ฉบับที่ 161 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขาย และการคุ้มครองผู้บริโภค

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการคณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป ได้ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ดังที่กำหนดไว้ใน (ร่าง) พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... เพื่อทดลองทำหน้าที่ของอนุกรรมการฯ ตามเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายดังกล่าว โดย ได้มีความเห็นให้จัดทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขายและการคุ้มครองผู้บริโภค โดย นายเชิดวุฒิ สินพิมลบูรณ์ นักวิจัยในโครงการนี้ ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยได้นำไปประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และขยายผลโดยการนำเสนอต่อผู้แทนภาครัฐและภาคธุรกิจ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป โดยผลจากการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าการปรับปรุงหลักกฎหมายในการจัดการกั...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ

250 point

LINE it!

ฉบับที่ 186 Repair café การจัดการทางสังคมในการลดขยะอิเลคทรอนิกส์

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการจากบทความฉบับที่แล้ว นำเสนอปัญหาของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ บางครั้งการชำรุดบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กล่าวมานั้นยังพอใช้งานได้ เพียงแต่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางชิ้นชำรุดเสียหาย ต้องการแค่เปลี่ยนอะไหล่ แต่พอติดต่อศูนย์บริการหลังการขาย ก็ประสบปัญหาอะไหล่ไม่มี หรือค่าแรงในการซ่อมแพงกว่าการซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นองค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสั้นลง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะอิเลคทรอนิกส์ตามมาอีกด้วยสำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการทางสังคม ที่เข้ามาช่วยจัดการเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดมาจาก การชำรุดบกพร่องของโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนก่อนอายุอันสมควรRepair Café Repair Café เป็นการรวมกลุ่มของผู้มีใจรักสิ่งแวดล้อมและต้องการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ เนื่องจากว่า การซ่อมสมาร์ตโฟนในเยอรมนีมีราคาแพงมาก ไม่ว่าจะซ่อมเล็กหรือซ่อมใหญ่ เนื่องจากค่าแรงของช่างซ่อมนั้นมีราคาสูงตามมาตรฐานช่างฝีมือในประเทศที่พัฒนาแล้ว การรวมกลุ่มในรูปแบบ repair café จึงเป็นการนัดพบปะกันของผู้ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือกัน เพื่อให้คนในกลุ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกรณีที่สมาร์ตโฟนมีปัญหา โดยในกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมมืออาชีพมาสอน และสนับสนุนทางด้านทักษะและความรู้ ตลอดจนการช่วยหาอะไหล่ ในรูปแบบอาสาสมัคร และหากการซ่อมไม่ประสบความสำเร็จทาง repair café ก็ไม่ได้รับประกันผล เนื่องจากการให้ช่างซ่อมมืออาชีพตามร้านหรือตามศูนย์ซ่อมของสมาร์ตโฟนนั้นๆ บางครั้งก็ไม่ได้ดีไปกว่าการซ่อมเองในรูปแบบ repair café ตัวอย่างการซ่อมเองตามกลุ่ม repair café ที่ผู้บริโภคสามารถซ่อมได้เอง เช่น การเปลี่ยนหน้าจอที่แตกหักชำรุด บางครั้งอาสาสมัครที่มาช่วยเหลือการซ่อม คือ นักศึกษาตามมหาวิทยาลัย การซ่อมสมาร์ตโฟนยิ่งรุ่นใหม่ๆ ก็จะยิ่งซ่อมเองได้ยากกว่า การที่มาพบปะกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาสาสมัคร จึงเป็นวิธีการที่ดีกว่าการซ่อมด้วยตัวเองเพียงคนเดียว สำหรับเวลาที่ใช้ในการซ่อมขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของอาสาสมัครทางเทคนิค จากการสำรวจข้อมูลขององค์กรผู้บริโภคเยอรมนี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กรณีตัวอย่างการซ่อม หน้าจอสมาร์ตโฟน ราคาซ่อมที่ศูนย์จะตกประมาณ 166 ยูโร ซึ่งราคานี้รวมค่าแรงและค่าอะไหล่แล้ว แต่ลูกค้าต้องรอนานถึง 10 วัน ในขณะที่การซ่อมตาม repair café จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง และราคาค่าซ่อมไม่คิด แต่คิดค่าอะไหล่ 100 ยูโร และค่ากาแฟ อีก 10 ยูโร รวมเป็น 110 ยูโร สามารถประหยัดเงินได้ 56 ยูโร แต่ประหยัดเวลาได้ถึง 10 วันรูปแบบการจัดการทางสังคมแบบนี้ถือได้ว่า เป็นการจัดการเรื่องขยะอิเลคทรอนิกส์ที่ทำให้เกิดความยั่งยืน และทำประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม และผู้บริโภคที่สามารถจัดการซ่อมแซมสมาร์ตโฟนของตัวเองได้ ก็ย่อมมีความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตน และมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ไปพร้อมๆ กันด้วยประเทศแรก ที่ให้กำเนิด repair café คือ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยเริ่มในปี 2009 โดยดำเนินการในรูปแบบมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในการผลิตและการใช้ทรัพยากรโลก ปัจจุบันมีจำนวน repair café 1,000 แห่ง ใน 25 ประเทศ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเบอร์ลินมีอัตราการจัด repair café บ่อยครั้งมาก เนื่องจากทางเทศบาลให้การสนับสนุนไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้พื้นที่สาธารณะเช่น โรงเรียน สมาคมเพื่อการกุศล และศูนย์เยาวชนที่กระจายอยู่ตามชุมชน รูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อสาธารณกุศลลักษณะนี้น่าสนใจมาก ในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ น่าที่จะมีรูปแบบการจัดการของสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของพลเมืองและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชน ในการก้าวไปสู่สังคมแห่งสุขภาวะ(ที่มา: Test ฉบับที่ 6/2016)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 181 โลกนี้..มีน้ำให้ใช้ไม่มาก

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปีนี้คงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า น้ำไม่ได้มีมากพอที่เราจะนำมาสาดเล่นหรือปล่อยทิ้งไปเปล่าๆ ไม่ว่าจะที่ใดในโลกน้ำเป็นทรัพยากรที่ต้องถนอมใช้ ถึงบางคนจะรู้สึกว่าตนเองมีเงินจ่ายเพื่อซื้อน้ำ จ่ายค่าน้ำ แต่เราคงไม่เห็นแก่ตัวกันขนาดที่จะมองดูน้ำสะอาดไหลทิ้งไปอย่างไม่เสียดาย ในขณะที่บางพื้นที่โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมต้องยืนดูพืชผลของตนแห้งตายคาพื้นดิน     การใช้น้ำของคนไทย ซึ่งแบ่งออกเป็นน้ำดื่มและน้ำใช้ ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แหล่งน้ำใช้ของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ (ร้อยละ78.9) ใช้น้ำประปา ส่วนน้ำดื่ม ส่วนใหญ่(ร้อยละ 64.0) เป็นน้ำประปาเช่นกัน โดยการนำน้ำประปามาผ่านกรรมวิธีทำให้สะอาดพร้อมดื่มเป็นน้ำบรรจุขวดหรือตู้ น้ำหยอดเหรียญ(ร้อยละ 40.9) และวิธีการอื่นๆ (ร้อยละ 23.1) เช่น ต้ม กรอง เป็นต้น กระบวนการผลิตและการใช้น้ำทุกขั้นตอนก่อให้เกิดต้นทุน ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้น้ำของครัวเรือนนั่นเอง ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้น้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำประปา(ไม่รวมค่าใช้จ่ายน้ำดื่ม) สูงขึ้น จากเฉลี่ยเดือนละ 86 บาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 135 บาทในปี 2555 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเพราะน้ำประปาทุกหยดมีต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนที่มองไม่เห็น คือการแย่งน้ำจากภาคส่วนอื่นๆ มาใช้ การปลูกจิตสำนึกให้มีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและช่วยกันประหยัดจึงไม่ใช่เรื่องทำกันเล่นๆ อีกต่อไป     แนวทางการประหยัดน้ำภาคครัวเรือน    1.ประหยัดน้ำที่ไหลจากก๊อก ปิดก๊อก/วาล์วน้ำขณะที่คุณแปรงฟัน โกนหนวด ล้างมือ แล้วก็ปิดก๊อกน้ำเวลาที่คุณอาบจากฝักบัวด้วยเช่นกัน โดยเปิดน้ำให้ตัวเปียกก่อน จากนั้นค่อยปิดน้ำตอนที่คุณถูสบู่ สระผม แล้วก็เปิดน้ำอีกครั้งให้พอชำระล้างร่างกายจนสะอาด รู้ไหมว่า การปล่อยน้ำไหลขณะแปรงฟัน จะเสียน้ำไปประมาณ 4 แกลลอนหรือ 14.8 ลิตร ต่อนาที( 1 แกลลอนเท่ากับ 3.7 ลิตร โดยประมาณ)     การล้างจาน ล้างผักผลไม้ ควรรองน้ำในภาชนะแทนการปล่อยน้ำไหล และน้ำส่วนที่ยังสะอาดอยู่ ก็สามารถนำไปทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น รดน้ำต้นไม้หรือล้างบริเวณพื้นที่สกปรกได้     2.ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในบ้าน โดยการปิดก๊อกทุกตัวแล้วเช็คมาตรวัดว่ายังขยับหรือไม่ ถ้าพบว่ามาตรหมุน แสดงว่าอาจมีจุดที่รั่วไหลต้องรีบซ่อมแซม อาจเป็นที่ชักโครก หรือท่อประปาบริเวณที่มองไม่เห็น รู้ไหมว่า น้ำ 1 หยดในทุกวินาที จะรวมกันได้ถึง 5 แกลลอนต่อวัน หรือ 18.5 ลิตร     3.ถ้าทำได้ควรเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นแบบประหยัดน้ำ เช่น ติดตั้งหัวฝักบัวและก๊อกแบบประหยัดน้ำ (Low-flow) หรือปากกรองก๊อกน้ำ อุปกรณ์ที่ใหม่และดีจะช่วยรักษาระดับแรงดันและความแรงของการไหลโดยที่ใช้น้ำเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์แบบธรรมดาทั่วไป หรือปรับไปใช้โถสุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำ สามารถกดล้างให้สะอาดได้โดยใช้น้ำเพียง 6 ลิตรหรือต่ำกว่านั้น หรือเปลี่ยนเครื่องซักผ้าจากแบบฝาบน เป็นแบบฝาหน้าจะประหยัดน้ำได้มากกว่า     4.เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้ถูกต้อง จะช่วยประหยัดน้ำได้ เช่น ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งขยะ ทิชชู่ก็ควรทิ้งลงถังขยะไม่ทิ้งลงในโถ การทำให้โถชักโครกสะอาดแต่ละครั้งต้องใช้น้ำมากถึง 9 ลิตร ถ้ากด 1 ครั้งไม่สะอาดคุณก็ต้องเสียน้ำเพิ่มขึ้นอีกในการกดเพื่อทำความสะอาดซ้ำ     การซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใช้เครื่องซักผ้าให้เต็มประสิทธิภาพ เช่น ควรรอจนกว่าจะมีผ้าเต็มถังก่อนที่คุณจะซัก และเวลาที่ซักผ้าก็อย่าลืมใช้โหมดประหยัดพลังงานเพราะการซักแบบนี้จะช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งน้ำและไฟฟ้า     5.ลดกิจกรรมการใช้น้ำ เช่น ลดเวลาการอาบน้ำลง ซักผ้าไม่บ่อยเกินไป การอาบน้ำน้อยกว่า 5 นาที จะประหยัดน้ำได้มากกว่า 1000 แกลลอนหรือ 3700 ลิตรต่อเดือน  วิธีนี้จะสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เช่น ไม่ทำให้เสื้อผ้าสกปรกมาก ไม่ใส่เสื้อผ้ามากชิ้น เป็นต้น หรือการสนับสนุนพืชผักอินทรีย์ก็ช่วยให้ไม่ต้องล้างผักผลไม้โดยใช้น้ำจำนวนมากๆ 6.รวบรวมน้ำที่ยังสะอาดอยู่ไปใช้ในกิจกรรมอื่น เช่น น้ำเหลือจากล้างผัก ผลไม้ น้ำแข็งที่ละลายค้างในกระติกหรือน้ำจากการละลายน้ำแข็งในตู้เย็น นำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้น ล้างรถได้  ทั้งนี้อาจเลือกใช้สบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ หากคุณต้องการรองน้ำเก็บไว้ใช้ในการทำสวน     และถ้าทำได้ควรนำแนวทางการประหยัดน้ำภาคครัวเรือนไปปฏิบัติในองค์กรที่ท่านทำงานอยู่ด้วย จะช่วยให้เราทุกคนมีน้ำสะอาดใช้กันไปได้นานๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 180 สถานการณ์รถยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า Electricity car (E-car) ของเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปี 2007 รัฐบาลเยอรมนีมีมติสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับโครงการรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E-car) โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2020 จะต้องมีจำนวนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคันวิ่งบนท้องถนน แต่จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก (Kraftfahrtbundesamt: KBA) ในปี 2015 มีเพียงแค่ 31,000 คัน เท่านั้น ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายที่วางไว้มาก และในเดือนมกราคม ปี 2016 ที่ผ่านมา มีรถไฟฟ้าที่ขอจดทะเบียนเพียงแค่ 477 คัน จากรถทั้งหมด 218,365 คัน (น้อยกว่า 27% เมื่อเทียบกับข้อมูลจากปีที่แล้วในเดือนเดียวกัน) และมีเพียง 976 คันที่เป็นรถ plug-in hybrid (รถที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันและไฟฟ้า) ทำให้การเติบโตและความนิยมของรถไฟฟ้าต่ำกว่าความคาดหวังของตลาดรถยนต์ แม้ว่าภาพลักษณ์ของรถไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นความหวังของอนาคต เนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลพิษ และโฆษณาชวนเชื่อว่า ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 0 กรัม สำหรับรถแบบ plug in hybrid ที่ โฆษณาว่า ประหยัดพลังงาน ยกตัวอย่างรถ ปอร์เช่ Cayenne S E-hybrid ใช้น้ำมันเพียง 3.4 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และได้ฉลากประหยัดน้ำมันระดับ A+ ในการปล่อยก๊าซ CO2  สู่บรรยากาศ (ซึ่งยังไม่ได้รวมปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้ไฟฟ้า ที่เกิดจาก โรงไฟฟ้า) แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับรัฐบาลเยอรมนี คือ การติดตามผล การดำเนินนโยบายในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ที่จะผลักดันให้เยอรมนีเป็นผู้นำในด้าน รถไฟฟ้า ในด้านการตลาด และเป็นผู้นำในการส่งออก ซึ่งใช้มาตรการให้เงินสนับสนุน (Kaufprämien: buyer’s premium) แก่ผู้ผลิตหลังจากที่ได้มีการพูดคุยกันระหว่างรัฐบาล และผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ รถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่ ? แน่นอนว่าถ้าใช้รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (E-Car) ปัญหาของก๊าซ NOX จะลดลง แต่อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องมองภาพรวมการก่อให้เกิดมลพิษโดยรวม ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ในปัจจุบันใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากเช่นกัน นอกจากนี้การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ถ่านหิน ก็มีส่วนในการปลดปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศอย่างมหาศาลเช่นกัน ยังไม่รวมถึงก๊าซพิษอื่นๆ เช่น ปรอทที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน หากพิจารณาถึงสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในเยอรมนีซึ่งขณะนี้ใช้ถ่านหิน ถึง 42 % ก็หมายความความว่า การใช้รถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านั้น ไม่ได้หมายถึงการลดมลภาวะ และก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ หากเปรียบเทียบกับ รถที่ใช้เบนซิน ก๊าซธรรมชาติ ดีเซล และเครื่องยนต์ ไฮบริดที่มีประสิทธิภาพ จากข้อมูลของสมาคมยานยนต์ของเยอรมนี (VCD) รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E-Car) ปล่อยก๊าซ CO2 67-103 กรัมต่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตร ในขณะที่รถยนต์ที่ติดอันดับต้นๆในการประหยัดพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอย่างอื่น ปล่อยก๊าซ CO2 ระหว่าง 79-94 กรัมต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรความคาดหวังของรัฐบาลเยอรมนี ในการสนับสนุนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า คืออะไรจริงๆ แล้วเงินสนับสนุนที่รัฐทุ่มให้กับรถยนต์ E- Car นั้น ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาให้ผู้ซื้อ (buyer’s premium) คันละ 5000 ยูโรหรือ การลดภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน E-Car ในวงกว้างนั้น อาจไม่เป็นดังที่รัฐบาลคาด (รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณที่สูงถึง 2500 ล้านยูโร) ที่จะทำให้เกิดการขยายปริมาณการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งงบประมาณดังกล่าว เปรียบเสมือนของขวัญที่รัฐบาลมอบให้กับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทำอย่างไร รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจึงจะขยายตัวการใช้งานได้มากขึ้น หากเราพิจารณาแต่เพียงรถยนต์ส่วนบุคคล อาจเป็นการมองที่คับแคบไป จริงๆ แล้วขณะนี้ในเยอรมนีเอง ก็มีรถขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งมีมานานแล้วแทบทุกเมือง นอกจากนี้ รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟ รถบัสที่ขนส่งในเมือง ก็ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอยู่แล้ว นอกจากนี้ รถจักรยานไฟฟ้า ก็เป็นที่นิยม ในปี 2015 สามารถจำหน่ายรถจักรยานไฟฟ้า ได้ถึง 500,000 คัน ซึ่งเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าในเมืองใหญ่     ดังนั้นเป้าหมายที่ทางรัฐบาลเยอรมนี เพิ่มปริมาณรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 1 ล้านคัน (ซึ่งคิดสัดส่วนเทียบกับปริมาณรถทั้งหมด เพียงแค่ 2 %) แทบไม่ได้ส่งผลต่อการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเลย จากข้อมูลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รัฐบาลเยอรมนี ไม่ควรให้น้ำหนักกับปริมาณรถไฟฟ้าที่จะวิ่งในถนนให้ครบ 1 ล้านคัน ตามเป้าที่ได้ตั้งไว้แต่แรก แต่ควรตั้งเป้าในการลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรีประกอบกับพัฒนาประสิทธิภาพแบตเตอรี เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความจริงใจของภาคอุตสาหกรรมในการปฏิวัติเทคโนโลยีระบบการขับเคลื่อนแบบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย(ที่มา http://www.tagesschau.de/wirtschaft/elektroautos-kaufpraemien-101.htm)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 สมาร์ทโฟน รุ่นไหนที่เหมาะกับความต้องการของเรา

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความในเดือนนี้ผมขอเสนอผลการรีวิวการทดสอบ สมาร์ตโฟนทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ จำนวน 100 รุ่น ของ มูลนิธิทดสอบสินค้าแห่งเยอรมนี (Stiftung Warentest) ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2014  มีผลสรุปโดยแบ่งประสิทธิภาพและคุณภาพเป็น 4 กลุ่มตามตารางข้างล่างนี้ หวังว่าสมาชิกฉลาดซื้อสามารถใช้ข้อมูลนี้ เลือกซื้อสมาร์ตโฟนเป็นของขวัญในปีใหม่นี้ ได้อย่างฉลาดและรู้เท่าทันกันนะครับ ท้ายนี้ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ตลอดปีวอก 2559 ครับ ผลการรีวิวการทดสอบสมาร์ตโฟน          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ความคิดเห็น (0)