ฉบับที่ 58 ร้านยาไซเบอร์ มหันตภัยยุคออนไลน์

 
ในขณะที่หลายคนยังงงสับสนอยู่ว่าทิศทางการขายยาตามรูปแบบกฎหมายยาฉบับใหม่จะไปทางไหน แพทย์จะขายยาได้อีกหรือเปล่า จะให้นั่งเขียนใบสั่งยาอย่างเดียวแล้วคลินิกที่เปิดจะอยู่ได้อย่างไร เภสัชกรจะวินิจฉัยโรคและสั่งยาได้เก่งกว่าแพทย์แค่ไหน ก็ปรากฏว่าโลกของการขายยาในยุคปัจจุบันไปไกลกว่าที่เราคาดถึงเสียแล้ว เมื่อร้านขายยาถูกยกระดับเป็นร้านขายยาไซเบอร์ขายกันทางออนไลน์ ซื้อขายกันได้ข้ามโลก คำถามคือว่ากฎหมายที่เรามีอยู่หรือแม้แต่กำลังจะออกมาใหม่จะคุ้มครองผู้บริโภคได้แค่ไหนกัน

...................................................
ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นจากร้านขายยาทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศ หนึ่งคือสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งโลกออนไลน์และเจ้าแห่งบริโภคนิยม สองคือประเทศไทย ประเทศที่มีประชากรใช้ยาในปริมาณที่ประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกายังอายและกำลังเดินเข้าหาโลกออนไลน์อย่างไม่ครั่นคร้าม

พฤติกรรมการซื้อการขายยาของทั้งสองประเทศอาจจะมีจุดแตกต่าง แต่เมื่อพิจารณาให้ดีก็จะเห็นแนวทางอันตรายที่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องขบคิดว่าจะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักให้ทันว่าร้านยาไซเบอร์คือความก้าวหน้าหรือมหันตภัยของชีวิตและสุขภาพของตัวเองกันแน่
 
เหตุเกิดที่ประเทศไทย

ในปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาด้อยคุณภาพอยู่แล้วในหลายลักษณะ เช่น ยาผิดมาตรฐาน ยาปลอม หรือยาเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากทางบุคลากรทางการแพทย์ จากร้านขายยา หรือร้านขายของชำต่าง ๆ และเมื่อโลกออนไลน์สำหรับคนไทยขยายตัวกว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น สภาพปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางร้านยาอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้นตามลำดับ

ปัญหาที่เกิดจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
  • มีการขายยาแผนปัจจุบัน ระบุชื่อการค้า และสรรพคุณ บางเว็บไซต์มีการโฆษณารูปภาพแสดงความทุกข์ทรมานและมีการลด แถม ให้ของสัมมนาคุณ
  • มีการขายยาที่อ้างว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณและมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง
  • มีการขายยาโดยอ้างว่าเป็นการขายแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ แต่ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้โดยมีการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ
  • มีการโฆษณายาโดยบุคลากรวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพใช้ชื่อของตนและอธิบายคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยระบุชื่อการค้า โดยเฉพาะการโฆษณายาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกาผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อยาจากร้านยามาเป็นซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์จำนวนนับร้อยมีบริการจำหน่ายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทั้งที่โดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแล้ว ยาเหล่านี้จะขายให้แก่ผู้ป่วยได้จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคก่อนโดยแพทย์และจะต้องมีใบสั่งยา

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมองไม่เห็นข้อเสียของการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่ต้องไปพบแพทย์และไปรับยากับเภสัชกรที่ร้านยา เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันที่ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้บริการร้านยาทางอินเทอร์เน็ตคือรู้สึกว่าได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลา และให้ความเป็นส่วนตัว ทั้งยังคิดว่าน่าจะเชื่อถือได้เนื่องจากเว็บไซต์หลายแห่งมีการระบุ สถานที่ และที่ติดต่อให้ไว้

อย่างไรก็ดีปัญหาจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจนนำไปสู่การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

ปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต
  • การขายยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือการให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามแล้วจ่ายยาให้
  • การขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งเครื่องมือตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่โอ้อวดเกินจริง
  • มีการขายยาบางชนิดที่เข้าข่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือสารเสพติด

ลักษณะของร้านขายยาไซเบอร์
Cybermedicine หรือ Cyberpharmacy เป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกเว็บไซต์ขายยาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม

1.    PHARMACY BASED SITES 
เว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้มีแบบแผนเช่นเดียวกับร้านยาปกติโดยทั่วไปเพียงแต่ย้ายมาตั้งบนเว็บไซต์ เว็บไซต์เหล่านี้จะขายยาให้แก่ผู้ป่วยที่มีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ร้านขายยากลุ่มนี้จึงไม่ได้สร้างปัญหาในเรื่องความพยายามที่จะขายยา ปัญหาที่พบในทางกฎหมายจะเป็นในลักษณะที่บางเว็บไซต์ไม่มีใบอนุญาตจำหน่ายยาจากรัฐที่เว็บไซต์ดำเนินธุรกิจขายยาอยู่

2.    PRESCRIBING BASED SITES 
ในสหรัฐอเมริกามีเว็บไซต์จำนวนนับพันแห่งที่มีแพทย์และเภสัชกรบริการให้คำแนะนำทางการแพทย์หรือให้ข้อมูลทางสุขภาพโดยไม่ได้จ่ายยาให้กับผู้ป่วยซึ่งนับเป็นเรื่องดี แต่กับ PRESCRIBING BASED SITES เว็บไซต์กลุ่มนี้จะให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์ทางอินเทอร์เน็ต (online doctor visit) โดยผู้ป่วยอาจจะตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ให้ในเว็บไซต์ หรืออาจใช้รูปแบบของ Video Conference ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย คิดค่าบริการให้คำปรึกษาอยู่ระหว่าง 30 - 150 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,200 - 6,000 บาท) เมื่อให้คำปรึกษาแล้วแพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาผ่านทางเว็บไซต์ขายยา หรือ online pharmacy ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่เดียวกันกับที่ตั้งของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา แพทย์ ร้านยา และผู้ป่วยอาจจะอยู่กันคนละรัฐก็ได้ ข้อเสียสำคัญคือ เนื่องจากเว็บไซต์ขายยาระบบนี้จะให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แพทย์จึงไม่ได้พบผู้ป่วยเพื่อตรวจร่างกาย และอาจจะไม่พบโรคของผู้ป่วยเพราะโรคบางโรคจะพบได้ก็จะต้องมีการตรวจร่างกาย การรับบริการผ่านทาง PRESCRIBING BASED SITES ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่แพทย์จะตรวจโรคได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง พฤติกรรมของเว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมละเมิดจริยธรรมและวิธีปฏิบัติของการประกอบวิชาชีพของแพทย์

3. Online drug shop 
เป็นร้านขายยาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน กลุ่มร้านยาออนไลน์เหล่านี้เน้นการขายยาอย่างเดียวไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การกรอกแบบสอบถามผู้ป่วย ยาที่ขายมีทั้งยาควบคุมพิเศษ , ยาอันตรายที่ต้องการใบสั่งแพทย์ และขายยาที่ไม่ผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ผู้ซื้อสามารถเลือกยาอะไรก็ได้ที่ต้องการโดยจ่ายเงินผ่านทางเครดิตการ์ด เว็บไซต์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสร้างปัญหาอย่างมากในการควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้บริโภคที่ซื้อยาจากร้านยาไซเบอร์กลุ่มนี้มักไม่รู้ว่าร้านยาเหล่านี้กระทำการละเมิดกฎหมายโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือว่าเว็บไซต์ในกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่เปิดเผยที่อยู่และมักจะตั้งอยู่นอกประเทศ ดังนั้นการจัดการทางกฎหมายเพื่อให้เว็บไซต์เหล่านี้หยุดขายยานับเป็นเรื่องยากมาก แม้จะมีการปิดเว็บไซต์เหล่านี้ได้แต่เพียงไม่กี่วันก็จะเปิดขึ้นใหม่อีกโดยใช้ชื่อหรือที่อยู่ที่แตกต่างไปจากเดิม

ผลเสียจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต
  • เป็นการทำลายระบบคุ้มครองสุขภาพที่ผู้ป่วยควรจะได้รับจากการให้บริการของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากยาที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบของเภสัชกรในระหว่างการจ่ายยา
  • ยาจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุสถานที่แน่นอน อาจเป็นยาปลอม อาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เป็นยาที่หมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐาน
  • การซื้อยาผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และไม่น่าจะได้รับยาที่ถูกต้องตรงตามโรค
 
เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรหลีกเลี่ยง

โลกออนไลน์เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การหวังว่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดีจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐคงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและอาจจะช้าเกินการณ์ การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ในที่นี้ฉลาดซื้อขออนุญาตแนะนำหลักในการพิจารณาเว็บไซต์ขายยารวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน
  • เว็บไซต์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค
  • เว็บไซต์ขายยาที่ไม่ได้รับการอนุมัติจาก อย. หรือพยายามเชื่อมโยงให้ซื้อยาขากเว็บไซต์อื่น
  • เว็บไซต์ที่มีแต่เพียงเบอร์โทรศัพท์ ชื่อบุคคลสมมติ ไม่มีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งแสดงไว้อย่างชัดเจน
  • เว็บไซต์ที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ใช่ยา แต่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย

ข้อมูลจาก
"สถานการณ์ แนวโน้ม และการแก้ไขปัญหาการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา" โดย ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ

ฉบับที่ 276 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม(ชาย)

        จัดทรงง่าย อยู่ทรงนาน เผยลุคหล่อ เท่ เนี้ยบ หรือทรงอย่างแบดได้ตามใจหนุ่มๆ นี่คงเป็นคุณสมบัติหลักๆ ที่คุณผู้ชายทั้งหลายใช้เลือกซื้อเจล แว๊กซ์ หรือโพเมด มาเซ็ตผมในทุกๆ วัน เพื่อส่งเสริมบุคลิกและสร้างความมั่นใจในสไตล์ของตน แต่รู้หรือไม่ว่า ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่อยู่ในรูปแบบใช้แล้วไม่ล้างออกเหล่านี้ มักนิยมใช้สารเคมีในกลุ่มที่ไม่ย่อยสลาย ซึ่งอาจทิ้งสารตกค้างบนหนังศีรษะ อุดรูเส้นผม จนเกิดอาการแพ้ คัน มีรังแค และเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ นอกจากนี้ บางยี่ห้อยังมีสารกันเสียชนิดที่หากใช้ต่อเนื่องนานๆ อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อีกด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม(ชาย) ในรูปแบบเนื้อเจล แว๊กซ์ และโพแมด จำนวน 10 ตัวอย่าง 7 ยี่ห้อ ทั้งจากร้านค้าปลีกและร้านค้าออนไลน์ เมื่อเดือนมกราคม 2567 เพื่อสำรวจฉลากว่ามีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่ ซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล รวมถึงเปรียบเทียบราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ คุ้มค่าและปลอดภัยได้ต่อไป ผลการสำรวจ         · พบสารซิลิโคน ใน 5 ตัวอย่าง คิดเป็น 50% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แวกซ์ พาวเดอร์ แอนด์ สไปคัส, แกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์, ออด๊าซ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด,โลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ และดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์        · พบพาราเบน ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 30% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง โพเมด เพอร์เฟค เรส,  แคริ่ง แฮร์ แว็กซ์ เซ็ท สไปค์ และชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+        · พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น 70% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แวกซ์ พาวเดอร์ แอนด์ สไปคัส, แกสบี้ สไตล์ลิ่ง โพเมด เพอร์เฟค เรส, แกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์, ชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+, ออด๊าซ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด, โลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ และเดวิด เดส ร็อค แมท แม็ก โฮลด์ โพเมด         · เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่ายี่ห้อเดวิด เดส ร็อค แมท แม็ก โฮลด์ โพเมด แพงที่สุด คือ 7.45 บาท  ส่วนยี่ห้อออด๊าซ สไตล์ลิ่งแว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด ถูกที่สุด คือ 0.75 บาท ข้อสังเกต        · สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone รองมาคือ Cyclomethicone         · สารกลุ่มพาราเบนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้เป็น Methylparaben, Propylparaben และ Ethylparaben         · ทุกตัวอย่างระบุวันผลิตไว้ในปี 2023  ยี่ห้อดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์ ระบุอายุไว้นานสุดคือ 5 ปี ส่วนยี่ห้อโลแลน เฮด อัพ เจล กัม และโลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ ระบุอายุไว้น้อยสุดคือ 2 ปี         · ยี่ห้อแกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์ และยี่ห้อชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+ ระบุเฉพาะวันผลิตไว้ (อย.ให้เครื่องสำอางที่มีอายุมากกว่า 30 เดือน ไม่จำเป็นต้องระบุวันหมดอายุ)        · ยี่ห้อแคริ่ง แฮร์ แว๊กซ์ เว็ต สไปค์ ไม่ระบุวิธีใช้บนฉลาก ส่วนยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ พาวเวอร์ แอนด์ สไปคัส และชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม๊กซ์ ลุค พาวเวอร์ แว๊กซ์ โฮลด์ 5+ ไม่ระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังกำกับไว้บนฉลาก        · ระยะเวลาในการจัดผมให้อยู่ทรงที่มีระบุไว้คือ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง โดยยี่ห้อดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์ มีระยะเวลาอยู่ทรงนานที่สุด         · เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม ราคาแพงสุดมากกว่าราคาถูกสุดเกือบ 10 เท่า          · ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตอยู่ในประเทศไทย (6 ตัวอย่าง) นอกนั้นมีผลิตจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และจีน ฉลาดซื้อแนะ        · เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนด คือ ชื่อผลิตภัณฑ์ เลขที่จดแจ้ง ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อและสถานที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ รวมทั้งต้องซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย         · ควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม         · หากไม่แน่ใจว่าจะเลือกแบบไหนดี ให้ลองซื้อไซส์เล็กมาทดลองใช้ก่อนก็ได้         · ควรอ่านและทำความเข้าใจวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อาจมีขั้นตอนแตกต่างกัน และปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้ เช่น ไม่ควรเก็บสินค้าในที่มีอุณหภูมิสูง ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ควรหยุดใช้ทันทีเมื่อมีอาการแพ้ เป็นต้น        · หลังใช้ 1-2 วันควรสระผมทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้สารเคมีเกาะเคลือบอยู่บนผมนานเกินไป เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้าง และสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้        · คำศัพท์น่ารู้ สังเกตคุณสมบัติเบื้องต้นจากชื่อผลิตภัณฑ์ได้ เช่น Spike = เซ็ตให้ผมตั้งหรือล็อกให้แข็งอยู่ทรง  Matt = ใช้แล้วผมไม่ขึ้นเงา เส้นผมดูมีน้ำหนัก เหมาะกับช่วงเร่งรีบ และ Clay Wax = ต้องวอร์มให้เนื้อนิ่มโดยขยี้บนมือก่อน ใช้เซ็ตผมให้อยู่ทรงแลดูเป็นธรรมชาติ ในลุคสบายๆ เป็นต้น                          ข้อมูลอ้างอิงhttps://www.pobpad.comhttps://bestreview.asia/hair-styling-for-men/https://thestandard.co/hairstyling-products-for-men/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับ “เด็ก”

        ฤดูร้อนไม่เคยหายไปจากบ้านเรา แม้ในวันที่มีเมฆมากก็ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นจากรังสียูวี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพาไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับเด็กที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+         องค์กรที่ส่งตัวอย่างเข้าทดสอบในครั้งนี้คือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ในยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน หลายยี่ห้อมีจำหน่ายในบ้านเราหรือสั่งซื้อได้ออนไลน์  คราวนี้เรามีมาให้เลือก 20 ผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบโลชัน สเปรย์ และแบบแท่ง เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมา เราแบ่งคะแนนการทดสอบออกเป็น 4 ด้านดังนี้        ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)        ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนักในเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ (ส่วนใหญ่ได้คะแนนระดับสี่ดาวขึ้นไป ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนรวมน้อยกว่า 50) เมื่อเทียบกับครั้งก่อน ผู้ผลิตมีการปรับปรุงเรื่องของฉลากดีขึ้นมาก อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการแสดงฉลากที่ดีขึ้น แต่ยังต้องปรับปรุงอีกมากในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ยังได้คะแนนเพียงหนึ่งหรือสองดาวเท่านั้น            “ข่าวดี” คือเราไม่พบพาราเบนหรือสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และมีเพียงสามผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่ระบุในฉลาก นอกจากนั้นเรายังพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ยืนยันประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเสมอไป ตัวที่ได้คะแนนสูงที่สุดสามอันดับแรกมีราคาไม่เกิน 5 บาทต่อหนึ่งมิลลิลิตร ในขณะที่ตัวที่มีราคามิลลิลิตรละ 16 บาทนั้นเข้ามาที่อันดับเก้า อีกข้อสังเกตคือมีความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันจะมีประสิทธิภาพในระดับที่ต่างกันด้วย         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 274 ภัยครีมผิวขาวผิดกฎหมาย

ธันวาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลการทดสอบเครื่องสำอางที่ขายผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์พบสารห้ามใช้ 8 รายการ อาทิ ปรอท สารสเตียรอยด์ ที่อาจทำให้เกิดการแพ้ เกิดฝ้าถาวร เสี่ยงพิษร้ายแรง  ทำให้หวนนึกถึงเหตุการณ์เมื่อต้นปี 2566 ที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) EcoWaste Coalition จากประเทศฟิลิปปินส์ และเครือข่ายการกำจัดมลพิษระหว่างประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (IPEN-SEA) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคมจากกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ติดตามปัญหามลพิษในระดับนานาชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่  6 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเรียกร้องให้ อย. เปิดเผยรายชื่อรายการเครื่องสำอางที่ปนเปื้อนสารปรอทที่มีการเพิกถอนแล้วให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงขอให้นำระบบการแจ้งเตือนภายหลังออกสู่ท้องตลาดของอาเซียน (ASEAN Post-Marketing Alert System: PMAS) มาใช้แจ้งเตือนหน่วยงานรัฐและผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนให้ทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นโดยไม่คำนึงถึงข้อกำหนดต่างๆ โดยเฉพาะที่ปนเปื้อนสารปรอทและสารต้องห้าม หรือสารควบคุมอื่นๆ  “ได้โปรดดำเนินการจัดการผู้กระทำความผิด เพื่อยุติการขายเครื่องสำอางที่มีการปนเปื้อนของสารปรอทอย่างผิดจริยธรรมและกฎหมาย และเพื่อปกป้องสิทธิทางสุขภาพที่ดีและสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ไร้มลพิษ”         เครื่องสำอางที่เอ็นจีโอฟิลิปปินส์ EcoWaste Coalition  ตรวจพบการปนเปื้อนของสารประกอบของปรอทนั้น ได้แก่       ครีมเลดี้โกลด์ สาหร่ายทองคำ ผสมกลูต้า, ครีม Super Gluta Brightening, ครีมหมอยันฮี จำนวน 5 สูตร (Dr. Yanhee), ครีม Dr. วุฒิ-ศักดิ์ จำนวน 2 สูตร (Dr. Wuttisak), ครีมสมุนไพรสาหร่ายเหมยหยง ซุปเปอร์ไวท์เทนนิ่ง (Meyyong Seaweeds Super Whitening), ครีมพอลล่าโกลด์ (Polla Gold Super White Perfects), ครีมไข่มุกนาโน (White Nano), ครีมบำรุงหน้า 88 สูตรกลางคืน (88 Whitening Night Cream), ครีมรักแร้ขาว 88 (88 Total White Underarm Cream) และครีมรักแร้ขาว สโนว์ไวท์ (Snow White Armpit Whitening Underarm Cream) ซึ่งพบสารปรอทในปริมาณที่สูงมากระหว่าง 2,486 ppm ไปจนถึง 44,540 ppm และทุกตัวอย่างฉลากระบุว่า “ผลิตในประเทศไทย”          ต่อมาทาง อย.ได้สื่อสารต่อสาธารณะในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 โดย ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ว่า  “อย. ตรวจสอบพบว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้ง 13 รายการ จดแจ้งแล้ว 1 รายการ ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการกระทำผิดหรือลักลอบใส่สารห้ามใช้ จะถูกดำเนินการตามกฎหมายและประกาศผลวิเคราะห์ทันที สำหรับเครื่องสำอางเถื่อน อย. จะประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาแหล่งผลิตและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” ในไทยก็ขายเกลื่อน         จากข้อสรุปข้างต้นคือ เครื่องสำอางที่เอ็นจีโอฟิลิปปินส์พบการปนเปื้อนสารประกอบของสารปรอทนั้น เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ไม่มีการกำกับเบื้องต้นจากหน่วยงาน อย. หรือไม่มีเลขจดแจ้ง (เครื่องหมาย อย.สำหรับเครื่องสำอาง) สำหรับ 1 ตัวอย่างที่พบเลขจดแจ้ง ต้องรอดูว่า ทาง อย.จะดำเนินการอย่างไร จะยกเลิกสถานะและดำเนินคดีทางกฎหมายหรือไม่         อย่างไรก็ตามทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง ตั้งข้อสังเกตว่า แล้วทำไมสินค้าเครื่องสำอางปลอมจึงระบาดไกลไปถึงฟิลิปปินส์ และในประเทศไทยจะยังมีวางขายหรือไม่ หาซื้อง่ายหรือไม่  จึงได้ทดลองหาซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทอ้างว่าทำให้ผิวขาวหรือครีมผิวขาวผิดกฎหมาย โดยตั้งใจตามหายี่ห้อเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ทางเอ็นจีโอฟิลิปปินส์พบว่ามีการปนเปื้อนสารประกอบของปรอท ในเดือนมีนาคม 2566 หลังจากนั้นเพื่อยืนยันในเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปรากฎแลขจดแจ้ง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นสินค้าผิดกฎหมายเหล่านี้ มีการใส่สารต้องห้าม อย่างปรอทจริงหรือไม่ (เมื่อจำหน่ายในประเทศ) ฉลาดซื้อและมูลนิธิบูรณะนิเวศ จึงได้ทดสอบผลิตภัณฑ์จำนวน 12 ตัวอย่างที่เก็บตัวอย่างมา โดยทดสอบด้วย  ชุดตรวจปรอทในเครื่องสำอางเบื้องต้น (Mercury test kit in cosmetic)    พบว่า มีสารประกอบของปรอททุกตัวอย่าง ในไทยก็ขายเกลื่อน         จึงฝากเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้บริโภค อย่าซื้อ อย่าใช้เครื่องสำอางผิดกฎหมาย ถ้าไม่แน่ใจเลขจดแจ้งที่ผู้ผลิตระบุ ตรวจสอบได้ที่  https: //oryor.com/check-product serial ลิ้งก์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) (oryor.com)  อันตรายของเครื่องสำอางที่มีการพบสารปรอท อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ       ข้อแนะนำ         1.ซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน น่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน         2.ฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อทางการค้า ประเภทเครื่องสำอาง ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตหรือปีเดือนที่ผลิต คำเตือน (ถ้ามี) และเลขที่ใบรับจดแจ้ง         3.กรณีที่พบผลิตภัณฑ์ ที่สงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ                   

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 270 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก (ลีฟออน)

            ผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติปกป้องและบำรุงเส้นผมภายนอกจะมีทั้งที่เป็นน้ำมัน เซรั่ม เจลวิตามิน และลีฟออนครีม จัดเป็นไอเท็มโดนใจสำหรับใครที่ต้องการปรับสภาพเส้นผมที่แห้งเสีย เนรมิตให้ผมไม่ชี้ฟู ดูมีน้ำหนัก และเงางามสลวยได้ทันใจในชั่วโมงเร่งด่วน หรือต้องการปกป้องเส้นผมจากความร้อนของแสงแดดหรืออุปกรณ์ทำผมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเส้นผมที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างออก แสดงว่าส่วนประกอบต่างๆ จะเคลือบเกาะติดอยู่บนเส้นผมนานกว่าแชมพูและครีมนวดที่ต้องล้างออกทันที ดังนั้นนอกจากคาดหวังผลลัพธ์ให้ผมสวยแล้ว ผู้บริโภคควรใส่ใจความปลอดภัยจากสารที่อาจตกค้างหลังใช้ด้วย           นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดไม่ต้องล้างออก จำนวน 12 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อสำรวจฉลากว่า มีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         ซิลิโคน (Silicone) เป็นสารโพลิเมอร์ที่ใช้เพื่อให้ผมลื่น หวีง่าย เคลือบเส้นผมให้เงางาม แต่ล้างออกยาก จึงเกิดการสะสมอยู่ที่เส้นผมและหนังศีรษะ ใช้บ่อย ๆ เส้นผมจะลีบแบนและเป็นมันเยิ้ม ซึ่งสารซิลิโคนที่ตกค้างอาจจะไปอุดตันรูเส้นผม ทำให้เซลล์ผมทำงานผิดปกติ การขับของเสียและดูดซึมสารอาหารลดลง และหากใช้ไปนานๆ จะทำให้ผมร่วงได้         พาราเบน (Parabens) : สารกันเสียที่มีรายงานว่าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพ ส่งผลให้เป็นมะเร็ง         พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) : สารกันเสียที่มีคุณสมบัติทำให้กลิ่นหอมคงตัว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 1.0 % หากสัมผัสกับผิวในปริมาณที่มากอาจทำให้ผิวแพ้ ระคายเคือง และเกิดผดผื่นได้ ผลการสำรวจ ·     พบสารซิลิโคน ใน 11 ตัวอย่าง คิดเป็น 91.67% ของตัวอย่างทั้งหมด·     พบพาราเบน ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน, โลแลน อินเทนซ์ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ฟอร์ เอ็กซ์ตร้า ดราย แฮร์ และฟรี แอนด์ ฟรี แดเมจ เอด·     พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น, แพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน และแคริ่ง เมอร์เมด ซุปเปอร์ ซิลกี้·     เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ  1 มิลลิลิตร พบว่า ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม แพงที่สุดคือ 4.20 บาท ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ถูกที่สุดคือ 0.98 บาท ข้อสังเกต·     ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม ไม่พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone (9 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Cyclopentasiloxane (8 ตัวอย่าง) และ Dimethiconol (6 ตัวอย่าง)·     สารกลุ่มพาราเบนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Methylparaben (3 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Propylparaben (2 ตัวอย่าง)·     ตัวอย่างทั้งหมดที่ระบุวันผลิตไว้ ผลิตในปี 2003  ยี่ห้อเอ็กซ์คิวท์ มี ออร์แกนิค อาร์แกน ออยล์ แฮร์ เซรั่ม ระบุอายุไว้นานสุดคือ 5 ปี ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น ระบุอายุไว้น้อยสุดคือ 2 ปี โดยส่วนใหญ่ระบุไว้ที่ 3 ปี ·     ยี่ห้อลอรีอัล ปารีส เอลแซฟ เอ็กซ์ตรอว์ดินารี่ ออยล์ เฟรนช์ โรส ออยล์ อินฟิวชั่น ฟรากรานซ์ แฮร์ ออยล์ และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ระบุเฉพาะวันผลิต ส่วนยี่ห้อเดอะเฟสซ็อป เอสเซ็นเชี่ยล ดาเมจ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ระบุเฉพาะวันหมดอายุในปี 2024 ·     ทุกตัวอย่างระบุวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ไว้ และมี 6 ตัวอย่างที่ไม่ระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังกำกับไว้ ฉลาดซื้อแนะ·     ควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม ·     ควรอ่านและทำความเข้าใจวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อาจมีรายละเอียดขั้นตอนแตกต่างกัน และปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ถ้าเข้าตาควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที เก็บให้พ้นมือเด็กและแสงแดด หากเกิดการผิดปกติให้หยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ เป็นต้น  ·     ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันเหมาะสำหรับเส้นผมที่โดนความร้อนเป็นประจำ ส่วนเส้นผมที่แห้งเสียมากควรใช้ประเภทครีมหรือเจลเพื่อปรับสภาพผมให้ชุ่มชื้นขึ้น·     ควรสระผมและเช็ดผมให้หมาดๆ ก่อนใช้ ผลิตภัณฑ์จะเคลือบเส้นผมได้ดี และช่วยให้ประหยัดด้วย เพราะไม่ต้องใช้ปริมาณเยอะ แค่ลูบไล้บริเวณปลายผมก็เพียงพอแล้ว·     แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดที่ไม่ต้องล้างออก แต่ถ้ามีซิลิโคนและสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ หลังใช้ 1-2 วันควรสระผมทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้สารเคมีเกาะเคลือบอยู่บนผมนานเกินไป เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้างและสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ ข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อ ฉบับที่ 257 มีอะไรน่าสนใจใน “ครีมนวดผม”ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 261 เรื่องยุ่งๆ ของซิลิโคนในครีมนวดผมhttps://th.my-best.com/48384https://thaieurope.net/2018/03/16/eu-restriction-d4-and-d5/ EU

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)