ฉบับที่ 225 สภาผู้บริโภคเกิดช้า...ใครได้ประโยชน์? สปน. จับองค์กรผู้บริโภคเป็นตัวประกัน

        ย้อนกลับไปวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา วันแรกของการยื่นจดแจ้งองค์กรผู้บริโภคคึกคักมาก
วันรุ่งขึ้น วันที่ 23 กรกฎาคม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมิภาคยื่นขอจดจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคทันที เพราะถือว่า ทุกองค์กรต่างทำงานมามากกว่า 2 ปี การจดแจ้งเป็นการแจ้งให้สปน.(สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ทราบว่าเรามีตัวตน แต่ถูกตีกลับเพราะอ้างว่า ยังไม่มีการพิจารณาองค์กร 
        ยกที่หนึ่ง เมื่อถูกตีกลับว่าไม่สามารถจดแจ้งสภาองค์กรผู้บริโภคได้ ทุกจังหวัดไม่ท้อแท้ มีตัวแทนองค์กรไปยื่นจดแจ้งเพิ่มเติม เพราะคาดการณ์กันว่า ภายใน 30 วัน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่า มอบหมาย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือคนที่ปลัดมอบหมาย รับจดแจ้งองค์กรคงใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน เพราะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ เลขาธิการ อย. รับลูกรัฐมนตรีขึ้นทะเบียนเสร็จภายใน 1 วัน  ไฉนเลยการแจ้งความเป็นองค์กรผู้บริโภคน่าจะรวดเร็วกว่าแน่นอน
        ยกที่สอง นายทะเบียนกลางออกประกาศฉบับที่ 2  โดยให้อำนาจสปน. ในการเรียกองค์กรผู้บริโภคไปพบ หรือรายงานตัว ทั้งที่มาตรา 6 ระบุชัดเจนว่าการยื่นจดแจ้ง ต้องไม่มีลักษณะการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นและให้รับฟังความคิดเห็นองค์กรผู้บริโภค รวมทั้งขยายเวลาเป็น 120 วัน จากประกาศฉบับที่ 1 กำหนด 60 วัน สามารถขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน รวม 60 วัน 
        เป็นคำถามต่อจังหวัดที่เหลือและโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่ยังไม่มีใดองค์กรผ่านการจดแจ้ง ปัจจุบันมีเพียง 16 จังหวัดเท่านั้น คิดเป็น 20.78% จำนวน 129 องค์กร ได้แก่ เชียงใหม่ 19 องค์กร เชียงราย 9 องค์กร ลำปาง 18 องค์กร นครปฐม 3 องค์กร ฉะเชิงเทรา  17 องค์กร พะเยา 12 องค์กร ลำพูน 11 องค์กร ปัตตานี 2 องค์กร นราธิวาส 3 องค์กร ร้อยเอ็ด 8 องค์กร สตูล 8 องค์กร สุราษฎร์ธานี 8 องค์กร นครราชสีมา 2 องค์กร สระบุรี 1 องค์กร สระแก้ว  3 องค์กร สมุทรสงคราม 5 องค์กร 
        เนื่องจากการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องการองค์กรริเริ่มไม่น้อยกว่า 150 องค์กร จึงยังไม่สามารถจัดตั้งได้ในปัจจุบัน
        ยกที่สาม วัดความอดทนขององค์กรผู้บริโภคหรือถูกสปน.วางยา? องค์กรผู้บริโภคถูกจับเป็นตัวประกัน ทำให้ตัดสินใจลำบากในการฟ้องคดีปกครองทั้งๆ ที่น่าจะเข้าข่ายการปฏิบัติงานล่าช้าเกินควรจนเกิดความเสียหายต่อองค์กรผู้บริโภค เพราะเลยระยะเวลา 120 วันที่กำหนด
        การเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ของสภาองค์กรผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการมีตัวแทนของตนเองในการให้ความเห็นทางนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่สามารถสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้จัดตั้งสภาผู้บริโภคระดับจังหวัด การแจ้งเตือนภัยสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค ยังไม่สามารถทำได้
        ที่สำคัญ ที่หน่วยงานรัฐไม่ต้องการให้เกิดอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค หรือแม้แต่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคหรือองค์กรของผู้บริโภคทั้งที่มีเรื่องสำคัญเกิดขึ้นมากมายนับแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา

แหล่งข้อมูล: สารี อ๋องสมหวัง

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค สภาผู้บริโภค

ฉบับที่ 252 “จุดประกายความคิด”

        ปฏิเสธไม่ใด้ว่า การเรียกคืนรถนต์ทั่วโลกของหลายบริษัท ในประเทศสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความฮือฮาและแปรเปลี่ยนมาเป็น “พลัง” ให้กับผู้บริโภคทั่วโลกโดยปริยาย         ความรับผิดชอบดังกล่าวของบริษัทผลิตรถยนต์ กลายเป็น“ตัวอย่าง” ที่สร้างแรงกดดันและช่วย “ยกระดับ”มุมมองและความคิดให้กับผู้บริโภคข้ามชีกโลกทันที         เพราะนับจากนี้ไป บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายต่างก็มุ่งหวังตรงกันว่า หากเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ในประเทศของตนเอง ก็อยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาจากบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ ในประเทศของเรา ปฏิบัติตาม“มาตรฐานเดียวกัน” กับประเทศสหรัฐอเมริกา         บทเรียนและประสบการณ์ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจากต่างประเทศที่แตกต่างและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำงานรณรงค์ด้านนโยบาย การทำงานศึกษาวิจัย ความเป็นอิสระขององค์กรในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ต้องพึ่งแหล่งเงินทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน บทบาทขององค์กรผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า (RatingComparative Testing) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค หรือรูปแบบการพึ่งตนเองในการทำงานขององค์กรผู้บริโภค ทั้งจากอตีตหรือในปัจจุบันล้วนมีความสำคัญต่อการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย เพราะสามารถนำมาปรับปรุงเพื่อหาแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ทั้งยังเหมาะสมกับวัฒนธรรมมใของผู้บริโภคในประเทศไทย การถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์การเคลื่อนไหวของผู้บริโภคทั้งจากต่างแดนจะแปรเปลี่ยนเป็น “พลัง” ที่ช่วยจุดประกายและยกระดับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน         เพราะไม่ว่าจะอยู่ชีกมุมไหนของโลก การทำงานก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งจากจุดเล็กๆ และพัฒนาต่อยอดจนผู้บริโภคเชื่อถือ ไว้วางใจกระทั่งก้าวออกมาสนับสนุนเพื่อให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเติบใหญ่อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น         จากหนังสือ “ไปเห็นมากับตา...ทำมากับมือ เปิดเบื้องหลัง “พลัง”ผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 251 “ราคารถไฟฟ้าควรเป็นเท่าใด ทำไมคมนาคมเสนอ 36 บาทและทำไมสภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ 25 บาท”

        ประชาชนจำนวนมากยังไม่ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด บางส่วนยังตั้งคำถามกับราคา 25 บาทที่สภาองค์กรของผู้บริโภคนำเสนอว่าทำได้มั้ย มาจากอะไร         ราคาตั้งต้นของกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าโดยสารที่ 49.83 บาท สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ลดราคาค่าโดยสารลงเหลือ 50% เฉลี่ยที่ 25 บาทโดยยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรถไฟฟ้าจำนวนเท่าเดิมตามตัวเลขของกระทรวงคมนาคม พบว่ากทม. ยังมีรายได้ในปีพ.ศ. 26020 จำนวน 23,200 ล้านบาท ทั้งยังได้รับการยืนยันจาข้อมูลของนักวิชาการว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินรถต่อคนต่อเที่ยวของสายสีเขียวระหว่างปี2557-2562 อยู่ระหว่าง 10.10-16.30 บาท เท่านั้น หรือหากติดตามข้อมูลเรื่องนี้ก็จะพบว่า ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครหรือพรรคการเมืองต่างๆ ยืนยันว่าราคา 20 บาทขึ้นไปเป็นราคาที่ทำได้จริง         แต่สิ่งที่สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหารถไฟฟ้าราคาแพงถึงคนรุ่นต่อไป คือโอกาสของประเทศในการจัดการรถไฟฟ้าทั้งระบบ ระบบตั๋วร่วมการยกเว้นค่าแรกเข้า การกำหนดราคาค่าโดยสารสูงสุด เพราะถึงแม้สายสีเขียวจะถูกลงแต่หากสัญญาสัมปทานไม่มีข้อกำหนดหรือกติกาเหล่านี้ ประชาชนก็ต้องจ่ายราคาแพงในการเดินทางข้ามโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสี ซึ่งสัญญาสัมปทานสายสีเขียวที่นำเข้าสู่การพิจารณาของครม. ไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้เลย และหากจะมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอนคต คงหลีกเลี่ยงค่าโง่ในการดำเนินการมิได้         การดำเนินการครั้งนี้จึงมีความสำคัญกับประชาชน ในการทำให้ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพและการเชื่อมต่อกับจังหวัดรอบๆ ปริมณฑลเป็นจริงเพื่อแก้ปัญหาการจราจร ฝุ่น PM 2.5และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน         ล่าสุดจากการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงคมนาคมวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าสามารถใช้ราคา 36 บาทในการดำเนินการได้จากรายได้ที่กรุงเทพมหานครได้รับ         นอกจากนี้การต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี ได้ถูกตั้งคำถามปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้ดำเนินการตามพรบ. ร่วมทุน และปัญหาค่าโดยสารราคาแพงที่เป็นภาระหนักของผู้บริโภคในอนาคตนานถึง 37 ปี ที่สูงถึง 65 บาท หรือ 39% ของรายได้ขั้นต่ำของ ประชาชน จะมีทางออกอย่างไร ถึงแม้คณะรัฐมนตรีจะยังชะลอการนำเข้าพิจารณาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา         ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีมีความเสี่ยงในการพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งข้อเท็จจริงหรือรายได้ ราคาค่าโดยสารที่ขาดที่ไปที่มา ไม่ครบถ้วน ซึ่งราคาที่กำหนดยังได้รับการยืนยันว่า เป็นการเหมารวมระบบสัมปทานแบบทั้งการเดินรถและสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การโฆษณาตลอดระยะเวลา 37 ปี จึงมั่นใจว่า ราคาค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 25 บาทที่นำเสนอจึงเป็นสิ่งที่ทำได้จริงและหากจะรวมค่าโดยสารรถเมล์หรือบริการขนส่งมวลชนอื่นๆ อีกไม่เกิน 8 บาท รวม 33 บาทจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำได้จริง

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 250 เรื่องหมู ที่ไม่หมู

        สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ ให้นำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งชั่วคราวแบบมีเงื่อนไขจากแหล่งผลิตที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น เร่งปรับโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) และผลักดันท้องถิ่นให้สนับสนุนเกษตรรายย่อยเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ รวมทั้งผู้บริโภคต้องมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ หรือหมูหลุม เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ         สาเหตุของหมูแพงเชื่อว่าผู้บริโภคคงได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากข่าวสารต่างๆในสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเนื้อหมูก่อนหน้า การเป็นโรคอหิวาต์แอฟริการของหมูทำให้มีหมูน้อยลงทั้งระบบ และรวมถึงการปกปิดข้อมูลทำให้การจัดการปัญหาล่าช้า และไม่ทันการณ์การจัดการโรคระบาดซึ่งโดยข้อมูลของหลายหน่วยงานแจ้งว่า ต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 18 เดือน        ทางออกของผู้บริโภคในเรื่องนี้ซับซ้อนมาก ถึงแม้ข้อเสนอระยะสั้นที่ทุกฝ่ายจะเห็นด้วยว่า อาจจะจำเป็นที่จะต้องนำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งชั่วคราวเนื่องจากปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และราคาแพงจนไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค แต่การนำเข้าเนื้อหมูต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนและสนับสนุนให้เกิดทางเลือกในการบริโภคของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยจำกัดเฉพาะเนื้อหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ปลอดจากการใช้สารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น         ส่วนข้อเสนอระยะยาว จะทำอย่างไรให้เกิดโครงสร้างการเลี้ยงหมูของเกษตรรายย่อย ในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยผู้เลี้ยงหมูที่ล้มหายไปไม่น้อยกว่า 200,000 ราย เพื่อทำให้ไม่เกิดการผูกขาดและการกำหนดราคาที่ขึ้นอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้น ดังปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบในการที่จะทำให้เกิดกระบวนการเลี้ยงหมูที่ปลอดภัย ลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นต้นตอของโรคในหมู ต้นตอของความไม่ปลอดภัยและเป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อดื้อยาในมนุษย์ในท้ายที่สุด         บทบาทของหน่วยงานรัฐและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เกิดการสนับสนุนการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติที่รู้จักกันในนามหมูหลุม และผู้บริโภคจะสนับสนุนสิ่งเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร         ส่วนปัญหาโครงสร้างราคาที่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ว่า ราคาหมูเป็น 120 บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเป็นเนื้อหมูทำอาหารทำไมต้องกำหนดราคาเป็นสองเท่าของหมูเป็น และปัญหาวัตถุดิบในการเลี้ยงหมูซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของเกษตรกร นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการเลี้ยงหมูในต่างประเทศ ความเป็นธรรมของราคาต่อผู้บริโภคและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จะมีการจัดการอย่างเป็นระบบอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 249 “ผู้ประกันตนกับบำนาญชราภาพ”

        องค์กรผู้บริโภคเสนอประกันสังคม จ่ายบำนาญชราภาพแบบเดิมและอาจเตรียมเกษียณอายุ 60 ปี สำหรับผู้ประกันตนรายใหม่การริเริ่มของประกันสังคมที่จะยกเลิกการจ่ายบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปี โดยเลื่อนการจ่าบำนาญชราภาพเมื่ออายุ 60 ปีแทนกลุ่มผู้บริโภคมองว่าเรื่องนี้เมื่อสำนักงานประกันสังคมมีสัญญาที่ตกลงไว้กับผู้ประกันตนว่าจะ        สามารถเกษียณอายุได้ที่อายุ 55 ปีและหากส่งเงินสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปีจะได้รับบำนาญชราภาพประมาณ 3,750บาทต่อเดือน หรือหากส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตน 20 ปีก็จะได้รับเงินอยู่ที่ประมาณ 4,125 บาท         สิ่งที่สำนักงานประกันสังคมควรจะดำเนินการซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยก็คือ การขยายเพดานวงเงินสูงสุดของผู้ประกันตนที่สมทบจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท แต่หากเปรียบเทียบกับเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าสัญญาเดิมที่ทำไว้กับผู้ประกันตนก็ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเป็นผู้มีสิทธิในการเลือกว่าจะรับบำนาญที่อายุ 55 ปี หรือ 60 ปี ซึ่งควรเป็นการตัดสินใจของผู้ประกันตนที่จะเลือกสิทธิของผู้ประกันตนนั้นด้วยตัวเอง แต่หากประกันสังคมจะปรับให้จ่ายคืนบำนาญที่อายุ 60 ปีก็ควรดำเนินการกับผู้ประกันตนใหม่หรืออาจจะดำเนินการอย่างเป็นระบบสอบถามความสมัครใจในการที่จะเลือกสำหรับผู้ประกันตนรายเดิมส่วนรายใหม่ก็จัดการปรับแก้กฎหมายให้ชัดเจน ให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพที่ 60 ปี ซึ่งอาจจะส่งผลดีก็คือทำให้บริษัทเอกชนทั้งหลายอาจจะต้องยืดระยะเวลาการจ้างงานจาก 55 ปีเป็น 60 ปีแทนที่ในปัจจุบันบริษัทเอกชนใช้วิธียุติการจ้างเมื่อครบอายุ 55 ปี แล้วให้ลูกจ้างไปรับเงินประกันสังคมแล้วอาจจะทำสัญญาจ้างใหม่อีกรอบซึ่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิต่างๆอีกหลายอย่าง         แต่ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรสำนักงานประกันสังคม ควรจะสอบถามผู้ประกันตนอย่างเป็นระบบเพราะผู้ประกันควรมีสิทธิเลือกและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ         สิ่งสำคัญในการปฏิรูปประกันสังคมอีกส่วน คือ การปรับลดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เรื่องการรักษาพยาบาล เพราะในปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เช่น งบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสำนักงานประกันสังคมควรเร่งพัฒนาเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์และลดการจ่ายเงินในส่วนบริการสุขภาพหรือยุติการจ่ายเงินในส่วนสุขภาพในที่สุดเพราะรัฐบาลควรรับผิดชอบผู้ประกันตนเช่นเดียวกับผู้ป่วยในระบบบัตรทองหรอระบบสวัสดิการข้าราชการซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับ

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)