ฉบับที่ 173 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง” ตอน 2

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใ...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!

ฉบับที่่ 273 คาร์ซีท 2023

        กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบเปรียบเทียบเบาะนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็กหรือ​ คราวนี้ฉลาดซื้อนำเสนอให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกกัน 24 รุ่น มีตั้งแต่รุ่นที่รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 10 กิโลกรัม ไปจนถึง 36 กิโลกรัม และเหมาะสำหรับความสูงของเด็กตั้งแต่ 40 – 125 เซนติเมตร ในสนนราคาตั้งแต่หมื่นต้นๆ ไปจนถึงประมาณ 26,000 บาท*         การทดสอบดังกล่าวทำอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing (ICRT) ฉลาดซื้อ ในฐานะองค์กรร่วมทดสอบ จึงมีผลการทดสอบมานำเสนอสมาชิกทุกปี (ดูผลทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ในฉบับที่ 262 และ 234)         การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีบุตรหลานวัย 3 ปี 6 ปี และ 10 ปี อีกจำนวน 10 ครอบครัว โดยรถที่นำมาติดตั้งคาร์ซีทเพื่อการทดสอบมีสามประเภทคือ รถแฮทช์แบ็คสามประตู รถอเนกประสงค์แบบสปอร์ตห้า ประตู และรถตู้อเนกประสงค์          การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่         ความปลอดภัย (50 คะแนน) เช่น ความสามารถในการป้องกันการบาดเจ็บจากการชนทั้งด้านหน้าและด้านข้าง การดูดซับแรงกระแทก ความแข็งแรงในการยึดติดกับเบาะรถ เป็นต้น         ความสะดวกในการใช้งาน (40 คะแนน) เช่น การติดตั้งกับตัวรถ การปรับขนาดให้พอดีตัวเด็ก การป้องกันโอกาสการใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น         การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (10 คะแนน) ทั้งที่นั่งและเบาะพิง รวมถึงความนุ่มสบาย และการประหยัดพื้นที่ในตัวรถ เป็นต้น         นอกจากนี้ยังมีการตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายที่ถูกประกาศห้ามใช้ในยุโรป เช่น พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือโลหะหนักต่างๆ บนวัสดุหุ้มเบาะ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เด็กจะได้รับสารเคมีดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสและการเลีย         คราวนี้รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดได้ไปเพียง 77 คะแนน (Besafe iZi Go Modular X2 i-Size + iZi Modular i-Size base และ Cybex Cloud T + Base T ทั้งสองรุ่นราคาประมาณ 20,000 บาท)  และเช่นเดียวกับครั้งก่อน เราพบว่าคาร์ซีท “แบรนด์” เดียวกัน อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพระดับเดียวกันเสมอไป ถ้าอยากรู้ว่ารุ่นไหนให้ความปลอดภัยมากกว่า ใช้งานสะดวกกว่า หรือรองรับสรีระของเด็กได้ดีกว่า เชิญติดตามได้ในหน้าถัดไป* ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 262 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

            กำหนดการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการติดตั้งเบาะนิรภัยสำหรับเด็กวัยไม่เกินหกขวบ (คาร์ซีท) ของบ้านเราเริ่มต้นแล้ว ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบไว้ และเนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 25 รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบในปี 2022(ติดตามผลทดสอบคาร์ซีทครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉบับที่ 234)         การทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานใหม่ของยุโรป (R129) แบ่งออกเป็นการจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีเด็กอายุ 3, 6, และ 10 ปีจำนวน 10 ครอบครัว คาร์ซีททุกรุ่นจะถูกนำมาทดลองติดตั้งและใช้งานกับรถ 3 ประเภท ได้แก่ รถแฮทช์แบ็ก 3 ประตู รถ SUV 5 ประตู และรถ MPV         คะแนนรวม 100 คะแนนแบ่งออกเป็น        - ความปลอดภัย (ร้อยละ 50) เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ความแข็งแรงของตัวล็อก การยึดติดกับเบาะรถ และการดูดซับแรงกระแทก เป็นต้น        - ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 40) เช่น การติดตั้ง การปรับขนาดให้เข้ากับตัวเด็ก โอกาสที่จะใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น        - การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ หรือ ergonomics (ร้อยละ 10) ทั้งตัวที่นั่ง พนักพิง ความนุ่มสบาย และการใช้พื้นที่ในรถ เป็นต้น         เนื่องจากสหภาพยุโรปห้ามใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิดในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น โพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ สีเอโซ และโลหะหนัก ทีมทดสอบจึงทำการตรวจวิเคราะห์หาสารดังกล่าวบนตัววัสดุหุ้มเบาะและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เด็กอาจเลียหรือนำเข้าปากไว้ด้วย         ในภาพรวมเราพบว่า คาร์ซีทที่มีจำหน่ายในยุโรปมีทั้งที่คุณภาพดีและด้อยปะปนกัน รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด Cybex AnorisT i-size ได้ไปถึง 81 คะแนน ในขณะที่หลายรุ่นได้คะแนนรวมต่ำกว่า 50 เพราะมีคะแนนความปลอดภัยแค่ระดับ “พอใช้” และบางรุ่นไม่ได้คะแนนเลย* ในกรณีที่เป็นรุ่นเดียวกัน รุ่นที่มาพร้อมกับฐาน (และมีราคาแพงกว่า) มักจะได้คะแนนมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการเลือก “แบรนด์” อย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ เราอาจต้องพิจารณา “รุ่น” ของคาร์ซีทด้วย         ·  เรามัดรวมคาร์ซีทที่ไม่ควรซื้อเอาไว้ที่หน้าสุดท้ายของบทความนี้แล้ว คาร์ซีทรุ่นที่ได้คะแนนรวมในระดับ “พอใช้”Jané iMatrix + iPlatform ComfyGraco Turn2MeBesafe StretchLionelo Antoon PlusSilver Cross Motion All Size 360Chicco Seat2Fit i-SizeRecaro Toria EliteAxkid Minikid 3Chicco Seat3Fit i-SizeCasualplay Backfix i-SizeJoie i-Spin Grow คาร์ซีทรุ่นที่เราไม่แนะนำJané Koos i-Size R1 + iPlatform ComfyUrban Kanga Uptown TV107Lionelo Antoon RWFKinderkraft Comfort UpWalser Kids Expert Noemi

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 249 หมวกนิรภัยสำหรับนักปั่น

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจทั้งสายเขียวและสายสปอร์ต ด้วยผลทดสอบ “ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายต่อศีรษะ” ของหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน         คุณอาจสงสัย ... จะทดสอบไปทำไม สินค้าแบบนี้ต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยก่อน จึงจะวางขายในตลาดได้ ไม่ใช่หรือ         คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว หมวกนิรภัยทั้งหมดที่เรานำมาทดสอบนั้นผ่านมาตรฐานที่มีในปัจจุบัน เพียงแต่มาตรฐานดังกล่าวกำกับเฉพาะการลดแรงกระแทกกับพื้นในแนวตั้งฉาก และเกณฑ์ที่ให้ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน ก็วัดจากประสิทธิภาพในการป้องกัน “การบาดเจ็บรุนแรงต่อศีรษะ” เท่านั้น         องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิกที่เป็นองค์กรผู้บริโภคจากประเทศต่างๆ) จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสตราสบวร์ก ประเทศฝรั่งเศส และ Certimoov องค์กรที่รณรงค์เรื่องความปลอดภัยของหมวกนิรภัยจักรยาน ทำการทดสอบครั้งนี้ขึ้นตามวิธีทดสอบที่พัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะการเกิดอุบัติเหตุของคนขี่จักรยานมากขึ้น เช่น เวลาที่ถูกรถยนต์ชนแล้วตัวลอยขึ้นไปจนศีรษะกระแทกกับกระจกหน้ารถ เป็นต้น         ในการทดสอบครั้งนี้นอกจากจะวัดประสิทธิภาพการป้องกันการบาดเจ็บเมื่อศีรษะกระแทกในแนวตั้งฉาก (ด้านหน้า/ด้านหลัง/ด้านข้าง) แล้ว ยังทดสอบการกระแทกกับพื้นเอียง 45 องศา (ด้านหน้า/ด้านหลัง/ด้านข้าง) อีกด้วย ทั้งหมดเป็นการทดสอบด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ และเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์ในหัวหุ่นยนต์ทดสอบ         นอกจากนี้ยังเพิ่มเกณฑ์ที่อ้างอิงงานวิจัยด้านชีวกลศาสตร์ รวมถึงนำ “อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ” หรือ “อาการโคม่าในระยะสั้น” มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำข้อเสนอในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น         จากหมวกนิรภัยที่เปิดตัวในปี 2021 จำนวน 27 รุ่น ที่นำมาทดสอบ เราพบว่ากลุ่มที่ดีที่สุดได้ไป 70 คะแนนจากคะแนนเต็มร้อย ในขณะที่กลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุดนั้นได้ไป 80 คะแนน สนนราคาก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 1,100 บาท ไปจนถึง 6,700 บาท        ข่าวดีคือหมวกนิรภัยประสิทธิภาพดีในราคาไม่เกิน 2,000 บาทนั้นมีอยู่จริง และเรายังได้ข้อสรุปเช่นเคยว่าของแพงไม่จำเป็นต้องดี และของดีไม่จำเป็นต้องแพง แต่หากของชิ้นไหนถูกมากก็อย่าเพิ่งวางใจ ว่าแล้วก็พลิกไปดูผลการทดสอบกันเลย        · ขอย้ำว่าการจัดอันดับครั้งนี้เป็นเรื่อง “ความปลอดภัย” ล้วนๆ  เรื่องความสวยงามหรือความรู้สึกสบายเวลาสวมใส่ ต้องแล้วแต่ความพึงพอใจของผู้ใช้ สิ่งสำคัญคือการทดลองสวมก่อนตัดสินใจ และราคาที่เราแจ้งเป็นราคาที่องค์กรสมาชิกในยุโรปซื้อจากร้านทั่วไปเป็นหน่วยเงินยูโร ที่เราแปลงมาเป็นหน่วยเงินบาท ก่อนซื้อโปรดตรวจสอบอีกครั้งเช่นกัน  ---------- กฎหมายว่าด้วยการสวมหมวกนิรภัย        ปัจจุบันมีเพียงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เท่านั้นที่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ที่ขับขี่จักรยาน (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) สวมหมวกนิรภัย ในขณะที่กฎหมายประเทศมอลต้าใช้บังคับกับผู้ใหญ่เท่านั้น ส่วนสวีเดน สโลเวเนีย และสาธารณรัฐเช็ก นั้นบังคับเฉพาะในกลุ่มเด็ก บางประเทศอย่างสเปนบังคับการสวมหมวกเมื่อขับขี่จักรยานในเขตเมือง แต่ยกเว้นให้กรณีที่ถีบขึ้นเขา         บางประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ก็มีจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่มีการ “บังคับสวมหมวก” เนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมการใช้จักรยาน การรณรงค์ให้คนสวมหมวกนิรภัยนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ทำให้คนรู้สึกว่าการใช้จักรยานเป็นเรื่องอันตราย และไม่อยากใช้จักรยาน         ในออสเตรเลียก็มีกลุ่ม Bicycle Network ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายบังคับสวมหมวก โดยอาจมีช่วงทดลอง 5 ปี ให้บุคคลอายุเกิน 17 ปีสามารถเลือกได้ว่าจะสวมหมวกนิรภัยหรือไม่ และรัฐจะต้องใส่ใจลด “ตัวอันตราย” ที่แท้จริงสำหรับนักปั่น ซึ่งพวกเขาบอกว่ามันคือรถยนต์นั่นเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 247 รองเท้าเดินป่าแบบหุ้มข้อ

        การมาเยือนของโควิด-19 อาจทำให้หลายคนรู้สึกว่าการเดินห้างมัน “เอ้าท์” และการใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงด้วยการบุกป่าฝ่าลำธารน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจ “ขาลุย” อีกครั้งด้วยผลทดสอบเปรียบเทียบรองเท้าเดินป่าแบบหุ้มข้อ สำหรับคนที่กังวลเรื่องความเสี่ยงจากอาการเท้าแพลงเพราะสะดุดรากไม้หรือก้อนหิน (ก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอผลการทดสอบรองเท้าเดินป่าแบบธรรมดาไว้ในฉบับที่ 222 แถมด้วย “เป้เดินป่า” ในฉบับที่ 216 และ 245)          ครั้งนี้มีรองเท้าถูกส่งเข้าแข่งขันทั้งหมด 16 รุ่น (สนนราคาตั้งแต่ประมาณ 2,300 ไปจนถึง 11,200 บาท)* โดยองค์กรผู้บริโภคจากออสเตรีย สวีเดน สโลเวเนีย และ สาธารณรัฐเช็ค ข้อตกลงเบื้องต้นคือต้องเป็นรองเท้าเดินป่าที่เหมาะกับการสวมใส่ในทุกฤดูกาล  และมีทั้งรุ่นสำหรับผู้หญิงและผู้ชายคะแนนจากการทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ        1. คะแนนจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 70)             - การกันน้ำ (ทดสอบโดยการแช่รองเท้าที่ระดับความลึกของน้ำถึงกึ่งกลางระหว่างรูร้อยเชือกที่หนึ่งและสอง เป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก) การรักษาอุณหภูมิ และการระบายอากาศ              - ความทนทานต่อการขีดข่วนหรือสึกหรอ (กาว เชือกผูก พื้นรองเท้าด้านในและด้านนอก)             - ประสิทธิภาพในการกันลื่น บนพื้นผิวเซรามิกและกระเบื้องดินเผา ทั้งขณะเปียกและแห้ง (วัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน)            - การดูดซับแรงกระแทก         2. คะแนนจากความเห็นของผู้ทดลองสวมใส่  (ร้อยละ 30)ใส่/ถอดสะดวก ผูกเชือกง่าย สวมใส่สบาย กระชับ ไม่กัดเท้า เดินได้อย่างมั่นใจทั้งบนพื้นผิวที่เปียกและแห้ง ใส่แล้วรู้สึกไม่ร้อน ไม่อับชื้น และทำความสะอาดง่าย เป็นต้น          * อ้างอิงจากราคาที่ซื้อเป็นหน่วยยูโร          * ในการทดสอบครั้งนี้ใช้รองเท้ารุ่นละ 5 คู่ (1 คู่ ส่งเข้าห้องแล็บ  2 คู่สำหรับอาสาสมัครหญิง และอีก 2 คู่ สำหรับอาสาสมัครชาย) อัตราค่าทดสอบอยู่ระหว่าง 312.42 – 356.42 ยูโร (ประมาณ 12,000 – 14,000 บาท) ต่อตัวอย่าง รุ่นที่มีหนังเป็นส่วนประกอบจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ความคิดเห็น (0)