ฉบับที่ 93 กระแสในประเทศ

17 ตุลาคม 2551 
สธ.โวยมีคนแอบใช้นมผลิตอาหารสัตว์ทำ "เบเกอรี่" จี้ คลัง-เกษตรฯ ส่งตรวจซ้ำ 
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เพื่อขอความร่วมมือให้ด่านศุลกากรทั่วประเทศตรวจสอบการนำเข้านมจากประเทศจีน ที่แจ้งวัตถุประสงค์เพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ โดยขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของ อย.ประจำด่านอาหารและยา เพื่อสุ่มตรวจนมที่มีการนำเข้าทุกลอตซ้ำ เนื่องจากพบว่า มีการนำนมดังกล่าวมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์จากนม ที่คนนำมาบริโภค เช่น เบเกอรี่ต่างๆ

อย.ได้กำชับเจ้าหน้าที่ประจำด่านอาหารและยาทั่วประเทศ ประสานกับเจ้าหน้าที่ของด่านศุลกากรและด่านปศุสัตว์ เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์จากนมต่างประเทศ โดยเฉพาะของจีนอย่างเข้มงวด และให้รอผลการตรวจหากการปนเปื้อนสารเมลามีนจากกรมวิทย์ฯ ก่อนที่จะนำสินค้าออกจากด่านทั้ง 32 ด่าน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------



22 ตุลาคม 2551
“หยินจี้หวง” ยาสมุนไพรทำเด็กจีนตาย ไม่พบในไทย 
ข่าวกระทรวงสาธารณสุขจีน สั่งให้โรงพยาบาลทั่วประเทศงดการใช้ยา “หยินจี้หวง” ที่ใช้รักษาโรคตับและโรคดีซ่านในทารก ซึ่งมีส่วนประกอบของสมุนไพร ดอกพุด และต้นสายน้ำผึ้ง ผลิตโดยบริษัท ไทฮั่ง ฟาร์มาซูติคอล เนื่องจากทำให้ทารกเสียชีวิตแล้ว 1 ราย และป่วยอีก 3 รายนั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยได้เร่งตรวจสอบเป็นการด่วนแล้วพบว่า ไม่มียาดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย และไม่มีการผลิตหรือนำเข้ายาสมุนไพรจีน ที่มีส่วนประกอบของดอกพุดและต้นสายน้ำผึ้งในตำรับอื่นเข้าในประเทศไทยอีกด้วย ขอให้ประชาชนไทยมั่นใจได้

“สำหรับประชาชนที่นิยมใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วย แนะนำให้ซื้อจากร้านขายยาสมุนไพรที่มีใบอนุญาตถูกต้อง ถ้าเป็นยาแผนโบราณหรือยาสำเร็จรูป ต้องสังเกตว่ามีเลขทะเบียนตำรับยา หากพบข้อน่าสงสัยหรือไม่มั่นใจว่าเป็นยาสมุนไพรที่ปลอดภัย สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อ อย.จะได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบต่อไป”




นักโภชนาการหนุนดื่มนมแม่ เลี่ยงเมลามีน 
นางสุจิต สาลีพัน นักโภชนาการ 8 กรมอนามัย กล่าวว่า การพบการปนเปื้อนสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์นม นมผง อาหาร ขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของนมนั้น อาจทำให้ผู้ปกครองห่วงใยบุตรหลาน และอาจหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน หรือระมัดระวังจนทำให้ร่างกายของเด็กขาดโปรตีนและแคลเซียม

ซึ่งความจริงผู้ปกครองควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้มาเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยนมแม่แทน เพราะในน้ำนมแม่มีโปรตีน แร่ธาตุ และสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่านมวัวและนมอื่นๆ ทั้งยังส่งผลให้เด็กมีภูมิคุ้มกันโรค ร่างกายแข็งแรง มีไอคิว อีคิวดี และเป็นการเสริมสร้างใยรักจากแม่สู่ลูกด้วยการสัมผัส ซึ่งเด็กสามารถดื่มนมแม่ได้ถึงอายุ 2 ขวบ และหากแม่ต้องเดินทางไปทำงาน ในปัจจุบันก็มีถุงเก็บน้ำนมที่แม่สามารถปั๊มเก็บไว้ให้ลูกดื่มได้ และยังอาจเสริมด้วยผลไม้บด เช่น กล้วยน้ำว้าบด เป็นต้น




29 ตุลาคม 2551
ทั่วโลกร่วมร่างกฎคุมบุหรี่เถื่อน ห้ามดิวตี้ฟรีขายบุหรี่ปลอดภาษี 
รายงานจากการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า สมาชิกสมาคม 160 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันหารือในประเด็น การกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน โดยห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษี โดยเฉพาะในร้านสินค้าปลอดภาษีของสนามบินต่างๆ ที่สามารถขายบุหรี่ได้แต่ต้องเป็นบุหรี่ที่จัดเก็บภาษีแล้วเท่านั้น เนื่องจากช่องทางนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการมีบุหรี่เถื่อนเล็ดลอดออกมาจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังห้ามโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มาตรการห้ามโฆษณาบุหรี่ 100% จึงสามารถลดการสูบบุหรี่ได้เต็มที่ โดยเรื่องดังกล่าวนี้ยังจะต้องมีการประชุมอีก 2-3 ครั้ง จึงจะได้ข้อสรุป เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็นเหล่านี้บรรจุในกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาฯ มาก่อน




30 ตุลาคม 2551
“อัมมาร” เซ็งนักการเมืองหัวหดไม่เก็บภาษี รพ.เอกชนที่ทุ่มรักษาชาวต่างชาติเต็มที่
ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีแนวคิดจะเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผลักดันมาตรการการจัดเก็บภาษีสถานพยาบาลเอกชนที่ให้บริการรักษาโรคกับชาวต่างชาตินั้น ตนเองได้เสนอแนวคิดในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมานานแล้ว และสนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างเต็มที่ 100% ซึ่งในทางปฏิบัติยังไม่มีการจัดเก็บภาษีนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงยังเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญ

“แม้ สปสช.จะเล็งเห็นถึงความสำคัญ แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนให้เป็นนโยบายของภาครัฐได้สำเร็จ เพราะ สปสช.ไม่มีอำนาจเพียงพอ เรื่องนี้จะต้องใช้อำนาจของกระทรวงการคลังหรือรัฐบาล เป็นเจ้าภาพดำเนินการเท่านั้น แต่ขณะนี้เมื่อพูดถึงเรื่องการจัดเก็บภาษี นักการเมืองก็หัวหด ไม่มีใครใจถึงกล้าทำสักคน ขณะนี้จึงยังคงเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น หากจะนำไปบังคับใช้จริง จะต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี เสีย และอัตราการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเพียงพอ” ดร.อัมมาร กล่าว

“เมดิเคิลฮับ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แพทย์ในระบบราชการถูกซื้อตัวไปอยู่ภาคเอกชนที่มีรายได้จาการรักษาชาวต่างชาติเป็นมูลค่าที่สูงมาก ซึ่งจากข้อมูลสถานพยาบาลเอกชนกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ ที่ให้บริการรักษาชาวต่างชาติเมื่อปี 2550 พบว่า มีชาวต่างชาติมารักษาโรคในประเทศไทย ประมาณ 1.5 ล้านบาท มีรายได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท” ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง หัวหน้าโครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทีดีอาร์ไอ กล่าว



กิน “ปลา” ต้านเบาหวาน 
คนในยุคปัจจุบันมีความเสี่ยงกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น จนต้องรณรงค์เพื่อลดปัญหาดังกล่าวกันขนานใหญ่ ล่าสุดมีการรณรงค์ “กินปลาไร้พุงต้านโรคเบาหวาน” ขึ้นเนื่องใน “วันเบาหวานโลก” 14 พ.ย. 2551 นี้

ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา คณะกรรมการกองทุน สสส. ให้ข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลกได้มีการประเมินว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกอย่างน้อย 194 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 300 ล้านคน ในอีก 17 ปีข้างหน้า และจากการสำรวจในไทยที่ผ่านมาพบคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการชี้ให้เห็นด้วยว่า โรคเบาหวานนั้นมีความอันตรายสูงกว่าโรคเอดส์ เพราะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 3.2 ล้านคน ส่วนเอดส์นั้นเสียชีวิตเพียง 3 ล้านคนต่อปี

“เบาหวานที่พบบ่อย คือ เบาหวานชนิดที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่อ้วน หรือคนอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นคนที่ออกแรง หรือออกกำลังกายน้อยเกินไป อีกทั้งในปัจจุบันนี้ยังพบมากในเด็ก ซึ่งเป็นการกินอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง และวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดปัญหาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน คือการหันมาส่งเสริมการกินอาหารแบบไทยโดยการเน้นการบริโภคปลาให้มากขึ้น เพราะปลานั้นเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีราคาถูก ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานได้” พญ.ชนิกาอธิบาย

ด้าน นพ.ฆนัท ครุธกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและโภชนวิทยาคลินิก โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลเสริมว่า ไม่ว่าจะเป็นปลาน้ำจืด หรือปลาน้ำเค็มก็มีคุณค่าไม่แตกต่างกันมาก แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ปลาน้ำเค็มนั้นจะมีไอโอดีนสูง แต่ก็จะมีคอเลสเตอรอลสูงเช่นกัน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตกค้างในทะเลอย่าง สารปรอท สารตะกั่ว



ดื่ม “กาแฟ” ไม่ทำให้ผอมเพรียว 
ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า การดื่มกาแฟแล้วจะทำให้รูปร่างผอมเพรียว ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด แม้ว่ากาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมาก โดยหวังว่าจะให้ร่างกายผอม หุ่นดีนั้นอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้ แทนที่จะผอม เพราะกาเฟอีนจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานดีขึ้น แต่หากทานมากไปจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ

“เป็นไปไม่ได้ที่กาแฟจะทำให้ลดน้ำหนักได้ เพราะไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันเช่นนั้น ทั้งนี้ ถ้าหากกินกาแฟสูตรใดสูตรหนึ่งแล้วสามารถลดน้ำหนักได้จริงคงเป็นการเติมสารอะไรบางอย่างทำให้มีผลต่อร่างกาย อาจเป็นยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก นอกจากนี้ หากดื่มกาแฟมากกว่าวัน 2 แก้วต่อวัน ก็อาจมีผลเสียกับร่างกายได้ เพราะหากร่างกายได้รับปริมาณกาเฟอีนเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้” นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการระดับ 9 กรมอนามัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม




ผู้บริโภคตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ต้านการละเมิดสิทธิของธุรกิจโทรคมนาคม
4 พ.ย.51 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคจับมือสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดตัวศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคภาคประชาชน กรุงเทพมหานคร รวมกว่า 31 ศูนย์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมเดินหน้ารับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมบางรายยังมีพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบลูกค้า โดยเฉพาะการกำหนดวันหมดอายุการใช้งานของซิมแบบเติมเงิน รวมทั้งการเก็บค่าต่อสัญญาณใหม่ 107 บาท

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้กล่าวในเวทีเสวนาหัวข้อ “เราจะหยุดการเอาเปรียบของธุรกิจโทรคมนาคมได้อย่างไร” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการดังกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคในหลายๆ ปัญหาที่พบมาก คือการถูกเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนทั้งที่ไม่ได้เปิดใช้บริการใช้ซิมฟรีที่ได้รับแจกมา การใช้ซิมแบบเติมเงินแต่ถูกกำหนดวันหมดอายุการใช้งานต้องเติมเงินเพิ่มทั้งๆ ที่มีเงินเหลืออยู่

อีกปัญหาที่มีการร้องเรียนมาโดยตลอดคือ กรณีลูกค้าขอเปิดใช้งานโทรศัพท์หลังโดนระงับสัญญาณเพราะค้างชำระค่าบริการ แทนที่ผู้ให้บริการจะคิดค่าปรับตามอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแต่กลับใช้วิธีเรียกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณใหม่ ในอัตรา 107 บาทตายตัว และบางเจ้าก็เรียกเก็บในอัตรา 214 บาท ซึ่งเป็นการขัดกับข้อกำหนดในเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมตามพระราชบัญญัติการประกบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ห้ามไม่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการนอกเหนือหรือเกินกว่าอัตราขั้นสูงที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กำหนด แต่ในทางปฏิบัติยังมีการละเมิดสิทธิในเรื่องนี้อยู่ แต่เมื่อลูกค้าร้องเรียนหรือขอให้มีการยกเว้นก็จะมีการคืนเงินในส่วนนี้ให้ และเป็นการให้เฉพาะรายไม่ใช่ทุกรายเสมอไป

“ในขณะนี้แม้กฎหมายจะกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและห้ามคิดค่าโทรในการร้องเรียน แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเต็มที่จากผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ จึงถือเป็นหน้าที่ของ สบท. ที่นอกจากจะมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของตนเองแล้ว ยังจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนรวมตัวกันเพื่อปกป้องพิทักษ์สิทธิของตนเอง การจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิภาคประชาชนจะช่วยทำให้ประชาชนได้รับรู้และตระหนักในสิทธิของตนเองได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

ด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า จากปัญหาหลากหลายที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องเร่งให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจัดตั้ง “ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนในกิจการโทรคมนาคม” ขึ้น โดยจะเริ่มต้นในเขต กรุงเทพมหานครเป็นลำดับแรก โดยจะมีทั้งหมด 31 ศูนย์ มีพื้นที่ให้บริการประชาชนครอบคลุมทุกเขตของกรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นองค์กรประสานงานกลาง 

โดยปัญหาเร่งด่วนที่วางเป้าว่าจะต้องมีข้อยุติภายในปีนี้คือ การกำหนดวันหมดอายุการใช้งานของโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน และการคิดค่าต่อสัญญาณโทรศัพท์ใหม่ที่ไม่ใช่ลักษณะของการคิดค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องทำไม่ได้กับผู้บริโภคทุกรายไม่ใช่รายที่มีการร้องเรียนเข้ามาเท่านั้น

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ เบเกอรี่ ยาสมุนไพร บุหรี่ ภาษี

ฉบับที่ 275 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2567

ร้องเรียน 9,218 เรื่อง ปัญหามลพิษ ปี 2566        อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เผยมีประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษในปี 2566 เข้ามากว่า 9,218 เรื่อง ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงสายด่วน 1650 โดยพบว่าจำนวน 8,043 เรื่อง เป็นกรณีเหตุรำคาญต่างๆ โดยทางกรมควบคุมมลพิษได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ร้องเรียนและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา อีก 1,175 เรื่อง ทางกรมควบคุมมลพิษดำเนินการเอง ส่วนใหญ่แหล่งกำเนิดมลพิษ คือ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารประเภทต่างๆ การเลี้ยงสุกร โดยได้รับการแก้ไขแล้วกว่า 836 เรื่อง         ทั้งนี้ ประเด็นที่พบมากที่สุด ได้แก่ 1. ปัญหากลิ่นเหม็น  2. ปัญหาฝุ่นละออง-เขม่าควัน และ 3. เสียงดัง-เสียงรบกวน   ผลิต-เผยแพร่สื่อลามกด้วย AI ระวังโทษคุก 5 ปี                    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยว่า ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาใช้สร้างเนื้อหาปลอมเพื่อใช้ในการฉ้อโกงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมถึงผลิตสื่อลามกอนาจาร โดยมักนำภาพของบุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดารา นักแสดง นักร้อง มาใช้เป็นใบหน้าตัวอย่างและสร้างคลิปลามกแล้วนำไปเผยแพร่หรือจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทางออนไลน์ ประชาชนต้องระวังต่อภัยดังกล่าว ทั้งนี้ฝากเตือนถึงผู้ที่ผลิตและเผยแพร่สื่อลามกปลอมด้วย AI  ดังกล่าวนั้น จะถือว่าเข้าข่ายความผิดทางอาญาถึง 6 ฐานความผิด ระวางโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ปรับสูงสุดถึง 200,000 บาท ระวัง! ไลน์ปลอม ก.ล.ต. อ้างเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน         จากกรณีพบบัญชีไลน์แอบอ้างเป็น “ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ภายใต้สำนักงาน ก.ล.ต.” นั้น   ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำการตรวจสอบถึงกรณีดังกล่าวแล้ว และได้ทำการชี้แจ้งว่า บัญชีไลน์ที่ว่ามีการปลอมแปลงและแอบอ้างการใช้โลโก้ของหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับข้อมูลอาจเข้าใจผิดและหลงเชื่อเข้าลงทุนจนเกิดความเสียหาย  ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่างหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้ง ไม่แชร์หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวด้วย ลูกชิ้นเถื่อน         กองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจค้นพื้นที่ ม.4 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี หลังพบว่ามีการใช้สถานที่ดังกล่าวในการผลิตและจัดส่งจำหน่ายลูกชิ้นไม่ถูกสุขอนามัย ไปในพื้นที่ใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดลูกชิ้นกว่า 2,400 ถุง พร้อมอุปกรณ์เครื่องจักร บรรจุภัณฑ์ และส่วนผสมต่างๆ กว่า 31 รายการ พร้อมนำตัวอย่างส่งตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ลูกชิ้นที่พบมีทั้งมียี่ห้อและไม่มียี่ห้อรวม 9 รายการ ดังนี้ 1.ลูกชิ้นหมูตราตี๋ใหญ่  2.ลูกชิ้นหมูเมืองทอง ตราโกดี KODEE  3. ลูกชิ้นหมูเมืองทองตราที.เค  4.ลูกชิ้นหมูตราตี๋เล็ก  5.ลูกชิ้นเนื้อตราตี๋ใหญ่  6.ลูกชิ้นเนื้อ ตรา เฮง 7.ลูกชิ้นเนื้อตราเมืองเอก 8.ลูกชิ้นหมู AR  9. ชาย 2 ลูกชิ้นหมู         ทั้งนี้  การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐาน “ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  มพบ. จี้ ขสมก. ตอบคำถาม “ทำไมรถต่างสี ราคาต่างกัน” ย้ำ นโยบายปฎิรูปรถเมล์ ให้คำนึงถึงผู้ใช้บริการ         16 มกราคม 67 จากกรณีรถยูโรทู "สายปฏิรูป" เปลี่ยนเลขสายใหม่ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เดินรถที่ได้สัมปทานโครงการปฏิรูปเอาเลขสายใหม่ไปใช้และเก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาท (แพงกว่าเดิม) โดยเก็บจากราคา "อัตราขั้นสูง" ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้ในตารางค่าโดยสาร (ทำให้การลดอัตราค่าโดยสารทำได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของอัตราขั้นสูง) เปิดช่องให้ผู้เดินรถเลือกที่จะเก็บค่าโดยสารตามอัตราขั้นสูงหรือหากจะลดราคาก็ให้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับทาง ขสมก. ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารรับรู้ล่วงหน้าสำหรับการขึ้นราคาครั้งนี้ จึงทำให้เกิดกระแสสังคมจากผู้บริโภคในเชิงตำหนิต่างๆ นั้น         นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ขอเป็นตัวแทนผู้บริโภคตั้งคำถามไปถึง ขสมก. ที่ต้องตอบให้ชัดว่า รถต่างสี ทำไมต้องเก็บราคาค่าโดยสารต่างกัน และ การเปลี่ยนเลขหมายรถนั้นมีเหตุผลอย่างไร อะไรที่เป็นเหตุต้องปรับงขึ้นราคาค่ารถ โดยไม่แจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า” มูลนิธิฯ ขอเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบก ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร เพราะนโยบายการ “ปฎิรูปรถเมล์” ของกรมการขนส่ง ควรคำนึงถึงผู้ใช้บริการให้มีรถเมล์บริการอย่างทั่วถึงและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะ ขสมก. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องให้บริการรถที่มีคุณภาพและคิดค่าบริการที่ราคาเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 ความเคลื่อนไหวเดือนธันวาคม ปี 2566

ระวังเบอร์โทรหลอกดูดเงิน        โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตือนภัยประชาชนกรณีที่มีมิจฉาชีพใช้เบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อประชาชนหลอกล็อกอินและดูดเงิน โดยมีวิธีการคือ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทวงการคลัง หลอกลวงให้กดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขต พร้อมให้ประชาชนล็อกอินใส่ username และ password ของ “แอปพลิเคชันเป๋าเงิน” พร้อมทั้งยังแอบอ้างว่าได้รับเอกสารสิทธิพิเศษจากกระทรวงการคลัง และมีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังอีกด้วย         ทั้งนี้  ทางโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอย้ำว่าหากมีเบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อไป อย่ารับเด็ดขาด ให้บล็อกได้เลย และยืนยันว่ากระทรวงการคลังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนให้ยกเลิกสิทธิ์โครงการของรัฐฯ แน่นอน ภัยออนไลน์ปี 2567 มิจฉาชีพอาจใช้ AI ลวงเหยื่อ         สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึง สถิติแจ้งความออนไลน์เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ผ่านมา  อันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์” มีจำนวนกว่า 150,000 คดี   ในส่วนคดีที่ความเสียหายรวมสูงที่สุด คือ “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” เสียหายรวมกว่า 16,000 ล้านบาท                    แนวโน้มรูปแบบอาชญากรรมทางออนไลน์ ปี 2567 ประชาชนต้องระมัดระวังมิจฉาชีพ ก่อเหตุโดยนำเทคโนโลยี  AI มาใช้ประโยชน์เพื่อปลอมแปลงฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหาย สร้างภาพคลิปปลอม เพื่อนำมาหาประโยชน์ต่างๆ เช่น             ·     การสร้างภาพ หรือคลิปปลอมเป็นบุคคลอื่น (AI Deepfakes)             ·     การเลียนเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือคนรู้จัก (AI Voice Covers)             ·     การสร้างคลิปลามกปลอม (AI Deepfakes)             ·     การสร้างข่าวปลอม (Fake News)         ขออย่าหลงเชื่อ ยึดหลัก “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศฉบับใหม่! ห้ามขาย “ใบกระท่อม” ให้คนท้อง-เด็กต่ำกว่า 18 ปี         เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง...การปิดประกาศหรือการแจ้งให้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทราบถึงข้อห้ามขายใบกระท่อมหรืออาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ พ.ศ. 2566  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2566 เป็นต้นไป         โดยประกาศให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ มีหน้าที่ต้องประกาศ ให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ดังนี้             1. ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย มองเห็นได้ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมกับสถานที่ขาย             2. ระบุข้อความที่ปิดประกาศว่า ไม่ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้                 ·บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี                ·สตรีมีครรภ์                ·สตรีให้นมบุตร                ·ให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบ โดยวิธีการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใด ปิดประกาศหรือแจ้งให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ปฏิบัติตามข้อ 3 โดยอนุโลม  3 กลุ่มโรคต้องระวังเมื่อถอนฟัน          จากกรณีข่าวสาววัย 25 ปี เสียชีวิตภายหลังถอนฟัน 2 ซี่ ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี นั้น ด้านนพ.เพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่าผลตรวจพบก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณกรามด้านขวา ซึ่งกดบีบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบากนำมาซึ่งการเสียชีวิต         การถอนฟันเป็นการรักษาปัญหาสุขภาพในช่องปากที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เพราะในช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีสามกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยควรต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนหากได้รับการวินิจฉัยว่าต้องถอนฟัน ได้แก่ กลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก เช่น ลิวคีเมีย โรคไตมีประวัติล้างไต  กลุ่มที่อาจแสดงอาการระหว่างทำฟัน เช่น ลมชัก หอบหืด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และกลุ่มโรคเบาหวานที่เสี่ยงแผลหายยาก         จี้ กสทช. แก้ปัญหาผู้บริโภครับผลกระทบรวม ทรู-ดีแทค         22 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายธนัช ธรรมิสกุล หน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เข้ายื่นหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึง คณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช.         “กรณีเรียกร้องให้เร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากผู้บริโภคหลังรวม ทรู-ดีแทค รวมถึงได้นำหลักฐานผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากทุกค่ายมือถือ ระหว่างวันที่ 9 – 23 พฤศจิกายน 2566 จำนวนผู้ทำแบบสำรวจ 2,924 ราย ยื่นแก่ พลเอกกิตติ เกตุศรี ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช.เป็นตัวแทนรับหนังสือ”         ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 5 ปัญหาที่พบมากที่สุด จากผลสำรวจมากถึงร้อย 81 หลักๆ มีดังนี้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า สัญญาณหลุดบ่อย โปรโมชันเดิมหมดต้องใช้โปรโมชันที่แพงขึ้น ค่าแพ็กเกจราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก และ call center โทรติดยาก อย่างไรก็ตาม ด้านข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจ เช่น ขอให้ยกเลิกการควบรวมรวมธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่าง ทรู-ดีแทค เพราะหลังจากที่มีการควบรวมแล้ว ผู้บริโภคพบเจอปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีปัญหา ราคาค่าบริการแพงขึ้น แพ็คเกจไม่หลากหลาย  พร้อมยังไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรงหลังจากการควบรวม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 273 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤศจิกายน 2566

สถิติร้องเรียนสายด่วน 1569 ไม่ติดป้ายราคามาอันดับหนึ่ง         ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เผยถึง กรณีสถิติการร้องเรียนของสายด่วน 1569 (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์) ในช่วงมกราคม – กันยายน 2566 ว่า มีเรื่องร้องเรียนรวมทั้งหมด 2,767 เรื่อง และเป็นหมวดเกี่ยวกับอาหารมากที่สุด           สำหรับอันดับเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุด มีดังนี้ 1.ไม่ติดป้ายแสดงราคา 1,390 เรื่อง 2.จำหน่ายราคาแพง 549 เรื่อง โดยมีการเปรียบเทียบกับปีก่อนร้องเรียนเพิ่มถึง 251 เรื่อง 3. ไม่ได้รับความเป็นธรรม อาทิ เช่น ปริมาณสินค้าไม่เหมาะสมกับราคา ป้ายราคาไม่ชัดเจน 359 เรื่อง 4. ใช้เครื่องชั่ง/มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซ LPG ไม่ได้มาตรฐาน  240 เรื่อง 5. แสดงราคาขายปลีกไม่ตรงกับราคาที่ขาย 169 เรื่อง         พบ “ถุงยางแจกฟรี” ของ สปสช. แอบขายออนไลน์         ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กล่าวถึง กรณีพบถุงยาที่แจกฟรีโดย สปสช. ไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นการนำสิ่งของที่รัฐแจกฟรีให้แก่คนทั่วไปมาแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งนี้ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว ไม่เช่นนั้นทาง สปสช. จะมีการดำเนินการตามกฎหมาย         การแจกถุงยางฟรี คือ สิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยทาง สปสช. จัดให้แก่ชายไทยทุกคน พร้อมกับแจกยาคุมกำเนิดให้แก่สตรี โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมอีกด้วย ดังนั้นอย่าหลงเชื่อผู้ที่หาประโยชน์โดยมิชอบเตือนภัย! ระวังไลน์ปลอม “กรมบัญชีกลาง”         กรมบัญชีกลางโดนมิจฉาชีพปลอมไลน์ โดยใช้ชื่อ “สพบ.กรมบัญชีกลาง” และ “กรมบัญชีกลาง” เพื่อหลอกลวงโดยมีการส่งต่อในกลุ่มไลน์ต่างๆ  นางสาวทิวาพร ผาสุก รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า มีมิจฉาชีพแอบอ้างโดยใช้ข้อมูลของกรมบัญชีกลางทำเป็นลิงก์ปลอม แอปพลิเคชันปลอม เว็บไซต์ปลอม หนังสือราชการปลอม เพื่อให้ข้าราชการ ผู้รับบำนาญและบุคคลในครอบครัว ประชาชนหลงเชื่อจนเกิดความเสียหาย จึงขอย้ำว่า “กรมบัญชีกลางไม่มีนโยบายส่งไลน์ SMS หรือโทรศัพท์หาข้าราชการหรือประชาชน ดังนั้นเตือนอย่าหลงเชื่อ อย่ากด อย่าดาวน์โหลด อย่าแชร์เด็ดขาด” เร่งทำมาตรฐาน “บันไดเลื่อน” ป้องกันเหตุไม่คาดฝัน         จากเหตุการณ์ที่พบว่า มีผู้บริโภคหลายคนเจออุบัติเหตุเกี่ยวกับบันไดเลื่อนจนเกิดความไม่ปลอดภัยบาดเจ็บและพิการนั้น วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566  สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) มีมติเห็นชอบให้จัดทำมาตรฐานดังกล่าวเพิ่มเติมเป็นการด่วน         โดยนางสาว พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า จากเหตุพบว่ามีอุบัติเหตุบันไดเลื่อนและทางลาดเลื่อนในห้างสรรพสินค้าต่างๆ บ่อยครั้ง จึงได้สั่งให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานบันไดเลื่อน ทางเดินอัตโนมัติ ลิฟท์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ด้านนายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เตรียมออกประกาศมาตรฐาน “บันไดเลื่อน ทางเลื่อน และลิฟท์” เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยและระบบไฟฟ้า โดยอ้างอิงตามมาตรฐานระหว่างประเทศ (มาตรฐาน ISO) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและทั่วโลกได้นำไปใช้ โดยจะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ ส่วนประกอบ การติดตั้ง ความสูง ความเร็ว น้ำหนักบรรทุก รวมถึงการประเมินความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงจากการใช้งาน  ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าวได้ภายในเดือนมีนาคม 2567    พิพากษายกฟ้องคดี “กระทะโคเรียคิง” โฆษณาเกินจริง         จากกรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและกลุ่มผู้บริโภคที่เสียหาย ได้ยื่นฟ้อง บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น จำกัด เป็นคดีผู้บริโภค และขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม เนื่องจากเป็นการโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริงและสินค้าดังกล่าวไม่เป็นไปตามโฆษณา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 นั้น         เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ศาลแพ่งได้นัดฟังคำพิพากษา ซึ่งนางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมายและทนายความ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากศาลเห็นว่า ตามการโฆษณาของบริษัทว่ากระทะมี 8 ชั้น ไม่ได้เป็นการบ่งชี้ว่ากระทะไม่มีคุณสมบัติหรือส่วนประกอบตามที่จำเลยโฆษณา เนื่องจากจำเลยพิสูจน์ว่ากระทะมีการเคลือบกว่า 8 ชั้นจริง แต่ไม่สามารถมองเห็นการแยกชั้นเป็น 8 ชั้นด้วยตาเปล่าได้ ศาลจึงวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำการละเมิดสิทธิผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการผิดสัญญาที่ไม่ส่งมอบสินค้าให้ตรงตามโฆษณา ดังนั้นทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายจึงเตรียมยื่นอุทธรณ์เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคต่อจนถึงที่สุด         ย้อนกลับไปยังต้นเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคฟ้องร้อง บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น คือ โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่า ”กระทะโคเรีย คิง ใช้นวัตกรรม 8 ชั้น ประกอบด้วย หินอ่อนเงิน , หินอ่อนทอง , พร้อมด้วย เทคโนโลยีนาโนซิลเวอร์ โค้ตติ้ง ป้องกันแบคทีเรีย เมื่อนำไปปรุงอาหารทำให้อาหารไม่ติดกระทะ โดยราคา กระทะใบละ 15,000 บาท แต่หากซื้อผ่านรายส่งเสริมการขายจะเหลือเพียง 3,900 บาท และซื้อ 1 ใบ แถมอีก 1 ใบ”  ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. ได้เข้าไปตรวจสอบและพบว่าไม่เป็นตามโฆษณา อีกทั้งพบประเด็นการตั้งราคาขายสูงจริง คืออ้างว่า ราคาจริงของกระทะอยู่ที่ใบละ 15,000 และ 18,000 บาท ซึ่งถือเป็น “การปลอมราคาจริง (Fake Original Price)”  สคบ. จึงมีมติสั่งระงับโฆษณาทั้งหมด ต่อมามีผู้เสียหายจากการซื้อกระทะดังกล่าวได้เข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงประกาศเป็นตัวกลางฟ้องคดีแบบกลุ่มแทนผู้บริโภคที่เสียหายจากกระทะ โคเรีย คิง โดยเชื่อว่าจะเป็นคดีผู้บริโภคตัวอย่างเพื่อทำให้ภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการโฆษณาสินค้าและคุณภาพสินค้าเป็นไปตามที่โฆษณาให้ดีมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 272 ความเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2566

อย. เรียกคืนยาความดันโลหิต “เออบีซาแทน”        หลังจากกรณีที่ต่างประเทศมีการเรียกคืนยาความดันโลหิตสูง(เออบีซาแทน) เนื่องจาก บริษัทผู้ผลิตพบการปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยานั้น         ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา จึงเร่งให้บริษัทผู้ผลิตตรวจสอบพร้อมทั้งเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่ไม่ปนเปื้อน พร้อมกับการเฝ้าระวังในท้องตลาด โดยทาง อย.ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า วัตถุดิบบางรุ่นปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งเกินเกณฑ์สากล จึงได้เรียกเก็บคืนยาสำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบปนเปื้อน พร้อมเรียกคืนไปยังโรงพยาบาล คลินิก ร้านยาต่างๆ และประสานให้ผู้ผลิตเปลี่ยนยาเป็นรุ่นที่ผลิตอื่นที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยาความดันโลหิตที่ปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งพบเพียงเฉพาะบางรุ่นการผลิตเท่านั้น และยาที่เรียกคืนมีทั้งหมด 42 รุ่นการผลิต จาก 5 บริษัท ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวไม่ควรหยุดยาทันที เนื่องจากเป็นยาที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง แนะนำตรวจสอบยาที่ใช้อยู่หากเป็นรุ่นผลิตที่เรียกคืน ให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ตำรวจยึดตู้กดน้ำพืชสมุนไพรอัตโนมัติ (น้ำกระท่อม)        21 ตุลาคม 2566 ทางตำรวจ สภ.หาดใหญ่ ได้ยึดตู้กดน้ำดื่มพืชสมุนไพรแบบอัตโนมัติ 2 ตู้ ในพื้นที่บริเวณริมถนนราษฎร์อุทิศ ซอย 16 ถนนเพชรเกษม ซอย38 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หลังจากมีผู้ร้องเรียนว่าทางตู้กดน้ำดื่มสมุนไพรอัตโนมัติดังกล่าว นอกจากขายน้ำดื่มพืชสมุนไพรแล้วยังมีการแฝงขายน้ำกระท่อมให้กับลูกค้าอีกด้วย        ลักษณะของตู้ดังกล่าว คือ ด้านหน้ามีสติ๊กเกอร์ระบุว่า "ตู้น้ำสมุนไพร" แก้วละ 10 บาท บริการทั้งน้ำ เก็กฮวย กระเจี๊ยบ และ น้ำพืชกระท่อม” และมีการติดตั้งให้บริการ มา 3-4 เดือนแล้ว หลังจากเรียกเจ้าของตู้กดน้ำมารับทราบข้อกล่าวหา ทางเจ้าของตู้ อ้างว่าไม่ทราบมาก่อนว่าขายน้ำต้มพืชกระท่อมผิดกฏหมาย เนื่องจากเห็นร้านค้าทั่วไปใน อ.หาดใหญ่ วางขายได้อย่างเสรี ทั้งนี้ ทางตำรวจ จึงได้แจ้งข้อหากับเจ้าของตู้น้ำพืชกระท่อมดัดแปลง ฐานความผิดขายน้ำกระท่อมโดยเครื่องช่วยขายอัตโนมัติ มีโทษปรับ 50,000 บาท คุมเข้ม แอปฯ ธนาคาร ห้ามล่มไม่เกิน 8 ชม./ปี        นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เผยว่า ทางธนาคารจะมีการออกแก้ไขประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสารเทศของสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีการระบุบทลงโทษ กรณีระบบขัดข้องนานเกินที่กำหนด โดยได้กำหนดว่าระบบโมบายแบงก์กิ้งขัดข้องหรือล่มได้ไม่เกิน 8 ชม./ปี หากเกินทางแบงก์ชาติจะมีบทลงโทษ ตามระดับความรุนแรง พร้อมทั้งตักเตือนให้แก้ไขดำเนินการปรับปรุง บทลงโทษปรับสูงสุด 500,000 บาท/ครั้ง ซึ่งหากไม่ดำเนินการปรับปรุงจะปรับ 5,000 บาท/วันศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นตั้นให้รับฟ้องได้ กรณีการควบรวม "ทรู - ดีแทค"        จากกรณีการควบรวม "ทรู - ดีแทค" ที่ภาคประชาชนออกมาต่อต้านเพราะเกรงว่าจะกลายเป็นการผูกขาดและผู้เสียประโยชน์คือประชาชน จึงเป็นที่มาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อมีนาคม 2566 นั้น ต่อมาศาลปกครองกลาง (ศาลปกครองชั้นต้น) ไม่รับคำฟ้อง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด กระทั่งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นให้รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคคดีควบรวมทรู-ดีแทค แล้ว        ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุด เผยแพร่เอกสารลงวันที่ 4 ตุลาคม ออกคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ฟ้องเอาผิดคณะกรรมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างผู้ให้บริการคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือ 2 ราย คือ ทรู และ ดีแทค โดยข้อความท้ายเอกสารระบุว่า "การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นด้วย จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไป"        ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอน มติ กสทช. ที่รับทราบและอนุญาตให้ ทรู และ ดีแทค ควบรวมกิจการกันเมื่อเดือนตุลาคม ปีก่อนหน้า อ้างว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้บริษัททั้ง 2 รายนี้กระทำการดังกล่าว แต่ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องนี้ไว้ โดยให้เหตุผลหนึ่งว่า มาตรา 49 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กำหนดให้ต้องฟ้องภายใน 90 วันหลังจากทราบว่ามีเหตุให้ฟ้อง แต่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทราบเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 แต่กว่าจะมาฟ้องคือวันที่ 8 มีนาคม 2566 ซึ่งพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว         อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่ามติของ กสทช. เรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และ ดีแทค นี้ เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ จึงเข้าข่ายมาตรา 52 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว ที่อนุญาตให้ฟ้องเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนด         ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภคและยังเป็นผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้รับผลกระทบจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง         จึงถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง การจะแก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับนั้นต้องมีคำบังคับของศาลปกครองตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 โดยสั่งให้เพิกถอนมติของ กสทช.ดังกล่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 49 วรรค 1 แห่งกฎหมายเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)