จากเหตุการณ์ กรมควบคุมมลพิษของอเมริกา (EPA) ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บ. โฟล์คสวาเกน (VW) ว่า
จงใจที่จะหลอกลวงการแสดงข้อมูลการวัดค่าไอเสียจากรถยนต์ดีเซลรุ่น Jetta, Beatle, Passat และ Audi A 3 เนื่องจากซอฟท์แวร์แสดงผลการวัดต่ำกว่าค่าความเป็นจริงถึง
10- 40 เท่าในสภาวะการขับแบบปรกติ
ซึ่งเกินกว่าค่าที่ทางกรมควบคุมมลพิษของอเมริกากำหนด เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข่าวเมื่อ
3 ปีที่แล้ว
และกฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่ม ของเยอรมนี(Musterfeststellungsklage) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2018
ที่ผ่านมา
องค์กรผู้บริโภคเยอรมนี(The
consumer protection federal association: VZBV) ร่วมกับ สมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี(The German automobile club: ADAC) ได้เป็นแกนนำในการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่มขึ้น
ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะในการฟ้องคดีที่มีผู้บริโภคเสียหายเป็นจำนวนมาก ลักษณะการฟ้องคดีแบบเฉพาะนี้เรียกว่า
Musterfeststellungsklage(Pattern
Declaratory Action) ผมขออนุญาตนำประเด็นและสาระสำคัญขององค์กรผู้บริโภค
ที่จำเป็นต้องดำเนินการการฟ้องคดีด้วยวิธีพิเศษนี้ มาเล่าสู่กันฟังครับ
1 ทำไมองค์กรผู้บริโภคต้องฟ้องคดี
องค์กรผู้บริโภคได้รณรงค์ให้มีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม(Pattern Declaratory Action) มาเป็นเวลากว่า
10 ปี
เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับผู้บริโภคในการจัดการกับปัญหาที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการ
ที่กระทบกับประชาชนในฐานะผู้บริโภคในวงกว้าง เกิดความเสียหายเป็นมูลค่าสูง
และด้วยวิธีการฟ้องคดีแบบพิเศษนี้ จะช่วยให้ข้อจำกัดในเรื่องของอายุความหมดไป
2 บทบาทหน้าที่ของสมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี
คดีประวัติศาสตร์นี้
เป็นคดีแรกที่ทั้งสององค์กรได้ร่วมมือกันฟ้องคดี
ซึ่งการร่วมกันฟ้องคดีของทั้งสององค์กร จะช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะคดีมากกว่าการแยกกันฟ้อง
และสมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนีเองก็มีหน้าที่ในการดูแลปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก
ที่เป็นผู้บริโภค คือ ผู้ใช้ และผู้ซื้อรถยนต์
3 ใครสามารถมาร่วมฟ้องคดีนี้ได้อีกบ้าง
?
ผู้บริโภคทุกคนที่เป็นเจ้าของ
รถยนต์ยี่ห้อ VW, Audi,
Seat และ Skoda ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล
รุ่น EA 189 ขนาด 1.2, 1.6 และ 2 ลิตร)
4 ประเด็นอะไรที่ศาลพิจารณาในคดีนี้
ศาลพิจารณาว่า VW ที่
ผลิตรถยนต์รุ่นดังกล่าว แสดงข้อมูลการวัดค่าไอเสียจากรถยนต์ดีเซลผิดพลาด เนื่องจากซอฟท์แวร์แสดงผลการวัดต่ำกว่าค่าความเป็นจริงถึง
10- 40 เท่าในสภาวะการขับแบบปรกติ ซึ่งเกินกว่าค่าที่ทางกรมควบคุมมลพิษกำหนด
ทำให้เกิดความเสียหาย จากการชำรุดบกพร่อง อันเป็นผลมาจากการจงใจ
แสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ(Software Manipulation)
5 ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายแต่ไม่สามารถเข้าร่วมการฟ้องคดีครั้งนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง
สำหรับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายแต่ไม่ได้เข้าร่วมลงชื่อฟ้องคดีในครั้งนี้
ควรปรึกษาทนายความหรือ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอื่นๆ
6 เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว
จะต้องทำอย่างไรต่อไป
การฟ้องคดีแบบพิเศษนี้
มีไว้เพื่อให้ศาลตัดสินว่า การกระทำของ บริษัท VW มีความผิด
แต่ไม่ใช่การฟ้องคดี เพื่อเรียกชดใช้ค่าเสียหาย
ซึ่งหากศาลตัดสินคดีทางผู้บริโภคแต่ละรายต้องไปฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกครั้งหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามคำตัดสินของศาล จะส่งผลให้การดำเนินคดีที่ต่อเนื่องกับการฟ้องร้องคดีนี้สะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดีในศาล ข้อดีของการฟ้องคดีด้วยวิธีการแบบนี้
คือ ความเสี่ยงจะตกอยู่กับองค์กรผู้บริโภคไม่ใช่ ตัวผู้บริโภค
และผู้บริโภคยังมีเวลาในการตัดสินใจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายหากผลของการตัดสินคดี
เป็นคุณกับโจทก์ที่เป็นองค์กรผู้บริโภค
7 ในกรณีที่องค์กรผู้บริโภคแพ้คดี
มีผลอย่างไร
ในกรณีที่ศาลตัดสินว่า
VW ไม่ได้กระทำผิด
ผลของคำพิพากษามีผลผูกพันไปยังศาลอื่นๆ ด้วย องค์กรหรือบุคคลที่ร่วมฟ้องคดี
ไม่สามารถอุทธรณ์คดีได้
8 ผู้บริโภคสามารถเข้าร่วมฟ้องคดีได้อย่างไร
ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายสามารถลงชื่อเข้าร่วมการฟ้องคดีได้
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และทางองค์กรผู้บริโภคจะส่งรายชื่อผู้ร่วมฟ้องร้องไปยัง
สำนักงานกระทรวงยุติธรรมยุติธรรม (Bundesamt fÜr Justiz) เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะหลังจากนั้น
ทางสำนักงานจะส่ง คำฟ้องคดีและรายชื่อผู้ร่วมฟ้องไปยังฝ่ายจำเลย
ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลา 14
วัน
9 ผู้บริโภคสามารถถอนรายชื่อในภายหลังได้หรือไม่
สามารถทำได้
จนกว่าศาลจะนัดคู่ความมาศาลครั้งแรก ซึ่งหากศาลบอกวันนัดมาแล้วทางองค์กรผู้บริโภคจะแจ้ง
ผู้ที่ลงชื่อร่วมฟ้องทันทีที่ได้รับหมายนัดจากศาล
10 ในกรณีที่ผู้บริโภคใช้สิทธิในการฟ้องคดีเองไปแล้วยังสามารถร่วมฟ้องคดีนี้ได้อีกหรือไม่
ผู้บริโภคสามารถร่วมลงชื่อฟ้องร้องคดีได้
หากกระบวนการทางศาลยังไม่ถึงที่สุด(คำพิพากษาศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งรัฐ (Bundesgerichthof) แต่กระบวนการทางศาลของผู้บริโภคจะถูกระงับไว้
เพื่อรอผลของการฟ้องร้องคดีนี้
11 จะสามารถร่วมฟ้องคดีได้หรือไม่ถ้า
เคยทำสัญญาไกล่เกลี่ยกับ บริษัท VW มาแล้ว
โดยทั่วไปการทำสัญญาไกล่เกลี่ย มักจะมีข้อสัญญาที่ไม่ให้คู่ความไกล่เกลี่ยใช้สิทธิฟ้องคดีทางศาลได้
ในภายหลัง ดังนั้นหากสนใจจะลงชื่อ ร่วมฟ้องคดี ผู้บริโภคต้องปรึกษากับทนายความ
และฝ่ายกฎหมายขององค์กรผู้บริโภคที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีก่อน
12 ผู้บริโภคที่ขายรถไปแล้วสามารถร่วมฟ้องคดีได้หรือไม่
กระบวนการลงชื่อร่วมฟ้องเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ซื้อรถยี่ห้อ
และรุ่นดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2008 สามารถร่วมลงชื่อได้
รวมทั้งผู้บริโภคที่ซื้อรถใช้แล้ว ด้วยเช่นกัน
13 ใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะมีคำพิพากษาออกมา
เป็นประเด็นที่ตอบได้ยาก
เนื่องจากเป็นคดีแรกในประวัติศาสตร์ กระบวนการนี้ เริ่มที่ศาลสูงแห่งรัฐ(Oberlandesgericht: OLG) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา
ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
ในการพิจารณาพิพากษาคดี และอาจไปจบที่ศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งรัฐ (Bundesgerichthof) ในเวลา
2-3 ปี
14 ผู้บริโภคที่ร่วมฟ้องคดีสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้อย่างไร
ผู้บริโภคสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้
ที่เวบไซต์ของสมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี (adac.de/musterfeststellungsklage) และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
(www.musterfeststellungsklagen.de* (vzbv))
กระบวนการฟ้องคดีแบบกลุ่มตาม
เยอรมนีโมเดลนี้ ค่อนข้างใช้เวลานาน กว่าที่ผู้บริโภคจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
อย่างไรก็ตาม การฟ้องคดีแบบกลุ่ม(Musterfeststellungsklage) ได้ถูกบรรจุไว้ในนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา
และประกาศบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2018 และเมื่อกฎหมายบังคับใช้แล้ว
องค์กรผู้บริโภคก็ได้ทดลองใช้เครื่องมือในกระบวนการยุติธรรมเลยทันที
สำหรับประเทศไทยในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 46 ก็บัญญัติให้
“สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองบุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคองค์กรของ ผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลัง ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อํานาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ผมมองว่า องค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระควรมีส่วนร่วมในการร่างและพิจารณากฎหมาย
ที่มีผลกระทบกับผู้บริโภคทุกฉบับ และควรมีบทบาทในฐานะกรรมาธิการในวุฒิสภา
ซึ่งทำหน้าที่ ให้ความเห็นและกลั่นกรองกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
จนต้องใช้การฟ้องร้องคดี หรือใช้ความรุนแรง ในการทวงถามความยุติธรรมเหมือนหลายๆ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวัน เท่าที่เราพบเห็นในข่าวสารทุกวันนี้
แหล่งข้อมูล: ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ
เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค รถยนต์