ฉบับที่ 52 รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่น ๆ

ายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่นๆ
เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยอย่าไปเลือก
้ข้อถกเถียงเรื่องอันตรายของผงชูรสจะยังไม่ลงตัว ณ เวลานี้ แต่จากข้อมูลที่ฉลาดซื้อได้นำเสนอไปในเรื่องเด่นของฉบับนี้ ก็ทำให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ต่อสุขภาพของคนเราโดยเฉพาะ เด็ก สตรี และผู้ป่วย

การใช้เกณฑ์ปลอดภัยไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องเหมาะสมสำหรับสุขภาพของเราในยุคที่มีสารพิษอยู่รอบตัวเต็มไปหมด การหลีก การเลี่ยงผงชูรสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ ยุคที่เรารักและห่วงสุขภาพ และไม่อยากให้ภัยใด ๆ มาแย่งชิง
.............................................................

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ที่ฉลาดซื้อได้ไปเก็บมาพบว่ามีผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนเพื่อการจำหน่ายวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหารมากถึง 190 เลขทะเบียน รายชื่อ 89 เลขทะเบียนที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนี้ส่วนใหญ่เป็นผงชูรส มีส่วนน้อยที่อาจเป็นสารเคมีเพื่อใช้ในการปรุงรสชนิดอื่น ๆ แต่ทั้งหมดถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป

ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต วัตถุเคมีที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหารได้ แต่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต-ผู้นำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิต/นำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

นั่นย่อมหมายถึงว่าผงชูรสไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเต็มร้อย แม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็เคยมีประกาศให้ผงชูรสต้องกำหนดคำเตือนบนซองผงชูรสว่า "ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารกหรือหญิงมีครรภ์"  แต่คำเตือนนี้ได้สูญหายไปในช่วงเวลาที่ยอดขายของผงชูรสเติบโตขึ้นมาแทนที่ คำเตือนจึงเหลือเพียงแต่การโฆษณาสรรพคุณ และชื่อยี่ห้อที่เต็มไปด้วยคำโอ้อวดว่าทำให้รสชาติของอาหารอร่อยอย่างล้ำเลิศ การหลีกเลี่ยงผงชูรสหรือหยุดบริโภคจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้บริโภค และไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสุขภาพหรือรสชาติอาหารแบบไทย ๆ ของเรา

ความหมายอักษรย่อของเลขทะเบียนวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร