประกอบจากน้ำผัก – ผลไม้หลาย 10 ชนิด แต่ถ้าเราลองดูข้อมูลส่วนประกอบจะเห็นว่า เกือบทุกยี่ห้อจะมีน้ำแครอทเป็นส่วนประกอบหลัก หรือกว่า 30% ของส่วนประกอบทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำหน้าที่เพิ่มรสชาติให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล ส่วนน้ำผักอื่นๆ จะผสมมาในสัดส่วนที่น้อยมากๆ ไม่ถึง 10%  -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% บางยี่ห้อมีการเติมวิตามินลงไปด้วย แต่ก็ในปริมาณที่น้อยมาก แถมวิตามินส่วนใหญ่ถูกทำลายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวิตามินซี ทั้งจากการถูกความร้อน แสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศ แม้จะมีการเติมวิตามินลงไป แต่น้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่มก็ให้วิตามินได้ไม่เท่าผัก – ผลไม้สดๆ อยู่ดี  -ปริมาณน้ำตาลจากการทดสอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ 9.27 กรัม / 100 มิลลิลิตร ถ้าคิดปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาจะอยู่ประมาณ 2 ช้อนชากว่าๆ (1 ช้อนชา = 4.2 กรัม) ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าหากเราดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราก็จะได้น้ำตาลที่ประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง  ดังนั้นใครที่คิดจะดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักอาจจะต้องคิดใหม่   ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลและการปนเปื้อนของสารเคมีทางเกษตรในน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ราคา (บาท) ผลการทดสอบ น้ำตาล / 100 มิลลิลิตร  (กรัม) การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ ดอยคำ น้ำผักผลไม้รวม 100% โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป น้ำสับปะรด 50% น้ำแครอท 31% น้ำเสาวรส 7% น้ำมะเขือเทศ 7% น้ำบีทรูท 5% 55 บ. / 1 ลิตร 9.3 ไม่พบ ไม่พบ Chooze ชูส น้ำผักผลไม้รวมผสมผักโขม 100% Universal food public company limited   น้ำองุ่นขาว 43% น้ำสับปะรด 30% น้ำส้ม 20% น้ำแตงกวา 4% น้ำผักโขม 1.3% น้ำแครอท 1.2% น้ำฝักทอง 0.5% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ Big C น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 30% น้ำส้ม 27% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำฟักทอง 5% น้ำสับปะรด 5% น้ำนะนาว 3.97% น้ำมะเขือเทศ 3% น้ำขึ้นฉ่าย 1% วิตามิน ซี 0.03% 45 บ. / 1 ลิตร 11.4 ไม่พบ ไม่พบ ชบา น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 40% น้ำแอปเปิ้ลแดง 17.47% น้ำส้มเขียวหวาน 15% น้ำฟักทอง 10% น้ำสับปะรด 5% น้ำขึ้นฉ่าย 5% น้ำมะเขือเทศ 5% น้ำมะนาว 2.5% วิตามิน ซี 0.03% 51 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ ยูนิฟ น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด น้ำแครอท 40% น้ำสับปะรด 32.3% น้ำส้ม 15% น้ำแอปเปิ้ล 13% น้ำมะเขือเทศ 3.3% น้ำมะนาว 2% น้ำขึ้นฉ่าย 2% น้ำฟักทอง 1% น้ำแครอทม่วง 0.3% น้ำองุ่นแดง 0.1% 52 บ. / 1 ลิตร 9.8 ไม่พบ ไม่พบ ทิปโก้ 100% น้ำผักผลไม้รวม 32 ชนิด บริษัท ทิบโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด   น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม จากน้ำผักผสมน้ำผลไม้รวมเข้มข้น 32 ชนิด 39.4187925% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 30% น้ำแอปเปิ้ลจากน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น 15% น้ำส้มเช้งจากน้ำเช้งเข้มข้น 10% น้ำมะม่วง 3% น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2% ใยอาหาร 0.55% วิตามินซี 0.03% วิตามินเอ 0.0012% วิตามินบี 2 0.000005% วิตามินบี 1 0.0000025% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ V8 เครื่องดื่มน้ำผักผสม ผลิต บริษัท แคมเบลล์ ซุปคัมปานี จำกัด เมืองแคมเด็น รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา นำเข้า บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด น้ำมะเขือเทศ 44.05% น้ำผัก 33.07% เกลือ 0.95% แต่งกลิ่นธรรมชาติ 129 บ. / 964 ซีซี 4.0 ไม่พบ ไม่พบ เซปเป้ ฟอร์วันเดย์ บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด น้ำผักรวม (คื่นฉ่าย, ผักกาดหอม, ผักโขม, บีทรูท, ผักชีฝรั่ง, บล๊อกโคลี่) 30% น้ำแครอทจากน้ำแครอทเข้มข้น 30% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20% น้ำสับปะรดจากน้ำสับปะรดเข้มข้น 20% แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 25 บ. / 350 มิลลิลิตร 10.4 ไม่พบ ไม่พบ Malee veggies 100% บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) น้ำผลไม้รวม 88% (น้ำแอปเปิ้ลแดง, น้ำองุ่นขาว, น้ำแอปเปิ้ลเขียว, น้ำกีวี) น้ำผักรวม 12% (น้ำคื่นฉ่าย, น้ำบร็อกโคลี่, น้ำหน่อไม้ฝรั่ง, น้ำแตงกาว, น้ำผักขม) 49 บ. / 1 ลิตร 10.0 ไม่พบ ไม่พบ Smile น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท นูบูน จำกัด   น้ำผักรวม 40% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำสับปะรด 24% น้ำส้ม 8% น้ำแพชชั่น 3% 98 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ     ฉลาดซื้อแนะนำ1) หากอยากจะดื่มน้ำผัก – ผลไม้ให้ได้คุณค่าและดีกับสุขภาพร่างกายจริงๆ ฉลาดซื้อแนะนำให้คั้นดื่มเอง เพราะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้จะมาทำได้  ถ้าไม่อยากได้น้ำตาลเยอะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้ที่ไม่หวานมากมาทำ แถมน้ำผัก น้ำผลไม้ที่เราคั้นเองปั่นเองก็จะมีทั้งกากใยและเนื้อผัก – ผลไม้เหลืออยู่ด้วย ซึ่งก็คือใยอาหารที่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย 2) คั้นน้ำผักดื่มเอง ต้องล้างทำความสะอาดผักก่อนจะนำมาทำน้ำผัก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่มากับผัก  3) น้ำผักควรเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อหลีกหนีความจำเจเท่านั้น การรับประทานผักสดเป็นประจำมีความจำเป็นต่อร่างกายมากกว่า ถ้าอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานมีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มากพออยู่แล้ว การดื่มน้ำผักก็ไม่มีความจำเป็น ซึ่งราคาของน้ำผักก็สูงกว่าราคาของผักสดธรรมดาที่เราซื้อมาประกอบอาหารค่อนข้างมาก   ----------------------------------------------------------------------------------------- 7,500 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรา ซึ่งธุรกิจน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งมาจากกระแสรักสุขภาพ2,400 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดเฉพาะน้ำผัก – ผลไม้ 100% ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำผัก – ผลไม้ประเภทอื่นๆ  (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2519 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552) -----------------------------------------------------------------------------------------  ทำน้ำผักไว้ดื่มเองก็ได้  หากอยากจะได้น้ำผัก – ผลไม้ที่รสชาติถูกใจและดีต่อสุขภาพจริงๆ รวมทั้งประหยัดด้วย การเลือกผัก – ผลไม้มาคั้นเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (ใครอยากรู้สูตรการทำน้ำผัก – ผลไม้ลองคลิกไปที่ http://www.vegetablejuicerecipes.org/ มีให้เลือกลองทำหลากหลายสูตรหลากหลายเมนู) แต่การทำน้ำผัก – ผลไม้เองต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด คือการล้างทำความสะอาด เพราะผัก – ผลไม้สมัยนี้วางใจไม่ได้เรื่องสารเคมีปนเปื้อน แทนที่จะมีสุขภาพดีอาจต้องมาป่วยเพราะยาฆ่าแมลงก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 ตรวจสอบการให้ข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบบรรจุห่อรวม

  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นเสบียงคู่ครัวคนไทยสมัยใหม่มาอย่างยาวนาน เท่าที่ผู้เขียนทราบก็ราว ๆ ปี พ.ศ. 2514 – 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยมียี่ห้อแรกคือ ซันวา นิตยสารฉลาดซื้อได้เคยลงบทความทดสอบปริมาณโซเดียม (เกลือ และ ผงชูรส) มาแล้ว ครานี้ผมขอนำบทความเกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเสนอผู้อ่านอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราจะไม่พูดถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของ ฉลาก และการให้ข้อมูลบนฉลาก ที่ต้องพูดคุยกันมาก ฉบับนี้เลยขอนำเสนอการเปรียบเทียบฉลากภายนอกของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดก่อน และฉบับหน้าจะพาท่านผู้อ่านไปดูรายละเอียดฉลากชนิดซองต่อซอง ยี่ห้อต่อยี่ห้อของผู้ประกอบการรายต่าง ๆ ในตลาดว่าค่ายใดจะให้ข้อมูลกับผู้บริโภคมากกว่ากัน   ฉลากและความสำคัญคำว่า ฉลาก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง  ส่วนคำว่า ฉลากอาหาร นั้น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระบุว่าหมายรวมถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร  ฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลของผู้บริโภค ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ทราบข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับอาหารนั้น ๆ ในการแสดงข้อมูลบนฉลากอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่องฉลาก ได้กำหนดไว้ว่า “ฉลากของอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้…” สำหรับข้อมูลที่ประกาศฉบับนี้ระบุให้แสดงนั้นมีทั้งหมด 15 รายการ   ในปัจจุบันสินค้าหลายชนิดถูกวางขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และห้างสรรพสินค้าในลักษณะแพ็กชุดใหญ่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มชงชนิดต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขายให้มากขึ้น เพราะการซื้อแบบแพ็กชุดราคาจะถูกลงเมื่อเทียบเป็นจำนวนชิ้น ในกรณีฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์ภายนอกของอาหารชนิดจัดชุดนั้น ตามหลักการควรที่จะมีการแสดงข้อมูลในระดับเดียวกันกับการแสดงข้อมูลที่อยู่ในซองย่อยที่อยู่ภายในซองบรรจุภัณฑ์รวม เพราะไม่เช่นนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์ข้างในเป็นอย่างไร เนื่องจากไม่สามารถแกะแยกห่อออกมาดูได้  ฉลาดซื้อจึงได้ลองใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่พึงแสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลากที่ต้องแสดงจำนวน 4 รายการ ได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก (น้ำหนักสุทธิ-กรัมหรือกิโลกรัม/ ปริมาตรสุทธิ-มิลลิลิตรหรือลิตร) และวันเดือนและปีที่ผลิต วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภค หรือ วันเดือนและปีที่อาหารยังมีคุณภาพดี โดยมีข้อความว่า “ผลิต” “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี มาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณากับตัวที่บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้าชนิดแพ็กชุด  โดยตัวอย่างทดสอบชุดแรก มาจากกรณีร้องเรียนของผู้บริโภครายหนึ่งที่ ร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเมื่อกลางเดือนเมษายน เรื่องซื้อสินค้าหมดอายุเนื่องจากการไม่เห็นวันผลิต – วันหมดอายุ บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ 3 ห่อได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดห่อแบบจัดชุด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำ จัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ผู้ร้องซื้อจากห้างบิ้กซี สาขาสะพานควายเมื่อเดือนมีนาคม   จากการตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้นที่ผู้ร้องส่งมา พบว่าซองภายนอกของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ห่อ ไม่มีการระบุ วันผลิต – วันหมดอายุ แต่มีการระบุวัน เวลา ดังกล่าวไว้ในบรรจุภัณฑ์ย่อยแต่ละซองที่อยู่ภายในซองใหญ่ ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมผู้เขียนจึงได้ไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 จากห้างที่ผู้ร้องไปใช้บริการจำนวน 3 ตัวอย่าง และจากร้านท็อปซูเปอร์มาเก็ต สาขาโรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ จำนวน 5 ตัวอย่าง รวม 8 ตัวอย่างได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิด10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิด 5 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรา ยำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิด 6 ซอง และวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิด 4 ซอง แล้วนำมารวมกับตัวอย่างเก่าที่ผู้ร้องส่งมาให้รวมทั้งหมด 11 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบลักษณะการแสดงข้อมูลขั้นต่ำแก่ผู้บริโภค จำนวน 4 รายการได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก และ วันผลิต – วันหมดอายุ รวมไปถึงตรวจดูลักษณะบรรจุภัณฑ์บนซองภายนอกของผลิตภัณฑ์   ผลการทดสอบพบว่า1. เกือบทุกตัวอย่าง แสดงชื่อสินค้าและตราสินค้าบนซองภายนอกบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าซองที่บรรจุจะเป็นซองใสก็ตาม ยกเว้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ที่ได้แสดงข้อมูลไว้ในห่อภายในของบรรจุภัณฑ์โดยที่ห่อภายนอกเป็นพลาสติกใส สามารถมองทะลุได้อย่างชัดเจน  2. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุบนซองภายนอกของบรรจุภัณฑ์ 3. มีตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่างจาก 11 ตัวอย่างแสดงปริมาณของอาหารไว้บนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ โดยที่ 3 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหลังบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟชนิด 6 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้งชนิด 10 ซอง อีก 4 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ได้แก่ มาม่ารสต้มยำชนิด 10 ซอง มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้นชนิด 6 ซอง และยำยำจัมโบ้รสหมูสับชนิด 10 ซอง  4. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ หากแต่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต วันหมดอายุ หรือวันบริโภคก่อน ภายในบรรจุภัณฑ์ย่อยในทุกผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างที่ไม่สามารถเห็นวันผลิต – วันหมดอายุในผลิตภัณฑ์ด้านในซอง ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากซองรวมบรรจุภัณฑ์มีลักษณะปิดทึบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ได้แก่ รสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิด 6 ซอง  5. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกใสทั้งหมดหรือใสบางส่วนแต่สามารถเห็นได้ครบทุกด้านทั้งซ้าย ขวา หน้า และหลัง บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 3 ตัวอย่าง คือ ซื่อสัตย์รสไก่กระเทียม ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไวไวควิกรสกุ้งนึ่งมะนาว ชนิดจัดชุด 5 ซอง และ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง (2) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบลวดลายด้านหน้าและหลังแต่เปิดพื้นที่ว่างด้านซ้ายและขวาให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดห่อ 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้น ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสหมูสับ ชนิดจัดชุด 10 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง (3) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบด้วยรูปหรือลวดลายปิดหมด 3 ด้านเปิดพื้นที่ใสให้เห็นด้านในเพียงด้านเดียวหรือปิดทั้ง 4 ด้านจนไม่สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ด้านในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มีทั้งหมด 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 10 ห่อ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิดจัดชุด 6 ซอง และไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง   ข้อสังเกต1. ถึงแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นตราสินค้าเดียวกันแต่หากต่างรสกัน ไม่เสมอไปที่การแสดงข้อมูลจะเป็นแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง กับ ไวไวรสต้มยำกุ้งชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ตัวอย่างแรกมีการแสดงข้อมูลเพียงชื่อและตราสินค้าร่วมกับตัวอักษรขนาดใหญ่ว่าจัดชุด 10 ซอง ขณะที่ตัวอย่างหลังมีการแสดงข้อมูลสำคัญทุกอย่างเกือบครบถ้วนรวมไปถึง ข้อมูลโภชนาการด้วย 2. มีเพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีการแสดงคำว่า ผลิต หรือ ควรบริโภคก่อน เป็นภาษาไทยอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง และ ไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง  3. ไม่มีรูปแบบตายตัวของการแสดงข้อมูลสำคัญของผู้ผลิตบนห่อใหญ่ของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน อีกทั้ง เมื่อมองเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ย่อย ยังพบว่าหน่วยปีที่ใช้ก็ยังมีความแตกต่างกัน ขณะที่ส่วนใหญ่ใช้ปี ค.ศ. แต่ก็ยังมีบางรายใช้ปี พ.ศ. ในการอ้างอิง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียมตราซื่อสัตย์ เป็นต้น  สรุป การแสดงฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดอยู่ในระดับไม่น่าพอใจเนื่องจากมีการแสดงข้อมูลสำคัญที่จำเป็นไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน   ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือ มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย เช่น มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดบรรจุ 10 ซอง ระบุว่ามีธาตุไอโอดีน เหล็ก และวิตามินเอ บนฉลากทั้งซองรวมภายนอกและซองเล็กภายในแต่บนซองรวมกลับไม่มีการระบุฉลากโภชนาการไว้ จริงอยู่ว่ามีการแสดงข้อมูลโภชนาการไว้ภายในซองเล็ก และลักษณะซองภายนอกอาจจะมีลักษณะใสมองเห็นด้านในได้บางส่วน แต่การจัดวางบรรจุภัณฑ์ทำให้มองไม่เห็นข้อมูลเหล่านี้  ดังนั้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นี้ชนิดจัดชุด ควรดูที่การแสดงข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ภายนอก หากไม่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต-วันหมดอายุ ที่เห็นได้ชัดเจน ผู้บริโภคไม่น่าจะสนับสนุน ผู้ประกอบการรายนั้นๆ และควรส่งเสริมผู้ประกอบการที่ทำดี ทำฉลากชัดเจนจะดีกว่า   ตารางเปรียบเทียบการแสดงข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดบรรจุห่อรวม ผลิตภัณฑ์/ยี่ห้อ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหาร วันผลิต – วันหมดอายุ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายทั้งด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์ ซองมีสีชมพูถึงชมพูเข้มทั้งซอง มีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวมแต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งของด้านในได้อย่างชัดเจน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้หนึ่งด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและการแสดงข้อมูลชื่ออาหาร ตราสินค้า เลขสารบบอาหาร (เลขอย.) ด้านหน้าของซองรวม ด้านหลังแสดงข้อมูลโภชนาการ วิธีปรุง ส่วนประกอบสำคัญ และคำแนะนำในการบริโภค และเปิดพื้นที่ด้านข้างทั้งสองข้างให้มองเห็นวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ภายในซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิดจัดชุด 5 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ซึ่งเป็นที่ระบุข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยแต่มองได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากสีสันของบรรจุภัณฑ์ภายในมีมากเกินไป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีลวดลายมากจนมองเห็นการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย ได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย แต่ไม่สามารถเห็นได้เนื่องจากตำแหน่งของวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ในซองย่อยไม่ตรงกับช่องที่เปิดไว้ให้เห็นด้านในเพียงเล็กน้อย วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใส มีข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุ อยู่ในซองย่อย สามารถมองเห็นได้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ระบุตราสินค้าแต่ไม่ระบุชื่อสินค้า มีบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยสามารถมองเห็นได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 121 น้ำแร่ดีกว่าแน่หรือ ??

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึงร้อยละ 70 ดังนั้นเพื่อให้ระดับน้ำในร่างกายสมดุล ทำให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ มนุษย์จึงขาดน้ำไม่ได้  แต่น้ำสะอาดธรรมดาถึงมีค่ามากแล้ว ก็ยังไม่ไฮโซพอ ต้องมีการเชียร์ให้ดื่ม น้ำแร่ นัยว่าเพื่อประโยชน์ที่สมบูรณ์กว่า ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบต่าง ๆ น้ำแร่ในความเข้าใจของคนทั่วไปจึงกลายเป็นสินค้าสุขภาพที่มีราคาแพงมากเมื่อวัดเป็นปริมาณต่อซีซี และผู้บริโภคหลายคนก็ยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงลิ่วเพื่อจะได้ดื่มมันเป็นประจำ  อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่มีแต่คุณประโยชน์โดยไม่มีโทษ แร่ธาตุบางกลุ่มบางชนิดสามารถให้โทษต่อร่างกายได้และโดยมากไม่ได้ถูกระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้อเลยขอขันอาสานำข้อมูลการทดสอบแร่ธาตุที่เป็นโทษต่อร่างกายในน้ำแร่มาแจ้งให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบ ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 ยี่ห้อ ส่งห้องปฏิบัติการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อเดือนมกราคม 2554 เพื่อทดสอบหาแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ตะกั่วและแคดเมียมในกลุ่มโลหะหนัก กับไนเตรทและไนไตรท์ซึ่งสามารถกลายสภาพเป็นไนโตรซามีน หนึ่งในสารก่อมะเร็ง ผลการทดสอบมีดังนี้  ตะกั่ว1. ไม่พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) 2. พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดมีปริมาณตะกั่วตกค้างสูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ ที่ปริมาณไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร  แคดเมียม1. ไม่พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17)2. พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และเมื่อนำมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีการตกค้างของแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร มาประกอบการพิจารณา พบว่ามีน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐานไปเล็กน้อย ได้แก่ น้ำแร่ฟิจิ ของบริษัท เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท จำกัด ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำแร่อควอเร่ ของ บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ปริมาณ 0.0032 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนเตรท1. ไม่พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 8) ได้แก่ น้ำแร่ไอยริน ของบริษัท วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด และน้ำแร่ วิทเทล ของ บริษัท เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) 2. พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 92) ที่ปริมาณระหว่าง 0.027 – 14.229 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีไนเตรทได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนไตรท์1. ไม่พบไตรท์เลยในน้ำแร่จำนวน 23 ตัวอย่าง (ร้อยละ 96)2. พบไนไตรท์จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4) ปริมาณที่พบเท่ากับ 0.004 มิลลิกรัม/ลิตร ในน้ำแร่มิเนเร่ของบริษัทบ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากไม่สูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดไว้ให้มีได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/ลิตร   ข้อสังเกต1. การทดสอบกลุ่มโลหะหนัก ตะกั่วและแคดเมียม  มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่าง ที่ไม่พบเลย ได้แก่ ไอโอ มองต์เฟลอ เทสโก้ และไอซ์แลนด์สปริง  ขณะเดียวกันก็มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่างที่ตรวจพบโลหะหนักทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ท็อปส์ โฮมเฟรชมาร์ช ฟิจิ และอควอเร่ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย 2. การทดสอบ ไนเตรทและไนไตรท์ มีน้ำแร่จำนวน 2 ยี่ห้อที่ไม่พบไนเตรทและไนไตรท์เลย คือ ไอยรินกับ วิทเทล ขณะที่ตัวอย่างที่พบทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ได้แก่ มิเนเร่ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย3. เมื่อเทียบผลการทดสอบกับการตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการระบุแร่ธาตุที่เป็นอันตรายกับร่างกายไว้บนฉลาก และมีการแสดงฉลากไม่สมบูรณ์ตามประกาศฯ ฉบับที่ 199 เรื่องน้ำแร่ จำนวน 3 ตัวอย่าง แบ่งเป็นไม่แสดงชนิดของแร่ธาตุที่สำคัญ 2 ตัวอย่าง คือ  โอเชี่ยน ดีฟ ของบ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด และ วาย อี เอส ของ บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด เมืองโถวเฉิน จ.อี้เหลิง ประเทศไต้หวัน กับไม่แสดงแหล่งที่มาของน้ำแร่จำนวน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ฟิจิ ของบ. เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ   สรุป จากการทดสอบตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ยี่ห้อ โดยมีหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มโมเลกุลเล็ก และหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มที่มาระบุว่ามาจากใต้ทะเลลึก ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายที่ร้อยละ 17 แคดเมียมที่ร้อยละ 83 ไนเตรทที่ร้อยละ 92 และไนไตรท์ที่ร้อยละ 4 โดยพบแคดเมียมเกินมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง ในยี่ห้อฟิจิและอควอเร่ เนื่องจากราคาขายน้ำแร่โดยเฉลี่ยสูงกว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญค่อนข้างมากและยังมีแร่ธาตุที่เป็นโทษตามที่ได้ทดสอบไปประกอบอยู่ตามธรรมชาติ  ที่ถึงแม้ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคแต่หากบริโภคติดต่อกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้นั้น ฉลาดซื้อขอแนะนำว่าบริโภคเป็นทางเลือกได้ แต่ไม่เหมาะสมที่จะบริโภคทดแทนน้ำดื่มปกติ สำหรับคำโฆษณาที่บอกว่าน้ำแร่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น จากการศึกษาฉลากพบว่าปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำแร่นั้นมีปริมาณที่น้อยมาก (หน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมหรือไมโครกรัม) เมื่อเทียบกับความต้องการตามปกติของร่างกายต่อวัน น้ำแร่จึงไม่ใช่แหล่งแร่ธาตุที่เหมาะสมกับร่างกาย หากต้องการแร่ธาตุต่าง ๆ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณบริโภคเป็นผักและผลไม้จะทำให้ได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการได้ครบถ้วนและดีกว่า ตารางแสดงผลทดสอบแร่ธาตุในน้ำแร่   ชื่อสินค้า บริษัทผู้ผลิต / จัดจำหน่าย แร่ธาตุที่ระบุบนฉลาก แหล่งน้ำธรรมชาติที่อ้างถึง เลขที่ อย. ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต – หมดอายุ ราคา ตะกั่ว Lead (มก./ ลิตร) แคดเมียม Cadmium (มก./ลิตร) ไนเตรท Nitrate (มก./ลิตร) ไนไตรท์ Nitrite (มก./ลิตร) 1.มิเนเร่ บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.โพธิ์สามต้น จ.พระนครอยุธยา 14-2-00336-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 13.50 บ. ไม่พบ 0.0002 0.192 0.004 2.ออรา บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต ซิลีก้า คลอไรด์ ซัลเฟต พุจากใต้เทือกเขาสูง อ.แม่ริน จ.เชียงใหม่ 50-2-00850-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 16.50 บ. ไม่พบ 0.0008 4.829 ไม่พบ 3.ไอโอ บ.บุญรอดเอเซียเบเวอเรซ จำกัด ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.พระงาม จ.สิงห์บุรี 17-2-00141-2-002 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ ND 0.422 ไม่พบ 4.มองต์ เฟลอ ผลิตโดย บจ.ทิพย์วารินวัฒนา แคลเซียม โซเดียม โปตัสเซียม ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต สังกะสี ผ่านกรรมวิธีเติมโอโซน แหล่งน้ำพุร้อนลึกใต้ผิวโลก ต.พบพระ จ.ตาก 63-2-00540-2-001 ระบุ 1.5 ลิตร / 18.75 บ. ND ND 0.027 ไม่พบ 5.คาร์ฟูร์ สั่งผลิตและจัดจำหน่าย บ.เซ็นคาร์ จำกัด ผลิตโดย บ.ทีทีซี น้ำดื่มดื่มสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ไบคาร์โบเนต ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งน้ำลึก 200 เมตร อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0006 ระบุ 1.5 ลิตร / 9 บ. ไม่พบ 0.001 0.085 ไม่พบ 6.บิ๊กซี บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0007 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ 0.001 0.05 ไม่พบ 7.เทสโก้ บ.ทีทีซี น้ำดืม สยาม จำกัด ฟลูออไรด์ แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม โปแตสเซียม ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0005 ระบุ 1.5 ลิตร / 10 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.112 ไม่พบ 8.ท๊อปส์ บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0032 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.003 0.002 0.14 ไม่พบ 9.โฮม เฟรช มาร์ท บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม ไอโอดีน คลอไรด์ ซัลเฟด ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-0041-2-0082 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.0002 0.0002 0.077 ไม่พบ 10.โอเชี่ยน ดีฟ ผลิตโดย บ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด (น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก) ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวด์ จำกัด   น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก 10-3-02152-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 58 บ. ไม่พบ 0.0006 0.211 ไม่พบ 11.เอเวียง ผลิตโดย เอส เอ เอเวียง ประเทสฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก. ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ไบคาร์บอเนต โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท แมกเนเซียม คลอไรด์ ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากคาซาต เทือกเขาแอลป์ ฝรั่งเศส 10-3-11523-1-0518 ระบุ 1.5 ลิตร / 76.75 บ. ไม่พบ 0.0013 3.37 ไม่พบ 12.สโนวี่เมาท์เทน ผลิตโดย บ.สโนวี่ เมาท์เทน บอทเทิ้ล จำกัด ประเทศออสเตรเลีย นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บ.โกลบอล ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาเดเลสฟอร์ด 10-3-34148-1-0646 ระบุ 1.5 ลิตร / 50 บ. ไม่พบ 0.0002 14.229 ไม่พบ 13.ไอซ์แลนด์สปริง นำเข้าและจัดจำหน่าโดย บ.เอช ทู โอ-ไฮโดร จำกัด คลอไรด์  แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม เหล็ก น้ำแร่ธรรมชาติจากประเทศไอซ์แลนด์ 10-3-14052-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 96 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.589 ไม่พบ 14.ราดิโอซ่า ผลิตโดย คาสเทลเดลซี  บาคูรา เอส.อาร์.แอล. ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บจก.อิตาเลี้ยน สตาร์ ไบคาร์บอเนต แคลเซียม แมกนีเซียม ไนเตรท ซิลิกา โซเดียม โพแทสเซียม ซัลเฟรต คลอไรด์ ฟลูออไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาฟูไบโอไล 10-3-21652-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 44 บ. ไม่พบ 0.001 1.159 ไม่พบ 15.ไพน์วอเตอร์ (น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก) 3P2M Co., Ltd. แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต ฟลูออไรด์ เหล็ก โพแทสเซียม ซิง โซเดียม น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี 10-1-09549-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 40 บ. ไม่พบ 0.0013 0.162 ไม่พบ 16.วอลวิก ผลิตโดย โซซิเอเต้ เดโอเดอ วอลวิก ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก.ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ ไนเตรต ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต น้ำแร่ธรรมชาติจากอูเวิร์น 10-3-11523-1-0683 ระบุ 1.5 ลิตร / 59 บ. ไม่พบ 0.0006 6.317 ไม่พบ 17.ซุยไซ โนะ โมริ ผลิตโดย โมริยามะ นิวเงียว จำกัด เมืองคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น นำเข้าโดย บ.โกเบ-ยา ไชกุอิน โตเงียว จำกัด เป็นภาษาญี่ปุ่น น้ำแร่ธรรมชาติจากเมืองคุโรมาสึไนเกะ ฮอกไกโด 10-3-07132-1-4993 ระบุ 2 ลิตร / 60 บ. ไม่พบ 0.0007 0.085 ไม่พบ 18.แพนนา ผลิตโดย แพนนา เอส.พี.เอ. ซูกาโน โอร์เวียโต ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บ.วานิชวัฒนา (กรุงเทพฯ) จำกัด ไบคาร์บอเนต แคลเซียม คลอไรด์ ฟูลออไรด์ แมกนีเซียม ไนเตรด ซัลเฟต น้ำแร่จากแหล่ง แพนนา ทีโอนี 10-3-05246-1-0001 ระบุ 89 บ. ไม่พบ 0.0016 3.383 ไม่พบ 19.โอ เดอ เปอริเอ้ ผลิตโดย Nestle water’s Supply Sud, France นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด จำหน่ายโดย บ.อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติชนิดมีฟองน้อยจากแหล่งเปอริเอ้ 10-3-03439-1-0003 ระบุ 750 มล. / 77 บ. ไม่พบ 0.001 5.63 ไม่พบ 20.ฟิจิ ผลิตโดย บ.เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท ซิลิกา แคลเซียม ไบคาร์บอเนต โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์  โพแทสเซียม ไนเตรท ซัลเฟต   10-3-23251-1-0001 ระบุ 1 ลิตร / 69 บ. 0.0001 0.0075 1.321 ไม่พบ 21.ไอยริน ผลิตโดย บ.วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด  จัดจำหน่ายโดย บ.โชคมหาชัย เบเวอร์เรจ จำกัด บ.เครื่องดื่ม ซันสปาร์ค จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ซัลเฟต ไนเตรท คลอไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งหินเพิง 30-2-02246-2-0018 ระบุ 500 มิลลิตร / 20 บ. ไม่พบ 0.0008 ND ไม่พบ 22.วิทเทล ผลิตโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งบอนน์ ฝรั่งเศส 10-3-03439-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 50.25 บ. ไม่พบ 0.0004 ไม่พบ ไม่พบ 23.วาย อี เอส ผลิตโดย บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวดื จำกัด (มหาชน)   น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขา สโนว์เมาท์เทน 10-3-02152-1-0003 ระบุ 700 มิลลิลิตร / 25 บ. ไม่พบ 0.0012 0.139 ไม่พบ 24.อควอเร่ บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งโป่งแยง 50-2-00850-2-0007 ระบุวันหมดอายุ   0.0002 0.0032 4.654 ไม่พบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 121 กุนเชียง เสี่ยง...ไม่เสี่ยง

  โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงหมูจำนวน 7 ตัวอย่าง จากพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคามที่เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงไก่จำนวน 1 ตัวอย่าง จากพื้นที่จังหวัดสตูล รวม 8 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร 2 กลุ่ม คือ สารกันบูด (ได้แก่ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์) กับ สีสังเคราะห์   ผลการทดสอบ1. พบการใช้กรดเบนโซอิคในกุนเชียงจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 62 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค2. พบการใช้กรดซอร์บิคจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 620 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมี 1 ตัวอย่างที่ปริมาณกรดซอร์บิคอยู่ในเกณฑ์สูงเกินมาตรฐาน ปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับ 1,205 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. พบการใช้ไนเตรทและไนไตรท์จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค4. ไม่พบการใช้สีสังเคราะห์ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ  สรุป ในกุนเชียง 1 กิโลกรัมจากจำนวน 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิคเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม กรดซอร์บิคเท่ากับ 620 มิลลิกรัม ไนเตรทและไนไตรท์เท่ากับ 10 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการได้รับสารกันบูดสูงเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่ความเสี่ยงจากการได้รับสีสังเคราะห์เป็นศูนย์หรือเท่ากับไม่มีเลย ซึ่งก็ถือว่าเป็นข่าวดี ยังไงเพื่อลดความเสี่ยงเวลาเลือกซื้อกุนเชียงอ่านฉลากให้ดี โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสียและไม่เจือสีสังเคราะห์*************************************************************** กุนเชียง ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับไส้กรอก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความละเอียดของเนื้อที่ใช้ เนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อที่บดหยาบกว่า อาจจะใช้เครื่องบดหรือใช้มีดสับด้วยมือธรรมดาๆ ส่วนไส้กรอกจะเป็นเนื้อที่บดละเอียด เรียกว่าเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนจะนำมาใส่ส่วนผสม เช่น เกลือ น้ำตาล ซีอิ้วขาว หรือเครื่องเทศ แล้วนำไปใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย นำไปตากหรืออบให้แห้ง กุนเชียง มีที่มาจากประเทศจีน หลายประเทศในแถมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็นิยมรับประทานกุนเชียงเหมือนบ้านเรา แต่ว่าจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ถ้าเป็นชาวตะวันตกก็จะเหมาเรียกรวมกันว่า Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ************************************************************** ฉลาดซื้อแนะนำ-กุนเชียงที่ดี เนื้อกุนเชียงต้องผสมกันดี ทั้งส่วนเนื้อและส่วนที่เป็นมัน-สี ต้องเป็นธรรมชาติ ดูสม่ำเสมอกันตลอดชิ้น ไม่ซีดหรือคล้ำ-ไม่มีกลิ่นอับ หรือมีกลิ่นเหม็น -กุนเชียงต้องบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด ผนึกเรียบร้อย ไม่มีสิ่งปนเปื้อน-ถ้าจะให้ดีควรมีการระบุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ น้ำหนักสุทธิ วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ ชื่อผู้ผลิตพร้อมสถานที่ตั้ง กำกับไว้ที่ภาชนะบรรจุกุนเชียง+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างกุนเชียง ยี่ห้อ ผู้ผลิต จังหวัดที่เก็บตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ (มิลลิกรัม / กิโลกรัม) เบนโซอิค ซอร์บิค ไนเตรท ไนไตรท์ สีสังเคราะห์ กุนเชียงหมู บิ๊กซี บ. ส ขอนแก่น กรุงเทพ 10.42 474.04 28.43 2.65 ไม่พบ ชิน เหอ เชียง ไม่ระบุ ขอนแก่น ไม่พบ 181.4 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ. พี แอนด์ พี มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ จิง จิง เชียง บ.จิง จิง เชียง มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่ระบุ ไม่ระบุ สงขลา 48.79 ไม่พบ 23.2 5.84 ไม่พบ แม่เนื้อพลอย ไม่ระบุ เชียงใหม่ 7.31 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ.พี แอนด์ พี พะเยา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ กุนเชียงไก่ ปิยวัฒน์ บ.ปิยะวัฒน์เจ้เม้ง สตูล ไม่พบ 1,205 1.62 0.22 ไม่พบ   ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานคริทร์ สถาบันวิจัยทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ อ้างอิงสารกันบูด – ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ผลิตภัณฑ์กุนเชียงสามารถใช้วัตถุกันเสีย (สารกันบูด) ได้ 2 ชนิด คือไนเตรทและไนไตรท์ ที่ปริมาณไม่เกิน 500 และ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ และในกรณีใช้ไนเตรทกับไนไตรท์ร่วมกันในหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ปริมาณที่ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนการใช้สารกันบูดชนิดอื่น ๆ รวมถึงกรดซอร์บิคและกรดเบนโซอิค ไม่มีการระบุไว้แต่อย่างใดว่าให้ใช้ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานอาหารสากล (Codex) ปี 2005 ได้กำหนดการใช้กรดเบนโซอิคในผลิตภัณฑ์กุนเชียงเพื่อถนอมอาหารนั้นไว้ว่าไม่ควรเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยที่ไม่ได้ระบุการใช้กรดซอร์บิคในกุนเชียงไว้อีกทั้งยังมิได้ระบุค่าความปลอดภัย (Acceptable Dietary Intake: ADI) เอาไว้อีกด้วย  สีสังเคราะห์ - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่าห้ามใช้สีสังเคราะห์ในกุนเชียง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 120 Dark Chocolate ของดำกำลังมา

เทรนด์ใหม่มาแรงนาทีนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้น “ช็อกโกแลตดำ” หรือ Dark Chocolate ที่เป็นทางเลือกใหม่ในหมู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ เพราะส่วนผสมหลักของช็อกโกแลต ซึ่งได้แก่ โกโก้นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีสารฟลาโวนอยด์ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ ไหนจะสรรพคุณช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนโดรฟิน ที่ทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปรู้สึกมีความสุขอีกต่างหาก หรือบ้างก็ยืนยันว่ากินแล้วช่วยลดน้ำหนักได้อีก แต่ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่จะทำให้เกิดผลที่กล่าวมาข้างต้นคือโกโก้เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงช็อกโกแลตทั้งแท่งซึ่งยังมีส่วนผสมอื่นๆ ซึ่งอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย  ฉลาดซื้อจึงถือโอกาสในเดือนแห่งช็อกโกแลต(ดูจากปฏิทินของคนช่างกิน) ทำการสำรวจหาช็อกโกแลตดำที่มีปริมาณโกโก้สูงที่สุดมาฝากสมาชิกกัน ---  แบบไหนจึงจัดว่า “ดำ”ตามมาตรฐานยุโรป “ช็อกโกแลตดำ” จะต้องมีโกโก้แมสเป็นส่วนประกอบไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 35 แต่ในอเมริกานั้น แค่มีปริมาณโกโก้แมสไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 15 ก็จัดว่าเป็น Dark Chocolate ได้แล้ว---  ฉลาดซื้อสำรวจ ... เราพบว่า- ถ้าต้องการกินช็อกโกแลตเพื่อสุขภาพเราคงต้องให้ความสนใจกับปริมาณน้ำตาลด้วย เราพบว่าแม้ช็อกโกแลตเหล่านี้จะจัดตัวเองว่าเป็น “ช็อกโกแลตดำ” แต่ก็ยังมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบตั้งแต่ ร้อยละ 26 ถึงร้อยละ 46 เลยทีเดียว (ยกเว้น Anti-Ox ซึ่งไม่มีน้ำตาล และ Cavalier ซึ่งใช้สารให้ความหวานมอลทิทอลเป็นส่วนประกอบร้อยละ 22)  - ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เราสำรวจ ช็อกโกแลตดำของ Dove และ Meiji มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูงที่สุด (ร้อยละ 46)  - เมื่อเฉลี่ยดูราคาต่อหน่วยแล้ว พบว่าช็อกโกแลตที่เราซื้อมาในราคาต่ำสุด (Miraco) กลับมีราคาต่อหน่วยสูงที่สุด (1.59 บาท/กรัม) ในขณะที่ช็อกโกแลตที่ซื้อมาในราคาสูงที่สุด (Cavalier) นั้นมีราคาต่อหน่วยต่ำที่สุด (0.66 บาท/กรัม) - ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโกโก้สูงกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพงกว่า เพราะเราพบว่าAnti-Ox ซึ่งที่มีปริมาณโกโก้สูงสุดถึงร้อยละ 90 มีราคาถูกที่สุดเป็นอันดับสองรองจาก Cavalier  - ถ้าดูจากปริมาณโกโก้แมส ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เราสำรวจสามารถจัดว่าเป็นช็อกโกแลตดำได้ตามมาตรฐานอเมริกัน แต่ถ้าใช้มาตรฐานของยุโรปจะมีเพียง 6 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น (AntiOx / Cavalier / Ritter Sport / Miraco / Dove / และ HERSHEY’s Special Dark) ที่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็นช็อกโกแลตดำได้  - อีกข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ปริมาณโกโก้ที่แสดงบนฉลากด้านหน้า บริเวณชื่อผลิตภัณฑ์ กับในส่วนประกอบสำคัญมักไม่ตรงกัน บางทีมากกว่า แต่ส่วนใหญ่แล้วน้อยกว่า มีเพียง HERSHEY’S Special Dark Pure Chocolate ที่รวมส่วนผสมโกโก้ทั้งหมดแล้วได้ตามที่เขียนไว้ด้านหน้า  - แต่ต้องย้ำตรงนี้ว่า เราไม่ได้สำรวจเรื่องของรสชาติ ผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็มีการใช้ส่วนผสมอื่นๆ เพื่อความเนียนนุ่ม หอมมัน หรือใช้น้ำตาลในปริมาณที่แตกต่างกันไป ใครชอบแบบไหนเห็นจะต้องไปทดลองชิมกันเองอีกที---  อีกทางเลือกถ้าไม่ต้องการน้ำตาลส่วนเกินที่มากับช็อกโกแลตดำสำเร็จรูปเหล่านี้ ลองหาซื้อโกโก้ผงมาชงเป็นเครื่องดื่มร้อนไว้จิบชิลๆ ดูก็ได้ ------  หมายเหตุ ช็อกโกแลตดำที่มีขายในตลาดบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น เบลเยียม เยอรมนี และออสเตรเลีย มีเพียงยี่ห้อ Miraco เท่านั้นที่ผลิตในบ้านเรา---________________________________________________________ เกือบร้อยละ 40 ของผลผลิตโกโก้ดิบมาจากประเทศ ไอโวรี่ โคสต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก รองลงมาได้แก่ประเทศกาน่า และอินโดนีเซีย และเนื่องจากขณะนี้ ไอโวรี่โคสต์ กำลังประสบปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ จึงทำให้ราคาโกโก้ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ12.5 เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาราคาโกโก้ในตลาดนิวยอร์กอยู่ที่ตันละ 3,000 เหรียญ แต่ทั้งนี้นักวิเคราะห์เขาบอกว่าราคาโกโก้น่าจะไม่ส่งผลต่อราคาของช็อกโกแลตแท่งมากนักเพราะ ณ ปัจจุบัน ถ้าช็อกโกแลตแท่งหนึ่งราคา 100 บาท ในนั้นมีค่าต้นทุนโกโก้เพียง 6 ถึง 8 บาทเท่านั้น ที่เหลือเป็นราคาสำหรับส่วนผสมอื่นๆ เช่น นม หรือน้ำตาล แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือค่าใช้จ่ายในการผลิต การจัดจำหน่าย ค่าโฆษณาและกำไรของผู้ผลิตช็อกโกแลตนั่นเอง_______________________________________________________________  งานวิจัย: กินช็อกฯ ... กันช็อกงานวิจัยที่ทำกับผู้หญิงสวีเดน ที่อายุระหว่าง 48-83 ปี จำนวนกว่า 30,000 คน (เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาระหว่างปีคศ. 1998 - 2006) พบว่าคนที่รับประทานช็อกโกแลตในปริมาณเล็กน้อย เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจล้มเหลวน้อยกว่าคนทั่วไป และช็อกโกแลตที่พวกเธอทานเป็นช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของโกโก้ในปริมาณที่เข้มข้น   งานวิจัยพบว่า • ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวลดลงร้อยละ 26 ในกลุ่มที่รับประทานช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้สูงระหว่าง 1 ถึง 3 ครั้งต่อเดือน • ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวลดลงร้อยละ 32 ในผู้หญิงที่กินช็อกโกแลตดังกล่าว 2 ครั้งต่อสัปดาห์ • ไม่พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดหัวใจล้มเหลวน้อยลง ในผู้หญิงที่รับประทานช็อกโกแลตอย่างน้อยวันละครั้ง ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะแคลอรี่ส่วนเกินที่ได้จากช็อกโกแลตแทนที่จะได้จากอาหารชนิดอื่นนั่นเอง * ปริมาณที่รับประทานต่อครั้งอยู่ที่ 19 – 30 กรัม-----   Dark Chocolate ปริมาณโกโก้ที่แจ้งบนฉลาก (ร้อยละ) ร้อยละของโกโก้ ที่แจ้งในส่วนประกอบสำคัญบนฉลากภาษาไทย (ร้อยละ) ส่วนประกอบของน้ำตาล (ร้อยละ) ราคา (บาท) น้ำหนัก (กรัม) ราคาต่อกรัม (บาท) โกโก้แมส (ร้อยละ) ไขมันโกโก้ (ร้อยละ) โกโก้ผง (ร้อยละ) รวมปริมาณโกโก้ (ร้อยละ) AntiOx Chocolate 70 Dark Chocolate 90 - - 90 - 109 80 0.73 Cavalier Belgian Chocolate Extra Dark 72 41.5 14 13.5 69 22 (มอลทิทอล) 128 85 0.66 HERSHEY’S Special Dark Pure Chocolate 65 57 3 5 65 32 59 50 0.84 Ritter Sport Fine Extra Dark Chocolate 71 60 - - 60 26 74 100 1.35 HERSHEY’S Dark Chocolate ไม่ระบุ 29 17 3 49 42.75 29 40 1.37 Miraco Dark Chocolate ไม่ระบุ 42 5 2 49 40 22 35 1.59 Dove Dark Chocolate ไม่ระบุ 45 2 - 47 46 35 43 1.22 Lindt LINDOR Extra Dark 60 33.19 11.04 - 44.23 30.45 96 100 1.04 Meiji Black Chocolate ไม่ระบุ 33 6 - 39 46 39 45 1.15 Guylian Belgian Chocolates 74 26 11 - 37 35 88 65 0.73 Morinaga DARS ไม่ระบุ 23 5 9 37 30 50 50 1   ไหนๆ ก็ไปเยี่ยมเยียนถึงแผงช็อกโกแลตกันแล้ว ฉลาดซื้อของถือโอกาสนี้สำรวจปริมาณน้ำตาลและโกโก้ในช็อกโกแลตนม/ขนมหวานกลิ่นช็อคโกแลตมาเสียด้วยเลย   • ในบรรดาช็อกแลตนมธรรมดา ที่ไม่ได้เรียกตัวเองว่าช็อกโกแลตดำนั้น บางยี่ห้อมีปริมาณโกโก้อยู่ถึง ร้อยละ 38 (Meiji Milk Chocolate)ส่วนน้ำตาลนั้นก็เป็นไปตามคาด มีตั้งแต่ร้อยละ 23 ถึงร้อยละ 65 โดยขนมหวานที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดในกลุ่มที่เราสำรวจมาได้แก่ Mars (ร้อยละ 65) ตามด้วย M&M (ร้อยละ 60) และ Snickers (ร้อยละ 53)   ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตนม / ขนมหวานกลิ่นช็อกโกแลต (เรียงลำดับตามปริมาณโกโก้) น้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆ เช่นกลูโคสไซรัป/แลคโตส (ร้อยละ) ปริมาณโกโก้ (ร้อยละ) น้ำหนัก (กรัม) ราคา (บาท) Meiji Milk Chocolate 43 38 45 38 Morinaga DARS Milk 35 33 50 50 Ghana Milk Chocolate 42.7 32.3 58 45 Toblerone ช็อกโกแลตนมผสมอัลมอนด์นูกัตรสน้ำผึ้ง 48 30 100 85 Dove Milk Chocolate 38 29 43 35 Miraco Mocha Chocolate 41 27 35 22 BOUNTY ขนมหวานโกโก้สอดไส้มะพร้าว 37 26 57 54 Frey Classic ช็อกโกแลตนมผสมลูกเกด เฮเซลนัท และอัลมอนด์ 36.4 25.1 35 25 Cadbury's Twirl ช็อกโกแลตนม ไม่ระบุ 22 39 58 Cadbury's PICNICช็อกโกแลตนมสอดไส้ขนมปังกรอบผสมคาราเมลและข้าวพอง 23 (คาราเมล) 22 46 58 Van Houten Chocolateช็อกโกแลตนมผสมอัลมอนด์ 39.8 22 50 30 Cadbury's TIME OUTช็อกโกแลตสอดไส้เวเฟอร์ ไม่ระบุ 21 40 58 M&M ช็อกโกแลตนมเคลือบน้ำตาลสีต่างๆ 60 20 100 55 Maltesers ขนมช็อกโกแลตสอดไส้รสมอลต์ 43 18 37 30 KitKat Bites ช็อกโกแลตนมสอดไส้เวเฟอร์ 40 16 40 29 Ferrero Rocher ช็อกโกแลตนมผสมเกล็ดเฮเซลนัทสอดไส้ครีมและเฮเซลนัท 33.7 15.9 37.5 40 Alfie double chocoขนมหวานรสช็อกโกแลต 40 13 36 10 Kinder Chocolate ช็อกโกแลตนมสอดไส้ครีมนม 38.3 12.8 50 33 TOY STORY3 Choco Stick ขนมหวานกลิ่นช็อกโกแลต 44.5 10 15 6 Lilo&Stitch Choco Bar ขนมหวานรสช็อกโกแลต 43.5 9 15 8 Milo Choco Bar ขนมหวานรสช็อกโกแลต 36 7 37 19 Alfie ขนมหวานรสช็อกโกแลต 43 7 36 10 Snickers ถั่วลิสงคาราเมลและนูกัตเคลือบช็อกโกแลตนม 53 6 35 24 Pelotty เปล็อตตี้ ขนมหวานรสช็อกโกแลตและรสนม 48 6 6 Choco2tone ขนมหวานกลิ่นช็อกโกแลต 46.96 5.5 16 8 Mars ช็อกโกแลตนมไส้คาราเมลและนูกัต 65 5 36 24   Ethiscore ว่าด้วยคะแนนจริยธรรมของผู้ผลิต  นิตยสาร Ethical Consumer ของอังกฤษ ได้ให้คะแนนจริยธรรมหรือ Ethiscore (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) กับผู้ผลิตช็อกโกแลตไว้ดังต่อไปนี้   ผลิตภัณฑ์     คะแนน Lindt Chocolate     11   คะแนนKinder Chocolate     10   คะแนนGuylian Chocolate bars    7   คะแนนMark&Spencer Organic Fairtrade Chocolate   6.5   คะแนนMark&Spencer Chocolate     4.5   คะแนนCadbury’s Dairy Milk Chocolate   4   คะแนนTime Out     4   คะแนนCrunchie      3   คะแนนKraft Chocolate     3   คะแนนToblerone      3   คะแนนTwirl      3   คะแนนBounty      1.5   คะแนนM&M      1.5   คะแนนMaltesers      1.5   คะแนนMars      1.5   คะแนนMilky Way     1.5   คะแนนSnickers      1.5   คะแนนTwix      1.5   คะแนนNestle’s Heaven     1   คะแนน  หมายเหตุ: คะแนนข้างต้นมีการอัพเดทครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 โดยเกณฑ์การให้คะแนนนั้นได้แก่การปฏิบัติตนของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน การปฏิบัติต่อสัตว์ การเมือง และความยั่งยืน (เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ออกานิก หรือผลิตภัณฑ์ Fairtrade เป็นต้น) ช็อกโกแลตที่ได้คะแนนสูงที่สุดได้แก่ Plamil Fairtrade Organic Chocolate ที่ได้ไปถึง 18 คะแนน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 120 องุ่นกับแตงโม เขาว่าสารเคมีเยอะจริงหรือ

ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกที คราวนี้ว่าด้วยองุ่นกับแตงโม ผลไม้ที่ใครต่อใครต่างก็ว่า มีสารเคมีการเกษตรตกค้างเยอะ ให้ระวังเวลากิน ก็เลยต้องพาไปพิสูจน์ครับ  องุ่นนั้น มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่อย่างเหล็ก แคลเซียม มาก และเพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลกลูโคส ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย กินองุ่นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น อีกทั้งช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ  แต่จากการทดสอบหาปริมาณสารเคมีตกค้างในทุกหน่วยงาน องุ่นจัดว่าเป็นผลไม้ที่ติดอันดับท็อปห้าตลอดเรื่องมีการตกค้างของสารเคมีสูง ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้ารักกันจริงต้องปอกเปลือกองุ่นให้กิน  ส่วนแตงโม จำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อมูลปีไหน แต่ว่ากันว่า แตงโม จะมีสารเคมีตกค้างอยู่มากถึง 11 ชนิด อันนี้ก็เป็นที่ล้อกันเล่นๆ ว่า ถ้าแตงโมไม่หวาน ก็ถือว่าดี เพราะลดสารเคมีลงไปได้ 1 ชนิด(ฮา)  ที่จริงแตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเมืองร้อนเป็นที่สุด เพราะมีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้เย็นและสดชื่นในขณะอากาศร้อนจัด แตงโมมีไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนมาก ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง คาดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้บางชนิด ส่วนเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ   ฉลาดซื้อทดสอบ องุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 16 ตัวอย่าง (ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล เพื่อทดสอบหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือ ยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.5) ที่พบการตกค้างของสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2552 และตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนมีนาคม 2553  2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ เลยจากการเก็บสินค้าทดสอบทั้ง 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน2552 และเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส และจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม และตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสังขลา   สรุปความเสี่ยงขององุ่น มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (50 – 50) ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่สำคัญว่าจะซื้อจากแหล่งจำหน่ายใดทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และตลาดสด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่ พื้นที่ภาคเหนือจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละกลุ่มมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ  ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเสี่ยงเท่าๆ กันในระดับปานกลาง ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่สารพิษตกค้าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมือง) และ จังหวังสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ส่วนความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปริมาณสารเคมีที่พบส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 1 มก./กก.   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 Carbendazim Organophosphate group Pyrethiod group   (พฤศจิกายน 2552)   (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   องุ่น (1)   ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ         สารพิษตกค้าง 288         3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2   จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX   กรุงเทพ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.05*   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.08*   ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02* ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน < 0.005* ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดกิมหยง องุ่นอเมริกา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.0061* Cyhalothrin 0.045**  Cyfluthrin 0.028** Cypermethrin 0.205** Fenvalerate 0.293**   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ < LOD (0.025)* Chlorpyrifos 0.0107* Cyhalothrin 0.127** Cypermethrin 0.032** Fenvalerate 0.121** Deltamethrin 0.037*         MRL มกอช.     3 มก./กก.       *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้         ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่าง Carbendazim Organophosphate Pyrethiod     ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)         ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ     องุ่น (2)   สารพิษตกค้าง 288       3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2     จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX     กรุงเทพ บิ๊กซี สะพานควาย บมจ. บิ๊กซี ไม่พบ Chlopyrifos  0.04* ไม่พบ     สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ Chlopyrifos  0.91*** ไม่พบ     ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ Prothiophos 1.01** ไม่พบ     มหาสารคาม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สงขลา ตลาดกิมหยง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ 4.047*** Prothiophos 0.17** Cypermethrin 0.05**     เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ห้างบิ๊กซี (สาขาหางดง) ไม่พบ ไม่พบ Cyhalothrin 0.017** Permethrin 0.028*  Cyfluthrin 0.038** Cypermethrin 0.026** Deltamethrin 0.007*     พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Chlopyrifos  0.0211* Prothiofos 0.3086** Profenophos < LOD* Cyhalothrin 0.021** Cyfluthrin 0.012** Cypermethrin 0.006**           MRL มกอช. 3 มก./กก.         *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด         LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้       คำแนะนำในการบริโภคองุ่น – ควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเป็นเครื่องดื่มทั้งแบบคั้นสดและแบบปั่นหากไม่ได้ทำกินเอง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่มีการล้างทำความสะอาดที่ดีพอได้   แตงโม เก็บตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 ตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาการตกค้างของยาฆ่าแมลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทอยด์ และกลุ่มคาร์บาเมต โดยเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง และจากตลาดสด จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดเช่นเดียวกันกับองุ่น ผลการทดสอบปรากฏว่า   สรุปความเสี่ยงของแตงโมและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเลย ยกเว้นพื้นที่เขตภาคเหนือคือเชียงใหม่ และพะเยาที่มีโอกาสได้รับผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงโดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ที่พบมากกว่า 4 ชนิดในหนึ่งผลิตภัณฑ์   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 4 Organophosphate Pyrethiod Carbamate   มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   แตงโม ไม่ระบุ ไม่ระบุ Methomyl 0.2   สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288   AZINPHOS-METHYL 0.2 Fenvalerate 0.5 Methomyl 0.2   จังหวัด สถานที่เก็บ บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย MRL CODEX   กรุงเทพ คาร์ฟูร์ บางบอน บ. เซ็นคาร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี บมจ.บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดหาดใหญ่ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ Methomyl 0.12*   สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.039** Cypermethrin 0.159** Fenvalerate 1.705*** Deltamethrin 0.241** ไม่พบ   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.077** Permethrin 0.062**  Cyfluthrin 0.14** Cypermethrin 0.15** Fenvalerate 1.68*** Deltamethrin 0.214** ไม่พบ   *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด           ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่   คำแนะนำต่อการบริโภคกรุงเทพมหานครได้แถลงข่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ระบุไว้ว่ากว่าหนึ่งในสามของผลไม้รถเข็นไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อแตงโมจากร้านผลไม้รถเข็นที่ดูไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีฝาครอบปิดมิดชิด หรือมีแต่ไม่ครอบปิด หรือไม่มีน้ำแข็งรักษาความเย็นของอาหาร (ชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค) แนะนำให้ซื้อเป็นลูกใหญ่มาผ่ากินเองดีกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 119 โด…นัทกันมาหวาน

  ฉบับนี้ขอเกาะกระแส “คริสปี้ครีม ฟีเวอร์” โดนัทยี่ห้อดังจากอเมริกา ที่มาสร้างปรากฏการณ์ มีคนไปต่อแถวรอซื้อยาวเป็นกิโลฯ ทนร้อน ทนเมื่อยตั้งเกือบ 3 ชั่วโมง เพื่อรอซื้อโดนัท (!?) ยังไงก็อย่ามั่วเพลิดเพลินกับรสชาติจนลืมห่วงใยสุขภาพเพราะโดนัทชิ้นหนึ่ง(40 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 168 กิโลแคลอรี อุดมด้วยไขมันและน้ำตาลแบบนี้ถ้ารับประทานมากไปหวาน มันเข้าเลือดแน่ๆ   ฉลาดซื้อส่งทีมงานไปเข้าแถวรอซื้อ คริสปี้ครีม 3 ชั่วโมงและตระเวนซื้อโดนัท จากร้านแฟรนไชส์อื่นอีกหลายร้าน รวม 5 ยี่ห้อ แล้วก็รีบนำส่งสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อเช็คค่าพลังงานและความหวาน รวมทั้งแอบดูเรื่อง สารกันบูดด้วย เผื่อเอาไว้เป็นคู่มือให้กับคนที่ชอบรับประทานโดนัทแต่ก็ยังห่วงใยสุขภาพ   ฉลาดซื้อทดสอบ โดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด 9 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิค เกรซ (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค (เนื้อแป้งช็อคโกแลตเคลือบช็อคโกแลต), มิสเตอร์โดนัทรสฮันนี่ดิป (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค, คริสปี้ ครีมรสดั้งเดิม (เคลือบน้ำตาล), แดดดี้ โด รสคลาสสิค เกรซ และรสดับเบิ้ลช็อค, และบัพเพิล รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (เคลือบช็อคโกแลตขาวโรยหน้าด้วยอัลมอนด์) และรสช็อคโคโฮลิค (เนื้อแป้งโดนัทใส่ใส้ครีมช็อคโกแลต) มาดูผลทอดสอบกัน1.ค่าพลังงาน ปริมาณพลังงานที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปคือวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ฉลาดซื้อขอทดสอบเพื่อดูกันว่าโดนัทรสใดของค่ายใดที่ให้พลังงานสูง-ต่ำ แค่ไหนกันบ้าง ผลการทดสอบในภาพรวมพบว่า   ค่าพลังงานเฉลี่ยของโดนัททุกค่ายอยู่ที่ 420.7 กิโลแคลอรี/100 กรัม ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 21 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน   และหากพิจารณาที่หนึ่งหน่วยบริโภคโดยเฉลี่ย 1 ชิ้น = 40 กรัม ค่าพลังงานที่ได้รับจะเท่ากับ 168.3 กิโลแคลอรี่/40 กรัมคิดเป็นร้อยละ 8 ของค่าพลังงานที่ต้องการต่อวัน ซึ่งตัวอย่างที่มีค่าพลังงานต่อชิ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) ให้พลังงานอยู่ที่ 247.8 กิโลแคลอรี 2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 226.5 กิโลแคลอรี 3. บัพเพิล โดนัท รสช็อคโกโฮลิค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 208 กิโลแคลอรี รู้ผลโดนัทที่มีพลังงานมากไปแล้ว มาดูโดนัทที่ให้พลังงานน้อยกันบ้าง ตัวอย่างโดนัทที่ให้พลังงานต่อชิ้นน้อยที่สุดในตัวอย่างที่เราสุ่มทดสอบครั้งนี้ คือ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 121.5 กิโลแคลอรี 2. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 135.3 กิโลแคลอรี 3. คริสปี้ครีม รสออริจินอล (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี   2.ปริมาณไขมัน ไขมันทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นแหล่งกรดไขมันที่จำเป็นและเป็นตัวช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และเค ส่วนที่ไม่ดีของไขมันคือถ้าร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงจะเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลทางโภชนาการจากกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ใน 1 วันไม่ควรได้รับไขมันเกิน 65 กรัม  สำหรับผลการทดสอบไขมันรวม (Total Fat) ในโดนัททั้ง 9 ตัวอย่างพบว่าปริมาณไขมันเฉลี่ยที่หน่วยบริโภค 100 กรัมเท่ากับ 23.4 กรัม คิดเป็นร้อยละ 36 และเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ 40 กรัม พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 9.8 กรัม/ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 15 สำหรับ ปริมาณไขมันสูงสุดต่อ 1 ชิ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 13.3 กรัม 2. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.88 กรัม 3. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.84 กรัม   ส่วน 3 อันดับ ที่มีปริมาณไขมันรวมต่ำสุด ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.2 กรัม2. ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.7 กรัม3. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 8.0 กรัม 3.ปริมาณไขมันทรานส์ การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไป อาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย เช่น น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมทั้งเป็นอันตรายต่อตับด้วย   มีข่าวดีจากการทดสอบไขมันทรานส์ เพราะไม่มีตัวอย่างใดที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค(1 ชิ้น) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ โดยค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบต่อชิ้นอยู่ที่ 0.045 กรัม นอกจากนั้นเกินกว่าครึ่งของตัวอย่างทั้งหมดได้แก่ยี่ห้อคริสปี้ครีม แดดดี้โด และบัพเพิล ยังตรวจไม่พบไขมันทรานส์เลยอีกด้วย 4.ปริมาณน้ำตาล น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ราว ๆ 24 กรัม)  ผลการทดสอบน้ำตาลในโดนัทพบว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยจากทั้ง 9 ตัวอย่างเท่ากับ 12.6 กรัม/ 100 กรัม คิดเป็นร้อยละ  52.5 และเท่ากับ 5.5 กรัม/หนึ่งชิ้น (40 กรัม) คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน โดยมีปริมาณน้ำตาลในโดนัทต่อชิ้นสูงสุด 3 อันดับแรกดังนี้   1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 13.9 กรัม2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 6.5 กรัม3. แดดดี้โด รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมารน้ำตาล 5.5 กรัม สำหรับปริมาณน้ำตาลต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่1. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.0 กรัม2. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.4 กรัม3. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.5 กรัม   5.สารกันบูดสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียทั้ง กรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิค ถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายสามารถขับออกเอง แต่หากได้รับในปริมารมากเกินไปก็จะเป็นอันตราย ตั้งแต่ท้องเสีย โรคกระเพาะ ทำร้ายตับและไต และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต  จากการทดสอบถึงแม้จะพบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิคในโดนัทกว่า 5 ตัวอย่างจาก 9 ตัวอย่างที่ทดสอบแต่ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนสารกันบูดชนิดกรดซอร์บิคนั้นพบเพียงแค่ตัวอย่างเดียวและตัวอย่างที่พบก็มีปริมาณที่ตรวจพบน้อยมากจนถึงน้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของคอโดนัทที่อย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารกันบูด   สรุปจากผลการทดสอบ โดนัทหนึ่งชิ้นที่น้ำหนักประมาณ 40 กรัม จะให้พลังงาน 168.3 กิโลแคลอรี่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของความต้องการพลังงานต่อวัน ไขมัน 9.8 กรัม คิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการไขมันต่อวัน และน้ำตาล 5.5 กรัม คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคได้สูงสุดต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะนำนักโภชนาการจัดให้โดนัทอยู่ในกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้อ้วนและเสี่ยงต่อการมีไขมันในเส้นเลือดสูง รวมถึงโรคอื่นๆ ที่จะตามมาเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักในโดนัทคือ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจาก แป้ง นม เนย และน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดโดนัทอีกต่างหาก ดังนั้นจึงควรอร่อยกันในปริมาณน้อย และนานๆ ครั้ง อย่ารับประทานทุกวัน -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กาลครั้งหนึ่ง...โดนัท ว่ากันว่า โดนัท เป็นสูตรขนมหวานดั้งเดิมของชาวดัตช์ ซึ่งมีลักษณะเป็นขนมปังที่ทอดในน้ำมันมีชื่อเรียกว่า Olykoek  (เป็นภาษาดัตช์ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า oil cake หรือ เค้กที่ทอดในน้ำมันหรือไขมัน) ช่วงปี ค.ศ. 1800 ชาวอเมริกันก็ได้รู้จักโดนัทจากชาวดัตช์ที่อพยพเข้ามา แม้ในช่วงแรกจะมีรูปร่างเป็นแค่ขนมปังก้อนธรรมดา   บ้างก็ว่าเป็นแป้งที่มีลักษณะเป็นเกลียวๆ เพราะเกิดจากการบิดฉีกแป้งโดลงไปทอด ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่าโดนัท ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ว่า“โดน็อต” (dough knots) จากลักษณะแป้งที่เป็นเกลียวๆ คล้ายน็อตนี่แหละ บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าคำว่าโดนัทมาจากคำง่ายๆ อย่าง “dough nuts” ซึ่งหมายถึงแป้งโดที่มีการเติมถั่วลงไปนั่นเอง จนในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ร้านโดนัทแบบแฟรนไชส์ก็เกิดขึ้น โดยมีการใช้เครื่องจักรมาช่วยในการผลิตโดนัท เพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น   ทำไมโดนัทต้องมีรู แฮนสัน เกรกอรี (Hansen Gregory) ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนแรกของโลกที่ทำให้โดนัทมีรูตรงกลาง เรื่องเกิดขึ้นในปี1847 เมื่อเขาใช้กระปุกพริกไทยมากดแป้งโดนัทให้เป็นรูตรงกลางก่อนจะนำไปทอด เพื่อจะแก้ปัญหาแป้งตรงกลางไม่สุก และขยายพื้นที่แป้งเพื่อเวลาทอดจะได้ไม่อมน้ำมัน ซึ่งใครที่ได้กินโดนัทมีรูของ แฮนสัน เกรกอรี ต่างก็ชื่นชอบชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน จนในที่สุดโดนัทมีรูก็เป็นที่นิยมและยอมรับไปทั่วอเมริกา  คริสปี้ครีม ไม่ได้ฮิต ทุกที่กระแสการต่อแถวยาวเป็นกิโลฯ เพื่อรอซื้อโดนัท “คริสปี้ครีม” ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบ้านเราเท่านั้น แต่หลายๆ ประเทศที่เจ้าโดนัทสัญชาติอเมริกันที่มีอายุร่วม 70 ปีร้านนี้ไปเปิด ก็เกิดกระแสเข้าแถวรอเหมือนบ้านเรา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่คริสปี้ครีมไม่ได้รับความนิยม ทั้งใน ฮ่องกง ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในอเมริกาบ้านเกิด สาเหตุมาจากการขยายสาขาที่เร็วและมากเกินไป รวมทั้งการที่คนเริ่มหันมาห่วงใยเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดนัทจึงถูกเมินจากคนรักสุขภาพทำให้ร้านคริสปี้ครีมจึงต้องปิดตัวลงไปหลายสาขาในเวลาไม่กี่ปี     ตารางแสดงผลทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในโดนัท ชื่อตัวอย่าง ราคา / ชิ้น (บาท) น้ำหนัก / 1 ชิ้น (โดยประมาณ) ผลทดสอบ / 100 กรัม ผลทดสอบเทียบ / 1 ชิ้น พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังกิ้น โดนัท คลาสสิค เกรซ 22 40 ก. 369 16.8 0.07 11.9 ไม่พบ ไม่พบ 147.6 6.7 0.03 4.7 ไม่พบ ไม่พบ ดังกิ้น โดนัท ดับเบิลช็อค 22 60 ก. 413 19.8 0.11 23.6 4.12 5.88 247.8 11.88 0.06 13.9 2.4 3.4 มิสเตอร์ โดนัท ฮันนี่ ดิป 10 30 ก. 405 20.7 0.09 11.6 36.24 ไม่พบ 121.5 6.2 0.03 3.5 10.9 ไม่พบ มิสเตอร์ โดนัท ดับเบิลช็อค 12 50 ก. 453 26.6 0.12 13.0 ไม่พบ ไม่พบ 226.5 13.3 0.06 6.5 ไม่พบ ไม่พบ ครีสปี้ ครีม ออริจินัล 27 40 ก. 347 21.0 0 12.4 ไม่พบ ไม่พบ 138.8 8.4 0 4.9 ไม่พบ ไม่พบ แดดดี้ โด คลาสสิค เกรซ 22 30 ก. 451 26.4 0 9.8 6.54 ไม่พบ 135.3 8.0 0 3.0 2.0 ไม่พบ แดดดี้ โด ดับเบิลช็อค 22 40 ก. 460 26.1 0 13.7 ไม่พบ ไม่พบ 184 10.44 0 5.5 ไม่พบ ไม่พบ บัพเพิล โดนัท แคลิฟอร์เนีย อัลม่อน 26 40 ก. 473 29.6 0 8.4 5.02 ไม่พบ 189.2 11.84 0 3.4 2.0 ไม่พบ บัพเพิล โดนัท ช็อคโคโฮลิค 26 50 ก. 416 23.5 0 9.0 13.70 ไม่พบ 208 11.75 0 4.5 6.8 ไม่พบ รายงานผลเฉพาะที่ส่งตรวจเท่านั้นทดสอบโดย : สถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล   เปรียบเทียบพลังงานของโดนัทที่ทดสอบกับอาหารชนิดต่าง ๆ ขนิดของอาหาร พลังงาน (กิโลแคลอรี/ 100 กรัม) ไขมัน (กรัม) กลุ่มของหวาน เค้กปอนด์ โดนัท ฟรุ้ตเค้ก คุกกี้เนย บราวนี่ ไอศกรีมวานิลา 2 ก้อน ฝอยทอง ทองหยอด ขนมชั้น ลูกชุบ วุ้นกะทิ   473 420 380 458 485 280 423 337 273 268 133   29.5 23.4 15.3 17.0 31.5 ไม่มีข้อมูล 25.8 16.4 8.2 8.2 5.4

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 119 ลูกพลับกับสาลี่ ของดีจากเมืองจีน?

  ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกครั้ง คราวนี้เป็นสาลี่กับลูกพลับ ผลไม้นำเข้าจากเมืองจีน(ส่วนใหญ่) ว่ากันว่าเป็นของที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องปอกเปลือกก่อนกินนะครับ  ลูกพลับนั้น มีสรรพคุณเป็นยาได้แก่ ลดอาการปวดท้องที่เกิดจากความเย็น เช่น ปวดประจำเดือน หรือปวดโรคบิด แก้ไอหรือเจ็บคอ และทีเด็ดของลูกพลับนั้นก็คือ ช่วยลดความดัน ส่วนสาลี่ก็เช่นกัน ว่ากันว่า ช่วยบำรุงร่างกายและอวัยวะภายใน ช่วยย่อยอาหาร ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ (ข้อมูลจาก www.thaigoodview.com)   แต่ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ หากแต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาดนะครับถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาครับ   ฉลาดซื้อทดสอบ ทั้งลูกพลับและสาลี่ เก็บตัวอย่างภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ  ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ลูกพลับ เก็บตัวอย่าง 1 ครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นจำนวน 6 ตัวอย่าง จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่   6 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลา และสตูล เพื่อส่งทดสอบหาการตกค้างของ   ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า   1. มีการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83 โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ระหว่าง 0.02 – 0.54 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงอันตรายได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบอันตรายเพียงใดเนื่องจากทั้งมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลไม่ได้ระบุปริมาณสารเคมีตกค้างสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (Maximum Residue Limits: MRL) ไว้ในผลไม้ชนิดนี้  2. ไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในทุกตัวอย่าง  3. พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยพบสารเคมีจำนวน 2 ชนิดคือ แอล-ไซฮาโลทริน ที่ปริมาณต่ำกว่า 0.01 ถึง 0.01 มก./กก. และไซเปอร์เมทริน ที่ปริมาณ 0.01 – 0.05 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงความอันตรายของสารเคมีที่พบได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุค่า MRL ไว้ให้อ้างอิง   ข้อสังเกตมีเพียงตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ ที่ทำการทดสอบเลย   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พ.ย. 52)         Carbendazim Organophosphate Pyrethiod พลับ   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)     ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต สารพิษตกค้าง 288 กรุงเทพ แผงลอยใกล้รถไฟฟ้าซอยอารีย์ ไม่ปรากฎ < 0.1** ไม่พบ Cypermethrin 0.04** สมุทรสงคราม Tesco Lotus บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02** ไม่พบ Cyhalothrin  < 0.01**  Cypermethrin < 0.01** มหาสารคาม ตลาดสดอ.บรบือ นำเข้าจากจีน 0.08** ไม่พบ Cyhalothrin 0.01** Cypermethrin 0.05** สตูล Tesco Lotus นำเข้าจากจีน 0.545** ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากเกาหลี 0.0272** ไม่พบ ไม่พบ   **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX     สรุปความเสี่ยงของลูกพลับและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการพบยากันรา-คาร์เบนดาซิม และมีความเสี่ยงปานกลางต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ตกค้าง สำหรับความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีเมื่อบริโภคอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภค --------------------------------------------------------------------------------------------------------  สาลี่ เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัวอย่าง ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาเพื่อทดสอบหายากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบปรากฏว่า  1. ไม่พบการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง  2. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตชนิดคลอร์ไพริฟอสในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งที่ปริมาณ 0.02 และ 0.008 มก./กก. ตามลำดับ แต่ไม่สามารถระบุระดับความอันตรายได้ว่ามากน้อยเพียงใดเนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในทั้งมาตรฐานของประเทศไทยและในมาตรฐานอาหารสากล  3. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 3 ชนิด โดยมีรายการสารเคมีที่พบคือ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลอเรท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง ปริมาณขั้นต่ำสุดที่เครื่องตรวจวัดจะวัดได้ – 0.6 มก./กก.   เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่า 3 ชนิด ของสารเคมีในกลุ่มนี้ที่ตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ครั้ง ไม่ถูกระบุไว้ในค่า MRL ของ CODEX จึงไม่สามารถระบุความเสี่ยงจากการได้รับสารเคมีสู่ร่างกายได้ และมีเพียง 2 ชนิดที่ระบุได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนแทบจะตรวจวัดไม่ได้ ได้แก่ ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พฤศจิกายน 2552)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod สาลี่   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)   ไม่กำหนด ไม่กำหนด ไม่กำหนด จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.022** Cyhalothrin 0.069**   Cypermethrin 0.07** Fenvalerate 0.585**   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 3 (มกราคม 2553)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod       (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)       ไม่กำหนด ไม่กำหนด NA จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlopyriphos 0.0084** Fenvalerate 0.08** Cyfluthrin < LOQ* Deltamethrin < LOQ* *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX**ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ ความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้างในสาลี่  มีความเสี่ยงต่อการพบสารพิษตกค้างสูง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างอยู่ในระดับเดียวกับส้ม โดยเฉพาะในกลุ่มไพรีทอยด์ คำแนะนำในการบริโภคให้ปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการบริโภคและหลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 118 จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพ

จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพโดย พชร  แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี (นสธ.)  ใกล้ปีใหม่แล้ว เริ่มคิดจัดกระเช้าผลไม้ต้อนรับเทศกาลกันหรือยัง ถ้าตัดสินใจเลือกกระเช้าผลไม้เป็นของขวัญของฝาก เราก็ขอฝากข้อมูลไว้ให้พิจารณาเพิ่มด้วย ปีใหม่นี้จะได้แฮปปี้กันทั้งผู้ให้และผู้รับครับ  ผลไม้นั้นได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ แต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาด ถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณานะครับ แต่อย่าถึงขนาดเป็นทุกข์มากจนไม่รับประทานนะครับยังไงผลไม้ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าขนมครับ  ผมหยิบข้อมูลมานำเสนอสองชุด ข้อมูลชุดแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลไม้นำเข้าจาก โครงการศึกษาระบบการจัดการอาหารนำเข้าที่ด่านอาหารและยาในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ปี 2552 - 2553 ซึ่งได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างผักสดและผลไม้สดนำเข้ารวม 44 ตัวอย่าง (เป็นผลไม้สด 14 ตัวอย่าง) จากด่านอาหารและยาเชียงแสน (เชียงของ) ผลการวิเคราะห์พบยาฆ่าแมลง จำนวน 16 ตัวอย่าง โดยมี 7 ตัวอย่าง เป็นผลไม้สด ได้แก่ 1) องุ่น จำนวน 1 ตัวอย่าง พบแลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (แอล-ไซแฮโลทริน) ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) 2) ทับทิม จำนวน 2 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง 2 ชนิดคือคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ปริมาณ 0.02 – 0.09 มก./กก. และ ไซเพอร์เมทรินในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. 3) สาลี่ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบพิริมิฟอสเมทิล    ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.21 มก./กก. 4) ลูกพลับ จำนวน 3 ตัวอย่าง พบคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และไซเพอร์เมทริน กับ แอล-ไซแฮโลทริน ในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 และ 0.01 มก./กก. ตามลำดับ โดยสรุปจากข้อมูลชุดแรก ผลไม้นำเข้าทั้ง 4 ชนิดที่ทดสอบมีความเสี่ยงประมาณร้อยละ 50 ที่จะพบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตร แต่ทุกตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเป็นสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ในผลไม้ชนิดนั้น ๆ ทั้งมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากล ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดในผลไม้ต่าง ๆ นั้นเป็นอันตรายหรือ ไม่อย่างไร   ผลไม้จากโครงการเฝ้าระวังฯ ชุดนี้เป็นข้อมูลผลไม้สดที่จำหน่ายในประเทศ และทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ได้นำมาทดสอบ ได้แก่ ส้ม ส้มจีน แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ ลูกพลับ เพื่อหาการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร 4 ประเภทประกอบด้วย ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (สารเลียนแบบโครงสร้างโมเลกุลจากสาร Pyrethrins ที่สกัดได้จากดอกไม้พวกดอกเบญจมาศ) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (สารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) และกลุ่มคาร์บาเมต (สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชนิด แบ่งเป็น 2 ครั้งในปี 52 คือเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2552 และอีก 2 ครั้งในปี 53 คือเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม 2553 ส่วนผลการทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในผลไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยครับ   ส้ม เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 1 ครั้ง (ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า) จำนวน 8 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดเมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อส่งทดสอบหา การตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีทอยด์ และยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ผลการทดสอบพบว่า 1) มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ37.5 ที่ปริมาณ 0.07 – 0.24 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยพบในตัวอย่างของ บ.เซนคาร์ จำกัด จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ บ.เอกชัยดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และ บมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ที่ระบุให้มีคาร์เบนดาซิมในส้มได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   2) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในต้วอย่างจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 โดยพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงตั้งแต่ 1 – 4 ชนิด ในแต่ละตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.004 – 0.64 มก./ กก.  ยาฆ่าแมลงที่พบประกอบด้วย คลอร์ไพริฟอส อีไทออน โพรฟิโนฟอส ไดเมโธเอต ไดอาซินอน และมาลาไธออน เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่าทั้ง 6 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้และมี 3 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม พบโพรฟิโนฟอสเกินมาตรฐานที่ปริมาณ 0.64 0.47 และ 0.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ   3) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยมี 3 ตัวอย่างที่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี มหาสารคาม ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ชนิดของยาฆ่าแมลงที่พบในแต่ละตัวอย่างมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิด ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.03 – 0.54 มก./กก. ประกอบด้วย ไซเพอร์เมทริน เดลทาเมทริน แอล-ไซฮาโลทริน ไซฟลูทริน และเฟนวาเลท   ข้อสังเกต 1. มีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 25) ที่พบการตกค้างในทุกกลุ่มของสารเคมีที่ทำการทดสอบได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดกรุงเทพฯ พบการตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังไม่เกินมาตรฐานยกเว้นโพรฟิโนฟอสที่ตกค้างสูงเกินมาตรฐาน และสารอื่นที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด 2. และมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างเช่นกัน ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรเลยนอกจากนี้ทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปความเสี่ยงจากสารเคมีทางการเกษตรในส้มและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงในภาพรวมต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 60) และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมีแต่ละชนิดที่ตกค้างโดยเฉพาะ โพรฟิโนฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก (เกินครึ่งกิโลกรัมต่อวัน)     ส้มจีนเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่างโดยทดสอบหาสารตกค้างทางการเกษตร 3 กลุ่มเช่นเดียวกับที่ทดสอบในส้ม คือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ มีผลการทดสอบดังนี้ 1. พบยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 3 ตัวอย่างได้แก่ตัวอย่างจาก ตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.05 มก./ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคเนื่องจากไม่สูงเกินกว่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ซึ่งระบุไว้ที่ไม่เกิน 1 มก./กก. 2. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 50 และ 3 จาก 4 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้ ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส และไตรอะโซฟอส ปริมาณสารเคมีที่พบในทั้ง 4 ตัวอย่างอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.14 มก./กก. 3. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบฟลูไซทริเนตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบ แอล-ไซฮาโลทริน และ ไซฟลูทรินที่ปริมาณ 0.14 – 0.16 มก./กก. ตามลำดับ ข้อสังเกต 1. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบการตกค้างของสารเคมีเมทิดาไธออน (Methidathion) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ซึ่งผ่านมาตรฐาน CODEX แต่เป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการเฝ้าระวังการใช้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากมีอันตรายสูง อีกทั้งยังพบการตกค้างของสารเคมี ฟลูไซทริเนต (Flucythrinate) ซึ่งเป็นสารเคมีมีพิษร้ายแรงตามการจัดลำดับของ EPA (US Environmental Protection Agency) อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบถือว่าไม่สูงนัก (ต่ำกว่า 0.02 มก./กก.) จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันเมื่อบริโภค 2. มีเพียงตัวอย่างจากตลาดรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มใด ๆ เลย   สรุปความเสี่ยงของสารตกค้างในส้มจีนมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีทางการเกษตรตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (ร้อยละ 35 – 50) และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการได้รับสารเคมีตกค้างเข้าสู่ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปลอดภัย (ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่า 0.1 มก./กก.) แต่ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ   แอ็ปเปิ้ล  เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกันยายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง/ครั้ง เพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารเคมี 3 กลุ่มคือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า 1. มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมจำนวน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 27) เป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน 52 จำนวน 1 ตัวอย่างคือแอ็ปเปิ้ลเขียวของ หจก. สยาม เอส ซี ที จากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. และเป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. ตัวอย่างจากตลาดสดหาดใหญ่ใน จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามไม่สามารถระบุได้ว่าสารเคมีที่พบเป็นอันตรายแค่ไหนหากบริโภคเนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้หรือไม่และมากน้อยเพียงใดหากให้ใช้ในผลไม้ชนิดนี้ 2. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) จากการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยในเดือนกันยายน 52 พบ 2 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่พบอีไทออน และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบคลอร์ไพริฟอส และอีก 1 ตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 พบสารเคมีชนิดคลอร์ไพริฟอสในต้วอย่างของบ.วิตี้เฟรชฟรุ๊ต จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนแทบจะตรวจไม่พบโดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 53 จึงไม่น่าเป็นอันตรายแต่อย่างใดต่อการบริโภค   3. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40) แบ่งออกเป็น 4 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวม 0.73 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ที่ปริมาณรวม 0.08 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณรวม 0.04 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์สาขาลาดพร้าว กรุงเทพฯ ที่ปริมาณรวม 0.03 มก./กก. กับอีก 2 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคามที่ปริมาณรวม 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. โดยพบสารเคมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิดได้แก่ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีเพียงแค่ 2 ชนิดคือไซฟลูทรินและเดลทาเมทรินที่มีมาตรฐานกำกับการใช้ (มาตรฐานอาหารสากล-CODEX)   ข้อสังเกตมีตัวอย่างอย่างจาก 2 จังหวัดที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในแอ๊ปเปิ้ลเลยจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล   สรุปความเสี่ยงในแอ๊ปเปิ้ลและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงเกือบปานกลาง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีในระดับต่ำยกเว้นสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์บางชนิด คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 117 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ (2)

  “ฉลาดซื้อ” ฉบับที่แล้วนำเสนอได้เพียงแค่ คะน้ากับบร็อคโคลี่ คราวนี้เรามาต่อกัน อีกสามชนิด  ได้แก่  กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำและถั่วฝักยาว ครับ เป็นการสำรวจในครั้ง เดียวกันกับผักคะน้าและบร็อคโคลี่จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ดอกกะหล่ำ ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.59 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.14 มก./กก. 2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ พบสารคลอร์ไพริฟอสที่ปริมาณ 0.024 มก./กก.(2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบสารคลอร์ไพริฟอสเช่นกัน ที่ปริมาณ 0.0138 มก./กก.อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ในปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายกับการบริโภค 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 มาใช้ประกอบการพิจารณาจะพบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน สารเคมีที่พบได้แก่แลมป์-ดาไซฮาโลทริน เปอร์เมทริน ไซฟลูทริน เฟนวาเลอเรท และเดลทาเมทริน ปริมาณที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.3 มก./กก. โดยมีปริมาณรวมของสารเคมีตกค้างสูงสุดตามลำดับดังนี้(1) ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.5 มก./กก. (2) ต้วอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ที่ปริมาณ 0.4 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก.  สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในดอกกะหล่ำ มีความเสี่ยงกับการได้รับอันตรายจากยากันรา-คาร์เบนดาซิม สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ ดังนั้นหากจะรับประทานต้องทำการล้างให้สะอาดเรียบร้อยก่อนนำมาปรุงอาหาร ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim (มก./กก.) Organophosphate (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี กิตติพงษ์ ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin  0.15 Deltamethrin 0.01 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin 0.08 สงขลา ตลาดกิมหยง - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ คาร์ฟูร์ คาร์ฟูร์ 0.59 Chlorpyrifos 0.024 Cyhalothrin 0.0216 Permethrin 0.068   Cyfluthrin 0.078 Cypermethrin 0.101 Fenvalerate 0.03 Deltamethrin 0.311 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.14 Chlorpyrifos 0.0138 Cyhalothrin 0.02 Permethrin 0.11    Cypermethrin 0.05 Fenvalerate 0.265 Deltamethrin 0.024   กะหล่ำปลีตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน 52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี :  1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ โดยตัวอย่างที่พบ การปนเปื้อนได้แก่ (1) ตัวอย่างห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.24 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.16 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จากจ.พะเยามี 2 ชนิดคือ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่ปริมาณเท่ากันคือ 0.009 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครจ.เชียงใหม่พบการตกค้างของสารเคมี 4 ชนิดได้แก่ เมทามิโดฟอส(Methamidophos) คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) โพรทิโอฟอส (Prothiofos) และ อีพีเอ็น (EPN) ปริมาณของสารเคมี ที่พบทั้ง 4 ชนิดไม่มีชนิดใดสูงเกินกว่า 0.01 มก./กก.แม้ว่าจะพบสารเคมีมากกว่า 1 ชนิดในทั้งสองตัวอย่างแต่เนื่องจากปริมาณของสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ในจำนวนที่จัดได้ว่าน้อยมากทำให้ถึงจะนำปริมาณสารทั้งหมดที่พบมารวมกัน (ไม่เกิน 0.03 มก./กก.) ก็ยังเป็นปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อบริโภค  3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่างจาก (1) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ และ (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ที่มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างไม่ได้ระบุให้ใช้ได้จำนวน 5 ชนิดเท่ากัน ได้แก่ แลมป์ดา ไซแฮโลทริน (Lambda- Cyhalothrin)เปอร์เมทริน (Permethrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เฟนวาเลอเรท (Fenvalerate) และ เดลทาเมทริน (Deltamethrin)โดยตัวอย่างจากห้างแมคโคร  จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณรวมของสารเคมีสูงกว่าตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัสจังหวัดพะเยาเกือบสี่เท่าที่ปริมาณ 1.73 มก./กก. ขณะที่ตัวอย่างจากจังหวัดพะเยามีปริมาณของสารเคมีตกค้างรวมเท่ากับ 0.45 มก./กก.(3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม พบสารเคมีตกค้างเพียงชนิดเดียวคือเดลทาเมทริน ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก.   ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim(มก./กก.) Organophosphate(มก./กก.) Pyrethiod(มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี วุฒิ อำนวยชัยผลกิจ ไม่พบ ไม่พบ Deltamethrin 0.03 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ แม็คโคร แม็คโคร 0.16 Methamidophos 0.0059 Chlorpyrifos 0.0107  Prothiofos 0.0044            EPN* 0.0044 Cyhalothrin 0.216 Permethrin 0.068  Cyfluthrin 0.057 Cypermethrin 0.027 Fenvalerate 0.539 Deltamethrin 0.881 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.24 Methamidophos 0.0087 Chlorpyrifos 0.0089 Cyhalothrin 0.0217 Permethrin 0.11    Cyfluthrin 0.099 Cypermethrin 0.142 Fenvalerate 0.082 Deltamethrin 0.045 * = สารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน   ถั่วฝักยาว ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากห้างค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส คาร์ฟู และ แมคโครหรือตลาดสดของพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง เมื่อเดือนมีนาคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารเคมีปนเปื้อน 3 กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต ไพรีทอยด์ และคาร์บาเมต ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างฉบับที่ 288 มาประกอบการพิจารณาจะพบตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 4 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ โพรฟิโนฟอส (Profenofos), คลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และ เมทิดาไทออน (Methidathion) กับอีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน ตัวอย่างตกมาตรฐานที่พบการปนเปื้อนสูงสุดคือตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบ อีพีเอ็น ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่เฝ้าระวังการใช้งานที่ปริมาณ 0.48 มก./กก.   2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อพิจารณากับมาตรฐานจะพบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 3 ตัวอย่าง สารเคมีที่พบนอกเหนือหรือไม่ผ่านตามมาตรฐานกำหนดประกอบด้วย ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin)แลมป์ดา ไซฮาโลทริน (Lambda-Cyhalothrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เดลทาเมทริน (Deltamethrin) และเปอร์เมทริน (Permethrin) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก โลตัส จ.พะเยา พบสารเคมีปนเปื้อนทั้ง 4 ชนิด 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตเกินมาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่างคือตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงครามของผู้ผลิตคือร้านสมพิศ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สารเคมีที่พบได้แก่ คาร์โบฟูราน*(ฟูราดาน : สารเคมีทางการเกษตรที่หลายประเทศยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากมีอันตรายสูงแต่ประเทศจัดให้อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังการใช้งาน) ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในถั่วฝักยาวถั่วฝักยาวถือว่าเป็นผักที่เราผู้บริโภคต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะปกติเรามักจะทานเป็นผักแกล้มกับน้ำตก ส้มตำซึ่งเราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าร้านที่เราไปทานได้ล้างทำความสะอาดเรียบร้อยดีหรือเปล่า ถ้าไม่ไว้ใจยังไงก็ควรหลีกเลี่ยงหรือทานแต่น้อย หรือเลือกซื้อมาทานที่บ้านล้างผักเองแบบนี้น่าจะอุ่นใจกว่า ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในถั่วฝักยาว จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Organophosphate  (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) Carbamate (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 กรุงเทพ ตลาดซอยอารีย์ - Dimethoate 0.58 Cypermethrin 0.1 Methomyl* 0.02 สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส ร้านสมพิศ Methidathion* 0.01 ไม่พบ Carbofuran

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 117 “ขนมนำเข้า” เอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?

  “ฉลาดซื้อ” เราชอบเรื่องอาหาร (หมายถึงเรื่องการทดสอบนะ) ยิ่งเป็นขนมเรายิ่งชอบเป็นพิเศษ (ก็หมายถึงการทดสอบอีกนั้นแหละ...จริงๆ นะ) ฉบับนี้เราจึงขอนำเสนอผลการทดสอบที่แอบโกอินเตอร์นิดๆ กับการทดสอบ “ปริมาณน้ำตาลและสารปนเปื้อนในขนมนำเข้า”  ขนมนำเข้าแปลกตาแปลกลิ้น แม้แต่แพ็คเก็จที่ชวนให้สนใจและชวนให้น่าชิมกว่าขนมธรรมด้าธรรมดาทั่วไป หลายๆ คนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่จึงชื่นชอบที่จะลิ้มลองขนมจากต่างประเทศ จนอาจมองข้ามเรื่องปลอดภัยเพราะเข้าใจเอาเองว่ามาจากเมืองนอกต้องเป็นของดี “ฉลาดซื้อ” เราจึงอยากจะรู้ว่าขนมนำเข้าเอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?   ตารางผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “ขนมนำเข้าจากต่างประเทศ” (เก็บตัวอย่าง เดือนกันยายน 2553) ชื่อตัวอย่าง รูปแบบของขนม ประเทศที่ผลิต ผู้ผลิต ผู้นำเข้า วัน/เดือน/ปี ผลิต/หมดอายุ สถาที่ซื้อ/ชื่อร้าน ข้อมูลโภชนาการ ผลการตรวจวิเคราะห์ น้ำตาล (/100 กรัม) อะฟลาท็อกซิน สีผสมอาหาร เวจเจทเทเบิล แครกเกอร์ ตราฮาจูกุ ขนมปังกรอบโรยด้วยผัก จีน บริษัท โกลเด้นฟูจิ จำกัด เมืองตงก๋วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 23/04/10 22/04/11 เยาวราช มี 12.4 ไม่พบ ไม่พบ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม จีน Zhaoan Tongsheng Foods Co.,Ltd Zhaoan Minyue Trading&Developing Area Fujian Provine บริษัท ซันฟู้ดส์ เทรดดิ้ง จำกัด 840/3 ถ.เจริญกรุง บางโคล่ บางคอแหลม กทม. 10120 10/07/08 12/01/08 เยาวราช ไม่มี 61.0 ไม่พบ ไม่พบ ลูกพลัมแห้ง train brand ลูกพลัมแห้ง จีน Shan tou Sanwa Seike Co.,Ltd China บริษัท อ.เพชรเกษมฮาร์ดโดรม จำกัด 64 หมู่ 2 ตลาดสามพราน จ.นครปฐม 73110 หมดอายุ 28/2/12 เยาวราช มี-ภาษาอังกฤษ 57.5 ไม่พบ ไม่พบ Koala’s March Chocolate Snack ขนมปังบิสกิตส์สอดไส้ช็อคโกแลต จีน Lotte China Foods Co., Ltd. No.8 Yongchang North Road, Economic & Technological Development Area, Beijing, China - 1/6/10 2/9/11 เยาวราช ไม่มี 24.2 ไม่พบ ไม่พบ ลักซูรี บิสกิตส์ ไส้ครีมชีส ขนมปังบิสกิตส์ ไส้ครีมชีส มาเลเซีย Hwa Tai Industries Berhad 12 Jalan Jorak, Kawasan Perindustrian Tongkang Pecah, 83010 Batu Pahat, Johor, Malaysia บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 21/5/10 21/8/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 20.4 ไม่พบ ไม่พบ ช็อกโกแลต ชิพ อัลมอนด์ คุกกี ตราโคโค่แลนด์ คุกกีผสมช็อกโกแลตชิพและอัลมอนด์ มาเลเซีย โคโค่แลนด์ อินดัสทรี เอสดีเอ็น บีเอชดี รัฐเชลังกอร์ ประเทศมาเลเซีย บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 7/6/10 7/6/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 34.8 ไม่พบ ไม่พบ ยู้ปี้ กัมมี่ ไอซ์ โคล่า ชูการ์ โคทเต็ด วุ้นเจลาตินสำเร็จรูปกลิ่นโคล่าคลุกน้ำตาล อินโดนีเซีย พี ที ยูปิ อินโด เจลลี่กัม ประเทศอินโดนีเซีย บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด 122/2-3 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120 โทร. 0-2681-5081 หมดอายุ 30/6/12 พารากอน มี-ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย 49.5 ไม่พบ ไม่พบ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตราโอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต อินโดนีเซีย Kraft Foods Indonesia, Bekasi 17530, Indonesia บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด 2535 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 10/6/10 9/6/11 พารากอน มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 38.4 ไม่พบ ไม่พบ ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต สิงคโปร์ บริษัท เมจิ เซกะ (สิงคโปร์) จำกัด จูร่ง ประเทศสิงคโปร์ Thai Meiji Food Co., Ltd. 252/95 ยูนิต เอ และ บี ชั้น 18 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ อาคาร 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2694-3311 หมดอายุ 0/8/11 พารากอน มี – ภาษาไทย 29.3 ไม่พบ ไม่พบ sunsweet ลูกพรุนชนิดไม่มีเม็ด อเมริกา ซันสวีต โกรวเออร์ เมืองยูบา รัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 25/02/10 25/02/12 พาหุรัด มี - ภาษาอังกฤษ 26.9 ไม่พบ ไม่พบ  การทดสอบขนมนำเข้าจากต่างประเทศ -เป้าหมายแรกและเป้าหมายหลักของเราคือการเก็บขนมนำเข้าที่มาจากเมืองจีน เพราะจีนถือเป็นประเทศที่ส่งขนมต้องสงสัยมาขายบ้านเรามากที่สุด (แบบที่ไม่มีฉลากภาษาไทยหรือไม่มีเลขที่ อย. กำกับ) ซึ่งนอกจากขนมแล้วเรายังเก็บพวกผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งด้วย เพราะถือเป็นของกินเล่นอีกชนิดที่ฮิตมากในหมู่ผู้รักของอิมพอร์ตจากเมืองจีน เรียกว่าป๊อปปูล่าไม่แพ้แพนด้าหลินปิงเลยทีเดียว แต่ “ฉลาดซื้อ” ก็ไม่ได้มีใจเอนเอียงให้กับจีนเพียงประเทศเดียว เพราะเราก็เก็บตัวอย่างขนมที่มาจากอีกหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอเมริกา เรียกว่าเป็นงานระดับนานาชาติ -พื้นที่ที่ “ฉลาดซื้อ” บุกไปเก็บตัวอย่างสินค้าทดสอบก็คือกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของขนมต่างชาติในกรุงเทพฯ ก็คือ “ตลาดเยาวราช” ไล่ไปจนถึง “สำเพ็ง” และ “พาหุรัด” เรียกว่าไปเดินแถวนี้มีขนมให้เลือกสารพัดซึ่งว่ากันว่าที่มาที่ไปกว่าจะจบที่ตลาดเยาวราชของขนมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องตรวจวีซ่าที่ 3 จุดหลักๆ คือ ที่แม่สายจ.เชียงราย ที่ตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว และบริเวณชายแดนติดประเทศมาเลเซีย จ.ยะลา ซึ่งขนมที่เข้ามาทาง 3 จุดนี้จะเป็นขนมจากจีนและประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก   ส่วนขนมจากอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี มักจะได้อภิสิทธิพิเศษกว่า เพราะมักจะได้ขึ้นห้าง อย่างในการเก็บตัวอย่างทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ไปสำรวจห้างดังอย่างพารากอน ที่โซน กรูเมต์ มาร์เก็ต เราพบขนมอินเตอร์เพียบ!!! นอกจากนี้เดี๋ยวนี้ยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่ขนมต่างชาติจะเข้าถึงผู้บริโภค นั่นก็การสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งคนมีใจดีไปซื้อจากประเทศนั้นๆ แล้วนำมาขายต่อเราอีกที ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนมยี่ห้อดังๆ ที่ไม่มีขายในบ้านเราจาก ญี่ปุ่นบ้าง เกาหลีบ้าง (จากการที่เราได้ไปเก็บตัวอย่างขนมในย่านเยาวราชและพาหุรัด เราพบว่าขนมชนิดเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน หากซื้อที่เยาวราช อาจได้ราคาถูกกว่าที่ขายอยู่ที่พาหุรัดถึงเกือบ 20 บาท!) ผลการทดสอบ-ผลการทดสอบครั้งนี้เราตั้งใจตรวจสอบหาปริมาณน้ำตาล สีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซิน ในขนมนำเข้าซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะสีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซินไม่พบการปนเปื้อนเลยในทั้ง 10 ตัวอย่าง  -ปริมาณน้ำตาลที่พบก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากแต่ก็ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำตาลมากเกินไปอยู่เหมือนกัน โดยปกติคนไทยเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวันผลการทดสอบที่ออกมาจะเป็นการเทียบในปริมาณ 100 กรัม ทำให้มีหลายๆ ตัวอย่างมีปริมาณน้ำตาลเกิน 24 กรัมไปพอสมควร แต่แน่นอนว่าเราคงไม่ค่อยได้กินขนมครั้งละ 100 กรัมกันบ่อย ยกตัวอย่าง “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 61 กรัม / 100 กรัม ซึ่งปกติ “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” 1 เม็ดจะมีน้ำหนักประมาณ 10 กรัม เท่ากับว่าถ้าเรากิน 1 เม็ดก็จะได้น้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6.1 กรัม หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่เราต้องใน 1 วัน ดังนั้นถ้าขนมเป็นแค่ของรับประทานเล่น แค่เม็ดเดียวก็น่าจะเพียงพอกับหนึ่งวัน เพราะเรายังต้องรับประทานอาหารจานหลักอีกตั้ง 3 มื้อ และยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างที่เรารับประทานใน 1 วัน ซึ่งทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมทั้งนั้น  หรืออย่าง “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ที่พบน้ำตาล 29.3 กรัม / 100 กรัมขณะที่ “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ขนาดเล็กที่สุดจะหนักอยู่ที่ 27 กรัมต่อซองเท่ากับว่าถ้าน้องๆ หนูๆ กินหมด 1 ซองก็จะได้น้ำตาลไป 7.9 กรัม ก็ถือว่าสูงไม่น้อยเลยทีเดียว   ฉลาดซื้อแนะ สรุปง่ายๆ ก็คือ อย่างที่เรารู้กันว่า ขนมส่วนใหญ่ส่วนประกอบหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นน้ำตาล ไม่ว่าจะขนมนำเข้าหรือขนมบ้านเราเอง ซึ่งขนมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีประโยชน์กับร่างกาย ให้แค่พลังงานซึ่งเราได้จากการรับประทานอาหารจานหลักอยู่แล้ว แต่ก็ยังไงซะขนมก็มีรสชาติและเสน่ห์เฉพาะของมัน บางคนพอได้กินแล้วก็มีความสุข ที่เครียดๆ เหนื่อยๆ มา ได้กินขนมสักหน่อยก็ยิ้มได้หายเครียด ยิ่งกับเด็กๆ ขนมก็เหมือนเป็นของคู่ใจจะห้ามไม่ให้กินเลยก็ดูจะใจร้ายไปหน่อย  เอาเป็นว่าใครที่ยังติดใจรสหวานๆ ของขนม ก็ขอให้รับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป คือแค่กินเล่นไม่ใช้กินเอาอิ่มหรือกินแทนข้าว และให้ค่อยเตือนตัวเองไว้เสมอว่าทุกครั้งที่เรากินขนมเรากำลังกินน้ำตาลที่ไม่จำเป็นกับร่างกายเข้าไปด้วย ยิ่งกินมากก็ยิ่งอ้วน ยิ่งกินมากก็ยิ่งมีสิทธิป่วยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ________________________________________________________________________ (คนไทยรับประทานขนมหวานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 กรัมต่อคนต่อปี ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ คนอเมริกาที่รับประทานขนมหวานกันเฉลี่ยปีละ 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือคนอังกฤษที่รับประทานเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือเทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่างเวียดนามก็ยังรับประทานขนมหวามมากกว่าเราคือ เฉลี่ยที่ 2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี)ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ________________________________________________________________________

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 116 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ(1)

ใครๆ ก็รู้ว่าทาน “ผัก” นั่นดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย กินแล้วสุขภาพดี ผิวพรรณดี แต่หน้าตาจะดีด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เดี๋ยวก่อน!? คนที่รักการกินผักอย่าเพิ่งมีความสุขกับการกินผักจนมองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะเดี๋ยวนี้โลกของเราเปลี่ยนไป ผักดีๆ ก็อาจกลายเป็นวายร้ายทำลายสุขภาพเราได้ ก็จะเพราะอะไรซะอีกละ ถ้าไม่ใช้บรรดาสารเคมีตกค้างจากการเพราะปลูก ที่ใส่เพื่อให้ผักโตไว ไล่แมลง และจะได้มีใบสวยๆ แต่ถ้าเรารับประทานเข้าไปรับรองชีวิตนี้ไม่สวยแน่ๆ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้เราจึงมีผลทดสอบสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยม 3 ชนิด ได้แก่ คะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล มานำเสนอ   บร็อคโคลี่ตัวอย่างที่ทดสอบ : 16 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 กับเดือนมกราคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในบร็อคโคลี่ :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของคาร์เบนดาซิมได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.92 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.43 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.สตูล เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มก./กก.  2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดที่ไม่ใช่มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมาตรฐาน มกอช. และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 ระบุให้ใช้ได้ สารเคมีที่พบได้แก่ อะซีเฟต (Acephate) โพรฟิโนฟอส (Profenofos) เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และมีปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.005 – 0.09 มก./กก. ตัวอย่างที่พบสารเคมีสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) ที่ปริมาณ 0.09  มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กทม. เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบอะซีเฟต (Acephate) ที่ปริมาณ 0.08 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 1 กทม. และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ทั้ง 2 ตัวอย่าง 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) แลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (Lambda-cyhalothrin) เฟนวาเลอเรต (Fenvalerate) และไซฟลูทริน (Cyfluthrin) และมีปริมาณสารเคมีที่พบในแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนมากในปริมาณที่ต้องระวังได้แก่ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นในปริมาณรวมกันเท่ากับ 1.61 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดเช่นเดียวกับตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวมกันเท่ากับ 0.59 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในบร็อคโคลี่จากผลการทดสอบจะเห็นว่าบร็อคโคลี่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีหลายชนิดโดยเฉพาะตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยาเช่นเดียวกับผักคะน้าแต่อยู่ในอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าเนื่องจากปริมาณสะสมของสารเคมีที่พบมีน้อยกว่า     คะน้า ตัวอย่างที่ทดสอบ : 24 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 เดือนมกราคม 2553 และเดือนมีนาคม 2553  สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่ม   ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในคะน้า :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง (*มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. – 2551) มีระบุไว้ว่ายากันรา-คาร์เบนดาซิมจะพบมากในของแห้ง เครื่องเทศ และผลไม้ แต่ในผักคะน้าไม่มีระบุไว้ (ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ควรพบสารดังกล่าวตกค้างในผักคะน้า) 3 ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขามหาสารคาม จ.มหาสารคาม เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 2.41 มก./กก. (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครสาขาหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 1.93 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยาเก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.48 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบการปนเปื้อนของสารเคมี 2 – 3  ชนิดในตัวอย่างเดียว โดยมีชนิดของสารเคมีที่พบ ได้แก่ เมทามิโดฟอส (Methamidophos), โพรฟิโนฟอส (Profenophos) และ ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos) กับ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน โดยสารเคมีทั้งหมดไม่อนุญาตให้ใช้ในผักคะน้า สำหรับตัวอย่างที่พบสารเคมีปนเปื้อนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีร่วมกันหลายชนิดแต่อยู่ในปริมาณน้อยมากยกเว้นเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณสูงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ โพรฟิโนฟอส ที่ปริมาณ 0.67 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด อีพีเอ็น (EPN) ที่ปริมาณ 0.38 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos)* ที่ปริมาณ 0.36 มก./กก.   3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบยาฆ่าแมลงสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 สารเคมีที่พบคือ ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 8.54 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะหากเทียบกับผักตระกูลกะหล่ำแล้ว ปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐานมกอช. กำหนดไว้ถึง 8 เท่า] คู่กับ แลมป์ดาไซแฮโลทริน (lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.04 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 8.58 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 4.22 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐาน มกอช. ระบุให้ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 มก./กก. ไปเกือบ 9 เท่า] ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.1 มก./กก. ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) ที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. และ เปอร์เมทริน (Permethrin) ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 4.44 มก./กก. (หมายเหตุ: สารเคมีที่มาตรฐานอนุญาตให้ใช้ได้และมีการใช้ไม่เกินมาตรฐานจะไม่ถูกนำมารวมคำนวนด้วย) (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 0.97 มก./กก. ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.43 มก./กก. และ แลมป์ดาไซแฮโลทริน ((lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. รวมปริมาณสารเคมีทั้งหมดเท่ากับ 1.42 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในผักคะน้าคะน้าถือเป็นผักยอดฮิตนิยมนำมาทำเป็นอาหารหลายเมนู จากปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละประเภทในการทดสอบ สามารถสรุปได้ว่าผักคะน้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างทางการเกษตร ดังนั้นควรต้องมีการล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนรับประทาน เวลาซื้อมาทำอาหารก็ควรเลือกที่ใบมีรอยกัดกินของแมลงบ้าง ถ้าเลือกแต่ที่ใบสวยงามเรียบร้อยรับประกันได้เลยว่าได้รับสารเคมีมาเพียบแน่นอน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง   แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ  Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้  แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย  ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส   • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง)   • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน   • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย   • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40)   • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)  พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า   • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว   • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง   • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก   • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย   • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ   • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง   • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว   • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง   • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ   • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ)   • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน   • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ)   • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น   • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ)   • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม   • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป   • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กินเส้นใหญ่ระวังไตพัง

ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งในอาหารจานด่วนที่บริโภคกันมาก เพราะมีสารพัดสูตรให้เลือกชิมเลือกทาน ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ บะหมี่หมูแดง ราดหน้า ผัดซีอิ้ว ก็ใช่ เรียกว่ามากมาย จนสาธยายไม่หมด ซึ่งตัวเส้นก๋วยเตี๋ยวก็มีหลากหลาย ชนิด ทั้ง เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ วุ้นเส้น บะหมี่ โซบะ เส้นขนมจีน และเส้นก๋วยจั๊บ โดยเส้นก๋วยเตี๋ยว  ส่วนใหญ่จะทำจากแป้งข้าวเจ้า บะหมี่ทำจากแป้งสาลี  ผสมไข่ ส่วนวุ้นเส้นทำจากแป้งถั่วเขียวผสมน้ำโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความ  ปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้เก็บตัวอย่างเส้น  ก๋วยเตี๋ยวจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ เส้นใหญ่จำนวน 8  ตัวอย่าง เส้นเล็กจำนวน 8 ตัวอย่าง เส้นหมี่(ขาว)  จำนวน 5 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่จำนวน 6 ตัวอย่าง  และเส้นขนมจีนจำนวน 4 ตัวอย่าง จากตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 8 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ  สมุทรสงคราม   ขอนแก่น   มหาสารคาม    เชียงใหม่   พะเยา สงขลา และ สตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3   เมื่อเดือนมกราคม 2553 รวมจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้น 31 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนใน  อาหารกลุ่มสารกันบูดและสีผสมอาหารที่เป็นวัตถุ   เจือปนอาหาร นอกจากนั้นยังมีการตรวจหาสารพิษ  จากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นแห้ง และการทดสอบทางจุลินทรีย์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว  ประเภทเส้นสดเพื่อหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์รวม เชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล และเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า   ผลการทดสอบเส้นก๋วยเตี๋ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่า เส้นใหญ่  ข่าวดี – พบสารกันบูดในปริมาณที่น้อยลงกว่า  ที่ศูนย์วิทยาศาสตรการแพทย์อุบลราชธานีเคย  แถลงข่าวเมื่อปี พ.ศ. 2550 กว่าหกเท่าตัว คือจาก ประมาณ 3,900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเหลือไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ข่าวร้าย – ไม่มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภท  เส้นใหญ่ใดที่ไม่พบการปนเปื้อน โดยทุกตัวอย่างมี อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทางจุลินทรีย์หรือทางเคมี ดังมีรายละเอียดดังนี้ - พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค จำนวน 7 ตัวอย่างจากตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 8 ตัวอย่าง โดย มีอัตราเฉลี่ยของกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 570.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับประมาณ 125 - 175  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  1 ชาม (ประมาณ 150 - 250 กรัม) จำนวนกรด  เบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกคือ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 836.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 209 มิลลิกรัม/250 กรัม หรือเท่ากับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะให้บริโภคได้สูงสุดต่อวันในคน น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม [ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ได้สูงสุดต่อวัน (ADI) เท่ากับ 0-5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม หรือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ในคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม] (2) ก๋วยเตี๋ยวเส้นสดตราเส้นทิพย์ที่เก็บจากตลาดบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 598 มิลลิกรัม/กิโลกรัมเทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ148 มิลลิกรัม/250 กรัม (3) ตัวอย่างที่เก็บจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ596.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 146 มิลลิกรัม/250 กรัม- พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิคจำนวน2 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยมีอัตราเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 428.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิคทั้ง 2 ตัวอย่าง ได้แก่เส้นใหญ่สดของโรงก๋วยเตี๋ยวไทยเจริญ เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 505.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมและเส้นใหญ่แสงชัยตราพระอาทิตย์ เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 352 มิลลิกรัม/กิโลกรัม- พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย- พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่าจุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม หมายเหตุ- เส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นใหญ่ตราพระอาทิตย์ที่เก็บตัวอย่าง  จากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่นพบสารกันบูดทั้ง  กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ในผลิตภัณฑ์เดียวโดยปริมาณ  รวมของกรดทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 942 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบจะเท่ากับที่เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศหรือ CODEX กำหนดไว้ที่ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - เส้นก๋วยเตี๋ยวจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหารด้านสารกันบูด (กรดเบนโซอิค) และไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาฯ ของกรมวิทยาสตร์การแพทย์ - เส้นก๋วยเตี๋ยวกว่าครึ่งไม่ทราบผู้ผลิตและทั้งหมดไม่ระบุวันหมดอายุ  อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง  ที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตย  กรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง  ถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย - พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบ ค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่า  จุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม   ฉลาดซื้อแนะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่บริโภคนอกบ้าน  เราไม่สามารถรู้ได้ว่าผลิตจากที่ไหน และมี  กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง ดังนั้นหาก  ต้องการบริโภคเส้นใหญ่นอกบ้านไม่ว่าจะเป็น  ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ  เส้นใหญ่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ชามต่อวัน   และไม่ควรบริโภคติดต่อกันทุกวัน เนื่องจาก  จะเกิดการสะสมและทำให้ประสิทธิภาพการ ทำงานของตับและไตลดลง และอาจเป็น  สาเหตุให้เกิดโรคไตได้ ค่ามาตรฐานเส้นก๋วยเตี๋ยว- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร จะไม่ระบุให้ผู้ประกอบการใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคใน  เส้นก๋วยเตี๋ยวได้ - ขณะที่มาตรฐานสากล (CODEX) ระบุให้ใช้ได้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับกรดเบนโซอิค และไม่ระบุว่าให้ใช้ได้หรือไม่สำหรับกรดซอร์บิค - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อนุญาตให้มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ไม่อนุญาตให้ใส่สีผสมอาหารในเส้นบะหมี่ - เกณฑ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดเรื่องจุลินทรีย์ในอาหารไว้ดังนี้ - Total plate count หรือ จุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1 x 106 cfu/g - E. coli อี.โคไล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ เก็กฮวย

    “ดอกเก๊กฮวย” เป็นไม้ดอกในตระกูลเบญจมาศ มี ถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ถือเป็นไม้ดอกที่ มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ดอกจะบานสวยงามในหน้าหนาว ในประเทศจีนยกให้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และความมีคุณธรรมที่ไม่ยอมโอนอ่อนตามฤดูกาล ซึ่งดอกเบญจมาศถือเป็นดอกไม้ที่มีการซื้อขายกันมากทั่วโลก เพราะปลูกง่ายและมีหลากหลายพันธุ์ ทั้งแบบสวยงามใช้เพื่อการประดับตกแต่ง และแบบที่นำมาทำเครื่องดื่มซึ่งก็คือ ดอกเก๊กฮวย นั่นเอง   ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ “เก๊กฮวย” เป็นธรรมดาเวลาที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนๆ หรือทำงานมาเหนื่อยๆ หลายคนก็คงรู้สึกกระหายอยากดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ที่ดื่มแล้วทำให้รู้สึกชื่นใจ หายเหนื่อย และถ้ามีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยก็จะดีไม่น้อย แต่ก็คงมีบางคนที่อาจจะเบื่อน้ำเปล่า หรือถ้าเป็นชา กาแฟก็ไม่ค่อยถูกใจ น้ำอัดลมดื่มแล้วไม่มีประโยชน์ ส่วนน้ำผลไม้ก็แพงเกินไป  “ฉลาดซื้อ” จึงอยากแนะนำเครื่องดื่มสมุนไพร ดื่มแล้วชื่นใจ แถมให้ประโยชน์ ที่ไม่ว่าใครก็รู้จักกันดี อย่าง “เก๊กฮวย” น้ำเก๊กฮวย เป็นเครื่องดื่มในดวงใจของใครหลายๆ คน ด้วยกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จะต้มดื่มเองก็ง่าย จะซื้อแบบพร้อมดื่มก็สะดวกดีเพราะมีขายอยู่ทั่วไป ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น   ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับเก๊กฮวยว่า มีการตรวจพบอาหารหลายชนิดที่นำเข้ามาจากจีนที่ด่านอาหารและยาเชียงแสน จ.เชียงราย มีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปริมาณสูง ซึ่งมีดอกเก๊กฮวยแห้งรวมอยู่ด้วย เพื่อความสบายใจของคนที่ชอบดื่มน้ำเก๊กฮวย “ฉลาดซื้อ” จึงขออาสาพิสูจน์ความจริง มาดูกันซิว่าจะมีสิ่งไม่พึ่งประสงค์อยู่ในเก๊กฮวยหรือเปล่า   “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” อันตรายยังไง?  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารเจือปนอาหารที่มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จุลินทรีย์ และรา จึงช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหาร ยืดอายุของอาหาร แถมยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของอาหารได้ด้วย   แต่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันตรายต่อร่างกาย แม้ร่างกายสามารถขับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้โดยการปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะมีผลไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 อาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้รับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายมากๆ คือ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนหัว คนที่แพ้มากๆ หรือเป็นหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้   นอกจากดอกเก๊กฮวยแห้งแล้ว ยังมีอาหารอีก   หลายชนิดที่มีโอกาสเสี่ยงซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น  ผักผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้กระป๋อง แยม น้ำตาลทราย เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ แป้ง อาหารแช่แข็ง ฯลฯ    ผลทดสอบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้ง   “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่าง ดอกเก๊กฮวยแห้ง สำหรับนำไปต้มดื่มเองที่บ้าน ซึ่งตัวอย่างที่เราเก็บส่วนใหญ่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง มีเพียงหนึ่งตัวอย่าง (ดอกเก๊กฮวยแห้งตราเสือ) ที่เราไปเลือกซื้อที่ตลาดเยาวราช เพราะน่าจะเป็นที่ที่แม่ค้าหลายเจ้าไปซื้อเพื่อนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยขาย ต่ออีกที ซึ่งช่วงที่เราไปซื้อตัวอย่างยี่ห้อดังกล่าว พบว่ามีวางจำหน่ายอยู่หลายร้านในตลาดเยาวราช เราจึงคาดว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งยี่ห้อนี้น่าจะเป็นที่นิยมพอสมควร     • สำหรับข้อกำหนดของการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งนั้น ประกาศกระทรวง  สาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ.2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งนับรวมดอกเก๊กฮวยแห้งเอาไว้ด้วย ได้กำหนดไว้ว่าอนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม • ในการทดสอบหาสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ มีอยู่ 2 ตัวอย่างจากทั้งหมด 8 ตัวอย่าง  ซึ่งพบในระดับที่สูงที่เกินกว่าประกาศของกระทรวงสาธารณสุขค่อนข้างมาก คือ สมุนไพร ดอกเก๊กฮวย  ตรา ดร.กรีน พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 754.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ดอกเก๊กฮวย ตรา Tesco  พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 155.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   • อย่าเพิ่งตกใจแม้จะเห็นตัวเลขการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งที่เราทดสอบสูงกว่า  มาตรฐานที่กำหนดค่อนข้างมาก แต่ก็ถือเป็นตัวเลขที่เทียบจากปริมาณดอกเก๊กฮวยแห้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะมากยิ่งนำไปต้มเป็นน้ำดื่มก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้นไปอีก แถมยังมีเพียงแค่ 2 จาก 8 ตัวอย่างเท่านั้น ที่พบการปนเปื้อน นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งในวางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ปลอดภัย   • แต่คราวหน้าถ้าจะซื้อดอกเก๊กฮวยแห้งมาต้มน้ำเก๊กฮวยดื่มที่บ้าน ก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่บรรจุมิดชิด สะอาด มีชื่อที่อยู่ผู้ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุระบุไว้ชัดเจน หรือถ้ามีบอกกรรมวิธีการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ก็จะยิ่งดีมาก • ในการทดสอบดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ ”ฉลาดซื้อ” ยังได้ทดสอบหาการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินด้วยซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในดอกเก๊กฮวยแห้งทั้ง 8 ตัวอย่าง -------------------------------------------------- ประโยชน์ของการดื่มน้ำเก๊กฮวย -น้ำเก๊กฮวยดื่มแล้วชื่นใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น แก้กระหาย แถมช่วยแก้ร้อนใน ขับพิษร้อน ขับลม ขับเหงื่อได้ด้วย -ดอกเก๊กฮวยสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ช่วยบำรุงสายตา บรรเทาอาการไข้ แก้วิงเวียนศีรษะ และอาการหน้ามืด -เป็นยาระบายและช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง -ดื่มน้ำเก๊กฮวยช่วยบำรุงหัวใจ และระบบการทำงานของหลอดเลือด ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ จึงช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดตีบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย

  เฟรนช์ฟราย ของอร่อยที่มากับความน่ากลัว (รึเปล่า) หากพูดถึงร้านอาหารจานด่วนหรือร้านฟาสต์ฟู้ด ผมมั่นใจได้ว่าเฟรนช์ฟรายจะมาเป็นลำดับต้น ๆ ของรายการอาหารในร้านอาหารจานด่วนที่ท่านผู้อ่านจะนึกถึง เฟร้นช์ฟรายหรือมันฝรั่งแท่งทอดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเบลเยียมในปี ค.ศ. 1680 ภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศในยุโรปจนมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1856 โดยพ่อครัวชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งทำอาหารชนิดนี้และนำไปเสิร์ฟให้กับประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ในชื่อสั้น ๆ ว่า ฟราย (Fries) และกลายเป็นรายการอาหารหลักในร้านฟาสต์ฟู้ด จัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำกำไรได้มากที่สุดของร้านอาหารจานด่วนต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทย   เพื่อทดสอบความปลอดภัยของเฟรนช์ฟรายที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบัน ทางโครงการพัฒนากลไกการ เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคจึงได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟราย จำนวน 30 ตัวอย่าง ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 เก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ดเฟรนไชส์ใหญ่ จำนวน 6 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ เบอร์เกอร์คิง เอแอนด์ดับบลิว และมอสเบอร์เกอร์ ในกรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟรายจากร้านอาหารจานด่วนขนาดเล็ก อีก 2 ร้าน คือร้านยูเฟรนและร้านอีสานคลาสสิคในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 จากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ และเบอร์เกอร์คิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3 เก็บตัวอย่างซ้ำของครั้งที่ 1 และ 2 ในเดือนเมษายน 2553 ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่จำนวน 6 ยี่ห้อที่เก็บเมื่อการเก็บตัวอย่างครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 รวม 9 ตัวอย่าง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และตัวอย่างจากร้านเคเอฟซีอีก 2 สาขา จำนวน 4 ตัวอย่าง กับตัวอย่างจากร้านยูเฟรน และร้านทีสเต็ก รวม 4 ตัวอย่าง ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยตรวจหาปริมาณเกลือ (Salt) ไขมันทรานส์ (Trans fat) และค่าของกรด (Acid Value) ผลการทดสอบ(3 ครั้ง) พบว่า• เกลือหรือโซเดียมยังสูง...น่าห่วงการทดสอบปริมาณเกลือหรือโซเดียมในเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ที่เก็บเมื่อเดือนมีนาคม 2553 นั้นทั้ง 6 ตัวอย่างของเฟรนช์ฟรายที่ทดสอบ มีปริมาณเกลือในระดับที่สูงและจัดว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อไตได้หากมีการบริโภคติดต่อกันในระยะยาว โดยมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 1.48 กรัม/100 กรัม เทียบน้ำหนักต่อห่อของเฟรนช์ฟรายจะพบว่า 1 ห่อมีน้ำหนักอยู่ที่ 150 – 200 กรัม ซึ่งหากใช้ปริมาณเฉลี่ยที่ตรวจพบเป็นฐานคิดจะพบว่าในการบริโภคเฟรนช์ฟราย 1 ห่อจะได้รับเกลือเข้าร่างกายประมาณ 2.2 กรัม – 2-9 กรัม/หน่วยบริโภค ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าหรือสูงกว่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย(Thai RDI) ที่ระบุไว้ว่าควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัมหรือ 2.4 กรัมต่อวัน   • ไขมันทรานส์ ต่ำกว่าเกณฑ์เป็นอันตรายการทดสอบไขมันทรานส์ (Trans fat) ที่เป็นตัวเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ในเลือดและลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL: high-density lipoprotein) ในเลือด อันก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการบริโภค โดยพบไขมันทรานส์ในทั้ง 10 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจในการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ด้วยอัตราเฉลี่ย เท่ากับ 0.09 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.14 – 0.18 กรัม/หน่วยบริโภคที่ 150 – 200 กรัม ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2553 พบไขมันทรานส์ในตัวอย่างจำนวน 5 จาก 6 ตัวอย่างที่ทดสอบด้วยอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.04 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.06 – 0.08 กรัม/หน่วยบริโภค 150 – 200 กรัมซึ่งค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบในการทดสอบทั้งสองครั้งนั้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานการบริโภคไขมันทรานส์ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 0.7 กรัม/หน่วยบริโภคอยู่อย่างน้อยกว่า 3 เท่า     • น้ำมันทอดซ้ำ ยังเข้าข่ายเฝ้าระวังการทดสอบค่าของกรด (Acid Value) [จำนวนมิลลิกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยาเป็นกลาง (Neutralize) พอดีกับกรดไขมันอิสระที่มีอยู่ในน้ำมันหรือไขมัน 1 กรัม] ซึ่งค่าของกรดจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในการทอดอาหาร โดยหากค่าของกรดต่ำหมายความว่าน้ำมันที่ใช้มีคุณภาพดีและหากค่าของกรดสูงหมายความว่าน้ำมันที่ใช้ผ่านการใช้ซ้ำมาแล้วหลายครั้ง จากการทดสอบพบว่า มีค่าเฉลี่ยของค่าของกรดจากการทดสอบครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2553 เท่ากับ 2.06 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 15 ตัวอย่างส่งตรวจ ที่พบค่าของกรดสูงกว่า 3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) [อ้างอิงโดยอนุโลมจากค่ามาตรฐานตามกฎหมายสาธารณสุขด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น (Japan Food Sanitation Act) เรื่อง น้ำมันในอาหารซึ่งสกัดออกจากอาหารของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป]       ได้แก่ ตัวอย่างจากร้าน เคเอฟซี สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าวที่ปริมาณ 5.44 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และตัวอย่างจากร้านเบอร์เกอร์คิง สาขามาบุญครอง ที่ปริมาณ 4.47 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างอีก 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณค่าของกรดใกล้เคียงกับมาตรฐาน (สูงกว่า 2 แต่ไม่ถึง 3 mgKOH/g oil โดยอ้างอิงเกณฑ์พึงระวังจากมาตรฐานกลางหรือโคเด็กซ์ - Codex Commodity Standard) คือตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ปริมาณ 2.52 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 ตัวอย่างจากร้านเคเอฟซี สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และ ตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.22 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552         บริโภคแต่น้อย เพื่อสุขภาพที่ดีเมื่อดูภาพรวมหลังการทดสอบ การบริโภคเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตอันเนื่องมาจากได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจอันเนื่องมาจากการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำ แต่ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตจะไร้สีสันไปสักนิดหากงดบริโภคไปเลย ก็มีข้อแนะนำดังนี้  • ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเฟรนช์ฟรายที่ขายในร้านอาหารจานด่วนทั้งหลาย โดยเฉพาะเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ เพราะโอกาสที่จะกินให้หมดเนื่องจากเสียดายมีสูง • หากจะบริโภคจริงๆ ก็เลือกขนาดเล็ก กินให้น้อยและไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้เจ้าของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารในร้านบ่อยๆ และใส่เกลือลงในเฟรนช์ฟรายให้น้อยลง • ทำกินเองที่บ้านก็ดีนะครับ เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือที่จะใช้และอุณหภูมิในการทอดและคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ทอดได้------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  “น้ำมันทอดซ้ำ” น้ำมันทอดซ้ำ ถือเป็นภัยใกล้ตัวคนไทย เพราะบ้านเรามีพวกอาหารทอดๆ ขายเยอะแยะเต็มไปหมด น้ำมันทอดซ้ำก็คือน้ำมันที่ผ่านการทอดมาหลายครั้งจนเสื่อมคุณภาพและเกิดการแตกตัวเป็นสารโพลาร์ ซึ่งทำให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นหืน และเป็นต้นเหตุทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ทำให้ตับเสื่อม นอกจานี้ยังก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีที่จะเลี่ยงภัยเสี่ยงจากน้ำมันทอดซ้ำ ก็ต้องพยายามสังเกตน้ำมันที่ร้านค้านั้นใช้ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือมีสีดำคล้ำ เวลาทอดต้องไม่มีฟองกับควันมากเกินไป เพราะนั้นแสดงว่าน้ำมันใช้มานาน ส่วนใครที่ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน มีหลายวิธีหลีกหนีจากภัยน้ำมันทอดซ้ำ เช่น ไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง หรือหากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ให้เทน้ำมันเก่าทิ้ง 1 ใน 3 แล้วเติมน้ำมันใหม่ลงไปแทน ไม่ควรทอดไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 160 – 180 องศาเซลเซียส หรือซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด ก็ช่วยชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมันได้ เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย!โดย นายพชร แกล้วกล้าผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 ปลาหมึกแห้ง ของดีแต่มีเสี่ยง

ปลาหมึกแห้ง จัดเป็นอาหารแปรรูปที่ขายดีอันดับหนึ่ง หาซื้อไม่ยากจะเอามาทำอะไรกินก็ง่ายจะทอดหรือย่างก็อร่อย ปลาหมึกที่นำมาทำปลาหมึกแห้งมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ  ปลาหมึกกล้วย และปลาหมึกสาย ผลการทดสอบที่นำเสนอนี้เป็นผลจากการทดสอบตัวอย่างอาหารจำนวน 8 ตัวอย่างจาก 8 จังหวัด ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ โดยเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 2553 ครับ   ปลาหมึกแห้งที่เก็บตัวอย่างนี้เรานำมาทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 กลุ่ม คือ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซิน ซึ่งอาจจะมาจากการเก็บรักษาที่ไม่สะอาด โลหะหนักในอาหาร ซึ่งมักปนเปื้อนในอาหารทะเลและสารปรุงแต่งรส สีผสมอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรที่พ่อค้า-แม่ค้าบางรายมักฉีดพ้นเพื่อป้องกันแมลงมาตอมปลาหมึกแห้งในร้านครับ   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทแคดเมียมในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 3.43 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ-CODEX อยู่ที่ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และหากนำค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศมาเป็นตัวชี้วัดจะพบว่ามีตัวอย่างที่พบค่าแคดเมียมเกินกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ต้อย ซึ่งเก็บจากตลาดสดมหาสารคาม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 13 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม ซึ่งเก็บตัวอย่างจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (3) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบแคดเมียมที่ปริมาณ 3.36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (4) ตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่น พบแคดเมียมที่ปริมาณ 2.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม -พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทตะกั่วในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณตะกั่วที่พบเท่ากับ 0.137 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณตะกั่วสูงสุดที่พบในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยาที่ปริมาณ 0.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทปรอทในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล โดยมีปริมาณปรอทที่พบสูงสุดในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) จำนวน 5 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 62 โดยพบสารตกค้างชนิดเพอร์เมทริน (Permethrin) ในตัวอย่างจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยา และ ตัวอย่างจากผู้ผลิต บมจ.สยามแมคโคร กรุงเทพฯ โดยมีปริมาณที่พบเท่ากับ 0.18 และ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบสารตกค้างชนิดไซไฟทริน (Cyflythrin) ในตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ที่ปริมาณ 0.12 และ 0.10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมตามลำดับ ท้ายที่สุด พบสารพิษตกค้างชนิดไบเฟนทริน (Bifenthrin) ในตัวอย่างเก็บจากร้านป้าอร ตลาดสดละงู จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรประเภทคาเบนดาร์ซิม (ยากันรา) ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดของสารเคมีที่พบคือ 0.44 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากตัวอย่างที่เก็บในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   ข้อสังเกต- ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างที่เก็บจากห้างแมคโคร กรุงเทพฯ พบการปนเปื้อนทั้งแคดเมียม สารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ และยากันรา-คาร์เบนดาซิมในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและอาจก่อให้เกิดอันตรายหากมีการบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานานได้ - ตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงคราม พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณที่สูงเกินกว่าที่มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) กำหนด (2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) โดยพบในปริมาณที่สูงถึง 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอทในระดับพอสมควร อีกทั้งยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างอีกด้วย - ตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 ที่ทำการทดสอบไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบผู้ผลิต และไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของโลหะหนักที่ปนเปื้อนในปลาหมึกแห้งอันตรายจากแคดเมียม – ทำให้เกิดความเจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมาก ทำให้กระดูกและไตพิการ อันตรายจากตะกั่ว – จะทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้อง มือเท้าอ่อนแรง เลือกจาง ถ้าเป็นเด็กจะทำให้สมองพิการได้ การเรียนรู้ด้อยลงอันตรายจากปรอท – เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า รวมไปถึงแขน ขา ริมฝีปากและเป็นอัมพาตในที่สุด ---------------------------------------------------------------------------------------------------- *จากผลทดสอบจะเห็นว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปลาหมึกแห้งก็คือ การปนเปื้อนของแคดเมียม และสารเคมีในกลุ่มไพรีทอยด์ ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มยากำจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนของแคดเมียมส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุผลเรื่องธรรมชาติความสะอาดในท้องทะเล เพราะมนุษย์เรานี่แหละที่ทำร้ายธรรมชาติชอบทิ้งสารเคมีลงในทะเล ถ้าอยากกินอาหารทะเลดีๆ ที่ปลอดภัยก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาท้องทะเล ส่วนเรื่องสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ก็ต้องฝากวอนไปถึงพ่อค้า-แม่ค้าอย่าได้ใส่อะไรไม่พึ่งประสงค์ลงไปเลย ผู้บริโภคเราอยากรับประทานของสะอาดและมาจากธรรมชาติจริงๆ ครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนข้อ 4 (2) ระบุการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมข้อ 4 (1) (ง) ระบุการปนเปื้อน ตะกั่ว ได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อ 4 (1) (ฉ) ระบุการปนเปื้อน ปรอท   ได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารอื่น -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288  (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร -ค่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX)กำหนดค่าการปนเปื้อนของ แคดเมียม ในอาหารประเภทปลาหมึก อยู่ที่ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่) วิธีการทำปลาหมึกแห้ง ไม่ยากแต่อาจจะมีหลายขั้นตอนอยู่สักหน่อย เอาปลาหมึกไปตากแดดแล้วก็คอยพลิกกลับตัวปลาหมึกเพื่อให้ปลาหมึกแห้งทั่วกัน ถ้าแดดดีๆ 20 -30 ชั่วโมงก็ถือว่าใช้ได้ แต่ยังกินไม่ได้นะ ต้องนำปลาหมึกที่ตากแล้วนำมาวางซ้อนทับกันแล้วใช้ผ้าใบหรือพลาสติกคลุมไว้แล้วหาอะไรหนักๆ ทับไว้ ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ปลาหมึกจะยืดหยุ่นมากขึ้นเพราะความชื้นเกิดขึ้นในเนื้อปลาหมึก หลังจากนั้นก็นำมาตากแดดให้แห้งอีกครั้งประมาณอีก 2-3 วัน ที่นี้ก็นำมาทำอาหารรับประทานได้แล้ว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point