ฉบับที่ 223 แชมพู “กู้” ผมเสีย

           ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อกอบกู้สภาพเส้นผม เรามีผลการทดสอบแชมพูสำหรับผมเสีย ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ได้ทำการทดสอบไว้ แต่เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 26 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราทั้งในห้างและร้านค้าออนไลน์
ในภาพรวม แชมพูทั้งหมดได้คะแนนการชำระความสกปรกออกจากเส้นผมในระดับห้าดาว แต่คะแนนด้านอื่นๆ ยังแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและฉลากที่อวดอ้างว่าสามารถซ่อมแซมผมเสียได้ อยากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ไหนน่าซื้อหามาใช้ที่สุด เชิญติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป




---   
คะแนนเต็ม 100 ในการทดสอบ แบ่งสัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
40 คะแนน       ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทดลองสระผมให้อาสาสมัคร แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพผมทั้งขณะแห้งและเปียก รวมถึงปริมาณฟองด้วย           
30 คะแนน      ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ ความรู้สึกสะอาด อาการระคายเคือง และปริมาณฟอง
10 คะแนน      การสระผงสีออกจากเส้นผมในห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดความสะอาด
10 คะแนน      ส่วนประกอบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม          
10 คะแนน       ฉลากที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมแซมผมเสีย
---     
        · การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตัวอย่างละประมาณ 105,000 บาท
          มีอาสาสมัครร่วมทดสอบทั้งหมด 375 คน เป็นหญิง/ชาย อายุระหว่าง 18 – 75 ปี ที่มีผมยาวตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตรขึ้นไป สภาพผมเสียปานกลางถึงเสียมาก อาสาสมัครเหล่านี้มีกลุ่มที่ผมเส้นเล็กและเส้นใหญ่           และผมตรงถึงผมหยิกปานกลาง
          อาสาสมัครหนึ่งคนจะใช้เพียงสองผลิตภัณฑ์เท่านั้น 










   

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค แชมพู ผมเสีย

ฉบับที่ 274 ภัยครีมผิวขาวผิดกฎหมาย

ธันวาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลการทดสอบเครื่องสำอางที่ขายผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์พบสารห้ามใช้ 8 รายการ อาทิ ปรอท สารสเตียรอยด์ ที่อาจทำให้เกิดการแพ้ เกิดฝ้าถาวร เสี่ยงพิษร้ายแรง  ทำให้หวนนึกถึงเหตุการณ์เมื่อต้นปี 2566 ที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) EcoWaste Coalition จากประเทศฟิลิปปินส์ และเครือข่ายการกำจัดมลพิษระหว่างประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (IPEN-SEA) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคมจากกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ติดตามปัญหามลพิษในระดับนานาชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่  6 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเรียกร้องให้ อย. เปิดเผยรายชื่อรายการเครื่องสำอางที่ปนเปื้อนสารปรอทที่มีการเพิกถอนแล้วให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงขอให้นำระบบการแจ้งเตือนภายหลังออกสู่ท้องตลาดของอาเซียน (ASEAN Post-Marketing Alert System: PMAS) มาใช้แจ้งเตือนหน่วยงานรัฐและผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนให้ทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นโดยไม่คำนึงถึงข้อกำหนดต่างๆ โดยเฉพาะที่ปนเปื้อนสารปรอทและสารต้องห้าม หรือสารควบคุมอื่นๆ  “ได้โปรดดำเนินการจัดการผู้กระทำความผิด เพื่อยุติการขายเครื่องสำอางที่มีการปนเปื้อนของสารปรอทอย่างผิดจริยธรรมและกฎหมาย และเพื่อปกป้องสิทธิทางสุขภาพที่ดีและสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ไร้มลพิษ”         เครื่องสำอางที่เอ็นจีโอฟิลิปปินส์ EcoWaste Coalition  ตรวจพบการปนเปื้อนของสารประกอบของปรอทนั้น ได้แก่       ครีมเลดี้โกลด์ สาหร่ายทองคำ ผสมกลูต้า, ครีม Super Gluta Brightening, ครีมหมอยันฮี จำนวน 5 สูตร (Dr. Yanhee), ครีม Dr. วุฒิ-ศักดิ์ จำนวน 2 สูตร (Dr. Wuttisak), ครีมสมุนไพรสาหร่ายเหมยหยง ซุปเปอร์ไวท์เทนนิ่ง (Meyyong Seaweeds Super Whitening), ครีมพอลล่าโกลด์ (Polla Gold Super White Perfects), ครีมไข่มุกนาโน (White Nano), ครีมบำรุงหน้า 88 สูตรกลางคืน (88 Whitening Night Cream), ครีมรักแร้ขาว 88 (88 Total White Underarm Cream) และครีมรักแร้ขาว สโนว์ไวท์ (Snow White Armpit Whitening Underarm Cream) ซึ่งพบสารปรอทในปริมาณที่สูงมากระหว่าง 2,486 ppm ไปจนถึง 44,540 ppm และทุกตัวอย่างฉลากระบุว่า “ผลิตในประเทศไทย”          ต่อมาทาง อย.ได้สื่อสารต่อสาธารณะในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 โดย ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ว่า  “อย. ตรวจสอบพบว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้ง 13 รายการ จดแจ้งแล้ว 1 รายการ ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการกระทำผิดหรือลักลอบใส่สารห้ามใช้ จะถูกดำเนินการตามกฎหมายและประกาศผลวิเคราะห์ทันที สำหรับเครื่องสำอางเถื่อน อย. จะประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาแหล่งผลิตและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” ในไทยก็ขายเกลื่อน         จากข้อสรุปข้างต้นคือ เครื่องสำอางที่เอ็นจีโอฟิลิปปินส์พบการปนเปื้อนสารประกอบของสารปรอทนั้น เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ไม่มีการกำกับเบื้องต้นจากหน่วยงาน อย. หรือไม่มีเลขจดแจ้ง (เครื่องหมาย อย.สำหรับเครื่องสำอาง) สำหรับ 1 ตัวอย่างที่พบเลขจดแจ้ง ต้องรอดูว่า ทาง อย.จะดำเนินการอย่างไร จะยกเลิกสถานะและดำเนินคดีทางกฎหมายหรือไม่         อย่างไรก็ตามทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง ตั้งข้อสังเกตว่า แล้วทำไมสินค้าเครื่องสำอางปลอมจึงระบาดไกลไปถึงฟิลิปปินส์ และในประเทศไทยจะยังมีวางขายหรือไม่ หาซื้อง่ายหรือไม่  จึงได้ทดลองหาซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทอ้างว่าทำให้ผิวขาวหรือครีมผิวขาวผิดกฎหมาย โดยตั้งใจตามหายี่ห้อเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ทางเอ็นจีโอฟิลิปปินส์พบว่ามีการปนเปื้อนสารประกอบของปรอท ในเดือนมีนาคม 2566 หลังจากนั้นเพื่อยืนยันในเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปรากฎแลขจดแจ้ง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นสินค้าผิดกฎหมายเหล่านี้ มีการใส่สารต้องห้าม อย่างปรอทจริงหรือไม่ (เมื่อจำหน่ายในประเทศ) ฉลาดซื้อและมูลนิธิบูรณะนิเวศ จึงได้ทดสอบผลิตภัณฑ์จำนวน 12 ตัวอย่างที่เก็บตัวอย่างมา โดยทดสอบด้วย  ชุดตรวจปรอทในเครื่องสำอางเบื้องต้น (Mercury test kit in cosmetic)    พบว่า มีสารประกอบของปรอททุกตัวอย่าง ในไทยก็ขายเกลื่อน         จึงฝากเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้บริโภค อย่าซื้อ อย่าใช้เครื่องสำอางผิดกฎหมาย ถ้าไม่แน่ใจเลขจดแจ้งที่ผู้ผลิตระบุ ตรวจสอบได้ที่  https: //oryor.com/check-product serial ลิ้งก์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) (oryor.com)  อันตรายของเครื่องสำอางที่มีการพบสารปรอท อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ       ข้อแนะนำ         1.ซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน น่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน         2.ฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อทางการค้า ประเภทเครื่องสำอาง ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตหรือปีเดือนที่ผลิต คำเตือน (ถ้ามี) และเลขที่ใบรับจดแจ้ง         3.กรณีที่พบผลิตภัณฑ์ ที่สงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ                   

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 270 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก (ลีฟออน)

            ผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติปกป้องและบำรุงเส้นผมภายนอกจะมีทั้งที่เป็นน้ำมัน เซรั่ม เจลวิตามิน และลีฟออนครีม จัดเป็นไอเท็มโดนใจสำหรับใครที่ต้องการปรับสภาพเส้นผมที่แห้งเสีย เนรมิตให้ผมไม่ชี้ฟู ดูมีน้ำหนัก และเงางามสลวยได้ทันใจในชั่วโมงเร่งด่วน หรือต้องการปกป้องเส้นผมจากความร้อนของแสงแดดหรืออุปกรณ์ทำผมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเส้นผมที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างออก แสดงว่าส่วนประกอบต่างๆ จะเคลือบเกาะติดอยู่บนเส้นผมนานกว่าแชมพูและครีมนวดที่ต้องล้างออกทันที ดังนั้นนอกจากคาดหวังผลลัพธ์ให้ผมสวยแล้ว ผู้บริโภคควรใส่ใจความปลอดภัยจากสารที่อาจตกค้างหลังใช้ด้วย           นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดไม่ต้องล้างออก จำนวน 12 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อสำรวจฉลากว่า มีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         ซิลิโคน (Silicone) เป็นสารโพลิเมอร์ที่ใช้เพื่อให้ผมลื่น หวีง่าย เคลือบเส้นผมให้เงางาม แต่ล้างออกยาก จึงเกิดการสะสมอยู่ที่เส้นผมและหนังศีรษะ ใช้บ่อย ๆ เส้นผมจะลีบแบนและเป็นมันเยิ้ม ซึ่งสารซิลิโคนที่ตกค้างอาจจะไปอุดตันรูเส้นผม ทำให้เซลล์ผมทำงานผิดปกติ การขับของเสียและดูดซึมสารอาหารลดลง และหากใช้ไปนานๆ จะทำให้ผมร่วงได้         พาราเบน (Parabens) : สารกันเสียที่มีรายงานว่าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพ ส่งผลให้เป็นมะเร็ง         พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) : สารกันเสียที่มีคุณสมบัติทำให้กลิ่นหอมคงตัว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 1.0 % หากสัมผัสกับผิวในปริมาณที่มากอาจทำให้ผิวแพ้ ระคายเคือง และเกิดผดผื่นได้ ผลการสำรวจ ·     พบสารซิลิโคน ใน 11 ตัวอย่าง คิดเป็น 91.67% ของตัวอย่างทั้งหมด·     พบพาราเบน ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน, โลแลน อินเทนซ์ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ฟอร์ เอ็กซ์ตร้า ดราย แฮร์ และฟรี แอนด์ ฟรี แดเมจ เอด·     พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น, แพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน และแคริ่ง เมอร์เมด ซุปเปอร์ ซิลกี้·     เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ  1 มิลลิลิตร พบว่า ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม แพงที่สุดคือ 4.20 บาท ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ถูกที่สุดคือ 0.98 บาท ข้อสังเกต·     ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม ไม่พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone (9 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Cyclopentasiloxane (8 ตัวอย่าง) และ Dimethiconol (6 ตัวอย่าง)·     สารกลุ่มพาราเบนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Methylparaben (3 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Propylparaben (2 ตัวอย่าง)·     ตัวอย่างทั้งหมดที่ระบุวันผลิตไว้ ผลิตในปี 2003  ยี่ห้อเอ็กซ์คิวท์ มี ออร์แกนิค อาร์แกน ออยล์ แฮร์ เซรั่ม ระบุอายุไว้นานสุดคือ 5 ปี ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น ระบุอายุไว้น้อยสุดคือ 2 ปี โดยส่วนใหญ่ระบุไว้ที่ 3 ปี ·     ยี่ห้อลอรีอัล ปารีส เอลแซฟ เอ็กซ์ตรอว์ดินารี่ ออยล์ เฟรนช์ โรส ออยล์ อินฟิวชั่น ฟรากรานซ์ แฮร์ ออยล์ และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ระบุเฉพาะวันผลิต ส่วนยี่ห้อเดอะเฟสซ็อป เอสเซ็นเชี่ยล ดาเมจ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ระบุเฉพาะวันหมดอายุในปี 2024 ·     ทุกตัวอย่างระบุวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ไว้ และมี 6 ตัวอย่างที่ไม่ระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังกำกับไว้ ฉลาดซื้อแนะ·     ควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม ·     ควรอ่านและทำความเข้าใจวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อาจมีรายละเอียดขั้นตอนแตกต่างกัน และปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ถ้าเข้าตาควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที เก็บให้พ้นมือเด็กและแสงแดด หากเกิดการผิดปกติให้หยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ เป็นต้น  ·     ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันเหมาะสำหรับเส้นผมที่โดนความร้อนเป็นประจำ ส่วนเส้นผมที่แห้งเสียมากควรใช้ประเภทครีมหรือเจลเพื่อปรับสภาพผมให้ชุ่มชื้นขึ้น·     ควรสระผมและเช็ดผมให้หมาดๆ ก่อนใช้ ผลิตภัณฑ์จะเคลือบเส้นผมได้ดี และช่วยให้ประหยัดด้วย เพราะไม่ต้องใช้ปริมาณเยอะ แค่ลูบไล้บริเวณปลายผมก็เพียงพอแล้ว·     แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดที่ไม่ต้องล้างออก แต่ถ้ามีซิลิโคนและสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ หลังใช้ 1-2 วันควรสระผมทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้สารเคมีเกาะเคลือบอยู่บนผมนานเกินไป เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้างและสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ ข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อ ฉบับที่ 257 มีอะไรน่าสนใจใน “ครีมนวดผม”ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 261 เรื่องยุ่งๆ ของซิลิโคนในครีมนวดผมhttps://th.my-best.com/48384https://thaieurope.net/2018/03/16/eu-restriction-d4-and-d5/ EU

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 269 สำรวจฉลากคลีนซิ่ง รีมูฟเวอร์

        คลีนซิ่ง (Cleansing) หรือ รีมูฟเวอร์ (Remover) เป็นผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดผิวหน้าหน้าได้ล้ำลึก ที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นช่วยขจัดคราบเครื่องสำอาง ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ความมันส่วนเกิน รวมถึงละอองฝุ่นควันจากมลภาวะต่างๆ ให้หลุดออกไปอย่างหมดจด ช่วยลดการอุดตันจากไขมันหรือสิ่งสกปรกที่เป็นสาเหตุให้เกิดสิวและปัญหาผิวต่างๆ ทำให้ผู้ใช้เผยผิวหน้าสุขภาพดีอย่างมั่นใจ         ปัจจุบันมีผู้ผลิตพัฒนาคลีนซิ่งออกมาหลายสูตรมาก ผู้บริโภคควรเลือกให้ตอบโจทย์กับสภาพผิว ความจำเป็น และความคาดหวังผลหลังใช้ รวมทั้งเลี่ยงสารที่อาจทำให้มีอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกคลีนซิ่ง/รีมูฟเวอร์ จำนวน 23 ตัวอย่าง 22 ยี่ห้อ จากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 มาสำรวจฉลากว่ามีสารอันตรายต้องห้ามในเครื่องสำอางหรือไม่ มีสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเปล่า และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจ         • มี 16 ตัวอย่าง ที่ไม่พบทั้งพาราเบน แอลกอฮอล์ และน้ำหอม คิดเป็น 69.56% ของตัวอย่างทั้งหมด         • พบพาราเบน (Methylparaben : เมทิลพาราเบน) ในยี่ห้อบิโอเร         • พบแอลกอฮอล์ ใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อบิเฟสต้า และโอเรียนทอล พริ้นเซส         • พบน้ำหอม ใน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อบู๊ทส์, โอเรียนทอล พริ้นเซส, อีฟโรเซ, สมูท อี และคลีนแอนด์ เคลียร์         • เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณคลีนซิ่ง 1 มิลลิลิตร พบว่า แพงสุดคือ ยี่ห้อไบโอเดอร์มา = 3.56 บาท ส่วนที่ถูกสุดคือ ยี่ห้อเคที่ดอลล์ = 0.39 บาท ข้อสังเกต         • เมื่อเช็กเลขที่จดแจ้ง (11-1-6400007766) บนฉลากยี่ห้อคิวท์เพรสเพียว ออริจิน ไมเซลลาร์ เคล็นซิ่ง วอเทอร์ พบว่าสถานะใบรับจดแจ้งเป็น “ยกเลิก” โดยมีข้อมูลว่าใบอนุญาตหมดอายุเมื่อ 20/6/66 (เช็กได้ที่ https://porta.fda.moph.go.th/fda_search_all/main/search_center_main.aspx)         • มี 12 ตัวอย่าง ระบุว่าผ่านการทดสอบการระคายเคืองผิว โดยในจำนวนนี้มี 5 ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวด้านจักษุร่วมด้วย ได้แก่ ยี่ห้อบิโอเร, การ์นิเย่, นูโทรจีนา, นีเวีย และสมูท อี         • มี 4 ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่านการทดสอบการระคายเคือง แต่พบสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในส่วนประกอบ ได้แก่ ยี่ห้อบิเฟสต้า(มีแอลกอฮอล์), บิโอเร(มีเมทิลพาราเบน), สมูท อี และคลีน แอนด์ เคลียร์ (มีน้ำหอม)         • มี 3 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันหมดอายุ ได้แก่ ยี่ห้อบู๊ทส์, บิโอเร และลอรีอัล ปารีส ไมเซลล่า วอเตอร์             • มีระบุวันผลิต-หมดอายุไว้นานสุดคือ 4 ปี(ยี่ห้อบิเฟสต้า) รองลงมาคือ 3 ปี (16 ตัวอย่าง) และน้อยสุดคือ 2 ปี (3 ตัวอย่าง)         • ยี่ห้อแพลนท์เนอรี่และเซนกะมีกรดซาลิไซลิกในส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารที่หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะยังไม่ทราบแน่ชัดถึงอันตรายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารก ฉลาดซื้อแนะ         • คลีนซิ่งจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ผู้บริโภคควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม         • หากเพิ่งเริ่มใช้คลีนซิ่ง หรืออยากเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ ควรซื้อขวดเล็กมาทดลองใช้ก่อน ถ้าใช้ได้ผลดีถูกใจแล้วค่อยซื้อแบบขวดใหญ่มาใช้จะคุ้มค่ากว่า         • ตัวอย่างที่นำมาสำรวจฉลากครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น คลีนซิ่งสูตรน้ำ (คลีนซิ่งวอเตอร์ หรือ ไมเซล่าวอเตอร์) ที่ต้องใช้คู่กับสำลีเช็ดหน้า เหมาะกับคนที่มีผิวมัน ผิวผสม โดยเฉพาะผิวเป็นสิวง่าย แต่มักขจัดคราบที่เป็นน้ำมันได้ไม่มาก คลีนซิ่งบางยี่ห้ออาจต้องใช้ปริมาณเยอะและเช็ดหน้าซ้ำๆ นานๆ ทำให้มีโอกาสที่ผิวจะระคายเคืองได้ง่าย และควรเลือกใช้สำลีเช็ดหน้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนโยน เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหน้าอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดริ้วรอยได้         • ควรทำตามวิธีใช้และคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ไม่ใช้บริเวณผิวที่เป็นแผล ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนเช็ด หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ ต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ เป็นต้น         • แม้หลายยี่ห้อจะระบุว่าเช็ดคลีนซิ่งแล้วไม่ต้องล้างออก แต่ก็อยากแนะนำให้ล้างออกโดยไวถ้าทำได้ เพราะสารต่างๆ ในคลีนซิ่งจะได้ไม่ต้องสัมผัสกับผิวหน้านานเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระคายเคืองผิวนั่นเอง         • การเลือกคลีนซิ่งที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองอาจการันตีความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องดูส่วนประกอบด้วย เพราะอาการแพ้เป็นลักษณะเฉพาะบุคคล เพื่อความมั่นใจให้ทดสอบโดยทาคลีนซิ่งไว้บริเวณหลังหู ข้อพับแขน หรือท้องแขน ถ้าหลังจาก 48 ชั่วโมงแล้ว ผิวไม่บวมแดง แสบหรือคัน ก็ใช้ได้ ข้อมูลอ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/news/prnews/1027713 https://www.pobpad.com/salicylic-acid

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 268 สำรวจฉลากแผ่นมาส์กหน้า

         “แผ่นมาส์กหน้า” เป็นนวัตกรรมเพื่อดูแลผิวหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งนำวัสดุจำพวกกระดาษ เส้นใยหรือแผ่นเจล ฯลฯ มาทำเป็นรูปใบหน้าแล้วชุบส่วนผสมของสารบำรุงผิวหน้าเข้มข้นจนชุ่ม เวลาใช้ให้วางแผ่นมาส์กหน้าแนบสนิทกับผิวหน้า สารบำรุงต่างๆ จะเข้าสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก ช่วยกระตุ้นให้กระบวนการทำงานของผิวดีขึ้น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทั้งดูแล บำรุง และฟื้นฟูผิวหน้าที่เห็นผลเร็ว ใช้สะดวก หาซื้อง่าย และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย         ปัจจุบันแผ่นมาส์กหน้ามีให้เลือกหลากหลายสูตรที่ตอบโจทย์ปัญหาผิวต่างๆ ทั้งเพิ่มความชุ่มชื้น ลดสิว ลดริ้วรอย ลดจุดด่างดำ ฯลฯ นอกจากผู้บริโภคจะคาดหวังผลลัพธ์ให้ผิวหน้าเนียน สดใส ฉ่ำวาว หลังจากใช้แล้ว ก็ต้องอย่าลืมนึกถึงความปลอดภัยควบคู่กันด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์แผ่นมาส์กหน้า จำนวน 32 ตัวอย่าง 20 ยี่ห้อ ทั้งที่ซื้อจากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 มาสำรวจดูว่ามีข้อความที่ควรระบุไว้บนฉลากไหม มีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (พาราเบน แอลกอฮอล์ และน้ำหอม) หรือเปล่า และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคเลือกว่ายี่ห้อไหนเหมาะสมกับความต้องการ คุ้มค่าและปลอดภัย ผลการสำรวจ        · ทุกตัวอย่าง บนฉลากระบุ”เลขที่จดแจ้ง” ของเครื่องสำอางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุข        · ไม่พบ พาราเบน แอลกอฮอล์ และน้ำหอม ใน 11 ตัวอย่าง        · พบพาราเบน (Methyl Paraben : เมทิลพาราเบน) ใน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อเซนกะ เพอร์เฟ็ค อควา ริช มาส์ก ลูมิเนียส มอยส์ และเบาวซี มาส์ก เบาวซี มอยส์ ยี่ห้อลูลูลูน เฟซ มาสก์ และยี่ห้อเมดิฮีล  ออร่า  อัลฟ่า มาสก์ อีเอ็กซ์        · พบแอลกอฮอล์ ใน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อเฟธ อิน เฟซ ไอ แอม ออลเวย์ส ไบรท์ เพิร์ล เซลลูโลส ชีท ยี่ห้อเอสสึโอะเอะสึ ไฮยาลูรอน โฟร์ดี เฟิร์มมิ่ง มาสก์ ยี่ห้อลูลูลูน เฟซ มาสก์ ยี่ห้อการ์นิเย่ สกิน แนทเชอรัลส์ ซากุระ โกลว์ วอเตอร์- โกลว์ เซรั่ม  มาส์ก และยี่ห้อปาล์มเมด เพิร์ล มาส์ก ชีท        · พบน้ำหอม ใน 17 ตัวอย่าง         · เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อ 1 แผ่น พบว่า แพงสุดคือ ยี่ห้อเซนกะ เพอร์เฟ็ค สกิน ฟิท มาส์ก ไฮเดรติ้ง อีเอ็กซ์ ซี เกรพ ราคา 139 บาท ส่วนที่ถูกสุดคือ ยี่ห้อมิว-นิค ไบร์ทเทนนิ่ง สุพรีม มาสก์ ราคา 9 บาท ข้อสังเกต        ·     ราคาแพงสุดและถูกสุดมีส่วนต่างห่างกันมาก ประมาณ 15.4 เท่า โดยรวมแล้วราคาต่อแผ่นจะอยู่ในหลักสิบและมีราคาแตกต่างกันพอสมควร แต่มี 2 ตัวอย่างที่ราคาหลักร้อยขึ้นไป            ·     ปริมาณน้ำหนักสุทธิของแผ่นมาส์กหน้า มากที่สุดคือ 30 กรัม/แผ่น น้อยที่สุดคือ 18 กรัม/แผ่น        ·     มี 13 ตัวอย่าง ระบุว่าผ่านการทดสอบการระคายเคืองของผิว         ·     มี 5 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิต (แผ่นมาส์กหน้าควรมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันผลิต) ฉลาดซื้อแนะ        ·     ควรตรวจสอบส่วนผสมของแผ่นมาส์กหน้าก่อนทุกครั้งว่ามีสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเปล่า โดยเฉพาะคนที่ผิวแพ้ง่าย และหากใช้แล้วพบว่าเกิดอาการแพ้ก็ควรหยุดใช้ทันที        ·    หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีอาการแพ้พาราเบน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของพาราเบน โดยมักจะระบุคำว่า “ไม่มีส่วนผสมของพาราเบน (Paraben Free)”  ไว้บนฉลาก        ·     ควรเลือกแผ่นมาส์กหน้าให้เหมาะกับสภาพผิวและตอบโจทย์ปัญหาผิวของตนจริงๆ  เช่น สภาพผิวแห้งหรือต้องการบำรุงให้หน้าชุ่มชื้นเป็นพิเศษ ให้เลือกที่มี Hyaluronic Acid หรือ Ceramide  หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น แตงกวา ว่านหางจระเข้ สาหร่ายทะเล หรือน้ำผึ้ง เป็นต้น เพราะมีคุณสมบัติช่วยคืนความชุ่มชื้นและกักเก็บน้ำใต้ชั้นผิวได้นานขึ้น หากมีปัญหาหน้ามันหรือต้องการลดสิว ควรเลือกที่ไม่มีซิลิโคนและน้ำมันแร่ เพื่อป้องกันการเกิดสิวอักเสบหรือสิวอุดตัน เป็นต้น        ·    เลือกขนาดให้พอดีกับใบหน้า หากไม่ชัวร์ ให้ซื้อมาลองใช้แผ่นหนึ่งก่อนว่าจะแนบสนิทพอดีกับหน้าไหม        ·    ควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่แนะนำบนฉลาก ไม่ควรมาส์กหน้าทิ้งไว้นานกว่าเวลาที่ระบุไว้ เพราะแผ่นมาส์กจะเริ่มดึงความชุ่มชื้นออกจากผิวหนังเรา ทำให้ผิวยิ่งแห้งกว่าเดิม        ·    แผ่นมาส์กหน้าเป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หากเลือกได้ควรเลือกวัสดุที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ย่อยสลายง่าย และหากใช้ประจำควรซื้อแบบบรรจุห่อละหลายแผ่น เพื่อลดปริมาณขยะได้ ข้อมูลอ้างอิง https://my-best.in.th/20805https://bestreview.asia/best-sheet-mask/https://www.pobpad.com : บทความ พาราเบน สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)