ฉบับที่ 175 รู้เท่าทันน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์

เรื่องน้ำมันมะพร้าวดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากในปัจจุบัน  โดยที่การส่งเสริมประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์หรือบีบเย็น (virgin coconut oil) เริ่มต้นมาจากต่างประเทศ  จากกลุ่มที่นิยมการแพทย์ทางเลือกและธรรมชาติบำบัด  และเกิดกระแสความนิยมอย่างกว้างขวาง  จนกระทั่งกระแสนี้ได้ขยายตัวเข้ามาเมืองไทย  ทำให้ผู้รักสุขภาพเกิดความตื่นตัวตามไปด้วย ในเมืองไทยนั้นสนใจทั้งในเรื่องความงามและสุขภาพ  และขยายตัวเข้าสู่การรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคไขมันในเลือดสูง  โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง  อย่างไรก็ตามก็มีแพทย์แผนปัจจุบันบางคนออกมาคัดค้านและต่อต้านว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว  เมื่อบริโภคต่อเนื่องจะทำให้ไขมันในเลือดสูงและเป็นอันตราย    เราจะรู้เท่าทันเรื่องนี้ได้อย่างไร  ลองมาศึกษากันเถอะ1.    ถ้าค้นคำว่า “น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์” จะพบว่าในเว็บไซต์ภาษาไทยและต่างประเทศ จะเต็มไปด้วยประโยชน์และข้อดีของน้ำ...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: นพ.ประพจน์ เภตรากาศ

250 point

LINE it!

  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ น้ำมันมะพร้าว

ฉบับที่ 173 รู้เท่าทันการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

ปัจจุบัน เวลาที่เด็กๆ เป็นหวัด หรือคัดจมูกจากโรคภูมิแพ้ เมื่อไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน มีแพทย์แผนปัจจุบันหลายท่านแนะนำให้ทำการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อที่จะชะล้างฝุ่นละอองที่ติดค้างในช่องจมูกออกไป จะลดการแพ้อากาศได้  การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือนั้นมีที่มาจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย     การล้างจมูกด้วยการฉีดพ่นละอองน้ำเกลือหรือล้างด้วยน้ำเกลือนั้นช่วยลดความรุนแรงของอาการหวัด คัดจมูก หรือช่วยให้ผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่หายเร็วขึ้นจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะความเป็นมา    โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ได้แก่ ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อของคอหอย จมูก หรือไซนัส  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการติดเชื้อไวรัสและหายได้เอง  แม่ว่าอาการอาจยังคงมีอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์หลังจากการติดเชื้อหายแล้วก็ตาม  การรักษาอาการไข้หวัดจึงเน้นการบรรเทาอาการ ลดอาการไอ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือหรือฉีดพ่นละอองน้ำเกลือได้เป็นวิธีการรักษาที่นิยมมากขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน  และมีการพบว่ามีประสิทธิผลสำหรับไซนัสโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง  อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลันหรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัย        ทางห้องสมุดโคเครนได้ค้นหาการศึกษางานวิจัยใน CENTRAL (2014, Issue 7), MEDLINE (1966 to กรกฎาคม สัปดาห์ที่ 5, 2014), EMBASE (1974 - สิงหาคม 2014), CINAHL (1982 -สิงหาคม 2014), AMED (1985 – สิงหาคม 2014) and LILACS (1982 – สิงหาคม 2014)  พบว่า มี 5 รายงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 749 รายและมีผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ให้ข้อมูลที่ตอบคำถามงานวิจัยและเข้าเกณฑ์คัดกรองเป็นเด็ก 544 ราย (การศึกษา 3 รายงาน) ผู้ใหญ่ 205 ราย (การศึกษา 2 รายงาน) ทั้งหมดเปรียบเทียบการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือกับการรักษาทั่วไปหรือการพ่นจมูกอื่นๆ  การศึกษาเหล่านี้ได้ครอบคลุมขอบเขตที่กว้างขวางของอายุ  ขนาดตัวอย่าง  วิธีการที่กำหนดขนาดของสิ่งที่ใช้และความถี่ และระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน  มีความแตกต่างในการออกแบบและอาการที่ใช้ในการวัดหรือประเมิน  ทั้งนี้เนื่องจากการขาดการตรวจวัดอาการและสิ่งตรวจพบที่เชื่อถือได้หรือคงที่  ทำให้ผลลัพธ์ที่ใช้ร่วมกันได้มีน้อยเมื่อนำผลศึกษามาวิเคราะห์ร่วมกัน  หลักฐานจากการศึกษาสำเร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014ผลการศึกษา    มีการนำรายงานการศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 รายงานเนื่องจากการทบทวนอย่างเป็นระบบแรกเริ่มไม่มีข้อมูลเพียงพอทั้งขนาดหรือคุณภาพ  เฉพาะการศึกษาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งศึกษาเด็ก 401 ราย อายุระหว่าง 6-10 ปี  พบว่ามีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญในด้านอาการ ได้แก่ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คะแนนการหายใจและการอุดตันของรูจมูก  รวมทั้งการลดการใช้ยาลดน้ำมูกหรืออาการคัดจมูก  นอกจากนี้ยังมีการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนสถานะสุขภาพ  มีการลดลงของเวลาในการฟื้นหรือหายจากอาการไข้หวัด ซึ่งมีรายงานในการศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่ 2 รายงาน แต่ไม่มีความแตกต่างที่สำคัญในทางคลินิก  การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือมีความปลอดภัย แต่อาจมีการระคายเคืองหรือแสบๆ เล็กน้อย โดยเฉพาะถ้าใช้อุปกรณ์ที่มีแรงฉีดสูงหรือน้ำเกลือเข้มข้นสรุป    ผู้ทบทวนได้สรุปว่า การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออาจมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน  อย่างไรก็ตาม การศึกษามีขนาดเล็กเกินไปและมีความเสี่ยงสูงในการมีอคติ ทำให้ลดความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่สนับสนุน  การศึกษาในอนาคตควรมีจำนวนผู้เข้าร่วมมากกว่านี้และรายงานตัวชี้วัดที่ได้มาตรฐานและมีความหมายทางคลินิกหมายเหตุ  ศึกษาเพิ่มเติมใน Cochrane Database Syst Rev. 2015 Apr 20;4:CD006821. doi: 10.1002/14651858.CD006821.pub3.

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 172 รู้เท่าทันเซลล์บำบัดหรือสเต็มเซลล์บำบัด ตอนที่ 3

อย่างที่กล่าวแล้วในฉบับก่อนว่า ทางการแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด  เป็นการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือเซลล์บำบัดที่เป็นการรักษามาตรฐานในโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งชนิดเฉียบพลันและและเรื้อรัง  โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย  โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตลอดจนโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  นอกเหนือจากนี้ยังอยู่ในขั้นการศึกษาวิจัยเท่านั้นแนวทางการศึกษาวิจัยการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ    แนวทางในการศึกษาวิจัยเพื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคนั้นมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การรักษาด้วยเซลล์บำบัด (cell therapy)  และด้วย การสร้างเนื้อเยื่อ (tissue engineering)    เซลล์บำบัดใช้คุณสมบัติที่เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเพิ่มจำนวน และพัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อของอวัยวะอื่นที่ไม่ใช่เซลล์ของอวัยวะดั้งเดิม เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมและสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม    การสร้างเนื้อเยื่อนั้นอาศัยการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดบนโครงร่างที่ต้องการ เพื่อให้เซลล์เกาะยึดและเจริญเติบโตตามรูปร่างของโครงร่าง จากนั้นจึงนำเนื้อเยื่อไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย    ปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคที่มีแนวโน้มว่าได้ผลดี ได้แก่โรคหัวใจ    เริ่มมีการศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกของผู้ป่วย ในปี ค.ศ. 2002  หลังจากนั้นมีรายงานการศึกษาจำนวนมากตามมาจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความปลอดภัย  ผลการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ที่สุดในโครงการ REPAIR-AMI โดย Schachinger V, Erbs S, Elsasser A et al. ซึ่งตีพิมพ์ใน New England Journal of  Medicine 355, 1210-1221 (2006) ว่ามีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจน     โรคกระจกตา    การศึกษาวิจัยที่ได้ผล ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดผิวกระจกตาเพื่อปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระจกตา เช่น กระจกตาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สารเคมี การแพ้ยาอย่างรุนแรง และการติดเชื้อ เป็นต้น  ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีกระจกตาอีกข้างหนึ่งเป็นปกติ  สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดจากผิวกระจกตาข้างที่ดีมาเพาะเลี้ยงบนเยื่อหุ้มรก แล้วนำไปปลูกถ่ายให้กับตาข้างที่เสียหายได้  เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคกระจกตาสามารถเป็นการรักษามาตรฐานในอนาคตอันใกล้นี้    กระดูกอ่อน    การสร้างเนื้อเยื่อของกระดูกอ่อนสามารถรักษาโรคได้คือ การนำเซลล์กระดูกอ่อนของผู้ป่วยมาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองให้มีจำนวนมากพอ โดยใส่รวมกับโครงร่างคอลลาเจน  แล้วนำไปรักษาบริเวณกระดูกอ่อนของผิวข้อที่เสื่อมของผู้ป่วย  คาดว่าจะพัฒนาเป็นการรักษามาตรฐานได้ในอนาคตอันใกล้นี้    ทั้ง 3 โรคนี้ มีแนวโน้มที่ดีในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษา แต่อย่างไรก็ตามยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย  ยังไม่เป็นการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์  สิ่งที่น่าเป็นห่วง    สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ มีการโฆษณาโดยธุรกิจสุขภาพทั้งในและต่างประเทศว่า สามารถรักษาโรคและอาการต่างๆ เช่น มะเร็ง สมองเสื่อม โรคหัวใจ โรคชรา เป็นต้น ด้วยการใช้เซลล์บำบัด  มีการเจาะเลือดผู้ป่วยส่งไปต่างประเทศเพื่อไปทำเป็นสเต็มเซลล์ในการบำบัดโรคต่างๆ และส่งกลับมาเมืองไทยเพื่อฉีดเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย  บางรายมีโปรแกรมพาผู้ป่วยไปรักษาตัวด้วยสเต็มเซลล์ที่ต่างประเทศเลยก็มี     ความเห็นและประกาศของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย(ระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยา) พ.ศ. 2556 ว่า “จากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเองหรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้มีเพียง 5 โรคเท่านั้น ได้แก่ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) และโลหิตจางธาลัสซีเมีย           ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว”

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 171 รู้เท่าทันเซลล์บำบัดหรือสเต็มเซลล์บำบัด ตอนที่ 2

ทางการแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือเซลล์บำบัดที่เป็นการรักษามาตรฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันคือ การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด  ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งชนิดเฉียบพลันและและเรื้อรัง  โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย  โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตลอดจนโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น                  การใช้เซลล์บำบัดในโรคเลือดนั้นต้องหาไขกระดูกที่เข้ากันได้ เช่น การปลูกถ่ายเซลล์บำบัดรักษาธาลัสซีเมียในเด็กจะได้ผลดีกว่าผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากการรักษาไขกระดูกจะต้องมีการให้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งธาลัสซีเมียในปัจจุบันนี้รักษาด้วยยาจะได้ผลดีกว่าการใช้เซลล์บำบัด             สำหรับมะเร็งในเลือด  การรักษาด้วยเซลล์บำบัดไม่ใช่ว่าใช้เซลล์ต้นกำเนิดไปฆ่ามะเร็ง แต่ต้องใช้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดในร่างกายก่อน แล้วจึงปลูกระบบเลือดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด  ทางการแพทย์จะใช้เซลล์ผู้อื่นมากกว่าเซลล์ของผู้ป่วยเพราะอาจมีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายอยู่ทำให้หวนกลับมาเป็นมะเร็งใหม่ได้อีก  อย่างไรก็ตามต้องเป็นเซลล์ของผู้อื่นที่เข้ากันกับผู้ป่วยได้   ความเชื่อที่ผิดๆ                      ประชาชนมักจะมีความเข้าใจที่ผิดว่า เมื่อเซลล์ต้นกำเนิดสามารถไปรักษาหรือแบ่งตัวแทนที่เซลล์ที่ชำรุดเสียหายได้ ก็เพียงแค่ฉีดเซลล์ต้นกำเนิดไปตามเส้นเลือด เซลล์ต้นกำเนิดนั้นๆ ก็จะไปสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่เซลล์หรืออวัยวะที่เสียหายไป             ประชาชนมักจะถูกการโฆษณาชวนเชื่อจากธุรกิจสุขภาพให้หลงเข้าใจผิดว่า การฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในเส้นเลือด เซลล์จะวิ่งไปหาอวัยวะที่บาดเจ็บเอง  เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกบางชนิดมีการวิ่งไปอวัยวะที่บาดเจ็บจริง แต่เมื่อไปถึงแล้วเซลล์ต้นกำเนิดจะทำการซ่อมแซมหรือแบ่งตัวแทนที่นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่  แต่ที่แน่ๆ เซลล์จากเลือดและไขกระดูกหรือไขมันไม่กลายไปเป็นเซลล์สมอง เซลล์หัวใจ หรือเซลล์อื่นๆ แน่นอน จากข้อมูลในโดยทั่วไปในสัตว์ทดลอง เซลล์ต้นกำเนิดที่ฉีดเข้าไปมักหายจากร่างกายภายใน 24-48 ชั่วโมง            ปัจจุบันเริ่มพบเซลล์ต้นกำเนิดในหลายอวัยวะ เซลล์ต้นกำเนิดของอวัยวะนั้นสามารถนำมาสร้างเซลล์ของอวัยวะนั้นได้ในหลอดทดลอง  แต่การนำไปใช้รักษาอวัยวะนั้นๆ ยังต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไปจนกว่าจะเห็นผลที่ชัดเจน เช่น เซลล์ต้นกำเนิดของสมอง แม้ฉีดเข้าไปในสมองก็ยากที่จะกลายเป็นเซลล์ประสาทชนิดที่ต้องการ ในบริเวณที่เหมาะสม และสามารถส่งรากประสาทไปเชื่อมกับเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลังอย่างถูกต้อง    การทำธุรกิจเก็บรักษาเซลล์เลือดจากรกหรือสายสะดือทารก             ทั่วโลกมีธุรกิจเอกชนที่เสนอบริการการเก็บรักษาเลือดจากรกและสายสะดือทารกไว้ตลอดชีวิตเพื่อใช้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคทางเลือดและโรคอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ในประเทศไทยก็มีการขายบริการเช่นนี้ตามโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง  คำถามก็คือ เลือดเหล่านี้ใช้ในการรักษาโรคของเด็กหรือคนในครอบครัวในอนาคตได้จริงหรือไม่?             ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 สมาคมผู้บริจาคไขกระดูกโลก (The World Marrow Donor Association) ได้ประกาศนโยบายการใช้เลือดจากรกและสายสะดือว่า “ห้ามใช้เลือดจากรกและสายสะดือตนเองในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก ทั้งนี้เพราะภาวะก่อนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นก่อนการคลอด เลือดดังกล่าวจึงมีความบกพร่องทางพันธุกรรมเหมือนผู้บริจาคเลือดและไม่ควรใช้รักษาโรคทางพันธุกรรม”           คงต้องติดตามต่อในฉบับหน้าครับ                                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 170 รู้เท่าทันเซลล์บำบัดหรือสเต็มเซลล์ ตอนที่ 1

ความเชื่อเรื่องสเต็มเซลล์นั้นมีมาเกือบร้อยปี แต่ยังไม่มีรูปธรรมจริงรองรับ  จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1968 เกิดความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยรายแรกของโลกโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักวิจัยและแพทย์จำนวนมากศึกษาวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์  โดยหวังว่า จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ประโยชน์ในการรักษาและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เกิดความเสื่อม โรค และสาเหตุอื่นๆ ปัจจุบัน มีการโฆษณาทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งจากแพทย์และผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ เกี่ยวกับการใช้สเต็มเซลล์หรือเซลล์บำบัดในการรักษาโรคเรื้อรังและไม่มีทางรักษา เช่น มะเร็ง อัมพาตอัมพฤกษ์ สมองเสื่อม ไตวาย จนกระทั่งการต้านความแก่ เสริมความงาม จนแทบจะกล่าวได้ว่า เซลล์บำบัดนั้นรักษาได้ทุกโรค และสามารถทำให้กลับมาเป็นหนุ่มสาวได้อีกครั้ง  บางคนเมื่อไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลเอกชน ทางโรงพยาบาลก็จะชักชวนให้เก็บรกหรือเลือดในรกไว้ โดยจะมีบริษัทเอกชนที่จะเก็บและแช่แข็งสเต็มเซลล์ไว้เป็นเวลานานตลอดอายุขัยของลูกเลย เรามารู้เท่าทันสเต็มเซลล์หรือเซลล์บำบัดกัน แต่เนื่องจากมีรายละเอียดและความซับซ้อน จึงขอทำความเข้าใจเป็นตอนๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย ที่มาของการใช้สเต็มเซลล์ในการบำบัดโรค ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่า ไข่ของผู้หญิงที่ได้รับการผสมกับอสุจิของผู้ชาย เรียกว่า ตัวอ่อน หรือ embryo จะทำการแบ่งตัวเป็น 16 เซลล์ เรียกว่า morula เซลล์เหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกเซลล์  สามารถเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ได้ทุกชนิดในร่างกาย และสามารถแบ่งเซลล์ได้ไม่จำกัด  หลังจากนั้นประมาณวันที่ห้าถึงเจ็ด ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตและกลายเป็นเซลล์ที่เรียกว่า blastoma ซึ่งจะแบ่งเป็นชั้นต่างๆ 3 ชั้น คือชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ซึ่งจะเติบโตเป็นส่วนต่างๆ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย   การที่เซลล์ตัวอ่อนในระยะแรกที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่สามารถเติบโตไปเป็นเซลล์ต่างๆ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย จึงเป็นที่มาความเชื่อในการนำเอาเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) ในระยะที่เป็นตัวอ่อน หรือ เซลล์ต้นกำเนิดของผู้ใหญ่มาสร้างทดแทนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เสื่อมหรือเป็นโรคต่างๆ ความเชื่อเรื่องสเต็มเซลล์นั้นมีมาเกือบร้อยปี แต่ยังไม่มีรูปธรรมจริงรองรับ  จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1968 เกิดความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยรายแรกของโลกโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักวิจัยและแพทย์จำนวนมากศึกษาวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์  โดยหวังว่า จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ประโยชน์ในการรักษาและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เกิดความเสื่อม โรค และสาเหตุอื่นๆ ประเภทของสเต็มเซลล์ สเต็มเซลล์แบ่งได้หลายประเภทตามระยะเวลาของพัฒนาการ  เราอาจแบ่งหลักๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่  มาจากตัวอ่อน  มาจากทารกในครรภ์มารดา  มาจากทารกแรกคลอด  และมาจากผู้ใหญ่ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมีศักยภาพที่สูงกว่าสเต็มเซลล์จากผู้ใหญ่   แต่มีข้อจำกัดเรื่องความปลอดภัยของตัวอ่อนและปัญหาด้านจริยธรรมในกรณีที่ต้องมีการทำลายตัวอ่อน  ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง การเกิดภูมิต้านทานเนื้อเยื่อ  เนื่องจากกระบวนการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด อาจต้องใช้เซลล์ของสัตว์เป็นเซลล์พี่เลี้ยง  ซึ่งนอกจากมีผลต่อปฏิกิริยาของภูมิต้านทานแล้ว ยังอาจมีการติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้อีกด้วย ส่วนสเต็มเซลล์ที่ได้จากผู้ใหญ่นั้นเป็นเซลล์ที่ได้จากระบบเลือด ผิวหนัง ไขมัน ไขกระดูก และเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่เจริญเติบโตเต็มที่ของสัตว์หรือมนุษย์  เซลล์เหล่านี้สามารถแบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายหรือถูกทำลาย  สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ตั้งต้นที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะต่างๆ ได้  อย่างไรก็ตาม สเต็มเซลล์ประเภทนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ได้แก่ ปริมาณของเซลล์ต้นกำเนิดอาจไม่มากพอ อาจเกิดอันตราย เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อเซลล์แปลกปลอมเมื่อปลูกถ่ายให้ผู้อื่น  ดังนั้นสเต็มเซลล์ชนิดนี้ที่มีการใช้กันแพร่หลาย จะเป็นการใช้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากไขกระดูกเพื่อรักษาโรคทางระบบเลือดเป็นหลัก ฉบับหน้า ติดตามการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์ว่าใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ความคิดเห็น (0)