ฉบับที่ 133 เจตนาส่อพฤติกรรม เรื่องต้องรู้คนคอนโด

กรณีเจ้าของอาคารชุดไม่ยอมชำระค่าส่วนกลาง แล้วเจอการขัดขวางการใช้ทรัพย์ด้วยวิธีการแปลกๆ พิลึกพิลั่น เช่น ติดตั้งประตูกลอัตโนมัติหากไม่มีบัตรรหัสผ่านก็เข้าไม่ได้ ไม่ให้บัตรจอดรถ  ตัดน้ำตัดไฟ ปิดประกาศทวงหนี้หน้าตึกให้อับอายไปทั้งวงศ์ตระกูลฯลฯ วิธีการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการกระทำละเมิดทั้งสิ้น แม้จะอ้างว่าเป็นระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคล แต่ข้อบังคับเหล่านี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้หลายคดีแล้วว่า เป็นการออกข้อบังคับเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีทางศาล ไม่มีผลใช้บังคับได้ และต้องใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดนั้นด้วย ส่วนจะมากจะน้อยก็แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี อย่างไรก็ตามมีคดีล่าสุดที่ศาลเห็นว่าโจทก์มีส่วนผิดและส่อไปในทางไม่สุจริต  ผลเรื่องค่าเสียหายพลิกล็อคถล่มทลาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553 การที่เจ้าของร่วมรวมทั้งโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้น  เป็นหนี้ที่เกิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 18  ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ  ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาระหว่างกันและเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.วิ.พ. ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การบังคับชำระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษาบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้  และตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ  ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้โดยวิธีอื่นหรือโดยพลการ  ตรงกันข้าม พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังบัญญัติไว้ในมาตรา 41  กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีบุริมสิทธิในหนี้ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ดังกล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายนี้  แสดงว่าการบังคับชำระหนี้ก็ต้องดำเนินการโดยใช้สิทธิทางศาล นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลของตนในอาคารชุด และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วย  ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด มาตรา 13 วรรคหนึ่ง  มิสิทธิใช้สอยทรัพย์ส่วนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมนั้นด้วย ย่อมไม่ชอบที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการขัดขวางการใช้ทรัพย์สินของโจทก์เพื่อเป็นมาตรการบังคับให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์โดยพลการ ส่วนข้อบังคับของจำเลยที่ 1 มีข้อความในทำนองให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิห้ามหรืองดสิทธิการใช้ทรัพย์ส่วนกลางหรือกำหนดมาตรการหรือได้นั้น  เมื่อพิจารณาถึงข้อบังคับในหมดเดียวกันนี้ข้ออื่นๆ ที่มีข้อความกำหนดการใช้ทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมต้องไม่เป็นการใช้หรือกระทำการใด ๆ  อันก่อให้เกิดความเดือดร้อน  รำคาญ รบกวน ละเมิดสิทธิ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของร่วมในอาคารชุด และต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งต้องใช้ไปตามเกณฑ์ระเบียบปฏิบัติระยะเวลาการใช้หรือกฎเกณฑ์อื่นที่กำหนดให้ใช้   ซึ่งล้วนเป็นกรณีที่เป็นการใช้ทรัพย์ส่วนกลางโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบที่กระทบสิทธิเจ้าของร่วมรายอื่น  จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการเพื่อป้องกันการกระทำโดยไม่ชอบนั้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการห้ามหรือขัดขวางการใช้ทรัพย์ส่วนกลางเพื่อบังคับให้เจ้าของร่วมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางแต่อย่างใด   ดังนี้ ในกรณีการจ่ายน้ำประปาไปยังห้องชุดของโจทก์นั้น แม้การจ่ายน้ำประปาจะต้องใช้อุปกรณ์บางส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางด้วยดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิห้ามไม่ให้โจทก์ใช้ประโยชน์ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ผิดนัดข้อตกลงในการซื้อน้ำประปา จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่มีสิทธิงดจ่ายน้ำประปาแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะกระทำการโดยไม่ชอบอันเป็นการละเมิดและผิดสัญญาซื้อน้ำประปาต่อโจทก์  ซึ่งโจทก์น่าจะได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่โจทก์มีส่วนผิดกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและส่อไปในทางไม่สุจริตจึงไม่สมควรกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ หมายเหตุผู้เขียน คดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากการไม่ได้เข้าอยู่ในอาคารชุดเดือนละ 100,000 บาท จนกว่าจำเลยจะส่งมอบบัตรคีย์การ์ด บัตรผ่านติดรถยนต์และจ่ายน้ำประปา แต่ศาลไม่ให้แม้แต่บาทเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 สนามกอล์ฟข้าฯ ใครอย่าแตะ

  ฉบับนี้เป็นเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับผู้บริโภคซึ่งเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งวันดีคืนดี(ที่ถูกน่าจะเป็นวันร้ายคืนร้ายเสียมากกว่า) ทางสนามกอล์ฟก็มีหนังสือถึงผู้บริโภคให้ชำระค่าบริการรายปีเพิ่มขึ้นอีกปีละ 3,000  ผู้บริโภคไม่ยอมชำระ ทางสนามกอล์ฟจึงไม่ให้ใช้บริการสนามกอล์ฟ สงสัยผู้บริโภครายนี้คงเคยอ่านหนังสือฉลาดซื้อ(ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทยในหนังสือประเภทเดียวกัน) เลยทราบดีว่าร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง และการยื่นฟ้องคดีก็น่าจะดีกว่าการร้องทุกข์ มาดูกันว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2552 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันยกเลิกกฎข้อบังคับที่ออกใหม่ทั้งหมดและให้ใช้กฎข้อบังคับฉบับเดิมจนกว่าจะครบกำหนด 30 ปี และให้โจทก์ทั้งแปดใช้บริการสนามกอล์ฟเมืองแก้วได้ต่อไปตามกฎข้อบังคับเดิมจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา 30 ปี กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 96,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องตนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งแปด จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การ ขอให้ยกฟ้อง  จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กฎและข้อบังคับของสนามกอล์ฟเมืองแก้วของจำเลยทั้งสามที่ออกตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544  ไม่มีผลใช้บังคับกับโจทก์ทั้งแปดและให้โจทก์ทั้งแปดมีสิทธิใช้สนามกอล์ฟเมืองแก้วได้ตามกฎและข้อบังคับเดิมจนกว่าครบกำหนดเวลาอายุสมาชิก 30 ปีกับให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งแปด โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการบริหารกิจการสนามกอล์ฟเมืองแก้ว โจทก์ทั้งแปดเป็นสมาชิกสามัญของจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งแปดรับโอนสิทธิการเป็นสมาชิกมาจากสมาชิกของจำเลยที่ 2 สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งแปดกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน  คู่สัญญาต่างมีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน กล่าวคือโจทก์ทั้งแปดจะต้องชำระเงินค่าสมาชิกและเงินประกันค่าบำรุงสนาม เมื่อโจทก์ทั้งแปดชำระเงินดังกล่าวแล้วเกิดสิทธิที่จะใช้สนามกอล์ฟตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 2  ส่วนจำเลยที่ 2 เมื่อได้รับเงินจากโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวก็มีหน้าที่ให้โจทก์ทั้งแปดเข้าสนามกอล์ฟ  ดังนั้น  หากจำเลยที่ 2 จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสำคัญคือการเรียกเก็บค่าบำรุงสนามเป็นรายปีก็จะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สัญญาก่อน  หามีสิทธิกระทำตามลำพังแต่อย่างใดไม่ ที่ใบรับขอโอนสมาชิกมีข้อความว่าโจทก์ทั้งแปดยินยอมที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีภายหน้า ก็หมายความแต่เพียงกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สนามกอล์ฟเท่านั้น  หาได้รวมถึงค่าบำรุงสนามรายเดือนแต่อย่างใด  เพราะโจทก์ทั้งแปดรับโอนสิทธิการเป็นสมาชิกจากสมาชิกเดิมของจำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าตอบแทนต่างหากจากค่าสมาชิกและเงินประกันค่าบำรุงสนามรายเดือนอีกต่างหาก  ส่วนกฎและข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ที่มีหมายเหตุว่าค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมนั้นเป็นข้อความที่เขียนต่อจากหัวข้อค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ไม่เกี่ยวกับการสมัครเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสนามรายเดือนแต่อย่างใด  มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ทั้งแปดซึ่งเป็นสมาชิกแต่เพียงค่าบริการสนามกอล์ฟแก่ผู้ที่สมาชิกพาไปเล่นกอล์ฟเท่านั้น “ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ซื้อคอนโดจากการขายทอดตลาด ต้องรับภาระหนี้เดิมหรือไม่

การซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาด เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการจะมีบ้านหรือห้องชุด อย่างแรกไม่โดนหลอกขายแน่ๆ เพราะมีการรับประกันโดยหน่วยงานของรัฐ ราคาก็แล้วแต่การประมูล แต่ข้อพึงระวังก็เยอะเช่นกัน ทั้งเรื่องสภาพบ้านที่อาจจะประเมินยากว่า เสื่อมสภาพไปแค่ไหน หรือปัญหาการไม่ยอมออกจากบ้านของเจ้าของเดิมที่ยังทำใจไม่ได้ ฉลาดซื้อมีกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกรณีศึกษาของผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด ที่โดนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของเดิมค้างชำระไว้ ปัญหาคือเจ้าของใหม่ต้องจ่ายหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10390/2553  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ ...โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดพิพาทได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี  แต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดิมค้างชำระกับเบี้ยปรับรวมเป็นเงิน 1,264,798.51 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต่อมาตรวัดน้ำให้ห้องชุดพิพาท ไม่มอบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับผ่านประตูเข้าออกอาคารชุดและไม่ออกหนังสือรับรองรายการหนี้ห้องชุดพิพาทให้โจทก์เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการจดทะเบียนและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาท มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองรายการหนี้หรือหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทหรือไม่  เห็นว่า ตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของร่วม(หมายถึงเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด)  ต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูและรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และมาตรา 24 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เมื่อห้องชุดดังกล่าวปลอดจากหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดง  นางสาวชลธร  มีวงษ์อุโฆษ เจ้าพนักงานบังคับคดีเบิกความประกอบประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องขายทอดตลาดไว้ว่า “ ...ผู้ซื้อได้ต้องรับผิดชอบเรื่องภาระหนี้สิน(หากมี)ที่มีต่อนิติบุคคลอาคารชุดด้วย” ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมบังคับคดีที่กำหนดให้ระบุข้อความลักษณะดังกล่าวในกรณีที่ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารชุดเพื่ออนุวัตรตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ดังนั้นเมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ห้องชุดพิพาทได้จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจะปฏิเสธอ้างว่าไม่ทราบเงื่อนไขนี้ไม่ได้ ทั้งนางสาวชลธรยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า ก่อนประกาศขายทอดตลาด จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 30 สิงหาคม  2544 แจ้งบอกหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวนดังกล่าวที่เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดิมค้างชำระอยู่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว  ซึ่งโจทก์สามารถตรวจสอบภาระหนี้สินดังกล่าวได้จากเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนเข้าสู้ราคาได้อยู่แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ในสำนวนบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี  ทั้งเป็นข้อมูลสำคัญที่โจทก์ต้องนำมาประกอบการตัดสินใจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด  ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าไม่ทราบว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทมีภาระหนี้สินจำนวนเท่าใดจึงฟังไม่ขึ้น  เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางพร้อมเบี้ยปรับที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองรายการหนี้หรือการปลอดหนี้ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน หมายเหตุ ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้แม้โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเพราะจำเลยไม่ออกหนังสือปลอดหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงไม่สามารถนำหนังสือปลอดหนี้มาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนมาโดยไม่สุจริตศาลฎีกาจึงรับรองสิทธิการครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ซื้อห้องชุดได้จากการประมูลขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยที่ 1 (นิติบุคคลอาคารชุด) โดยจำเลยที่ 2 (ผู้แทน) ต่อมาตรวัดน้ำ มิเตอร์ไฟ และส่งมอบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์(คีย์การ์ด)ให้โจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถใช้ประโยชน์และครอบครองห้องชุดได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 เอาอาหารจากข้างนอกเข้าไปในโรงภาพยนตร์ได้หรือไม่

  เป็นเรื่องถกเถียงกันมาตลอดว่า เราสามารถเอาอาหาร เครื่องดื่ม ที่ไม่ได้จำหน่ายหน้าโรงภาพยนตร์เข้าไปรับประทานในขณะชมภาพยนตร์ได้หรือไม่ “ได้สิ ก็หน้าโรงขายแพงเหลือเกิน ราคาขูดรีดมาก ซื้อข้างนอกถูกกว่าตั้งแยะ” “ทำไมจะไม่ได้ ก็ขายของราคาเอาเปรียบมาก เราซื้อตั๋วแล้ว ก็น่าจะนำเอาอาหารเข้าไปได้ ของที่เราซื้อก็เหมือนหน้าโรงหนังนั่นแหละ” บลาๆๆ เรื่องนี้ก็เห็นจะต้องแยกเป็นสองประเด็นก่อน คือ 1.เราเอาอาหารจากข้างนอกเข้าไปในโรงภาพยนตร์ได้หรือไม่ 2.ราคาอาหารหน้าโรงหนังแพงเกินไป ประเด็นแรกคือ เราต้องยอมรับก่อนว่า เราเข้าไปซื้อบริการ “ชมภาพยนตร์” ในสถานที่ของเจ้าของกิจการ เท่ากับว่า เรายินยอมรับเงื่อนไขที่ทางโรงกำหนด เช่น ห้ามนำอาหารจากร้านค้าภายนอกที่ไม่ได้จำหน่ายโดยโรงหนังเข้าไปภายในโรง หรือการขอตรวจกระเป๋าเพื่อดูว่าเรานำกล้องเข้าไปแอบถ่ายหรือเปล่า ฯลฯ ถ้าเราไม่ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางโรงกำหนด ก็เท่ากับเราละเมิดสัญญาเขาก็มีสิทธิยกเลิกการชมภาพยนตร์ของเราได้ เพราะเราเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไข แต่ในทางปฏิบัติ หลายโรงก็ยืดหยุ่นให้เรานำอาหารเข้าไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า คงไม่มีโรงไหนกล้าไล่เราออกมาอย่างจริงจัง นอกจากจะเตือนๆ บ้าง สรุปว่า ทางโรงมีสิทธิห้ามไม่ให้เรานำอาหารจากภายนอกเข้าไปได้ ประเด็นที่สอง สินค้าหน้าโรงราคาแพงมาก โดยปราศจากการควบคุมราคานั้น อันนี้เป็นเรื่องน่าคิด เคยมีการทำเรื่องร้องเรียนกระทรวงพาณิชย์มาแล้ว โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องราคาสินค้าก็คือ กรมการค้าภายใน ซึ่งได้อธิบายว่า สินค้าโรงภาพยนตร์ไม่ได้อยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม เพราะถือเป็น “บริการทางเลือก” ซึ่งไม่สามารถใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ไปเอาผิดกรณีจำหน่ายสินค้าในราคาแพงกว่าท้องตลาดได้ บริการทางเลือก หมายความว่า เขาไม่ได้บังคับให้ซื้อ ไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้อ อืม ก็จริงนะ แต่ว่า เมื่อไปรวมกับการห้ามนำอาหารจากข้างนอกเข้าไป ก็เลยกลายเป็นว่า มันเหมือนการ “มัดมือชก” ผู้บริโภคดีๆ นี่เอง(ยังไม่รวมเรื่องราคาตั๋วที่แพงจัดและการโฆษณาบ้าเลือดในโรง) เรื่องนี้สำหรับประเทศนี้ กฎหมายคงไม่ใช่ทางออก ผู้บริโภคต้องรวมตัวกันให้ได้จนมีพลังมากๆ มากพอที่จะต่อรองด้วยการไม่ซื้อสินค้าหน้าโรงหนัง จนกว่าผู้ประกอบการจะสำนึกได้ ซึ่งถ้าทำได้จริง รับรองว่า ราคาจะลดลงมาแน่นอน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ระวังปัญหาแอบใช้บัตรประชาชน…ช่วงน้ำท่วม

  มีโอกาสไปประชุมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลพบุรีเลยได้มีโอกาสฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในจังหวัด ซึ่งเป็นปัญหาเก่าแก่ที่เกิดขึ้นมานานคือ การแอบนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ทำกิจการอย่างอื่นๆ เรื่องมีอยู่ว่าชาวบ้านจำนวนสามสิบกว่าคนได้นำสำเนาบัตรประชาชนไปให้ผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร แต่วันดีคืนดีก็พบว่า สมาชิกในกลุ่มทั้งสามสิบกว่าคนเป็นหนี้กันถ้วนหน้าคนละหลายแสนบาท เรื่องแดงขึ้นเพราะถูกโทรศัพท์ทวงเงินว่าไปกู้เงินกับเขาไว้แล้วทำไมไม่จ่ายคืน แถมถูกแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ ตำรวจพาซื่อนัดผู้เสียหายไปข่มขู่ให้เสร็จว่า เป็นหนี้เขาแล้วก็ต้องจ่าย จะทำบันทึกจ่ายกันยังไงก็ว่ามา เจอเรื่องแบบนี้กับเรา หากไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่มีความรู้คงปวดหัวและวุ่นวายมากพอควร แต่เผอิญสามสิบกว่าคนนี้โชคดี จังหวัดลพบุรีมีศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เลยมีคนนำเรื่องมาเล่าให้ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ฟังก็ได้สืบสาวเรื่องราวจนทำให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านได้นำสำเนาบัตรประชาชนของคนที่ไปขึ้นทะเบียนไปทำสำเนาเพิ่มเติมแล้วปลอมลายเซ็นต์ไปกู้เงิน และน่าจะรับรู้ร่วมกันระหว่างคนแอบไปกู้กับคนให้กู้ โดยอาจจะเคยดำเนินการแบบนี้มาก่อนหรือไม่ ในอดีตเราอาจจะมีปัญหาเรื่องนี้เพราะนำบัตรประชาชนไปขอใช้โทรศัพท์มือถือเรียกว่านอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็เป็นหนี้ หรือบางคนก็กลายเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกันไป กรณีนี้เมื่อศูนย์ฯ เข้าไปให้การช่วยเหลือนอกจากไม่ต้องจ่ายเงินเพราะไม่ได้กู้แล้ว ยังได้แจ้งความดำเนินคดีกับลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านว่า ใช้เอกสารทางราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต และฉ้อโกงประชาชน ช่วงนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและรัฐบาลได้มีมติให้เยียวยาความเสียหาย ซึ่งในคอลัมน์นี้เราคงไม่ถกเถียงเรื่องจำนวนที่จ่ายว่ามากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด แต่ทุกครั้งในการดำเนินการก็ต้องใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐาน อย่าลืมคิดถึงเรื่องนี้ไว้เป็นบทเรียน การใช้สำเนาบัตรประชาชนต้องระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และกรุณาเขียนให้ชัดเจนในการใช้งานและเขียนระบุบนรูปของตนเองไม่ต้องกลัวว่ารูปจะไม่สวยหรือมองไม่เห็นเพราะมิเช่นนั้น อาจจะมีผู้ไม่หวังดีนำสำเนาไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นและอาจจะลำบากและเจ็บตัวภายหลังได้ ให้กำลังใจกับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 อายุความสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ

  ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องอายุความตามสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีผู้บริโภคกู้เงินกันจำนวนมากอายุความคือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดบังคับไว้ให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลภายในกำหนดเวลา  ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่เจ้าของสิทธิเรียกร้อง(เจ้าหนี้)นั้นได้  ซึ่งเรียกว่า “ สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ” หรือ “ หนี้ขาดอายุความ “ ทั้งนี้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 กำหนดไว้เมื่อเจ้าหนี้ปล่อยปละละเลยไม่บังคับสิทธิเรียกร้องของตนที่มีต่อลูกหนี้ จนกระทั่งเลยกำหนดอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว  เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะนำคดีของตนขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้  เพียงแต่ว่าเจ้าหนี้ฟ้องแล้ว อาจถูกศาลพิพากษายกฟ้องได้ถ้าลูกหนี้ได้ยกเหตุหนี้ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธการชำระหนี้  แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้  ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจเอาเหตุหนี้ขาดอายุความนี้มาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 192/29 ได้กำหนดห้ามไว้มาตรา 193/12 บัญญัติว่า “ อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป  ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น "มาดูกรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2552 ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยินยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม  และตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนและเงินพึงได้อื่นใดที่ผู้กู้พึงได้จากนายจ้างเป็นรายเดือนให้ผู้กู้ โดยวิธีนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่เปิดไว้ ณ สำนักงานธนาคารผู้ให้กู้เป็นประจำทุกเดือนตลอดไป  จากข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้กับโจทก์ตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏในลักษณะนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป  ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม  2534 หลังจากนั้นผู้กู้หรือหน่วยงานของผู้กู้ ก็มิได้นำเงินมาชำระหนี้โจทก์อีกเลย  จึงถือเป็นการประพฤติผิดสัญญา และเมื่อตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดคืนได้ทันที ถือได้ว่าระยะเวลา  ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม  2534 เป็นต้นไป หาใช่นับแต่วันครบกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ 26  มกราคม  2547 ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังที่โจทก์ฎีกาไม่  โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม2547 จึงเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 นิติบุคคลอาคารชุดห้ามเราเข้าห้องของเราได้หรือไม่

ในฉบับนี้มีเรื่องราวมาฝากผู้บริโภคซึ่งเป็นคนคอนโดฯ รับรองเป็นเรื่องโดนใจผู้บริโภคแน่นอน ส่วนจะพิลึกอย่างไรก็มาติดตามกันดู คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553 ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ ให้ความหมายของคำว่า “ ทรัพย์ส่วนบุคคล” ว่า ห้องชุดและหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย และให้ความหมายของคำว่า “ ทรัพย์ส่วนกลาง “ ว่า ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิห้องชุดในอาคารชุดพิพาท ซึ่งถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล  โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย  จำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น  กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้  และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336   แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทและออกระเบียบข้อบังคับในอันที่จะจัดการและดำเนินการเพื่อความปลอดภัยดูแลกิจการต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของอาคารชุดก็ตาม  แต่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 33 วรรคสอง  บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า “ นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ทั้งนี้  ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้   “ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเพียงจัดการ  ดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น  หามีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วมไม่  แม้จะได้ความว่าโจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1  แต่จำเลยที่ 1  ก็ชอบที่ไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก  ห้ามออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมายไม่การที่จำเลยที่ 1 ติดตั้งประตูนิรภัยบริเวณหน้าลิฟต์และบันไดของอาคารชุด  โดยกำหนดระเบียบว่าจะส่งมอบบัตรผ่านประตูให้แก่เจ้าของร่วมที่ไม่ติดค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเท่านั้น  การออกระเบียบข้อบังคับเช่นนี้ทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วม ในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล  กรณีนี้ถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์  จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในผลแห่งละเมิดที่ตนทำขึ้นก่อนหน้านี้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2550 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน โดยคดีดังกล่าวเป็นเรื่องผู้บริโภคค้างค่าส่วนกลางนิติบุคคลอาคารชุด จึงออกระเบียบห้ามไม่ให้ออกสติ๊กเกอร์จอดรถให้พวกค้างชำระค่าส่วนกลางและไม่ให้เอารถมาจอดที่ที่จอดรถ  ก็เลยถูกฟ้องและแพ้คดีไปจำไว้นะครับ ห้องชุดของเราก็เสมือนบ้านของเราเป็นทรัพย์สินที่เรามีสิทธิเต็ม นิติบุคคลมีหน้าที่แค่ดูแลทรัพย์ส่วนกลางจะมาห้ามเราเข้าบ้านเราได้อย่างไร ถึงบอกไงครับ นิติบุคคลนี้ทำพิลึกจริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 ซื้อบ้านที่สาธารณูปโภคยังไม่เสร็จ ไม่ยอมรับโอนได้หรือไม่

  ฉบับนี้เป็นเรื่องผู้บริโภคที่ไปซื้อบ้านจัดสรรในโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งสัญญาว่าจะมีสาธารณูปโภคที่โครงการจัดให้ตามแผ่นพับ ซึ่งพิมพ์โฆษณาว่า จะมีคลับเฮ้าส์ ทะเลสาบ ลู่วิ่ง และสวนหย่อม ผู้บริโภคชำระค่างวดไป 20 งวดแล้ว พอบ้านเสร็จแต่สาธารณูปโภคไม่เสร็จ โครงการจะให้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินไปก่อน โดยชำระค่าส่วนกลางไปด้วย ผู้บริโภคไม่ยอมรับโอนและบอกเลิกสัญญา ให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงิน แต่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ยอมคืนเงินอ้างว่า ผู้บริโภคไม่ยอมไปรับโอนบ้านและที่ดินเอง จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน ผู้บริโภคจึงฟ้องศาลเรียกเงินคืน เรามาดูกันว่าศาลจะว่าอย่างไรคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2552 สาธารณูปโภคที่โครงการจัดให้ตามแผ่นพับที่พิมพ์โฆษณาว่า มีคลับเฮ้าส์ ทะเลสาบ ลู่วิ่ง และสวนหย่อมเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะมีข้อตกลงเฉพาะเกี่ยวกับแบบแปลนสิ่งปลูกสร้าง กำหนดเวลาการก่อสร้าง กำหนดเวลาการตรวจรับอาคารสิ่งปลูกสร้างเฉพาะตัวบ้านตามที่โจทก์จองซื้อก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 16 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางจำนวน 30,000 บาท ซึ่งเมื่อดูจากแผ่นพับโฆษณาแล้ว ค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่กำหนดไว้นั้นน่าจะหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสวน ลู่วิ่งรอบทะเลสาบและทะเลสาบ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ร่วมกัน   แต่ขณะที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยสร้างบ้านเสร็จแต่พื้นที่รอบบ้านยังอยู่ในสภาพรกร้างว่างเปล่า ยังมิได้ดำเนินการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสาระสำคัญในการเอื้อต่อการเข้าอยู่อาศัยของผู้ซื้อบ้าน ซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยยังมิได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคอันเป็นส่วนสาระสำคัญของโครงการตามที่ได้โฆษณาในแผ่นพับ   ในขณะโจทก์เข้าทำสัญญาจองซื้อบ้าน โจทก์จึงยังไม่จำต้องรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์  หมายเหตุผู้เขียน : คดีนี้ฟ้องก่อน พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ และถึงแม้จะฟ้องคดีทำนองนี้ในปัจจุบันนี้ผลของคดีก็คงไม่เปลี่ยนแปลง แต่เหตุผลในการวินิจฉัยของศาลอาจอ้างถึงกฎหมายฉบับดังกล่าวเพราะ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 10 บัญญัติว่า   “ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของ บริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 รถหายในคาร์ฟูร์ (ตอนจบ)

  มาว่ากันต่อเลยนะครับ... ...จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์  สาขาบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  ได้จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าโดยผู้ที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจะต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เสียก่อน  และเมื่อจะนำรถยนต์ออกจากบริเวณลานจอดรถก็จะต้องมอบคืนบัตรจอดรถให้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ทางออกเสียก่อนจึงจะนำรถยนต์ผ่านออกไปได้  หากไม่มีบัตรจอดรถพนักงานรักษาความปลอดภัยจะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ออกไปได้  รายละเอียดปรากฏตามข้อความด้านหลังบัตรจอดรถ แม้จะปรากฏข้อความที่ด้านหลังบัตรจอดรถข้อ 2 ว่า บัตรนี้เป็นบัตรผ่านสำหรับนำรถเข้าจอดบริเวณห้างคาร์ฟูร์เท่านั้น  บริษัทไม่รับผิดชอบกรณีสูญหายหรือเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีการเก็บค่าบริการจอดรถก็ตาม  แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว  ย่อมทำให้ผู้ที่มาใช้บริการจอดรถหรือลูกค้าของห้างคาร์ฟูร์โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่า  บริเวณลานจอดรถดังกล่าว  จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างคาร์ฟูร์จัดให้บริการรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ของลูกค้าที่จะนำเข้ามาจอดขณะที่เข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 และพนักงานรักษาความปลอดภัยอื่นเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยทั้งขณะนำรถยนต์เข้าไปจอดและขณะนำรถยนต์ออกจากบริเวณลานจอดรถซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถยนต์และไม่มีบัตรจอดรถจะลักลอบนำรถยนต์ออกไปไม่ได้ เพราะจะมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบก่อน  การกระทำที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาดังกล่าวย่อมเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งสองต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด  โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่โดยตรงที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากบริเวณลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมด้วยการตรวจบัตรตรงช่องทางออก   ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมีการตรวจตราอย่างเคร่งครัดและป้องกันอย่างดีมิให้ผู้ที่ไม่มีบัตรขับรถผ่านออกไปได้โดยง่ายก็ยากที่รถยนต์ของนายสรศักดิ์จะถูกคนร้ายลักไปได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่คนร้ายขับรถยนต์ของนายสรศักดิ์ผ่านช่องทางออกนั้น  คนร้ายได้ขับผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่ช่องทางออกโดยไม่ได้คืนบัตรจอดรถให้  จำเลยที่ 1 ได้เคาะรถยนต์เพื่อให้คืนบัตร  แต่คนขับรถนิ่งเฉยแล้วขับรถยนต์ออกไป   จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนรถไว้คือ 7978 หรือ 7879 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่ได้แจ้งทางวิทยุสื่อสารให้ศูนย์รักษาความปลอดภัยของห้างคาร์ฟูร์ทราบโดยอ้างว่าวิทยุสื่อสารของจำเลยที่ 1 แบตเตอรี่หมด   แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังป้องกันความปลอดภัยให้แก่รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอย่างเต็มที่ อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนายสรศักดิ์ถูกคนร้ายลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนายสรศักดิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2  ดังนั้น  จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในผลแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 425  โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนในการที่รถยนต์สูญหายครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน 430,000 บาท ให้แก่นายสรศักดิ์เรียบร้อยแล้ว  จึงรับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้  จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ตามฟ้อง  ที่ศาลล่างพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย  ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ต่อไป”  พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 430,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 ธันวาคม  2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องมิให้เกินกว่า 2,678 บาท ตามที่โจทก์ขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ   หมายเหตุผู้เขียน  คดีมันพลิกครับท่าน  และปัจจุบันนี้ตามห้างต่างๆ ก็เลิกแจกบัตรก็เพราะเหตุนี้  และก็ยังมีรถหายอยู่เรื่อยๆ หายแบบว่าไม่มีบัตร   ตอนนี้มีคดีฟ้องห้างดอกบัว คดียังอยู่ศาลชั้นต้น  คงต้องรอฟังศาลฎีกาต่อไปว่าจะออกอย่างไรแล้วจะนำมาแจ้งให้ทราบ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 รถหายในคาร์ฟูร์

  ฉบับนี้เป็นเรื่องของผู้บริโภคที่ไปซื้อของในห้างคาร์ฟูร์ พอซื้อเสร็จออกมาพบว่ารถหาย โชคดีหน่อยที่ผู้บริโภครายนี้ได้ทำประกันภัยไว้ บริษัทประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้บริโภคแล้ว ช่วงสิทธิมาฟ้องตั้งแต่พนักงานรักษาความปลอดภัยจนกระทั่งเจ้าของห้าง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ก็ไม่ย่อท้อสู้ขาดใจยื่นฎีกา ซึ่งผู้เขียนจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับล่าสุดนี้ จัดเต็มให้ เพราะมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2543 คดีระหว่าง บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด โจทก์ กับ นายธนพล วอนวงศ์ กับพวก จำเลย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์หากไม่สามารถส่งมอบคืนได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 430,000 บาทแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2542 ถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเงิน 2,687 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 432,678 บาท กับขอให้ร่วมกันชำระดอกเบี้ยอัตราเดียวกันนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระราคาเสร็จแก่โจทก์  จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองให้เป็นพับ  โจทก์อุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับ  โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติว่า จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ มีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542 เวลา 19 นาฬิกาเศษ นายสรศักดิ์ จันทร์แสงวัฒนา ขับรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน บจ 7978 นนทบุรี ไปจอดที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ สาขาบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 โดยรับบัตรจอดรถแล้วนายสรศักดิ์ขึ้นไปซื้อของในห้างเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงเศษ ต่อมามีคนร้ายลักรถยนต์ของนายสรศักดิ์ขับรถหลบหนีผ่านจุดทางออกของลานจอดรถที่จำเลยที่ 1ประจำอยู่โดยไม่มีบัตรจอดรถคืนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดคืนรถยนต์หมายเลขทะเบียน บจ 7978 นนทบุรี หรือชดใช้ราคาแทนเป็นเงิน 430,000 บาท แก่นายสรศักดิ์หรือไม่ เพียงใด และโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจากนายสรศักดิ์มาฟ้องลาเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองต้องตรวจตรารถยนต์เข้าออกว่าจะต้องคืนบัตรจอดรถเมื่อมีคนขับรถยนต์ออกไปจากลานจอดรถและบัตรนั้นต้องมีหมายเลขทะเบียนตรงกับหมายเลขทะเบียนที่พนักงานรักษาความปลอดภัยเขียนไว้ในบัตรจอดรถขณะที่ขับรถเข้ามาจอด หากไม่มีบัตรจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะไม่อนุญาตให้ลูกค้านำรถยนต์ออกไปได้ จนกว่าจะแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถ  เห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบฟังได้....ว่า คดีนี้ไม่อยากตัดทอน เพราะเป็นที่มาที่ห้างในปัจจุบันไม่มีบัตรเข้าออกแบบนี้อีก ไปตามต่อกันฉบับหน้านะครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยได้หรือไม่

  ฉบับนี้ผู้เขียนก็มีเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคมาฝากอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการกู้ยืมเงินจากธนาคารซิตี้แบงค์   แล้วธนาคารซิตี้แบงค์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้นอกเหนือจากการคิดดอกเบี้ยตามปกติอีก(ไม่ทราบว่าเป็นธรรมเนียมของประเทศไหนกัน)  และยังเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าอีกครั้งละ 500 บาทอีก(โหดดี ฮิ)  ดูซิว่าศาลฎีกาจะว่าอย่างไร   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553 คดีระหว่าง ธนาคารซิตี้แบงค์ โจทก์ กับ นายสมชาย เครือองอาจนุกุล จำเลย   คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 134,688.13 บาท  พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี  จากต้นเงิน 77,058 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง  จำเลยขาดนัดพิจารณา  ศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดคดีไปฝ่ายเดียว   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 132,188.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี    77,058 บาท  นับถัดจากวันฟ้อง(ฟ้องวันที่ 10 ตุลาคม 2548)เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 1,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก   จำเลยอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...... การที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์  การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้กู้ยืมเงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตอบแทนจากผู้กู้ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง  การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด  ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้  ดังนั้น  การที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินกู้หรือ 1,5000 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย  จึงเป็นการไม่ชอบ  นอกจากนี้ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้า  ดังนั้น  การที่โจทก์เรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าครั้งละ 500 บาท จึงไม่ชอบเช่นกัน  แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงิน 99,250 บาท โดยให้นำเงินที่จำเลยชำระมาหักชำระหนี้ ณ วันที่มีการชำระในแต่ละครั้ง โดยให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.5 ต่อเดือนในระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์ หลังจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์  แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยหลังฟ้องต้องไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น  ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ทำอะไร?

    ฉบับนี้มีคดีที่น่าสนใจขอนำเสนอ เป็นเรื่องของ ฅนคอนโดฯ เมื่อห้องถูกงัด ของหาย นิติบุคคลอาคารชุดต้องรับผิดชอบหรือไม่   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553 นางสาวกนกวรรณ  คุณวัตรศิริ โจทก์ กับ นิติบุคคลอาคารชุด คอมมอนเวลธ์ปิ่นเกล้า กับพวก จำเลย   ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ .....พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า  โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 159/290 ตั้งอยู่บนชั้น 13 อาคารชุดคอมมอนเวลธ์  ปิ่นเกล้า  แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร  โดยโจทก์ได้ชำระเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นรายปี ปีละ 6,120 บาท จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลอาคารชุดคอมมอลเวลธ์ ปิ่นเกล้า และได้ว่าจ้างพนักงานดูแลความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยภายในอาคารชุดดังกล่าว จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทวันที่ 2 มิถุนายน 2542 เวลาประมาณ 12 นาฬิกา  มีคนร้ายงัดกุญแจประตูห้องชุดพิพาทเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์หลายรายการรวมเป็นค่าเสียหาย 1,542,970.25 บาท ตามสำเนารายงานจำกัด และทำสัญญารับประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามตารางกรมธรรม์ เมื่อประจำวันเกี่ยวกับคดี  ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่าจำเลยที่ 1 ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้คนร้ายลักทรัพย์นั้นไปหรือไม่ เห็นว่า  ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติว่า “ ทรัพย์ส่วนบุคคล” หมายความว่าห้องชุดและหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย  วรรคสามบัญญัติว่า “ห้องชุด” หมายความว่า ส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล  และวรรคสี่ บัญญัติว่า “ ทรัพย์ส่วนกลาง” หมายความว่า ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม  ส่วนการจัดการทรัพย์ส่วนกลางต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 17,33,36 และ 37  กล่าวคือต้องมีนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและตามข้อบังคับโดยมีผู้จัดการหรือคณะกรรมการเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง  จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าวนิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลแต่ประการใด  ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดทุกชั้นโดยใกล้ชิด จึงเป็นเหตุให้คนร้ายเข้าไปในห้องชุดลักทรัพย์ของโจทก์ไปนั้น  ในกรณีเช่นนี้ตามกฎหมายลักษณะละเมิดหามีบทมาตราใดบัญญัติไว้ว่าเป็นละเมิดไม่  เพราะการละเมิดนั้นเป็นประทุษกรรมกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายหรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ  การละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำหาเป็นละเมิดไม่   ดังนี้  การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิด  จึงเป็นเหตุให้คนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์นั้น จะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้  จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  420 กรณีนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาอื่นของโจทก์อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น   พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ   หมายเหตุผู้เขียน ต่อไปนี้ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดควรต้องระมัดระวังห้องของตนเองให้ดี ทางที่ดีควรทำประกันโจรภัยไว้ด้วย แถมท้ายอีกนิด มีแฟนคลับถามมาว่า อายุความฟ้องเรียกเงินเงินค่าส่วนกลางนั้นมีอายุความเท่าใด  คำตอบ เงินค่าส่วนกลางนั้นถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/33(4) ( ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2551)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 118 ค้ำประกันเท่าไร เทวดาน่าจะรู้

ค้ำประกันเท่าไร  เทวดาน่าจะรู้ สุภาษิตคำพังเพยโบราณกล่าวไว้ว่า “ อยากเป็นลูกหนี้ให้เป็นนายหน้า  อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน “ นั้น  น่าจะมีมูลเป็นความจริง มิฉะนั้นคงจะไม่มีคำพังเพยเช่นนี้  สัญญาค้ำประกัน นั้นคืออะไร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๖๘๐ วรรคแรก บัญญัติว่า “ อันว่าค้ำประกันนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จากบทนิยามดังกล่าว ลักษณะสำคัญของสัญญาค้ำประกันมี ๓ ประการคือ  ๑.     ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก กฎหมายใช้คำว่า “ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน “ ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สาม คือไม่ใช่เจ้าหนี้และลูกหนี้ อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้  ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องเป็นการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น  ผู้ค้ำประกันหนี้รายหนึ่งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ สัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยตัวบุคคล ซึ่งมีผลให้เจ้าหนี้มีบุคคลสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้โดยบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วๆไปของผู้ค้ำประกัน   ๒.    ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จะมีการค้ำประกันได้จะต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้นั้นจะเกิดจากสัญญาหรือละเมิดก็ได้ หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เรียกว่าหนี้ประธาน เมื่อมีหนี้ประธานแล้วจึงมีสัญญาระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้  หนี้ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้เป็นหนี้อุปกรณ์  ถ้าไม่มีหนี้ประธานคือไม่มีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้  แม้มีการทำสัญญาค้ำประกันไว้ ผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิด  ๓.    ต้องเป็นเรื่องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น การที่จะเป็นการค้ำประกันจะต้องเป็นเรื่องบุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คือต้องทำสัญญาต่อเจ้าหนี้  ถ้าไปทำสัญญากับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้สัญญานั้นไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน   นอกจากนี้สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๐ วรรคสอง บัญญัติว่า “ อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ “   และถ้าผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสำเร็จรูปแล้วไม่ได้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินในช่องจำนวนเงินที่จะค้ำประกันลงไป จะเกิดผลอย่างไร  ดูได้จากกรณีตัวอย่างดังนี้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๙/๒๕๔๕ วินิจฉัยว่า สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ ๑  แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อการกรอกรายละเอียดต่างๆ  โดยไม่ได้ระบุจำนวนเงิน ดังนั้นข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด จึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด  จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์  สรุป ศาลก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจำเลยที่ ๒ จะค้ำประกันจำเลยที่ ๑ จำนวนเท่าไรกันแน่จึงยกฟ้องจำเลยที่ ๒ และคิดต่อไปว่าหากมีผู้ค้ำประกันคนไหนไปบอกเจ้าหนี้ว่าถ้าขีดเส้นในช่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันนั้นหมายความว่า ค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนเงิน คงสนุกดีพิลึก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 รักษาโรคทางโทรศัพท์

ฉบับนี้มีเรื่องเกี่ยวกับคดีเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์มาฝากท่านสมาชิกฉลาดซื้อ ไม่อยากโม้มากเดี๋ยว บก.หาว่าอู้บทความมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ มาดูเรื่องจริงกันเลยดีกว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552 จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง  แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง  แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม  ก็หาใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่  ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด  ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ   เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการ  หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง  โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน  อาการแพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำละเมิด  จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์  โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย  ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงาม  ถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน  ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพด้วยหรือไม่  หมายเหตุผู้เขียน 1.คดีนี้ฟ้องคดีก่อนที่ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับ ปัจจุบันคดีพิพาทที่คนไข้ฟ้องแพทย์หรือโรงพยาบาลโดยมีสาเหตุเกิดจากการรักษาพยาบาลแล้วมีความเสียหายเกิดขึ้นเป็นคดีผู้บริโภคตามคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่ 58/2551 2.เมื่อเป็นคดีผู้บริโภคแล้วภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับฝ่ายแพทย์หรือโรงพยาบาลที่จะต้องพิสูจน์ว่าตนเองรักษาตามมาตรฐานการรักษาที่ถูกต้อง หากพิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องรับผิด ทั้งนี้ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 บัญญัติว่า ประเด็นข้อพิพาทข้อใดจำเป็นต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ให้ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้น 3.คดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 3 กระทำละเมิด รักษาอาการเจ็บป่วยของโจทก์ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสามต่อสู้ว่า โจทก์ยินยอมให้ยอมรับผลการรักษาแล้ว และจำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อ ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสามในเรื่องความยินยอมของโจทก์ในการรักษาเป็นการอ้างข้อต่อสู้ตามหลัก “ ความยินยอมไม่เป็นละเมิด “ เห็นว่าคดีนี้แม้โจทก์จะยินยอมให้จำเลยที่ 3 รักษาก็ต้องถือว่า เป็นการยินยอมให้รักษาตามมาตรฐานการรักษาที่ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่ามีการรักษาบกพร่องผิดจากมาตรฐาน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ 4.คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินคือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 400,000 บาท ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็น 800,000 บาท และค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ 800,000 บาท รวมเป็นค่าเสียทั้งสิ้น 2,000,000 บาท ศาลฎีกาพิพากษายืน  จำเลยที่ 1 คือกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จ่าย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ซื้อคอนโดฯ ได้ห้องแต่สระว่ายน้ำไม่เสร็จ ไม่รับโอนได้ครับ

สำหรับฉบับนี้ผู้เขียนนำเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้บริโภคมาเป็นอุทาหรณ์ ในการซื้อคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดนั้น ผู้ประกอบธุรกิจมักจะโฆษณารายละเอียดของโครงการในแผ่นพับโฆษณาหรือโบชัวร์ระบุสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ เช่น สนามเด็กเล่น ร้านอาหาร คลินิก สวนหย่อมพักผ่อน สระว่ายน้ำ ช้อปปิ้งพลาซ่า ภัตตาคาร เนอสเซอรี่ ฯลฯ ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่สร้างหรือหากจะสร้างก็ไม่อยู่ในกรอบเวลาตามสัญญา นึกอยากจะสร้างเมื่อไรก็สุดแท้แต่อำเภอใจของผู้ประกอบธุรกิจ ครั้นผู้ประกอบธุรกิจสร้างห้องชุดเสร็จแจ้งให้ผู้ซื้อไปรับโอนห้อง แต่สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เสร็จ ผู้ซื้อจะไม่ไปรับโอนก็กลัวผิดสัญญาถูกริบเงิน สร้างความชอกช้ำระกำใจให้อย่างมาก ขนาดอาจถึงกับต้องไปกินน้ำเก๊กฮวยแก้เก๊กซิม ความจริงแล้วไม่ต้องกลัวหากผู้ประกอบธุรกิจ ยังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ทำหนังสือไปแจ้งเป็นหลักฐานว่าให้สร้างให้แล้วเสร็จก่อน แล้วจะไปรับโอนอาคารชุดได้ แต่เดิมนั้นศาลฎีกาตีความในเรื่องแผ่นพับโฆษณาว่า เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาแต่ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพรรณนา ต่อมาหลักการนี้ได้มาบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 ว่า “ ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของ บริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ จากกฎหมายมาตรานี้ ผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม “คดีตามอุทาหรณ์นี้แม้จะตัดสินก่อนใช้ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ แต่ผลก็เหมือนกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2552 จำเลยมิได้การก่อสร้างให้เป็นไปภายในระยะเวลาที่ประกาศโฆษณาไว้และเมื่อผู้บริโภคทั้งสองไม่ชำระค่างวดต่อแล้ว จำเลยได้มีหนังสือให้ผู้บริโภคทั้งสองไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ถือข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาในการชำระค่างวดตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงถือมิได้ว่าผู้บริโภคทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อพิเคราะห์แผ่นพับโฆษณาและรายละเอียดโครงการซึ่งจำเลยได้ระบุสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการโดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2539 แล้ว ทำให้มีเหตุผลเชื่อได้ว่า ผู้ที่เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการของจำเลยรวมทั้งผู้บริโภคทั้งสองในคดีนี้ก็โดยเชื่อว่าจำเลยจะต้องก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามที่ระบุไว้อันถือได้ว่าเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา โดยผู้บริโภคทั้งสองถือเอาเงื่อนไขตามโฆษณาเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา การที่จำเลยมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดสิทธิผู้บริโภคทั้งสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้คืนเงินที่ผู้บริโภคทั้งสองชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย หมายเหตุผู้เขียน คดีนี้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคทั้งสอง จำเลยคือ บริษัทรัชดาคอนคอร์ด จำกัด ชื่อโครงการคือ “ โครงการรัตนโกสินทร์ไอส์แลนด์” จำเลยต่อสู้คดีว่า คำว่า “ ห้องชุด” ตามคำนิยามในสัญญาข้อ 1 มิได้หมายความรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่เห็นด้วย สมน้ำหน้าจริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 รู้กฎหมายกับทนายอาสา รถยึดไป ข้าฯไม่ว่า แต่ซีดี ข้าฯ ใครอย่าแตะ

รถยึดไป ข้าฯไม่ว่า แต่ซีดี ข้าฯ ใครอย่าแตะ เวลาที่ผู้บริโภคถอยรถยนต์ใหม่สภาพป้ายแดงออกมา ก็มักจะชอบนำไปตกแต่งประดับยนต์ เปลี่ยนล้อแม็กซ์ เปลี่ยนวิทยุเครื่องเล่นเทป เครื่องเล่น ซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียง ถ้าซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ หากเอาเงินไปตกแต่งรถยนต์จนค้างค่างวดแล้วถูกยึดรถยนต์คันนั้นไป ปัญหามีอยู่ว่าเครื่องเสียงที่ติดรถไปนั้นจะเป็นของใคร คำตอบอยู่ที่ว่า เครื่องเสียงนั้นเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 บัญญัติว่า “ อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแลใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น” มาดูตัวอย่างของจริงกันเลยดีกว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2545 จำเลยนำวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง หาใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแลใช้สอยหรือรักษาอันเป็นทรัพย์ประธานไม่ ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตาม ป.พ.พ. 147 วรรคท้าย ส่วนข้อสัญญาที่กำหนดว่า “ หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติมหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที “ นั้น ก็เป็นแบบฟอร์มที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียว และเป็นข้อความที่มาจากปัญหาที่มักเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อรายอื่นที่ผู้เช่าซื้อมักนำสิ่งของเข้าดัดแปลง ต่อเติมหรือติดกับทรัพย์ที่เช่าซื้อ และเมื่อต้องการเอาสิ่งของดังกล่าวคืนก็จะทำการรื้อไปอันทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อของโจทก์เสียหาย แต่กรณีที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหากจะต้องรื้อออกไปจึงไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาดังกล่าว โจทก์หาอาจจะยกข้อสัญญาที่ปรากฏว่าเป็นเหตุไม่คืนวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่จำเลยหาได้ไม่ คำโบราณว่า ครกนั้นคู่กับสาก แต่เครื่องเสียงไม่จำเป็นต้องคู่กับรถยนต์เสมอไป ------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 หลักฐานนะ มีมั้ย

ฉบับนี้มีคดีผู้บริโภคตัวอย่างที่น่าสนใจใหม่ล่าสุดมาให้สมาชิกได้อ่านดู เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคซื้อบ้าน แล้วบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย แจ้งให้แก้ไขหลายครั้ง บริษัทฯ เลยบอกเลิกสัญญาริบเงิน แบบว่ารำคาญนั่นแหละ ดูกันซิว่าจะริบเงินได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2552 คดีระหว่าง นายวีรวุฒิ พงศ์สุรพัฒน์ โจทก์ กับ บริษัทควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) จำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง  โจทก์คือนายวีรวุฒิยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแก่โจทก์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “....คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เห็นว่า ตามบันทึกข้อตกลงจำเลยจะต้องปลูกบ้านตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2540 นั่นก็หมายความว่าบ้านจะต้องเสร็จทุกอย่างรวมทั้งรายละเอียดพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ แต่กลับปรากฏว่าภายในเดือนกันยายน 2540 ดังกล่าว บ้านหาได้แล้วเสร็จไม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เพียงแต่ขอระงับการผ่อนชำระค่างวดไว้ก่อน แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้เคร่งครัดเรื่องระยะเวลา แต่ถือเอาความสำเร็จเรียบร้อยของบ้านเป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2540 โจทก์ให้จำเลยแก้ไขงาน 9 รายการ จำเลยก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มีรายการต้องแก้ไขเพียงแต่ขอให้โจทก์ชำระเงินดาวน์ที่ค้างอยู่ทั้งหมดก่อน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2541  จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธ์ และชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 18 มีนาคม 2541 ปรากฏว่าก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธ์ 1 วัน คือในวันที่ 17 มีนาคม 2541 โจทก์ให้จำเลยแก้ไขงานอีก 21 รายการ ครั้นต่อมาวันที่ 3 เมษายน 2541 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยสร้างบ้านให้โจทก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้โจทก์ไปตรวจความเรียบร้อยของบ้านในวันที่ 16 เมษายน 2541 ซึ่งมีการตรวจความเรียบร้อยดังกล่าว โจทก์ให้จำเลยแก้ไขงานอีก 20 รายการ จากนั้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 ปรากฏว่าโจทก์ไม่ไปตามกำหนดนัด แต่หลังจากวันนัด 3 วัน คือในวันที่ 23 พฤษภาคม 2541 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าบ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อย ขอยกเลิกวันโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 ดังกล่าว จนกระทั่งวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 จำเลยมีหนังสือฉบับสุดท้ายแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 3 มิถุนายน 2541 แต่ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2541 ก่อนวันนัด 3 วัน บิดาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่า จำเลยยังแก้ไขงานไม่เสร็จเรียบร้อยเกือบ 30 รายการ เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าในทัศนะของโจทก์นั้น จำเลยยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย ดังนั้นเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ถือเอาระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านเป็นสำคัญ แต่ถือเอาการก่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยเป็นสำคัญแล้ว เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จำเลยจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มีเอกสารใดมานำสืบให้เห็นว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผิดวิสัยที่จำเลยเป็นถึงบริษัทมหาชนรับสร้างบ้านที่มีคุณภาพแต่ไม่ปรากฏเอกสารใดมายืนยันว่าที่โจทก์ให้มีการแก้ไขงานนั้นได้แก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีวิศวกรผู้ควบคุมงานเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องเห็นว่าเสร็จเรียบร้อยจริง แม้จำเลยมีนายชาญรงค์ ทัพกฤษณ์ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยได้แก้ไขงานครั้งสุดท้ายให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้วก็ตาม ก็เป็นคำเบิกความที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน อันเป็นการผิดวิสัยของผู้รับสร้างบ้านที่มีคุณภาพพึงกระทำ โดยเฉพาะกรณีของโจทก์มีการขอให้แก้ไขงานหลายครั้งชี้ให้เห็นว่าลูกค้ารายนี้น่าจะมีปัญหา แต่จำเลยก็ไม่ได้ดำเนินการให้มีเอกสารหรือภาพถ่ายประกอบสัญญาไว้ เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าจำเลยยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย จำเลยกลับบอกเลิกสัญญาโดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายบ้านไปแล้ว และโจทก์ก็ไม่ประสงค์จะซื้อบ้านอีกต่อไปสัญญาจึงเป็นอันเลิกกันและต่างฝ่ายต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 2,343,000 บาท ให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตามมาตรา 391 วรรคสอง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2542 จึงให้ตามที่โจทก์ขอ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาแทนโจทก์ 5,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 การรอนสิทธิคืออะไร.

ในการซื้อขายทรัพย์สินกันนั้นนอกจากผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่ขายแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังได้กำหนดให้ผู้ขายจะต้องรับผิดในการ รอนสิทธิในทรัพย์สินที่ขายด้วย เพราะนอกเหนือจากการที่ผู้ซื้อมีความประสงค์ที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ซื้อยังต้องการที่จะครอบครองทรัพย์สินที่ตนได้ซื้อมาโดยปกติสุขปราศจากการรบกวนของบุคคลอื่นด้วย  มาตรา 475 จึงบัญญัติว่า “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น “ จากบทบัญญัติมาตรา 475 นี้ จึงกล่าวได้ว่าการรอนสิทธิ คือการที่มีบุคคลผู้ใดก็ตาม มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้น ไม่ว่าการรอนสิทธินั้นจะเป็นการรอนสิทธิทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในทรัพย์สินที่ซื้อขายก็ตาม นอกจากบทบัญญัติ มาตรา 475 ที่วางหลักให้ผู้ขายต้องรับผิดในการรอนสิทธิไว้เบื้องต้นแล้ว มาตรา 479 ยังบัญญัติต่อมาอีกว่า “ ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เพราะเหตุการณ์รอนสิทธิก็ดี หรือว่าทรัพย์สินนั้นตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่การที่จะใช้ หรือเสื่อมความสะดวกในการใช้สอย หรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้น แลซึ่งผู้ซื้อหาได้รู้ในเวลาซื้อขายไม่ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด " สิทธิของบุคคลผู้รบกวนขัดสิทธินั้นจะต้องเป็นสิทธิที่มีโดยชอบด้วยกฎหมายอันจะทำให้ผู้ขายต้องรับผิด เช่น สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิการเช่า สิทธิอาศัย โดยสิทธินั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทรัพย์สิทธิเสมอไป แม้เป็นบุคคลสิทธิ เช่น ตามสัญญาเช่า ก็ก่อให้เกิดการรอนสิทธิได้ อุทาหรณ์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจมีดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2053/2538 จำเลยผู้ขายต้องรับผิดในการรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 แม้จะไม่รู้ถึงสาเหตุแห่งการรอนสิทธิก็ตาม และเมื่อโจทก์ต้องจำยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทซึ่งซื้อมาจากจำเลยไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมา ความรับผิดของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 481 แต่มีอายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/10 คำพิพากษาฎีกาที่ 6472/2539 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแม้ไม่มีข้อตกลงให้ผู้ขายต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แต่โดยผลของกฎหมายผู้ขายต้องรับผิด เมื่อปรากฏว่ามีการรอนสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วในเวลาทำสัญญาจะซื้อจะขาย แม้จำเลยผู้ขายจะไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ผู้ซื้อได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยมีหน้าที่ต้องขจัดเหตุที่ถูกรบกวนสิทธิไปเสียก่อนถึงกำหนดนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยังไม่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่มีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางไว้ตามสัญญา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 ข้อควรระวังก่อนซื้อบ้านหรืออาคารชุด

ในการซื้อบ้านหรืออาคารชุดผู้บริโภคมักจะต้องวางเงินจอง ผ่อนเงินดาวน์ก่อน ส่วนเงินที่เหลือที่จะชำระในวันโอนถ้ามีเงินไม่พอก็ต้องกู้สถาบันการเงินและผ่อนชำระเป็นรายเดือนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งหน้าที่จัดหาสถาบันการเงินนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริโภค การที่สำนักงานขายของโครงการมีโฆษณาว่าสถาบันการเงินต่างๆ ชักชวนให้ลูกค้าไปกู้เงินก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเรียกหลักฐานจากผู้บริโภคเพื่อติดต่อสถาบันการเงินให้ก็ดี รวมทั้งเอกสารที่สถาบันการเงินมีถึงบริษัทเจ้าของโครงการแสดงความยินดีสนับสนุนลูกค้าที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากโครงการก็ดี สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เอกสารที่ผูกพันอันจะฟ้องได้ว่าทางผู้ประกอบธุรกิจมีสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้ผู้บริโภค ซึ่งศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานดังนี้ “คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2541 ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีข้อสัญญาใดระบุหน้าที่จำเลยว่าเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้แก่โจทก์ การที่สำนักงานขายจำเลยมีโฆษณาของสถาบันการเงินต่างๆ ชักชวนให้ลูกค้าจำเลยไปกู้ยืมเงินถือเป็นเรื่องของสถาบันการเงินที่จะโฆษณาหาลูกค้า หามีผลผูกพันให้จำเลยต้องจัดหาสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ไม่ แม้พนักงานของจำเลยจะเรียกหลักฐานจากโจทก์เพื่อติดต่อสถาบันการเงินให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องให้ความสะดวกแก่โจทก์เพื่อประโยชน์แก่การขายอาคารชุดของจำเลยมากกว่าที่จำเลยจะผูกพันในรูปสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ ส่วนเอกสารที่สถาบันการเงินมีถึงจำเลยแสดงความยินดีสนับสนุนลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดจำเลย ก็ไม่ใช่เอกสารที่ผูกพันอันจะฟังได้ว่าจำเลยมาสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ " ซึ่งในสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจมักจะระบุว่า “ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้จะขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำระมาแล้วทั้งหมดทันที รวมทั้งมีสิทธินำห้องชุดที่จะซื้อจะขายกันตามสัญญานี้ไปขายให้กับบุคคลใดก็ได้โดยผู้จะซื้อไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าทดแทนใดๆ จากผู้จะขายทั้งสิ้น " ดังนั้นการที่ผู้บริโภคกู้ไม่ผ่านไม่มีเงินไปโอนกรรมสิทธิ ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือในวันที่ผู้ประกอบธุรกิจนัดไปโอน ฝ่ายผู้บริโภคจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา อาจถูกริบเงินต่างๆ ได้ นี่คือเหตุผลที่ต้องทดลองกู้เพื่อประเมินศักยภาพของตนเองว่าจะกู้ได้แค่ไหนเพียงใดก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้านหรืออาคารชุด ซึ่งถ้าหากผู้บริโภคชายจะซื้อบ้านหรืออาคารชุดเพื่อเป็นเรือนหอ หากคนเดียวกู้ไม่ผ่าน ก็อาจจะต้องให้แฟนมาช่วยร่วมกู้ด้วยเผื่อจะกู้ผ่านได้วงเงินตามที่ต้องการ แต่ถ้าตัวเองกับแฟนร่วมกันกู้แล้วไม่ผ่านก็คงต้องปรับลดวงเงินหรือปรึกษากับทางสถาบันการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรดี ส่วนข้อตกลงในสัญญาที่ว่าหากฝ่ายผู้จะซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วให้เงินที่ฝ่ายผู้จะซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของฝ่ายผู้จะขายได้นั้นข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ถ้าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ดังคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ “คำพิพากษาฎีกาที่ 3301/2547 โจทก์ชำระเงินจำนวน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันจอง และจำนวน 120,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ดังนั้นเงินจำนวน 150,000 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้ให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา เพื่อให้จำเลยยึดไว้เป็นการชำระหนี้บางส่วนและเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจึงถือเป็นมัดจำ ส่วนหลังจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ยังผ่อนชำระให้แก่จำเลยรวม 12 งวด เป็นเงิน 840,000 บาท ย่อมไม่อาจถือเป็นมัดจำ แต่เป็นการชำระราคาบ้านและที่ดินบางส่วน ดังนั้นเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 150,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(2) และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน เงินที่โจทก์ชำระค่าบ้านและค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าวต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของจำเลยได้นั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้เป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ “ คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 400,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย จากยอดเงิน 840,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 ธนาคารปล่อยให้ดอกเบี้ยบานแล้วนำมาฟ้อง

“ในการใช้สิทธิแห่งตนนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 บัญญัติว่า  ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี  บุคคลทุกคนต้องกระทำการโดยสุจริต” คดีตัวอย่างในฉบับนี้เป็นเรื่องของธนาคารไม่รีบฟ้องคดีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ แต่กลับเลี้ยงไข้ให้ดอกเบี้ยบานแล้วนำมาฟ้อง  โดยส่วนที่หักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อมาชำระหนี้บัตรเครดิต เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงก็น่าเกลียดมากคือหักมา 6.68 บาท (สงสัยทั้งบัญชีมีอยู่เท่านั้น) เรื่องนี้น่าจะเข้ากับสุภาษิตกฎหมายที่ว่า  เมื่อมาศาลด้วยมืออันสกปรก  ศาลย่อมไม่รับบังคับบัญชาให้  มาดูกันสิว่าผลคดีจะออกมาอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2551  ครบกำหนดชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าธนาคารยอมให้จำเลยใช้บัตรเครดิตอีก แสดงว่าธนาคารกับจำเลยถือว่าสัญญาที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 ธนาคารย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538 แต่จำเลยนำเงินมาชำระให้ธนาคารวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 จำนวน 5,000 บาท อันเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 2 ปี ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541  การที่ธนาคารนำเงินจำนวน 6.68 บาท จากบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยมาหักชำระหนี้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2541 หลังจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 โดยปล่อยเวลาให้ผ่านไปถึง 2 ปีเศษ และคิดดอกเบี้ยกับค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าตลอดมา นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของธนาคารตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นว่า ธนาคารอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้ธนาคารได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยได้ดอกเบี้ยและค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าระหว่างนั้นและเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ดังนั้นจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จำเลยนำเงินมาชำระหนี้บางส่วนโดยให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 จำนวน 1,000 บาท เป็นการชำระหนี้ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิจากธนาคารนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 จึงเกิน 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 ประกอบมาตรา 247 พิพากษายกฟ้องเขียนต้นฉบับมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนต้องขอพูดหน่อยว่า  สะใจโก๋จริงๆ  

อ่านเพิ่มเติม >