โดยทั่วไป
คอนโดมิเนียมหรืออพาร์ตเม้นท์
จะมีกฎระเบียบห้ามเลี้ยงสัตว์
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันเรื่องเดือดร้อนรำคาญ
เนื่องจากลักษณะของห้องที่เรียงรายติดต่อกัน
ดังนั้นผู้อยู่อาศัยจึงไม่ควรละเมิดกฎเกณฑ์
แต่หากห้องข้างเคียงทำผิดกฎ
การแจ้งให้ผู้ดูแลอาคารหรือส่วนกลางของคอนโดดำเนินการ
ก็เป็นสิ่งที่กระทำได้
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง
หลายคนแม้รู้สึกถูกรบกวนด้วยการเลี้ยงสัตว์ของเพื่อนห้องข้างๆ
หรือชั้นเดียวกัน
แต่ไม่อยากมีปัญหาที่เกิดจากการฟ้อง
เพราะต้องอาศัยอยู่ด้วยกันอีกนาน
คงอยากได้คำตอบว่า
สามารถทำอย่างไรได้บ้าง
เช่นเดียวกับคุณธรณี
อยู่อพาร์ตเม้นท์ในซอยแห่งหนึ่งมาได้เกือบสามปีแล้ว
จนเมื่อประมาณต้นปี
2562 มีเพื่อนหรือผู้เช่าห้องข้างเคียงใหม่
นำสุนัขมาเลี้ยงไว้ในห้องเช่าด้วย
โดยเจ้าของอพาร์ตเม้นท์ก็รู้เห็น
ปัญหาคือ
เวลาผู้เช่าห้องนั้นไปทำงาน
สุนัขจะเห่าเสียงดังเวลาที่มีคนเดินผ่านหน้าห้อง
ทำให้คุณธรณีเดือดร้อน
รำคาญเนื่องจากเขาอยู่อาศัยในห้องเกือบตลอดเวลา
เคยแจ้งผู้ดูแลอาคารก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้
การไปแจ้งตำรวจผู้ร้องหรือคุณธรณีก็ไม่อยากมีปัญหากับผู้เช่าใหม่
เพราะห้องอยู่ติดกัน
“ผมจะทำอะไรได้บ้าง”
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.ควรแจ้งให้เจ้าของอพาร์ตเม้นท์หรือผู้ดูแลอาคารจัดการปัญหา
โดยขอคำตอบว่า
จะดำเนินการได้เมื่อไร
อย่างไร
เนื่องจากอพาร์ตเม้นท์เป็นสิทธิของเจ้าของว่าจะมีกฎเกณฑ์เรื่องให้เลี้ยงหรือห้ามเลี้ยงสัตว์หรือไม่
และต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าห้องทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
2.ผู้ร้องอาจแจ้งเหตุเสียงดังต่อหน่วยงานท้องถิ่น
เช่น
เทศบาล
เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบเนื่องจากเหตุรำคาญ
เช่น
กลิ่น
เสียง
ฯลฯ
โดยทำเป็นหนังสือแจ้งต่อเทศบาลได้
เมื่อมีการแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่จะดำเนินการเข้ามาตรวจพื้นที่และแก้ไขปัญหา
ตาม
พ.ร.บ.
การสาธารณสุข
พ.ศ.
2535
3.กรณีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ ควรทำหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานเขต เพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ข้อ 16 (3) มีหลักว่า ในการเลี้ยงสุนัข เจ้าของสุนัขต้องควบคุมดูแลสุนัขมิให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เช่น ก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ
200 point