ฉบับที่ 232 สารกันบูดและปริมาณไขมัน ในสลัดครีม

        สลัดผักอาจถูกเลือกเป็นอาหารเย็นมื้อเบาๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยากควบคุมน้ำหนักและสายรักสุขภาพ ผักสดหลากสีสันให้วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ส่วนน้ำสลัดในห้างสรรพสินค้าก็มีให้เราเลือกซื้ออยู่มากมายหลายรูปแบบ ทั้งน้ำสลัดแบบอิตาเลียน ฝรั่งเศส บัลซามิค ซีซาร์ เทาซันไอร์แลนด์ หรือจะเป็นน้ำสลัดงาสไตล์ญี่ปุ่น แต่ที่ดูคลาสสิคที่สุดก็คงหนีไม่พ้น ‘สลัดครีม’ ที่มีเนื้อครีมเข้มข้นหอมมัน เป็นน้ำสลัดขวัญใจผู้บริโภคชนิดยืนพื้นที่ใครๆ ก็น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงเลือกสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทสลัดครีม จำนวน 17 ตัวอย่าง จากร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) กรดซอร์บิก (Sorbic acid) และปริมาณไขมันเพื่อเอาใจผู้บริโภคสายผักที่รักสุขภาพสรุปผลการทดสอบ·      ผลทดสอบปริมาณไขมันในผลิตภัณฑ์สลัดครีม         พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่มีปริมาณไขมันทั้งหมด (ต่อน้ำสลัด 100 กรัม) น้อยที่สุด ได้แก่ American Classic Ranch อเมริกัน คลาสสิค แรนส์ น้ำสลัด ตรวจพบปริมาณไขมันทั้งหมด เท่ากับ 2.34 กรัม ต่อน้ำสลัด 100 กรัม และตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่มีปริมาณไขมันทั้งหมด (ต่อน้ำสลัด 100 กรัม) มากที่สุด ได้แก่ สลัดครีม คิวพี จาก กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาสยามพารากอน ตรวจพบปริมาณไขมันทั้งหมด เท่ากับ 48.33 กรัม ต่อน้ำสลัด 100 กรัม ·      ผลการตรวจวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก        จากผลการทดสอบ พบว่า มีตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีม จำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดทั้งสองชนิดเลย ได้แก่        1) Heinz ไฮนซ์ สลัดครีม สูตรต้นตำรับ จาก กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาสยามพารากอน        2) EZY FRESH อีซี่เฟรช น้ำสลัดครีม  จาก 7-Eleven สาขาสยามอินเตอร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ         3) สุขุม สลัดครีม  จาก กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาสยามพารากอนและ  4) สลัดครีม คิวพี  จาก กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาสยามพารากอน         ส่วนตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก รวมกัน เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ American Classic Ranch อเมริกัน คลาสสิค แรนส์ น้ำสลัด ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก เท่ากับ   664.14  มิลลิกรัม/กิโลกรัม และตรวจพบปริมาณกรดซอร์บิก   เท่ากับ 569.47  มิลลิกรัม/กิโลกรัม รวมปริมาณวัตถุกันเสียทั้งสองชนิด เท่ากับ  1,233.61  มิลลิกรัม/กิโลกรัม         ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic acid) ชนิดละไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในหมวดอาหารประเภทซอสและผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน หากการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง         ข้อสังเกตสำคัญ จากผลการสำรวจฉลากพบว่า ผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย มีการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากให้ผู้บริโภคทราบทุกตัวอย่าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดีต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ข้อแนะนำ        ในการเลือกผลิตภัณฑ์ประเภทสลัดครีม นอกจากรสชาติที่ชื่นชอบแล้ว ผู้บริโภคอาจพิจารณาจากข้อมูลบนฉลากเพิ่มเติม เช่น ปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ ข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้วัตถุกันเสียเลย เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ซึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่แนะนำของน้ำสลัดประเภทต่างๆ อยู่ที่ 30 กรัม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ครีมถนอมมือ

        เมื่อเราล้างมือหรือใช้เจลทำความสะอาดมือบ่อยๆ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือผิวหนังแห้งกร้าน ในบางรายอาจเป็นขุยหรือรู้สึกคันด้วย ทางออกที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแนะนำคือครีมทามือ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงไม่รอช้า รีบหาผลทดสอบแฮนด์ครีมมาฝากคุณ คราวนี้สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้แบ่งคะแนนการทดสอบ* ออกเป็นสามด้าน ได้แก่        - ประสิทธิภาพในการบำรุงผิว (ร้อยละ 60)         - ความพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อกลิ่น เนื้อครีม (ร้อยละ 30) และ        - การปลอดสารรบกวนฮอร์โมน/พาราเบนส์/สารก่อภูมิแพ้ (ร้อยละ 10) * ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกมาพียง 20 ยี่ห้อ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยหรือสั่งซื้อได้จากร้านค้าออนไลน์           ·  การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,000 ยูโร (ประมาณ 107,000 บาท) ต่อผลิตภัณฑ์        ·  หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าพาราเบนส์ (ซึ่งนิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอาง) เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่หลายประเทศก็ให้ความสนใจและเฝ้าระวังสารนี้เป็นพิเศษ สหรัฐฯ ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ โรลออน ครีมกันแดด เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก สหภาพยุโรปเน้นยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว อังกฤษให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง และเกาหลีใต้เน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ตะละแม่หน้าขาว กับหม่องหายเมื่อย

        เรื่องสุขภาพแข็งแรงและความสวยงาม ไม่ว่าชนชาติไหนในโลกคงไม่ต่างกัน ในขณะที่ในประเทศไทย เรายังไล่ตามกวดจับผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิด ที่ลักลอบผลิตหรือใส่สารอันตรายกันอย่างแทบไม่หมดสิ้น กลับพบว่าผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ได้มีเฉพาะของไทยๆ ที่ไทยทำไทยใช้เท่านั้น         ผมได้ข้อมูลจากเครือข่ายภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ป่วยเขตกรุงเทพมหานคร พี่เขาเล่าให้ฟังว่า ที่บ้านมีคนงานต่างชาติชาวพม่า เธอเป็นคนรักสวยรักงาม หลังๆ แอบสังเกตว่าหน้าเธอขาวขึ้นแบบผิดหูผิดตา ซักไซร้ไล่เลียงเลยทราบว่าเธอใช้ครีมทาหน้าขาว ที่ซื้อมาจากเพื่อนชาวพม่าที่มาทำงานใกล้ๆ บ้านกัน ด้วยความเป็นห่วงเพราะข่าวครีมหน้าขาวอันตรายเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ เลยไปขอดูครีมที่เธอใช้กัน ปรากฎว่าครีมที่ใช้เป็นครีมที่ไม่มีฉลากภาษาไทย แต่แสดงเป็นภาษาพม่าทั้งหมด จากการสอบถามได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกเธอสั่งซื้อจากเพื่อนของเธอ ซึ่งซื้อต่อๆ กันมาจากผู้ขายผ่านทางโซเชียล เวลาสั่งก็จะสั่งทางไลน์ แว่วๆ ว่าผลิตในประเทศนี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าคนผลิตคือโรงงานในประเทศ ผลิตแล้วติดฉลากภาษาพม่า เพื่อจำหน่ายในกลุ่มพวกเธอ หรือเป็นคนชาติเดียวกับเธอแอบลักลอบทำมาขายกันเอง         สาวใช้พม่ารายนี้ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ไม่ได้มีแค่ครีมหน้าขาวนะ ยาแก้ปวดเมื่อยสำหรับแรงงานชาวพม่าก็มีจำหน่าย จัดเป็นชุดๆ มักขายให้พวกผู้ชาย ผู้หญิง ที่ใช้แรงงานหนักๆ หรือทำงานจนปวดเมื่อย กินแล้วได้ผลชะงัด เวลาซื้อก็จะสั่งต่อๆ กัน เขาก็จะส่งมาให้ ส่วนรายละเอียดบนฉลากก็เป็นภาษาพม่าเช่นเคย         พี่จากเครือข่ายภาคประชาสังคมค่อนข้างเป็นห่วง เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร ชาติไหน ก็ไม่น่าจะต้องมาเสี่ยงอันตรายจากผลิตภัณฑ์พวกนี้ และยังเกรงว่าหากนิยมกันมากๆ อาจแพร่ระบาดมายังคนไทยที่ชอบลองของใหม่ๆ อีกด้วย ผมแนะนำเธอว่าถ้าเป็นไปได้ อยากให้ช่วยขอข้อมูลเพิ่มเติมว่าซื้อจากที่ไหน หรือถ้ามีตัวอย่างผลิตภัณฑ์พวกนี้ ขอให้นำมาให้ดูด้วย จะได้ช่วยกันสืบหาต้นตอแหล่งผลิต ว่าเป็นของที่ลักลอบผลิตกันในประเทศ หรือลักลอบนำเข้ามาทางชายแดนกันแน่         ตามกฎหมายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ทุกชนิดที่ผลิต จำหน่าย หรือนำสั่งเข้ามาในประเทศ จะต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทย และต้องขออนุญาตให้ถูกต้องด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่สาวพม่านำมาใช้ หรือยาที่แรงงานต่างๆ นำมาใช้ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงเพราะไม่ทราบว่ามันมีส่วนผสมของอะไร และอันตรายหรือไม่ แต่ที่น่าสงสัยคือ ผลหลังจากการใช้มันเกิดขึ้นเร็วมาก ทั้งหน้าขาว หรือหายปวดเมื่อย จึงมีแนวโน้มว่าน่าจะผสมสารอันตราย         ฝากผู้อ่านทุกท่านคอยสอดส่องด้วยนะครับ หากมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พวกนี้ ขอให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ข้อคิดชีวิตนักช้อปออนไลน์

        ยุคนี้กระแสช้อปปิ้งออนไลน์มาแรง บรรดาร้านช้อปออนไลน์ทั้งหลายต่างหาโปรโมชั่นมาล่อตาล่อใจขาช้อปอย่างเราๆ ทั้งลดราคา 30 – 80%, ซื้อ 1 แถม 1, บางร้านก็ทั้งลดทั้งแถม จัดโปรโมชั่นกันขนาดนี้ ขาช้อปจะทนไหวได้อย่างไร อย่างเช่นเดือนที่ผ่านมาก็มี โปรโมชั่น 9.9 วันที่ 9 เดือน 9 ก็ทำให้บรรดาขาช้อปออนไลน์ทั้งหลายกระเป๋าเบาไปตามๆ กัน แต่เดี๋ยวก่อนการจัดโปรโมชั่นทั้งลดทั้งแถม ร้านค้าก็ถือเป็นโอกาสการระบายสินค้าใกล้หมดอายุอีกทางหนึ่งด้วย ต้องระวังกันไว้ให้ดี อย่างเช่นร้านค้าออนไลน์เจ้านี้         ภูผาหนุ่มออฟฟิศที่รักสินค้าลดราคาเป็นชีวิตจิตใจ ในมือถือของเขามีแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์เพียบ ช่วงเดือนสิงหาคมเขาได้เข้าไปในแอปวัตสันออนไลน์ เห็นว่ากำลังจัดโปรโมชั่น สินค้าครีมบำรุงผิวยี่ห้อดัง ซึ่งลดราคา 30 – 70% ดูไปดูมาเห็นภาพโฆษณาโลชั่นทาผิวขนาด 600 ml ราคาถูกมาก รู้สึกไม่ไหวแล้วต้องจัด คุณภูผาคิดว่าอย่างไรเสียโลชั่นก็เก็บไว้ใช้นานๆ ได้ จึงสั่งไปจำนวน 10 ขวด รวมเป็นเงิน 1,240 บาท          ปัญหาอยู่ตรงที่เมื่อสินค้ามาส่งเขาเปิดสินค้าดูพบว่าเป็นโลชั่นที่ขวดยังเป็นรุ่นเก่า แต่ภาพโฆษณาในแอปตอนสั่งเป็นขวดรุ่นใหม่ที่ขายในปัจจุบัน และเมื่อดูวันหมดอายุก็พบว่า สินค้าจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนนี้ เขารู้สึกว่าถูกร้านค้าหลอกและถูกเอาเปรียบ เพราะว่าได้สินค้าไม่ตรงกับโฆษณา ภาพในแอปใช้สินค้าขวดใหม่โฆษณาแต่ส่งสินค้าขวดเก่ามาให้ ทั้งสินค้ายังจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนนี้ด้วย สั่งไปตั้ง 10 ขวด เดือนเดียวใช้อย่างไรก็ไม่หมด 10 ขวด         คิดจนปวดหัวจึงติดต่อไปยังคอลเซนเตอร์  02-2178899 เล่าเรื่องให้พนักงานฟัง พนักงานแจ้งว่าสามารถนำสินค้าไปเปลี่ยนได้ที่สาขาใกล้บ้าน แต่เมื่อนำไปเปลี่ยนที่วัตสัน สาขา โลตัสสุขุมวิท 50 พนักงานที่สาขากลับไม่ทราบเรื่อง(ไม่เป็นนโยบาย) จึงไม่รับเปลี่ยนสินค้า คุณภูผาจึงโทรศัพท์ไปยังคอลเซนเตอร์อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พนักงานแจ้งว่ายังไม่ได้รับรายงานเรื่องที่คุณภูผาเคยร้องเรียนเลย  คุณภูผารู้สึกว่าถูกเอาเปรียบและบริษัทฯ ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน จึงแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเหลือดำเนินการต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำว่าการกระทำของร้านค้าอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดเรื่องโฆษณาเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้ติดต่อไปยังคอลเซนเตอร์ของวัตสัน พนักงานอธิบายว่าผู้ร้องได้ร้องเรียนในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุด พนักงานคอลเซนเตอร์วันนั้นจึงเพียงรับเรื่องไว้เท่านั้น เรื่องของผู้ร้องยังไม่ถูกส่งต่อให้บริษัท ทำให้บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ร้อง สาขาที่ผู้ร้องไปคืนสินค้าและขอเงินคืน ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เพราะยังไม่มีต้นเรื่องคำสั่งจากบริษัทแจ้งเข้ามา         ศูนย์พิทักษ์จึงขอให้บริษัทฯ เร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วนและเมื่อสอบถามถึงเรื่องการจัดโปรโมชั่นลดราคา พนักงานแจ้งว่า ปกติสินค้าช่วงโปรโมชั่นลดราคา ผู้ซื้อจะทราบอยู่แล้วว่าเป็นสินค้าเก่า บริษัทจะนำสินค้าเก่าใกล้หมดอายุมาลดราคาอยู่แล้วเป็นปกติ เพราะเป็นการลดล้างสต็อค อย่างไรก็ตามปัญหาของผู้ร้องรายนี้บริษัทดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ร้องภายใน 1 วัน หลังจากศูนย์พิทักษ์เร่งให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา         การกระทำของร้านค้าออนไลน์เจ้านี้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก และยังผลักภาระการรับรู้ให้ผู้บริโภคด้วย การจำหน่ายสินค้าออนไลน์เป็นการจำหน่ายโดยไม่เห็นสินค้า ร้านค้าควรแจ้งวันหมดอายุให้ผู้บริโภคทราบไม่ใช่อ้างว่าเป็นสินค้าลดราคาผู้บริโภคต้องทราบเอง ยิ่งกรณีของผู้ร้องรายนี้ถ้าผู้ร้องทราบก่อนว่าสินค้าจะหมดอายุภายในเดือนกันยายน ซึ่งในขณะซื้อสินค้าเป็นเดือนสิงหาคม ผู้ร้องคงไม่ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากแบบนี้         บรรดาขาช้อปทั้งหลายที่ถูกใจโปรโมชั่นลดราคา และของแถมทั้งหลาย อาจจะภาคภูมิใจที่ซื้อสินค้ามาได้ในราคาถูก แต่หารู้ไม่ว่าตนเองอาจจะตกเป็นช่องทางการระบายสินค้าอายุโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นพ่อหนุ่มภูผาที่รักสินค้าลดราคาเป็นชีวิตจิตใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 ยาทาฝ้าจากอินเดียสั่งออนไลน์ได้นะจ๊ะนายจ๋า

ผมมีโอกาสไปสอนหนังสือนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในหัวข้อ เกี่ยวกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และได้มอบหมายให้นักศึกษาไปตรวจสอบการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ และให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นักศึกษารายหนึ่งตรวจพบการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางออนไลน์ของเว็บขายสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง          นักศึกษาเล่าว่า เมื่อตนเข้าไปที่เว็บขายสินค้านี้  พบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่า เป็นยาทาลบรอยฝ้า รอยจุดด่างดำ เห็นผลจริง เป็นของดีจากอินเดีย มีการบรรยายสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับการรักษาผิวใต้วงแขนที่หยาบกร้าน แผลพุพอง รอยดำของบิกินี่ รอยบวมเล็กๆ บนผิวหนัง ช่วยลดรอยฝ้า กระอ่อน รอยแห่งวัย จุดด่างดำ หน้าท้องลายจากการตั้งครรภ์ และอื่นๆ มีวิธีใช้ง่ายๆ คือ ทาบางๆ บริเวณที่เป็นฝ้า ทุกวันหลังล้างหน้าตอนเย็น  แนะนำให้ทาติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน โดยมีคำเตือนว่า สตรีมีครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรใช้          ผลิตภัณฑ์นี้ระบุส่วนประกอบ ได้แก่  Hydroquinone, Mometasone Furoate และ Tretinoin ซึ่งทั้งสามตัวมีสรรพคุณเป็นยา และเป็นยาที่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะมีผลข้างเคียงสูง เช่น Hydroquinone หากใช้ติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน แทนที่หน้าจะขาวผ่อง กลับจะยิ่งทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรขึ้นได้ รวมทั้งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย          ส่วน Mometasone Furoate เป็นครีมสเตียรอยด์ ที่ทางการแพทย์นำมาใช้รักษาผื่นคัน หรือการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยาที่มีความแรงสูงๆ หรือใช้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้ ผิวหนังแดง แห้ง แสบร้อน คัน สีผิวจางลง หรืออาจมีผื่นคล้ายสิว และยาอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้ อาจเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงมากได้ เช่น กดไขกระดูก หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น          ส่วนตัวสุดท้าย tretinoin เป็นสารในกลุ่มวิตามินเอ ทางการแพทย์จะใช้เป็นยารักษาสิว แต่มีข้อควรระวังที่น่ากลัวคือ ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะตัวยาอาจดูดซึมเข้าสู่ทารก จนร่างกายทารกอาจพิการได้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จึงเป็นยา ซึ่งผู้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องนำมาขอขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายได้ และต้องจำหน่ายในร้านขายยาเท่านั้น แต่ยานี้กลับจำหน่ายทางออนไลน์ให้สั่งซื้อได้อย่างง่ายๆ เมื่อนักศึกษาได้ลองสั่งซื้อ ก็ได้รับสินค้ามาอย่างรวดเร็ว นักศึกษาได้ร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และแจ้งไปที่เว็บจำหน่ายสินค้าดังกล่าวด้วย          ปรากฏว่าทั้งสองแห่งต่างก็ตอบว่าได้รับเรื่องแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนผมลองเข้าไปดูก็ยัง พบการโฆษณาในเว็บอยู่ เพียงแต่ขึ้นข้อความว่าสินค้าหมด ใครนิยมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ก็ระวังด้วยนะครับ การจำหน่ายยาทางนี้ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำให้เราเสี่ยงต่ออันตรายอีกด้วย ถ้าใครเจอ ช่วยๆ กันเตือนและช่วยๆ กันร้องทุกข์ด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 212 กันแดดแบบไม่ทำร้ายปะการัง

   จริงๆ เรื่องครีมหรือโลชั่นกันแดดมีผลต่อการตายของปะการัง ได้ถูกพูดถึงกันมาหลายปีแล้ว แต่เพราะเราหลายคนยังคงมีคำถามอยู่ในใจว่า อะไรจะขนาดนั้น ครีมกันแดดปริมาณเพียงเล็กน้อยจากตัวเราจะถึงกับทำให้ปะการังในทะเลซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่เกิดผลกระทบที่รุนแรงได้    จนเมื่อทางการไทยประกาศว่าจำต้องปิดอ่าวมาหยา บนหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ แหล่งท่องเที่ยวที่เคยติดอันดับต้นๆ ของโลก ต่อไปอีกอย่างไม่มีกำหนด หลังจากที่ปิดไปแล้วสามเดือนแต่ไม่พบสัญญาณที่ดีขึ้นของการฟื้นฟูของธรรมชาติบริเวณอ่าวดังกล่าว ประเด็นครีมกันแดดกับการตายของปะการังจึงกลายเป็นกระแสอีกครั้ง อะไรในครีมกันแดดที่ฆ่าปะการังสารเคมีสี่ชนิดที่นักวิจัยพบว่าฆ่าปะการังและทำให้ปะการังฟอกขาวคือ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben ตัวสุดท้ายเป็นวัตถุกันเสียที่ทำให้ปะการังฟอกขาว  ตัวที่ร้ายที่สุดคงจะเป็น Oxybenzone หรือ BP3 เพราะรบกวนระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนปะการังโตแบบผิดรูป หรือไม่ก็พิการและตายไปเลย นอกจากนี้ Oxybezone ยังเป็นส่วนผสมที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกว่า 3,500 ยี่ห้อทั่วโลก เพราะมีคุณสมบัติในการป้องกันได้ทั้งยูวีเอและยูวีบี    บางคนอาจบอกว่าทะเลตั้งกว้างใหญ่ ครีมกันแดดแค่นิดหน่อยจากนักท่องเที่ยวไม่น่าจะสร้างปัญหาได้ แต่สิ่งที่งานวิจัยค้นพบก็คือ สารเคมีแม้ปริมาณเพียงน้อยนิด  แค่ 1 หยดต่อสระน้ำมาตรฐาน 6 สระ (62 parts per trillion) ก็ส่งผลกระทบต่อปะการังแล้ว ผลการตรวจค่าความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแนวปะการังที่ฮาวายรอบเกาะ Maui และ Oahu พบว่ามีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 800-19,000 parts per trillion และที่ Virgin Island National Park อยู่ที่ 250,000 parts per trillion นั่นหมายความว่าความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในปัจจุบันสูงกว่าระดับปลอดภัยไปมากและกำลังส่งผลร้ายแรงต่อแนวปะการังในระยะยาว             บางคนก็ว่าไม่ได้ว่ายน้ำในทะเลเสียหน่อย ไม่เป็นไรน่า อย่าลืมสิว่าเวลาเราอาบน้ำบรรดาสารเคมีอันตรายก็ไหลไปกับท่อน้ำทิ้งและลงสู่ทะเลเช่นเดียวกัน   เพื่อให้สวยอย่างฉลาดและรักษ์โลกไปพร้อมกัน เวลาเลือกใช้ครีมกันแดด ควรมีแนวทางดังนี้  - เปลี่ยนมาใช้ครีมกันแดดที่ปราศจากสาร Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben    -  ใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ (Water resistant) เพราะอย่างน้อยก็เกิดการชะล้างระหว่างอยู่ในน้ำน้อยกว่า    -  ทาครีมกันแดดเฉพาะบริเวณนอกเสื้อผ้า เช่น ใบหน้า คอ มือ บางกรณีเราอาจใช้หมวก เสื้อแขนยาว และร่มเพื่อช่วยลดความจำเป็นในการใช้ครีมกันแดดในปริมาณมากๆ    -  ร่วมกันรณรงค์ให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการพัฒนาครีมกันแดดที่ปราศจากสารเคมีที่ทำร้ายปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใต้ท้องทะเล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ครีมทาสิวยุบทันใจ

ขึ้นชื่อว่าเป็น “สิว” แล้ว ไม่ว่าจะตุ่มเล็ก ตุ่มใหญ่ มากหรือน้อยแค่ไหนก็สร้างความกังวลใจได้เสมอ หลายคนจึงต้องสรรหาสารพัดวิธีเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว และหนึ่งในวิธียอดฮิตก็หนีไม่พ้นการซื้อครีมทาสิวมารักษาด้วยตนเอง ซึ่งเรามักพบว่าครีมที่ช่วยทำให้สิวยุบทันใจมีวางขายกันเกลื่อนกลาด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะมีความปลอดภัยต่อผิวหน้าของเรามากแค่ไหน ลองไปดูกัน มารู้จักสิวกันสักนิดไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเราเข้าสู่วัยรุ่น การแพ้สารเคมีในเครื่องสำอาง กรรมพันธุ์ การติดเชื้อแบคทีเรีย (Propionibacterium acnes) หรือการผลิตไขมันที่มากเกินไปของต่อมไขมัน รวมทั้งความผิดปกติหรือการอักเสบของรูขุมขน ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสิวได้ทั้งสิ้นรักษาสิวด้วยครีมทาสิว ดีอย่างไรแน่นอนว่าสิวสามารถยุบไปเองได้ตามธรรมชาติ แต่ต้องใช้เวลานาน ทำให้ครีมรักษาสิวได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย โดยเราสามารถเลือกซื้อเองได้ตามร้านขายยาหรือท้องตลาดทั่วไป ซึ่งนอกจากจะทำให้สิวยุบเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังมีราคาไม่แพงมากอีกด้วยอย่างไรก็ตามการเลือกซื้อครีมทาสิวที่มักโฆษณาว่า “เห็นผลเร็วทันใจ” “สิวหายภายใน 24 ชั่วโมง” ถือเป็นทางเลือกที่เราต้องระมัดระวังให้มาก เพราะผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวให้ผิวหน้าเราพังได้อย่างไม่รู้ตัวสเตียรอยด์ในครีมทาสิว ทำหน้าพังได้อย่างไรแม้สเตียรอยด์ (steroid) จะเป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรค และพบมากในยาแต้มสิวหรือยาฉีดสิว เพราะช่วยต้านการอักเสบหรือลดอาการปวดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่กลับต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะการใช้สารดังกล่าวติดต่อกัน สามารถทำให้ผิวหนังบาง แดง อักเสบ แพ้ง่ายหรือบางรายอาจเป็นสิวผดเห่อขึ้นทั่วหน้า รวมทั้งหลังหยุดใช้ยาผิวจะดูเหี่ยวเร็วหรือเส้นเลือดใต้ผิวหนังแตก ซึ่งรักษายากและใช้เวลานานกว่าผิวจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมสังเกตครีมทาสิวที่ไม่ปลอดภัยเพราะสเตียรอยด์สามารถทำร้ายผิวได้อย่างร้ายแรงตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง โดยห้ามไม่ให้มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในเครื่องสำอางอย่างไรก็ตามครีมทาสิวหลายยี่ห้อกลับลักลอบใส่สารดังกล่าวลงไป พร้อมโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิวได้อย่างรวดเร็ว และผู้บริโภคหลายคนอาจเผลอใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะคิดว่าเป็นเพียงเครื่องสำอางชนิดหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เราสามารถมีวิธีสังเกตครีมทาสิวที่ไม่ปลอดภัยได้ง่ายๆ ดังนี้- แยกความแตกต่างระหว่างเครื่องสำอางและยาวิธีการง่ายๆ เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังจะใช้ สามารถรักษาสิวได้จริงหรือไม่นั้น คือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องเป็น “ยา” ที่มีผลในการบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค ซึ่งดูได้จากเลขทะเบียนยา เช่น ยาที่ผลิตในประเทศ และมีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวต้องระบุ (Reg.No.) 1A…/… หรือ ๒A …/… พร้อมมีฉลากภาษาไทย และเอกสารกำกับยาติดอยู่ในขวดหรือในกล่องยาที่ระบุรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ 1. ชื่อยา 2. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา 3. เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต เช่น Lot No… 4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า 5.วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ เช่น Mfd. / Exp. Date 6. ตัวอักษรสีแดงคำว่า ยาอันตราย/ ยาควบคุมพิเศษ/ ยาใช้เฉพาะที่ หรือยาใช้ภายนอก (แล้วแต่กรณี) 7. วิธีใช้และคำเตือนโดยหากพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีรายละเอียดดังกล่าว แต่มีเลขที่จดแจ้งจำนวน 10 หรือ 13 หลัก โดยไม่มีกรอบเครื่องหมาย อย. ก็แสดงเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มีจุดประสงค์เพื่อความสะอาดหรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้รักษาสิวหรือโรคใดๆ ได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำเลขทะเบียนยาที่พบ ไปตรวจสอบความถูกต้องได้ที่เว็บไซต์ของ อย.(http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx) เพราะบางยี่ห้ออาจมีการใช้เลขทะเบียนตำรับยาปลอม รวมทั้งในการใช้ยารักษาสิวดังกล่าว ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรและไม่ควรใช้นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 ครีมสลายไขมัน มีประโยชน์จริงหรือ

หลายคนที่มีความกังวลเรื่องไขมันส่วนเกิน มักมองหาสารพัดวิธีเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในวิธีที่เชื่อว่าเป็นทางลัดก็หนีไม่พ้นการใช้ครีมหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่โฆษณาว่าสามารถช่วยสลาย ละลายหรือดูดไขมันได้ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริงหรือ ทำไมต้องกำจัดไขมันส่วนเกินเหตุผลที่หลายคนมักกังวลกับไขมันส่วนเกิน มักมีสาเหตุหลักจากเรื่องความสวยงามและสุขภาพ เพราะนอกจากไขมันส่วนเกินจะทำให้ขาดความมั่นใจ เนื่องจากมักพบมากที่บริเวณหน้าท้อง ต้นขาหรือต้นแขนจนทำให้ใส่เสื้อผ้าไม่สวยหรือดูอ้วนแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกด้วยผลิตภัณฑ์เพื่อกำจัดไขมันแม้คนส่วนใหญ่จะทราบว่าวิธีการกำจัดไขมันส่วนเกินนั้น ไม่มีอะไรมาก แค่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่เนื่องจากวิธีเหล่านั้นต้องทำเป็นประจำและใช้เวลาสักพักจึงจะเห็นผล ทำให้หลายคนต้องหาวิธีลัดในการกำจัดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ทรีตเมนท์ละลายไขมัน เจลและมาส์กสลายไขมัน หรือสบู่ระเบิดไขมัน ออกมาโฆษณาว่าสามารถช่วยสลาย ละลายหรือดูดไขมันได้ โดยจะทำให้แขนขาเรียวเล็กหรือหน้าท้องแบนขึ้น เนื่องจากเต็มไปด้วยส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพในการสลายไขมันที่อยู่ภายใต้ชั้นผิว ทั้งยังปลอดภัยเพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติและมี อย. อย่างไรก็ตามผู้บริโภคอย่างเราต้องไม่ลืมว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงามเท่านั้น โดยไม่สามารถอ้างว่า บำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค ความเจ็บป่วย มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายได้ เพราะหากทำได้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะกลายเป็นยารักษาโรคแทน ซึ่งต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นยาและแสดงไว้บนฉลาก เป็นอักษรและตัวเลข เช่น Reg. No. 2C 93/52 โดยไม่ต้องมีกรอบ อย. ล้อมรอบ แตกต่างจากการจดแจ้งว่าเป็นเครื่องสำอางและใช้เลขที่จดแจ้ง 10 หลัก ซึ่งที่ผ่านมาองค์การอาหารและยา (อย.) ได้พบว่ามีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่จัดเป็นเครื่องสำอาง แต่อวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นยา เช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน โลชั่นกระชับจุดซ่อนเร้น หรือครีมฆ่าเชื้อโรค เป็นต้นแสดงให้เห็นว่าหากเราหวังผลในการลดไขมันส่วนเกิน แต่ดันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องสำอาง ซึ่งมีประสิทธิภาพเพื่อความสะอาดหรือความสวยงาม ก็ไม่อาจช่วยรักษาหรือทำให้เกิดผลต่อโครงสร้างใดๆ ของร่างกายได้นั่นเอง นอกจากนี้หากเราเลือกใช้เครื่องสำอางดังกล่าวโดยไม่ตรวจสอบให้ดีก่อน อาจพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เข้าข่ายเครื่องสำอางอันตรายที่มีการใส่สารห้ามใช้หรือกระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย ซึ่งหลักการง่ายๆ ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัยนั้น สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบฉลากภาษาไทย ที่อย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง, ส่วนผสม, ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า, ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งเลขที่จดแจ้งด้วย สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบฉลากภาษาไทย ที่อย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง, ส่วนผสม, ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า, ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งเลขที่จดแจ้งด้วยแนะวิธีกำจัดไขมันส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ1. ออกกำลังกาย ด้วยการคาร์ดิโอ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ปั่นจักรยานหรือแอโรบิก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที สามารถช่วยลดไขมันได้อย่างดี แต่ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะการที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสารอาหารและพลังงานที่ร่างกายได้รับด้วย2. ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากเครื่องมือเพื่อการสลายหรือดูดไขมันมีมากมาย เช่น เลเซอร์ คลื่นวิทยุ คลื่นเสียงความถี่สูงหรือความเย็นสลายไขมัน ซึ่งให้ประสิทธิผลที่ดี แต่ต้องเลือกสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการสถานพยาบาลเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาเพื่อฉีดสลายไขมัน เพราะปัจจุบัน อย. ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนยาใดๆ ที่มีคุณสมบัติเพื่อสลายไขมัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ฉีดยาดังกล่าวเข้าไปเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้***ร่วมแชร์กันนะครับ***

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกรกฎาคม 2560“เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต” รักษาโรคไม่ได้ใครที่กำลังคิดจะซื้อ “เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต” เพราะเชื่อตามโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ ขอให้เปลี่ยนความคิดเดี๋ยวนี้ เพราะล่าสุด อย. ออกมาให้ข้อมูลแล้วว่า อุปกรณ์เก้าอี้ไฟฟ้าสถิตย์ไม่ได้มีไว้เพื่อผลในการรักษาโรคแต่อย่างใด ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีการขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าอุปกรณ์บำบัดด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าสถิตอุปกรณ์เก้าอี้ไฟฟ้าสถิตจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาต อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อย. ซึ่ง อย.กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ว่าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตเฉพาะที่ชั่วคราว หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อเฉพาะที่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถรักษาหรือบำบัดบรรเทาโรคได้ และต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด แต่ปัจจุบันกลับพบปัญหาการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เรื่องการรักษา บรรเทา และป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ส่งผลกระทบที่อาจทำให้ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยต้องสูญเสียโอกาสและเวลาในการรักษาโรคให้หายด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องเสียเงินในการซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวโดยเปล่าประโยชน์อย.ได้กำหนดโทษการโฆษณาที่เป็นเท็จทำให้ผู้บริโภคเข้าใจของสินค้าในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ คือจำคุกไปเกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ อะลูมิเนียมใส่อาหารได้ไม่ทำให้เป็นอัลไซเมอร์ในสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อเรื่องการใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหารที่มีความร้อน ว่าจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอ้างว่าอะลูมิเนียมเมื่อโดนความร้อนจะละลายปนลงในอาหาร เมื่อบริโภคเข้าไปจะส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้ความจำลดลงและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งจะทำลายแคลเซียมในร่างกายมีผลต่อกระดูก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับผู้บริโภค จนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องออกมาชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมด้วยผลการทดสอบ ยืนยันว่าอะลูมิเนียมที่ใช้ในการห่อหุ้มอาหารปลอดภัย และไม่ใช่ต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใดสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ทำการตรวจวิเคราะห์การละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะที่ทำด้วยโลหะอะลูมิเนียม แบ่งเป็นภาชนะหุงต้ม จำนวน 22 ตัวอย่าง และแผ่นเปลวอะลูมิเนียม(ฟอยล์) 6 ตัวอย่าง โดยทำการทดสอบในภาวะที่สุดโต่ง ด้วยสารละลายกรดอะซิติก ที่อุณหภูมิน้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่า มีอะลูมิเนียมละลายจากภาชนะหุงต้ม ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 11-953 มิลลิกรัม/ลิตร และพบการละลายออกมาจากแผ่นเปลวอะลูมิเนียมทั้งหมด ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 483.6-1,032 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนการทดสอบถาดหลุมที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากถาดหลุมทั้ง 6 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งพบอยู่ในช่วง 0.5-14.1 มิลลิกรัม/ลิตรนอกจากนี้ยังมีการทดสอบเรื่องการละลายออกมาของอะลูมิเนียมลงสู่อาหาร 4 อย่าง คือ ข้าวสุก ผัดผัก ต้มยำ และยำวุ้นเส้น ที่ใส่ในถาดหลุมไว้เป็นเวลา 30 นาที เพื่อเลียนแบบการรับประทานอาหารโดยใช้ถาดหลุม พบว่า การละลายออกมาของอะลูมิเนียมมีน้อยมากๆ อยู่ในช่วง 0.047 - 0.928 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่สำคัญคือ การรับประทานอาหารที่อยู่ในภาชนะหรือห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด ครีมกันแดดในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อผู้ป่วยเอสแอลอีเพราะผู้ป่วยโรคเอสแอลอี(SLE) มีความจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ได้จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อหาครีมกันแดดให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ทุกปี ล่าสุดในงาน “แดดจ๋า อย่ารังแกหนู หนูเป็นโรคเอสแอลอี” จึงได้มีข้อเสนอที่อยากให้มีการเพิ่มครีมกันแดดเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติในระบบประกันสุขภาพของรัฐ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยเอสแอลอี สามารถเข้าถึงครีมกันแดด ซึ่งถือเป็นเวชภัณฑ์สำหรับคนไข้ในกลุ่มนี้พญ.พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซัม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ที่ปรึกษาชมรมคนต่อสู้โรคเอสแอลอี กล่าวว่า แดดในเมืองไทยแรงมาก ทำให้มีแนวโน้มที่คนไทยจะเป็นโรคเอสแอลอีอยู่แล้วถูกกระตุ้นให้เป็นเร็วมากขึ้น เวลาที่ผู้ป่วยอาการของโรคกำเริบ อาจจะต้องได้ยาขนานสูง บางคนได้สเตียรอยด์ หรือแรงกว่านั้น ทำให้มีผลกระทบหลายอย่าง เช่น ประจำเดือนไม่มา กระดูกพรุน หรือมีปัญหาเรื่องความสูงและความสมบูรณ์ของร่างกาย ดังนั้นตรงนี้จึงสำคัญมาก หากครีมกันแดดสามารถเบิกได้ในคนไข้ที่จำเป็นจะต้องใช้ เช่น ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้โรคเอสแอลอี (SLE) ย่อมาจากชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า systemiclupus erythematosus เป็นโรคที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายระบบหรือหลายอวัยวะในร่างกาย ทั้ง ปวดบวมตามข้อ อาการต่อระบบไต ระบบเลือด และระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไป มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่ง 1 ในปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบเกิดจากการที่ผิวหนังถูกแสงอัลตราไวโอเลต คัดค้านขยายสิทธิผู้ประกันตนจาก 55 ปี เป็น 60 ปีจากการที่สำนักงานประกันสังคมมีนโยบายที่จะขยายระยะเวลาการรับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปี โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับแรงงานที่อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม ได้รับการดูแลคุ้มครองตามสิทธิต่อเนื่องจนถึงอายุ 60 ปีแต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านจากองค์ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทั้งเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน และ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) โดยทั้ง 2 องค์กรเห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นลดทอนสิทธิมากกว่าสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน การขยายระยะเวลาในการอยู่ภายใต้สิทธินั้น หากมีการนำมาใช้จริงก็ควรเป็นไปแบบสมัครใจ สำหรับประเด็นที่ว่าสำนักงานประกันสังคมต้องการที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับแรงงานในส่วนของผู้ประกันตน ด้วยการขยายระยะเวลาการรับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปี เพราะสามารถใช้สิทธิต่างๆ ได้นานขึ้น องค์กรที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านมองว่าเป็นคนละประเด็นกัน การยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงให้กับผู้ประกันตนสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเตรียมทำมาตรฐานน้ำดื่มแห่งชาติกรมอนามัยเตรียมทำร่างมาตรฐานน้ำบริโภค ที่จะเป็น “มาตรฐานกลาง” ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เนื่องจากปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำบริโภคได้อ้างอิงเกณฑ์คุณภาพที่แตกต่างกัน อาทิ การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค อ้างอิงจากเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ใช้เกณฑ์คุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการบริโภค และมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ร่างมาตรฐานน้ำบริโภคประเทศไทย” ว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเคมี สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ และยากำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำที่ใช้ในการบริโภค ซึ่งจากการสำรวจและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในประเทศของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย โดยใช้เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พบว่า ตั้งแต่ปี 2551 - 2559 น้ำบริโภคไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ย ร้อยละ 60 จำนวนนี้แบ่งเป็นมาตรฐานด้านกายภาพร้อยละ 30 เคมี ร้อยละ 15 และชีวภาพ ร้อยละ 70โดยกรมอนามัยจะเป็นแกนหลักในการจัดทำมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพน้ำบริโภคของประเทศให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อหน่วยงานต่างๆ ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภค ทั้ง น้ำประปา น้ำประปาภูเขา น้ำบ่อบาดาล น้ำผิวดิน และน้ำฝน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 ขาวจากขาลามขึ้นมาถึงหน้า

หลายปีก่อนมีปรากฏการณ์เด็กวัยรุ่นสาวในจังหวัดเพชรบุรี “ขาลาย” กันหลายคน จากการติดตามลงพื้นที่เพื่อค้นหาปัญหาของเภสัชกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ทำให้ทราบข้อมูลว่าวัยรุ่นกลุ่มนี้ซื้อวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางมากวนเป็นครีมทาขาใช้กันเอง และยังนำครีมที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์มาผสมเพิ่มลงไปในครีมที่กวนด้วย ครีมสเตียรอยด์ที่เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้นำมาผสมคือ โคลเบตาซอล (clobetasol) ซึ่งเป็นสเตีอรอยด์ที่มีความแรงสูงสุด ใช้ไปทีแรกขาก็ขาวขึ้นแต่เมื่อใช้ไปนานๆ ขาที่ขาวกับมีลายริ้วเป็นเส้น จนเป็นข่าวครึกโครมออกสื่อโทรทัศน์ไปทั่วผ่านมาสามถึงสี่ปีแล้ว ไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวหายไปหรือยัง แต่ที่น่าตกใจคือพบพฤติกรรมใหม่อีก คือมีครีมหน้าขาวระบาดในหมู่คนที่อยากหน้าขาวหลายราย และลามไปหลายกลุ่มวัยด้วย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยโรย มีการระบาดตั้งแต่ภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้ ผลิตภัณฑ์ที่ขายมีทั้งชนิดที่ผสมในตลับที่ไม่มีฉลาก(ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง) เมื่อตรวจวิเคราะห์ก็พบสารสเตียรอยด์ตัวเดิม คือโคลเบตาซอล (clobetasol) หรือบางทีก็มีการนำครีมที่ไม่มีฉลากมาขายเป็นชุด โดยขายรวมกับครีมโคลเบตาซอล ผลปรากฏว่ามีการแอบซื้อแอบขายกันอย่างแพร่หลายไปตามๆ กัน แต่ที่แพร่หลายไปด้วยก็คืออาการผิวหน้าเริ่มมีสิวขึ้น ผิวบางลง จนบางครั้งอาจเกิดเป็นริ้วลายเส้นๆ ตามใบหน้าในแง่วิชาการนั้น หากจัดลำดับความแรงของสารสเตียรอยด์ พบว่า โคลเบตาซอล จัดเป็นสเตอรอยด์ที่มีความแรงสูงสุดด้วยซ้ำ ดังนั้นเมื่อใช้ประจำอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เช่น หน้าจะกลับมามัน สิวจะเริ่มขึ้นตามบริเวณที่ทา ผิวส่วนที่ทาครีมจะบางลง จนเห็นเส้นเลือดฝอย บางคนเกิดอาการอักเสบ เมื่อใช้ไปนานๆ อาจมีขนดกขึ้นในบริเวณที่ทา จึงไม่ควรนำมาใช้กับใบหน้าในแง่กฎหมาย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะไม่อนุญาตให้มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ทุกชนิด เพราะกฎหมายกำหนดให้ครีมที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาเท่านั้น ดังนั้นการผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้หากมีการขายเครื่องสำอางโดยจัดเป็นชุด ขายคู่กับยาครีมสเตียรอยด์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะมีเจตนาให้นำไปใช้อย่างผิดวิธี และหากสถานที่จำหน่ายไม่ใช่ร้านขายยาก็ถือว่าผิดกฎหมายด้วย แต่ถ้าหากขายในร้านขายยาโดยมีการขายพร่ำเพรื่อไม่เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็ถือว่าเภสัชกรร้านยา กระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพเช่นกันใครพบเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ แจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดโดยด่วน และอย่าลืมรีบเตือนผู้ที่กำลังหลงเป็นเหยื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้โดยด่วนที่สุด ก่อนที่หน้าจะพังแหล่งข้อมูล : Facebook.com/ Rational Drug Use , กพย และ Sompong Apiromuck

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์พฤศจิกายน 2557 ห้ามจำหน่าย “ภาชนะปนเปื้อนสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์” คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ได้มีคำสั่ง ห้ามจำหน่าย "ภาชนะหรือเครื่องใช้สำหรับบรรจุหรือสัมผัสอาหารที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์" หลังจากพบข้อมูลยืนยันชัดเจนแล้วว่า สารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งสามารถละลายออกมาปะปนในอาหาร เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็เคยทดสอบการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ภาชนะที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะที่นำเข้าจากต่างประเทศ วางขายตามตลาดนัดมีสีมันฉูดฉาด ไม่มีการแจ้งผู้ผลิตหรือชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิต “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” ฟอกฟันขาวได้จริงหรือ? อะไรที่ถูกแชร์ส่งต่อกันทางโลกออนไลน์ ต้องฟังหูไว้หู อย่าได้เชื่อตามทันที อย่างกรณีล่าสุด ที่มีการส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ว่า “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” นำมาฟอกฟันให้ขาวขึ้นได้ งานนี้ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย จึงต้องออกมาไขข้อข้องใจ ว่าเรื่องนี้จริงเท็จประการใด การทำฟันขาวด้วยมะนาวผสมเบกกิงโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ถือเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูงจะละลายแคลเซียมออกจากผิวฟัน ทำให้ฟันกร่อน และกรดจากมะนาวยังระคายเคืองเหงือกอาจทำให้เหงือกอักเสบได้ เมื่อเคลือบฟันกร่อนทำให้มีอาการเสียวฟันตามมา และการที่เคลือบฟันถูกทำลายจะเพิ่มโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายอีกด้วย ส่วนเบคกิงโซดาเป็นสารที่มีความสามารถในการทำความสะอาด จึงสามารถกำจัดคราบต่างๆ ที่ติดบนผิวฟัน รวมถึงคราบสีจากการดื่มน้ำชา กาแฟ จึงทำให้ฟันขาวสะอาดขึ้น แต่ไม่สามารถทำให้ฟันขาวจากเนื้อฟันข้างในได้ ผู้ที่มีเหงือกอักเสบและเสียวฟันอยู่แล้วไม่ควรนำวิธีนี้มาใช้เพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ผู้ที่จัดฟันไม่ควรใช้เบคกิงโซดาขัดฟัน เพราะจะทำให้กาวยึดเครื่องมือจัดฟันอ่อนตัวและหลุดได้   อย.เชือด!!! “ครีมมหัศจรรย์” Firmax 3 อย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อหลงใช้ผลิตภัณฑ์ Firmax 3 ที่มีการอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นครีมมหัศจรรย์ ใช้ทาตรงจุดชีพจร สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคไซนัสอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน ความดัน ริดสีดวงทวารหนัก อัมพฤต-อัมพาต ฯลฯ หลังทำการตรวจสอบแล้วว่าไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. หลักจากการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ Firmax 3 เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พบมีแหล่งกระจายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแห่งใหญ่อยู่ที่โคราชและหาดใหญ่ มีการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ตัวสินค้าเองมีลักษณะเป็นเครื่องสำอางแต่กลับอวดอ้างสรรพคุณเป็นยารักษาโรค อย.จึงได้ดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าที่จำหน่ายและผู้ที่นำเข้า หากผู้บริโภคคนไหนพบเห็นผลิตภัณฑ์ Firmax 3 หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรืออาหารเสริมที่โฆษณาอวดอ้างเกินจริงหรือแจ้งสรรพคุณว่ามีผลต่อการรักษาโรค สามารถแจ้งไปยัง อย.ให้ทำการตรวจสอบและเอาผิดได้ทันทีที่ สายด่วย อย. 1556   ส้มจีนมีใบ คือส้มผิดกฎหมาย? รู้หรือมั้ยว่า? ส้มจีนที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด หากมีใบติดมาที่ผลส้มด้วยอาจเป็นส้มที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ที่สำคัญอาจปนเปื้อนเชื้อโรค เพราะล่าสุด กรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่า ส้มจีนที่มีใบติดมาห้ามนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เพราะเสี่ยงโรคและแมลงศัตรูพืช หากพบมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่ามีการนำส้มจีนที่มีใบติดเข้ามาจำหน่ายในไทยแบบผิดกฎหมาย เพราะขายได้ราคาดีกว่าส้มไม่มีใบ ซึ่งส้มจากจีนจะสามารถนำเข้ามาประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายต้องมาจากสวนหรือโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรอง มีใบรับรองสุขอนามัย และต้องไม่มีกิ่ง ก้านใบ ดิน ติดเข้ามาด้วย เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายต่อระบบการเกษตร แต่เพราะคนไทยเข้าใจผิด นิยมซื้อส้มที่มีใบติดเพราะเห็นว่าสวยงามกว่า คิดว่าเป็นส้มใหม่ เลยทำให้เกิดการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายแบบผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก     ค้านกฎหมาย จดสิทธิบัตร “กลิ่น-เสียง” สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน และภาคประชาชน ค้านกระทรวงพาณิชย์ที่มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่ขยายความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายการค้าที่เป็น “กลิ่นและเสียง” เหตุเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์และยังเป็นการทำร่างกฎหมายที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนอื่นๆ หากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นก็คือ เครื่องหมายการค้าในเรื่องกลิ่นจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ ซึ่งต้องใช้กลิ่นช่วยกลบและช่วยแต่งรสชาติของผลิตภัณฑ์ หากมีการแก้ไขคำจำกัดความให้มีการจดสิทธิบัตรเรื่องกลิ่น ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นโดยธรรมชาติของสินค้านั้น จะนำไปสู่การละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ถือสิทธิ์ได้ นำไปสู่ปัญหาเรื่องความไม่มั่นใจในการพัฒนาสูตรตำรับยาของบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตยาชื่อสามัญออกสู่ตลาด ทำให้บริษัทยาข้ามชาติสามารถขายยาผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลดราคาเลยเพราะไม่มีคู่แข่ง ที่สำคัญการให้กลิ่นและเสียงจดเครื่องหมายการค้าได้ ถือว่าเกินไปกว่าข้อตกลงระหว่างประเทศ TRIPS + อีกทั้ง ไม่ใช่หลักสากล จากข้อมูลพบว่า ประเทศที่อนุญาตให้จดเครื่องหมายการค้าทั้งกลิ่นและเสียงได้นั้น มีอยู่เพียง 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนประเทศที่ให้จดได้เฉพาะเสียงมี 5 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยใน 5 ประเทศนี้ 4 ประเทศแรก ยังไม่มีความชัดเจนในการจดเครื่องหมายการค้าที่เป็นกลิ่น ส่วนไต้หวันไม่มีการอนุญาต ซึ่งหลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการ พ.ศ.... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่มีการท้วงติงจากกระทรวงสาธารณสุข ครม.จึงมีมติให้กระทรวงพาณิชย์กลับไปพิจารณาอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2554 1 เมษายน 2554“สปาปลา” อาจพาให้เป็นโรคผิวหนัง เตือนผู้นิยมใช้สปาปลา ต้องสำรวจตัวเองให้ดีว่ามีอาการป่วยเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวเอง ร่วมทั้งป้องกันไม่ให้ตัวเองกลายเป็นพาหะแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นที่มาใช้บริการสปาร่วมกัน  สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่ามีโรคติดต่อที่อาจเกิดจากน้ำและปลาเป็นสาเหตุซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น โรครูขุมขนอักเสบโดยมีอาการคัน คล้ายเม็ดสิว มีแผลผุพอง มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนอง หรืออาจเกิดอาการโรคไฟลามทุ่ง ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  สำหรับกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สปาปลาคือ 1.ผู้ที่มีแผลตามผิวหนัง 2.ผู้ที่ใช้ยาลดภูมิ กลุ่มสเตียรอยด์ เพราะส่งผลให้มีภูมิต้านทานที่ต่ำติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วย เช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และ 3.กลุ่มที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีแผล ไม่ควรแช่เท้าเป็นเวลานาน เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ    18 เมษายน 2554“ฟองน้ำล้างจาน” แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค!!! ถ้วย ชาม จาน ช้อน ที่เคยมั่นใจว่าล้างทำความสะอาดอย่างดี อาจกลายเป็นพาหะนำโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วง หลังจากมีการเปิดเผยงานวิจัยที่น่าสนใจโดยทีมนักวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่า “ฟองน้ำ” และ “แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่แทบทุกบ้านคือแหล่งสะสมและขยายพันธุ์อย่างดีของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย “ซัลโมเนลล่า” ที่มากับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ยิ่งเจอเข้ากับสภาพอากาศของบ้านเราที่เอื้ออย่างมากต่อการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย โดยในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากกว่า 1 แสนรายต่อปี  สำหรับวิธีการลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำ ทำได้ง่ายๆ โดยการนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวัน ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดจัดทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้างคืน แต่ต้องเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้นจะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องหมั่นดูแลรักษาห้องครัวให้สะอาดถูกสุขอนามัยอยู่เสมอ     19 เมษายน 2554ระวังโรคภูมิแพ้เพราะครีมทาผิว คนที่อยากผิวสวยอาจต้องเสี่ยงกับการเป็นภูมิแพ้ เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ได้นำข้อมูลจากการประชุมเรื่องโรคภูมิแพ้ที่จัดขึ้นที่รัฐซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นที่แพทย์รักษาโรคภูมิแพ้ให้ความสนใจและห่วงใยเป็นพิเศษ คือ อันตรายจากการใช้ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ หรือสารให้ความชุ่มชื้นต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้มีการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ และไม่มีความจำเป็น แถมยังอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ใช้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง  คนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย ควรหาซื้อโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นโดยไม่มีส่วนผสมใดๆ อยู่ และควรอ่านอ่านส่วนประกอบของโลชั่นก่อนการใช้งานเสมอ และไม่ควรให้ส่วนผสมในโลชั่น มีน้ำหอม มีสี หรือสารกันเสียที่ที่ชื่อ พาราเบน ไม่ควรมีสิ่งปรุงแต่งเกินความจำเป็น ถึงแม้ว่าสารนั้นจะเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติก็ตาม     อย่ามองข้ามความปลอดภัย เด็กไทยเสี่ยงตายเพราะรถยนต์สูงขึ้น เด็กไทยยังต้องเสี่ยงตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นเพราะอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ติดตั้งมากับรถยนต์ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะกับเด็ก ทั้งเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย ทางแก้ไขพ่อ-แม่ ผู้ปกครองควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ซึ่งมีความเหมาะสมกับเด็กเล็ก ในต่างประเทศมีกฎหมายชัดเจนในการบังคับให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อยึดเหนี่ยวเด็กไม่ให้เด็กบาดเจ็บ เมื่อเกิดรถชน รถเบรกรุนแรง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมในส่วนนี้ มีเพียง พ.ร.บ.จราจรที่กำหนดให้ที่นั่งข้างคนขับต้องมีเข็มขัดนิรภัย ซึ่งในความเป็นจริงเข็มขัดนิรภัยไม่เหมาะสมกับเด็ก และไม่สามารถใช้ป้องกันอันตรายต่อตัวเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ขวบ หรือสูงไม่เกิน 140 ซม.แถมอาจให้ผลในทางตรงกันข้ามคือกลายเป็นเพิ่มอันตรายกับเด็ก เนื่องจากหากจะให้ปลอดภัยเข็มขัดนิรภัยจะต้องยึดเหนี่ยว 3 จุดสำคัญ คือ หัวไหล่ หน้าตัก และบริเวณเชิงกราน แต่หากเด็กขาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถเข็มขัดจะรัดที่บริเวณท้องน้อยและลำคอแทน หากรถเบรก หรือชน เข็มขัดจะรัดช่องท้องทำให้ตับ ม้ามแตก รัดลำคอและกระดูกสันหลังกระเทือน อาจเป็นอัมพาตได้  ส่วนถุงลมนิรภัยก็ไม่เหมาะสมกับเด็กเช่นกัน เนื่องจาก การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะปลอดภัยเมื่อนั่งห่างจากถุงลมอย่างน้อย 25 ซม.แต่เด็กที่นั่งตักแม่จึงอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมน้อยเกินไป ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานว่าเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี เสียชีวิตจากถุงลมในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงกว่า 200 ราย เกิดจากการบาดเจ็บของสมองเป็นหลัก ดังนั้น เด็กจึงควรมีการเสริมที่นั่งนิรภัยเป็นการเฉพาะ โดยทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก จัดวางที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงต่อการ เกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชนหรือเบรกรุนแรง เด็กอายุ 1-3 ปี ให้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็ก หันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ และใช้ที่เบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 4-7 ปี ใช้ที่นั่งเสริม ไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัว ใช้เข็มขัดนิรภัยรถยนต์เป็นอุปกรณ์ยึดเหนี่ยว และอยู่บริเวณเบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 8-12 ปี ควรใช้ที่นั่งเสริมจนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้พอดี     ถึงเวลาผู้ประกันตนแสดงพลัง ทวงสิทธิรักษาพยาบาลมาตรฐานเดียวรวมพลังผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมร่วมกันทำจดหมายถึงสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอเงินคืน แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อรับสิทธิในการรักษาพยาบาล ขณะที่ผู้ใช้บัตรทองหรือสิทธิข้าราชการไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ในฐานะกรรมการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ข้อมูลว่า การจ่ายเงินสมทบเพื่อสุขภาพในระบบประกันสังคมนั้นขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา  30 , 51 และ 80 (2) และกฎหมายหลักประกันสุขภาพเนื่องจากสิทธิสุขภาพเป็นสิทธิที่รับรองตามรัฐธรรมนูญและปัจจุบันกำหนดให้ใช้บริการโดยไม่ต้องร่วมจ่าย ดังนั้นผู้ประกันตนต้องได้รับบริการตามสิทธิเช่นเดียวกัน  นายนิมิตร์ เทียนอุดม เลขาธิการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคน แสดงพลังทวงคืนสิทธิ์ ด้วยการให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทำจดหมายทวงเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายทุกเดือนโดยหักประมาณร้อยละ 5 ของเงินเดือน ซึ่งผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล โดยส่งจดหมายไปถึงสำนักงานประกันสังคมในแต่ละพื้นที่เพื่อทวงเงินที่ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการที่ให้ทวงเงินตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน เพราะเป็นวันที่รัฐบาลประกาศยกเลิกไม่ต้องจ่าย 30 บาทสำหรับบัตรทองในการรักษาโรค โดยชมรม ฯ ได้จัดทำจดหมายสำเร็จรูปให้สมาชิกชมรมและผู้ประกันตน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจาก Facebook ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน หรือ www.consumerthai.org  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 ครีมนวด-ครีมหมักผม จำเป็นแค่ไหน

ผมสวยสุขภาพดีเป็นสิ่งที่สาวๆ หลายคนปรารถนา ทำให้ตามท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลเส้นผมมากมายหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์จำพวกครีมนวดและครีมหมักผม ที่มักโฆษณาว่าช่วยทำให้เส้นผมนุ่มสลวย โดยควรใช้เป็นประจำหลังสระผม อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เส้นผมของเราสุขภาพดีขึ้นได้และเราควรใช้เป็นประจำตามคำโฆษณาจริงหรือมารู้จักครีมนวด-ครีมหมักผมกันก่อนครีมนวด (Conditioner) และครีมหมักผม (Treatment) เป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่ใช้กับเส้นผม โดยมีจุดประสงค์เพื่อบำรุงเส้นผม ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยน้ำและสารอื่นๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นหรือความอ่อนนุ่มให้กับเส้นผม โดยภายหลังการใช้จะต้องมีการล้างออก ทั้งนี้ครีมนวดและครีมหมักผมจะมีความแตกต่างกันตรงปริมาณของสารบางชนิด โดยครีมหมักผมจะมีความเข้มข้นและหนืดมากกว่าครีมนวดผม ครีมนวด-ครีมหมักผมสามารถบำรุงเส้นผมได้อย่างไรครีมนวดและครีมหมักผมส่วนใหญ่มีส่วนประกอบคล้ายกัน ได้แก่ สารจำพวกไขมันและน้ำมัน สารให้ความชุ่มชื้น สารประจุบวกและกรดอ่อน ซึ่งมีประโยชน์ต่อเส้นผมเราดังนี้1.สารจำพวกไขมันและน้ำมัน สามารถเพิ่มน้ำมันหล่อเลี้ยงเส้นผมและเคลือบเส้นผมของเราได้ โดยจะทำให้เส้นผมไม่พันกัน เพิ่มความเงางามและให้หวีจัดทรงง่ายขึ้น ซึ่งคนที่มีลักษณะผมแห้งจะสังเกตได้ว่า หากใช้แชมพูสระผมเพียงอย่างเดียว ผมจะพันกันและจัดทรงยาก อย่างไรก็ตามในครีมหมักผมจะใส่สารดังกล่าวในปริมาณสูงกว่าครีมนวดผม จึงไม่ควรใช้ทุกวันเพราะอาจทำให้ผมมันเร็วกว่าปกติ 2.สารให้ความชุ่มชื้น สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่เส้นผม เพื่อให้ผมดูสลวยมีชีวิตชีวา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ผมแห้งเสีย ที่ต้องการให้เส้นผมนุ่มลื่นหรือสุขภาพดีขึ้น 3. สารประจุบวกช่วยลดประจุลบจากการใช้แชมพูสระผม ซึ่งช่วยให้หวีผมง่ายขึ้น ลดการเกิดไฟฟ้าสถิตของเส้นผม 4.กรดอ่อน ช่วยลดความเป็นด่างจากการใช้แชมพูสระผม เพื่อไม่ให้เคราตินในเส้นผมเกิดการพองตัวและเปราะง่าย โดยปรับให้เกิดความสมดุล ทำให้หวีผมง่ายขึ้นและช่วยลดอาการผมแตกปลายได้ แล้วเราควรใช้ครีมนวด-ครีมหมักผมอย่างไรดีแม้ครีมนวดและครีมหมักผมจะมีส่วนประกอบ ซึ่งสามารถบำรุงผมของเราได้ดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่มีความเข้มข้นของสารบางชนิดต่างกัน ทำให้มีวิธีเลือกใช้ที่ต่างกันเล็กน้อย ดังนี้1. ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผมหรือหนังศีรษะของตนเอง โดยหากเราเป็นคนผมมันง่ายควรใช้ครีมนวดผมมากกว่าครีมหมักผม หรือหากเราเป็นคนผมแห้งก็ควรใช้ครีมหมักผมสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง2. ควรใช้หลังกิจกรรมที่สามารถทำร้ายเส้นผม เช่น การว่ายน้ำ เพราะแม้ว่าหมวกว่ายน้ำจะช่วยลดโอกาสที่จะให้เส้นผมสัมผัสกับน้ำและคลอรีนโดยตรง แต่คลอรีนที่อยู่ในสระว่ายน้ำ มีฤทธิ์กัดกร่อนและสามารถจับกับโปรตีนบนผิวหนังได้ดี จึงสามารถดึงความชุ่มชื้นออกจากผิวหรือเส้นผมได้ จึงควรใช้ครีมนวดผมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเส้นผม หรือหากเส้นผมต้องโดนความร้อนบ่อยๆ ก็ควรใช้ครีมหมักผมบำรุงบ้าง3. ควรใช้หลังสระผม เพราะแชมพูจะช่วยล้างสิ่งสกปรกออกก่อน แต่จะทิ้งสารประจุลบและความเป็นด่างไว้ การบำรุงต่อด้วยครีมนวดหรือครีมหมักผมจึงช่วยปรับให้สภาพเป็นกลางเพื่อทำให้ผมจัดทรงง่ายขึ้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมไร้น้ำหนัก จัดทรงยากนั่นเอง4. ควรใช้เฉพาะบริเวณตรงกลางถึงปลายผม เพราะจะไม่ทำให้หนังศีรษะมันและควรชโลมทิ้งไว้ 1-2 นาที จากนั้นควรล้างออกให้สะอาด เพราะหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการตกค้างสามารถทำให้ฝุ่นเกาะที่เส้นผมได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจทำให้รูขุมขนบนหนังศีรษะอุดตัน และนำไปสู่การอักเสบได้ 5. ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนด คือ ชื่อผลิตภัณฑ์/ประเภทสารที่ใช้เป็นส่วนผสม/วิธีใช้/ชื่อและสถานที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า/ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตและปริมาณสุทธิ นอกจากนี้ควรซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ยีสต์และราสูงเกินกำหนด โดยหากเรานำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่อักเสบเป็นสิว แผลและเกิดการติดเชื้อได้ ข้อมูลอ้างอิง: ความรู้พื้นฐานสำหรับเส้นผม อ.ดร.อัญชลี จินตพัฒนากิจ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.medplant.mahidol.ac.th/events/25560515/25560515_04.pdf   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ซื้อ ขาย ครีมออนไลน์..อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วค่อยมาล้อมคอก

ธุรกิจซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น  สินค้าอันดับต้นๆ ที่ขายดิบขายดีจนผู้ขายหลายรายร่ำรวยไปตามๆ กันคือ เครื่องสำอาง จนเป็นที่ติดปากในกลุ่มวัยรุ่นว่า เน็ตไอดอลขายครีม ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ขายครีมทางเน็ตกลุ่มหนึ่ง ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ  ว่า ปัจจุบันนี้จะมีผู้ผลิตครีมบางรายที่ได้รับอนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอางแล้ว  ผู้ผลิตเหล่านี้จะมีสูตรเครื่องสำอางให้เลือกมากมายทั้งสูตรของตนเอง หรือสูตรเดียวกับครีมยี่ห้อดังๆ ในท้องตลาด  และจะเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจขายครีมทางเน็ตมาเลือกครีมสูตรต่างๆ ของตนไปจำหน่ายในนามผลิตภัณฑ์ของตนเอง  โดยจะเดินเรื่องขออนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอางให้  รวมทั้งจะออกแบบภาชนะบรรจุและฉลากให้อย่างสวยงาม  โดยจะใช้ชื่อบริษัทของตนเป็นผู้ผลิตให้ และระบุชื่อผู้สนใจเป็นผู้จัดจำหน่าย  ซึ่งผู้ที่จัดจำหน่ายไม่ต้องลงทุนอะไรมาก แค่เสียค่าสูตรประมาณพันกว่าบาท และค่าสินค้าที่จะสั่งผลิต  เมื่อตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว  ผู้จัดจำหน่ายก็จะมีสินค้าของตนเองไปโฆษณขายได้ใน เฟซบุ๊ค ไลน์ หรืออินสตราแกรม สบายๆ  ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นครีมเหล่านี้  มีขายมากมายหลายยี่ห้อทางเน็ต  ซึ่งยากที่จะระบุได้ว่าครีมยี่ห้อไหนปลอดภัยหรือไม่คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะตัดสินใจซื้อครีมทางเน็ต1. อย่าซื้อเพราะภาชนะบรรจุหรือฉลากที่สวยงาม เพราะสิ่งที่จะเสี่ยงต่อผิวกายเราคือตัวผลิตภัณฑ์ในภาชนะ2. เครื่องสำอางคือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ฯลฯ กับส่วนภายนอกของร่างกายคน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด   ความสวยงาม หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี เครื่องสำอางจะไม่สามารถรักษาโรค หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายได้3. อย่าเชื่อโฆษณาจากภาพนายแบบ นางแบบที่สวยงามดูดี  เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถใช้เทคนิคต่างๆ ทำให้สวยงามเกินจริงได้  เราควรใส่ใจใน “เนื้อหาของโฆษณาเครื่องสำอาง” หากโอ้อวดสรรพคุณจนดูเหมือนเป็นยารักษาโรค หรือโอ้อวดเกินจริง เห็นผลทันใจ  ให้ตั้งสติไว้ก่อนว่า แนวโน้มอาจหลอกลวง4. พยายามตรวจสอบข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์จากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ (http://tumdee.org/alert/)  ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  หากพบผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเดียวกับที่เราจะซื้อมาใช้  แม้คนละยี่ห้อ ก็ควรระวังไว้ก่อน คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะขายครีมทางเน็ต1. อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจจ้างผลิต เพียงเห็นแค่สูตรตำรับและคำโฆษณาของผู้ผลิต ควรไปดูสถานที่ให้เห็นกับตา2. หากผู้ผลิตนำสูตรตำรับต่างๆ มาเสนอชักชวน  ให้ระวังสูตรตำรับที่โฆษณาเกินจริง หรือสูตรที่โฆษณาสรรพคุณไปทางยา เพราะอาจมีสารที่ห้ามใช้ผสมอยู่3. พยายามตรวจสอบข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์จากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ (http://tumdee.org/alert/) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  หากพบผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเดียวกับที่เราจะใช้ แม้คนละยี่ห้อ ก็ควรระวังไว้ก่อน4. ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตด้วย เช่น ชื่อ บัตรประชาชน  และเมื่อจ้างผลิตแล้ว ควรทำสัญญาให้รัดกุม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 เรื่องหลอกนม…ผมทนไม่ได้

ก่อนนั้นเรื่อง “นม” เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครกล้าพูดกล้าคุยกัน แต่ปัจจุบันนี้โลกมันเปลี่ยนไป “นม” จึงเปลี่ยนแปลง คนกล้าพูดถึงเรื่องนมกันมากขึ้น รวมทั้งสินค้าที่ผลิตมาจำหน่าย ก็ถือโอกาสเกาะกระแสนหากินไปด้วย ล่าสุดน้องเภสัชกรแจ้งข้อมูลมา เพื่อขอให้ช่วยปราบสินค้าที่สงสัยจะผิดกฎหมาย หลอกลวงขย่มนมของชาวบ้าน ผลิตภัณฑ์แรกเป็น ครีมนวดนม โฆษณาว่าใช้นวดกระชับทรวงอก สามารถขยายขนาดจาก 32 เป็น 36 รับประกันว่าได้ผลเมื่อใช้เป็นประจำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ จำหน่าย 2 กระปุกในราคาเพียง 150 บาท แถมบอกอีกว่าปกติขายกันในราคา 290 บาทขึ้นไป(สงสัยกระปุกละข้าง) และคงหวังจะหากินให้ครบวงจรนมชาวบ้าน เลยมี ยาอกอึ๋ม จำหน่ายอีกด้วย โดยบอกว่า “เป็นฮอร์โมนอกอึ๋มแผงสีชมพูอ่อน(เป็นฮอร์โมนเพศหญิง 6 มิลลิกรัมต่อเม็ด) เหมาะสำหรับ ผู้หญิงที่หน้าอกเล็ก แบน หรือ ใหญ่แต่หย่อนคล้อย สาววัยทองหรือทำหมันเเล้ว หรือมีบุตรแล้วทำให้หน้าอกเหลว ไม่เต่งตึง กระชับ แม้กระทั่ง สาวประเภทสองที่ยังไม่ทำหน้าอก เพียงกินยาฮอร์โมน อาทิตย์ละ 2-3 เม็ด ก็สามารถทำให้หน้าอก กระชับ เต่งตึง และมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และนอกจากจะทำให้หน้าอกกระชับชูชันขึ้นแล้ว เนื้อนมจะเพิ่มขยายขึ้น ผิวก็ขาวผ่องเนียนขึ้น ยาอกอึ๋มนี้ ราคาแผงละ 150 บาท , 3แผงขึ้นไปแผงละ 140 บาท , 12 แผงขึ้นไป แผงละ 130 บาท”  ส่วนวิธีใช้ก็แนะนำแบบละเอียดยิบ “ครั้งแรกที่ทานเม็ดแรก ให้ทานหลังอาหารทันที เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายรู้จัก ส่วนเม็ดต่อๆ ไป ให้ทานก่อนนอนหรือทานพร้อมยาคุมได้เลย ฯลฯ ...ส่วนเรื่องการอัพไซส์ ก็แล้วแต่คน จะนับเม็ดหรือกะจำนวนแผงให้ไม่ได้ กินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจในขนาดที่ต้องการ หน้าอกจะอัพไซส์ขึ้นไปเรื่อยๆ เอง บางคนทานเเผงเดียวก็อัพไซส์เลยเปลี่ยนคัพเลย บางคนก็แผงที่ 2-3 อยู่ที่ร่างกายตอบสนองช้าหรือไว การทานยาฮอร์โมนมันต้องใช้เวลา ไม่ใช่มันจะตู้มต้ามขึ้นมาทีเดียว เราไม่ได้ทำศัลยกรรม มันจะขึ้นเรื่อยๆ เองตามธรรมชาติ จะให้เเป๊บเดียวใหญ่เลยไม่ได้หรอก มันไม่สามารถ” (อ่านดูแบบนี้มันก็คือการอัดให้รับประทานฮอร์โมนแบบหน้ามืดตามัว ให้เกิดผลข้างเคียงของฮอร์โมนนั่นแหละครับ) ยังไม่หมดนะครับ เพราะผลิตภัณฑ์สุดท้าย คือ ครีมทาหัวนมชมพู (Nipple pink milk lipstick plus vitamin E) ในรูปแบบแท่ง สะดวกสบายในการใช้ ใช้เพื่อให้ผิวชมพู กระจ่างใส บริเวณหัวนม พร้อมมอยส์เจอไรเซอร์ ช่วยบำรุงผิวบริเวณหัวนมให้ชุ่มชื้น นุ่มนวลไม่แห้งแตก ราคาเปิดตัว 50 บาทเท่านั้น ใช้ได้นานเป็นเดือน เท่าที่ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ครีมนวดนมและยาอกอึ๋ม เข้าข่ายโฆษณาเป็นยาแน่นอน ถ้าไม่มีทะเบียนยาก็ผิดกฎหมายแน่ๆ แต่ถ้ามีทะเบียนยา ผมก็เชื่อว่าทาง อย.คงไม่อนุญาตแบบนี้แน่ๆ ส่วนครีมทาหัวนมชมพู หากไม่มีสารเคมีที่ห้ามและไม่มีผลต่อเซลล์เม็ดสี เพียงแค่เอาสีไปทาฉาบหัวนม ก็เป็นเครื่องสำอาง ซึ่งก็ต้องมาจดแจ้งอยู่ดี ใครเจอผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำหน่าย แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายได้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 แปลกจริงหนอ ... ขอเสี่ยงสักหน่อย

พฤติกรรมการบริโภคผิดๆ ยังคงเป็นสิ่งที่มีมาเรื่อยๆ พวกผมเลยต้องหาทางรณณงค์ชี้แจงเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจให้ถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เพราะมิฉะนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่พฤติกรรมผิดๆ เหล่านี้ บางทีมันก็คาดไม่ถึงหากเราไม่ได้เข้าไปคลุกคลีในกลุ่มพวกเขา “ฉันรู้ว่าครีมหน้าขาวอันตราย แต่ฉันขอใช้” ผมเคยเก็บตัวอย่างครีมทาหน้าจากร้านเสริมสวยแห่งหนึ่งไปตรวจ ผลปรากฏว่าครีมทาหน้าขาวที่ร้านเสริมสวยแห่งนี้มีไว้จำหน่ายกลับไม่พบสารอันตราย แต่กระปุกที่เจ้าของร้านใช้เองกลับพบสารห้ามใช้ หลังจากพูดคุยสอบถามว่าไม่กลัวอันตรายหรือ เจ้าของร้านตอบว่า “แหม ก็ใช้แล้วหน้ามันขาวขึ้นจริงๆ แต่ก็กลัวอันตรายนะ ฉันเลยปรับวิธีการใช้เป็น 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะได้ไม่อันตราย” เป็นไงครับ เจอเหตุผลแบบนี้ เล่นเอาอึ้ง “หน้ายังขาว แล้วที่อื่นจะเหลือรึ” เรื่องนี้ทราบจากคุณครู อย.น้อย ที่พวกเราชวนท่านมาเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในโรงเรียน หลังจากคุณครูไปสำรวจพฤติกรรมการใช้ครีมทาหน้าขาวปรากฏว่าไม่พบการใช้ แต่คุณครูแอบสังเกตเห็นว่านักเรียนกลุ่มหนึ่งพกครีมดังกล่าว ซักไปซักมาเลยทราบว่า เด็กเขาไม่ได้เอาไปทาหน้า “หนูไม่ทาหน้าหรอก เพราะมันอันตราย แต่ทารักแร้คงไม่เป็นไรนะคะ มันขาวดี” หนูๆ เขาให้เหตุผล เฮ้อ เด็กหนอเด็ก มันก็อันตรายเหมือนกันล่ะจ้ะ “ลูกกลอนดีๆ ต้องมีคาถา” ชะรอยว่ากระทรวงสาธารณสุขจะรณรงค์การปลอมปนยาสเตียรอยด์ในยาลูกกลอนอย่างได้ผล ปรากฎว่าช่วงหนึ่งพวกผมไปตรวจสอบยาลูกกลอนแผนโบราณ เลยไม่พบสารสเตียรอยด์ แต่คล้อยหลังไม่เท่าไหร่ ดันตรวจเจอยาลูกกลอนสายพันธ์ใหม่มาจำหน่ายอีกแล้ว ยาลูกกลอนรุ่นนี้มีแผ่นทองคำเปลวปิดที่เม็ดยา แถมเอกสารกำกับยาที่แนบมา ก็มีคาถาให้บริกรรมก่อนรับประทานซะอีก เล่นกันแบบนี้เอง มิน่า ถึงได้ขายดีตีตลาด “ตรวจเท่าไหร่ก็ไม่เจอสเตียรอยด์” เจ้ายาลูกกลอนเม็ดนี้ เจ้าหน้าที่ใช้ชุดทดสอบตรวจสเตียรอยด์ตรวจเท่าไหร่ก็ไม่เจอ มาถึงบางอ้อตรงที่ไปตามข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อมารับประทาน เลยทราบว่าเขาแอบซื้อมารับประทานเพราะมันโฆษณาว่าลดไขมันได้ เจ้าหน้าที่เลยสุ่มตรวจยาแผนปัจจุบัน สุดท้ายพบยาลดไขมันชนิดแพงๆ ผสมอยู่ มิน่าไขมันถึงได้ลดเอาๆ “ประกายตาใสกิ๊งๆ” ยุคที่เลนส์ตาโต(บิ๊กอาย)กำลังฮิต ผมเข้าไปนั่งเก็บข้อมูลที่ร้านทำแว่นที่คุ้นเคย สังเกตเห็นเด็กนักเรียนวัยรุ่นมาซื้อน้ำตาเทียมหยอดตากันเยอะมาก สอบถามข้อมูลทราบว่าเด็กเหล่านี้ไม่ได้ใส่คอนแท็คเลนส์ อ้าว!แล้วหนูๆ ซื้อน้ำยาชนิดนี้ไปทำอะไร น้องๆ เขาซื้อไปหยอดตาครับ เขาบอกว่าสมัยนี้เขาฮิตตาที่เป็นประกายใสกิ๊งแวววาวสะดุดตา แต่ที่เล่นเอาผมงงคือ เด็กเขาไปเอาเกลือป่นผสมลงไปด้วย นัยว่ามันจะยิ่งให้ประกายตา โคตะระใสกิ๊งขึ้นกว่าเดิมอีก ไม่รู้มันใสเพราะแสบจนน้ำตาไหลออกมาหรือเปล่า เป็นไงครับ พฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริโภคที่เล่ามานี้ บางทีมันก็ ทั้งแปลก ทั้งเสี่ยงจนเราคาดไม่ถึงเลยนะครับ เอาเป็นว่าใครเจออะไรที่มันแปลกๆ เสี่ยงๆ รีบเตือนกันด้วยนะครับ แล้วอย่าลืมมาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วยนะครับ จะได้รีบหาทางกระจายข่าวเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายไงครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 แพ้ครีม ร้องเรียนได้หรือไม่

“อยากบอกว่าครีมนี้ใช้แล้วหน้าขาวใสขึ้นจริง ปลอดภัยแน่นอน” นี่เป็นตัวอย่างคำโฆษณาที่แสนจะคุ้นหู ตามช่องเคเบิลทีวีและสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามีผู้บริโภคหลายคนที่หลงเชื่อซื้อครีมดังกล่าวมาใช้ แล้วมาค้นพบความจริงภายหลังว่าครีมไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุนีย์ตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อหนึ่ง ที่โฆษณาผ่านทางเคเบิลทีวีมาบำรุงให้ผิวหน้าขาวใส เพราะเห็นว่าคนที่มาแนะนำครีมดังกล่าวมีผิวหน้าดีจริง เธอจึงเชื่อว่าหากใช้บ้างหน้าจะเด้งและดูดีขึ้นเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเธอใช้ครีมดังกล่าวกลับว่า มีอาการแพ้ บวมแดงและแสบคัน เธอจึงติดต่อไปยังผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรับผิดชอบด้วยการคืนเงินค่าครีมให้ แต่ไม่เยียวยาค่ารักษาอื่นๆ ที่เรียกร้องไป ทำให้เธอร้องเรียนมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาแม้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์ฯ ช่วยเหลือ โดยให้ตรวจสอบว่าครีมดังกล่าวผสมสารที่อันตรายต่อใบหน้าหรือไม่ แต่เมื่อศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องส่งหลักฐานมาให้เพิ่มเติมคือ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมรายละเอียดการโฆษณาต่างๆ หลักฐานการซื้อขาย และใบรับรองแพทย์ ที่สามารถยืนยันได้ว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้น เกิดจากการใช้ครีมดังกล่าวจริง ผู้ร้องก็แจ้งว่าเธอส่งครีมดังกล่าวคืนไปให้บริษัทแล้ว นอกจากนี้ไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการแพ้ แต่ซื้อยามาทาเอง ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ทางศูนย์ฯ จึงไม่สามารถช่วยผู้ร้องต่อได้ เนื่องจากขาดหลักฐานที่มากพอ ศูนย์ฯ จึงขอฝากเตือนผู้ที่ซื้อครีมไม่ว่ายี่ห้อใดมาใช้ว่า ควรเก็บหลักฐานสำคัญดังที่กล่าวไว้ข้างต้นไว้ก่อน และหากพบว่าใช้แล้วมีอาการแพ้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยอาการ และขอใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานยืนยัน นอกจากนี้ควรทดสอบการแพ้เบื้องต้นด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าเสียโฉม ด้วยการทาครีมทิ้งไว้ในส่วนที่บอบบางของร่างกายอย่าง ใต้ท้องแขน หรือหลังใบหู ประมาณ 24 ชม. ซึ่งหากพบว่ามีผื่นแดงขึ้นหรือคัน แสดงว่าเราแพ้ และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 สงสัยครีมหมอจุฬา ใช้แล้วเสี่ยง

เรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคใน net ลงข้อความครีมหมอจุฬาในกระปุกใสของจริงจะไม่มีสติ๊กเกอร์ติดด้านบน จะมีเพียงด้านข้างซึ่งรูปดอกไม้จะมีสีอ่อนกว่า และตัวหนังสือความเข้มก็จะอ่อนกว่าค่ะ ช่วยตรวจสอบให้ด้วยค่ะว่าแบบไหนจริงแบบไหนปลอม หรือว่าปลอมทั้งคู่ และช่วยตรวจสอบเกี่ยวกับครีมหมอจุฬาว่าของแท้เป็นยังไง สรรพคุณดีจริงอย่างที่โฆษณาไหม ใช้แล้วมีผลข้างเคียงยังไง มีแหล่งผลิตที่แน่ชัดไหม ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย.หรือเปล่าคะ แล้วถ้ามีครีมของหมอจุฬาที่เป็นของจริง สามารถติดต่อหรือสั่งซื้อได้ยังไงถึงจะไม่โดนหลอกและได้ของจริงผู้บริโภคจากชลบุรีท่านหนึ่ง ได้เขียนจดหมายฉบับนี้มาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หลังจากที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์หน้าขาว ครีมสมุนไพรตราหมอจุฬา จากร้านขายเครื่องสำอางแถวบ้าน ซึ่งเป็นครีมข้นสีครีม ไม่มีกลิ่น มีฉลากแสดงประเภทสินค้า วิธีใช้ และสรรพคุณสินค้า แต่ไม่ได้ระบุเลขทะเบียนอาหารและยา จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เลยมีความสงสัยว่า ครีมที่ซื้อมาจากร้านขายเครื่องสำอางกับครีมที่โฆษณาทางอินเตอร์เน็ตนั้น ตัวไหนคือของจริง ตัวไหนคือของปลอม หรือว่าปลอมกันทั้งคู่ แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ได้รับคำตอบกลับมาในเวลาอันรวดเร็ว จึงขอกระจายข่าวให้กับผู้ที่จะซื้อหรือกำลังใช้ครีมเครื่องสำอางยี่ห้อหมอจุฬาได้รับทราบโดยทั่วกันอย. ชี้แจงถึงเครื่องสำอางที่เราได้รับจากผู้ร้องเรียนและส่งไปให้ อย. ตรวจสอบนี้ พบว่าการแสดงฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด คือ ไม่มีชื่อเครื่องสำอาง ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต ที่ตั้งของผู้ผลิต และเนื้อครีม(ที่ผู้ร้องส่งมาให้ตรวจสอบนั้น)ที่อยู่ในตลับมีปริมาณน้อยมาก จึงไม่สามารถส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือทดสอบโดยชุดทดสอบเบื้องต้นได้อย่างไรก็ดี อย. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เครื่องสำอางดังกล่าวมีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องสำอางที่ อย. เคยประกาศผลการตรวจวิเคราะห์ให้ประชาชนทราบแล้ว คือ ครีมรักษาสิว-ฝ้าหน้าขาวสมุนไพรเกรด A 100% ระบุผลิตโดย ศูนย์วิจัยหมอจุฬา ไม่ระบุที่ตั้งผู้ผลิต วันที่ผลิต เลขที่ผลิต ตรวจพบสารห้ามใช้ปรอทแอมโมเนีย และครีมหน้าขาว(สูตรเข้มข้น) ระบุผลิตโดยศูนย์วิจัยหมอจุฬา ไม่ระบุที่ตั้งผู้ผลิต วันที่ผลิต เลขที่ผลิต ตรวจพบสารห้ามใช้ ปรอทแอมโมเนีย ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ คือ อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ“ผลิตภัณฑ์นี้จึงจัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษสำหรับผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขาย ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”ท้ายสุด อย. ให้ข้อแนะนำว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเครื่องสำอางด้วยความระมัดระวัง จากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน ฉลากภาษาไทยมีข้อความบังคับครบถ้วน คือ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ ส่วนร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อมาจำหน่าย จะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจนดังนั้น เครื่องสำอางไหนๆ หากขาดรายละเอียดที่ อย.ว่ามา ก็ไม่ต้องถามหรอกครับว่า ของไหนปลอม ของไหนจริง เพราะทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องสำอางเสี่ยงภัยทั้งนั้น “หยุดซื้อ หยุดใช้” เป็นดีที่สุดครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 BB Cream หน้าสวยเนียนใสในหลอดเดียว...แล้วเราจะซื้อหลอดไหน?

ก่อนที่สมาชิกทั้งสาวเล็กสาวใหญ่จะน้อยใจเพราะฉลาดซื้อว่างเว้นจากการนำเสนอผลทดสอบผลิตภัณฑ์ความงามมาพักใหญ่ เรารีบเอาใจคุณด้วยผลทดสอบ Beauty Balm หรือ Blemish Balm หรือ บีบีครีม แถมด้วย Color Correcting Cream หรือ ซีซีครีมด้วย แรกเริ่มเดิมที บีบีครีมถูกพัฒนาขึ้นโดยแพทย์ผิวหนังในเยอรมนีสำหรับคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ ต่อมาครีมนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยกระแสในประเทศเกาหลี ที่ทำให้มันเป็นที่รู้จักกันไปทั่วเอเชีย แล้วย้อนกลับไปฮิตในยุโรปและอเมริกาในที่สุด  ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่นิยมเพราะมัน (เคลมว่า) ทำได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่บำรุงผิว ปรับสภาพผิวก่อนแต่งหน้า รองพื้น ปกปิดจุดด่างดำ และป้องกันแดด ฉบับนี้เรานำเสนอบีบีครีมและซีซีครีมจำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ ที่มีขายในประเทศไทยทั้งตามเคานท์เตอร์และที่นิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ท จากทั้งหมด 34 ผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ส่งไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการ Institutes Dr. Schrader ในเยอรมนี คะแนนที่ให้นั้นเน้นคุณสมบัติในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นเป็นหลัก (เพราะสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ) รวมถึงคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด และป้องกันรังสี UVA ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้โดยไม่ทราบชื่อผลิตภัณฑ์ มาดูกันเลยดีกว่า ว่าคุณควรเลือกตัวไหนไว้เติมคอลเลคชั่นเมคอัพ นี่เป็นอีกครั้งที่เราพบว่าราคาแพงอาจไม่รับรองคุณภาพหรือความพึงพอใจเสมอไป และเนื่องจากทีมทดสอบเขาหักคะแนนครีมที่มีส่วนประกอบที่อาจก่ออาการแพ้หรือมีสารรบกวนฮอร์โมนด้วย จึงทำให้ครีมบางตัวได้คะแนนรวมน้อย แม้จะได้คะแนนด้านคุณสมบัติและความพึงพอใจของผู้ใช้มากก็ตาม     เครื่องสำอางก็ “เจ” ได้นะ     ในขณะที่เครื่องสำอางจากต่างประเทศที่จะมาวางตลาดในประเทศจีนจะต้องส่งตัวอย่างให้ทางการจีนทดสอบกับสัตว์เช่น หนู หรือกระต่าย เพื่อรับรองว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในหลายๆประเทศได้ประกาศห้ามการกระทำดังกล่าว (เช่นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อินเดีย และอิสราเอล) อีกหลายประเทศยังที่ไม่มีการบังคับแต่ก็ไม่ได้ห้ามการทดสอบดังกล่าว แต่เรามักเห็นป้าย “ไม่ทดลองกับสัตว์” ที่ดูเหมือนเป็นจุดขายของเครื่องสำอางหลายแบรนด์ ทั้งนี้เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้สามารถทดสอบได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนสัตว์อีกต่อไป (เช่น การคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีผู้บริจาคให้ หรือแม้แต่การใช้อาสาสมัคร เป็นต้น)   ถ้าอยากมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือก “เจ” จริงๆ ให้สังเกตตราสัญลักษณ์จากองค์กรเหล่านี้:  Choose Cruelty Free   The Leaping Bunny และ PETA เป็นต้น หรือไม่ก็มองหาฉลากที่ระบุว่าไม่ทดลองกับสัตว์ "not tested on animals" หรือ "against animal testing" บนกล่องก็ได้เช่นกัน                                  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 แชมพู ครีมอาบน้ำ บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ  ที่ว่าด้วยเรื่องการทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ไว้ก่อน แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % ของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐานอะไรไว้ในพวกสินค้าทั่วไป  เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องพิจารณาฉลากให้ดี และเปรียบเทียบน้ำหนักราคากันเอง  และในหลายครั้งการทำแพ็กเก็จใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำหนักเท่าเดิม หรือทำเผื่อไว้เพื่อลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงสักหน่อย แต่ยังคงขายในราคาเดิม กรณีต้นทุนสินค้ามันเพิ่ม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าถูกหลอก ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ฉบับที่แล้วลงเรื่อง “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ฉบับนี้จึงเป็นคิวของ “ยาสระผม” และ “สบู่เหลว”                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point