ฉบับที่ 172 ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือกับ Police i lert u

เหตุฉุกเฉินมักจะไม่บอกสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้น สติ คือสิ่งที่ควรมีที่สุดในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีสติ สิ่งต่อไปคือต้องมีผู้ช่วยที่จะคอยช่วยเหลือชีวิตและทรัพย์สินของเราด้วย 

ก่อนหน้านี้เมื่อเกิดเหตุด่วน ทุกคนจะต้องนึกถึงหมายเลขโทรศัพท์ 191 โดยมีความหวังให้ตำรวจเดินทางมาช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ล่าสุดได้มีแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาโดยกองบัญชาการตำรวจนครบาลทำออกมาเพื่อตอบสนองกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเหนือจากหมายเลขโทรศัพท์ 191

แอพพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า Police i lert u แอพพลิเคชั่นนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และระบบปฏิบัติการ ios หลังจากที่ได้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาไว้บนสมาร์ทโฟนแล้ว ขั้นตอนแรกคุณจะต้องคลิก sign up เพื่อสมัครและกรอกรายละเอียดสำคัญ อาทิเช่น ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ สำหรับให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดต่อกลับมายังเจ้าของสมาร์ทโฟนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ในแอพพลิเคชั่น Police i lert u คุณสามารถ sign in และ log out ออกจากแอพพลิเคชั่นได้ตลอด

ภายในแอพพลิเคชั่นจะสามารถส่งข้อความแบบ chat กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่บริเวณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ทั้งเรื่องรูปภาพ พาสเวิร์ด 

หมวดที่สำคัญอีก 2 หมวดสำหรับแอพพลิเคชั่นนี้ อย่างแรก คือ หมวด i lert เป็นหมวดที่มีไว้สำหรับส่งสัญญาณเพื่อแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจากแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยเมื่อเข้าหมวดนี้ แอพพลิเคชั่นจะค้นหาตำแหน่งสมาร์ทโฟนว่าอยู่ตรงไหน จะเห็นว่ามีพิกัดเป็นตัวเลขลองจิจูดและละติจูด ด้านล่างคุณสามารถเขียนข้อความเพื่อแจ้งรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งสามารถแนบรูปถ่าย

สถานที่เกิดเหตุ ต่อจากนั้นให้กดปุ่มสัญลักษณ์สัญญาณบริเวณด้านบนขวา ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนกลาง เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ และแจ้งให้เดินทางมาถึงสถานที่นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ในกรณีที่คุณไม่สามารถเขียนข้อความหรรือถ่ายรูปได้ ก็สามารถที่จะกดปุ่มส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้เลย

หมวดสุดท้ายที่สำคัญ คือ หมวด i call เป็นหมวดที่แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่จะสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณที่ใกล้คุณมากที่สุด เพื่อให้สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้รวดเร็วมากขึ้น

แอพพลิเคชั่น Police i lert u ถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีประโยชน์ และควรดาวน์โหลดไว้บนสมาร์ทโฟน เพื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และที่สำคัญควรกดปุ่มเพื่อส่งสัญญาณของความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นเท่านั้น

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ แอพพลิเคชั่น ส่งสัญญาณ ขอความช่วยเหลือ

ฉบับที่ 277 เขียนคำให้ถูกต้องกับราชบัณฑิตยสถาน

        การทำงานในแต่ละอาชีพ บางครั้งจำเป็นต้องใช้เอกสารในการดำเนินเรื่อง อาจจะอยู่ในรูปแบบบันทึกข้อความ โครงการ ผลการดำเนินการ เอกสารการขออนุมัติ เป็นต้น ดังนั้นการเขียนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น นอกจากจะต้องเล่าเรื่องความเป็นมาได้แล้ว การเขียนก็มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งการเขียนเอกสารสำคัญย่อมจำเป็นต้องเขียนให้ถูกต้องเสมอ         เมื่อถึงเวลาที่ต้องเขียนเอกสารเหล่านั้น หลายคนน่าจะเคยสะดุดกับคำบางคำ ที่ทำให้ไม่แน่ใจว่าต้องเขียนให้ถูกต้องอย่างไร ยิ่งถ้าอยู่ในแผนกที่ต้องให้ความสำคัญกับการเขียนและการสะกดคำที่ถูกต้องแล้วนั้น ยิ่งจำเป็นต้องค้นหาและตรวจสอบคำต่างๆ ตลอดเวลา ดังนั้นการมีตัวช่วยที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ทุกที่ น่าจะเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ได้ดี         เมื่อต้องการค้นหาและตรวจสอบคำผิดถูก ทุกคนจะนึกถึงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่างๆ ซึ่งสามารถค้นหาและตรวจสอบคำถูกผิดฉบับออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ที่ https://dictionary.orst.go.th/          อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยปัจจุบัน เทคโนโลยีจะถูกนำมาย่อในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จึงร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค เล็งเห็นความสำคัญและเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลวิชาการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์” ที่มีชื่อว่า “แอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” และ “แอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ช่วยให้คนไทยใช้ภาษาไทยได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว         การใช้งานของทั้ง 2 แอปพลิเคชันไม่มีความซ้ำซ้อน เพียงแค่เข้าไปยังหมวดที่ต้องการและค้นหาคำศัพท์เท่านั้น โดยจะอธิบายความแตกต่างของหมวดภายในแอปพลิเคชัน ดังนี้         “แอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” จะแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดค้นหาคำศัพท์ หมวดค้นตามหมวดอักษร หมวดประวัติการค้นหา หมวดบุ๊กมาร์ก และหมวดข้อมูลอื่นๆ                 “แอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” จะแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดอ่านอย่างไร หมวดเขียนอย่างไร หมวดประวัติการค้นหา หมวดบุ๊กมาร์ก และหมวดข้อมูลอื่นๆ         ทั้งนี้ หมวดบุ๊กมาร์ก เป็นหมวดที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันได้บันทึกคำศัพท์ที่ค้นหาบ่อยหรือมีความพิเศษที่ต้องการเก็บไว้ และที่น่าสนใจ คือ หมวดข้อมูลอื่นๆ ในแอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะมีข้อมูลการสอนอ่านพยัญชนะ ตัวเลขบอกเวลา เลขหนังสือราชการ การอ่านเครื่องหมายต่างๆ ฯลฯ อีกด้วย         เพียงแค่มีแอปพลิเคชันของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามาเป็นตัวช่วย การสะกดคำให้ถูกต้องก็จะไม่ยากอีกต่อไป 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 SAANSOOK สานสุขกายสุขใจ

        ยุคสมัยเปลี่ยนไปขนาดไหน โลกจะหมุนวันเวลาไปนานมากเท่าไร ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น นั่นคือ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือประโยคที่ว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธประโยคนี้ได้จริงๆ      การจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ ต้องดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการรักษาสุขภาพใจให้มีความสุข โดยฉบับนี้มาแนะนำตัวช่วยในการควบคุมดูแลเพื่อวางแผนสุขภาพอย่างใกล้ชิดบนสมาร์ทโฟนที่สามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา อย่างแอปพลิเคชัน SAANSOOK ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบัติการ iOS         มารู้จักแอปพลิเคชัน “SAANSOOK” หรือ “สานสุข” กัน โดยพัฒนาขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และภาคีเครือข่าย แค่ชื่อก็รู้ได้เลยว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มาช่วยให้การดำเนินชีวิตที่เคร่งเครียด ให้ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งแอปฯ นี้จะมาเป็นผู้ช่วยที่จะทำให้มองเห็นสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันของผู้ใช้แอปฯ ชัดเจนขึ้น และคอยวางแผน บริหารจัดการ และแนะนำด้านสุขภาพอย่างใกล้ชิด ทั้งการกิน การนอน การออกกำลังกาย และการรักษาสุขภาพใจให้มีความผ่อนคลาย ออกมาในรูปแบบของข้อมูลตัวเลขและเชื่อถือได้         เบื้องต้นแอปพลิเคชันจะให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเพื่อเก็บเป็นประวัติ ได้แก่ วันเกิด เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง สัดส่วนรอบเอว และสอบถามเพิ่มเติมถึงพฤติกรรมการออกกำลังกาย โรคประจำตัว เป้าหมายสุขภาพที่ให้เลือก ได้แก่ เป้าหมายการลดน้ำหนัก เป้าหมายในการรักษาน้ำหนัก หรือเป้าหมายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ โดยแอปพลิเคชันจะให้กรอกตัวเลขเพื่อกำหนดเป้าหมายต่างๆ เมื่อกรอกเสร็จสิ้นจะเข้าสู่หน้าหลักที่มีหมวดสำคัญดังนี้ หมวดภาพรวมสุขภาพ เป็นหมวดรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติของพลังงาน ปริมาณการกินอาหารและน้ำ ชั่วโมงการนอนพักผ่อน และหมวดแนะนำเพื่อคุณ เป็นหมวดที่รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อแนะนำการกิน การนอน การออกกำลังกาย ซึ่งในหมวดนี้เหมาะสำหรับสายควบคุมน้ำหนักอย่างมาก         ในส่วนของการบันทึกการกินจะอยู่ในหมวดภาพรวมสุขภาพ โดยจะให้บันทึกมื้ออาหารในแต่ละมื้อ จากนั้นแอปพลิเคชันจะคำนวณปริมาณแคลอรี่ของอาหารแต่ละประเภทนั้นให้เห็นชัดเจนว่ามีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว ไฟเบอร์ น้ำตาล และโซเดียม ในปริมาณเท่าใด การคำนวณแคลอรี่และคำนวณข้อมูลเมนูอาหารเหล่านี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้รู้เท่าทันและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้มีคุณภาพได้         นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกการดื่มน้ำ เพื่อให้สามารถวางแผนการดื่มน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอ และบันทึกความผ่อนคลาย เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการรักษาดูแลและเยียวยาจิตใจให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอย่างสม่ำเสมอ         ลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SAANSOOK เพื่อสานสุขทั้งกายและใจ กันดูนะคะ

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 ฝึกฝนภาษาบนสมาร์ทโฟนด้วยปลายนิ้ว

        การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม เมื่อได้เรียนรู้ ทักษะความสามารถย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเท่านั้น การอ่านหนังสือ การอ่านข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การเล่าสู่กันฟัง การอธิบายยกตัวอย่าง ฯลฯ รวมถึงการฝึกฝนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เช่นกัน         ปัจจุบันภาษาเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลที่ช่วยในการสื่อสารกันทั่วโลก ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษ ทั้งทางด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ก็มีความสำคัญอย่างมาก        ฉบับนี้มาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องใช้ทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการฝึกพูด ด้วยแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Johnny Grammar Word Challenge ของ British Council ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ แอปพลิเคชันนี้เป็นการทดสอบคำศัพท์ การสะกดคำ และไวยากรณ์สำหรับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของผู้เรียนภาษาอังกฤษ โดยทดสอบผ่านการทำแบบฝึกหัดจากการแข่งขันกับเวลาภายในระยะเวลา 60 วินาที การเข้าใช้แอปพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้โดยการกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือเข้าใช้ผ่าน facebook หรือเลือกเข้าใช้แบบ guest ซึ่งไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยภายในแอปพลิเคชันจะมีหมวดการทดสอบ 3 หมวด ได้แก่ หมวด Grammar (ไวยากรณ์) หมวด Words (คำศัพท์) และหมวด Spelling (สะกดคำ)         หมวด Grammar เป็นหมวดที่ทดสอบด้านไวยากรณ์ แบ่งตามหัวข้อจากระดับง่ายไปจนถึงระดับยาก ดังนี้ หัวข้อคำบุพบท (preposition) หัวข้อกริยาไม่ปกติ (Irregular verbs) หัวข้อคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ (Adjectives & adverbs) หัวข้อคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ (Countable and uncountable) หัวข้อกริยาที่มี  to และไม่มี  to หรือกริยาที่เติม ing และใช้แบบ noun (Infinitives or gerunds) หัวข้อการใช้คำ More or less หัวข้อเกี่ยวกับสี (Expression with colour) หัวข้อการใช้คำ Few and little หัวข้อคำวิเศษณ์ (Adverbial Clauses) หัวข้อกริยาช่วย (Modals) หัวข้อคำเชื่อม (Linkers) และหัวข้อคำสันธาน (Conjunctions)         หมวด Words (คำศัพท์) เป็นหมวดที่ทดสอบด้านคำศัพท์ แบ่งตามหัวข้อตามกิจกรรม ดังนี้ หัวข้อร้านอาหาร หัวข้อการท่องเที่ยว หัวข้อการสนทนาสั้นๆ หัวข้องานอดิเรก หัวข้อคำ idioms หัวข้อแสดงความเป็นตัวตน หัวข้อความสนใจ หัวข้อการทำงาน หัวข้อการสนทนาง่ายๆ และหัวข้อช้อปปิ้ง ส่วนหมวด Spelling เป็นหมวดที่ทดสอบด้านการสะกดคำ เมื่อกดในหมวดนี้แอปพลิเคชันจะนำไปสู่การทดสอบโดยกำหนดโจทย์ในรูปแบบประโยคและให้ผู้ใช้เลือกคำให้เหมาะสม ซึ่งในหมวดนี้จะเป็นการทบทวนการใช้ประโยคไปในตัว ทั้งนี้เมื่อจบบททดสอบการสะกดคำแล้ว แอปพลิเคชันจะสรุปและเฉลยคำตอบทีละข้อเพื่อให้ตรวจสอบและทำความเข้าใจอีกครั้งมาฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษกันผ่านแอปพลิเคชันนี้กัน เพราะการเรียนและฝึกฝนทุกวันจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเราได้อย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 Click ชุมชนด้วยแอปพลิเคชัน

        ด้วยโอกาสอันดีในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลปีใหม่นี้ เหล่าพนักงานเงินเดือนหลายคนได้วางแผนเดินทางท่องเที่ยวก่อนที่จะเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะได้หนุดพักเหนื่อยและชาร์จพลังงานกลับคืนมาหลังจากที่นั่งทำงานมาทั้งปี ฉบับนี้ขอมาแนะนำนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งชุมชน ชื่นชอบการช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผู้ที่มองหาของขวัญปีใหม่ควบคู่กับการสนับสนุนรายได้ให้กับคนในพื้นที่ จากแอปพลิเคชัน Click ชุมชน         แอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” นี้เกิดขึ้นจากการประชุมขับเคลื่อนการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลเพื่อให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนาและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android         หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ผ่าน Line ผ่าน E-mail เป็นต้น ซึ่งภายในแอปพลิเคชันจะพบกับเมนู 13 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เมนู CDD พาเที่ยว เพื่อให้ข้อมูลการเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยว Virtual Tours เที่ยวเสมือนจริง GIS ชุมชนท่องเที่ยว และ Trip ท่องเที่ยว ในเมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว โดยสามารถเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด และเลือกเชื่อมต่อเส้นทางไปยัง Google Map ได้ หมวดที่ 2 เมนู Shop ชุมชน ที่ช่วยรวบรวมแหล่งรวมสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาไว้ในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหา พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ของคนในชุมชนอีกด้วย         หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง        หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)