ฉบับที่ 198 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนสิงหาคม 2560ใช้ “รังสี” ต้องติดใบรับรองสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) แนะประชาชนสังเกตสัญลักษณ์แสดงสถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตครอบครองหรือใช้รังสีอย่างถูกต้องจาก ปส. ก่อนเข้ารับบริการ เพื่อให้มั่นใจปลอดภัยจากรังสีตามมาตรฐานสากลหลังจากที่พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ปส. ได้เร่งสร้างความเข้าใจต่อผู้ประกอบและประชาชนให้พร้อมต่อการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อกฎหมายลำดับรองแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2560 นี้ โดยล่าสุดมีสถานประกอบการยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาติจาก ปส. แล้วกว่า 3,500 แห่ง ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตแล้ว ปส. จะมอบสัญลักษณ์แสดงการได้รับอนุญาต สามารถนำไปติดบริเวณที่ให้บริการประชาชน เพื่อให้เป็นจุดสังเกตซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจก่อนเข้ารับบริการมากยิ่งขึ้นโดยปัจจุบันสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับรังสีมีมากมายหลายด้าน ทั้งด้านอาหาร การแพทย์ และด้านอุตสาหกรรม เช่น การทำอัญมณี ด้านเชื้อเพลง เป็นต้นอาหารทะเลปลอดภัยไม่มีปรอทข่าวนี้ถือเป็นข่าวดีของคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเพราะมีผลตรวจการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า อาหารทะเล พวก กุ้ง หอย ปูปลา ที่ขายในตลาดจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ปลอดภัยจากสารปรอทกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง อาหารทะเล จำนวน 54 ตัวอย่าง ได้แก่ ปลา หอย กุ้ง ปู ปลาหมึก และ กั้ง จากแหล่งจำหน่ายอาหารทะเลที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดหนองมน และสะพานปลาอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตลาดประมงพื้นบ้านหาดสวนสน จังหวัดระยอง นำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอท โดยใช้เครื่อง Mercury Analyzer หลักการ Cold Vapor Atomic Absorption Spectrometry (CVAAS) พบว่าอาหารทะเลทั้ง 54 ตัวอย่างมีปริมาณสารปรอทต่ำกว่ามาตรฐานที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าตัวอย่างอาหารทะเลที่นำมาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภคพบสารอันตรายในเครื่องสำอาง “โบวี่ คิ้ม”เรายังคงได้ยินข่าวคราว เครื่องสำอางอันตราย ปรากฎให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำการลงดาบจัดการเครื่องสำอางยี่ห้อ “โบวี่ คิ้ม”(BOWVY KIM) หลังจากมีผู้บริโภคร้องเรียนว่าใช้แล้วผิวเกิดขึ้นผื่นแดง ซึ่งจากการวิเคราะห์ก็พบสารอันตรายต้องห้ามปนเปื้อนอยู่ในเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้เครื่องสำอางยี่ห้อ โบวี่ คิ้ม ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแบบที่ขายเป็นเซ็ตผ่านทางเฟซบุ๊ค ประกอบด้วย  ครีมสมุนไพรเวียดนาม ครีมกันแดดหน้าเงา ครีมแตงกวา ครีมขมิ้น เซรั่มอโลเวล่าเจล และสบู่เมือกหอยทาก เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ 1 วัน พบว่า เกิดผื่นแดงและสิวขึ้นตามใบหน้า และมีอาการคัน ทำให้สงสัยว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ อย. ได้นำตัวอย่างครีมที่ได้รับการร้องเรียนส่งตรวจวิเคราะห์ให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี พบไฮโดรควิโนน และ กรดเรทิโนอิก ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชื่อว่า Bowvy Kim แตงกวา Night 1 สมุนไพรลดฝ้า กระ จุดด่างดำ และพบปรอทแอมโมเนียในผลิตภัณฑ์  Bowvy Kim ขมิ้น Night 2ซึ่งเมื่อมีการไปตรวจยังสถานที่ผลิตที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดสกลนคร พบตลับบรรจุครีม ตัวครีม สติกเกอร์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ของกลางจำนวนมาก แต่ไม่มีหลักฐานการจดแจ้งผลิตภัณฑ์หลายรายการ รวมทั้งยังตรวจพบการโฆษณาทางเฟซบุ๊คที่มีข้อความแสดงสรรพคุณรักษาโรค ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการเป็นเครื่องสำอาง เช่น ลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำรอยสิว ริ้วรอย ลดอาการแพ้ ระคายเคือง เป็นต้น มีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทดลองวิ่ง “รถเมล์ปฏิรูป” 8 เส้นทาง เปลี่ยนเบอร์ใหม่ เติมสีแบ่งโซนวิ่งกรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดทดลองเดินรถเมล์ตามโครงการปฏิรูปเส้นทางใหม่ นำร่องจำนวน 8 เส้นทาง  ประกอบด้วยสาย G21 (เทียบเคียงกับสาย 114) : รังสิต - ท่าเรือพระราม 5 สาย G59E (เทียบเคียงกับสาย 514) : มีนบุรี - ท่าเรือสี่พระยา (ทางด่วน) สาย R3 (เทียบเคียงกับสาย 11) : สวนหลวง ร.9 - สนามกีฬาแห่งชาติ สาย R41 (เทียบเคียงกับสาย 22) : ถนนตก - แฮปปี้แลนด์ สาย Y59 (เทียบเคียงกับสาย 189) : สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน - กระทุ่มแบน สาย Y61 (เทียบเคียงกับสาย 509) : หมู่บ้านเศรษฐกิจ - หมอชิต 2 สาย B44 (เทียบเคียงกับสาย 54) : วงกลมพระราม 9 - สุทธิสาร สาย B45 (เทียบเคียงกับสาย 73) : ม.เอื้ออาทรบึงกุ่ม - สะพานพุทธ โดยทำการแบ่งโซนเส้นทางวิ่งเป็น 4 สี 4 โซน ประกอบด้วย สีเขียว G (Green) ย่าน รังสิต บางเขน มีนบุรี, สีแดง R (Red) ย่าน ปากน้ำ คลองเตย สาธุประดิษฐ์, สีเหลือง Y (Yellow) ย่าน พระประแดง พระราม 2 บางแค ศาลายา และ สีน้ำเงิน B (Blue) ย่าน นนทบุรี ปากเกร็ด หมอชิต 2 ดินแดง สวนสยาม โดยสีที่กำหนดขึ้นจะนำมาติดไว้บนรถเมล์ที่วิ่งในโซนนั้นๆในการทดลองเดินรถจะใช้รถธรรมดา (รถร้อน) สายละ 5 คัน เป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม - 15 กันยายน 2560 เวลา 06.30 - 18.30 น. และในช่วงการทดลองเดินรถ รถสายเดิมยังคงมีรถให้บริการตามปกติ หลังจากนั้นจะประเมินผลการให้บริการ พร้อมสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทางแฟนเพจ Facebook ในชื่อ การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ กทม. เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพของระบบรถโดยสารประจำทางต่อไปไปรษณีย์ไทยยืนยันใช้กล่อง – ซองรีไซเคิลได้จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ภาพประกาศเตือนที่ถ่ายจากที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง ซึ่งแจ้งประชาชนว่า ไม่ให้ใช้ซองที่ใช้แล้ว หรือกล่องที่มีตราสัญลักษณ์อื่นๆ โดยผู้โพสต์ได้ระบุว่า “#แจ้งมาเพื่อทราบครับ ต่อไปนี้จะเอาซอง กล่อง KERRY กล่องเบียร์ กล่องใช้แล้ว มาส่งที่ไปรษณีย์บางบัวทองไม่ได้แล้ว จะถูกปฏิเสธการรับของนะครับ #เมื่อวานมีคนโวยแล้วเจ้าหน้าที่บอก คำสั่งหัวหน้าครับ"ข้อมูลดังกล่าวสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่ใช้บริการไปรษณีย์ไทยเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการปฏิบัติในลักษณะเอาเปรียบผู้ใช้บริการมากเกินไปหรือไม่ซึ่งต่อมาทางไปรษณีย์ไทย ก็ได้ออกจดหมายมาชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจผิดในการสื่อสารของไปรษณีย์สาขาดังกล่าว พร้อมทั้งยืนยันว่าผู้ใช้บริการสามารถใช้กล่องหรือซองที่เคยผ่านการนำส่งแล้วกลับมาใช้อีกได้ โดยไม่ถือเป็นข้อห้าม ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการนำกล่องและซองที่เคยผ่านการนำส่งแล้วมาใช้ในการห่อหุ้มสิ่งของเพื่อฝากส่งนั้น เจ้าหน้าที่รับฝากจะพิจารณาจากลักษณะของกล่องหรือซองว่ามีความมั่งคง แข็งแรง และต้องปิดผนึกจ่าหน้าใหม่ทับจ่าหน้าเดิมให้ถูกต้องตามที่ไปรษณีย์ไทยกำหนด เพราะหากกล่องหรือซองมีสภาพไม่แข็งแรงเพียงพออาจทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งของที่ฝากส่งได้ โดยเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำและแก้ไขหรือหุ้มห่อใหม่ เพื่อไม่ให้สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์เสียหาย ส่วนการใช้กล่องที่ผลิตจากบริษัทรับขนส่งเอกชนรายอื่นในการฝากส่งสิ่งของเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์ไทยผู้ใช้บริการก็สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ถือเป็นข้อห้ามเช่นเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 เครื่องสำอางราคาไม่เหมาะสม

เครื่องสำอางกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน เพราะไม่ว่าใครก็อยากดูดี ดังนั้นต่อให้เครื่องสำอางราคาแพงแค่ไหน เชื่อว่าหลายคนก็ยอมที่จะซื้อมาใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องสำอางบางยี่ห้อ กลับคิดราคาตามใจชอบ ทำให้ผู้บริโภคหลายคนที่ซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวมาใช้ รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้คุณปราณีไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในย่านรังสิต และถูกชักชวนจากพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวต่างชาติหน้าตาดีมาเชิญชวนให้เข้ามาทดลองสินค้า ซึ่งเธอได้บอกปฏิเสธไป เพราะไม่ได้ต้องการซื้อเครื่องสำอางดังกล่าว แต่พนักงานเหล่านั้นก็หว่านล้อมต้อนหน้าหลัง จนทำให้เธอไม่มีทางเลือกจึงต้องเข้าไปทดลองสินค้าในที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อได้ลองสินค้าหลายชนิดที่พนักงานนำมาทดสอบให้ดู เธอก็มีความประทับใจต่อผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อสอบถามราคากลับต้องตกใจ เพราะเครื่องสำอางแต่ละชิ้นราคาเริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนเลยทีเดียวเมื่อพนักงานเห็นว่าคุณปราณีมีท่าทางตกใจในราคาก็พากันเสนอโปรโมชั่นมากมาย ซึ่งเธอก็ได้ปฏิเสธไปเพราะไม่ต้องการเสียเงินจำนวนมากแต่พนักงานก็ไม่ได้ลดละความพยายามในการขาย ด้วยการเสนอราคาโปรโมชั่นสุดร้อนแรงลดกระหน่ำไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์กลายเป็นอย่างนี้ คุณปราณีก็เริ่มลังเลใจและเกรงใจพนักงาน จนทำให้ตกลงซื้อสินค้ามาทั้งหมด 7 ชิ้น รวมเป็นเงินกว่า 100,000 บาทอย่างไรก็ตามเมื่อเธอกลับบ้านมาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวผ่านทางออนไลน์ก็พบว่า มีคนรีวิวเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสินค้าในด้านบวกไว้มากมาย แต่หลายคนก็ไม่พอใจกับราคาสินค้า เพราะนอกจากจะแพงมากแล้ว ยังเสนอขายในราคาตามใจชอบ ทั้งๆ ที่หน้าร้านไม่ได้มีการจัดโปรโมชั่นที่เห็นได้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะถูกเชิญชวนเพราะบอกว่าเป็นโปรโมชั่นลับเฉพาะสำหรับพนักงาน และเสนอให้กับผู้ซื้อเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ภายหลังการใช้สินค้าคุณปราณีพบว่ามีอาการผื่นคัน จึงไปพบแพทย์และขอใบรับรองแพทย์มา เพื่อนำไปแจ้งยังบริษัทฯ เพื่อขอให้คืนเงิน แต่ทางบริษัทฯ กลับแจ้งว่า ใบรับรองแพทย์ไม่ได้ระบุว่าเธอแพ้ครีมของบริษัท จึงไม่สามารถคืนเงินให้ได้ ทำให้คุณปราณีส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งรายละเอียดสินค้าทั้งหมด ภาพถ่ายสินค้า ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์มาให้เพิ่มเติม และช่วยทำหนังสือถึงกรมการค้าภายในเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบราคา รวมทั้งส่งสินค้าทดสอบสารประกอบ ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลจะเป็นอย่างไรไว้ติดตามกันต่อไป ทั้งนี้สำหรับใครที่พบเห็นสินค้ามีราคาไม่เหมาะสม ควรถ่ายรูปป้ายราคาสินค้าที่หน้าร้านเก็บไว้ หรือหากซื้อสินค้ามาแล้วก็ควรเก็บใบเสร็จรับเงินไว้ก่อน และโทรศัพท์ไปร้องเรียนโดยตรงได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายในเบอร์ 1569 นอกจากนี้ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางโดยพิจารณาจากปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งสามารถทดสอบด้วยการทาทิ้งไว้ในบริเวณที่บอบบางอย่างใต้ท้องแขนเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อทดสอบดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ รวมทั้งเลือกซื้อเครื่องสำอางที่แสดงรายละเอียด ดังนี้1.มีเลขที่จดแจ้ง10หลักซึ่งเราสามารถนำเลขดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ อย.หรือ ค้นหาที่นี่ เพื่อดูว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้รับการอนุญาตให้ขายจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าชื่อจดแจ้งข้างกล่องกับในเว็บไซต์ไม่ตรงกันก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเครื่องสำอางดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัย นอกจากนี้เลขที่จดแจ้งยังมีไว้ในกรณีที่ผู้ใช้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง ซึ่งจะทำให้สามารถแจ้งหรือตามตัวผู้ผลิตได้  2. มีฉลากภาษาไทยที่อย่างน้อยแสดงข้อความต่อไปนี้ (1) ชื่อเครื่องสำอาง (2) ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง (3) ส่วนประกอบ (4) วิธีใช้ (5) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/นำเข้า (6) ปริมาณสุทธิ (7) เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต (8) เดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 กันแดดด้วยเครื่องสำอาง

ความร้อนแรงของแสงแดดในบ้านเรามากขึ้นทุกวัน สาวๆ หลายคนจึงต้องสรรหาสารพัดวิธีมาปกป้องผิวสวย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเลือกซื้อเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะเชื่อว่าเครื่องสำอางเหล่านั้นมีความสามารถในการป้องกันอันตรายจากรังสียูวีได้เทียบเท่ากับครีมกันแดดทั่วไป และสามารถช่วยประหยัดเวลาการแต่งหน้าได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดเพิ่มอีก อย่างไรก็ตามการป้องกันแดดด้วยวิธีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผิวจริงหรือ เราลองไปดูกันรู้จักเครื่องสำอางผสมสารกันแดดกันก่อนเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด ตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เพื่อปกป้องผิวหนังหรือส่วนของร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) แต่ไม่รวมถึงสารป้องกันแสงแดดที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อทำหน้าที่อื่น เช่น ปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสื่อมคุณภาพหรือแต่งสีของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ต้องมีการแสดงค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดดตามจริง ซึ่งแบ่งเป็น 1.ค่า SPF (Sun Protection Factor) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีบี 2.ค่า PFA (Protection factor of UV-A) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีเอ และ 3.ค่า PA (Protection factor of UVA)คือ ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดขึ้นแทนการใช้ค่า PFA เครื่องสำอางกันแดดได้แค่ไหนแม้ร่างกายเราจะต้องการแสงแดด เพื่อช่วยในการสร้างวิตามินดี แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าควรได้รับในปริมาณที่ไม่มากเกินไปหรือประมาณ 10 – 15 นาที/วัน และต้องไม่อยู่ในช่วงเวลาที่แดดจัดหรือตั้งแต่ 10.00 น. - 16.00 น. เพราะอาจทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ผิวไหม้ หรือเป็นมะเร็งผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามหากเราหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรปกป้องผิวด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด ซึ่งการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดป้องกันผิวจากรังสียูวีถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ประสิทธิภาพในการกันแดดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้1. ปริมาณการใช้แน่นอนว่าปริมาณการใช้ที่เหมาะสม ส่งผลต่อการความสามารถในการป้องกันแดด ซึ่งหากลองเปรียบเทียบปริมาณการใช้ครีมกันแดดกับปริมาณเครื่องสำอางผสมสารกันแดดก็จะพบว่า บางครั้งเราใช้เครื่องสำอางเพียงเล็กน้อย เช่น ใช้รองพื้นทาบางๆ หรือแป้งพัฟแตะเบาๆ ที่ผิวหน้า ซึ่งระหว่างวันเครื่องสำอางเหล่านั้นก็จะหลุดลอกไปพร้อมเหงื่ออีกด้วย ในขณะที่การใช้ครีมกันแดดทั่วไป เราจำเป็นต้องใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วชี้จึงจะทาได้ทั่วผิวหน้า ดังนั้นหากใครที่ใช้เครื่องสำอางในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจทำให้การกันแดดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทาครีมกันแดดก่อน แล้วตามด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ นั่นเอง2. ค่า SPF และ PA ในผลิตภัณฑ์บางครั้งราคาของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็แปรผันตามความสามารถในการกันแดด ซึ่งหากผลิตภัณฑ์มี SPF หรือ PA สูง ราคาก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วย สาวๆ หลายคนเลยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเลือกเครื่องสำอางที่มี SPF หรือ PA ไม่สูงมากนัก แต่ใช้หลายๆ ผลิตภัณฑ์ในครั้งเดียว เพราะเชื่อว่าสามารถนำค่าดังกล่าวมาบวกกันให้สูงขึ้นได้ความจริงก็คือ แม้เราจะใช้เครื่องสำอางที่ผสมสารกันแดดหลายผลิตภัณฑ์ต่อหนึ่งครั้ง ก็ไม่ได้ทำให้การป้องกันรังสียูวีเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากค่า SPF หรือ PA ไม่สามารถนำมาบวกกันได้ และความสามารถในการป้องกันแดดจะนับจากค่า SPF และ PA สูงสุดของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราทาเท่านั้นทั้งนี้ในการเลือกค่า SPF และ PA เราสามารถเลือกตามความเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทั้งสองอย่าง เพื่อการป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี เช่น หากทำงานในร่มเป็นประจำ การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 และไม่เกิน 50 ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการเลือกค่า SPF ที่สูงเกินไป อาจทำให้เราได้รับสารเคมีมากเกินความจำเป็น ส่วนค่า PA สามารถเลือกตามเครื่องหมาย + ได้ ดังนี้ PA+, PA++, PA+++ และ PA++++ หมายถึง ประสิทธิภาพการป้องกันในระดับต่ำ กลาง สูง และสูงมากตามลำดับ ซึ่งหากเราไม่ได้เจอกับแสงมากนักก็ไม่จำเป็นต้องเลือกค่า PA สูงหรือแค่ PA++ ก็เพี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 เครื่องสำอาง “ปราศจากแอลกอฮอล์” จริงหรือ

คำว่า “ปราศจากแอลกอฮอล์” ถือเป็นหนึ่งในจุดขายของเครื่องสำอางส่วนใหญ่ เพราะแอลกอฮอล์เป็นตัวการหลักที่สามารถทำให้เราเกิดอาการแพ้เครื่องสำอางได้ อย่างไรก็ตามหากใครที่เคยลองพลิกดูส่วนประกอบสำคัญบนฉลากของเครื่องสำอางเหล่านั้น จะเห็นว่ายังคงมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ดี ดังนั้นเราควรซื้อเครื่องสำอางดังกล่าวมาใช้หรือไม่ ลองมาหาคำตอบกันทำความรู้จักแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอางแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอาง มีส่วนช่วยในการทำละลายส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน และช่วยนำสารเข้าสู่ผิวของเรา ดังนั้นเครื่องสำอางทุกประเภทต้องมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามแอลกอฮอล์ที่ใช้ในเครื่องสำอางมีหลายประเภท ซึ่งเราสามารถตรวจสอบก่อนใช้งาน เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผิวได้มารู้จักประเภทของแอลกอฮอล์แอลกอฮอล์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มที่ดีต่อผิวและกลุ่มที่สร้างความระคายเคือง ซึ่งเครื่องสำอางที่โฆษณาว่าปราศจากแอลกอฮอล์ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ แต่หมายความว่าใช้แอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดีต่อผิวนั่นเอง โดยเราสามารถตรวจสอบก่อนซื้อได้ดังนี้1.แอลกอฮอล์กลุ่มที่ดีต่อผิว หรือกลุ่มที่เป็นตัวทำละลาย (Fatty Alcohol)แอลกอฮอล์กลุ่มนี้ใช้เพื่อทำละลายสารที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยให้เครื่องสำอางติดผิวได้ดีขึ้น และสามารถทำความสะอาดผิว ชะล้างสิ่งสกปรกและไขมันได้ โดยมักพบในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เช่น ครีมหรือโลชั่น ได้แก่ Arachidyl alcohol, Cetyl alcohol, Batyl alcohol, Behenyl alcohol, Ceteareth-20, Hexyl laurate, Lanolin alcohol, Oleyl alcohol, Lauryl alcohol, Panthenol (aka pantothenic acid), Polyvinyl alcohol, Stearyl alcohol, Di-PPG-3 Myristyl Ether Adipate 2.แอลกอฮอล์กลุ่มที่สร้างความระคายเคือง หรือกลุ่มที่ใช้ฆ่าเชื้อ ใช้แทนสารกันเสียแอลกอฮอล์ประเภทนี้ใช้เป็นส่วนผสมของยาทาผิว มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นสารกันบูด นิยมผสมในเครื่องสำอางประเภทน้ำหรือของเหลว โดยส่วนใหญ่พบใน โทนเนอร์ เซรั่มใส่ผม น้ำหอม สเปรย์ และมักทำให้เกิดผิวระคายเคือง ผิวแห้งเพราะทำให้ผิวสูญเสียน้ำ ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการแพ้เครื่องสำอางได้ โดยแอลกอฮอล์กลุ่มนี้ ได้แก่ Ethyl Alcohol, Isopropyl Alcohol, Chlorphenesin, SD Alcohol, Alcohol Denat, Benzyl Alcohol, Methanolแนะวิธีเลือกแอลกอฮอล์ให้เหมาะกับผิวเนื่องจากเราหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางได้ยาก วิธีการเลือกแอลกอฮอล์ให้เหมาะกับผิวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนอกจากเราจะสามารถเลือกโดยการดูประเภทของแอลกอฮอล์ก่อนนำมาใช้งานแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกเล็กน้อย ดังนี้- เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพผิว เช่น หากเราเป็นคนผิวแห้ง ควรหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่ใช้แอลกอฮอล์กลุ่มฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม เพราะสามารถทำให้ผิวสูญเสียน้ำและยิ่งแห้งขึ้นไปอีก ซึ่งตรงข้ามกับคนผิวมัน ที่สามารถใช้แอลกอฮอล์กลุ่มดังกล่าวได้ เพราะช่วยให้ความมันบนใบหน้าลดลง- ทดสอบการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้ทุกครั้ง โดยการทาเครื่องสำอางไว้ตรงบริเวณที่บอบบางอย่างใต้ท้องแขนหรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อทดสอบว่าเกิดอาการแพ้ แดง คันหรือไม่ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวก็ไม่ควรซื้อเครื่องสำอางนั้นมาใช้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เพื่อนบ้านเป็นเหตุวิธีสังเกตเครื่องสำอางที่ปลอดภัย

การเลือกเครื่องสำอางให้ปลอดภัยจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราตรวจสอบรายละเอียดสำคัญต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ซึ่งจะมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นอย่างไรลองมาดูกันเลย1. ตรวจสอบฉลากกันก่อนฉลากเครื่องสำอาง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจำเป็นต้องมี ซึ่งตามพระราชพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 กำหนดให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีที่ผลิตในประเทศ ส่วนในกรณีที่นำเข้าให้ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต 3. ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน เดือนปีที่ผลิตและที่หมดอายุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต 4. ข้อความอื่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกขาสำหรับกรณีภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมีขนาดเล็ก คือ มีพื้นที่แสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอาง 2. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต 3. เดือน ปี ที่ผลิต/ปี เดือนที่ผลิต 4. เลขที่ใบรับแจ้ง ส่วนข้อความอื่นๆ ให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอาง2. ตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งปัจจุบันเครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้งเป็นตัวเลขจำนวน 10 หลัก เช่น 10-2-5624168 โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด ถัดมาหลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิต (1) หรือนำเข้า (2) หรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก (3) และหลักที่ 4 – 5 บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด ซึ่งจะมีอายุ 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง ส่วนหลักที่ 6 -10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นั้น ซึ่งเลขที่จดแจ้งจะแตกต่างจากเลข อย. 13 หลักที่ไว้กำกับควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารหากผลิตภัณฑ์ใดผ่านการตรวจสอบจาก อย.แล้วว่าไม่มีสารห้ามใช้ (หรือหากมีสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ก็จะต้องมีปริมาณไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด) จะได้รับเลขที่รับแจ้งและต้องแสดงเลขดังกล่าวไว้บนฉลากเครื่องสำอาง เพื่อบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แจ้งรายละเอียดต่อรัฐตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. (http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos ) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการระบุชื่อผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายตรงกับในฉลากหรือไม่ โดยหากเราพบว่าไม่ตรงกันก็สามารถแจ้ง อย. เพื่อให้ตรวจสอบได้อย่างไรก็ตามการที่ผลิตภัณฑ์มีเลขที่จดแจ้ง ไม่ได้หมายความว่าเราใช้แล้วจะไม่มีอาการแพ้ เนื่องจากการจดแจ้งเป็นเพียงการแจ้งส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่อาการแพ้เป็นปฏิกิริยาเฉพาะบุคคล ซึ่งต่อให้ไม่มีสารต้องห้ามอยู่ในส่วนประกอบ แต่เราสามารถเกิดอาการแพ้ได้จากสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำหอม แอลกอออล์หรือสารกันเสีย จึงควรทดสอบอาการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้งานเสมอ3. สังเกตวิธีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ใดที่มีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่า มีจุดมุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์ หรือสำหรับใช้ในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ถือว่าเป็นข้อความโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น “ยกกระชับ หน้าแลเรียวเล็ก ปลอดภัย 100% นวัตกรรมใหม่ ปรับหน้าเรียวง่ายๆ เมื่อใช้ต่อเนื่อง 7-14 วัน” โดยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คำว่าปลอดภัย 100% ถือเป็นข้อความที่พิจารณาได้ว่าโอ้อวดเกินจริง ยากแก่การพิสูจน์4. สังเกตร้านค้าร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เป็นทางเลือกที่ดีในการซื้อเครื่องสำอาง เพราะหากเกิดปัญหา เราสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้ นอกจากนี้เราก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุหีบห่อสภาพดี และมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อนชื้นหรือโดนแสงแดด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤศจิกายน 2558 “สีย้อมผ้า” ห้ามใช้สารก่อมะเร็งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือ สมอ. ออกมายืนยันแล้วว่า ในปีหน้าจะมีการประกาศมาตฐารบังคับ (มอก.) กับผลิตภัณฑ์ สีย้อมผ้า เนื่องจากที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเป็นจำนวนมากว่าสีย้อมผ้าที่วางขายในประเทศไทยมีการใช้สาร “อโรมาติกส์” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งหลายๆ ประเทศในแถบยุโรปได้มีการประกาศยกเลิกใช้สารดังกล่าวแล้ว เพราะหากผู้บริโภคสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสารดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ที่ยังมีผิวบอบบาง นอกจากนี้ยังเตรียมกำหนดมาตรฐานบังคับกับผลิตภัณฑ์สีประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สีน้ำมัน และ สีเคลือบแอลคีด ในด้านความปลอดภัยที่จะกำหนดคุณลักษณะเรื่องปริมาณโลหะหนัก อย่าง ตะกั่ว แคดเมียม ไม่ให้เกิน 100 พีพีเอ็ม เพราะสารโลหะหนักถือเป็นสารอันตรายที่มีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสมอง ซึ่งที่ผ่านมานิตยสารฉลาดซื้อเองก็เคยลงผลสำรวจว่า ยังพบการใช้สีน้ำมันที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก ทาอยู่ตามอาคารต่างๆ เครื่องเล่นสนาม และของเล่นเด็ก ซึ่งโลหะหนักจะพบได้ในสีที่มีเฉดสีสดๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีส้ม ซึ่งสีที่ทาไปนานๆ อาจจะมีการหลุดร่อนออกมา หากเด็กๆ มีการสัมผัสหรือนำเข้าปากก็จะเป็นอันตราย   เพิ่มโทษคนขายเครื่องสำอางอันตรายในช่วงที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยจากการใช้เครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ส่งผลเสียต่อผู้ใช้ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง ทำให้ผู้ใช้เสียโฉม อย.พยายามจัดการปัญหาดังกล่าวมาตลอด โดยล่าสุดได้มีการปรับปรุง พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ทำผิด พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา โดยในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภค มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช่เครื่องสำอาง และต้องมีมาตรการเรียกคืนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจากท้องตลาด และกำหนดให้มีด่านตรวจสอบเครื่องสำอางที่นำเข้ามาขายในประเทศ ที่สำคัญคือการเพิ่มบทลงโทษกับผู้กระทำผิด จากเดิมที่ผู้ขายผู้ผลิตเครื่องสำอางที่ผสมสารต้องห้ามจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังให้อำนาจ อย. ในการกำกับดูแลเรื่องการโฆษณาเอาไว้ด้วย จากเดิมที่ต้องอ้างอิงกับ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทำให้การตรวจสอบและจัดการปัญหาน่าจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น “คปภ.” จับมือ “ศาลยุติธรรม” พัฒนาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จับมือร่วมทำงานกับ สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยด้วยวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยและวิธีอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจะทำให้ปัญหาถูกแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ต้องนำไปเรื่องไปสู่ศาล ซึ่งใช้เวลานาน ถือเป็นผลดีกับทั้งผู้ซื้อประกันและบริษัทประกัน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยมีบริการอยู่มากมาย ซึ่ง คปภ. เองก็คาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตข้างหน้าน่าจะมีปัญหาร้องเรียนจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น การนำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยจะทำให้สามารถยุติข้อพิพาทได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของคดีที่จะเข้าสู่ศาล โดยในแต่ละปีมีเรื่องฟ้องร้องด้านประกันภัยมาที่ คปภ. ประมาณ 12,000 เรื่อง โดยสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสร็จสิ้นประมาณ 95% ในปี 2559 คปภ. จะทำงานในเชิงรุกในเรื่องของการระงับข้อพิพาทให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีกฎกติกาที่ชัดเจนและจะผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ กินหลากหลายลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ หลังจากที่องค์การอนามัยโลกออกมาให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปและเนื้อแดงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเมื่อถูกนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยก็ได้สร้างความตกใจให้กับผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตระหนกกับข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารที่เราทานกันเป็นปกติ เนื้อสัตว์มีโปรตีนซึ่งให้ประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายของเรา ซึ่งผลวิจัยที่นำมาออกมาเผยแพร่นั้นเป็นผลวิจัยที่ได้จากห้องทดลอง แต่ในความเป็นจริงมนุษย์เราไม่ได้บริโภคเพียงแค่เนื้อสัตว์อย่างเดียว ข้อมูลที่ออกมาจึงเป็นเหมือนคำเตือนเพื่อสร้างความตระหนักในการบริโภคมากกว่าที่เป็นไปในลักษณะของการห้ามการบริโภคแบบเด็ดขาด รศ.ดร.วิสิฐ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมีหลายประการ ไม่ใช่แค่การกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะเกิดโรคขึ้น โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ เท่าที่มีหลักฐานคือ การบริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือกากใยน้อย ซึ่งตามปกติต้องบริโภคให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม นอกจากนี้เราควรกินอาหารแต่พอดี ไม่เยอะหรือน้อยเกินไป  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่ให้ลำไส้อยู่นิ่งๆ และต้องขับถ่ายให้เป็นปกติ ไม่ให้ลำไส้สะสมสารพิษ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือสิ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ ประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนแล้ว ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับใหม่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมีครอบคลุมหลายด้าน เช่น  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย มีการเพิ่มค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ จากเดิมที่มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย กรณีคลอดบุตร และ สงเคราะห์บุตร เพิ่มสิทธิให้ได้รับค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง  พร้อมได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิง จากเดิมที่มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน กรณีสงเคราะห์บุตร ได้เพิ่มเป็นคราวละไม่เกิน 3 คน จากเดิมที่ได้รับคราวละไม่เกิน 2 คน สำหรับกรณีว่างงาน ก็มีการเพิ่มความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น กรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม จากเดิมที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกเท่านั้น ยังมีสิทธิประโยชน์อีกหลายด้านที่เพิ่มขึ้นในพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ ผู้ประกันตนสามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2554 1 ตุลาคม 2554ใช้เครื่องสำอางให้ปลอดภัย ต้องมี “เลขที่ใบรับแจ้ง”สาวๆ ที่ใช้เครื่องสำอางเป็นประจำต้องอ่านข่าวนี้ รู้กันหรือยังว่า? เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศของ อย. แล้วเรียบร้อย หลังจากที่มีข่าวคราวการตรวจจับเครื่องสำอางปลอมและไม่ได้คุณภาพออกมาอยู่เรื่อยๆ การกำหนดให้เครื่องสำอางเป็นสินค้าควบคุมน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยให้สาวๆ ปลอดภัยจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องสำอางจะต้องแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์กับทาง อย. ตั้งแต่ชื่อหรือประเภทเครื่องสำอาง สารที่เป็นส่วนผสม ชื่อ – ที่อยู่ผู้ผลิตและนำเข้า จากนั้นจึงจะได้ใบรับแจ้งซึ่งจะมี “เลขที่ใบรับแจ้ง” เป็นหลักฐานว่าเป็นเครื่องสำอางที่ผ่านการจดแจ้งแล้วเรียบร้อย โดย อย. ได้ออกประกาศบังคับให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องแสดง “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนฉลาก ซึ่งผู้ที่ใช้เครื่องสำอางสามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งไปสืบค้นข้อมูลเครื่องสำอางก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากพบเครื่องสำอางที่น่าสงสัย ใช้แล้วมีผลข้างเคียง ก็สามารถใช้เลขที่ใบรับแจ้งในการตรวจสอบกับทาง อย. หรือสาธารณสุขจังหวัดได้ หรือตรวจสอบด้วยตัวเอง www.fda.moph.go.th ซึ่งนอกจาก เลขที่ใบรับแจ้งแล้ว ยังสามารถใช้ ชื่อทางการค้า ชื่อผู้ประกอบการ และชื่อเครื่องสำอาง ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน พวกเครื่องสำอางที่หิ้วมาเอง หรือเหมาสายการบิน อันนี้ต้องบอกว่า ผิดกฎหมายไทยนะจ๊ะ------------   11 ตุลาคม 2554กินขนมปังระวังสารกันบูด!!! เรื่องน่าตกใจสำหรับคนชอบทานขนมปัง เมื่อผลทดสอบโดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จากทั่วประเทศจำนวน 837 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารกันบูด ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่ามีถึง 658 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีการใส่สารกันบูด สารกันบูดที่ทดสอบมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่นำมาทดสอบก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังแถว แซนด์วิช เบอร์เกอร์ พิซซ่า ขนมปังสอดไส้ เค้ก แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ เวเฟอร์ ขนมปังแท่ง พัฟ พาย ครัวซองท์ โดนัท คุกกี้ และเอแคร์ ซึ่งสารกันบูดที่พบมีทั้งที่พบแบบ 1 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง และแบบที่พบ 2 หรือ 3 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง โดยจากผลทดสอบพบว่ามีมากกว่า 100 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณสารกันบูดเกินกว่ามาตรฐาน แม้ปริมาณของสารกันบูดที่พบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ยังไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย แต่ในชีวิตประจำวันเรายังมีโอกาสได้รับสารกันบูดจากการทานอาหารอื่นๆ ซึ่งจากการพบการใช้วัตถุกันเสียมากกว่า 1 ชนิด หน่วยงานภาครัฐจึงควรทบทวนข้อกำหนดการใช้วัตถุกันเสียทั้งปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ และชนิดวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้ใช้ เนื่องจากกรดเบนโซอิกและซอร์บิกไม่ใช่วัตถุกันเสียที่ให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนมอบโดยตรง นอกจากนี้เรื่องการควบคุมการผลิตของเบเกอรี่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะของเบเกอรี่ที่ทำขายหน้าร้านส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง อย.---------------------   19 ตุลาคม 2554น้ำท่วมต้องช่วยกัน ค่าโทรศัพท์-ค่าเน็ตงดเก็บช่วงน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฝากถึงประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและอินเตอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มีสิทธิ์ที่จะขอระงับการใช้บริการชั่วคราวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น.พ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรคมนาคมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต มีสิทธิ์ในการขอระงับบริการชั่วคราวได้ เนื่องจาก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญา ให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ข้อ 25 ได้ระบุว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวได้ โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราวและผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราวแล้ว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยผู้ให้บริการ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ -------------------- มั่นใจน้ำดื่มปลอดภัยหลังน้ำท่วมในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม มีแหล่งน้ำและโรงงานผลิตน้ำดื่มหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูสถานประกอบการผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ หลังจากที่ต้องอยู่ในสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำ นอกจากนี้ยังอาจปนเปื้อนอยู่ในเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ซึ่งหากดำเนินการผลิตโดยไม่ได้ตรวจสอบแก้ไข เชื้อโรคต่างๆ ก็อาจปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค โดยในการช่วยเหลือฟื้นฟูครั้งนี้ อย. จะประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสถานประกอบการ อาทิ การทำความสะอาดอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตแก่ผู้ประกอบการ ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะให้บริการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การันตีเรื่องความสะอาด ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง และน้ำประปา จากศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมและบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ประสบอุกทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี และนครปฐม รวม 78 ตัวอย่าง พบมีที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพรวม 28 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะพบเป็นเชื้อที่ก่อโรค โดยตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ น้ำแข็ง สำหรับข้อแนะนำในการเลือกบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็ง ควรเลือกบริโภคน้ำดื่มที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท ไม่รั่วซึม ไม่มีร่องรอยการเปิดใช้ ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีกลิ่น และรสที่ผิดปกติ ส่วนการเลือกบริโภคน้ำแข็ง ควรเลือกน้ำแข็งบรรจุถุงที่มีการแสดงข้อความบนฉลากอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเครื่องหมาย อย. แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งที่ตักแบ่งขายตามร้านค้าทั่วไป ควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะบรรจุ ต้องไม่มีการใส่น้ำแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น และก้อนน้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด -------------------------------------   อย. ควอลิตี้ อวอร์ด 2554 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มอบรางวัล “อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554” ให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าด้านอาหาร ด้านยา ด้านเครื่องสำอาง ด้านเครื่องมือแพทย์ และด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน โดยหลักเกณฑ์ผู้ที่ได้รับรางวัลต้องเป็นผู้ประกอบที่ผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย และดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี มีการรักษาคุณภาพและพัฒนามาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และที่สำคัญคือต้องไม่เคยถูกดำเนินคดี ถูกปรับ หรือถูกตักเตือนจาก อย. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภคและมีการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบการที่ดี สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รางวัลในแต่ละประเภทมีดังนี้ ด้านอาหาร จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. บริษัท จอมธนา 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด 3. บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 4. บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด 5. บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด 6. บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด 7. บริษัท ศิริวานิช (เอส แอนด์ ดับเบิ้ลยู) จำกัด 8. บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 9. บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และ 11. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล ด้านยา จำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ขายยาเพ็ญภาค จำกัด 2. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 3. บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์  คอสเมติค จำกัด 4. บริษัท ไบโอแลป จำกัด 5. บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด 6. บริษัท ฟาร์ม่า อินโนวา จำกัด 7. บริษัท สีลมการแพทย์  จำกัด 8. บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด และ 9. บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ด้านเครื่องสำอาง จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คอลเกต – ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท แพน ราชเทวี กร๊ป จำกัด 4. บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ด้านเครื่องมือแพทย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด 2. บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล ดปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท สยาม เซมเพอร์เมด จำกัด และ 4. บริษัท เอ็ม.อี. เมดิเทค จำกัด ด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ลัดดา จำกัด และ 3. บริษัท ไอ.พี. แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด -----------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 กระแสในประเทศ

สุมาลี พะสิม ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 255211 ก.พ. 52 5 ปีผ่านไป ยังพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพียบ นิยายเรื่องยาวของเครื่องสำอางผิดกฎหมายยังไม่จบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยังตรวจวิเคราะห์พบเครื่องสำอางผิดกฎหมายเพียบตลอดช่วงปี 2547-2551 โดยสารห้ามใช้ที่ตรวจพบมากที่สุด คือ ปรอทแอมโมเนีย รองลงมา คือ สารไฮโดรควิโนนรวมกับกรดเรทิโนอิก และพบตัวอย่างที่มีสารไฮโดรควิโนนหรือพบกรดเรทิโนอิกอย่างเดียว รองลงมาตามลำดับ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกฎหมายใหม่ด้านเครื่องสำอางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายเครื่องสำอางอาเซียน กำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องแจ้งและจัดทำแฟ้มข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขหวัด (สสจ.) ก่อนผลิตหรือนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้การติดตาม กำกับดูแลและแก้ปัญหาการใช้สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างครอบคลุม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการชุดทดสอบเครื่องสำอางนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99499, 99926 หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ รุมค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายจากกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และ หนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข และมี ผลบังคับใช้แล้วนั้น นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกล่าวว่า การบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมหาศาลแน่นอน เพราะพืชทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยมานาน หากมีการกำหนดเป็นวัตถุอันตรายแล้ว ถ้ามีครอบครอง หรือครอบครองไว้เพื่อจำหน่ายจะต้องมีการจดแจ้งหรือขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งส่วนนี้จะมีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่ปลูกหรือขายพืชเหล่านี้ ตามตลาดสดต่างๆ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น วิสาหกิจชุมชน ที่นำพืชสมุนไพรไทยมาดัดแปลงทำเป็นยาสมุนไพรด้วย 13 ก.พ. 2552 ก.สาธารณสุขขอให้ถอนประกาศพืช 13 ชนิดออกจากวัตถุอันตรายจากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้สมุนไพรไทย 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีตัวแทนจากหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมมากมายนั้น ต่างก็เห็นด้วยให้ถอนสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดออกจากการเป็นวัตถุอันตราย นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า “จากการรับฟังความเห็นต่างเห็นตรงกันว่า ควรมีการถอนประกาศที่ให้สมุนไพรไทย 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากมีผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างความกังวลในการใช้และบริโภคสมุนไพรดังกล่าว ทั้งในรูปแบบอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ว่าการออกประกาศฉบับนี้ทำไปเพื่อเจตนาคุ้มครองผู้บริโภค แต่ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า น่าจะใช้วิธีอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่า เช่น การส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้สมุนไพรในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช การจัดตั้งกองทุนที่จัดเก็บภาษีจากการนำเข้าสารฆ่าแมลงเพื่อนำมาใช้ในการลดผลกระทบจากการใช้สารยาฆ่าแมลงรวมทั้งดูแลสุขภาพประชาชน ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จะสรุปความเห็นจากที่ประชุมนี้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมในการหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป” ขณะที่ นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ ทางเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายเกษตรกรรม จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมีนางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. เป็นประธาน เพื่อให้มีการตรวจสอบวิธีการกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกประกาศฉบับนี้ว่ามีความไม่ชอบพากลหรือไม่ เพราะสันนิษฐานว่าจะมีผลประโยชน์จากบริษัทผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งการที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาชี้แจงเหตุผลโดยระบุว่าเกิดผิดพลาดนั้นไม่เพียงพอ ควรจะมีหน่วยงานอื่นเข้าไปตรวจสอบและหาผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ขอปรับเนื้อหาใหม่ รับทำสังคมสับสน ยันหวังดี ป้องกันเกษตรกรถูกหลอกใช้สารสกัดปราบศัตรูพืชไม่มีคุณภาพ ส.ส.ปชป.เรียกร้องให้ยกเลิก เผย"อภิสิทธิ์-สุเทพ"หนุนให้ทบทวน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถลงว่า “ผมจะทำหนังสือไปถึงคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อขอให้ถอนประกาศฉบับนี้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อความบางส่วน อาทิ เพิ่มเติมชื่อสารนำหน้าชื่อพืชสมุนไพร พร้อมระบุว่าใช้สำหรับการผลิตสารปราบศัตรูพืชไว้ด้านหลัง เพื่อให้สังคมเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และจะถอนร่างประกาศของกรมฯ ที่ระบุถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกันด้วย" 16 ก.พ. 52สปสช.เสนอ ครม.ขยายสิทธิครอบคลุมคนไร้สัญชาตินพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประชาชนประชาชนที่เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานซึ่งมีอยู่ประมาณ 370,000 คน ให้มีหลักประกันสุขภาพ โดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวครอบคลุมบุคคลกลุ่มดังกล่าว โดยเริ่มในงบเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับ ปี 2552 ในอัตรา 2,202 บาทต่อประชากร ซึ่งเป็นไปตามตามจำนวนที่มีการขึ้นทะเบียนจริง ที่ผ่านมา รพ.ในถิ่นทุรกันดารโดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ตาก แม่ฮ่องสอน ต้องรับภาระด้านงบประมาณคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตามมนุษยธรรม โดยก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพยังพอมีงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยมาดูแล แต่ปัจจุบันสิทธิด้านการรักษาครอบคลุมคนไทยทุกคน คนที่รอการพิสูจน์สัญชาติจึงไม่มีงบใดๆ มาช่วยเหลือ และหากไม่ดูแลคนกลุ่มนี้ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด หรือเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ทำให้สถานพยาบาลต้องรับภาระหนักขึ้นในการดูแล 26 ก.พ.52 เครื่องสำอางทำให้ขาวไม่มีสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “ขาวอันตราย ...ขาวอย่างปลอดภัย” โดย รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตผู้ขายที่นำผงไข่มุก ไข่ปลาคาร์เวีย หรือน้ำลายหอยทาก ทั้งที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้โดยตรง โดยอ้างว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้น ขอยืนยันว่า ทางการแพทย์ ไม่พบว่ามีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณแต่อย่างใด รวมถึงสารกลูตาไธโอนที่เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่นิยมนำมาทำให้ผิวขาว ก็ยังไม่พบว่ามีการวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ยืนยันสรรพคุณดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถตอบได้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ ดีหรือไม่ดี ในส่วนของทองคำ พบว่า มีงานวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพในการสมานผิว ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงรักษาโรคปวดข้อ แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ อนุภาพของเงินกับทองที่มีขนาดเล็กมาก อาจเข้าไปสะสมตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆของร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ส่วนที่มีการโฆษณามากๆ อีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ โดยมีครีมที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์สำหรับทา เพื่อให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะสเต็มเซลล์จะใช้วิธีฉีดเท่านั้น อีกทั้งการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์รับรองแต่เพียงการใช้เพื่อการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องสำอางที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์นั้นไม่เป็นความจริง อย่างมากก็แค่มีสารในน้ำเลี้ยงสเต็มเซลล์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องสเต็มเซลล์อาจเป็นคำตอบของการรักษาในอนาคต วิธีที่ทำให้ผิวขาวทำได้แต่ก็คงไม่ขาวเกินกรรมพันธุ์ของแต่ละคน วิธีการคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ว่าจะเป็นการกางร่ม ใส่แว่นดำ รวมถึงการใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟเหมาะสม และมีการใช้ที่ถูกวิธี ผู้บริโภคยื่น 12,000 รายชื่อ เสนอ กม.องค์การอิสระผู้บริโภคต่อประธานรัฐสภา19 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคฟันธง...ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลไม่ อิสระจริง เดินหน้า ยื่น 12,000 รายชื่อเสนอกฎหมายฉบับของประชาชนต่อประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนำไปพิจารณาผลักดันให้เป็นกฎหมายของประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จากภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กลุ่มคนคอนโด ชมรมเพื่อนโรคไต ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากปัญหาที่อยู่อาศัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค รวมจำนวน 120 คน ได้เดินทางมาเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อยื่นรายชื่อของประชาชนจำนวน 12,208 รายชื่อเพื่อเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ.....ฉบับของภาคประชาชนเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการที่รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับปี 2540 จนถึงฉบับปัจจุบันในมาตรา 61 ที่ได้บัญญัติให้มีองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้มี (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลอยู่อีก 1 ฉบับ ซึ่งนำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคได้จัดประชุมพิจารณาสาระกฎหมายของรัฐบาลเปรียบเทียบกับร่างฉบับประชาชนไปเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ร่างกฎหมายของรัฐบาลไม่ได้ให้คณะกรรมการองค์การอิสระทำงานอย่างเต็มที่เต็มเวลา แต่เน้นความสำคัญไปที่ผู้อำนวยการสำนักงานที่จะเป็นผู้ชงเรื่องส่งขึ้นไปให้ คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ไม่ต่างจากโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยังไม่สามารถทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัญหาที่หลากหลายได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของภาคประชาชนนั้นจะให้ความสำคัญกับคณะกรรมการองค์การอิสระฯ โดยให้ทำงานในลักษณะเต็มเวลา และให้มีเลขาธิการสำนักงาน ทำหน้าที่เป็นเพียงเลขานุการของคณะกรรมการและบริหารกิจการในสำนักงานเท่านั้น ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในฉบับของภาคประชาชนนั้นจะเขียนอย่างชัดเจน ที่จะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคขึ้นอย่างน้อยในทุกจังหวัด และที่สำคัญคือการสนับสนุนการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการฟ้องแทนผู้บริโภคเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งร่างของรัฐบาลไม่มีในส่วนนี้ หรือการไม่เขียนอย่างชัดเจนว่า งบที่รัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อการดำเนินการขององค์การอิสระนั้นจะเป็นจำนวนเท่าไร แต่กลับปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้องค์การอิสระผู้บริโภคไม่อิสระอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมกำกับด้วยงบประมาณ ในขณะที่ร่างกฎหมายของประชาชนนั้นจะกำหนดชัดเจนว่ารัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณ ไม่น้อยกว่า 5 บาทต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศต่อปี หรือตกปีละ 300-400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายงบของรัฐบาลตามโครงการต่างๆ ในปัจจุบันนอกจากนั้นนางสาวสารี คาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประชาชนผู้บริโภคมีที่ปรึกษา เป็นจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการทำงานเชิงรุกไม่ตามแก้ปัญหา เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้บริโภคในการให้ความเห็นต่อการดำเนินการทั้งที่เป็นประโยชน์และเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค อย่างเช่น การออกประกาศวัตถุอันตรายที่เป็นสมุนไพร 13 รายการ การออกกฎกระทรวงยกเว้นยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตและใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพไม่เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคว่าคิดเห็นอย่างไรไม่น่าจะกระทำได้“พวกเราเล็งเห็นว่าหากปล่อยให้ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลถูกนำมาบังคับใช้ในอนาคต เราก็อาจเห็นคณะกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภค เป็นเพียงแค่คณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเท่านั้นของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจึงได้ช่วยกันรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเข้าชื่อ เสนอกฎหมายที่เป็นร่างของประชาชน โดยสามารถรวบรวมรายชื่อได้ทั้งหมด 12,208 รายชื่อ ซึ่งได้ยื่นให้ท่านประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกที่ดูแลรับผิดชอบ งานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้นำไปเข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายต่อไป และหวังว่าร่างกฎหมายองค์การอิสระของภาคประชาชนจะถูกบังคับใช้ในรัฐบาลสมัย นี้” นางสาวสารีกล่าว เครือข่ายผู้บริโภค ร้อง กทช.สะสางปัญหา 107 บาท12 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายผู้บริโภค 7 ภูมิภาค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ายื่นหนังสือต่อ กทช.ให้ออกคำสั่งยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุบัตรเติมเงิน และขอให้บังคับไม่ให้เรียกเก็บค่าต่อสัญญาณ 107 บาท จี้ให้ยกเลิกใบอนุญาตผู้ประการที่เรียกเก็บ 107 บาทด้วยเครือข่ายผู้บริโภคกว่า 200 คน นำโดยนางปฐมมน กันหา เครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง เดินขบวนจาก สถานีรถไฟฟ้า อารีย์ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อ ยื่นหนังสือเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บังคับใช้ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยยกเลิกบทเฉพาะกาล ข้อ 36 วรรคสุดท้าย เพราะเครือข่ายผู้บริโภคเห็นว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกนำมาอ้างว่าสัญญาใหญ่ยัง อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กทช.พร้อมทั้งขอให้ทาง กทช.มีคำสั่งที่ชัดเจนให้ผู้ประกอบการยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุของระบบบัตรเติมเงิน และยกเลิกการเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ ส่วนผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค และละเมิดสิทธิโดยการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการต่อบุคคลอื่น ขอให้ยกเลิกใบอนุญาต หรือกำหนดมาตรการการลงโทษขั้นเด็ดขาด รวมทั้งขอให้ กทช.เร่งดำเนินการคงสิทธิเลขหมาย โดยควบคุมการเรียกเก็บค่าบริการให้เกิดความเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 โฆษณา อันตรายหลบใน

ของฝากจากอินเตอร์เน็ตรศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยามหิดลnukks@mahidol.ac.th โฆษณาเครื่องสำอางสำหรับทาผิวสาวยี่ห้อหนึ่งได้กระตุ้นให้ผู้เขียนต้องเขียนบทความนี้ ความจริงมันก็เป็นโฆษณาที่เหมือนโฆษณาเครื่องสำอางทั่วไป (คือ ไม่บอกความจริงทั้งหมด) โดยให้สาวหน้าตาพาไปวัดตอนสายๆ ได้บอกผู้ชมว่า สาร SPF นั้นป้องกันแสง UVB ได้เท่านั้นนะ ส่วน UVA นั้น สาร SPF ส่วนใหญ่ปกป้องไม่ได้ จึงทำให้คนที่ทาเครื่องสำอางป้องกันอันตรายจากแดดนั้น ยังไง ๆ ก็คล้ำแน่ ดังนั้นเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวจึงใส่สารอื่นลงไปด้วยป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB เล การใช้ครีมกันแดดซึ่งมี SPF สูงกว่า 15 นั้น เป็นคำแนะนำของแพทย์โรคผิวหนัง ที่เตือนคนทั่วไปให้ระวังเมื่อออกแดด แต่แพทย์คงไม่ได้หวังให้สาวไทยผิวขาวเป็นจิ้งจกเผือก เพราะวันใดที่สาวที่ผิวขาวลืมทาครีมออกไปกลางแดด โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังก็จะเพิ่มขึ้น เพราะตำแหน่งของประเทศไทยนั้นรับแสง UVB มากกว่าประเทศแถบอบอุ่นและแถบหนาว ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การโฆษณานั้นมีนิยามมากมาย มนุษย์คนหนึ่งนิยามว่า "การโฆษณา หมายถึง การสื่อสารในรูปแบบใดๆ ซึ่งเจตนาที่จะกระตุ้นผู้ที่มีศักยภาพในการซื้อ และการส่งเสริมในด้านการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างประชามติ การกระทำการเพื่อก่อให้เกิดการสนับสนุนทางการเมือง การขายความคิดหรือการเสนอความคิดเห็น หรือสาเหตุต่างๆ และการกระทำเพื่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตามหรือปฏิบัติไปในทางที่ผู้โฆษณาประสงค์" จะเห็นว่าการโฆษณานั้นไม่ได้พูดถึง ความเสียหายของผู้ที่บริโภคสินค้านั้นๆ เลย เสมือนกับว่า เมื่อถูกโน้มน้าวให้ควักกระเป๋าแล้วก็ตัวใครตัวมัน คนทำโฆษณาก็ได้เงิน คนขายสินค้าก็ได้เงิน ส่วนผู้บริโภคนั้นถ้าเป็นไรไป ก็ตามหาหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมาช่วยเอาเอง ที่สำคัญก็คือ มันเป็นสิ่งที่น่าคิดว่า การโฆษณานั้นเป็นการที่บ้านเมืองอนุญาตให้ใครก็ไม่รู้มาพูดในสิ่งซึ่งอาจเป็นการโกหกโดยสิ้นเชิงในที่สาธารณะได้ โดยไม่ผิดกฏหมาย เช่น การออกมาพูดในโทรทัศน์ว่า ดื่มกินสินค้าชนิดหนึ่งแล้วอึง่าย ทั้งที่ความจริงไม่เคยกินเลย สวนกาแฟมาตลอดประเด็นสำคัญคือ ผู้ร่วมในการทำโฆษณาคงไม่เคยอารธนาศีลข้อ 4 แน่นอน ดังนั้นในฉลาดซื้อฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขอออกนอกเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารมาเป็นเรื่องเครื่องสำอางบ้าง เพราะสินค้านี้อยู่ภายใต้การดูแลของ อย เช่นกัน แต่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องจับผิดโฆษณาเท่าไร เพราะแค่จับน้ำดื่มบรรจุขวดผิดมาตรฐาน อย ก็ดูจะหมดแรงแล้ว เด็กไทยเรียนรู้มานานแล้วว่า ถ้าได้ออกไปเล่นกลางแดดตอนเช้าๆ บ้างจะแข็งแรง ไม่เป็นโรคกระดูกอ่อน เพราะได้แสงแดดในตอนเช้าถึงสายกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้ วิตามินดีเป็น วิตามินที่เกี่ยวกับการสะสมแคลเซียมที่กระดูกทำให้กระดูกเจริญเติบโตและแข็งแรง ในแสงแดดมีแสงหลายระดับคลื่นประกอบอยู่ ระดับที่เรียกว่าแสงอัลตราไวโอเลตเป็นแสงที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างไวตามินดี ข้อมูลจากวิกิพีเดียกล่าวว่า รังสีเหนือม่วง หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) หรือ รังสียูวี (UV) เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น มีความยาวคลื่นในช่วงต่ำกว่า 400 นาโนเมตร มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง รังสีอัลตราไวโอเลตแบ่งเป็น UVA UVB และ UVC (แต่ไม่มี UBC นะครับเพราประเภทหลังเป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากทำให้คนนอนน้อย) UVA มีพลังงานต่ำที่สุด แต่ทะลุลงมาถึงพื้นโลกได้ตลอดวัน แสง UVA นี้แน่มาก ทะลุกระจกได้ราว 70% ดังนั้นถ้าต้องการป้องกันไม่ให้ผิวคล้ำมาก ต้องใช้ผ้าม่านบังแดด อย่างไรก็ดีรังสีนี้ไม่ทำให้เกิดผิวไหม้แดด เพียงแต่ทำให้คล้ำพอสวยงาม จึงมีฝรั่งหัวใสผลิตหลอดไฟปล่อยแสง UVA สำหรับใช้ปิ้งให้สาวฝรั่งที่ผิวขาวเป็นจิ้งจกมีผิวคล้ำขึ้น ซึ่งสาวไทยไม่ชอบนั่นเอง ส่วนปรากฏการณ์ผิวดำตับเป็ดนั้นเกิดเนื่องจาก UVB ที่ทะลุชั้นผิวหนังน้อยกว่า ทำให้เกิดความร้อนและไหม้ เพราะรังสี UVB เป็นต้นเหตุที่ให้คนมีสีผิวดำเพราะกระตุ้นให้มีการสร้างรงควัตถุที่เรียกว่า เมลานิน อย่างไรก็ดีรังสีนี้มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้มีการสร้างวิตามินดีในร่างกายจากอนุพันธ์ของโคเลสเตอรอลได้ถ้ารับรังสีนี้นานพอควร รายละเอียดมีเยอะมากในเน็ทต่าง ๆ เช่น http://www.westonaprice.org/basicnutrition/vitamindmiracle.html ระยะเวลาในการที่ร่างกายเรารับแสงเพื่อสังเคราะห์วิตามินดีนั้นขึ้นกับตำแหน่งบนพื้นโลก เช่น ประเทศไทยไม่ควรนานนักเพราะ UVB มีเยอะและออกมาแต่เช้า แต่ถ้าไปอยู่แถบประเทศที่เกินเส้นรุ้งที่ 30 องศาไปทั้งเหนือและใต้จะมีรังสี UVB น้อยกว่าและมาในเวลาที่สายกว่าเช่น สิบโมงเช้าถึงบ่ายสองโมง ซึ่งเป็นเวลาที่แสงแดดบ้านเรากำลังร้อนมากสามารถเผาคนไทยให้สุกได้กลางถนนทีเดียว ที่เป็นเช่นเป็นผลเนื่องจากมุมหักเหแสงที่ตกกระทบพื้นโลกที่ตำแหน่งต่างกัน ดังนั้นคนที่อยู่ในแถบมีรังสี UVB น้อยจึงมักมีผิวขาวเพื่อให้รับแสงได้มาก ส่วนคนในพื้นที่มี UVB มากจึงต้องมีสีผิวคล้ำเพื่อป้องกันไม่ให้รับมากไปจนเกิดอันตราย เพราะทั้งรังสี UVA และ UVB นั้นเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งผิวหนังถ้าสัมผัสนานเกินไป ประการสำคัญคือ รังสี UVA นั้นทะลุลงไปในชั้นผิวหนังได้ลึกกว่า เลยถูกสงสัยว่าทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังชนิดที่เรียกว่า non-melanoma skin cancers โดยสรุปแล้ว ถ้าจะให้ปลอดภัยกับเด็กๆ ควรให้สัมผัสแสงแดดไม่เกินเก้าโมงเช้าและหลังบ่ายสี่โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความร้อนของแดดพอทนได้ แต่ที่สำคัญคือ ควรหัดให้เด็กใส่แว่นดำกลางแดด ไม่ใช่เพื่อสวยเท่ แต่เพื่อป้องกันอันตรายจากแสง UV ทั้งสองที่อาจทำให้ตาเป็นโรคต้อได้เมื่ออายุมากขึ้น สำหรับ UVC นั้นเป็นตัวแสบ เพราะพลังงานสูงมาก ถ้าโดนผิวก็จะแสบร้อน แต่มนุษย์ยังโชคดีที่รังสีนี้ถูกดูดซับไว้ได้ด้วยชั้นโอโซนในบรรยากาศโลก แต่อีกไม่นานมนุษย์ก็อาจโชคเลวได้ เพราะตอนนี้ชั้นโอโซนเริ่มเป็นรูเนื่องจากถูกสาร Chlorofluorocarbon (CFC) ที่ใช้เป็นก๊าซอัดในกระป๋องที่ต้องการฉีดพ่นอะไรก็ตามที่ต้องการพ่น หรือที่ใช้เป็นตัวทำให้เกิดความเย็นในเครื่องปรับอากาศตกยุค ลอยขึ้นไปถึงชั้นโอโซนและทำลายโอโซนจนเกิดช่องในชั้นบรรยายกาศของแถวขั้วโลกแล้ว UVC นี้เราสามารถผลิตได้โดยใช้หลอดไฟพิเศษ วัตถุประสงค์เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคในห้องผ่าตัด เนื่องจากรังสีนี้มีพลังทำลายได้ถึงหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจึงมีการประยุกต์นำหลอดไฟประเภทนี้มาใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในน้ำดื่มบรรจุขวดด้วย กรณีนี้มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ หลอดฆ่าเชื้อประเภทนี้มีอายุใช้งาน ซึ่งเมื่อใช้นานไป แม้หลอดยังติดอยู่แต่ฆ่าเชื้อไม่ได้แล้วเพราะพลังงานต่ำลง ซึ่งปรากฏว่าโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดแบบห้องแถวมักไม่สนใจ เนื่องจากมันยังติดอยู่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วหลอดชนิดนี้ต้องเปลี่ยนเมื่อใช้ครบตามชั่วโมงที่โรงงานผลิตกำหนดมา ไม่ใช่ใช้จนโรงงานเจ๊ง ที่ได้กล่าวเรื่องแสง UV มานี้เพื่อจะเข้าเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องสำอางในโทรทัศน์ที่ พูดถูกแต่อันตราย ทั้งนี้เพราะบริษัทผลิตเครื่องสำอางจับไต๋ผู้ชายไทยได้ว่า ชอบผู้หญิงที่เรียกว่า ชีชีแปะแป๊ะ (ซึ่งน่าจะแปลว่า อวบๆ ขาวๆ) แม้รักแร้ยังต้องทาให้ขาวเนียน จึงจะมีโอกาสหาสามีได้เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังจึงต้องผสมสารทำให้ผิวขาวที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป คำว่า SPF นั้นย่อมาจาก Sun Protecting Factor หรือเรียกง่ายๆ ว่า ค่าป้องกันแสงแดด โดยถ้าเราเคยตากแดดในระดับหนึ่งแล้วผิวไหม้ใน 15 นาที แต่ถ้าทาครีมที่มี SPF 6 ผิวก็จะไหม้ช้าลง 6 เท่าคือ ไหม้หลังจากตากแดดในระดับเดียวกัน 90 นาที ถ้า SPF 8 ก็จะไหม้ที่ 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง ยังมีหลายๆ คนเข้าใจผิดว่าการใช้ค่า SPF สูงๆ จะทำให้ตากแดดได้นานขึ้น ซึ่งไม่จริง เพราะค่า SPF ที่สูงขึ้น ไม่ได้แปรผันตามความทนแดดเลย ครีมกันแดดที่มีค่า SPF15 นั้น สามารถป้องกันรังสียูวีบีได้ 93% ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับค่า SPF30 จะป้องกันได้เพียง 96% เท่านั้น ดังนั้น ค่า SPF ที่สูงขึ้น ก็ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเท่าไหร่ แถมสิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาและความเหนียวเหนอะหนะเพิ่มมากขึ้น หากไม่จำเป็นก็ใช้ SPF ที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ผิวหนังของเราต้องแบกรับภาระของสารเคมีที่มากเกินไป ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ถ้าสาวๆ ใช้เครื่องสำอางเพื่อพยายามทำให้ผิวของตนเองขาวมากที่สุดเท่าที่ขาวได้ คุณๆ ต้องป้องกันแสงแดดให้ดี เพราะผิวคุณแทบไม่มีภูมิคุ้มกันแสง UV ที่อาจทำอันตรายให้คุณเป็นมะเร็งได้เลย คุณต้องทำเหมือนคนที่มีอาการความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องกินยาลดความดันตลอดชาติ ดังนั้นเมื่อคุณมีผิวขาวเพื่อประกันความสามารถจะยั่วยวนหนุ่ม คุณก็ต้องมีสตางค์ที่ต้องซื้อเครื่องสำอางมาปกป้องผิวตลอดไป หรือไม่ก็ต้องใส่เสื้อปกปิดผิว แม้อากาศจะร้อนมากในเดือนเมษายน แต่ถ้าคุณเป็นสตรีที่มีผิวคล้ำ แม้จะดำตับเป็ดก็ตาม คุณค่อนข้างจะปลอดภัยจากมะเร็งผิวหนังเพราะ พ่อแม่ให้พันธุกรรมสร้างเม็ดสีปกป้องผิวเป็นของขวัญชีวิต เพื่อปกป้องคุณจากการเป็นมะเร็งผิวหนัง รู้อย่างนี้แล้ว จะไปซื้อเครื่องสำอางมาลดเกราะคุ้มกันผิวตามที่เขาโฆษณา ก็สุดแต่ใจจะไขว่คว้า หามะเร็งผิวหนัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางอย่างไรดี

ผู้ที่ชื่นชอบการแต่งหน้าเป็นประจำ สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือสิว ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเราล้างเครื่องสำอางไม่สะอาด จนทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน สำหรับบางคนแม้จะล้างสะอาดหน้าแล้วก็ยังเป็นสิวหรือมีผื่นเล็กๆ ขึ้นอยู่เสมอ ก็อาจเป็นไปได้ว่าเราเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิวหน้าของเรา ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาวให้หน้าเหี่ยวก่อนวัยได้ แล้วอย่างนี้เราควรมีวิธีเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางอย่างไร ให้สะอาดและเหมาะสมกับผิวหน้าตัวเองเริ่มจากเช็คสภาพผิวหน้าของตัวเองก่อน ก่อนที่เราจะเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอาง เราควรรู้ว่าสภาพผิวหน้าของเราเป็นแบบไหน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้1. ผิวธรรมดา (Normal Skin) คือ ผิวที่มีความสมดุล ไม่แห้งหรือมันเกินไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นผิวที่มีสุขภาพดี2. ผิวแห้ง (Dry Skin) คือ ผิวที่มีความมันน้อยกว่าปกติ เนื่องจากขาดกรดไขมันที่จำเป็นในการรักษาความชุ่มชื้น ทำให้รู้สึกหยาบกร้านและดูหมองคล้ำ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ง่ายที่สุด3. ผิวมัน (Oily Skin) คือ ผิวที่มีการผลิตความมันในปริมานมากเกินไป จะมีลักษณะมัน เงาและสามารถมองเห็นรูขุมขนได้ชัดเจน4. ผิวผสม (Combination Skin) คือ ผิวที่แห้งและมันบริเวณทีโซน (T-zone) ตรงหน้าผากและจมูก เริ่มทำความรู้จักผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางปัจจุบันผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอาง หรือ Cleansing ตามท้องตลาดมีหลายประเภท เพราะผู้ผลิตมักออกแบบมาให้เหมาะสำหรับผู้มีสภาพผิวที่แตกต่างกัน  ซึ่งเราสามารถจำแนกออกมาเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้1. Cleansing water คือ ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางแบบน้ำ ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน (oil-free) ทำให้ไม่มีความเหนอะหนะ เหมาะสำหรับคนผิวมัน และผู้ที่แต่งหน้าอ่อนๆ2. Cleansing milk คือ ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางเนื้อเหลวกึ่งข้น ซึ่งมีน้ำและน้ำมันเป็นส่วนประกอบ โดยบางยี่ห้ออาจมีน้ำนมผสมอยู่ด้วย เหมาะสำหรับคนผิวธรรมดา – แห้ง 3. Cleansing Cream และ Balm คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดครีม ส่วนใหญ่จะมี Mineral Oil, Beeswax เป็นส่วนประกอบ เหมาะสำหรับคนผิวธรรมดา – แห้งมาก แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้ล้างหน้าเป็นประจำ เพราะอาจทำให้อุดตันรูขุมขนได้ 4. Cleansing Oil คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอางที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน และมี Mineral oil เป็นส่วนประกอบทำให้ล้าง make up ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อล้างแล้วจะทำให้หน้ามีความชุ่มชื่น ไม่แห้งตึง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่ายเพราะสามารถอุดตันรูขุมขนได้ดี5. Eye remover หรือ Dual Phase Cleansing คือ ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางเฉพาะรอบดวงตาและริมฝีปาก โดยมีส่วนประกอบหลักคือน้ำและน้ำมัน หากมองภายนอกจะเห็นว่าแยกเป็น 2 ชั้น เหมาะสำหรับทุกสภาพผิวทั้งนี้สำหรับบางคนที่นำ Baby oil มาล้างเครื่องสำอาง พบว่าส่วนผสมหลักคือ mineral oil ซึ่งไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวมัน เพราะสามารถทำให้หน้ามันมากขึ้น และอุดตันรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวได้แนะวิธีเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางนอกจากเราจะเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางให้เหมาะสมกับสภาพผิวหน้าของเราแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ สารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งสามารถทำให้เราแพ้หรือเกิดอาการระคายเคืองได้ ดังนั้นวิธีเบื้องต้นในการเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางคือ- ควรเลือกผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะสามารถทำลายสมดุลของใบหน้า และทำให้ผิวแห้งตึงหรืออักเสบได้ - หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางที่มีน้ำหอม เพราะสามารถทำให้เกิดการแพ้ หรือระคายเคืองผิวได้มากที่สุด- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางที่มีสารกันบูด เพราะสามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 ใช้เครื่องสำอางยี่ห้อเดิมไม่เปลี่ยนเลย จะดีจริงหรือ

ฉลาดซื้อเคยเสนอเรื่องผู้ชายกับเครื่องสำอาง เพราะเชื่อว่าไม่ว่าใครจะชายหรือหญิงอย่างน้อยๆ ก่อนออกจากบ้านก็ต้องผ่านเครื่องสำอางกันไม่ต่ำกว่าคนละ 1 ชนิด อย่างไรก็ตามแม้เครื่องสำอางจะช่วยในการทำความสะอาด ส่งเสริมความงามหรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะภายนอกได้ แต่ก็สามารถทำให้เราแพ้เครื่องสำอางจนต้องหาทางรักษากันให้วุ่นวาย ซึ่งอาการแพ้ต่างๆ ก็ไม่ได้จำกัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเราซื้อเครื่องสำอางชนิดใหม่มาใช้เท่านั้น เพราะเครื่องสำอางชนิดเดิมที่เราคุ้นเคยก็อาจทำให้เราแพ้ได้เช่นกันเราแพ้เครื่องสำอางได้อย่างไรสำหรับเครื่องสำอางที่เราไม่เคยใช้ คนอื่นอาจจะรีวิวสินค้าว่าเขาไม่แพ้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่แพ้เหมือนเขา เพราะแต่ละคนมีสภาพผิวที่แตกต่างกัน ยิ่งบางคนที่มีประวัติผิวแพ้ง่ายอยู่แล้ว อาการแพ้เครื่องสำอางก็สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเข้าไปอีก โดยเฉพาะการแพ้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหอม (fragrances) และสารกันเสีย (parabens) หรือในบางประเภทก็ผสมสีที่อาจไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเราจึงควรทดสอบเครื่องสำอางก่อนนำมาใช้จริงด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ทาทิ้งไว้ในบริเวณบอบบางอย่างใต้ท้องแขนประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง เพื่อทดสอบว่าเรามีอาการระคายเคืองหรือไม่ และไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อบ่อยๆ ดังที่ พญ.เยาวเรศ นาคแจ้ง แพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญพิเศษสถาบันโรคผิวหนัง ได้คำแนะนำไว้ในบทความผื่นเพราะเครื่องสำอางว่า เมื่อใช้ยี่ห้อใดแล้วผิวหน้าสบายดี ก็ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ เพราะการเปลี่ยนยี่ห้อ ก็คือการเปลี่ยนชนิดของสารกันบูดและสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นหอม ซึ่งทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตามสำหรับเครื่องสำอางยี่ห้อเดิมที่เราใช้ไปนานๆ แล้วค่อยพบอาการแพ้ก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะเครื่องสำอางนั้นอาจหมดอายุแล้ว หรือมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น ทั้งนี้หากเรามั่นใจว่าเครื่องสำอางไม่ได้เสื่อมสภาพ หรือใช้งานถูกต้องแต่ก็ยังแพ้อยู่ สาเหตุอาจจะมาจากส่วนผสมที่เปลี่ยนไปก็ได้ ดังที่ นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ แพทย์ผิวหนังโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เครื่องสำอางยี่ห้อเดียวกัน ชนิดเดียวกันเมื่อเปลี่ยนขวดใหม่อาจเกิดปัญหาได้ เพราะผู้ผลิตอาจเปลี่ยนสูตร หรือคุณภาพของส่วนผสมอาจไม่เหมือนเดิมสังเกตอย่างไรว่าเราแพ้เครื่องสำอางเข้าแล้วนอกจากจะแพ้เครื่องสำอางต่างชนิดกันแล้ว อาการเริ่มแพ้ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะบางคนอาจจะแพ้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ หรือบางคนอาจจะเริ่มแพ้หลังจากใช้ไปแล้วช่วงระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามลักษณะอาการแพ้เครื่องสำอางที่เห็นได้ชัดเจนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. การระคายเคืองจากการสัมผัส (Irritant Contact Dermatitis)เป็นอาการที่พบได้ง่ายโดยเกิดจากการเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย มักมีอาการยุบยิบบนผิวหนังที่สัมผัส หรือแสบร้อน คัน หรือเป็นผื่นแดง หากมีอาการมากขึ้นก็อาจกลายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ ควรระวังการใช้ในบริเวณผิวหนังมีความบางมากๆ เช่น หนังตา ขอบตา หรือบางกรณีอาจเกิดเป็นลมพิษ ที่มีอาการบวมแดงร่วมกับอาการคันและเป็นผื่น 2. การแพ้จากการสัมผัส (Allergic Contact Dermatitis)เป็นอาการแพ้ของผู้ที่แพ้สารเคมีเฉพาะที่อยู่ในเครื่องสำอางชนิดนั้นๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพราะขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน โดยส่วนมากจะเริ่มต้นด้วยอาการคัน และอาจเป็นผื่นคัน บวม ผิวแตก หรือถึงกับผิวเปื่อยตามมาเลยก็ได้แนวทางป้องกันอาการแพ้เครื่องสำอางเพราะคนเราแพ้เครื่องสำอางได้จากหลายสาเหตุ จึงควรหมั่นป้องกันปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้เราแพ้เครื่องสำอางได้เช่น อายุของเครื่องสำอาง การใช้เครื่องสำอางที่ไม่ถูกวิธี หรือปัจจัยจากสภาพผิวที่แตกต่างกัน ทำให้บางคนอาจจะไปเลือกใช้เวชสำอาง (เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมยาเข้าไปด้วย) หรือการเลือกใช้เครื่องสำอางในกลุ่ม Hypo allergic หรือเครื่องสำอางที่มีโอกาสแพ้น้อย แต่เครื่องสำอางกลุ่มนี้ก็ไม่สามารถยืนยันว่าจะไม่แพ้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแค่ลดโอกาสในการแพ้ลงเท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 แพ้ความหอม

รู้ไหมว่า กลิ่นหอมในเครื่องสำอาง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้โดยไม่รู้ตัว น้ำหอม หรือ perfume นั้นเกิดจากการรวมตัวกันของ ‘น้ำมัน’ และ ‘แอลกอฮอล์’ ผสมกลิ่น(หัวน้ำหอม)ซึ่งสกัดมาจากดอกไม้และพืชพันธุ์ในธรรมชาติ หรือกลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมี กลายเป็นสารละลายหอมระเหย ที่นำมาฉีดพ่นโดยตรงกับผิวกายหรือผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างกลิ่นหอม ธรรมดาน้ำหอมที่กลิ่นได้มาจากน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ หรือ Essential Oil จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่าน้ำหอมที่กลิ่นได้มาจากสารเคมีสังเคราะห์ หรือ Fragrance เนื่องจากกลิ่นที่สังเคราะห์เพียง 1 กลิ่นจะประกอบไปด้วยสารเคมีจำนวนหลายร้อยตัว การสังเคราะห์โดยสารเคมีให้กลิ่น (สารอะโรมาติก : Aromatic Chemical Compounds) นี้เป็นวิธีที่นิยมมากในการทำหัวน้ำหอมสังเคราะห์ เนื่องจากปัจจุบันนี้น้ำมันหอมที่ผลิตจากธรรมชาติหาได้ยากและมีราคาแพงมาก อีกทั้งยังมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นน้ำหอมที่ขายตามท้องตลาด ทั้งน้ำหอมแบรนด์เนมชื่อดัง หรือน้ำหอมที่เลียนกลิ่นแบรนด์เนม (Imitate Perfume), น้ำหอมซีซี (น้ำหอมแบ่งขาย น้ำหอม cc), น้ำหอมกลิ่นผลไม้ ดอกไม้, น้ำหอมกลิ่นฉีดผ้า กลิ่นน้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ เครื่องสำอาง ส่วนใหญ่ต่างก็ทำจากสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น เว้นแต่ที่ระบุว่าเป็น น้ำมันหอมระเหย ที่ผลิตจากส่วนต่างๆ ของพืชจริงๆ   ดังนั้นภายใต้ชื่อน้ำหอมเพียงสั้นๆ คำเดียว อาจหมายถึงสารเคมีนับร้อยตัวมาผสมกันอยู่ และกลิ่นหอมเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาต่างๆ มากมายในร่างกายของเรา ก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ ปวดศีรษะ เกิดผื่นภูมิแพ้และคันที่ผิวหนัง จากผลการทดสอบการด้วยวิธี Patch test ที่ทำการทดลองโดย North American Contact Dermatitis Group (NACDG) ในปี 1998-2000 พบว่า น้ำหอมเป็นส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดการแพ้มากที่สุด[1] อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญ[2] ยังได้ออกมาระบุว่า 1 ใน 3 คนที่ได้สัมผัสกลิ่นหอมนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคติดต่อเรื้อรังอย่าง "โรคภูมิแพ้" นอกจากนี้น้ำหอมหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้กลิ่นหอมยังนำมาซึ่งโรคผิวหนังในร่มผ้า เช่น "โรคกลากเกลื้อน" อีกด้วย เนื่องจากโมเลกุลในผลิตภัณฑ์ที่ให้กลิ่นหอม ไปกระตุ้นอาการระคายเคืองให้เกิดขึ้นกับผิวหนัง จึงก่อให้เกิดอาการคันและเม็ดผื่นแดงตลอดจนผิวแห้งลอก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคผิวหนังดังกล่าว ที่สำคัญบางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า กำลังแพ้ภัยกลิ่นหอมอยู่ เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าการจามหรือโรคทางระบบหายใจบอกถึงอาการแพ้น้ำหอม แต่ความจริงแล้วการแพ้นั้นมีหลากหลายจนเราอาจคิดไม่ถึงว่าเกิดจากน้ำหอม 1. คันตามผิวหนัง มักเกิดบริเวณที่แต้มน้ำหอม เช่น กกหู ต้นคอ ข้อพับ ป้องกันได้ด้วย การทดลองแต้มน้ำหอมในบริเวณท้องแขนทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนซื้อ 2. ใบหน้าเป็นสิวเกิดจากสารเคมีหรือส่วนประกอบใน น้ำหอมเข้าไปอุดตันรูขุมขนทำให้ อักเสบ มักพบเมื่อใช้น้ำหอมหรือเครื่องสำอางประมาณ 1 เดือนขึ้นไป วิธีแก้คือหยุดใช้ทันทีและเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมแทน 3. ผื่นแพ้ ในกรณีของคนที่มีอาหารแพ้มากอาจพบลักษณะตุ่มน้ำใส หรือเป็นหนอง อาการนี้พบได้ไม่บ่อยนัก 4. รอยด่างดำบริเวณที่แต้มน้ำหอม รอยนี้จะเกิดขึ้นเมื่อถูกแสงแดด เพราะน้ำหอมจะดูด ซับรังสีอัลตร้าไวโอเลตจนเกิดรอยด่างดำลักษณะคล้ายฝ้า รักษาให้หายได้โดยใช้ยาทา 5. ระคายเคืองตาและเยื่อบุจมูก เกิดจากการฉีดสเปรย์น้ำหอม วิธีแก้คือให้ฉีดน้ำหอมใน ต่ำกว่าระดับไหล่และห่างจากตัวประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการระคายเคือง แล้วยังไม่ทำให้เกิดรอยด่างบนเสื้อผ้า แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ใช้การแต้มน้ำหอมตรงจุดชีพจร ข้อพับ ไหปลาร้า หลังอาบน้ำใหม่ๆ แทนการฉีดสเปรย์ วิธีนี้ทำให้กลิ่นติดทนนานขึ้นด้วย 6. SICK HOUSE SYNDROME โรคนี้เกิดจากมลภาวะภายในบ้าน เช่น ฝุ่นละออง สีทาบ้าน กลิ่นบุหรี่ แม้กระทั่งกลิ่นน้ำหอมจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยารีดผ้า หรือแม้แต่กระดาษชำระที่มีกลิ่นหอม ทำให้ปวดศีรษะเรื้อรัง และในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อปอดได้ ดังนั้นหากไม่ปรารถนาจะทุกข์ทรมานจากอาการแพ้ต่างๆ เหล่านี้ อาจต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นประเภทปราศจากน้ำหอม หรือ Fragrance Free หรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำหอมน้อยๆ โดยดูที่ฉลากที่บอกส่วนผสม ดูลำดับของน้ำหอมควรจะอยู่ท้ายที่สุด ซึ่งหมายความว่ามีส่วนผสมน้ำหอมน้อยที่สุดนั่นเอง [1] พญ.ธวลิดา เวชชวณิชย์ ศัลยแพทย์ความงามและแก้ไขโครงหน้า เลเซอร์ศัลยกรรม Bangkok Beauty Clinic ที่มา : เดลินิวส์ 8 พฤศจิกายน 2556 [2] น้ำหอมที่คุณใช้..เป็นพิษหรือเปล่า?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaipost.net/x-cite/020512/56190.

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 124 วิธีเลือกเครื่องสำอางสำหรับผู้สูงวัย

  ผิวหนังของผู้สูงวัย มักจะแห้ง มีริ้วรอย ความชุ่มชื้นน้อย ผิงหนังมักจะบาง เพราะเซลล์ผิวหนังมีการเจริญเติบโตลดน้อยลง และมักจะซีดลง อันเนื่องมาจากการสร้างเม็ดสีของผิวหนังทำงานลดลง และบ่อยครั้งที่พบว่าสีผิวมักจะไม่สม่ำเสมอ   คำแนะนำในการเลือกใช้เครื่องสำอาง1) เริ่มต้นจากพื้นฐานสิ่งสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังผู้สูงวัยคือ ต้องมีองค์ประกอบของสารมอยส์เจอร์หรือสารให้ความชุ่มชื้นผิวในปริมาณสูง และควรจะใช้ควบคู่กับครีมกันแดดด้วยทุกครั้ง สารมอยส์เจอร์สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังโดยทันที จำเป็นต้องบำรุงผิวหน้าเป็นลำดับแรก ผิวหนังบริเวณรอบดวงตามักจะแห้งมากกว่าส่วนอื่น ริ้วรอยรอบดวงตาจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงความชราของผิวหนังเจ้าของ ครีมบำรุงผิวรอบดวงตาจะมีองค์ประกอบที่ปกป้องผิวหนังรอบตาได้ดีกว่าผิวหน้าทั่วไป มักจะมีองค์ประกอบที่มีมอยส์เจอร์สูงกว่าและมีสารอีมูเลียน (Emollients) ที่มันกว่าเพื่อเคลือบปกป้องไม่ให้ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นนั่นเอง ทุกครั้งที่อาบน้ำล้างหน้า แนะนำให้บำรุงด้วยครีมมอยส์เจอร์รอบผิวหน้าและดวงตาทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนนอน แนะนำให้ทาครีมบำรุงทุกครั้ง   ภายหลังจากบำรุงผิวหน้าและรอบดวงตาด้วยมอยส์เจอร์แล้ว ควรปกป้องผิวหน้าด้วยครีมกันแดดให้ทั่วผิวหน้าก่อนที่จะแต่งแต้มด้วยครีมรองพื้น ครีมกันแดดจะประกอบไปด้วยสารกรองรังสียูวีเอและยูวีบี       รังสียูวีเอจะสามารถทะลุผิวหนังชั้นล่างได้ ทำให้ผิวหนังคนเราเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร ส่วนรังสียูวีบีมีผลทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมและดำคล้ำ ในวัยสูงอายุจึงแนะนำให้ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านในระหว่างวัน เพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายจากรังสีดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งให้ผิวหนังเหี่ยวย่นเร็วก่อนวัย   2) การเลือกครีมรองพื้น ครีมรองพื้นมีองค์ประกอบของแป้งที่เป็นเม็ดสีละเอียด ทำหน้าที่เคลือบผิวหน้าเพื่อช่วยให้ผิวหน้าแลดูเนียนละเอียด ช่วยปกปิดริ้วรอยและแผลเป็นหรือหลุมลึกของสิวได้ดี การเลือกชนิดของครีมรองพื้น แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ชนิดครีมหรือโลชั่นชนิดน้ำมัน ไม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดที่เป็นน้ำ เพราะเมืองไทยอากาศร้อนชื้น เวลาเหงื่อออก จะทำให้รองพื้นชนิดน้ำแตก ดูคล้ายผิวหน้าแตกลาย ไม่น่าดู และหมดสวย ควรเลือกสีที่ใกล้เคียงกับสีผิวหน้าของเรามากที่สุด ที่สำคัญคือควรทารองพื้นเพียงบางเบาและเกลี่ยให้ทั่วใบหน้า ไม่ควรทาหนา เพราะจะยิ่งไปเน้นริ้วรอยให้เห็นชัดเจนมากขึ้น   3) การแต่งแต้มแก้มให้เป็นสีชมพู ผิวหน้าวัยสูงอายุมักจะแลดูซีดเซียว แห้ง และไม่สดใส ดังนั้นการเติมสีสันให้ผิวแก้มเป็นสีชมพู จะช่วยได้มาก เพิ่มชีวิตชีวา แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ชนิดที่เป็นครีมเพราะมีองค์ประกอบของอีมูเลียน (Emollients) หรือน้ำมันบำรุงผิวอีกด้วย ช่วยให้ผิวแก้มชุ่มชื้นและติดทนนานมากขึ้น อย่าลืมว่าควรเลือกสีให้บางเบาเพื่อให้แลดูเป็นธรรมชาติ   4) การเลือกสีอายเชโด้ควรเลือกสีอายเชโด้ให้เข้ากับบุคลิกของเจ้าของ แต่ที่สำคัญคือบางเบา เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่แต่งเป็นงิ้ว เพราะจะค้านกับวัยและแลดูแก่กว่าวัยทันที ก่อนทาสีอายเชโด้ แนะนำให้ใช้ครีมรองพื้นเฉพาะของเปลือกตาป้ายบางๆ นอกจากจะบำรุงให้ชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยให้สีอายเชโด้ติดทนนานได้ตลอดวันอีกด้วย   5) การเลือกลิปสติก ผิวหนังริมฝีปากของผู้สูงอายุ มักจะแห้งและบางครั้งมีหนังลอก การทาลิปสติกมักไม่ค่อยติดหรือหลุดลอกได้ง่าย วิธีแก้ปัญหา ควรหมั่นบำรุงผิวริมฝีปากด้วยครีมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอไม่เว้นแม้แต่เวลาหลับ สารมอยส์เจอร์ในครีมบำรุงจะช่วยให้ริมฝีปากชุ่มชื้น ทำให้ริมฝีปากไม่แห้งและไม่มีหนังลอก ลิปสติกที่ทาไว้จะติดโดยไม่หลุดลอกง่าย สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้เมื่อทาลิปสติก แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม เนื่องจากน้ำหอมมีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยมากมาย ที่อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ในคนที่มีผิวบอบบางและแพ้สารเคมีง่าย การใช้ลิปสติกไม่ควรใช้นานเกิน 1-2 ปี เพราะองค์ประกอบในลิปสติกส่วนใหญ่เป็นไขมัน เมื่อเก็บไว้นานจะเหม็นหืน หากมีกลิ่นหืน ควรทิ้งทันทีโดยไม่ต้องเสียดาย เพราะถ้าใช้ต่อ จะทำให้แพ้และริมฝีปากลอกได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้หญิงควรจำไว้คือ ลิปสติคส์ควรใช้เฉพาะคน ไม่ควรแบ่งเพื่อนใช้หรือใช้ร่วมกับคนอื่น เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จากคนหนึ่งสู่อีกคนได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 93 -หมึกแดงหลีกไป...หมึกดำมาแว๊วววว

ภก.ภาณุโชติ ทองยังnuchote@hotmail.comสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ในฉลาดซื้อฉบับก่อนๆ ผมได้เล่าว่าแผนกของผม ได้ออกรณรงค์ตรวจสอบเครื่องสำอางในท้องตลาด เพื่อเฝ้าระวังว่ามีสารอันตรายปนเปื้อนหรือไม่ อาศัยดูละครเรื่องคมแฝกบ่อยๆ (ฮา) จึงได้วางแผนออกปฎิบัติการ กระจายกำลังแบบป่าล้อมตลาด เพื่อครอบคลุมเป้าหมายพื้นที่เทศบาล เน้นกลุ่มหลัก คือร้านเสริมสวย และได้เก็บครีมทาหน้าขาวจากร้านต่างๆ มาตรวจสอบจนทราบผล และได้เล่าไปแล้ว มาตรการต่อจากนั้น ก็มีการวางแผนส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแจ้งผลโดยตรงกับทางร้าน เพื่อสอบถามแหล่งที่มาของครีมที่พบสารอันตรายปนเปื้อน โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสำนักงานเทศบาลเมืองฯ รับเป็นเถ้าแก่คนกลางในการนัดเจรจา และเพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ จึงได้เน้นการสร้างความเข้าใจและชักชวนผู้ประกอบการเข้ามาเป็นพวกเฝ้าระวังให้กับรัฐ แทนที่จะเป็นพวกที่ต้องคอยหลบหนีเนื่องจากกระทำผิด และเนื่องจากว่าผมมีพรสวรรค์ทั้งการพูดเกลี้ยกล่อม และการสอดรู้สอดเห็นจึงได้รับบทบาทดังกล่าว (ฮา) จากการพูดคุย ผมเลยได้ข้อมูลแปลกๆ มาเล่าสู่กันฟัง หนูรู้แต่หนูก็ใช้ผู้ประกอบการรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า “ครีมที่ตรวจเจอน่ะ หนูไม่ได้ใช้กับลูกค้าหรอกค่ะ เพราะปกติแล้วหนูจะใช้เครื่องสำอางดีๆ ที่ปลอดภัยมียี่ห้อกับลูกค้า เพราะหนูกลัวลูกค้าได้รับอันตราย แต่ตลับนี้ หนูซื้อมาใช้เองค่ะ เพราะหนูใช้แค่ไม่กี่ครั้ง หน้ามันข๊าวขาวทันใจดีแท้ค่ะ แถมก็ไม่เห็นด่างแบบในรูปของ อย.เลย แต่เพื่อความชัวร์ หนูก็ใช้ห่างๆ นะคะ“ โถ หนูครับ จะไม่ให้มันขาวเด้งแบบตื่นตาตื่นใจได้ยังไง ก็มันเจอทั้งสารไฮโดรควิโนน (ที่ทำให้หน้าด่างถาวร) และสารปรอทแอมโมเนีย (ที่ทำให้ไตพัง) คราวนี้พออธิบายถึงอันตรายให้ว่า ของพวกนี้มันไม่ใช่ทาปุ๊บหน้าพังปั๊บ แต่มันจะด่างถาวรแบบไม่คาดฝัน กลับคืนมาขาวไม่ได้ และยังจะมีผลต่อไตด้วย คราวนี้น้องเธอเลยชักแหยงๆ บอกว่า “พี่ขา หนูน่ะดูแต่รูปหน้าด่างที่ อย.ทำโฆษณา แต่ใช้ก็ยังไม่ด่างสักที หนูก็เลยคิดว่าไม่เท่าไหร่ คราวนี้ไม่เอาแล้วค่ะ อ้อ....หนูฝากพี่ไปบอก อย.ด้วย ทำสื่อให้ แรงๆ ไปเลย อย่ามาเน้นแค่หน้าด่าง บอกแรงๆ ไปเลยว่า ไตพัง ลูกพิการอะไรทำนองนี้ล่ะค่ะ” หมึกแดงหลีกไป...หมึกดำมาแว๊ววววอีกรายให้ข้อมูลว่า ตอนนี้มีการแอบใช้น้ำยาหมึกดำเพื่อเสริมความงาม โดยน้ำยาชนิดนี้หากใช้เพื่อให้หน้าขาวต้องทาให้ทั่วใบหน้า ราคาทาครั้งละ 5,000 บาท แต่ถ้าจะให้ขาวทั้งตัวหัวจนเท้า จะเสียครั้งละ 10,000 บาท โดยความขาวสวยดังฝันนั้นจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นต้องมาทาใหม่ (อะไรมันจะขาวแพงขนาดนี้) “แต่พี่รู้มั้ยคะ น้ำยามันคงกัดได้แรงนะ หนูสังเกตเห็นตามแขนของคนที่ทา มีรอยเล็บเป็นทางๆ ทีแรกหนูนึกว่าเขาโดนหมาแมวตะกุย ที่ไหนได้ เขาบอกว่า ไม่ใช่เล็บหมาหรอกค่ะ เล็บดิฉันเอง ก็มันคันก็เลยต้องเกา” ผมเดาเอาว่าน้ำยาชนิดนี้มันคงเป็นน้ำกรดอ่อนๆ น่ะครับ การเอาน้ำกรดมาทา มันก็อันตรายพอสมควร จับพลัดจับผลูไม่ดี เป็นแผลติดเชื้อจะยิ่งไปกันใหญ่ ไม่รู้คนอยากสวยเหล่านี้ ชาติที่แล้วเคยไปทำกรรมเวรอะไรไว้ ชาตินี้จึงต้องมาหาเรื่องเสี่ยงและทรมานเข้าตัวแบบนี้ เรื่องเครื่องสำอางที่อันตรายมันมีอะไรใหม่ๆ แผลงๆ ออกมาเรื่อยๆ นะครับ ตราบที่คนเรายังรักสวยรักงาม ยังไงใครมีข้อมูลอะไร ก็ช่วยๆ กันบอกต่อๆ เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังด้วยนะครับ อานิสงค์ที่ทำจะได้ช่วยให้ชาติหน้าเกิดมางามยิ่งขึ้นกว่าชาตินี้ครับผม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 เครื่องสำอางเด็กหมดอายุ

การร้องเรียนกรณีห้างสรรพสินค้าวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุแล้ว ยังคงมีเข้ามาเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ใช้สำหรับการบริโภค แต่สำหรับกรณีนี้กลับเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ซึ่งมีไว้ให้เด็กเล่นอีกต่างหาก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณดวงใจ เธอซื้อชุดแต่งหน้าสำหรับเด็กยี่ห้อ บาร์บี้ (Barbie) จากแผนกของเล่นเด็กที่ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาเวตส์เกต ในราคาลด 50% จากราคาเต็มเกือบสองพัน ลดแล้วเหลือเพียงเก้าร้อยกว่าบาท  ซึ่งก่อนซื้อเธอได้สอบถามพนักงานว่า สินค้าดังกล่าวมีตำหนิอะไรหรือไม่จึงนำมาลดราคา แต่พนักงานก็ไม่ได้แจ้งว่ามีปัญหาแต่อย่างใด เธอเห็นว่าสินค้าก็มีสภาพดีจริง จึงให้พนักงานนำสินค้าดังกล่าวไปห่อของขวัญ เพื่อนำมามอบเป็นของขวัญให้ลูกสาว อย่างไรก็ตามเมื่อนำกลับไปบ้าน เธอก็สังเกตเห็นฉลากที่ระบุวันผลิตและหมดอายุไว้ว่า สินค้านี้ผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2555 หรือ 4 ปีที่แล้วและหมดอายุไปเมื่อ 2 ปีก่อน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เธอจึงต้องการร้องเรียนให้ทางห้างสรรพสินค้าแสดงความรับผิดชอบที่นำของหมดอายุมาจำหน่าย โดยส่งกล่องเครื่องสำอางดังกล่าวมาให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยตรวจสอบอีกครั้งด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังได้รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์ฯ ได้ตรวจสอบเบื้องต้นและพบว่า สินค้าดังกล่าวมีการโฆษณาและแนะนำให้ใช้ในการแต่งหน้าเด็ก ซึ่งสามารถเข้าข่ายเครื่องสำอาง แต่ไม่มีฉลากที่ระบุว่าเป็นเครื่องสำอางที่มีการควบคุมของสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา (อย.) มีเพียงฉลากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำกับไว้ที่ข้างกล่องเท่านั้น นอกจากนี้ฉลากภาษาไทยกำกับไว้ว่า เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 12 ปี ก็ไม่ตรงกับฉลากภาษาอังกฤษที่ระบุไว้บนกล่องว่า เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และมีคำเตือนกำกับไว้สำหรับผู้เล่นอายุต่ำกว่า 3 ปี เช่น ควรมีผู้ปกครองดูแล ศูนย์ฯ จึงทำหนังสือถึง 1. คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้มีการตรวจสอบของเล่นดังกล่าว ว่าเป็นของเล่นที่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางหรือไม่ ซึ่งหากบ่งชี้ได้ว่าเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง จะต้องมีการดำเนินการจดแจ้งกับ อย.ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และหากไม่ขออนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท 2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อให้มีการตรวจสอบฉลากสินค้าภาษาไทยที่ระบุวันหมดอายุ ไม่ตรงกับข้างกล่อง เพราะถือว่าเป็นการทำผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในกรณีการขายสินค้าที่หมดอายุนั้น สคบ. มีอำนาจในการสั่งปรับผู้ผลิตและบริษัทผู้นำได้ไม่เกิน 50,000 บาท รวมทั้งผู้จัดจำหน่ายไม่เกิน 20,000 บาท3. ห้างสรรพสินค้าดังกล่าว เพื่อให้มีการตรวจสอบสินค้าประเภทเดียวกันที่นำมาจัดจำหน่ายว่า ยังมีกล่องไหนที่หมดอายุอีกหรือไม่4. ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าหมดอายุ ทั้งนี้สำหรับผลการดำเนินการจะเป็นอย่างไร ทางศูนย์ฯ จะติดตามความคืบหน้าต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้ แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง) • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40) • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)   พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ) • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ) • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ) • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 Moisturiser ของสิงห์สำอาง

สมัยนี้ไม่ใช่แค่สาวๆ ที่อยากมีผิวสวยใส ผู้ชายเองก็อยากให้หน้าเนียนเด้งไม่แพ้กัน โดยเฉพาะผู้ชายกลุ่ม Metrosexual ถ้าจำกันได้ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 80 เคยนำเสนอเรื่องเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายไปแล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังได้ย้ำในบทความว่า “โครงสร้างของผิวหนังมนุษย์ผู้ชายหรือผู้หญิงนั้นไม่ได้ต่างกันขนาดที่จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์คนละตัวกัน  แต่ที่ต้องมีผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับท่านชายขึ้นมาก็เพื่อเหตุผลทางการตลาดนั่นเอง”  ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนไปได้แก่ ลักษณะหรือสีสันของบรรจุภัณฑ์ หรือกลิ่นของเครื่องสำอางนั้นๆ มากกว่า และอาจเป็นได้ว่าผู้ชายนั้นมีความอดทนน้อยกว่าในการรอให้ครีมซึมลงสู่ผิวหนัง ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่า “เพื่อผู้ชาย” หรือ For Men จึงเน้นที่ความเร็วในการซึมลงสู่ผิวหนังด้วยฉลาดซื้อฉบับนี้เลยขอหยิบผลการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว “สำหรับผู้ชาย” โดยสมาชิกของวารสาร Choice (วารสารเพื่อผู้บริโภคของประเทศออสเตรเลีย) มาฝากสิงห์สำอางบ้านเรา วารสาร Choice ทดสอบผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคจำนวน 57 คน โดยหนุ่มๆ แต่ละคน (ที่มีผิวธรรมดา) จะได้ครีม/เจลบำรุงผิวไปคนละ 6 ยี่ห้อ และทดลองใช้แต่ละยี่ห้อเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนเองใช้นั้นเป็นยี่ห้อใด จากนั้นแต่ละคนจะตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ ในหัวข้อต่อไปนี้ •    ประสิทธิภาพในการสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า •    ความพึงพอใจลักษณะของเนื้อครีม/เจล •    ความพึงพอใจต่อกลิ่น และ•    การซึมลงสู่ผิวหนัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง   แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ  Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้  แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย  ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส   • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง)   • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน   • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย   • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40)   • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)  พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า   • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว   • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง   • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก   • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย   • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ   • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง   • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว   • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง   • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ   • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ)   • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน   • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ)   • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น   • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ)   • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม   • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป   • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 มาทำเครื่องสำอางผิดกฎหมายกันเถอะ

มาทำเครื่องสำอางผิดกฎหมายกันเถอะโดย แนวร่วมส่งเสริมประชาธิปไตยในการผลิตเครื่องสำอางผิดกฎหมายแห่งชาติ “กระตุ้นเศรษฐกิจของชาติด้วยกัน จงขยันผลิตจำหน่าย”สวัสดี ครับ พ่อแม่พี่น้องทุกท่าน กระผมในนามของประธานแนวร่วมส่งเสริมประชาธิปไตยในการผลิตเครื่องสำอางผิด กฎหมายแห่งชาติ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ โดยการผลิตเครื่องสำอางกันเถอะครับ เพราะในยุคนี้ สมัยนี้ ใครๆ ต่างก็รักสวยรักงามกันทั้งนั้น ไม่เชื่อก็ดูเอาซิครับ เครื่องสำอางน่ะโฆษณากันโครมๆ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ใครๆ ไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือแก่ ก็แย่งกันซื้อมาใช้ แต่ท่านสมาชิกครับ ขืนเราลงไปแข่งกับเขา ก็ตายซิครับ เราต้องหาช่องว่างทางการตลาดที่จะแย่งส่วนแบ่งส่วนนี้ให้ได้ กระผมพบแล้วครับ ช่องทางการตลาดที่เหมาะกับเรามากที่สุดคือ ช่องทางของเครื่องสำอางผิดกฎหมายไงครับ   ท่าน สมาชิกอย่าเพิ่งเบ้หน้าซิครับ อย่ากลัวครับ อย่ากลัว รักจะทำผิดแล้วจะกลัวได้อย่างไร ท่านไม่เห็นหรือครับว่าทุกวันนี้หน่วยราชการเขาก็เที่ยวไล่ตามจับเครื่อง สำอางผิดกฎหมายกันอยู่ทุกวัน แล้วเป็นไงครับ มันหมดหรือเปล่า ไม่หมดใช่มั้ยครับ นั่นย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนได้เลยว่าตลาดของเครื่องสำอางผิดกฎหมายของเรายัง สามารถเติบโตได้อีกเยอะครับ   แม้ จะเป็นการเสี่ยงกฎหมาย แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกทุกท่านมีโอกาสร่ำรวยแบบกระผม ในโอกาสนี้ กระผมขอแนะนำเคล็ดลับในการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางผิดกฎหมาย เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำกลับไปทำมาหากินเพื่อตัวท่านเอง และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ อันเป็นการช่วยประเทศได้อีกทางเลยนะครับ และไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ออกนะครับ เพราะวันนี้กระผมจะแนะนำให้ครบวงจร หมดไส้หมดพุงเลยครับ เรียกว่ามางานนี้ครั้งเดียวกลับไปรวยและเลยครับ หมายถึงรวยเห็นๆ นะครับไม่ใช่รวยจนเละตุ้มเป๊ะนะครับ ขั้นตอนที่หนึ่ง หาวัตถุดิบสรรพคุณวิเศษประการ แรกเลย ท่านสมาชิกต้องตั้งสติให้ดีก่อนนะครับว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร งานนี้คนธรรมดาทำไม่ได้นะครับ ต้องมีสมองและยิ่งขี้โกงนิดๆ จะยิ่งแจ๋วไปเลยครับ เคยมีสมาชิกบางท่านไปทำดินสอพองผสมสีย้อมผ้า แม้ว่าจะเป็นนวัตกรรมผิดกฎหมายที่เยี่ยมยอด แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดครับ นึกดูซิครับใครจะไปใช้ดินสอพองได้ทุกวัน กลายเป็นขายได้เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น ต้องนี่ครับ กระผมขอแนะนำ เครื่องสำอางสำหรับใบหน้าและผิวขาว ครับ เพราะยุคนี้ใครๆ ก็อยากหน้าขาวผิวขาวกันทั้งนั้น ถึงจะบางคนพ่อดำ แม่ดำ ก็ยังอยากจะขาวตะเกียกตะกายขวนขวายซื้อมาใช้จนได้ วัตถุ ดิบก็ไม่ยากครับ มีสารตั้งหลายตัวที่เราซื้อมาใช้ได้ พวกนี้แม้ราชการเขาจะห้ามใช้ในเครื่องสำอาง แต่เขาไม่ห้ามที่ผลิตเป็นยา ก็เลยมีสารเคมีเหล่านี้วางจำหน่ายได้ เวลาไปซื้อเราก็บอกว่า จะซื้อไปให้คุณหมอที่คลินิกซิ ไอ้ครีมที่หน้าขาวๆ ที่จ่ายตามคลินิกน่ะบางตัวเขาก็ผสมสารพวกนี้นะ แล้วก็อ้างว่าใช้รักษาคนไข้เฉพาะราย ทั้งๆ ที่ เห็นๆ ใครๆ ก็เข้ามาขอซื้อได้ ความจริงการผลิตยาขายเขาต้องมาขออนุญาตผลิตก่อนนะ แต่ใครจะไปตามจับตามตรวจได้หมดล่ะ พูด ไปเรื่อย แนะนำสารเคมีดีกว่า สมาชิกรู้จักมั้ย สารไฮโดรควิโนน น่ะ ตัวนี้เจ๋งมากนะครับ ทาไม่เท่าไหร่หน้าจะขาววอกเลย แต่อย่าเผลอไปบอกคนใช้ล่ะ ว่าถ้าใช้ไปนานๆ หน้าจะด่างแบบถาวรรักษาไม่หาย อีก ตัวก็ ปรอทแอมโมเนีย ไอ้ตัวนี้ใช้เยอะมันจะซึมเข้าไปถึงไต ไตพังนะ แต่อย่ากังวลครับ คนยุคนี้เขากินโน่นใช้นี่มากมาย เวลาเจ็บป่วยชอบมาโบ้ยโทษว่าเกิดจากสารปรอทแอมโมเนียของเรา จริงๆ มันก็มีส่วนนะแหละ แต่ทำไมไม่คิดล่ะว่าชาติที่แล้วไปทำกรรมอะไรไว้ก่อน ตัว สุดท้ายก็ กรดวิตามินเอ ตัวนี้สุดยอด สิวหายหน้าใสเลยล่ะ แต่อาการข้างเคียงคือ ปวดแสบปวดร้อนตรงผิวที่ทาเจ้าตัวนี้ลงไปครับ และปกติเขาห้ามใช้ในคนท้องนะ เพราะมันจะซึมไปถึงลูกในท้องจนพิการ แต่อย่าคิดมากครับ คนท้องคนไส้ที่ไหนจะมาทาครีมผิวขาว ขืนคิดมากจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนะอย่าลืม ขั้นตอนที่สอง ผลิตง่ายๆ ไม่ต้องจ่ายภาษีพอ ได้สารสำคัญๆ ครบแล้ว ก็เข้าสู่การผลิตเลย ทำไม่ยากหรอกครับ เดี๋ยวผมจะให้สูตรนะครับ สถานที่ก็ไม่ต้องใหญ่โตหรอก ขืนใหญ่โตเกินไปสรรพากรจะตามมาเก็บภาษี เจ้าหน้าที่จะตามกลิ่นได้ เอาแบบนี้เลยครับ ที่นิยมมากๆ คือไปเช่าทาวน์เฮ้าส์ว่างๆ แล้วผลิตที่นั่นเลย แต่แนะนำให้ทำหลังบ้านนะครับ ล็อคประตูบ้านให้ดีล่ะ เผื่อเจ้าหน้าที่ดมกลิ่นตามมาถูก แต่กว่าจะพังเข้ามาได้ เราจะได้หนีทัน แต่ที่ประหยัดที่สุด แนะนำให้ผลิตในรถตู้เลยครับ มีเตาแก๊ส กาละมัง กระบวย ไม้พาย แค่นี้ก็ต้มๆ กวนๆใส่กระปุกขายได้แล้ว สุดยอดไหมล่ะครับ เจ้าหน้าที่ก็ตามจับไม่ได้หรอกเพราะรถมันไม่ได้อยู่กับที่น่ะ แถมทำปุ๊บส่งของได้ปั๊บเลยเด็ดมั้ยครับ ผลิต เสร็จแล้วต้องหาภาชนะบรรจุสวยๆใส่นะ ขืนใส่ถุงพลาสติกรัดยางขาย ดูมันจะกระจอกเหมือนน้ำมันทอดซ้ำที่ขายแบกะดินชอบกล พยายามหน่อยนะท่านสมาชิก หากระปุก หาขวดที่รูปร่างสวยงามกันหน่อย กระปุกแบบใส่ดินสอพอง ใส่เต้าหู้ยี้ไม่เอานะครับ เอากระปุกแบบยี่ห้อดังๆ เลย อย่าลืมว่าคนสมัยนี้บางคนเขาเลือกซื้อเครื่องสำอางตามหน้าตาของภาชนะบรรจุ ด้วย เสร็จแล้วก็ออกแบบฉลากให้มันสวยงามทันสมัยหน่อย แม้กฎหมายจะบังคับให้เครื่องสำอางต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทย และต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น ชื่อเครื่องสำอาง ส่วนประกอบ ปริมาตรปริมาณที่บรรจุ วันผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งสถานที่ผลิต แต่เพื่อความปลอดภัยจากเงื้อมมือของกฎหมาย กระผมแนะนำให้แสดงฉลากเป็นภาษาประกิตเลย ผู้ซื้อจะได้ดูว่าเป็นของนอก ถ้าคิดไม่ออกก็ทำฉลากปลอมยี่ห้อดังๆ เลยง่ายดี ส่วนที่อยู่ผู้ผลิตท่านสมาชิกก็อย่าซื่อเกินเหตุไปบอกที่อยู่จริงล่ะ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะตามมาเยี่ยมถึงบ้าน ใส่ให้มันคลุมเครือหาไม่เจอเอาไว้ก่อนดีกว่า ไม่ต้องกลัวว่าลูกค้าจะหาซื้อไม่ได้ เรามีวิธีขายครับ ขั้นตอนที่สาม ขายง่าย ขายดี เขาทำกันแบบนี้การ ขายเครื่องสำอางผิดกฎหมายนั้น จะให้วางขายแบบปกติคงไม่ได้ เราต้องมีวิธีการขายที่แยบยล ยิ่งฉลาดกว่าเจ้าหน้าที่ เราจะยิ่งประสบความสำเร็จครับ กระผมขอแนะนำวิธีขาย 2-3 แบบครับ แบบ แรก เราก็วางขายหน้าร้านไปเลย วางในจุดที่เด่น ไม่ต้องหลบซ่อน เพราะเดี๋ยวจะมีพิรุธ ถ้าเจ้าหน้าที่มาตรวจ เราก็อ้างว่า มีคนมาฝากวางขาย เราไม่รู้หรอกว่ามันถูกหรือผิดกฎหมาย ใครจะไปรู้ ถ้าเจ้าหน้าที่ถามว่า ทำไมไม่ใช้ชุดทดสอบเครื่องสำอางที่ราชการแจกไปทดสอบก่อนขายล่ะ เถียงไปเลยครับว่า ทุกวันนี้ก็แทบไม่มีเวลาทำมาหากินแล้วยังจะให้มาทดสอบอีก แล้วใครจะไปจำวิธีทดสอบได้ล่ะ ดูสีอะไรกันแยกไม่ถูกหรอก มันไม่ได้จำง่ายๆ แบบแทงหวยนี่นา และ หากจะเพิ่มยอดการจำหน่ายให้มากขึ้น แนะนำให้วางในที่ที่เจ้าหน้าที่นึกไม่ถึง เพราะส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ก็จะมาตรวจตามร้านเสริมสวย ร้านขายของชำหรือตามตลาดนัด สมาชิกของเราบางท่านเคยนำไปวางขายในร้านเบเกอรี่ ร้านขายเครื่องเขียน กระบะขายผักก็มีมาแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ไม่เคยมาตรวจพบ ไหมล่ะ เจ๋งไหมครับวิธีนี้ ท่านสมาชิกครับ อย่าเพิ่งหยุดแค่นี้นะ กระผมแนะนำให้ท่านสมาชิกนำผลิตภัณฑ์ไปขายตรง แบบปากต่อปากเพื่อส่งเสริมธุรกิจไปด้วย เพราะการขายแบบนี้ มันโฆษณาตัวต่อตัวได้เวอร์มากกว่าวิธีอื่นๆ แถมไม่ต้องเสียค่าแผง ไม่ต้องเสียภาษี ไปไหนก็เอาไปด้วยได้ง่ายๆ เวลาขายก็อ้างพวกดาราหน้าสวยๆ งามๆ ได้เลย ลูกค้าที่ไหนเขาจะโทรไปเช็คกับดาราล่ะ หรือไม่ก็อ้างว่าได้มาจากคลินิกก็ได้ ดูมันขลังดีเหมือนกันเพราะเหมือนผ่านมือหมอมาแล้ว แถมก็ไม่ต้องกังวลเรื่องฉลากที่ไม่ครบถ้วนอีกด้วย ไม่เชื่อไปดูซิ พวกที่หลุดมาจากคลินิกน่ะ ฉลากถูกกฎหมายมีมั้ย น้อยมากใช่มั้ยครับ หรือจะอ้างว่าผลิตโดยทีมอาจารย์จากหมา เอ๊ย มหาวิทยาลัยดังๆ แค่นี้คนก็อยากได้กันจะแย่แล้ว ขั้นตอนที่สี่ การขยายธุรกิจที นี้ถ้าธุรกิจเราเริ่มเติบโตขึ้นไปอีก เราก็ต้องเริ่มมีโฆษณาแล้ว ตอนนี้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพราะถือว่าเราอยู่ในที่โล่ง เจ้าหน้าที่อาจจะมาตรวจสอบได้ ไม่เป็นไรครับ อย่ากลัว จำคำขวัญของเราให้ดี “กระตุ้นเศรษฐกิจของชาติด้วยกัน จงขยันผลิตจำหน่าย”   ก็ เราก็มีสถานที่และเครื่องสำอางให้เขาตรวจตอนขออนุญาตแล้วนี่ ส่วนที่จะทำขายจริงๆ น่ะ เราก็แอบไปหาที่อื่นทำก็ได้ ให้มันรู้กันไปเลยว่า ใครจะฉลาดกว่ากัน เราหรือเจ้าหน้าที่ ส่วน การโฆษณาน่ะไม่ยากถ้าทำเป็นเอกสาร ใบปลิวหรือสิ่งตีพิมพ์ก็ทำให้มันสวยงามน่าเชื่อถือ ใส่ภาษาอังกฤษไปเยอะๆ แล้วก็ใส่ข้อความตามใจชอบที่จะสามารถดึงดูดใจลูกค้าให้ได้ อ้างผลการทดลองต่างๆ จริงบ้างเท็จบ้างไม่เป็นไร คนซื้อเขาชอบ ยิ่งโฆษณาโอ้อวดว่า ผลิตภัณฑ์ของเรามันรักษาโรคโน้นโรคนี้ได้ยิ่งดี แม้ว่ามันจะผิดกฎหมายก็อย่าไปกลัวครับ เพราะมันจะดูน่าเชื่อถือ คุ้มครับคุ้มมากๆ แต่ที่สำคัญ เราอย่าเผลอไปลงชื่อของเรา หรือสถานที่ผลิตของเราล่ะ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะตามมาถึงเรา สมาชิก บางท่านถามกระผมถึงการทำสปอตโฆษณาทางวิทยุ ก็เหมือนกันครับ ทำไปเถอะ กว่าเจ้าหน้าที่จะรู้ กว่าจะตามอัดเทปโฆษณา กว่าจะเชิญเราไปพบ เราก็หนีหายได้ทัน ส่วน การโฆษณาทางโทรทัศน์อันนี้ต้องลงทุนหน่อย อย่าหาพรีเซนเตอร์เพียงคนเดียว มายืนพูดปาวๆ อันนั้นมันเก่าไปแล้ว เดี๋ยวใครเขาจะคิดว่าเราขายเครื่องสำอางแผนโบราณ ต้องแบบนี้เลยครับ ไปจ้างดาราและนักวิชาการที่น่าเชื่อถือมาพร้อมๆ กันเลย อ้อ! ลืมบอกไปว่าต้องเอาดาราที่หน้าสวยๆ งามๆ หล่อๆหน่อยนะ หน้าตาเห่ยๆ อย่าเผลอไปจ้างมาล่ะ แต่นักวิชาการหากเห่ยไปบ้างพอรับได้ครับเพราะมันดูน่าเชื่อถือว่าเป็นตัว จริง แล้วก็ไปแทรกในรายการสุขภาพต่างๆ เวลาจัดรายการก็ให้โฆษกมันต่อยหอยพูดเจื้อยๆไปเถอะ เพ้อเจ้ออะไรก็ได้ ขอให้สนุกและน่าสนใจ แต่อย่าลืม ให้โฆษกพูดชื่อสารที่มีในเครื่องสำอางของเรากรอกหูคนดูไปบ่อยๆ และพอได้จังหวะคนดูเริ่มเคลิ้ม ก็ให้หันมาถามนักวิชาการว่าไอ้สารตัวนี้มันคืออะไร มันดีอย่างไร ตรง นี้ต้องเตี๊ยมกับนักวิชาการทั้งหลายก่อนว่า ไม่ได้จ้างมาโฆษณานะ จ้างมาให้พูดแนะนำความรู้เกี่ยวกับสารต่างๆ ให้ประชาชนรู้จัก เพราะนักวิชาการพวกนี้ บางคนเขามีสภาของเขาดูแลอยู่ ขืนไปโฆษณาการันตีสินค้าสุ่มสี่สุ่มห้าจะถูกลงโทษได้ พวกนี้เขาจะกลัว อันนี้ต้องชี้แจงเขาให้ดี พอนักวิชาการพูดเสร็จ ก็ถึงท่อนฮุคแล้วครับ ให้โฆษก ถามดาราเลยว่าไอ้ที่หน้าตาสวยๆ งามๆ หล่อๆ แบบนี้เขาใช้อะไร ที นี้ก็ให้ดาราที่จ้างมา กระหน่ำพรั่งพรูถึงสารเคมี ยี่ห้อ สินค้า สรรพคุณ เรียกว่าพูดน้ำไหลไฟดับให้คุ้มค่าจ้างไปเลยยิ่งดี พวกนี้เขาเก่งครับ เล่นได้สมบทบาท ส่วนของจริงเขาจะใช้หรือใม่ใช้ ไม่ต้องไปกังวลครับ ไม่มีใครตามมาเช็คหรอก และขอให้จบตรงที่โฆษกมอบของที่ระลึกให้ทั้งนักวิชาการและดารา ไม่ต้องไปหาถ้วยชามสังคโลกหรือพระเครื่องอะไรมามอบนะ เอาไอ้เครื่องสำอางของเรานั่นแหละมอบให้ ไปเลย เหมือนบอกคนดูแบบอ้อมๆ ว่าสุดท้ายก็ไปไหนหรอก ใช้ของเราหมดเลย ทั้งดาราและนักวิชาการ ลืม บอกไปอีกอย่าง พวกอุปกรณ์ประกอบฉาก ต้องหาให้เกี่ยวหรือเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของเราให้ได้ เช่น รูป สี ข้อความ หรือแม้กระทั่ง ฉากหลัง ภาษาวงการเขาเรียกว่า โฆษณาแฝง อย่าคิดมาก ขนาดละครโทรทัศน์ทุกวันนี้มันยังโฆษณาแฝงมากกว่าเราอีก เป็น ไงครับ สมาชิกเรา เริ่มมีความหวังที่จะร่ำที่จะรวยกันแล้วใช่มั้ยครับ แต่ยังครับ เราต้องป้องกันความเสี่ยงด้วย เพราะเราทำผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย ขืนไม่บอกเคล็ดลับสุดท้าย ก็แย่ซิ เราต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงของธุรกิจไว้ด้วย   ขั้นที่ห้า ปฏิบัติการแก้ต่างเพื่อพ้นผิดถ้า ลูกค้ามาโวยวายว่าใช้เครื่องสำอางของเราแล้วแพ้ อย่าตกใจครับ ตั้งสติให้ดี ค่อยๆ บอกเขาว่า ตัวยากำลังออกฤทธิ์ ผิวหน้าผิวหนังกำลังลอกคราบ พยายามอ้างโน้นอ้างนี้ บอกให้ใจเย็นๆ แต่ถ้าลูกค้าดันไป โวยวายร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ อ้างไปเลยว่า รู้ได้อย่างไรว่าเกิดจากเครื่องสำอางของเรา มีพยานพิสูจน์หรือเปล่า หรือเอาสูตรสำเร็จไปอ้างเลยว่า เอาของคนอื่นมาปลอมเพื่อมาเรียกร้องรีดเงินจากบริษัทรึไง แต่ต้องระวังหน่อยนะตอนนี้เขามีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ทางศาลเขา จะรับเรื่องได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งจะมีกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ ปลอดภัย ซึ่งถ้าผู้บริโภคเขาเสียหายก็จะมาร้องให้เราต้องรับภาระพิสูจน์ ดังนั้นเตรียมอะไรในเบื้องต้นให้มันคลุมเครือสับสนไว้ก่อนจะยิ่งปลอดภัยแก่ ตัวเราเอง แต่ ถ้าเจอของแข็ง โดนเจ้าหน้าที่ตรวจจับ ตั้งสติให้ดีนะครับ ถ้าเขาจับผลิตภัณฑ์ของเราได้จากที่อื่น ให้อ้างไปเลยครับว่า ของปลอม เราทำของถูกกฎหมายนะ ไอ้ที่เจ้าหน้าที่จับมาได้เป็นของคนอื่นมาปลอมของเราต่างหาก เขาก็อ้างอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละ เห็นมั้ย ไอ้ที่เจ้าหน้าที่เขาประกาศกันโครมๆ ไม่เห็นมีเจ้าของรายไหนยอมรับว่าเป็นของตนเองสักราย อ้างแต่ว่าคนอื่นมาปลอม ทั้งๆ ที่ตนเองก็เป็นผู้เสียหาย เสียชื่อเสียง แต่ไม่เห็นเดือดร้อน ถ้าเป็นสินค้าอื่นๆ เจ้าของเขาให้สินบนนำจับไปแล้ว อ้างไปเถอะอย่าอาย ต้องด้านๆ เข้าไว้ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ดันมาจับได้ในสถานที่ของเราเอง ให้เตรียมจ้างคนไว้เลยให้มันรับเป็นเจ้าของสถานที่ไปเลย แล้วเราก็รีบแว่บหนีไป พวกรับจ้างติดคุกแทนน่าจะหาไม่ยากนะ เป็น ไงครับ วันนี้กระผมแนะนำกลเม็ดเด็ดพราย ทลายทะลุทะลวงยอดขายให้แล้วนะครับ ก่อนปิดการประชุมในวันนี้ กระผมก็ขออวยพรให้สมาชิกของเราทุกท่าน ประสบความสำเร็จในธุรกิจอันนี้ อย่าลืมนะครับ “กระตุ้นเศรษฐกิจของชาติด้วยกัน จงขยันผลิตจำหน่าย” ถึงจะเสี่ยงแต่ก็คุ้มใช่มั้ยครับ สวัสดี หมายเหตุบท ความนี้ไม่ได้มีเจตนาอยากให้ใครไปทำเครื่องสำอางผิดกฎหมายจริงๆ หรอกนะครับ เพียงแต่ต้องการจะบอกความจริงว่า การทำเครื่องสำอางผิดกฎหมายออกมาหลอกลวงขายให้กับผู้บริโภคนั้น มันง่ายมากๆ เจ้าหน้าที่ตรวจจับปราบปรามกันเท่าไหร่ก็ดูเหมือนจะไม่มียุบ มีหยุด กี่ปีๆ เราก็ได้ยินแต่ข่าวเจ้าหน้าที่ตรวจจับเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ที่มีมูลค่าร่วมๆ สิบล้านบาท เพราะฉะนั้นคงต้องหวังพึ่งพลังของประชาชนนั่นแหละครับ อย่าได้ไปซื้อใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้า ไอ้ที่บอกเห็นผลในสามวัน เจ็ดวัน มันผสมสารต้องห้ามทั้งนั้นแหละ หน้าคนนะครับไม่ใช่กระดาษจะได้ขาวได้เหมือนฟอกสี ดังนั้นอย่าหลงไปเป็นเหยื่อของพวกทำเครื่องสำอางผิดกฎหมายเข้าล่ะ แล้วถ้าเจอเบาะแสที่ไหน ก็อย่าลืมช่วยกันแจ้งเจ้าหน้าที่นะครับ สงสัยว่าเครื่องสำอางใดอาจมีสารห้ามใช้ โทร.ที่กลุ่มงานเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 02-590-7277 หรือ ตรวจสอบได้ที่ www.fda.moph.go.th/ ข้อหาฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point