ฉบับที่ 203 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือน มกราคม 2561

สคบ.เตรียมออกประกาศคุมค่าน้ำ-ไฟหอพัก 

ชาวหอพักอาจมีเงินเก็บเพิ่มหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.นี้ 


ความในประกาศจะระบุให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องยกเลิกสัญญาฉบับเก่าที่เคยทำไว้กับผู้เช่าทั้งหมด แล้วทำสัญญาภายใต้ข้อกำหนดใหม่  โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ จะกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเช่า เช่น เขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า กำหนดระยะเวลาในการเช่า จำนวนเงินประกัน สภาพอาคาร อัตราค่าสาธารณูปโภค อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าส่วนกลาง ค่าที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ  ซึ่งหากไม่ทำตามจะมีโทษทันที คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนค่าเช่าที่พักอาศัย และค่าบริการสาธารณูปโภคที่แพงเกินควร  น่าจับตาว่าประกาศฉบับนี้จะสามารถแก้ปัญหาให้ชาวหอพักได้จริงหรือไม่ จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดได้รวดเร็วและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน


ซดหอยนางรมสด - กินเนื้อดิบ เสี่ยงอาจถึงตาย


เล่นเอาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ ใจสั่นหวั่นไหว เมื่อมีข่าวผู้เสียชีวิตจากการกินหอยนางรมสดอย่างต่อเนื่อง เพราะหอยนางรมสดแม้ว่าจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) และยังเชื่อกันว่าเป็นอาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศให้กับคุณผู้ชายทั้งหลาย แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารดิบแล้ว ล้วนแต่มีอันตรายแอบแฝงทั้งสิ้น


หอยนางรมสดแทบจะทุกตัวมี เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ(Vibrio) ซึ่งอาจก่อโรคระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาหารเป็นพิษ ล่าสุดมีข่าวหญิงอเมริกันวัย 55 ปี ในรัฐเท็กซัส กินหอยนางรมสดที่ซื้อจากตลาดในรัฐหลุยเซียนารวดเดียว 24 ตัว แล้วถูกเชื้อแบคทีเรียวิบริโอซิส(Vibriosis) กัดกินเนื้อบริเวณขาทั้งสองข้างจนเป็นแผลฉกรรจ์ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนจะเสียชีวิตอีก 21 วันต่อมา กรณีนี้นักวิชาการในเมืองไทยได้ออกมาให้ความรู้ว่า เหตุที่บางคนกินหอยนางรมดิบๆ แล้วไม่เป็นอะไร เพราะยังมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง แต่สำหรับกลุ่มผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคหอยนางรมสดอย่างเด็ดขาด


นอกจากนี้ ยังมีข่าวหนุ่มจากสปป.ลาว 4 ราย ที่กินลาบหมูดิบแล้วท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะถูกนำตัวส่งมารักษาต่อยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคทริคิโนซิส โดยจากการตัดชิ้นเนื้อบริเวณน่องขาไปตรวจจึงพบพยาธิ 5 ตัวชอนไชอยู่ภายในชิ้นเนื้อที่มีขนาดเท่าเมล็ดส้ม พยาธิเหล่านี้จะเข้าไปฟักตัวอยู่ในลำไส้แล้วเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ และชอนไชไปฝังตัวตามกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รู้อย่างนี้แล้ว เลิกกินของดิบกันดีกว่า

 

อาหารสนามบินไทย แพงเว่อร์จริงหรือ?


หลังสื่อมวลชนญี่ปุ่นรายหนึ่งนำเสนอข่าวราคาอาหาร-เครื่องดื่มในสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองทั้งสองแห่งว่ามีราคาแพงเกินเหตุ ทำเอาหน่วยงานรัฐที่ดูแลรับผิดชอบต้องรีบลงพื้นที่ตรวจสอบและแถลงชี้แจงกันวุ่น โดยให้สัมภาษณ์โต้คำกล่าวอ้างดังกล่าวว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด


จากนั้นไม่นาน ก็มีข่าวจากสื่อมวลชนที่ลงพื้นที่สำรวจราคาอาหารบริเวณภายในสนามบินทั้งสองแห่ง พบว่ามีจำหน่ายทั้งโซนอาหารราคาแพงและราคาถูก


โดยในโซนสำคัญของสนามบินนั้น อาหารจะมีราคาแพง ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ร้านอาหารที่เปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งถูกควบคุมราคาไม่ให้สูงเกินกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของราคาอาหารตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งที่อาหารมีราคาแพงนั้น ก็ด้วยมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องจ้างพนักงานไว้คอยบริการตลอด 24 ชั่วโมง ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการประมูลเช่าพื้นที่ในราคาค่อนข้างสูง 


สำหรับโซนฟู้ดคอร์ต (Food Court) ที่เป็นศูนย์อาหารอยู่ภายใต้การดูแลของท่าอากาศยานนั้น จะมีราคาถูกและย่อมเยา เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคและพนักงานภายในสนามบิน แต่เป็นคำถามว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนหนึ่ง จึงไม่ทราบว่ามีโซนร้านอาหารราคาถูก จำหน่ายอยู่ภายในสนามบิน


นับเป็นเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดในสนามบิน นอกจากปัญหาเครื่องบินดีเลย์ กระเป๋าเดินทางชำรุดสูญหาย แถวตรวจคนเข้าเมืองที่ใช้เวลานาน จนถึงปัญหามิจฉาชีพที่หากินกับผู้โดยสาร เรื่องจุกจิกเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องขยันมากกว่าเดิมอีกหรือไม่

 

แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ป่วน งานด่วนของใคร

“แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ระบาดหนัก เหยื่อสูญเงินกว่าล้านบาทในพริบตา” พาดหัวข่าวแนวนี้ ที่ปรากฏอย่างไม่ขาดสาย ตอกย้ำ ซ้ำๆ ว่าเหตุใดผู้บริโภคจึงตกเป็นเหยื่อได้ง่ายดายขนาดนี้


แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ จะเร่งสื่อสารให้ประชาชนเท่าทันเล่ห์กลของแก๊งค์มิจฉาชีพ แต่ก็ไม่สามารถบอกเล่าเก้าสิบได้ทั่ว โจรพวกนี้มีเทคนิคล่อลวง หลากหลายท่วงท่า ทั้งโทรมาแอบอ้างเป็นไปรษณีย์ หลอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึง ลวงถามชื่อ-เลขบัตรประชาชน หรือแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทรมากล่าวหาว่าเหยื่อไปพัวพันคดียาเสพติด ให้รีบแจ้งเลขที่บัญชีให้ตรวจสอบโดยด่วน ใครที่ตกใจง่ายเกินไป รู้ตัวอีกทีก็เสร็จโจรมันเสียแล้ว


ล่าสุดข่าวพระลูกวัดแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ถูกหญิงสาวอ้างว่าโทรมาจากไปรษณีย์ไทย บอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึงหลวงพี่ สงสัยว่าจะเกี่ยวพันกับสิ่งผิดกฎหมาย และโอนสายไปให้ชายคนหนึ่งรับสายต่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถามเลขบัตรประชาชน 13 หลักไปตรวจสอบ พร้อมโน้มน้าวถามเรื่องเงินในบัญชี โชคดีหลวงพี่ไหวตัวทัน เพราะเคยอ่านข่าวแก๊งต้มตุ๋น หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงรุดแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตัวจริง มีที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมาถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของจำนวนเงินในบัญชีกันเล่า


น่าสังเกตว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่รู้ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อก็เพราะเคยดูข่าว หรือมีเพื่อนสนิทมิตรสหายมาบอกกล่าวเล่าเตือนให้ฟัง ความมีสติ การเสพข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอจึงเปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันให้พ้นภัยกลโกงของแก๊งค์โจรเหล่านี้ไปได้ด้วยดี

 

มาสด้าฟ้องผู้บริโภค ภาพสะท้อนเมื่อผู้บริโภคตัวเล็กถูกผู้ประกอบการละเมิดซ้ำซ้อน

ช่วงปลายปีที่แล้ว กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์ มาสด้า 2 รุ่น คือ รุ่น XD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 รวมตัวกัน พร้อมตัวแทนศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบ กรณีรถเกิดอาการเครื่องยนต์สั่นผิดปกติ เร่งความเร็วไม่ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต อีกทั้งยังได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อตัวแทนบริษัทฯ ในงาน Motor EXPO จนต้องถูกบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดฟ้องคดี ซึ่งผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์มาสด้า 2 รุ่นดังกล่าวรายหนึ่งถูกเรียกค่าเสียหายถึง 84 ล้านบาทเศษ โดยอ้างเหตุว่า เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้ภาพลักษณ์บริษัทฯ เสียหาย ขายรถไม่ได้ ฯลฯ


ในขณะที่กลุ่มผู้เสียหาย โดยตัวแทนคือ นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์มาสด้าและผู้ถูกบริษัทมาสด้าฟ้อง กล่าวว่าการออกมาเรียกร้องสิทธินั้นตนได้ทำด้วยความสุจริตใจและอยากให้บริษัทแก้ปัญหาที่เกิดเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจทำลายชื่อเสียงของบริษัท “ปัญหาของรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะผู้ใช้รถที่ไปเจอปัญหานี้ครั้งแรกบนถนนในจังหวะเร่งแซงซึ่งอันตรายมาก ตนได้ส่งรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ฯแล้วแต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มทางเฟซบุ๊คชื่อว่า อำนาจผู้บริโภคช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Sky Active เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ เพื่อรวมตัวกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของรถ แต่กลับถูกฟ้องเมื่อเราลุกขึ้นมาใช้สิทธิ ก็อยากจะขอความเป็นธรรม” นายภัทรกรกล่าว


กรณีนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2561 เพื่อย้ำว่า องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายใช้สิทธิร้องเรียนเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่อยากให้บริษัทฯ ใช้วิธีการฟ้องคดีกับผู้บริโภค แต่ขอให้ดูแลรับผิดชอบผู้เสียหายทุกรายเหมือนการรับผิดชอบเรียกคืนรถในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ มากกว่า อีกประการหนึ่งคือ ถ้าผู้บริโภคถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) จะไม่สามารถรับเป็นคดีผู้บริโภคได้ “อยากให้ สคบ.ได้ใช้อำนาจตามหน้าที่ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม และอยากให้ช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ. ความรับผิดต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่องให้เกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน” 


ในส่วนของคดีความหากผู้ประกอบการยังคงเดินหน้าฟ้องผู้บริโภค ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็จะยืนหยัดอยู่ข้างผู้บริโภคเพื่อต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าการออกมาใช้สิทธิของผู้บริโภคเองนั้น ถือเป็นการพิทักษ์สิทธิและเป็นตัวอย่างให้กับผู้บริโภคท่านอื่นๆ


"ขอชื่นชมที่ผู้บริโภคออกมาใช้สิทธิและถือว่าเป็นผู้สะท้อนปัญหาสินค้าและการใช้บริการให้กับบริษัทดังกล่าว การที่บริษัทฟ้องผู้บริโภคที่ออกมาใช้สิทธินั้นถือเป็นการฟ้องเพื่อปิดปากผู้บริโภค แทนที่จะขอบคุณที่สะท้อนปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคที่ถูกบริษัทฟ้องมูลนิธิฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือ"


แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

200 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค มาสด้า แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ อาหาร สนามบิน หอยนางรมสด หอพัก

ฉบับที่ 276 ความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีสังเกตเพจหลอกจองที่พัก ขายของออนไลน์        ตำรวจไซเบอร์ระบุ  ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนมากจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในออนไลน์ ทั้งการใช้วิธีการสร้างเพจปลอมเป็นโรงแรมที่พักหรือการขายของออนไลน์หลอกลวงประชาชน จากข้อมูลสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 1 มี.ค.65 – 28 มิ.ย. 66 พบว่า มีการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการมากถึง 108,383 ครั้ง         ตำรวจไซเบอร์ (บช.สอท.) จึงแนะนำวิธีการสังเกตเพจปลอมต่างๆ ดังนี้             1. เพจต้องได้รับยืนยันเครื่องหมายรับรองตัวตน (Verified badge)             2.ตรวจสอบรายละเอียดเพจได้ วันที่สร้างเพจ เคยเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่? หากเพจสร้างขึ้นมาไม่นานแต่มีการเปลี่ยนชื่อเพจเสี่ยงต่อการเป็นเพจปลอม             3. ยอดผู้กดถูกใจโพสต์ เนื่องจากเพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อย มิจฉาชีพมักสร้างยอดผู้ติดตามปลอมไว้ มองผ่านๆ จะคล้ายจำนวนผู้ติดตามจริง            4. ชื่อเพจสะกดถูกต้องหรือไม่ มิจฉาชีพมักทำเลียนแบบหากไม่สังเกตอาจทำให้ถูกหลอกลวง              5. โพสต์เนื้อหาและโต้ตอบในเพจ จำนวนคนกดถูกใจ คอมเมนต์ จะมีการโต้ตอบน้อย และคอมเมนต์เชิงตำหนิ เช่น สั่งสินค้าไปไม่ได้รับของเลย             6. สังเกตที่ URL ของ มักเป็นคำแปลกๆ ไม่มีความหมาย พบข้อมูลคนไทยโดนประกาศขายดาร์กเว็บ 20 กว่าล้านบัญชี        จากกรณี Resecurity บริษัทความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รายงานว่าเมื่อเดือนมกราคม ปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามีข้อมูลของคนไทยรั่วไหลและถูกนำมาประกาศขายในบนเว็บไซต์ข้อมูลผิดกฎหมายกว่า 27 ล้านบัญชี โดยกลุ่มข้อมูลที่มาจากกรมกิจการผู้สูงอายุ รั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านบัญชีนั้น         นายประเสริฐ จันทรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวว่า สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ตรวจพบตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ แล้ว พร้อมทั้งแจ้งไปยังกรมกิจการผู้สูงอายุให้รับทราบถึงกรณีข้อมูลของหน่วยงานรั่วไหลเกือบ 20 ล้านบัญชี แต่ยังหาสาเหตุของการรั่วไหลไม่ได้ ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้เตรียมเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับลักษณะการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าวแล้ว  สั่งค่ายมือถือ “ระงับซิมไม่ยืนยันตัวตน” กรณีมีเกิน 100 เบอร์         จากกรณีที่ กสทช. ได้ออกมาตรการบังคับใช้ เมื่อ 16 มกราคม 2567 สำหรับผู้ที่ใช้บริการซิมมือถือต้องทำการยืนยันตัวตนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้กับผู้ที่ถือซิม 6-100 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตนภายใน 180 วัน และ 101 หมายขึ้นไป ภายใน 30 วันนั้น         15 กุมภาพันธ์ 2567  กสทช. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงบริษัทผู้ให้บริการ ถึงมาตรการยืนยันตัวตนของซิมการ์ด  และข้อมูลการใช้บริการของผู้ถือครองซิม หลังพ้นกำหนดระยะเวลายืนยันตัวตนสำหรับผู้ถือครอง 101 เบอร์ ขึ้นไป ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กสทช. จึงได้มีคำสั่งเร่งรัดให้ค่ายมือถือ ดำเนินการตามเงื่อนไขระงับการใช้บริการรวมถึงการโทรออก ส่งข้อความ SMS และการใช้งานอินเทอร์เน็ต และจะอนุญาตเพียงเบอร์โทรฉุกเฉินเท่านั้น            “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” ไม่มีฉลากระวังอันตราย        หลังจากที่บนโลกออนไลน์มีการรีวิวขนม “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” อย่างมากมาย ทำให้เป็นขนมยอดฮิตในกลุ่มเด็กและคนทั่วไป จนมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และวางขายตามหน้าโรงเรียนเกลื่อน         ภก. เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้เปิดเผยว่า พบขนมเลียนแบบเยลลี่องุ่นที่มีจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี โดยมีการนำมารีวิวผ่านโซเชียลออนไลน์ ซึ่งลักษณะบรรจุในถุงคล้ายถุงมือยางหรือลูกโป่งลูกกลมๆ และมีวิธีการกินคือใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มให้ถุงแตกออกมาแล้วจึงนำมารับประทานได้ มีหลายรสชาติ แต่ไม่มีเลขอย. และฉลาก จึงขอเตือนว่า ไม่ควรซื้อมารับประทานเพราะอาจลักลอบนำเข้าหรือผลิตเพื่อขายในสถานที่ต่างๆ และไม่มีฉลาก ไม่มีข้อมูลเกี่ยวอาหาร อาจเสี่ยงได้รับสารอันตรายที่เป็นผลต่อสุขภาพได้ เช่น สี วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งกลิ่นที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด การบรรจุอาหารในถุงมือยางหรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบรรจุอาหาร ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ หากผลิต นำเข้าเพื่อขายสถานที่ต่างๆ ไม่มีฉลาก มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท  มพบ.เสนอการบินพลเรือนเร่งจัดการปัญหาเที่ยวบินเทผู้โดยสาร         หลังจากสายการบิน  Air Japan ได้มีการยกเลิกเที่ยวบิน NQ2 เส้นทางสุวรรณภูมิ - นาริตะ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา เวลา 00.15 น.  ซึ่งเป็นการยกเลิกแบบกะทันหัน (ก่อนหน้ามีการดีเลย์กว่า 3 ชั่วโมง) หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับผิดชอบผู้โดยสารเพียงแค่คืนค่าตั๋วเดินทาง แต่ไม่ได้ชดเชยเยียวยาความเสียหายในส่วนอื่นๆ เช่น ค่าโรงแรมที่พักของผู้โดยสารที่ได้ทำการจองไว้อีกด้วย         23 กุมภาพันธ์ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ ได้กล่าวว่า จากประเด็นดังกล่าวที่ให้ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบและต้องการเรียกร้องค่าชดเชยไปดำเนินการยื่นเรื่องเองกับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นั้น ไม่ควรผลักให้เป็นภาระของผู้โดยสาร เพราะสำนักงานการบินพลเรือน อยู่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งควรออกมาตรการกำหนดให้สายการบินจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้โดยสาร ซึ่งจะเป็นการผลักภาระให้ต้องไปเรียกร้องที่ สคบ. และการยกเลิกเที่ยวบินแล้วคืนเฉพาะค่าโดยสารถือเป็นการเอาเปรียบผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งสายการบินควรต้องชดเชยค่าใช้จ่ายที่เสียหายจริงทั้งหมด เช่น ค่าตั๋วใหม่ ค่าโรงแรม ค่ารถที่ได้ทำการจองไปแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ         อีกประเด็น คือ ทางสายการบินมีเครื่องบินให้บริการเพียง 1 ลำ ถือเป็นเรื่องที่สำนักงานการบินพลเรือนต้องตรวจสอบรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้งนี้ ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยเรียกร้องไปยังสำนักงานการบินพลเรือนให้ออกประกาศคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในเส้นทางบินต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากยังไม่มีประกาศฉบับดังกล่าว แต่กลับไม่เป็นผล จนกระทั่งมาเกิดเหตุซ้ำซากแบบเดิม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2567

ร้องเรียน 9,218 เรื่อง ปัญหามลพิษ ปี 2566        อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เผยมีประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษในปี 2566 เข้ามากว่า 9,218 เรื่อง ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงสายด่วน 1650 โดยพบว่าจำนวน 8,043 เรื่อง เป็นกรณีเหตุรำคาญต่างๆ โดยทางกรมควบคุมมลพิษได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ร้องเรียนและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา อีก 1,175 เรื่อง ทางกรมควบคุมมลพิษดำเนินการเอง ส่วนใหญ่แหล่งกำเนิดมลพิษ คือ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารประเภทต่างๆ การเลี้ยงสุกร โดยได้รับการแก้ไขแล้วกว่า 836 เรื่อง         ทั้งนี้ ประเด็นที่พบมากที่สุด ได้แก่ 1. ปัญหากลิ่นเหม็น  2. ปัญหาฝุ่นละออง-เขม่าควัน และ 3. เสียงดัง-เสียงรบกวน   ผลิต-เผยแพร่สื่อลามกด้วย AI ระวังโทษคุก 5 ปี                    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยว่า ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาใช้สร้างเนื้อหาปลอมเพื่อใช้ในการฉ้อโกงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมถึงผลิตสื่อลามกอนาจาร โดยมักนำภาพของบุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดารา นักแสดง นักร้อง มาใช้เป็นใบหน้าตัวอย่างและสร้างคลิปลามกแล้วนำไปเผยแพร่หรือจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทางออนไลน์ ประชาชนต้องระวังต่อภัยดังกล่าว ทั้งนี้ฝากเตือนถึงผู้ที่ผลิตและเผยแพร่สื่อลามกปลอมด้วย AI  ดังกล่าวนั้น จะถือว่าเข้าข่ายความผิดทางอาญาถึง 6 ฐานความผิด ระวางโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ปรับสูงสุดถึง 200,000 บาท ระวัง! ไลน์ปลอม ก.ล.ต. อ้างเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน         จากกรณีพบบัญชีไลน์แอบอ้างเป็น “ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ภายใต้สำนักงาน ก.ล.ต.” นั้น   ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำการตรวจสอบถึงกรณีดังกล่าวแล้ว และได้ทำการชี้แจ้งว่า บัญชีไลน์ที่ว่ามีการปลอมแปลงและแอบอ้างการใช้โลโก้ของหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับข้อมูลอาจเข้าใจผิดและหลงเชื่อเข้าลงทุนจนเกิดความเสียหาย  ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่างหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้ง ไม่แชร์หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวด้วย ลูกชิ้นเถื่อน         กองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจค้นพื้นที่ ม.4 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี หลังพบว่ามีการใช้สถานที่ดังกล่าวในการผลิตและจัดส่งจำหน่ายลูกชิ้นไม่ถูกสุขอนามัย ไปในพื้นที่ใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดลูกชิ้นกว่า 2,400 ถุง พร้อมอุปกรณ์เครื่องจักร บรรจุภัณฑ์ และส่วนผสมต่างๆ กว่า 31 รายการ พร้อมนำตัวอย่างส่งตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ลูกชิ้นที่พบมีทั้งมียี่ห้อและไม่มียี่ห้อรวม 9 รายการ ดังนี้ 1.ลูกชิ้นหมูตราตี๋ใหญ่  2.ลูกชิ้นหมูเมืองทอง ตราโกดี KODEE  3. ลูกชิ้นหมูเมืองทองตราที.เค  4.ลูกชิ้นหมูตราตี๋เล็ก  5.ลูกชิ้นเนื้อตราตี๋ใหญ่  6.ลูกชิ้นเนื้อ ตรา เฮง 7.ลูกชิ้นเนื้อตราเมืองเอก 8.ลูกชิ้นหมู AR  9. ชาย 2 ลูกชิ้นหมู         ทั้งนี้  การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐาน “ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  มพบ. จี้ ขสมก. ตอบคำถาม “ทำไมรถต่างสี ราคาต่างกัน” ย้ำ นโยบายปฎิรูปรถเมล์ ให้คำนึงถึงผู้ใช้บริการ         16 มกราคม 67 จากกรณีรถยูโรทู "สายปฏิรูป" เปลี่ยนเลขสายใหม่ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เดินรถที่ได้สัมปทานโครงการปฏิรูปเอาเลขสายใหม่ไปใช้และเก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาท (แพงกว่าเดิม) โดยเก็บจากราคา "อัตราขั้นสูง" ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้ในตารางค่าโดยสาร (ทำให้การลดอัตราค่าโดยสารทำได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของอัตราขั้นสูง) เปิดช่องให้ผู้เดินรถเลือกที่จะเก็บค่าโดยสารตามอัตราขั้นสูงหรือหากจะลดราคาก็ให้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับทาง ขสมก. ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารรับรู้ล่วงหน้าสำหรับการขึ้นราคาครั้งนี้ จึงทำให้เกิดกระแสสังคมจากผู้บริโภคในเชิงตำหนิต่างๆ นั้น         นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ขอเป็นตัวแทนผู้บริโภคตั้งคำถามไปถึง ขสมก. ที่ต้องตอบให้ชัดว่า รถต่างสี ทำไมต้องเก็บราคาค่าโดยสารต่างกัน และ การเปลี่ยนเลขหมายรถนั้นมีเหตุผลอย่างไร อะไรที่เป็นเหตุต้องปรับงขึ้นราคาค่ารถ โดยไม่แจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า” มูลนิธิฯ ขอเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบก ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร เพราะนโยบายการ “ปฎิรูปรถเมล์” ของกรมการขนส่ง ควรคำนึงถึงผู้ใช้บริการให้มีรถเมล์บริการอย่างทั่วถึงและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะ ขสมก. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องให้บริการรถที่มีคุณภาพและคิดค่าบริการที่ราคาเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 ความเคลื่อนไหวเดือนธันวาคม ปี 2566

ระวังเบอร์โทรหลอกดูดเงิน        โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตือนภัยประชาชนกรณีที่มีมิจฉาชีพใช้เบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อประชาชนหลอกล็อกอินและดูดเงิน โดยมีวิธีการคือ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทวงการคลัง หลอกลวงให้กดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขต พร้อมให้ประชาชนล็อกอินใส่ username และ password ของ “แอปพลิเคชันเป๋าเงิน” พร้อมทั้งยังแอบอ้างว่าได้รับเอกสารสิทธิพิเศษจากกระทรวงการคลัง และมีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังอีกด้วย         ทั้งนี้  ทางโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอย้ำว่าหากมีเบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อไป อย่ารับเด็ดขาด ให้บล็อกได้เลย และยืนยันว่ากระทรวงการคลังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนให้ยกเลิกสิทธิ์โครงการของรัฐฯ แน่นอน ภัยออนไลน์ปี 2567 มิจฉาชีพอาจใช้ AI ลวงเหยื่อ         สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึง สถิติแจ้งความออนไลน์เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ผ่านมา  อันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์” มีจำนวนกว่า 150,000 คดี   ในส่วนคดีที่ความเสียหายรวมสูงที่สุด คือ “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” เสียหายรวมกว่า 16,000 ล้านบาท                    แนวโน้มรูปแบบอาชญากรรมทางออนไลน์ ปี 2567 ประชาชนต้องระมัดระวังมิจฉาชีพ ก่อเหตุโดยนำเทคโนโลยี  AI มาใช้ประโยชน์เพื่อปลอมแปลงฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหาย สร้างภาพคลิปปลอม เพื่อนำมาหาประโยชน์ต่างๆ เช่น             ·     การสร้างภาพ หรือคลิปปลอมเป็นบุคคลอื่น (AI Deepfakes)             ·     การเลียนเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือคนรู้จัก (AI Voice Covers)             ·     การสร้างคลิปลามกปลอม (AI Deepfakes)             ·     การสร้างข่าวปลอม (Fake News)         ขออย่าหลงเชื่อ ยึดหลัก “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศฉบับใหม่! ห้ามขาย “ใบกระท่อม” ให้คนท้อง-เด็กต่ำกว่า 18 ปี         เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง...การปิดประกาศหรือการแจ้งให้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทราบถึงข้อห้ามขายใบกระท่อมหรืออาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ พ.ศ. 2566  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2566 เป็นต้นไป         โดยประกาศให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ มีหน้าที่ต้องประกาศ ให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ดังนี้             1. ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย มองเห็นได้ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมกับสถานที่ขาย             2. ระบุข้อความที่ปิดประกาศว่า ไม่ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้                 ·บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี                ·สตรีมีครรภ์                ·สตรีให้นมบุตร                ·ให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบ โดยวิธีการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใด ปิดประกาศหรือแจ้งให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ปฏิบัติตามข้อ 3 โดยอนุโลม  3 กลุ่มโรคต้องระวังเมื่อถอนฟัน          จากกรณีข่าวสาววัย 25 ปี เสียชีวิตภายหลังถอนฟัน 2 ซี่ ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี นั้น ด้านนพ.เพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่าผลตรวจพบก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณกรามด้านขวา ซึ่งกดบีบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบากนำมาซึ่งการเสียชีวิต         การถอนฟันเป็นการรักษาปัญหาสุขภาพในช่องปากที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เพราะในช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีสามกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยควรต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนหากได้รับการวินิจฉัยว่าต้องถอนฟัน ได้แก่ กลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก เช่น ลิวคีเมีย โรคไตมีประวัติล้างไต  กลุ่มที่อาจแสดงอาการระหว่างทำฟัน เช่น ลมชัก หอบหืด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และกลุ่มโรคเบาหวานที่เสี่ยงแผลหายยาก         จี้ กสทช. แก้ปัญหาผู้บริโภครับผลกระทบรวม ทรู-ดีแทค         22 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายธนัช ธรรมิสกุล หน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เข้ายื่นหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึง คณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช.         “กรณีเรียกร้องให้เร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากผู้บริโภคหลังรวม ทรู-ดีแทค รวมถึงได้นำหลักฐานผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากทุกค่ายมือถือ ระหว่างวันที่ 9 – 23 พฤศจิกายน 2566 จำนวนผู้ทำแบบสำรวจ 2,924 ราย ยื่นแก่ พลเอกกิตติ เกตุศรี ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช.เป็นตัวแทนรับหนังสือ”         ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 5 ปัญหาที่พบมากที่สุด จากผลสำรวจมากถึงร้อย 81 หลักๆ มีดังนี้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า สัญญาณหลุดบ่อย โปรโมชันเดิมหมดต้องใช้โปรโมชันที่แพงขึ้น ค่าแพ็กเกจราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก และ call center โทรติดยาก อย่างไรก็ตาม ด้านข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจ เช่น ขอให้ยกเลิกการควบรวมรวมธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่าง ทรู-ดีแทค เพราะหลังจากที่มีการควบรวมแล้ว ผู้บริโภคพบเจอปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีปัญหา ราคาค่าบริการแพงขึ้น แพ็คเกจไม่หลากหลาย  พร้อมยังไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรงหลังจากการควบรวม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 273 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤศจิกายน 2566

สถิติร้องเรียนสายด่วน 1569 ไม่ติดป้ายราคามาอันดับหนึ่ง         ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เผยถึง กรณีสถิติการร้องเรียนของสายด่วน 1569 (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์) ในช่วงมกราคม – กันยายน 2566 ว่า มีเรื่องร้องเรียนรวมทั้งหมด 2,767 เรื่อง และเป็นหมวดเกี่ยวกับอาหารมากที่สุด           สำหรับอันดับเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุด มีดังนี้ 1.ไม่ติดป้ายแสดงราคา 1,390 เรื่อง 2.จำหน่ายราคาแพง 549 เรื่อง โดยมีการเปรียบเทียบกับปีก่อนร้องเรียนเพิ่มถึง 251 เรื่อง 3. ไม่ได้รับความเป็นธรรม อาทิ เช่น ปริมาณสินค้าไม่เหมาะสมกับราคา ป้ายราคาไม่ชัดเจน 359 เรื่อง 4. ใช้เครื่องชั่ง/มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซ LPG ไม่ได้มาตรฐาน  240 เรื่อง 5. แสดงราคาขายปลีกไม่ตรงกับราคาที่ขาย 169 เรื่อง         พบ “ถุงยางแจกฟรี” ของ สปสช. แอบขายออนไลน์         ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กล่าวถึง กรณีพบถุงยาที่แจกฟรีโดย สปสช. ไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นการนำสิ่งของที่รัฐแจกฟรีให้แก่คนทั่วไปมาแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งนี้ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว ไม่เช่นนั้นทาง สปสช. จะมีการดำเนินการตามกฎหมาย         การแจกถุงยางฟรี คือ สิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยทาง สปสช. จัดให้แก่ชายไทยทุกคน พร้อมกับแจกยาคุมกำเนิดให้แก่สตรี โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมอีกด้วย ดังนั้นอย่าหลงเชื่อผู้ที่หาประโยชน์โดยมิชอบเตือนภัย! ระวังไลน์ปลอม “กรมบัญชีกลาง”         กรมบัญชีกลางโดนมิจฉาชีพปลอมไลน์ โดยใช้ชื่อ “สพบ.กรมบัญชีกลาง” และ “กรมบัญชีกลาง” เพื่อหลอกลวงโดยมีการส่งต่อในกลุ่มไลน์ต่างๆ  นางสาวทิวาพร ผาสุก รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า มีมิจฉาชีพแอบอ้างโดยใช้ข้อมูลของกรมบัญชีกลางทำเป็นลิงก์ปลอม แอปพลิเคชันปลอม เว็บไซต์ปลอม หนังสือราชการปลอม เพื่อให้ข้าราชการ ผู้รับบำนาญและบุคคลในครอบครัว ประชาชนหลงเชื่อจนเกิดความเสียหาย จึงขอย้ำว่า “กรมบัญชีกลางไม่มีนโยบายส่งไลน์ SMS หรือโทรศัพท์หาข้าราชการหรือประชาชน ดังนั้นเตือนอย่าหลงเชื่อ อย่ากด อย่าดาวน์โหลด อย่าแชร์เด็ดขาด” เร่งทำมาตรฐาน “บันไดเลื่อน” ป้องกันเหตุไม่คาดฝัน         จากเหตุการณ์ที่พบว่า มีผู้บริโภคหลายคนเจออุบัติเหตุเกี่ยวกับบันไดเลื่อนจนเกิดความไม่ปลอดภัยบาดเจ็บและพิการนั้น วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566  สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) มีมติเห็นชอบให้จัดทำมาตรฐานดังกล่าวเพิ่มเติมเป็นการด่วน         โดยนางสาว พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า จากเหตุพบว่ามีอุบัติเหตุบันไดเลื่อนและทางลาดเลื่อนในห้างสรรพสินค้าต่างๆ บ่อยครั้ง จึงได้สั่งให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานบันไดเลื่อน ทางเดินอัตโนมัติ ลิฟท์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ด้านนายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เตรียมออกประกาศมาตรฐาน “บันไดเลื่อน ทางเลื่อน และลิฟท์” เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยและระบบไฟฟ้า โดยอ้างอิงตามมาตรฐานระหว่างประเทศ (มาตรฐาน ISO) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและทั่วโลกได้นำไปใช้ โดยจะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ ส่วนประกอบ การติดตั้ง ความสูง ความเร็ว น้ำหนักบรรทุก รวมถึงการประเมินความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงจากการใช้งาน  ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าวได้ภายในเดือนมีนาคม 2567    พิพากษายกฟ้องคดี “กระทะโคเรียคิง” โฆษณาเกินจริง         จากกรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและกลุ่มผู้บริโภคที่เสียหาย ได้ยื่นฟ้อง บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น จำกัด เป็นคดีผู้บริโภค และขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม เนื่องจากเป็นการโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริงและสินค้าดังกล่าวไม่เป็นไปตามโฆษณา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 นั้น         เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ศาลแพ่งได้นัดฟังคำพิพากษา ซึ่งนางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมายและทนายความ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากศาลเห็นว่า ตามการโฆษณาของบริษัทว่ากระทะมี 8 ชั้น ไม่ได้เป็นการบ่งชี้ว่ากระทะไม่มีคุณสมบัติหรือส่วนประกอบตามที่จำเลยโฆษณา เนื่องจากจำเลยพิสูจน์ว่ากระทะมีการเคลือบกว่า 8 ชั้นจริง แต่ไม่สามารถมองเห็นการแยกชั้นเป็น 8 ชั้นด้วยตาเปล่าได้ ศาลจึงวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำการละเมิดสิทธิผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการผิดสัญญาที่ไม่ส่งมอบสินค้าให้ตรงตามโฆษณา ดังนั้นทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายจึงเตรียมยื่นอุทธรณ์เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคต่อจนถึงที่สุด         ย้อนกลับไปยังต้นเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคฟ้องร้อง บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น คือ โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่า ”กระทะโคเรีย คิง ใช้นวัตกรรม 8 ชั้น ประกอบด้วย หินอ่อนเงิน , หินอ่อนทอง , พร้อมด้วย เทคโนโลยีนาโนซิลเวอร์ โค้ตติ้ง ป้องกันแบคทีเรีย เมื่อนำไปปรุงอาหารทำให้อาหารไม่ติดกระทะ โดยราคา กระทะใบละ 15,000 บาท แต่หากซื้อผ่านรายส่งเสริมการขายจะเหลือเพียง 3,900 บาท และซื้อ 1 ใบ แถมอีก 1 ใบ”  ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. ได้เข้าไปตรวจสอบและพบว่าไม่เป็นตามโฆษณา อีกทั้งพบประเด็นการตั้งราคาขายสูงจริง คืออ้างว่า ราคาจริงของกระทะอยู่ที่ใบละ 15,000 และ 18,000 บาท ซึ่งถือเป็น “การปลอมราคาจริง (Fake Original Price)”  สคบ. จึงมีมติสั่งระงับโฆษณาทั้งหมด ต่อมามีผู้เสียหายจากการซื้อกระทะดังกล่าวได้เข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงประกาศเป็นตัวกลางฟ้องคดีแบบกลุ่มแทนผู้บริโภคที่เสียหายจากกระทะ โคเรีย คิง โดยเชื่อว่าจะเป็นคดีผู้บริโภคตัวอย่างเพื่อทำให้ภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการโฆษณาสินค้าและคุณภาพสินค้าเป็นไปตามที่โฆษณาให้ดีมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)