แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ
เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค ยาดม ฉลาก ยาดมสมุนไพร
แม้ว่ามาสคาราจะมียอดขายลดลงเพราะมีขนตาปลอมและบริการต่อขนตาเข้ามาแย่งตลาด แต่ค่ายเครื่องสำอางก็ยังส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัยที่รักการมีขนตางอนงาม หากยังคิดไม่ตกว่าจะเลือกมาสคารายี่ห้อไหน ลงทุนเท่าไรถึงจะคุ้มค่า ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบมาสคารา 24 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อปลายปี 2565 มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ (ติดตามผลการทดสอบเปรียบเทียบมาสคารามาครั้งก่อนหน้านี้ได้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 138) การทดสอบครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน - การทดลองใช้ โดยผู้ที่เชี่ยวชาญ (ด้านการใช้มาสคารา) ที่ใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 30 วัน และตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้งาน เช่น การเปิด/ปิด ความถนัดในการจับด้ามแปรง ความหนาและความโค้งงอนของขนตา ความสม่ำเสมอของเนื้อผลิตภัณฑ์บนเส้นขนตา ความเร็วในการแห้ง การติดทนและไม่ทิ้งคราบ ความยากง่ายในการล้างออก และอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น - การให้คะแนนโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยดูจากภาพถ่ายดวงตา ก่อนและหลังการใช้มาสคารา - การทดสอบในห้องปฏิบัติการซึ่งแบ่งออกเป็น · การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามและปริมาณโลหะหนัก และ · การวัดปริมาณมาสคาราที่เหลือค้างในบรรจุภัณฑ์ (ทดสอบโดยใช้แปรงจุ่มมาสคาราในหลอดแล้วนำมาเช็ดออก ทำซ้ำจนกว่าจะไม่มีสีติดที่กระดาษหรือหลังมือ จากนั้นนำบรรจุภัณฑ์มาชั่งน้ำหนัก ก่อนจะนำไปล้างและเช็ดให้แห้งด้วยสำลีก้าน แล้วนำมาชั่งอีกครั้งเพื่อหาส่วนต่าง) ผลทดสอบที่น่าสนใจ · การทดสอบครั้งนี้พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่มีสารเคมีหรือโลหะหนักเช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม นิกเกิล ฯลฯ เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ที่น่าสนใจคือตรวจไม่พบสารเหล่านี้เลยในมาสคาราของ Benefit Lancome และ Kiko · ในเรื่องของความพึงพอใจและความสามารถในการแปลงลุคขนตาของผู้ใช้ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเสมอไป แม้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนสูงสุด YVES SAINT LAURENT Mascara Lash Clash จะมีราคาเกิน 1,300 บาท แต่ ISADORA Build-Up Mascara Extra Volume ที่ได้คะแนนตามมาติดๆ ราคาไม่ถึง 500 บาท และมาสคาราหลายยี่ห้อที่ราคาเกินหนึ่งพันบาท ก็ได้คะแนนในอันดับไม่ดีนัก---ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้มาสคาราที่เปิดใช้งานมานานเกิน 3 เดือน และไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับใคร
เมื่อแฟนคลับสุภาพบุรุษส่งข้อความมาถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรลออนฟอร์เมน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงจัดให้ตามคำขอ พอเราได้ไปสำรวจก็พบว่า ผลิตภันฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับผู้ชายนั้นมีให้เลือกหลายรูปแบบและหลายสูตรมาก โดยหลักๆ เน้นประสิทธิภาพของการระงับกลิ่นกายและลดเหงื่อ ซึ่งสินค้ากลุ่มที่เน้นเพศชายนี้ส่วนใหญ่ใช้คำโฆษณาที่ระบุถึงประสิทธิภาพ เช่น พลังหอม เย็นสดชื่น แห้งสบายผิว ระงับกลิ่นนาน หอมปกป้องยาวนาน มั่นใจตลอดวัน นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข็มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือก”ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับผู้ชาย” จำนวน 18 ตัวอย่าง 11 ยี่ห้อ เมื่อเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2566 มาสำรวจฉลากดูคุณสมบัติ ส่วนประกอบที่เสี่ยงเกิดอาการระคายเคือง (อะลูมิเนียมคลอโรไฮเดรต แอลกอฮอล์ และน้ำหอม) สารกันเสียที่พึงระวัง (ไตรโคลซาน และพาราเบน) ระยะเวลาติดทนนาน และราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ใช้ตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้กลิ่นตัวหาย กลิ่นกายหอม เสริมความมั่นใจอย่างปลอดภัยและคุ้มค่า ผลการสำรวจฉลาก จากผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับผู้ชาย จำนวน 18 ตัวอย่าง 11 ยี่ห้อ แบ่งเป็นรูปแบบลูกกลิ้ง(โรลออน) 11 ตัวอย่าง แบบแท่ง(สติ๊ก) 2 ตัวอย่าง และแบบสเปรย์ 5 ตัวอย่าง พบว่า - ทุกตัวอย่างระบุว่ามีคุณสมบัติระงับกลิ่นกาย - 8 ตัวอย่าง ระบุว่ามีคุณสมบัติทั้งระงับกลิ่นกายและลดเหงื่อ ได้แก่ ยี่ห้อทรอส เฟรช & โพรเทค ดีโอ โรลออน และเอไอ เชิ้ต โพรเทคชั่น ดีโอ โรลออน ยี่ห้อนีเวีย เมน คูล คิก โรลออน, ซิลเวอร์ โพรเทค โรลออน, ดราย อิมแพ็ค สติ๊ก และคูล คิก สเปรย์ ยี่ห้ออาดิดาส ไอซ์ไดฟ์ แอนตี้-เพอร์สพิแรนท์ และยี่ห้อวัตสัน เมน อินสแตนท์ คูลลิ่ง โรลออน ดิโอโดแรนท์ - 11 ตัวอย่าง ระบุว่ามีอะลูมิเนียมคลอโรไฮเดรต หรือคิดเป็น 61.11% ของตัวอย่างทั้งหมด - 6 ตัวอย่าง ไม่ระบุว่ามีแอลกอฮอล์ ได้แก่ ยี่ห้ออาดิดาส ไอซ์ไดฟ์ แอนตี้-เพอร์สพิแรนท์, ทรอส เอไอ เชิ้ต โพรเทคชั่น ดีโอ โรลออน, วัตสัน เมน อินสแตนท์ คูลลิ่ง โรลออน, โอเรียนทอล พริ้นเซส ฟอร์เมน, ดีโอ เคลียร์ คลาสิค เพียว (สติ๊ก) และนีเวีย เมน คูล คิก สเปรย์ - ทุกตัวอย่างระบุว่ามีน้ำหอม ยกเว้น ยี่ห้อดีโอ เคลียร์ คลาสิค เพียว(สารส้มแท่ง) - พบ ไตรโคลซาน ในยี่ห้อโฟกัส ไอซ์ซี่ เฟรช คูลลิ่ง โรลออน - พบ พาราเบน (Methyl Paraben และ Propyl Paraben)ในยี่ห้อโอเรียนทอล พริ้นเซส ฟอร์ เมน อัลตร้า เฟรช แมคซิมัม โพรเทคชัน ดีโอเดอแรนท์ - มี 10 ตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาติดทนนานไว้ 48 ชั่วโมง และมี 1 อย่างระบุไว้ 24 ชั่วโมง - เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตรจากทุกตัวอย่างที่สำรวจ พบว่า ยี่ห้อนีเวีย เมน ดราย อิมแพ็ค สติ๊ก มีราคาแพงสุด คือ 4.38 บาท ส่วนยี่ห้อดีโอ เคลียร์ คลาสิค เพียว(สติ๊ก) มีราคาถูกสุด คือ 1.08 บาท แต่หากเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร เฉพาะในกลุ่มโรลออล 11 ตัวอย่าง พบว่า ยี่ห้อโอเรียนทอล พริ้นเซส ฟอร์ เมน มีราคาแพงสุดคือ 2.85 บาท และยี่ห้อโฟกัส ไอซ์ซี่ เฟรช คูลลิ่ง โรลออน และไคลแม็กซ์ โรลออน มีราคาถูกสุดคือ 1.13 บาท ส่วนในกลุ่มสเปรย์ 5 ตัวอย่าง มีราคาใกล้เคียงกัน อยู่ที่ตั้งแต่ 1.11 – 1.35 บาท ข้อสังเกต - ยี่ห้อนีเวีย เมน ซิลเวอร์ โพรเทค โรลออน แสดงข้อมูลบนฉลากไม่ครบ เช่น ไม่ระบุเลขที่ใบรับจดแจ้ง ส่วนประกอบ และที่อยู่ผู้ผลิต/จัดจำหน่าย เป็นต้น - 8 ตัวอย่างที่มีคุณสมบัติลดเหงื่อ ส่วนใหญ่มีสารอะลูมิเนียมคลอโรไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก ยกเว้น ยี่ห้อนีเวีย เมน ดราย อิมแพ็ค สติ๊ก ที่มีสารลดเหงื่อชนิดอื่นคือ อะลูมินัมเซอร์โคเนียมเททระคลอโรไฮเดรกซ์ (Aluminum Zirconium Tetracholorohydrex) และ อะลูมีเนียมเซสคิวคลอโรไฮเดรต (Aluminum Sesquichlorohydrate) - ยี่ห้อดีโอ เคลียร์ คลาสิค เพียว(สติ๊ก) เป็นสารส้มประเภทแอมโมเนียมอะลัม (Ammonium Alum) ที่ทําให้เกิดสารประกอบของเอมีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ผิวหนังและตาได้ แต่ไม่ปรากฏคำเตือนนี้บนฉลากผลิตภัณฑ์ - มีเพียง 4 ตัวอย่างที่ระบุถึงความปลอดภัย เช่น 0%Paraben 0%Aluminum Salts ไม่มีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ทำให้แพ้หรือระคายเคือง เป็นต้น ฉลาดซื้อแนะ - บางยี่ห้อนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นจุดขาย ผู้บริโภคอย่าเพิ่งเชื่อโฆษณา ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีเลขที่ใบรับจดแจ้งชัดเจน และมีฉลากภาษาไทยแสดงรายละเอียด เช่น ชื่อและชนิดของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ วันเดือนปีที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/หรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ให้ครบถ้วน - ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ เพราะแต่ละคนอาจเกิดอาการแพ้ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแพ้แอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือสารกันเสียในผลิตภัณฑ์ ถ้าพบความผิดปกติใด ๆ ต้องหยุดใช้ทันที อย่าเสียดาย - ก่อนตัดสินใจซื้อ ควรอ่านฉลากดูว่ามีส่วนประกอบที่อาจเป็นอันตรายไหม แล้วเลือกรูปแบบที่ชอบและกลิ่นที่ใช่ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง จากนั้นมาดูประสิทธิภาพว่าระงับเหงื่อและกลิ่นตัวได้นานขนาดไหน อย่างน้อยต้อง 24 ชั่วโมง จะได้ไม่ต้องคอยทาซ้ำระหว่างวัน และหากเจอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์แต่แพงเกินไป อาจไปหายี่ห้ออื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบเหมือนกัน แต่ราคาถูกลงมาหน่อย ก็น่าจะคุ้มกว่า -ใครที่เหงื่อออกเยอะและมีกลิ่นตัวแรงมาก ๆ แนะนำให้ใช้สูตรที่ไม่มีกลิ่นจะดีที่สุด เพราะหากกลิ่นตัวผสมกับกลิ่นน้ำหอมแล้ว อาจยิ่งทำให้เกิดกลิ่นที่แรงกว่าเดิมเข้าไปอีก - ใครที่กลัวว่าจะแพ้หรือเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังจากผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายและลดเหงื่อที่มีขายอยู่ทั่วไป อาจเลือกใช้ “สารส้ม” แทนได้ข้อมูลอ้างอิงบทความ โรลออน ผลิตภัณฑ์….ระงับ “กลิ่นกาย” : ชมพูนุช ไปมูลเปี่ยม (นักวิทยาศาสตร์)ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=24772https://bestreview.asia/best-roll-on-deodorants-for-men/
ในทุก ๆ วัน เส้นผมของเราต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ผมเสียได้มากมาย ทั้งแสงแดด ฝุ่นควัน ความร้อนจากการเป่าและหนีบผม รวมถึงสารเคมีจากการทำสีผม ไฮไลต์ผม และดัดผมอีกด้วย หลายคนจึงนิยมเลือกใช้ “ครีมนวดผม” มาปรับสภาพเส้นผมหลังการสระผม เพื่อให้เส้นผมอ่อนนุ่ม ไม่พันกัน หวีง่าย อีกทั้งช่วยฟื้นฟูและดูแลสุขภาพผมให้ดีขึ้น ในปี 2564 ตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมในประเทศไทย เติบโต 5.6% มูลค่ารวม 30,000 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดถึง 74% (Euromonitor, 2021) ส่วนในรายงานการตลาดระดับโลกพบว่า ผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมและทรีตเมนต์มีมูลค่าการขายเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปี 2563 (Kantar, 2022) ครีมนวดผมแต่ละยี่ห้อที่มีหลากหลายสูตรให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผมแห้งเสีย ขจัดรังแค ลดผมขาดหลุดร่วง หรือสูตรพิเศษสำหรับผมทำสีก็ตาม มักจะมีสารซิลิโคนและสารกันเสียเป็นส่วนประกอบพื้นฐานอยู่ ดังนั้นหากผู้บริโภคใช้ครีมนวดผมเป็นประจำอาจเสี่ยงสัมผัสสารเคมีเหล่านั้นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ “ครีมนวดผม” จำนวน 12 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อสำรวจฉลากว่า มีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่ ซิลิโคน (Silicone) เป็นสารโพลิเมอร์ใช้เติมลงในครีมนวดเพื่อให้ผมลื่น หวีง่าย เคลือบเส้นผมให้เงางาม แต่ล้างออกยาก จึงเกิดการสะสมอยู่ที่เส้นผมและหนังศีรษะ ใช้บ่อยๆ เส้นผมจะลีบแบนและเป็นมันเยิ้ม ซึ่งสารซิลิโคนที่ตกค้างอาจจะไปอุดตันรูเส้นผม ทำให้เซลล์ผมทำงานผิดปกติ การขับของเสียและดูดซึมสารอาหารลดลง และหากใช้ไปนานๆ จะทำให้ผมร่วงได้ สารกันเสียในครีมนวดผมที่ควรระวังมีดังนี้พาราเบน (Parabens) : มีรายงานว่าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพ ส่งผลให้เป็นมะเร็ง ฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde) : หากสัมผัสสารในปริมาณมากอาจทำให้เกิดผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน จนถึงผิวหนังไหม้ เป็นผื่นอักเสบและติดเชื้อได้ อิมิดาโซลิตินิล ยูเรีย (Imidazolidinyl urea) : อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ และมีอันตรายจนสามารถทำลายเซลล์ผิวได้ เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinone : MIT) : หากเกิดอาการแพ้จะทำให้ผิวอักเสบและมีผื่นแดงขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงควบคุมให้ใช้ในความเข้มข้นตามที่กำหนด และอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วล้างออกเท่านั้น พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) : พบได้ในครีมนวดผมที่มีส่วนผสมของน้ำหอม มีคุณสมบัติทำให้กลิ่นหอมคงตัว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 1.0 % หากสัมผัสกับผิวในปริมาณที่มากอาจทำให้ผิวแพ้ ระคายเคือง และเกิดผดผื่นได้ผลการสำรวจฉลาก “ครีมนวดผม” - พบสารซิลิโคนทั้ง 12 ตัวอย่าง - ไม่พบ พาราเบน ฟอร์มาดีไฮด์ และอิมิดาโซลิตินิล ยูเรีย - พบเมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (MIT) ใน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น 58.33 % ของตัวอย่างทั้งหมด - พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 8 ตัวอย่าง คิดเป็น 66.67 % ของตัวอย่างทั้งหมด - เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร พบว่า ยี่ห้อเคลียร์ แอนตี้แดนดรัฟ สกาล์ป แคร์ คอนดิชันเนอร์ ไอซ์คูล เมนทอล แพงสุดคือ 0.61 บาท ส่วนยี่ห้อซันซิล แดเมจ รีสโตร์เซรั่มคอนดิชันเนอร์ แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น ถูกสุดคือ 0.16 บาท ข้อสังเกต - สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone รองลงมาคือ Amodimethicone และ Dimethiconol ตามลำดับ - ยี่ห้อเคลียร์ แอนตี้แดนดรัฟ สกาล์ป แคร์ คอนดิชันเนอร์ ไอซ์คูล เมนทอล ไม่พบสารกันเสียที่ควรระวังตัวใดเลย - มี 4 ตัวอย่างที่พบสารกันเสียทั้งเมทิลไอโซไทอะโซลิโนนและพีน็อกซี่เอทานอล - ทุกตัวอย่างระบุวันที่ผลิต แต่มี 4 ตัวอย่างที่ไม่ระบุวันหมดอายุ ฉลาดซื้อแนะ - เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนด คือ ชื่อผลิตภัณฑ์ประเภทสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและสถานที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตและปริมาณสุทธิ - ซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ยีสต์และราสูงเกินกำหนด โดยหากเรานำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่อักเสบเป็นสิว แผล และเกิดการติดเชื้อได้ - สังเกตฉลากบนผลิตภัณฑ์เพื่อดูส่วนผสมของสารกันเสียต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว หรือหากใช้ไปแล้วเกิดอาการแพ้ใดๆ ควรหยุดใช้ทันที หรือไปพบแพทย์เพื่อหาว่าแพ้สารชนิดใด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารชนิดนั้นอีกต่อไป - หากครีมนวดผมที่ใช้อยู่มีซิลิโคนและสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ เราจะต้องล้างครีมนวดผมออกให้เกลี้ยงทุกครั้ง เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้างและสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ - ครีมนวดผมจะมีอายุ 2 - 3 ปี ไม่ควรซื้อครีมนวดผมที่ใกล้หมดอายุ โดยเฉพาะต้องดูให้ดีๆ เวลามีโปรโมชั่นลดราคาเยอะๆ เพราะอาจใช้ไม่ทันวันหมดอายุ จนเหลือทิ้ง กลายเป็นซื้อแพงโดยใช่เหตุ - เมื่อต้องการเปลี่ยนครีมนวดผมยี่ห้อใหม่ อาจซื้อแบบซองมาลองใช้ก่อน เพื่อดูว่าแพ้ไหม ใช้แล้วเหมาะกับสภาพผมและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือเปล่า หากใช้ได้ผลดีค่อยซื้อขวดใหญ่คุ้มกว่า - ลองทำครีมนวดผมโฮมเมดง่ายๆ จากสมุนไพรอย่างมะกรูด อัญชัญ และวัตถุดิบในครัวเช่น ไข่ไก่ โยเกิร์ต กล้วย น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น ค้นหาวิธีทำได้จากเว็บไซต์และยูทูบต่างๆ มีหลายสูตรมากข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อ ฉบับที่ 185 ครีมนวด-ครีมหมักผม จำเป็นแค่ไหนhttps://marketeeronline.co/archives/266777https://www.komchadluek.net/news/521385
ก่อนจะออกไปเที่ยวผจญแดดร้อนลมแรงที่ไหน อย่าลืมสำรวจวันหมดอายุของครีม/โลชัน/สเปรย์กันแดดที่มีอยู่ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 2 – 3 ปี แต่ถ้ามันถูกเก็บในบริเวณที่ร้อนมากอย่างคอนโซลหน้ารถ ความสามารถในการป้องกันยูวีอาจเสื่อมไปก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลิตภัณฑ์มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น แยกชั้น หรือจับตัวเป็นก้อน เราขอแนะนำให้คุณซื้อใหม่ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดดที่ทำขึ้นในช่วงต้นปี 2565 มาให้สมาชิกได้เลือกกันถึง 25 ผลิตภัณฑ์ (ค่า SPF30 และ SPF50+) ทั้งแบบครีม โลชัน และสเปรย์ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย แม้จะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนถึงระดับห้าดาว แต่ “ตัวท็อป” ในการทดสอบปีนี้ก็ได้คะแนนรวมไปถึง 74 คะแนน (เทียบกับ 71 คะแนนของปีที่แล้ว) ข่าวดีคือผลิตภัณฑ์ 25 ตัวนี้ไม่มีสารรบกวนฮอร์โมน หรือสารก่ออาการแพ้ Octocrylene D5 แต่การทดสอบก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีผลิตภัณฑ์อีกไม่น้อยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยูวีต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลากหรือในโฆษณา เป็นการตอกย้ำว่าราคาหรือภาพลักษณ์ไม่สามารถรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เสมอไป
ความคิดเห็น (0)